25.01.2021 Views

E - Book หลักเมือง มกราคม 64

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

สำนักงำนปลัดกระทรวงกลำโหม

หน่วยงำนนโยบำยและยุทธศำสตร์ควำมมั่นคง

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส า นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ISSN 0858 - 3803

ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๓๕๘ หลักเมือง มกรำคม ๒๕๖๔ www.lakmuangonline.com

9 770858 380005


พระราชทานพรปีใหม่ ๒๕๖๔ แก่ประชาชนชาวไทย

เนื่องในวาระขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๔ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีมาอวยพรแก่ทุกๆ ท่าน ให้ประสบ

แต่ความสุข ความเจริญ และความเป็นมงคล โดยทั่วกัน

คนไทยเรามีวัฒนธรรมอันแสดงถึงความดี ความงาม และความเจริญ เป็นพื้นฐานของชีวิตจิตใจอยู่

วัฒนธรรมทั้งนั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในขนบธรรมเนียม ประเพณี พิธีกรรม ภาษา ศิลปะ วิทยาการต่างๆ และนิสัย

จิตใจ ทาให้คนไทย ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ ณ ที่ใด ก็เชื่อมโยงผูกพันกันได้อย่างใกล้ชิด

ในปีใหม่นี ้ จึงขอให้คนไทยทุกคนได้พิจารณาให้เข้าใจถึงคุณค่าของความดี ความงาม และความเจริญทั้งปวง ความ

มั่นคง หนักแน่นในความถูกต้อง ด้วยเหตุผลและความจริง และช่วยกันสืบสาน รักษา ให้ดารงอยู่ ไม่ขาดสาย และสร้างเสริม

ต่อยอดให้รุ่งเรืองไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้น พร้อมทั้งตั้งตัว ตั้งใจ ให้มั่นคงแน่วแน่ ที่จะประพฤติตน ปฏิบัติงาน ให้ดี ให้ถูกต้อง

ด้วยความมีสติ รู้ตัว และด้วยปัญญา รู้เหตุ รู้ผล

แม้ประเทศจะตกอยู่ในสภาวะที่ต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ก็สามารถที่จะนาพาให้ผ่านพ้นวิกฤตนั้นไปได้

ความรู้ ความเข้าใจ และความร่วมมือร่วมใจโดยพร้อมเพรียงกัน จะนาพาชาติบ้านเมืองให้บังเกิดความผาสุก มั่นคง

และเจริญก้าวหน้าสืบต่อไป

ขออานาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านเคารพนับถือ พร้อมด้วยพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระบรม

ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จงคุ้มครองรักษาทุกท่าน ให้มีกาลังกายแข็งแรง กาลังใจเข้มแข็ง

กาลังปัญญาเฉียบคม สามารถนาพาตน นาพาส่วนรวม และประเทศชาติให้บรรลุถึงความสุข ความเจริญได้ โดยทั่วกัน


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor Consultants

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล

พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์

พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์

พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา

พล.อ.ธีรเดช มีเพียร

พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร

พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์

พล.อ.อู้ด เบื้องบน

พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ

พล.อ.วินัย ภัททิยกุล

พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ

พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท

พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์

พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์

พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน

พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก

พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์

พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล

พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา

พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล

พล.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์

ที่ปรึกษา

พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ

พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ร.น.

พล.อ.ชูชาติ บัวขาว

พล.อ.ชัยพฤกษ์ พูนสวัสดิ์

พล.อ.อ.ธรินทร์ ปุณศรี

พล.อ.พงษ์สวัสดิ์ พรรณจิตต์

พล.อ.วรวิช มลาสานต์

พล.อ.สมควร ทองนาค

พล.อ.สราวุธ รัชตะนาวิน

พล.อ.ประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์

พล.ท.นพพงศ์ ไพนุพงศ์

พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค

พล.ท.เดชา พลสุวรรณ

พล.อ.ท.จำานง สุจริต

พล.ท.ภราดร จินดาลัทธ

พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์

พล.ท.ภัทรพล ภัทรพัลลภ

พล.ท.เอกชัย หาญพูนวิทยา

พล.ท.คมสัน ศรียานนท์

พล.ท.พุฒิประสิทธิ์ จิระมะกร

พล.ท.จักรพงษ์ นวลชื่น

พล.ต.จิรศักดิ์ ไกรทุกข์ร้าง

พล.ต.พจน์ เอมพันธุ์

พล.ต.ประจวบ จันต๊ะมี

พล.ต.ศักดิ์วุฒิ วงศ์วานิช

พล.ต.หญิง อิษฎา ศิริมนตรี

ผู้อำนวยการ

พล.ต.ชูเลิศ จิระรัตนเมธากร

รองผู้อำนวยการ

พ.อ.ปณิธาน กาญจนวิโรจน์

น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น.

กองจัดการ

ผู้จัดการ

น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ

ประจำกองจัดการ

พ.อ.ธนะศักดิ์ ประดิษฐ์ธรรม

พ.ท.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์

เหรัญญิก

พ.อ.กณพ หงษ์วิไล

ฝ่ายกฎหมาย

น.อ.สุรชัย สลามเต๊ะ

พิสูจน์อักษร

พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธำารง

กองบรรณาธิการ

บรรณาธิการ

พ.อ.ชัยวัฒน์ สว่างศรี

รองบรรณาธิการ

น.อ.สูงศักดิ์ อัครปรีดี ร.น.

น.อ.วัฒนสิน ปัตพี ร.น.

ผู้ช่วยบรรณาธิการ

น.ท.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น.

ประจำกองบรรณาธิการ

พ.ท.หญิง สายตา น้อยรักษ์

น.ท.หญิง ฉันทนี บุญปักษ์

พ.ต.หญิง ลลิดา กล้าหาญ

พ.จ.อ.สุพจน์ นุตโร

จ.ท.หญิง ศุภรเพ็ญ สุพรรณ


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor talk

สวัสดีท่านผู้อ่านสำาหรับต้นปี พ.ศ.๒๕๖๔ ซึ่งเริ่มต้นปีด้วยความ

เป็น New Normal อย่างเต็มรูปแบบ เท่าที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่าในที่สุด

สถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกและในประเทศไทย ได้ลุกลามขึ้น

อย่างต่อเนื่อง จนรัฐบาลได้มีการกำาหนดมาตรการพื้นที่เฝ้าระวังเขตต่างๆ

ทำาให้การเดินทางมีกฎระเบียบมากขึ้น หลายชีวิตผันตัวเองมานั่งใช้

Internet ทำางานที่บ้านถาวร ผู้ที่มีบุตรหลานเปลี่ยนชีวิตจากพ่อบ้าน

แม่บ้านมาเป็นผู้ช่วยครูสอนหนังสือเด็กๆ ตามระบบการเรียน Online ไป

อีกหลายเดือน ทั้งนี้ อาจต้องใช้ระยะเวลาในการปรับตัวไปอีกซักพัก และหวัง

ว่าในห้วงกลางปี เราอาจได้รับข่าวดีในการได้รับวัคซีนเพื่อลดความรุนแรง

จากสถานการณ์ COVID-19 ก็เป็นได้

ในเดือนมกราคมปีนี้ ทุกท่านคงได้สัมผัสอุณหภูมิ ๑๘ - ๑๙

องศาเซลเซียสในกรุงเทพมหานคร และอุณหภูมิเลขตัวเดียวในหลายพื้นที่

ต่างจังหวัด ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน และอาจมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น

ทุกปี อันเป็นผลจากการทำาลายทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ จนส่งผล

กระทบต่อภูมิอากาศ โดยในอนาคตเราอาจได้ประสบกับอุณหภูมิที่ร้อนจัด

ในฤดูร้อน หนาวจัดในฤดูหนาวและพายุรุนแรงในฤดูฝน อย่างที่กล่าวมา

ข้างต้น การเกิดสถานการณ์หลายอย่างขึ้นกับโลก ย่อมมีเหตุและผลใน

การรักษาดุลยภาพ เพื่อให้โลกใบนี้ยังคงดำาเนินต่อไป เราอาจต้องมา

ตระหนักกับการเตรียมตัวเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตมากขึ้น

ด้วยเช่นกัน

สำาหรับเดือนนี้ วารสารหลักเมือง มีบทความและสาระน่ารู้

ตามวันสำาคัญประจำาเดือน ได้แก่ วันพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช และ

วันกองทัพไทย บทความเทคโนโลยีทางทหารที่หลากหลาย และคอลัมน์

ประวัติปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมซึ่งดำาเนินมาเป็นตอนที่ ๓ เช่นเคย

ขอเชิญผู้อ่านที่รัก พักผ่อนอิริยาบถไปกับอาหารสมองที่เราตั้งใจมอบให้

แล้วพบกันใหม่ใน “เดือนแห่งความรัก” ครับ

สวัสดีครับ

๑๐

๑๔

มกราคม บรมรำาลึกทวิมหาราชแห่งชาติไทย

๑๐

วันคล้ายวันสถาปนากรมเสมียนตรา

ครบรอบ ๑๑๒ ปี ๑๘ มกราคม ๒๕๖๔

๑๒

พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจ

ว่าด้วยความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา

๑๔

“ผู้นำายุคดิจิทัล”

: ปัจจัยสำาคัญในการนำาพาประเทศไทย

ไปสู่การเป็นประเทศที่เจริญยิ่งใหญ่ในโลกหลังโควิด-๑๙

๑๘

ปืนใหญ่โบราณ หน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม

(ตอนที่ ๓)

ตอน : ปืนใหญ่ฝาแฝดแบบอาร์มสตรอง

จากประเทศอังกฤษ

๒๐

ทิศทางยุทธศาสตร์ของจีน

ในระยะเวลา ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๔ - ๒๕๖๘)

และระยะยาวถึงปี พ.ศ.๒๕๗๘ (ตอนที่ ๑)


๑๘

๒๐

๓๔

๒๖

๒๔

เข้าถึงด้วยพอเพียง

๒๖

ข้าราชการพลเรือน

ในสังกัดกระทรวงกลาโหม

๒๘

เครื่องกรองอากาศ PM 2.5 แบบไฟฟ้าสถิต

๓๐

การก่อการร้ายบนโลกไซเบอร์ -

ข่าวกรองทางไซเบอร์ - การจารกรรม

Cyber Terrorism - Cyber Intelligence

Cyber Espionage “เครื่องมือในการก่อเหตุ”

๓๔

เปิดประตูสู่เทคโนโลยีป้องกันประเทศ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

และกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ

ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนา

จัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์

เพื่อความมั่นคงทางทะเล

๓๐

๓๘

“Happy COVID New Year 2021”

๔๐

แผนงานที่สำาคัญของมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ

๕ จังหวัด เพื่อดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

ด้านภาคตะวันออกของไทย

๔๔

โลกเปลี่ยนสีลมเปลี่ยนทิศ

๔๘

ราชวงศ์อลองพญาหลังจากการก่อกบฏ

วังหลวง พ.ศ.๒๔๐๙

๕๐ สาระน่ารู้ทางการแพทย์

“โควิด-๑๙ : เชื้อกลายพันธุ์ที่น่าจับตามอง”

๕๒

แนะนำาอาวุธเพื่อนบ้าน รถสายพานลำาเลียงพล

แบบเอ็ม-๑๑๓ (M-113)

๕๕

ปริศนาอักษรไขว้

๕๐

๓๘

๕๒

ข้อคิดเห็นและบทความที่นำาลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพัน

ต่อราชการแต่อย่างใด สำานักงานเลขานุการสำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm

พิมพ์ที่ : บริษัท ธนอรุณการพิมพ์ จำากัด ๔๕๗/๖-๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

โทร. ๐-๒๒๘๒-๖๐๓๓-๔ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๒๑๘๗-๘

E-mail : thanaaroon19@gmail.com ออกแบบ : บริษัท ธนอรุณการพิมพ์ จำากัด


สารอวยพร

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๔

เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๔ ขอส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดี มายังข้าราชการทหาร ลูกจ้าง

และพนักงานราชการ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมทุกคนด้วยความจริงใจ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผมตระหนักดีว่าพี่น้องทหารทุกหมู่เหล่าได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพในการพิทักษ์ปกป้อง

เอกราชอธิปไตย และความมั่นคงของชาติ ตลอดจนความสงบสุขของประชาชน ทั้งภารกิจด้านความมั่นคง การพัฒนาประเทศ

การสนับสนุนโครงการจิตอาสาพระราชทาน การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งการสนับสนุน

การดำเนินงานของรัฐบาลในการเดินหน้าขับเคลื่อนการทำงานรูปแบบใหม่ (New Normal) หรือ “รวมไทย สร้างชาติ” เน้นบริหาร

ราชการแผ่นดินให้มีความทันสมัย เพื่อให้ประเทศชาติก้าวไปสู่ความเจริญที่มั่นคงอย่างยั่งยืน ซึ่งภารกิจทุกด้านบรรลุผลสำเร็จ

ตามความมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท ความเสียสละ และความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของพี่น้อง

ทหารทุกท่าน ทำให้กระทรวงกลาโหมดำรงไว้ซึ่งเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ในการเป็นสถาบันหลักที่เป็นรากฐานด้านความมั่นคง

ของประเทศ ผมจึงขอแสดงความชื่นชมและขอขอบคุณพี่น้องทหารทุกท่าน ด้วยความจริงใจ เป็นอย่างยิ่ง

ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ผมขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก ตลอดจนพระบารมี

อันแผ่ไพศาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี โปรดดลบันดาลพระราชทานพร

ให้ข้าราชการทหาร ลูกจ้าง และพนักงานราชการ ในสังกัดกระทรวงกลาโหมทุกคนพร้อมครอบครัว ประสบแต่ความสุขสิริสวัสดิ์

พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผลด้วยจตุรพิธพรชัย และสัมฤทธิผลในสิ่งอันพึงปรารถนา เพื่อร่วมกันพิทักษ์รักษาสถาบันชาติ ศาสนา

พระมหากษัตริย์ และพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคงสืบไป

พลเอก

(ประยุทธ์ จันทร์โอชา)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

4

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร


สารอวยพร

พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ

ปลัดกระทรวงกลาโหม

เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๔

เนื่องในศุภวาระขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๔ ขอส่งความปรารถนาดีและความระลึกถึงมายังข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน

ราชการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตลอดจนครอบครัว ด้วยความรักและห่วงใย

ในรอบปีที่ผ่านมา ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ทุ่มเท เสียสละแรงกาย แรงใจ มุ่งมั่น

ปฏิบัติภารกิจ เพื่อเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จนบังเกิดผลสัมฤทธิ์ด้วยดีเสมอมา

ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ นี้ ขอให้ทุกท่าน มีกำลังกายกำลังใจที่เข้มแข็ง ปฏิบัติงานในหน้าที่ให้ดีที่สุด ปรับตัวให้พร้อมรับ

สถานการณ์และความเปลี่ยนแปลงได้ทุกรูปแบบ พร้อมทั้งพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพ มีความฉลาด รอบรู้ ทันสมัย และ

มีวิสัยทัศน์ เพื่อให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นที่ยอมรับ เชื่อมั่น ศรัทธา ทั้งหน่วยงานจากภายในและภายนอก

กระทรวงกลาโหมในทุกด้าน อย่างมั่นคง และยั่งยืน

ในวาระอันเป็นศุภมงคลนี้ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ตลอดจนพระบรมเดชานุภาพ

แห่งสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ พระบารมีอันแผ่ไพศาลของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี โปรดดลบันดาลพระราชทานพรให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ สังกัดสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหมทุกท่าน ตลอดจนครอบครัว ประสบแต่ความสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล เจริญด้วยจตุรพิธพรชัย มีสุขภาพ

พลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญาที่เข้มแข็ง มุ่งมั่น ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์อันถาวร

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และประเทศชาติสืบไป

พลเอก

(ณัฐ อินทรเจริญ)

ปลัดกระทรวงกลาโหม

หลักเมือง ตุลาคม ๒๕๖๓

5


มกราคม

บรมรำลึกทวิมหาราชแห่งชาติไทย

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ดือนมกราคม ที่ทุกท่านเข้าใจว่าเป็นเดือนแห่งการเริ่มต้นปี

และเป็นเดือนแห่งการตั้งต้นกิจกรรมสำคัญของแต่ละท่านในปีใหม่

ซึ่งเป็นปฐมเดือนแห่งการก้าวเดินของแต่ละบุคคลตามอัธยาศัย ที่จะ

ดำเนินงานด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจใหม่ จะดำรงบทบาทใหม่ และจะ

บำเพ็ญกิจใหม่เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของตนเอง ครอบครัว และชุมชน

แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่า ในเดือนมกราคมนี้ เป็นเดือนที่มีการ

ประกาศเป็นวันสำคัญของชาติ และควรจะเป็นวันที่ประชาชนชาวไทย

พึงตระหนักรู้และร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบูรพ-

กษัตราธิราชเจ้าของชาติไทยถึง ๒ พระองค์ ทั้งยังทรงเป็นมหาราช

ที่สำคัญของชาติไทย และเป็นมหาราชของ ๒ ราชอาณาจักร กล่าวคือ

วันที่ ๑๗ มกราคม วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นวันรำลึก

พระมหากรุณาธิคุณขององค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช องค์มหาราช

แห่งราชอาณาจักรสุโขทัย

6

วันที่ ๑๘ มกราคม วันกองทัพไทย เป็นวันรำลึกถึงพระบรม

เดชานุภาพและพระบรมกฤดานุภาพขององค์สมเด็จพระนเรศวร

มหาราช องค์มหาราชแห่งราชอาณาจักรอยุธยา

โดยในบทความนี้ จะขอโอกาสอัญเชิญพระราชประวัติ

และพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์มหาราชทั้ง ๒ พระองค์ ให้ทุกท่าน

ได้กรุณาทราบ กล่าวคือ

๑. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์

พระร่วง ราชอาณาจักรสุโขทัย (ทั้งนี้ ทรงพระนามอีกพระนาม คือ

พ่อขุนรามราช) ในขณะที่พระองค์ดำรงพระชนมายุ ๑๙ พรรษา ได้

เสด็จเข้าร่วมกองทัพกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชบิดา ไปป้องกัน

เมืองตาก และได้ทรงกระทำยุทธหัตถีสู้รบกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด

(เมืองที่อยู่ใกล้เมือง) จนได้รับชัยชนะ ด้วยพระปรีชาสามารถและ

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


กล้าหาญ ในการศึกครั้งนั้น ทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชทานนาม

ให้ว่า รามคำแหง ซึ่งมีความหมายว่า รามผู้กล้าหาญเข้มแข็งในการรบ

ในปี พ.ศ.๑๘๒๒ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้เสด็จขึ้นครอง

ราชสมบัติแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งในรัชสมัยของพ่อขุน

รามคำแหงมหาราช ถือได้ว่าเป็นช่วงสมัยที่ราชอาณาจักรสุโขทัยมี

ความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เพราะตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคม ที่สามารถ

ค้าขายติดต่อกับบ้านเมืองต่างๆ ได้โดยรอบ ทั้งยังเป็นเส้นทางการค้า

สำคัญที่อนุญาตให้พ่อค้าเอาสินค้าไปค้าขายได้โดยไม่เก็บภาษี ทำให้

เศรษฐกิจของราชอาณาจักรสุโขทัยเจริญเป็นอย่างมาก

พระองค์ยังทรงแผ่พระราชอำนาจทางการทหารไปยังนานา

แคว้น และรวบรวมเข้าด้วยกันจนส่งผลให้ราชอาณาจักรไทยกว้างใหญ่

ไพศาลกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา ทั้งยังทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้แทน

ตัวอักษรขอมที่เคยใช้กันมาแต่เดิม เมื่อปี พ.ศ.๑๘๒๖ เรียกว่า

“ลายสือไทย” และได้มีการพัฒนาการมาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทย

ในยุคปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีอักษรไทยใช้มาจนถึงทุกวันนี้ อีกทั้ง

ข้อความที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่๑ ทำให้คนไทยยุคหลัง

ได้ทราบถึงเรื่องราวที่สำคัญ และนักประวัติศาสตร์ได้ใช้ศิลาจารึก

ดังกล่าวเป็นข้อมูลหลักฐานในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวประวัติศาสตร์

ราชอาณาจักรสุโขทัย

ในกาลต่อมา พระองค์ทรงรับพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท

ลัทธิลังกาวงศ์ จากลังกา ผ่านเมืองนครศรีธรรมราช มาประดิษฐานที่

เมืองสุโขทัย ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคงในราชอาณาจักร

สุโขทัย และเผยแผ่ไปยังหัวเมืองต่างๆ จนกระทั่งได้กลายเป็นศาสนา

ประจำชาติไทยมาจนถึงทุกวันนี้ตลอดจนทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์

พระพุทธลักษณะที่งดงามและมีความศักดิ์สิทธิ์จากลังกา เพื่อขอเป็น

ไมตรี และขอพระราชทานพระพุทธสิหิงค์มาเพื่อเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง

ไทยสืบไป นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ยังทรงใช้พุทธศาสนา

เป็นเครื่องช่วยในการปกครอง โดยได้ทรงสร้าง พระแท่นมนังคศิลา-

บาตร ขึ้นไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนา

แก่ประชาชนในวันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จประทับเป็น

ประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกันและทรงวาง

รากฐานการปกครองแบบธรรมราชา ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครอง

ที่สำคัญของไทยอีกรูปแบบหนึ่ง

พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติของ

พระองค์ท่านล้วนแต่เป็นการวางรากฐานแห่งความเจริญไว้ให้แก่

ประเทศชาติ และปวงชนชาวไทยทุกคนสืบทอดต่อกันมาจวบจนถึง

วันนี้เป็นระยะเวลายาวนานกว่า ๗๐๐ ปี และด้วยพระมหากรุณาธิคุณ

ของพระองค์ท่านที่ทรงบำเพ็ญในหลายด้าน ปวงชนชาวไทยทุกคน

จึงได้พร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ท่านเป็น มหาราช

พระองค์แรกของชาติไทย

สำหรับวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นั้น รัฐบาลได้มีการ

พิจารณาทบทวนเรื่องการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์

โดยคำนึงถึงความเหมาะสม และความถูกต้องตามหลักฐานทาง

ประวัติศาสตร์ โดยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้เสนอความ

คิดเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพบหลักศิลา

จารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในวันศุกร์ที่๑๗ มกราคม ๒๓๗๖

จึงได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการกำหนดวันสำคัญทาง

ประวัติศาสตร์ของชาติ โดยให้วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๓๓ เป็นวัน

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งถือว่าเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์

ซึ่งถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกอีกด้วย

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

7


๒. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่

๑๘ แห่งราชอาณาจักรอยุธยา เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๙

กรกฎาคม ๒๑๓๓ โดยทรงครองราชสมบัติเป็นเวลา ๑๕ ปี เสด็จ

สวรรคตเมื่อวันที่๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ สิริพระชนมพรรษา ๔๙ พรรษา

ทรงมีพระนามเดิมว่า พระนเรศ หรือพระองค์ดำ ทรงเป็นพระ

ราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิกษัตรีย์

เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๘ ที่พระราชวังจันทน์

เมืองพิษณุโลก มีพระเชษฐภคินี คือ พระสุพรรณกัลยา มีพระอนุชา

คือสมเด็จพระเอกาทศรถ หรือพระองค์ขาว

สำหรับเหตุการณ์วันสำคัญคือ วันที่ ๑๘ มกราคม ซึ่งเป็นวันแห่ง

พระบรมเดชานุภาพขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องมาจาก

เมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๕ พระเจ้านันทบุเรง กษัตริย์พม่าได้ให้พระมหา

อุปราชายกทัพใหญ่หมายมาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระนเรศวร

มหาราชทรงทราบข่าวศึก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพ

หลวงไปตั้งรับที่หนองสาหร่าย ซึ่งระหว่างที่การรบกำลังดำเนินอยู่นั้น

ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรถก็ได้

ไล่ล่าศัตรูไปจนออกนอกเขตแดน จนทำให้ทั้งสองพระองค์ตกไปอยู่ใน

วงล้อมของศัตรูโดยไม่รู้ตัว ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ

พระองค์ก็ยังทรงมีพระสติมั่นคง ไม่หวั่นไหว และทรงแก้ไขปัญหาได้

อย่างรวดเร็ว ว่าหนทางที่จะรอดได้มีเพียงทางเดียวเท่านั้น คือเชิญ

พระมหาอุปราชาเสด็จมาทำยุทธหัตถี ในท้ายที่สุดพระองค์ก็สามารถ

กระทำยุทธหัตถีได้รับชัยชนะอย่างสมพระเกียรติและนับตั้งแต่นั้นมา

ก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกนับเวลานานกว่า

ร้อยปี จึงถือว่าการทำยุทธหัตถีในครั้งนั้นเป็นการทำยุทธหัตถีที่สำคัญ

ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย และยังเป็นการรบบนบกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

อีกด้วย สำหรับเหตุการณ์สำคัญนี้ได้มีการบันทึกไว้ในพระราช

พงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียม ความว่า

“...สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าเสด็จคอยฤกษ์ ทอดพระเนตร

เห็นมหาเมฆตั้งขึ้นมาแต่พายัพ แล้วกลับเกลื่อนคืนกระจายอันตรธานไป

พระสุริยเทวบุตรจรัสแจ่มดวงในนภาดลอากาศ พระมหาราชครู

พระครูปโรหิตาจารย์ โหราธิบดี ก็ลั่นฆ้องชัยดำเนินธง พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จทรงเจ้าพระยาไชยานุภาพ เป็นพระคชาธาร

สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถราชอนุชา เสด็จทรงเจ้าพระยา

ปราบไตรจักรเป็นพระคชาธาร พลทหารก็โห่ สนั่นบันลือศัพท์ แตรสังข์

เสียงประโคมฆ้องกลองชนะ กลองศึก สะท้านและสะเทือน ประหนึ่ง

แผ่นดินจะไหว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ยาตรา

พระคชาธาร เป็นบาทย่างสะเทินมา เบื้องขวา ปะฝ่ายซ้ายข้าศึก เจ้าพระยา

ไชยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ได้ยินเสียงพลและเสียงฆ้องกลองศึก

อึงคะนึง ก็เรียกมันครั่นครื้น กางหูชูหางกิริยาป่วน เดินเป็นบาทอย่าง

ใหญ่ ไปด้วยกำลังน้ำมัน ช้างท้าวพระยามุขมนตรีและโยธาหาญ

ซ้ายขวา หน้าหลังทั้งนั้นตกลงไปมิทันเสด็จ และคชาธารสมเด็จพระเจ้า

อยู่หัวทั้งสองพระองค์ใกล้ทัพหน้าข้าศึก ตรัสทอดพระเนตรเห็น

พลพม่ารามัญยกมานั้นเต็มท้องทุ่ง เดินดุจคลื่นในพระมหาสมุทร

ข้าศึกไล่พลชาวพระนครมาครั้งนั้น สลับซับซ้อนกันมิได้เป็นกระบวน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ก็ขับพระคชาธารเข้าโจมแทงช้าง

ม้ารี้พล ไล่ส่ายเสยกีบกัดตะลุมบอน พลพม่ารามัญล้มตายเกลื่อนกลาด

ช้างข้าศึกได้กลิ่นน้ำมันพระคชาธารก็หกหัน ตลบปะกันไปเป็น

อลหม่าน พลพม่ารามัญก็โทรมยิงธนูหน้าไม้ปืนไฟ ระดมเอาพระ

คชาธารสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ และธุมาการก็ตลบมืด

เป็นหมอกมัวไป มิได้เห็นกันประจักษ์

...พระบาทสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้า จึ่งตรัสประกาศแก่

เทพยดาทั้งปวงว่า ให้บังเกิดมาในประยูรมหาเศวตฉัตร จะให้บำรุง

พระบวรพุทธศาสนา ไฉนจึ่งมิช่วยให้สว่างและเห็นข้าศึกเล่า พอตก

พระโอษฐ์ลง พระพายก็พัดควันอันเป็นหมอกมืดนั้นสว่างไป

ทอดพระเนตรเห็นช้างเศวตฉัตร ๑๖ ช้าง มีช้างกันยืนอยู่เป็นอันมาก

8

พลโท ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


แต่มิได้เห็นพระมหาอุปราชา ครั้นเหลือบไปฝ่ายทิศขวาพระหัตถ์ ก็

เห็นช้างเศวตฉัตรช้างหนึ่ง ยืนอยู่ ณ ฉายาไม้ข่อย มีเครื่องสูงและทหาร

หน้าช้างมาก ก็เข้าพระทัยถนัดว่า ช้างพระมหาอุปราชา พระเจ้าอยู่หัว

ทั้งสองพระองค์ ก็ขับพระคชาธารตรงเข้าไป ทหารหน้าช้างข้าศึก ก็

วางปืนจ่ารงค์ มณฑก นกสับ ตระแบงแก้ว ระดมยิงมิได้ต้องพระองค์

และพระคชาธาร สมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าจึ่งตรัสร้องเรียกด้วยเสียง

อันดังว่า

...พระเจ้าพี่ เราจะยืนอยู่ไยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถ์

ด้วยกันให้เป็นเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีกษัตริย์ที่จะ

ได้ยุทธหัตถ์แล้ว...

...พระมหาอุปราชาได้ฟังดังนั้น ละอายพระทัย มีขัตติยราช

มานะ ก็บ่ายพระคชาธารออกมารับ เจ้าพระยาไชยานุภาพเห็นช้าง

ข้าศึก ก็ไปด้วยฝีลั่นน้ำมันมิทันยั้ง เสียที พลายพัทธกอก็ได้ล่างแบก

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

รุนมา พระมหาอุปราชาจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเรศวร

เบี่ยงพระมาลารับ พระแสงของ้าวมิได้ต้องพระองค์ เจ้าพระยาไชยา

นุภาพสบัดลงได้ล่างแบกถนัด พลายพัทธกอเพลียกเบนไป สมเด็จ

พระนเรศวรเป็นเจ้าได้ที จ้วงฟันด้วยพระแสงพลพ่ายต้องพระอังสา

เบื้องขวาพระมหาอุปราชา ตลอดลงมาจนประฉิมมุราประเทศ ซบลง

กับคอช้าง และนายมหานุภาพควาญพระคชาธารพระนเรศวรเป็นเจ้า

นั้น ต้องปืนข้าศึกตาย...

...ขณะเมื่อสมเด็จพระนเรศวรเป็นเจ้าชนช้างด้วยพระมหา

อุปราชานั้น เจ้าพระยาปราบไตรจักรซึ่งเป็นคชาธารสมเด็จพระ

เอกาทศรถ ก็เข้าชนด้วยพลายพัทซะเนียง ช้างมางจาซโร เจ้า พระยาปราบ

ไตรจักรได้ล่าง พลายพัทซะเนียงเสียทีเบนไป สมเด็จ พระเอกาทศรถ

จ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าว ต้องคอมางจาชโรขาด ตายกับคอช้าง

หมื่นภักดีศวร กลางช้างสมเด็จพระเอกาทศรถนั้น ต้องปืนข้าศึกตาย...

...ขณะเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ท ำสงคราม

ได้ชัยชำนะพระมหาอุปราชาและมางจาชโรแล้ว บรรดาท้าว พระยา

มุขมนตรี นายทัพ นายกอง ซ้ายขวา หน้าหลังทั้งปวง จึ่ง มาทันเสด็จ

ได้เข้ารบพุ่งแทงฟันข้าศึกเป็นสามารถ และพลพม่า มอญทั้งนั้นก็แตก

กระจายไปเพราะพระเดชเดชานุภาพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสให้นาย

ทัพนายกองทั้งปวงยกไปตามจับข้าศึก แล้ว เสด็จคืนมายังพลับพลา

พระราชทานชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพ เป็นเจ้าพระยาปราบหงสา

บรรดามุขมนตรีนายทัพนายกองซึ่งยก ตามข้าศึกไปนั้น ได้ฆ่าฟันพม่า

มอญโดยทางไปถึงกาญจนบุรี ศพเกลื่อนไปแต่ตะพังตรุนั้นประมาณ

๒๐,๐๐๐ เศษ จับได้เจ้าเมืองมะลวนและนายทัพนายกองกับไพร่

เป็นอันมาก ได้ช้างใหญ่ สูง ๖ ศอก ๓๐๐ ช้าง พลายพังระวางเพรียว

๕๐๐ ม้า ๒,๐๐๐ เศษ มาถวาย...”

เมื่อเป็นเช่นนี้ กองทัพไทย จึงถือเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวร

มหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เป็น

“วันกองทัพไทย” ซึ่งเป็นวันรัฐพิธี โดยพิจารณาจากวันที่ทรงกระทำ

ยุทธหัตถี คือวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ ค่ำ จุลศักราช ๙๕๔ ซึ่งตรงกับ

วันที่ ๑๘ มกราคมของทุกปี

ผู้เขียนจึงขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่า พระบรมเดชานุภาพ

พระมหากรุณาธิคุณ และพระราชกรณียกิจของพระบูรพกษัตราธิราชเจ้า

องค์มหาราชทั้ง ๒ พระองค์ ได้สร้างความเป็นชาติ สร้างเอกราช

อธิปไตย และความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ราชอาณาจักรไทย

ได้มีความสงบสุข มีความเป็นปึกแผ่น และมีแผ่นดิน

หยัดยืนมาตราบจนปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องที่ประชาชน

ชาวไทยพึงตระหนักรู้และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

และร่วมจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยต่อไป

อย่างยาวนาน

ในวันที่ ๑๗ มกราคม วันพ่อขุนรามคำแหง

มหาราช และวันที่ ๑๘ มกราคม วันกองทัพไทย

ผู้เขียนจึงขอเรียนเชิญทุกท่านพสกนิกรไทย

ทุกท่านร่วมน้อมเกล้าฯ รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และสมเด็จพระนเรศวร

มหาราช ทวิมหาราชผู้ทรงสร้างความมั่นคงเป็น

ปึกแผ่น เอกราช และเกียรติภูมิให้แก่ประเทศชาติ

ด้วยกันทุกท่านเทอญ

9


วันคล้ายวันสถาปนา

กรมเสมียนตรา

ครบรอบ ๑๑๒ ปี ๑๘ มกราคม ๒๕๖๔

กรมเสมียนตรา

นั

บตั ้งแต่ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้น

เมื่อ ๘ เมษายน ๒๔๓๐ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีภารกิจสำคัญคือการเร่งรัดพัฒนา

กิจการทหารของประเทศให้ทันสมัยตามแบบอารยประเทศ โดย

เริ่มแรกนั้นมีกำลังทหารบกและทหารเรืออยู่ในกำกับรับผิดชอบ

แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบในเรื่องงานของกำลังพลโดยตรง

กรมเสมียนตรา ถือกำเนิดขึ้นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ประมาณปี พ.ศ.๒๔๕๒ โดยมีฐานะเป็น กองเสมียนตรา มีหน้าที่ใน

การหนังสือและระเบียบปกครองบัญชีนายทหาร การแต่งตั้ง บำเหน็จ

ความชอบ คำสั่งโต้ตอบ และข้อบังคับของกรมปลัดทัพบก มี

“เสมียนตรา” เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ และในปี พ.ศ.๒๔๕๖

ได้ยกฐานะกองเสมียนตราขึ้นเป็น กรมเสมียนตรา เปลี่ยนแปลงนาม

ตำแหน่ง “เสมียนตรา” เป็น “เจ้ากรม” จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๗๖

ได้มีการเปลี่ยนแปลงการแบ่งส่วนราชการของกระทรวงกลาโหม

โดยเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง “เสนาบดี” เป็น “รัฐมนตรีกองบังคับการ

กระทรวงกลาโหม” และแปรสภาพปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็น สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีปลัดกระทรวงกลาโหม

เป็นผู้บังคับบัญชา สำหรับกรมเสมียนตราคงอยู่ในบังคับบัญชา

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตามประกาศ กรมเสมียนตรา

ลงวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๒ กำหนดให้วันที่ ๑๘ มกราคม

ของทุกๆ ปี เป็นวันสถาปนากรมเสมียนตรา

“กรมเสมียนตรา” มีภารกิจที่สำคัญต่างๆ โดยรับผิดชอบงาน

ในหน้าที่ของฝ่ายอำนวยการ และฝ่ายกิจการพิเศษ ได้แก่

“การกำลังพล การสารบรรณ การสวัสดิการ และเรื่องระเบียบการ”

โดยมีวิสัยทัศน์มุ่งสู่การเป็นองค์กรหลักในการกำหนดนโยบายและ

10

พลเอก วรวิช มลาสานต์

เจ้ากรมเสมียนตรา

การบริหารงานบุคคลระดับกระทรวงกลาโหม มีระบบบริหาร

จัดการด้านการกำลังพลที่สามารถสนับสนุนให้กองทัพมีความพร้อม

ในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

การขับเคลื่อนนโยบายด้านกำลังพลที่สำคัญของกระทรวงกลาโหม

โดยกรมเสมียนตรา

กรมเสมียนตรา ได้ดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งประกอบด้วยงานสำคัญ จำนวน ๓ เรื่อง

ได้แก่

๑. การปฏิรูประบบบริหารจัดการกำลังพล

เพื่อให้กระทรวงกลาโหมมีกำลังพลในอัตราที่เหมาะสมในการ

ปฏิบัติภารกิจตามแผนแม่บทการปฏิรูปการบริหารจัดการและการ

ปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๙ โดยมี

แนวทางการปฏิรูปการบริหารจัดการกำลังพลในเบื้องต้นคือ ตรึงยอด

กำลังพลไม่ให้เพิ่มขึ้นจากยอดบรรจุในเดือนกันยายน ๒๕๖๓ พร้อม

กับปรับลดกำลังพลลงร้อยละ ๕ ของยอดบรรจุภายในปีงบประมาณ

พ.ศ.๒๕๗๐ ดำเนินการตามแผนปรับลดนายทหารชั้นนายพลใน

ตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ และนายทหารปฏิบัติการ

(นปก.) อย่างต่อเนื่องตามแผนการปรับลดอัตรากำลังพลของ

กระทรวงกลาโหม, ลดยอดการผลิตกำลังพลจากสถานศึกษาในสังกัด

ของกระทรวงกลาโหม พร้อมทั้งจัดทำแผนบรรจุกำลังพล ระยะ ๒ ปี

และ ๕ ปี ให้เป็นแนวทางเดียวกันทั้งกระทรวงกลาโหม

การปฏิรูปกองทัพด้านกำลังพลและการส่งเสริมการบริหารงาน

ตามหลักธรรมาภิบาล ปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการใน

กระทรวงกลาโหมให้มีความทันสมัย มีขนาดเหมาะสม มีขีดความ

สามารถสอดคล้องกับการบริหารราชการยุคใหม่ รวมทั้งพัฒนากลไก

ในการบริหารจัดการงานด้านกำลังพล แบบบูรณาการระหว่าง สป.

นขต.กห. และเหล่าทัพ ผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านกำลังพล กห.

(Ministry of Defence Data Exchange Center: MODx) และ

การใช้ประโยชน์ข้อมูลจากฐานข้อมูลทะเบียนกลาง กรมการปกครอง

ผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ

(Linkage Center) ที่สามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลร่วมกันได้อย่างถูกต้อง

มั่นคง ปลอดภัย และอำนวยความสะดวก ลดภาระแก่ประชาชน

๒. การนำกำลังพลสำรองเข้าทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว

หรือ “ทหารอาสา”

กรมเสมียนตรา ได้กำหนดแนวทางดำเนินการตามนโยบาย

เร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และแผนแม่บทการปฏิรูปการ

บริหารจัดการและปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม ที่ต้องการ

กรมเสมียนตรา


ให้หน่วยมีกำลังพลในระดับปฏิบัติการที่มีอายุน้อย ผลัดเปลี่ยน

หมุนเวียนเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยกำลังรบและหน่วยสนับสนุน

การรบอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดภาระผูกพันด้านงบประมาณในระยะยาว

แก้ปัญหากำลังพลสูงอายุในหน่วยกำลังรบและหน่วยสนับสนุน

การรบ โดยยึดถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และกฎหมายที่มีอยู่ โดยไม่มี

การแก้ไขหรือเพิ่มเติมกฎหมายแต่อย่างใด การนำกำลังพลสำรองเข้าทำ

หน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราว หรือ “ทหารอาสา” มาปฏิบัติราชการ

ในหน่วยกำลังรบ และหน่วยสนับสนุนการรบได้มีการประชาสัมพันธ์

เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนทั่วไปและกำลังพลสำรอง ให้ได้

รับทราบถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมและสนับสนุนภารกิจ

ทางทหารตั้งแต่ในภาวะปกติอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมให้มีการ

สมัครใจเข้ารับราชการทหารกองประจำการมากขึ้น และต้องดูแล

ทหารกองประจำการเสมือนสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน โดยให้มี

การปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติ สร้างระเบียบวินัย ความเป็น

สุภาพบุรุษ ส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง สร้างความตระหนักรู้ถึง

ภัยยาเสพติด ควบคู่กับการเสริมสร้างทักษะสำหรับสร้างงานสร้างอาชีพ

ให้กับทหารกองประจำการ เพื่อให้เป็นคนดีของสังคมและเป็นกำลัง

สำคัญทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตต่อไป

๓. ข้าราชการพลเรือนกลาโหม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กรุณามอบนโยบาย

เร่งด่วนด้านการปฏิรูปกองทัพและการส่งเสริมการบริหารงานตามหลัก

ธรรมาภิบาล โดยเร่งรัดการนำข้าราชการพลเรือนกลาโหมมาบรรจุ

รับราชการ เพื่อทดแทนการบรรจุกำลังทหารประจำการให้ครอบคลุม

ทุกส่วนราชการ ซึ่งกระทรวงกลาโหมโดย กรมเสมียนตรา ได้ดำเนิน

การในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำระบบบริหารจัดการข้าราชการ

พลเรือนกลาโหม เพื ่อให้พร้อมในการบรรจุข้าราชการพลเรือน

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

กลาโหมในตำแหน่งที่มิใช่อัตราทหารและไม่มีชั้นยศเพื่อปฏิบัติหน้าที่

ที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะทาง เมื่อร่างพระราชกฤษฎีการะเบียบ

ข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติ

เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ ของ

ข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้ ซึ่งจะทำให้การ

ปฏิรูปกองทัพในด้านการบริหารจัดการกำลังพลให้เกิดประสิทธิภาพ

ซึ่งมีการจำแนกประเภทกำลังพลที่ชัดเจนและสามารถรักษาหรือ

ส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะทางให้มีความเจริญ

ก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้อย่างเหมาะสม อันจะส่งผลให้การปฏิบัติ

ภารกิจในภาพรวมของกระทรวงกลาโหมสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ดี

ยิ่งขึ้น

ตลอดระยะเวลา ๑๑๒ ปีที่ผ่านมา กรมเสมียนตราได้เป็น

หน่วยงานหลักที่สำคัญของกระทรวงกลาโหม ข้าราชการ ลูกจ้าง

และพนักงานราชการของกรมเสมียนตรา ได้ร่วมกันพัฒนาการบริหาร

จัดการกำลังพลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามเป้าหมายที่กำหนด

ตั้งแต่การคัดเลือกคนดี คนเก่ง เข้าสู่ระบบราชการ พัฒนาทักษะความรู้

รักษากำลังพลที่มีศักยภาพสูงให้อยู่กับหน่วยงาน พัฒนาคุณภาพ

ชีวิตของกำลังพลและครอบครัว รวมทั้งใช้ประโยชน์จากกำลังพล

อย่างเต็มศักยภาพ จนพ้นจากระบบราชการไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่าง

มีเกียรติและมีศักดิ์ศรีกรมเสมียนตราจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการบริหาร

จัดการกำลังพลให้เกิดประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทของ

สังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต เพื่อให้กำลังพลมีความพร้อม

ในการสนับสนุนภารกิจให้กับกระทรวงกลาโหมได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ

11


พิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจ

ว่าด้วยความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ระทรวงกลาโหม โดย พลโท คงชีพ ตันตระวาณิชย์ เจ้ากรม

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ได้ลงนามในบันทึกความ

เข้าใจร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อแสดงถึงจุดยืนร่วมกัน

ในการขับเคลื่อนความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยีป้องกันประเทศและความมั่นคงให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น

เพื่อตอบสนองและสนับสนุนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล

ตามรูปแบบประเทศไทย ๔.๐ โดยมี ดอกเตอร์ จงรัก วัชรินทร์รัตน์

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมลงนาม ณ ห้องประชุมกำพล

อดุลวิทย์ อาคารสารนิเทศ ๕๐ ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วัตถุประสงค์ของการลงนามในครั้งนี้ เพื่อร่วมมือกันใน

การพัฒนาศักยภาพการวิจัยและพัฒนาสาขาวิศวกรรมศาสตร์

วิทยาศาสตร์ และสาขาอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการ

บริหารจัดการและการบูรณาการด้านการวิจัยและพัฒนา สร้าง

นวัตกรรมใหม่ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เสริม

สร้างศักยภาพงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ลดการนำเข้า

ยุทโธปกรณ์ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ การ

แลกเปลี่ยนความรู้ ทรัพยากร และบุคลากรด้านวิจัยและพัฒนา

ตลอดจนการผลิตและพัฒนาบุคลากรเพื่อการเพิ่มพูนความรู้ที่

ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกันพัฒนาให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และ

ปริมาณ สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

12

สำหรับกรอบและแนวทางของความร่วมมือกันดำเนินกิจกรรม

ประกอบด้วย การวิจัยและพัฒนาจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพ

ประสิทธิภาพ และเสริมสร้างขีดความสามารถในการบริหารจัดการ

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ประสานงานเพื่อใช้

ประโยชน์จากความรู้และทักษะจากทรัพยากรบุคคลของทั้งสองฝ่าย

ได้แก่ นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งทรัพยากรอื่นๆ เช่น ข้อมูล

สารสนเทศ เครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ

การวิจัยและพัฒนา เพื่อให้งานในโครงการต่างๆ บรรลุเป้าหมาย

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


การจัดกิจกรรมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานภายใต้

โครงการความร่วมมือ อีกทั้งการดำเนินการอื่นๆ เพื่อผลักดันให้

โครงการสัมฤทธิผล โดยที่ทั้งสองฝ่ายหรือคณะกรรมการบริหาร

โครงการเห็นสมควร

แนวทางการดำเนินโครงการความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม

บริหารโครงการ ข้อมูลที่เป็นความลับ การรักษาความลับ การตีพิมพ์

ผลงาน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติการ

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามโครงการให้ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้พิจารณา

ในรายละเอียดของโครงการเป็นกรณีไป และจัดทำเป็นเอกสาร

แนบท้ายเพิ่มเติมภายใต้ขอบเขตและวัตถุประสงค์แห่งบันทึกความ

เข้าใจนี้ โดยให้สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของ

แต่ละหน่วยงาน

ทั้งนี้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้มีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา ๕ ปี

นับแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ กรณีที่ฝ่ายหนึ่ง

ฝ่ายใดต้องการยกเลิกก่อนที่จะสิ้นสุดอายุบันทึกความเข้าใจ ต้องแจ้ง

เป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าก่อนวันกำหนด

นัดพิจารณาให้ความเห็นชอบร่วมกันไม่น้อยกว่าหกเดือน ซึ่งการ

ยกเลิกบันทึกความเข้าใจ บรรดาความตกลงใดๆ ที่แนบท้ายบันทึก

ความเข้าใจฉบับนี้ให้มีผลสิ้นสุดลงตามไปด้วย ทั้งนี้เงื่อนไขของบันทึก

ความเข้าใจฉบับนี้ยังคงใช้บังคับสำหรับกิจกรรมต่างๆ ตามบันทึก

ความเข้าใจฉบับนี้ที่ได้เริ่มปฏิบัติไปแล้วก่อนสิ้นสุดบันทึกความเข้าใจ

โดยให้ดำเนินการต่อไปจนกว่ากิจกรรมดังกล่าวจะแล้วเสร็จ

การลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ถือเป็นการแสดงถึงจุดยืน

ร่วมกันในการขับเคลื่อนความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาด้าน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศและความมั่นคงให้มี

ศักยภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้งนำองค์ความรู้ที่มีมาสานต่องานวิจัยและ

พัฒนาเทคโนโลยีภาคเกษตรกรรม สู่การช่วยเหลือประชาชน เพื่อการ

พึ่งพาตนเองและการประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม

ตอบสนองและสนับสนุนนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล

ตามรูปแบบประเทศไทย ๔.๐

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

13


“ผู้นำยุคดิจิทัล”

: ปัจจัยสำคัญในการนำพาประเทศไทย

ไปสู่การเป็นประเทศที ่เจริญยิ ่งใหญ่ในโลกหลังโควิด-๑๙

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

มี

ผู้เคยกล่าวไว้ว่าโลกไม่เคยหยุดนิ่ง สรรพสิ่งในโลกล้วนต้อง

เปลี่ยนไป นับว่าเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ วันนี้

ปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ ได้ผ่านพ้นไป ปีใหม่พุทธศักราช ๒๕๖๔

ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ตลอดปีที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหา

14

ต่างๆ รอบด้าน ทั้งปัญหาปากท้องของประชาชน ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง

ปัญหาการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ และปัญหา

เศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่เกิดขึ้นตามระบบเศรษฐกิจ และที่ได้รับ

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ที่ยังเกิดขึ้นทั ่วโลก

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์


หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

ในขณะนี้ ทำให้รัฐบาลและคนไทยทุกฝ่ายต้องช่วยกันหาทาง

แก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดปีที่ผ่านมาจนสามารถช่วยประเทศไทย

และคนไทยได้อย่างปลอดภัย และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดข้อจำกัด

ในการพัฒนาประเทศ ที่สำคัญสามารถลดเงื่อนไขอันจะนำไปสู่ความ

ขัดแย้งที่รุนแรงในสังคมได้ในระดับหนึ่ง นับว่าทุกฝ่ายได้ร่วมมือ

ร่วมใจทำหน้าที่ของตนจนช่วยให้ประเทศไทยของเราผ่านพ้นวิกฤต

ต่างๆ มาได้ด้วยดี อย่างไรก็ตามแนวโน้มของสถานการณ์ด้านต่างๆ

ดังกล่าวในปี พ.ศ.๒๕๖๔ ยังมีความไม่แน่นอนสูง คงต้องติดตาม

สถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และต้องพิจารณาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

ระบบต่างๆ ของสังคมไทยให้สอดคล้องกับยุคสมัยและทันเหตุการณ์

ต่อไป ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นไม่สามารถกระทำได้โดยคน

คนเดียว หรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ต้องอาศัย

คนไทยทุกคนทุกกลุ่มร่วมมือร่วมใจกัน

ให้เกิดพลังสร้างสรรค์ของสังคมไทย

ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มกำลังจึงจะ

สำเร็จได้ และปัจจัยสำคัญที่สังคมไทย

ต้องการเพื่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์ของ

สังคมไทยในการนำพาประเทศไทยไปสู่

การเป็นประเทศที่เจริญยิ่งใหญ่ในโลก

หลังโควิด -๑๙ ก็คือ ผู้นำซึ่งมีภาวะผู้นำ

สอดคล้องกับโลกหลังโควิด-๑๙ ในสังคม

ยุคดิจิทัล ภายใต้บริบทโลกแบบ VUCA

ภายใต้บริบทโลกแบบ VUCA ที่มี

ความผันผวน มีความไม่แน่นอน มีความ

ซับซ้อนและมีความคลุมเครือ ในสภาพ

แวดล้อมของระบบสังคมยุคดิจิทัลหลัง

โควิด-๑๙ ที่จะมีสิ่งที่เรียกว่า “New

Normal” เกิดขึ ้น และประกอบด้วย

ประชาชนที่เป็นคนต่างยุคต่างวัยมาอยู่

ร่วมกัน โดยเฉพาะประชากรกลุ่มที่

เรียกว่า “คนในยุคดิจิทัล” ทำให้ผู้นำ

แบบดั้งเดิมไม่สามารถนำพาหรือจัด

ระบบต่างๆ ได้เพียงลำพัง จำเป็นต้องมี

15


ผู้นำรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “ผู้นำยุคดิจิทัล” ให้มาทำงานร่วมกัน

“ผู้นำยุคดิจิทัล” ควรมีลักษณะเป็นคนที่สามารถทำให้สังคม

เดินไปข้างหน้าได้ท่ามกลางความเชื่อ ความคิด และมุมมองที่แตกต่าง

หลากหลายของผู้คนในสังคมยุคที่มีข้อมูลข่าวสารท่วมท้น อย่างเช่น

ในยุคดิจิทัลนี้ โดยมีทักษะในการหาจุดดุลยภาพของความต้องการ

และความคิดของกลุ่มคนต่างๆ และทำให้เดินไปด้วยกันสู่กรอบ

เป้าหมายของความต้องการร่วม บนความแตกต่างได้ สามารถ

เชื่อมโยงความแตกต่างของกลุ่มคนต่างๆ และของผู้นำคนอื่นๆ

ในสังคมที่มีความแตกต่างอย่างหลากหลายให้เข้ามาร่วมมือ

ร่วมใจกัน ร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ ให้เกิดพลังสร้างสรรค์ทางสังคม

“ผู้นำยุคดิจิทัล” ต้องมีทักษะในการเรียนรู้ด้วยตัวเองตลอด

ชีวิต ต้องพัฒนาตนเองและสนับสนุน เอื้ออำนวยให้กับคนอื่นๆ

สามารถพัฒนาตนเองสู่การทำงานบนโลกแบบ VUCA และปรับ

ให้เข้ากับทีมงานได้ตลอดเวลา สามารถผสมผสานและสร้างจุดสมดุล

ของการใช้ประสบการณ์ และการใช้ความรู้ใหม่ของคนต่างวัย

ต่างยุคต่างสมัยที่อยู่ร่วมกันในสังคม

16

คุณสมบัติเฉพาะของ “ผู้นำยุคดิจิทัล” ที่พึงประสงค์คือ ผู้ที่

มีจิตใจกว้างขวาง มีเมตตากรุณา พร้อมรับใช้ผู้อื ่นและสังคม รู้ถึง

คุณค่า ความหมาย และศักยภาพของทุกคน ไม่นิยมการเป็นผู้นำที่

ใช้วิธีการสั่งการ การบังคับด้วยกำลัง หรืออำนาจหน้าที่เป็นหลัก แต่

นิยมกับการอำนวยให้คนอื่นเกิดการเรียนรู้ที่จะริเริ่ม และพัฒนา

ความเป็นผู้นำในตนเอง คอยสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้ผู้คน

ภูมิใจในศักยภาพของตนและใช้ศักยภาพที่สร้างสรรค์และพัฒนา

ตนเอง คนในครอบครัว ชุมชน และสังคมไปในทิศทางที่เจริญรุ่งเรือง

ยิ่งๆ ขึ้นไป

สังคมไทยมีคนดี คนเก่ง และมีความสามารถมากมาย แต่อยู่

แบบกระจัดกระจาย ต่างคนต่างทำงานเลี้ยงตัวเอง ยังไม่มีการ

รวบรวม จัดระเบียบและพัฒนาให้เกิดเป็นพลังสร้างสรรค์ของสังคม

ดังนั้น ในโอกาสเริ่มต้นปีใหม่ปีพ.ศ.๒๕๖๔ นี้ นับเป็นทั้งโอกาสและ

ความท้าทายสำหรับสังคมไทยที่จะค้นหาคนเหล่านี้ในหมู่คนไทย

ให้เข้ามาร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ ร่วมมือร่วมใจพัฒนาสังคมไทยให้เจริญ

และร่วมกันพัฒนาและสร้างคนไทยที่เป็นกลุ่มคนที่เรียกว่า “คนไทย

ในยุคดิจิทัล” ให้มีความเป็นผู้นำที่คิดดี ทำดี ร่วมมือร่วมใจกัน

นำความสงบสุขกลับคืนสู่สังคมไทยได้อย่างยั่งยืนและพร้อมที่จะเป็น

“ผู้นำยุคดิจิทัล” ร่วมมือร่วมใจกันนำพาประเทศไทยไปสู่ประเทศ

ที่เจริญยิ่งใหญ่ในโลกหลังโควิด-๑๙ โดยนำความมุ่งหมายให้เกิด

ประโยชน์สุขแก่คนในชาติของเราทุกคนตามยุทธศาสตร์ใหม่สำหรับ

ประเทศไทย

โลกหลังโควิด-๑๙ มีความซับซ้อนเกินกว่าที่คนคนเดียวจะ

จัดการหรือชี ้นำทางได้โดยลำพัง ต้องมีผู้นำหลายรูปแบบที่ผสม

ผสานความเป็นผู้นำยุคโบราณและผู้นำรุ่นเก่ากับความเป็นผู้นำรุ่นใหม่

พลเอก เฉลิม คูหาวิชานันท์


“ผู้นำยุคดิจิทัล” จะเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายผู้นำที่มีทักษะและความ

ชำนาญที่หลากหลาย มีวิธีคิดที่ต่างกันมาทำงานร่วมกันเป็นทีมผู้นำ

ที่จะผนึกกำลังของคนในสังคมให้เกิดพลังสร้างสรรค์สังคมไทย

สามารถอนุรักษ์สิ่งดีๆ ที่เป็นรากเหง้าของความเป็นไทยไว้ ในขณะ

เดียวกันสามารถนำหมู่ชนในสังคมพัฒนาประเทศไทยก้าวหน้าไปสู่

อนาคตที่เจริญรุ่งเรืองทันสมัยยิ่งใหญ่เป็นที ่ยอมรับของนานา

อารยประเทศ ดูแลประชาชนให้มีระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้

สังคมไทยมีความสงบสุข อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่คนในชาติ

ของเราทุกคน

“ผู้นำยุคดิจิทัล” ต้องมีความรู้ความ

สามารถในการคิด ความรู้ความสามารถ

ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และความรู้

ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์

ระหว่างคนในสังคม นอกจากนั้นต้องมี

ความรู้วิทยาการสมัยใหม่ และความรู้

ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย มีความสามารถ

ในการสื่อสารสังคม กล้าคิดกล้าตัดสินใจ

เข้าใจเทคโนโลยีร่วมสมัย มีความสามารถ

ในการเข้าใจคนอื่น เข้าใจวิธีการเพิ่มพลังให้

กับประชาชน

“ผู้นำยุคดิจิทัล” ต้องมีค่านิยมและ

จิตสำนึกรักบ้านเกิด เทิดทูนสถาบันหลัก

ของชาติ มีความศรัทธาและปรารถนาอย่าง

แรงกล้าที่จะช่วยให้คนไทยอยู่ดีกินดี มี

ความสงบสุขและยึดถือคุณธรรมความ

กตัญญูกตเวทีต่อมารดา บิดา ต่อแผ่นดิน

ถิ่นกำเนิดและอาศัย และต่อสถาบันชาติ

ศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้ความมั่นคงอยู่

ทุกๆ ลมหายใจเข้าออก จะทำตนให้เป็น

คนดี คิดดี ทำดี และส่งเสริมให้คนไทยทุกคน

ได้ศึกษาและฝึกฝนเรื่องคิดดีทำดี ตามหลัก

วิชาและคุณธรรมด้วยการมีความเพียร

มีความหนักแน่น มีความซื่อสัตย์สุจริต และ

มีความสามัคคี เพื่อรวมพลังของการคิดดี

ทำดี ให้เกิดพลังสร้างสรรค์ของสังคมมาใช้พัฒนาตนเอง ครอบครัว

สังคมและประเทศไทยให้มีความสุข มีความเจริญรุ่งเรือง ทั้งทางวัตถุ

และคุณธรรมก้าวหน้าเป็นประเทศที่เจริญแล้ว

“ผู้นำยุคดิจิทัล” ต้องมีความตื่นตัว มีความว่องไวในการรับรู้

ความเป็นไปในโลก เข้าใจโลกที่มีลักษณะผันผวน ไม่แน่นอน มีความ

ซับซ้อน คลุมเครือ มีการเปลี่ยนแปลงคล้ายกับสิ่งมีชีวิต และเห็น

ความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ ที่เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งหมด ต้องฝึกฝน

ทักษะในการมองเห็นโลกตามความเป็นจริงที่เกิดอยู่ในปัจจุบัน และ

สามารถเห็นแนวโน้มของโลกในอนาคต นำมาวางแผนรวมพลังของ

สังคมกระทำการสร้างสรรค์อนาคตที่ดีให้เกิดขึ้น มีทักษะที่สามารถ

ปรับตัวเองให้สอดคล้องตามจังหวะท่วงทำนองของสังคมและบริบท

โลก โดยใช้วิธีคิดเชิงระบบ ที่มองเห็นทุกสิ่งในสังคมเหมือนสรรพสิ่ง

ในธรรมชาติที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่มีสิ่งใดสำคัญ

เท่ากัน ความหลากหลายและความแตกต่างล้วนมีความหมาย

และความสำคัญของสิ่งนั้นๆ ผู้นำยุคดิจิทัลต้องรู้และเข้าใจธรรมชาติ

และนำมาสร้างสรรค์พัฒนาตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

ไปในทิศทางที่มีเป้าหมายหรือความปรารถนาร่วมกัน

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

17


กลับหลังหัน...กับพิพิธภัณฑ์กลาโหม

ปืนใหญ่โบราณ

หน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม (ตอนที ่ ๓)

ตอน : ปืนใหญ่ฝาแฝดแบบอาร์มสตรองจากประเทศอังกฤษ

เรือโทหญิง ชัญธิกา มนาปี

นายทหารภัณฑารักษ์ กรมเสมียนตรา

วัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอเรื่องราว

ของปืนใหญ่โบราณคู่หนึ่ง ที่เป็นปืนนำเข้ามาจากประเทศ

อังกฤษ มานำเสนอให้รู้จักกันค่ะ

ปืนใหญ่ P1009 1860 และ P1010 1860 เป็น

ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม

ฝั่งทิศตะวันตกติดกับถนนกัลยาณไมตรี เป็นปืนใหญ่

ที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากมีการทำสัญลักษณ์ลงบน

กระบอกปืน ซึ่งบ่งบอกถึงที่มาของปืนได้เป็นอย่างดี

ลักษณะของปืนใหญ่มีขนาดเล็ก เรียบ ไม่มีการสลักลวดลาย

ใดๆ มีเพียงแค่การสลักรูปมงกุฎอยู่เหนือตัวอักษร P

ถัดลงมาเป็นตัวเลขลำดับที่ และเลขปี ค.ศ. เท่านั้น

หลายๆ ท่าน อาจสงสัยว่าทำไมชื่อของปืนใหญ่

P1009 1860 และ P1010 1860 ถึงมีชื ่อเป็นตัวเลข

18

ปืนใหญ่ P1009 1860

แตกต่างจากปืนกระบอกอื่นๆ ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการ

กลาโหม ที่ส่วนมากจะมีชื่อเรียกเป็นภาษาไทย และมีชื่อเขียนไว้บน

กระบอกปืนทุกกระบอก เนื่องจากปืนใหญ่ทั้ง ๒ กระบอก ถูกตั้งชื่อ

ปืนใหญ่ P1010 1860

เรือโทหญิง ชัญธิกา มนาปี


หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

รูปมงกุฎ ตัวอักษร P เลขลำดับปืน

และปี ค.ศ.ที่สร้าง ของปืนใหญ่ P1009 1860

ขึ้นตามหมายเลขลำดับที่ ที่มีการสลักลงบนตัวปืน คือ ลำดับที่ 1009

และ 1010 ส่วนตัวเลขต่อท้าย คือ 1860 หมายถึง เลขของปี ค.ศ.

ที่สร้างปืนใหญ่ทั้ง ๒ กระบอกขึ้น (ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๐๓)

ปืนใหญ่คู่นี้ เป็นปืนใหญ่บะเรียมอังกฤษแบบที่เรียกว่า

อาร์มสตรอง ถูกสร้างขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๓ และออกแบบ

ในช่วงปี ค.ศ.๑๗๓๖ - ๑๗๙๕ (พ.ศ.๒๒๗๙ - ๒๓๓๘) สิ่งที่น่าสนใจ

ของปืนใหญ่คู่นี้ คือ สัญลักษณ์รูปมงกุฎเหนือตัวอักษร P และตัวเลข

ที่ระบุไว้บนกระบอกปืน จากการศึกษาของคุณศิริรัจน์ วังศพ่าห์

ผู้เชี่ยวชาญด้านปืนใหญ่ ได้กล่าวถึงสัญลักษณ์ดังกล่าวที่พบบนปืน

แบบอังกฤษไว้ในหนังสือ “ปืนใหญ่โบราณในประวัติศาสตร์ชาติไทย”

ว่า ปืนใหญ่อังกฤษที่ประกอบด้วยรูปมงกุฎประดับเหนืออักษรตัว P

และด้านล่างระบุปีที่สร้างขึ้นนั้น มีความหมายถึงปืนกระบอกนั้นได้

ผ่านการทดสอบการยิงมาแล้วจากทาง Royal Arsenal Foundry

(ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์และพิสูจน์ วิจัยวัตถุระเบิด

สำหรับกองทัพอังกฤษ ตั้งอยู่ในเมืองวูลวิช (Woolwich) ทางตะวันออก

เฉียงใต้ของลอนดอน สหราชอาณาจักรในปัจจุบัน) หรือเรียก

อีกอย่างว่า ตราปรู๊ฟมาร์ค หรือสัญลักษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบ

หรือการันตีแล้ว

ส่วนใหญ่จะมีการจารึกชื่อของผู้ที่ทำการทดสอบปืนนั้นๆ เอาไว้

บนกระบอกปืนด้วย แต่สำหรับปืนใหญ่ P1009 1860 และ P1010

1860 ไม่มีการจารึกชื่อลงบนกระบอกปืนไว้เลย และสันนิษฐานว่า

น่าจะเป็นปืนใหญ่ที่มีจำหน่ายอยู ่ในตลาดค้าอาวุธมากกว่าจะมาจาก

ทางการของอังกฤษ เนื่องจากถ้าเป็นปืนใหญ่ที่นำเข้ามาจากทางการ

โดยตรงจะมีจารึกพระนามาภิไธยของพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ

ที่ครองราชย์อยู่ในขณะนั้นปรากฏอยู่บนกระบอกปืนด้วย

จากข้อมูลข้างต้นและจากการศึกษาเพิ่มเติม ปี ค.ศ.ที่ผลิต

ปืนใหญ่คู่นี้ มีอายุตรงกับช่วงปลายรัชกาลที่ ๔ สันนิษฐานว่า สยาม

รูปมงกุฎ ตัวอักษร P เลขลำดับปืน

และปี ค.ศ.ที่สร้าง ของปืนใหญ่ P1010 1860

ในช่วงเวลาดังกล่าวหรือหลังจากนั้นไม่นาน คงมีการซื้อขายอาวุธปืน

ประเภทปืนใหญ่จากอังกฤษ ทั้งในตลาดค้าอาวุธและนำเข้ามาโดยตรง

จากทางการ เนื่องจากในประเทศไทยได้พบปืนใหญ่อังกฤษ

แบบอาร์มสตรองจำนวนหลายกระบอกที่มีการจารึกบนกระบอกปืน

แบบมีพระนามาภิไธยของกษัตริย์และแบบที่มีเพียงแค่รูปมงกุฎ

อยู่เหนือตัวอักษร P และคงมีการนำเข้าปืนจากอังกฤษแบบ

อาร์มสตรองมาตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์แล้ว เนื่องจากได้พบ

ปืนใหญ่อาร์มสตรองที่ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ป้อมวิเชียรโชฎก จังหวัด

สมุทรสาคร ที่มีการจารึกปี ค.ศ.ที่สร้างเก่าไปถึงปี ค.ศ.๑๗๘๑

ซึ่งตรงกับปีพ.ศ.๒๓๓๔ และพบอีกหลายรุ่นจนมาถึงปืนใหญ่P1009

1860 และ P1010 1860

สำหรับปืนใหญ่ P1009 1860 และ P1010 1860 ไม่สามารถ

ระบุได้อย่างชัดเจนว่า ถูกนำเข้ามาเพื่อใช้ในราชการครั้งใด พบเพียง

หลักฐานว่าได้ถูกนำมาตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม

ในคราวที่เปลี่ยนแปลงการจัดวางผังปืนใหญ่ในครั้งที่ ๓ ประมาณ

ปี พ.ศ.๒๔๘๑ - ๒๔๘๓ สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่ง

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมี

พลโท พระยาศักดิ์ดาดุลยฤทธิ์ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม และ

ในปัจจุบันปืนใหญ่ P1009 1860 และ P1010 1860 ยังคงจัดแสดง

อยู่ด้านหน้าอาคารศาลาว่าการกลาโหม

เอกสารอ้างอิง :

กระทรวงกลาโหม. ประวัติศาลาว่าการกลาโหม. กองกลาง สำนักงาน

สนับสนุน กรมเสมียนตรา. ๒๕๔๘.

ศิริรัจน์ วังศพ่าห์. ปืนใหญ่โบราณในประวัติศาสตร์ชาติไทย. กรุงเทพฯ

: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ๒๕๕๐.

En.wikipedia.org/wiki/Royal_Arsenal

พิพิธภัณฑ์ศาลาว่าการกลาโหม

19


ทิศทางยุทธศาสตร์ของจีน (ตอนที ่ ๑)

ในระยะเวลา ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๔ - ๒๕๖๘)

และระยะยาวถึงปี พ.ศ.๒๕๗๘

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ภาพที่ ๑ แผนที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศจีน

ที่มา : https://th.maps-china-cn.com/

รั

ฐบาลจีนได้กำหนดแผนห้าปี ฉบับที่ ๑๔ สำหรับการพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี ค.ศ.๒๐๒๑ - ๒๐๒๕ (พ.ศ.

๒๕๖๔ - ๒๕๖๘) และเป้าหมายระยะยาวสำหรับปี ค.ศ.๒๐๓๕

(พ.ศ.๒๕๗๘) ซึ่งเป็นข้อเสนอของคณะกรรมการกลางพรรค

คอมมิวนิสต์จีน จากการวิเคราะห์สถานการณ์ระหว่างประเทศและ

ภายในประเทศ ในการประชุมสมัชชาครั้งที่ ๕ ของคณะกรรมการ

กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ ๑๙ ระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๙ ตุลาคม

พ.ศ.๒๕๖๓ มีจำนวน ๑๕ เรื่อง (ดังรายละเอียดในภาพที่ ๒)

เรื่องที่ ๑ การสร้างสังคมที่น่าอยู่อย่างรอบด้านและเริ่มการ

เดินทางครั้งใหม่ในการสร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่

20

๑. “แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๔” คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติระยะ ๕ ปี เป็นช่วงห้าปีแรกที่จีนได้สร้างสังคมที่เจริญ

รุ่งเรืองในระดับปานกลางอย่างรอบด้าน และบรรลุเป้าหมาย

๑๐๐ ปีแรก โดยเกิดขึ้นได้จากการสร้างสังคมที่น่าอยู่อย่างรอบด้าน

ในช่วงระยะเวลา “แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๓” ซึ่งเป็นขั้นตอนชี้ขาดใน

การสร้างสังคมที่อยู่ดีมีสุขทุกประการ ซึ่งคณะกรรมการกลางพรรคฯ

ที่มีเลขาธิการฯ คือ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เป็นแกนกลาง ไม่ลืม

ปณิธานดั้งเดิมและมุ่งนำพาทั้งพรรคและผู้คนจากทุกกลุ่มชาติพันธุ์

ให้ก้าวไปข้างหน้า

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


ภาพที่ ๒ ข้อเสนอจำนวน ๑๕ เรื่องของคณะกรรมการกลาง

๑.๑ ความก้าวหน้าครั้งสำคัญเกิดขึ้นในการปฏิรูปที่ลึกซึ้ง

ยิ่งขึ้น ในการปกครองประเทศอย่างครอบคลุมตามกฎหมาย จากการ

กำกับดูแลที่ครอบคลุมและเข้มงวดของพรรคฯ ความสามารถ

ในการกำกับดูแลได้เร็วขึ้น รวมทั้งความเป็นผู้นำของพรรค

คอมมิวนิสต์จีน และความได้เปรียบของระบบสังคมนิยมของจีนที่มี

ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและความแข็งแกร่งทางวิทยาศาสตร์

และเทคโนโลยี อันเป็นความเข้มแข็งของประเทศที่ครอบคลุมได้ก้าว

ขึ้นสู่ขั้นตอนใหม่ การดำเนินงานทางเศรษฐกิจมีเสถียรภาพและ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจยังคงได้รับการปรับให้เหมาะสม โดยคาดว่า

GDP จะเกิน ๑ ล้านล้านหยวนในปี ค.ศ.๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓)

ระบบขนส่งตู้คอนเทนเนอร์

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

21


๑.๒ ผลของการบรรเทาความยากจนได้รับความสนใจ

จากทั่วโลก คนยากจนในชนบทจำนวน ๕๕.๗๕ ล้านคน ได้รับการ

บรรเทาจากความยากจนผลผลิตข้าวต่อปีมีเสถียรภาพที่มากกว่า

๑๓ ล้านล้านกิโลกรัม เป็นระยะเวลา ๕ ปีติดต่อกัน การป้องกัน

มลพิษเพิ่มขึ้นและสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาดีขึ้นอย่างมาก

การเปิดสู่โลกภายนอกยังคงดำเนินต่อไป การขยายตัวและการก่อสร้าง

ร่วมกันของ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ประสบผลสำเร็จ มาตรฐาน

การดำรงชีวิตของผู้คนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การศึกษาระดับ

อุดมศึกษาเข้าสู่ขั้นตอนของความนิยมมีการสร้างงานใหม่มากกว่า

๖๐ ล้านตำแหน่งในเขตเมือง และมีการจัดตั้งระบบประกันสังคม

ที่ใหญ่ที่สุดในโลกพร้อมประกันสุขภาพขั้นพื้นฐานที่ครอบคลุม

มากกว่า ๑.๓ พันล้านคน มีการประกันบำนาญขั้นพื้นฐานครอบคลุม

ประชากรจำนวน ๑ พันล้านคนประสบความสำเร็จในการป้องกัน

และควบคุมการระบาดของโรคโควิด-๑๙ การดำเนินงานด้าน

วัฒนธรรมและอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมมีความเจริญรุ่งเรือง

ระดับการป้องกันประเทศและการสร้างความเข้มแข็งทางทหาร

ได้รับการปรับปรุงอย่างมาก รวมทั้งองค์กรของกองทัพได้รับการ

เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ความมั่นคงของชาติได้รับการเสริมสร้างอย่าง

ครอบคลุม สังคมยังคงมีความสามัคคีและมั่นคง

๒. การพัฒนาของจีนในปัจจุบันและอนาคตยังอยู่ในช่วงของ

โอกาสทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีรอบใหม่และการปฏิรูปอุตสาหกรรมกำลังพัฒนาใน

เชิงลึก ความสมดุลของกองกำลังระหว่างประเทศได้รับการปรับอย่าง

ลึกซึ้ง สันติภาพและการพัฒนายังคงเป็นประเด็นสำคัญของยุคสมัย

แนวคิดของชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติฝังรากลึกใน

จิตใจของผู้คน ในขณะเดียวกันสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศก็มี

ความซับซ้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสถียรภาพและความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น

อย่างเห็นได้ชัด จากผลกระทบของโรคโควิด-๑๙ โลกาภิวัตน์ทาง

เศรษฐกิจได้เผชิญกับช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลง ลัทธิอำนาจนิยมเป็น

ภัยคุกคามต่อสันติภาพและการพัฒนาโลก จีนได้เปลี่ยนไปสู่ขั้นตอน

ของการพัฒนาที่มีคุณภาพสูง โดยมีข้อได้เปรียบด้านสถาบันที่สำคัญ

มีประสิทธิภาพในการกำกับดูแล มีพื้นที่ตลาดที่กว้างขวางและ

มีความยืดหยุ่นในการพัฒนา ทั้งนี้ปัญหาของการพัฒนาที่ไม่เพียงพอ

ในประเทศจีนยังคงมีอยู่ งานปฏิรูปในประเด็นสำคัญและการ

เชื่อมโยงที่สำคัญต้องประสานยุทธศาสตร์โดยรวมของการฟื้นฟู

ประเทศจีนครั้งใหญ่ โดยต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับ

ลักษณะและข้อกำหนดใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ความขัดแย้ง

หลักในสังคม รวมทั้งความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดจากสภาพแวดล้อม

ระหว่างประเทศที่ซับซ้อนและเพิ่มโอกาส ตระหนักถึงความเสี่ยง

ตามเงื่อนไขพื้นฐานระดับชาติของขั้นตอนหลักของสังคมนิยม

22

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


๓. ภายในปี ค.ศ.๒๐๓๕ (พ.ศ.๒๕๗๘) เป้าหมายระยะยาว

ของการสร้างสรรค์สังคมนิยมจะบรรลุผลโดยพื้นฐาน ซึ่งการประชุม

แห่งชาติครั้งที่ ๑๙ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ได้จัดทำข้อตกลงเชิง

ยุทธศาสตร์ ๒ ขั้นตอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างประเทศจีน

ให้เป็นสังคมที่เจริญรุ่งเรือง เป็นประชาธิปไตย มีอารยะกลมกลืน

และสวยงามภายในกลางศตวรรษนี้ รวมทั้งเป็นประเทศที่ทันสมัย

และทรงพลัง มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ ความแข็งแกร่งทาง

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และปริมาณทางเศรษฐกิจโดยรวม

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

และรายได้ต่อหัวของชาวเมืองและในชนบทจะ

ไปถึงระดับใหม่ เทคโนโลยีจะก้าวเข้าสู่แถวหน้า

ของประเทศนวัตกรรม มีรูปแบบใหม่ของ

อุตสาหกรรม มีความทันสมัยทางการเกษตร

และสร้างระบบเศรษฐกิจที่ทันสมัย มีความทัน

สมัยของระบบการปกครองแห่งชาติในการ

กำกับดูแลหลักประกันการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียม

กันของประชาชนและสิทธิในการพัฒนาที่

เท่าเทียมกัน เป็นประเทศที่ปกครองด้วยกฎหมาย

รัฐบาลที่ปกครองโดยกฎหมายและสังคมที่

ปกครองโดยกฎหมาย มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง

มีระบบการศึกษา มีความสามารถทางกีฬาและ

มีสุขภาพที่ดี คุณภาพของชาติและอารยธรรม

ทางสังคมได้ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดใหม่ และพลังทางวัฒนธรรมของ

ประเทศได้รับการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ มีการผลิตและวิถีชีวิต

ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาได้รับ

การปรับปรุง และบรรลุเป้าหมายในการสร้างประเทศจีนที่สวยงาม

รูปแบบการเปิดใหม่ได้ก่อตัวขึ้น รวมทั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ระหว่างประเทศและการแข่งขันได้รับการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ

GDP ต่อหัวได้ถึงระดับของประเทศที่พัฒนาแล้ว กลุ่มที่มีรายได้

ปานกลางขยายตัวเพิ่มขึ้น มีการบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานอย่าง

เท่าเทียมกัน ช่องว่างการพัฒนาระหว่างพื้นที่ในเมืองและชนบทและ

ช่องว่างในมาตรฐานการครองชีพของประชาชนลดลงอย่างมี

นัยสำคัญ ความมั่นคงของประเทศจีนได้ก้าวไปสู่ระดับที่สูงขึ้นจาก

ความทันสมัยของการป้องกันประเทศและการทหาร

บทสรุป : เป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ “แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๓” ของจีน ซึ่งได้เสร็จสิ้นลงใน

ปี ค.ศ.๒๐๒๐ (พ.ศ.๒๕๖๓) โดยทำให้บรรลุการสร้างสังคมที่น่าอยู่

อย่างรอบด้าน สำหรับการฟื้นฟูที่ยิ่งใหญ่ของประเทศจีน ซึ่งทั้งพรรค

และผู้คนจากทุกกลุ่มชาติพันธุ์ต้องร่วมมือกันและเพิ่มความ

พยายามเป็น ๒ เท่า เพื่อให้แน่ใจว่าการต่อสู้กับความยากจนได้รับ

ชัยชนะตามกำหนดเวลา อีกทั้งบรรลุเป้าหมายในวาระ ๑๐๐ ปีแรก

และวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเริ่มต้นเส้นทางใหม่ในการ

สร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่ตามแนวทางและวัตถุประสงค์หลัก

ของการพัฒนาในช่วง “แผนห้าปีฉบับที่ ๑๔” ที่จะนำเสนอต่อเป็น

ตอนที่ ๒

เอกสารอ้างอิง

ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอของคณะกรรมการกลางในการจัดทำแผนห้าปี ฉบับที่ ๑๔

สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของจีนและเป้าหมายระยะยาว

สำหรับปี พ.ศ.๒๕๗๘

จากเว็บไซต์ https://finance.sina.cn/2020-11-04/detailiiznctkc9361778.d.html?from=wap

23


เข้าถึง

ด้วยพอเพียง

พลตรี ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ

ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

ด้

วยบริบทในพื้นที่๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นี้เรียกได้ว่า มีความ

ต่างในความเหมือน กล่าวคือ เมื่อดูโดยทั่วๆ ไปแล้ว เรื่องราว

ต่างๆ ที่เกิดปรากฏให้เห็นมีความเหมือนๆ กัน หรือใกล้เคียง

กันมาก หากแต่เมื่อพิจารณาอย่างลุ่มลึกแล้วจะพบว่า มีหลายสิ่ง

หลายอย่างที่มีความแตกต่างหลากหลายมากพอสมควร ด้วยพื้นที่

แห่งนี้มีการสืบทอดประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ประกอบกับได้

มีขบวนการต่างๆ พยายามสอดแทรก แต่งเติมให้พื้นที่ในชุมชน

แต่ละแห่งมีอัตลักษณ์ที่แปรเปลี่ยนไป ดังนั้น รูปแบบการเข้าถึง

ประชาชนในพื้นที่ของหน่วยงานภาครัฐ จึงต้องมีการดำเนินการ

อย่างเป็นกระบวนการ เป็นระบบและมีความแนบเนียนมากเป็น

พิเศษ โดยใช้กิจกรรมในการสร้างโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ

สามารถเข้าถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที ่ได้มากขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิด

ความหวาดระแวงของคนในชุมชน และกิจกรรมดังกล่าวนั้นก็น่าจะ

เป็นกิจกรรมที่พี่น้องทั่วโลกรู้จักและให้การยอมรับกันเป็นอย่างดี

นั่นคือ กิจกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่๙

ของปวงชนชาวไทยนั่นเอง และการเข้าถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่

ผ่านกิจกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ยังเป็นกิจกรรมที ่ง่าย

ต่อการทำความเข้าใจรับรู้ของพี่น้องในพื้นที่ปลายด้ามขวานได้ว่า เป็น

กิจกรรมของรัฐที่มีเจตนาอันบริสุทธิ์เพื่อมุ่งหวังให้คนในพื้นที่มีชีวิต

24

ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทัดเทียมคนไทยในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศอย่าง

เป็นรูปธรรม มากกว่าการปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.) ตามแนวคิด

แบบทหารสมัยโบราณ ที่รังแต่จะสร้างความหวาดระแวงและต่อต้าน

กิจกรรมในลักษณะนั้นของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ซึ่งจะไม่สามารถ

ที่จะเข้าถึงหัวใจคนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง อันการเข้าถึงหัวใจของ

คนในพื้นที่นั้น จะเป็นประตูไปสู่โอกาสในการทำความเข้าใจระหว่าง

รัฐกับคนในพื้นที่ได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถให้การพัฒนาคุณภาพ

ชีวิตคนในพื้นที่ตามบริบทและวิถีชีวิตได้อย่างเป็นรูปธรรม

จากการศึกษาพบว่า รูปแบบที่มีหน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยงาน

หลักนั้น มีความเหมาะสมในการดำเนินการในพื้นที่ที่ยังไม่มีการ

ดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่อย่างเป็นระบบ ทั้งที่เป็น

กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งเสริมโดยหน่วยงานภาครัฐ หรือจะ

เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการในชุมชนเองอย่างมีการบริหารจัดการที่

เป็นระบบ อันเนื่องมาจากอุปสรรคในด้านสถานการณ์ความไม่สงบ

ในชุมชนหรือพื้นที่โดยรอบชุมชน ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐยังไม่มี

โอกาสในการเข้าไปส่งเสริมกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งการ

ขาดการเข้าถึงชุมชนไม่ว่าจะกรณีใดๆ อันส่งผลให้ประชาชนในชุมชน

นั้นๆ ยังไม่ให้ความสนใจในการดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง

เท่าที่ควร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานภาครัฐจะต้องเป็นหน่วยงานหลัก

พลตรี ดร.ดิเรก ดีประเสริฐ


ในการเข้าถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ปลายด้ามขวาน ผ่านการ

ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นกระบวน

การที่มีรูปแบบ โดยต้องคำนึงถึงและนำปัจจัยที่เอื้ออำนวยในการ

เข้าถึงประชาชนผ่านกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งปัจจัยภายใน

และปัจจัยภายนอก มาใช้ในการดำเนินการเป็นสำคัญ

โดยมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจ

พอเพียง มีขั้นตอนสำคัญ คือ ๑) ปรับทุกข์ผูกมิตร ซึ่งการทำความ

เข้าใจดังกล่าว จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถเข้าถึงจิตใจของ

ประชาชนได้มากขึ้น แต่จะเข้าถึงจนชนะใจประชาชนได้ ก็ต้อง

เริ่มจากการเข้าหาประชาชนด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่ในฐานะที่

เหนือกว่าหรือมีอำนาจมากกว่า แต่เข้าหาในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่ยอมรับ

ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความคิดของกันและกัน สิ่งที่ขาด

ไม่ได้ในกระบวนการดังกล่าว ก็คือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่

ไม่ใช่การพูดฝ่ายเดียว หรือสั่งมาจากเบื้องบน แต่ใช้วิธีการปรึกษา

หารือ รับทราบปัญหาในทุกเรื่องของคนในชุมชนด้วยความตั้งใจ การ

ปรับสุข ด้วยการสนทนา สอบถามสารทุกข์สุกดิบโดยทั่วไปของการ

ดำรงชีวิตของประชาชน โดยไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว

ช่วยคลี่คลายปัญหาอันเป็นความทุกข์เหล่านั้นอย่างเต็มกำลัง

ความสามารถ การผูกมิตรด้วยการสานใจด้วยความจริงใจ ใช้ท่วงทีวาจา

ที่เป็นมิตรกับประชาชน ๒) จุดประกาย ด้วยการชักนำ ปลุกให้คนใน

ชุมชนตื่นตัว ให้เขาเห็นช่องทางในการทำมาหากิน โดยเริ่มจากผู้นำ

ชุมชน จากกลุ่มเล็ก ขยายเป็นกลุ่มใหญ่ให้ประชาชนในชุมชนร่วม

สร้างอนาคตที่สดใสและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามความถนัด หรือ

สามารถ และความชำนาญพิเศษของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดความ

คาดหวังในอนาคตที่ดี สู่ความต้องการที่จะบรรลุความคาดหวังนั้น

การจุดประกาย จึงเป็นการชี้นำจุดเด่น หรือจุดแข็งที่แต่ละชุมชน

มีต้นทุนอยู่แต่เดิม แล้วชี้ช่องให้ประชาชนเข้าใจรับรู้จุดเด่น หรือ

จุดแข็งที่ตนเองมี โดยชักจูงให้ประชาชนเห็นเป็นรูปธรรม ๓) นำร่อง

คือการทำให้เกิดความเชื่อมั่นในพื้นที่ ซึ่งมีความจำเป็นที่หน่วยงาน

ภาครัฐจะต้องลงมือกระทำให้เห็นผลเป็นตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรม

โดยอาจดำเนินการเอง ด้วยการลงมือทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง หรือ

การจัดตั้งกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในชุมชน เป็นผู้ดำเนินการ ภายใต้การ

สนับสนุนความรู้ทางวิชาการ ทุนทรัพย์ และอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อ

ให้กิจกรรมนั้น เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม อันจะส่งผลให้ชุมชน

เกิดความเชื่อมั่นว่า กิจกรรมนั้นสามารถปฏิบัติได้จริง และมีผล

บังเกิดจริง ซึ่งกิจกรรมนั้น ต้องเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบท

ของชุมชน ทั้งวัตถุดิบที่มีจุดเด่น และจุดแข็งของชุมชนด้วย ๔) รวม

กลุ่มกิจกรรมตามความต้องการ ซึ่งพลังที่เกิดจากการรวมกลุ่ม เพื่อ

ดำเนินกิจกรรมของคนในชุมชนนั้น จะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรง

อยู่ของกิจกรรมที่เข้มแข็งและยั่งยืน โดยเฉพาะการรวมกลุ่มกิจกรรม

ที่เกิดขึ้นตามความต้องการของคนในชุมชน และได้รับการให้

ความรู้ในการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ ตามหลักการของหน่วยงาน

ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

นอกจากจะเป็นการสนับสนุนเรื่องกิจกรรมตามแนวคิด

เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาชุมชนแล้ว ยังเป็นโอกาสที่ดีใน

การเข้าถึงคนในชุมชนอย่างมีเหตุและมีผลอย่างเป็นธรรมชาติ เป็น

โอกาสในการสะสมบ่มเพาะความคุ้นเคย และความไว้เนื้อเชื่อใจ

ระหว่างกันของคนของรัฐและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ปลายด้าม

ขวานแห่งนี้ทั้งยังสามารถขยายผลจากเรื่องหนึ่งไปสู่เรื่องอื่นๆ สู่การ

เข้าถึงพี่น้องประชาชนผ่านกิจกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ของปวงชนชาวไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ

ในที่สุด

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

25


ข้าราชการพลเรือน

ในสังกัดกระทรวงกลาโหม

กรมเสมียนตรา

วามเป็นมา กระทรวงกลาโหมซึ่งแม้จะเป็นกระทรวงทหาร

ก็ตาม แต่ในความเป็นจริง กระทรวงกลาโหมมีการบรรจุ

พลเรือนเข้ารับราชการควบคู่กับข้าราชการทหารมาตั้งแต่

ต้นรัตนโกสินทร์ จะเห็นได้จากการตราพระราชบัญญัติจัดการ

กรมยุทธนาธิการ เมื่อ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๐ ยกกรมยุทธนาธิการ

ขึ้นเป็นกระทรวงยุทธนาธิการ ได้แบ่งตำแหน่งข้าราชการออกเป็น

๒ ฝ่าย คือ

(๑) ฝ่ายพลเรือน ทำหน้าที่ด้านธุรการ การบริหาร และการ

ส่งกำลังบำรุง และ

(๒) ฝ่ายทหาร ทำหน้าที่เป็นส่วนกำลังรบ ประกอบด้วย

๒ กรม คือ กรมทหารบก และกรมทหารเรือ

26

ดังปรากฏหลักฐานการแต่งตั้งตามประกาศกรมยุทธนาธิการ

เมื่อ ๓๑ กรกฎาคม ร.ศ.๑๐๙ แต่งตั้งให้นายสัน และนายอัด

มหาดเล็ก เป็นผู้ช่วยราชการ ๑ กรมยุทธนาธิการ เป็นต้น

การจัดระเบียบข้าราชการและส่วนราชการทั้งฝ่ายพลเรือน

และทหาร ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตามลำดับ การบรรจุ

ข้าราชการพลเรือนในกระทรวงกลาโหมปรากฏหลักฐานชัดเจน

ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๔๗๑ มาตรา

๔ และมาตรา ๑๙ กำหนดให้ข้าราชการพลเรือน หมายความรวมถึง

ข้าราชการฝ่ายพลเรือนในกระทรวงการทหาร และให้กระทรวง

กลาโหมบรรจุข้าราชการพลเรือนในกระทรวงกลาโหมจากบัญชีผู้ที่

สอบแข่งขันเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนที่มีการจัดสอบขึ้น

ในภาพรวมของประเทศ ต่อมาเมื่อพระราชบัญญัติระเบียบ

ข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๔๘๒ ไม่กำหนดให้ข้าราชการพลเรือน

หมายความรวมถึง ข้าราชการพลเรือนในกระทรวงกลาโหมอีกต่อไป

กระทรวงกลาโหมจึงได้ออกข้อบังคับทหารว่าด้วยข้าราชการ

กลาโหมพลเรือน ที่ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ

เงื่อนไขการรับราชการของข้าราชการกลาโหมพลเรือน ในส่วนของ

การบรรจุข้าราชการกลาโหมพลเรือนจะบรรจุในอัตราที่กำหนดว่า

ให้เป็นข้าราชการกลาโหมพลเรือนตามข้อบังคับทหารว่าด้วยก ำหนด

กำลังเจ้าหน้าที่ ซึ่งแบ่งอัตราตำแหน่งเป็นอัตราทหาร หรืออัตรา

พลเรือน ไว้อย่างชัดเจน

ในเวลาต่อมาข้อบังคับทหารว่าด้วยกำหนดกำลังเจ้าหน้าที่

ของหน่วยต่างๆ ได้ถูกแก้ไขและปรับปรุงโดยคำสั่งกระทรวงกลาโหม

เปลี่ยนอัตราพลเรือนให้เป็นอัตราทหาร มาตามลำดับ สืบเนื่องจาก

สถานการณ์ความไม่สงบภายใน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องบรรจุ

อัตราทหารเพิ่มมากขึ้นและได้ลดสัดส่วนอัตราพลเรือนลงจนกระทั่ง

ไม่มีอัตราข้าราชการกลาโหมพลเรือนอยู่ในกระทรวงกลาโหม

อย่างไรก็ตามข้อบังคับทหารว่าด้วยข้าราชการกลาโหมพลเรือนยัง

คงมีผลบังคับใช้ต่อไป แต่ถูกนำมาใช้เพียงเพื่อประโยชน์ในเรื่องการ

แต่งกายของบุคคลในอัตราทหาร หรืออีกนัยหนึ่งคือ การบรรจุเป็น

ข้าราชการทหารนั้นเอง เพียงแต่กำลังพลเหล่านี้ต้องได้รับการฝึก

อบรมวิชาทหารให้มีความรู้ตามหลักสูตรของกระทรวงกลาโหม

เพื่อให้มีคุณสมบัติสามารถได้รับการแต่งตั้งยศได้ตามข้อบังคับ

กระทรวงกลาโหมว่าด้วยการแต่งตั้งยศ พ.ศ.๒๕๐๗

กรมเสมียนตรา


ความจำเป็นของการให้มีข้าราชการพลเรือนในกระทรวงกลาโหม ระยะหลังปี พ.ศ.๒๕๕๑

ภายหลังจากที่มีการเพิ่มอัตราทหารและลดสัดส่วนอัตราพลเรือนลงจนไม่มีอัตราพลเรือนในกระทรวงกลาโหมดังกล่าว ทำให้กระทรวง

กลาโหมประสบปัญหาข้าราชการทหารไม่สามารถเติบโตในสายงานของตนได้ เนื่องจากอัตราชั้นยศที่สูงขึ้นมีจำนวนจำกัด โดยเฉพาะ

สายงานพยาบาล ทำให้เกิดการย้ายออกนอกสายงานเพื่อแสวงหาความก้าวหน้า ส่งผลให้ขาดแคลนผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ

นอกจากนั้นยังเกิดปัญหาทำนองเดียวกันในสายงานทางเทคนิค เช่น เจ้าหน้าที่ข่าวกรอง หรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วย

จนในที่สุดได้นำปัญหานี้เข้าหารือในสภากลาโหม เมื่อ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๖ และมีมติเห็นชอบให้เพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องข้าราชการพลเรือน

กลาโหม ไว้ในร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ....

พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๖ วรรคสอง กำหนดให้มีข้าราชการพลเรือนกลาโหม

เป็นข้าราชการกระทรวงกลาโหมเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากข้าราชการทหาร เพื่อเป็นการดำเนินการให้มีข้าราชการพลเรือน

กลาโหมตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด คณะกรรมการข้าราชการทหารได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นจำนวน ๓ คณะ เพื่อรับผิดชอบ

ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ได้แก่

(๑) คณะอนุกรรมการจัดทำ

มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และระบบ

บริหารจัดการข้าราชการพลเรือน

กลาโหม มีกรมเสมียนตราเป็นหน่วย

รับผิดชอบจัดทำระบบบริหารจัดการ

ข้าราชการพลเรือนกลาโหม โดยจัดทำ

เป็นร่างพระราชกฤษฎีการะเบียบ

ข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. ....

รวมทั้งอนุบัญญัติอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการ

รับราชการ ทั้งนี้ร่างพระราชกฤษฎีกา

ดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบของ

คณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อ ๙ มิถุนายน

๒๕๖๓ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณา

ของคณะกรรมการกฤษฎีกา

(๒) คณะอนุกรรมการจัดทำโครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทนข้าราชการพลเรือนกลาโหม มีกรมการเงินกลาโหมเป็นหน่วยรับผิดชอบ

ในการจัดทำระบบค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ของข้าราชการพลเรือนกลาโหม โดยจัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติเงินเดือน

เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ ของข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. ....

(๓) คณะอนุกรรมการกำหนดกลุ่มลักษณะงาน หน่วยงาน และจัดทำอัตราของหน่วยงานข้าราชการพลเรือนกลาโหม มีสำนักนโยบาย

และแผนกลาโหมเป็นหน่วยรับผิดชอบกำหนดอัตรากำลังข้าราชการพลเรือนกลาโหมโดยได้กำหนดให้มีหน่วยนำร่องในการบรรจุข้าราชการ

พลเรือนกลาโหมแล้ว จำนวน ๒ หน่วย คือ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศ

และอวกาศกลาโหม และโรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

ทั้งนี้การบรรจุข้าราชการพลเรือนกลาโหม จะดำเนินการเมื่อพระราช

กฤษฎีกาฯ และพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว โดยหลังจากที่

บรรจุข้าราชการพลเรือนกลาโหมในหน่วยงานนำร่องแล้วกระทรวงกลาโหม

จะขยายผลไปยังหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ โดยจะบรรจุตาม

ลักษณะงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อ ๑๘

มีนาคม ๒๕๕๓ ในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล บุคลากร

ทางสาธารณสุข ด้านการเรียนการสอน การเงิน การบัญชี เทคโนโลยีสารสนเทศ

และการสื่อสาร กฎหมาย การพัฒนา ประชาสัมพันธ์ การสวัสดิการ

การสารบรรณและธุรการ นโยบายและแผนระดับยุทธศาสตร์ การข่าว

เครื่องแบบข้าราชการพลเรือนทหาร

และงานด้านวิเทศสัมพันธ์ เป็นต้น

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

27


เครื ่องกรองอากาศ PM 2.5

แบบไฟฟ้าสถิต

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

ช่

วงปลายปี พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ผ่านมา ปัญหาฝุ่นละอองที่เราเรียกว่า

PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ๆ ของ

ประเทศไทยกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติที่รัฐบาลต้องรีบหาทาง

แก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน เนื่องจากฝุ่นละออง PM2.5 เป็นฝุ่นละออง

ขนาดเล็กที่จมูกไม่สามารถกรองฝุ่นชนิดนี้ได้ และสามารถเข้าสู่

เส้นเลือดฝอยที่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ ผู้ที่มี

อาการแพ้ฝุ่นจะมีอาการเบื้องต้นคือ ระคายเคืองดวงตา แสบจมูก

และหากฝุ่นละอองสะสมอยู่ในอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเป็นเวลานาน

จะก่อให้เกิดความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหอบหืด

โรคหลอดเลือดในสมอง และในปี พ.ศ.๒๕๕๖ องค์การอนามัยโลก

จัดให้ PM2.5 อยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็งทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็ง

ปอดอีกด้วย

คำว่า PM ย่อมาจากคำว่า Particulate Matter มีความหมาย

ว่า เป็นของผสม (Mixture) ของอนุภาคของแข็ง (Solid particle)

และหยดของเหลว (Liquid droplet) ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ใน

อากาศในรูปของฝุ่น (Dust) ผงละออง (Dirt) เขม่า (Soot) รวมทั้ง

28

ควัน (Smoke) ทั้งที่มีความหนาแน่นมากจนเห็น

เป็นกลุ่มสีเทาหรือสีดำได้ด้วยตาเปล่า หรืออาจ

จะต้องส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ ฝุ่นละอองขนาด

เล็ก PM2.5 มีชื่อเต็มคือ Particulate matter

with diameter of less than 2.5 micron เป็น

ฝุ่นละอองขนาดจิ๋วที่มีขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน

และเป็น ๑ ใน ๘ ตัวที่ใช้ในการวัดมาตรฐาน

คุณภาพอากาศในบรรยากาศ ฝุ่นละออง PM2.5

จึงเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า ๒.๕ ไมครอน

ฟุ้งกระจายในชั้นบรรยากาศ อาจอยู่ในสภาพ

ของเหลวหรือของแข็งขนาดเล็ก ส่วนสาเหตุอาจ

จะมาจากควันพิษ การจราจร การคมนาคม ควัน

และฝุ่นจากการเผาต่างๆ ในการเพาะปลูก และ

มาจากภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการก่อสร้าง

เป็นต้น

จากนโยบายของ พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ

ปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ได้สั่งการให้หน่วยต่างๆ

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ให้ความ

ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐร่วมกันเร่งแก้ไขปัญหา

ฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการติดตาม เฝ้าระวัง

ควบคุม และป้องกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ศูนย์วิจัยและ

พัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม ในฐานะ

หน่วยบริหารงานวิจัยและพัฒนาหลักของกระทรวงกลาโหม

จึงพิจารณานำผลงานวิจัย นวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์จากหน่วยงาน

ต่างๆ และเครือข่าย เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกันประดิษฐ์ เครื่องกรองอากาศ

แบบไฟฟ้าสถิต เพื่อนำมาทดสอบใช้งานในพื้นที่ที่มีระดับค่าฝุ่น

PM2.5 อยู่ในปริมาณสูง เพื่อฟอกอากาศในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว

และนำข้อมูลมาวิจัยต่อยอดพัฒนาเป็นเครื่องฟอกอากาศขนาดใหญ่

ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

เครื่องกรองอากาศแบบไฟฟ้าสถิต ประกอบด้วย แผ่นโลหะ

ระนาบกราวด์ และแผ่นโลหะจ่ายไฟฟ้าแรงสูงกรอบโครงสร้างบูสท์

วงแหวนโลหะ บูสท์วงแหวนพลาสติก แกนสตัดเกลียว และแผ่น

อะคริลิก โดยมีคุณลักษณะ ดังนี้ ๑) อัตราการสร้างอากาศบริสุทธิ์

: ๑๐,๐๐๐ m3/h ๒) พื้นที่ใช้งาน : ห้องโถงขนาดใหญ่ พื้นที่

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม


กึ่งปิดกึ่งเปิด ขนาดไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ m3 ๓) ขนาดเครื่อง :

กว้าง ๑๒๕ เซนติเมตร สูง ๑๑๕ เซนติเมตร ลึก ๗๕ เซนติเมตร

๔) แรงดันไฟฟ้าขาเข้า : ๒๒๐ VAC ๕) พลังงาน : ๑.๑ kW และ

๖) แผ่นกรอง : แผ่นกรองหยาบ แผ่นกรองคาร์บอน (ลดกลิ่นและ

โอโซน) ๓.๒.๗ การเกิดโอโซน : < ๐.๑ ppm (วัดเฉลี่ย ๑ ชั่วโมง

ในห้องโถงขนาดประมาณ ๔,๐๐๐ m3)

ผลการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องกรองฝุ่นละออง

ขนาดเล็ก PM2.5 ในห้องขนาดพื้นที่ ๑๐๕ ลูกบาศก์เมตร ผลการ

ทดสอบพบว่า จากเครื่องกรองอากาศแบบไฟฟ้าสถิต จำนวน ๓

เครื่อง ได้ทำการทดสอบในห้องแบบปิดขนาดพื้นที่ ๑๐๕ ลูกบาศก์

เมตร และทำการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จากเครื่อง

กำเนิดควันให้มีความเข้มข้นสูงกว่า ๒,๐๐๐ μg/m3 โดยมี

ผลการทดสอบดังนี้

ฝุ่นละอองมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป

เครื่องกรองอากาศทั้ง ๓ เครื่อง สามารถดักจับ

ฝุ่นละอองปริมาณ ๒,๐๐๐ μg/m3 เหลือ

ปริมาณต่ำกว่า ๑๐ μg/m3 ซึ่งเครื่องที่ ๑ ใช้

เวลาประมาณ ๑๗๑ วินาที เครื่องที่ ๒ ใช้เวลา

ประมาณ ๒๐๙ วินาที และเครื่องที่ ๓ ใช้เวลา

ประมาณ ๑๗๖ วินาที และดักจับฝุ่น ซึ่งวัดค่าได้

๑ μg/m3 เมื่อเวลาผ่านไป เครื่องที่ ๑ ใช้เวลา

ประมาณ ๒๒๗ วินาที เครื่องที่ ๒ ใช้เวลา

ประมาณ ๓๐๕ วินาที และเครื่องที่ ๓ ใช้เวลา

ประมาณ ๒๓๒ วินาที ผลการทดสอบ พบว่า

เครื่องกรองอากาศแบบไฟฟ้าสถิตในพื้นที่ขนาด

ใหญ่ ขนาด ๘๒๗ ลูกบาศก์เมตร ผลการทดสอบ

เครื่องกรองอากาศแบบไฟฟ้าสถิตในห้อง

ขนาดใหญ่ โดยทำการทดสอบในห้องแบบปิด

ขนาดพื้นที่ ๘๒๗ ลูกบาศก์เมตร และทำการปล่อยฝุ่นละอองขนาด

เล็ก PM2.5 จากเครื่องกำเนิดควันให้มีความเข้มข้นสูงกว่า ๒,๐๐๐ μg/

m3 โดยมีผลการทดสอบ ดังนี้

เมื่อเริ่มทำการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในปริมาณ

๒,๐๐๐ μg/m3 และเปิดเครื่องกรองอากาศ พบว่า เครื่องกรอง

อากาศทั้ง ๓ เครื่อง สามารถดักจับฝุ่นละอองได้ทันทีที่เครื่องกรอง

อากาศเปิดทำงาน สามารถดักจับฝุ่นละอองได้อย่างต่อเนื่อง โดยค่า

เมื่อเริ่มทำการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในปริมาณ

๒,๐๐๐ μg/m3 และเปิดเครื่องกรองอากาศ พบว่าเครื่องกรอง

อากาศสามารถดักจับฝุ่นละอองได้อย่างต่อเนื่อง และมีปริมาณ

ลดลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป เครื่องกรองอากาศสามารถดักจับ

ฝุ่นละอองปริมาณ ๒,๐๐๐ μg/m3 เหลือปริมาณต่ำกว่า ๑๐ μg/

m3 เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ ๕๙๕ วินาที การดักจับฝุ่นวัดค่าได้

๐ μg/m3 เวลาผ่านไปประมาณ ๑,๑๑๙ วินาที

ทั้งนี้คำนวณอัตราการสร้างอากาศบริสุทธิ์(Clean Air Delivery

Rate : CADR) ได้เท่ากับ ๑๘,๓๗๙ m3/h ผลที่ได้อาจแตกต่าง

จากผลการทดสอบในห้องขนาดเล็ก เนื่องจากห้องที่ใช้ทดสอบ

มีขนาดใหญ่และมีช่องว่างระหว่างประตูจำนวนมาก ฝุ่นละอองจึง

ผ่านออกทางช่องเหล่านี้ได้

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

29


การก่อการร้าย

บนโลกไซเบอร์ - ข่าวกรองทางไซเบอร์ - การจารกรรม

Cyber Terrorism - Cyber Intelligence - Cyber Espionage

“เครื ่องมือในการก่อเหตุ”

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ

รองผู้อำนวยการกองข่าวความมั่นคง สำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร

ากกล่าวถึงภาพยนตร์มหากาพย์แนววิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี (Science fiction) หรือเรียกอีกอย่างว่า “Sci-Fi”

เป็นภาพยนตร์ที่สร้างเหนือจินตนาการและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

ระดับโลก นั่นก็คือภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส (Star Wars) ได้มีการ

ออกฉายครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.๑๙๗๗ (พ.ศ.๒๕๒๐ จนถึงปัจจุบัน) ซึ่ง

สมรภูมิการรบเกี่ยวพันกับสงครามในอวกาศดำเนินกลยุทธ์ในรูปแบบ

ของสงครามไฮบริด (Hybrid Warfare) คือการรบที่เป็นการ

ผสมผสานระหว่างสงครามตามแบบและสงครามนอก โดยขั้วอำนาจเดิม

(Status Quo) ต้องการทำลายผู้ท้าทายอำนาจ (Revisionist) เพื่อ

ควบคุมระบบทั้งหมดแต่ในขณะหมอกควันของการต่อสู้ของฝ่าย

อำนาจรัฐฯ ยังคงคุกรุ่นได้เกิดการปรากฏตัวของกลุ่มนักรบอิสระ

(อัศวินเจได) ที่ไม่ได้ขึ้นตรงกับฝ่ายใด (Non-State Actor) และใช้

พลังลึกลับ โดยมีมนต์วิเศษในการสะกดจิตใจทุกคนให้ปฏิบัติตาม

อัศวินเจได Lord Dark Vader (อัศวินตัวร้ายฝ่ายจักรวรรดิ)

คำสั่งต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ของตนเองและกลุ่ม อีกทั้งยังแสวงหาประโยชน์

จากการนำเครื่องมือที่ฝ่ายรัฐเคยใช้/ตกยุคพัฒนาเพื่อใช้ในการต่อสู้

ในสงครามตามแบบซึ่งหากมองย้อนไปเมื่อ ๕ ปีก่อนอาจจะพบว่า

สงครามอวกาศนั้นเป็นเรื่องเพ้อฝันไกลตัวและต้องใช้เวลาอีกนานกว่า

จะเกิดขึ้นจริง แต่ความเป็นจริงสงครามดังกล่าวได้เกิดขึ้นและมีอยู่

จริงแล้ว หากเปรียบกับยุคปัจจุบันจะพบว่าฝ่ายอำนาจเดิม คือ ประเทศ

สหรัฐอเมริกากับประเทศผู้ท้าชิงฯ คือประเทศจีน ทั้ง ๒ ประเทศล้วน

เป็นประเทศมหาอำนาจทางการเงินและการทหาร ซึ่งได้มีการ

เตรียมตัวและเผชิญหน้ากันหลายครั้งเพื่อการช่วงชิงความเป็นผู้มีอ ำนาจ

นำในประชาคมโลก (Hegemon) ในยุคทศวรรษที่ ๒๑ ได้มีการช่วง

ชิงเพื่อการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีจนในปี ค.ศ.๒๐๑๙ ได้กลายเป็น

ที่มาของคำว่า “Tech War” (สงครามเทคโนโลยี) ในการแข่งขันระหว่าง

ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งได้ทำการสถาปนา U.S. Cyber Command

30

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ


ป้ายโฆษณาภาพยนตร์ Start Wars

(CYBERCOM) หรือกองบัญชาการไซเบอร์ขึ้น ส่วนในประเทศจีน ได้

มีการจัดตั้งหน่วย Strategic Support Force (SSF) โดยทั้ง ๒ หน่วย

งานได้จัดตั้งขึ้นภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกันคือการเป็นศูนย์กลาง

เครือข่ายในการบัญชาการรบในสงครามแห่งศตวรรษที่๒๑ (Network

Centric) ที่ประกอบด้วย สงครามอวกาศ สงครามไซเบอร์

สงครามจิตวิทยาบนสื่อสังคมออนไลน์การจารกรรมทางไซเบอร์ โดย

ทั้ง ๒ ประเทศอาจลงมือกระทำเองและในยุคศตวรรษที่ ๒๑ สายตา

ทุกคู่ทั่วโลกล้วนจับจ้องไปที่ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่นำแสดงโดย

ตัวละครหลักที่เป็นรัฐฯ (State Actor) ก่อเกิดอุบัติการณ์อันเนื่อง

มาจากความประมาทต่อการระวังป้องกันจากภัยคุกคามที่มาจาก

ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (non-state actor) ซึ่งได้แก่กลุ่มก่อการร้ายดิจิทัล

เอกสารฉบับนี้เป็นการนำเสนอต่อเนื่องจากครั้งก่อนโดยจะเน้น

การอธิบายการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีเพื่อก่อเหตุในการ

สร้างความหวาดกลัวต่อสาธารณะและเพื่อส่งผ่านความคิดที่ว่า

การก่อการร้ายทางไซเบอร์ได้มีการพัฒนาสถานภาพของตนเป็น

“ภัยคุกคามที่แท้จริง” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ผู้บังคับบัญชาของผู้เขียนย้ำเตือนอยู่เสมอว่าในฐานะนักการ

ข่าวจะต้องตระหนักว่าในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายยุคดิจิทัล

ชัยชนะจะขึ้นอยู่กับความเข้าใจยุทธศาสตร์และวิวัฒนาการการ

เปลี่ยนแปลงของฝ่ายตรงข้าม ดังนั้นในการรวบรวมข่าวสารจนถึงการ

วิเคราะห์ข้อมูลและขีดความสามารถของข้าศึกจะต้องปฏิบัติโดย

ปราศจากความคิดว่าฝ่ายตนเองมีความได้เปรียบหรือความประมาท

ในคู่ต่อสู้เป็นอันขาด อีกทั้งจะต้องกลับมาทบทวนแนวคิดในการ

ทำงาน Ends - Ways - Means (การกำหนดเป้าหมาย - แนวความ

คิดที่เปลี่ยนไป - เครื่องมือ) รูปแบบใหม่และต่อเนื่อง ซึ่งในบทความ

ที่แล้ว “การก่อการร้ายบนโลกไซเบอร์–ข่าวกรองทางไซเบอร์” (ฉบับ

เดือนตุลาคม ๒๕๖๓) ผู้เขียนได้ทำการวิเคราะห์ซึ่งสามารถสรุปได้

โดยสังเขปว่า เป้าหมายฯ (Ends) คือการโจมตีโครงสร้างพื้นฐาน

การสร้างความเสียหายแก่ระบบ และการป้องกันการจารกรรมข้อมูล

โดยเฉพาะการเจาะข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive

Personal Data) ทั้ง ๓ ประการ (การเงิน การศึกษา และสุขภาพ)

และหนทางการปฏิบัติ (Ways) กลุ่มก่อการร้ายฯ ได้พัฒนาขีดความ

สามารถก่อสงครามไฮบริด ซึ่งในฉบับนี้จะทำการวิเคราะห์ใน

องค์ประกอบสุดท้าย คือเครื่องมือ (Means) ที่เป็นอาวุธที่นำไปสู่

เป้าหมาย โดยสามารถแยกเครื่องมือได้เป็น ๒ ประเภท ดังนี้

๑) เครื่องมืออำนาจในการโน้มน้าวปรับเปลี่ยนความเชื่อ (Soft

Power) ด้วยการใช้ “โฆษณาชวนเชื่อ” โดยจากการศึกษาเรื่องการ

มีอำนาจนำ (Hegemony) ของนายอันโตนิโอ แกรมซี่ และอาจารย์

จอห์น เมียร์ซายเมอร์จะพบว่าทั้ง ๒ ท่านมีมุมมองในการนำ

เครื่องมือไปสู่การมีอำนาจนำในการปกครองของสังคมใดๆ จะขึ้นอยู่

กับการช่วงชิงชัยชนะในสงครามแห่งความคิด (War of Position) โดย

ความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารที่เหมาะสมต่อ

สภาพวัฒนธรรม สังคมและยุคสมัย (ผู้เขียน : สงครามยุคดิจิทัล เป็น

สงครามไซเบอร์จึงจะต้องใช้เครื่องมือแห่งยุค ๔.๐ และต้องเลิกฝืนที่

จะใช้เครื่องมือยุค ๑.๐ ประเภท Analog) โดย นายแซม มอลลิน

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

31


ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้ายจากสถาบันการทหารจอร์จ ซี.

มาร์แชลล์ มีความเห็นพ้องต้องกัน และได้อธิบายเพิ่มเติมว่าที่ผ่านมา

กลุ่มผู้ก่อการร้าย อาทิ กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์(Al-Qaeda) หรือ

กลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอส (IS-Islamic state) ล้วนประสบความสำเร็จ

ในเรื่องการเผยแพร่การโฆษณาชวนเชื่อบนสื่อสังคมออนไลน์(Online

Propaganda) ซึ่งเป็นการแสวงประโยชน์จากเครื่องมือสาธารณะ อาทิ

เครือข่ายสังคมเฟซบุ๊ค (Facebook) และเว็บไซต์เผยแพร่วิดีโอ

(YouTube) ซึ่งเป็นการนำเครื่องมือของฝ่ายตรงข้ามมาใช้เพื่อการ

ต่อต้าน และต่อสู้การระดมพล อีกทั้งยังปลูกฝังแนวคิดแบบสุดโต่ง

เพื่อแสวงหาประโยชน์ของเครื่องมือที่ยาวนานจนสามารถปลูกฝัง

แนวความคิดอุดมการณ์นำไปสู่เป้าหมายให้เป็นที่เรียบร้อยอีกทั้ง

เครื ่องมืออำนาจในการโน้มน้าวที่สำคัญ คือตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ

(Non-State Actor)

๒) เครื่องมืออำนาจกำลังรบด้วยการใช้กำลัง (Hard Power)

แต่เป็นการใช้เครื่องมือยุคดิจิทัล (Digital-only means) เป็นการใช้

อำนาจกำลังรบด้วยการใช้กำลัง (Hard Power) ที่ผ่านมาตัวแสดง

ที่เป็นรัฐ (State Actor) มักจะคุ้นเคยกับการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์

ประเภทรถถัง เครื่องบิน และปืนใหญ่ ในการดำเนินกลยุทธ์และ

มักจะสันนิษฐานว่า ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (Non-State Actor) โดยเฉพาะ

กลุ่มก่อการร้ายจะมีความชำนาญเพียงการโจมตีด้วยอาวุธที่หาและ

ผลิตง่าย หวังผลต่อการทำลายทางกายภาพ อาทิ ระเบิดติดรถยนต์

หรือมีดทำครัวในลักษณะหมาป่าเดียวดาย (Lone Wolf) เป็นการ

ก่อการร้ายรูปแบบใหม่ที่โลกกําลังเผชิญอยู่ Lone Wolf เป็นการ

ศึกษาที่พบว่ากลุ่มก่อการร้ายยุคดิจิทัลมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าสามารถ

ก่อการร้ายหรือโจมตีในรูปแบบของสงครามไซเบอร์ที่ง่ายต่อการเรียน

และหาเครื่องมือบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์แบบองค์การ

ดั้งเดิม คือสร้างความตื่นตระหนกหวาดกลัวในหมู่ประชาชนสังคม

แต่ได้มีการปรับเปลี่ยนไปในลักษณะขัดขวางการดำเนินชีวิตของ

ประชาชนโดยเครื่องมือก่อการร้ายบนยุคดิจิทัลสามารถแบ่งออกเป็น

๒ ประเภทหลัก ดังนี้

๑) เครื่องมือเพื่อทำลายระบบ คือ เครื่องมือก่อการร้าย ใช้ใน

การทำลายระบบควบคุมต่างๆ ที่เน้นเป้าหมายไประดับมหภาค โดย

จุดเริ่มต้นที่เห็นชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อ ๑๐ ปีก่อน (๑ ตุลาคม ๒๕๕๓) ณ

เวลานั้น มีการปรากฏขึ้นของสตักซ์เน็ต (STUXNET) คือ หนอนไวรัส

ที่ถูกพบเป็นครั้งแรก โดยบริษัท ไวรัสบล็อกเอดา ในประเทศเบลารุส

และถือเป็นการพบไวรัสคอมพิวเตอร์ครั้งแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้น

เป็นพิเศษเพื่อให้มุ่งทำลายล้างระบบของโรงงานอุตสาหกรรม โดยจะ

เข้าไปทำลายระบบควบคุมและประมวลผลแบบศูนย์รวม (SCADA :

Supervisory Control and Control Acquisition) ที่ใช้ในการ

ควบคุมอยู่ห่างไกลเพื่อใช้ในการตรวจสอบ เก็บข้อมูลและดูแล

กระบวนการผลิตต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม อาทิ มัลแวร์

“Industroyer” หรือ มัลแวร์ “Black Energy”

๒) เครื่องมือเพื่อยึดระบบ (นำไปสู่การเรียกค่าไถ่) คือ เครื่องมือ

ก่อการร้ายเพื่อควบคุมระบบที่เป้าหมายตั้งแต่ระดับมหภาคและ

จุลภาคซึ่งเป็นการฝังมัลแวร์เอาไว้เจาะระบบเพื่อทำการ “จารกรรม”

32

ห้องปฏิบัติการ US Cyber Command (Cyber Com)

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ


ล้วงข้อมูล ความลับทางการ ความลับของบริษัทธุรกิจ ธนาคาร หรือ

อื่นๆ เมื่อมั่นใจว่าระบบถูกควบคุมจนปราศจากการต้านทานจึง

ดำเนินการต่อด้วยการ “เรียกค่าไถ่” โดยวิธีการโจมตี จะใช้เครื่อง

คอมพิวเตอร์จำนวนมาก (ตั้งแต่หลักพันถึงหลักแสนเครื่อง) เข้าโจมตี

พร้อมกัน (Distributed Denial of Service : DDoS) โดยจะใช้

ซอฟต์แวร์ไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อเพื่อรอรับคำสั่ง

ระยะไกลจากเครื่องสั่งการซึ่งเครื่องที่ตกเป็นเครือข่ายจะถูกเรียกว่า

robot หรือ zombie เครื่องที่ใช้ควบคุมและสั่งการเรียกว่า command

& control (C2) ถ้าหากเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อมีจำนวนมาก

จะเรียกว่าเป็น Robot Network (BOTNET) ในปี ค.ศ.๒๐๑๖ มีการ

ปรากฏขึ้นของ Trickbot ที่สามารถสร้างมัลแวร์อย่างมีระบบและ

ทำการ Update ขีดความสามารถตลอดเวลา ในรูปแบบอีเมลฟิชชิง

(phishing email) และมุ่งเป้าหมายการจารกรรมข้อมูลในระบบ

Windows โดยที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในการส่งมัลแวร์ “RYuk”

ที่ยึดระบบและนำไปสู่การจารกรรมข้อมูลในโรงพยาบาลบริษัท

มหาวิทยาลัย บางกรณี Trickbot ถูกใช้เก็บข้อมูลล็อกอินธนาคารจาก

เหยื่อ เพื่อขโมยเงินในบัญชีโดยตรงได้อีกด้วย

สรุป: จากการวิเคราะห์พบว่าในระยะเวลาอันใกล้ หรือ

ประมาณ ๑ ปี กลุ่มก่อการร้ายดิจิทัลจะมีการผสมผสานกลยุทธ์

(Hybrid) ในการทำสงครามไซเบอร์ทั้งการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

และการว่าจ้างกลุ่มให้บริการมัลแวร์ (malware-as-a-service) เช่น

Trickbot จะมุ่งเป้าหมายในการจารกรรมทางไซเบอร์ไปสู่ระดับ

ประชาชน เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ

เช่น กล้องวงจรปิด สมาร์ททีวีและรถยนต์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือเครือข่ายไร้สายประเภท

เทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Devices) ที่จะต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

(Internet of Things หรือ IoT) อุปกรณ์เหล่านี้ผู ้ก่อการร้ายสามารถ

เจาะระบบ เพื่อควบคุมอุปกรณ์ดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตี

ได้เช่นกัน คำถามที่น่าสนใจต่อจากนี้คือ หน่วยงานใดที่มีความพร้อม

และขีดความสามารถทางเทคโนโลยีที่จะเป็นกำลังหลักในการสร้าง

แนวรับเพื่อป้องกันอาวุธทางไซเบอร์จากกลุ่มก่อการร้าย ซึ่งหาก

กล่าวถึงภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส (Star Wars) ทุกภาค จะพบว่า

ชัยชนะจากการต่อสู้ที่เป็นของอัศวินเจไดจะแฝงตัวไปอยู่ในตัวแสดง

ที่เป็นรัฐ (State Actor) ประเด็นที่สำคัญคือฝ่ายความมั่นคง

มีอัศวินเจได มาสนับสนุนการรบในโลกเสมือนจริงแล้วหรือยัง

References

Chesney, R. 2020, Persistently Engaging TrickBot: USCYBERCOM Takes

on a Notorious Botnet, Lawfare, Cybersecurity and Deterrence,

12 th Oct, viewed 14 th Oct, <https://www.lawfareblog.com/persis

tently-engaging-trickbot-uscybercom-takes-notorious-botnet>.

Costello, J & McReynolds, J 2018, China’s Strategic Support Force:

A Force of New Era, Institution for National Strategic Studies,

National Defense University Press, Washington D.C.

Mazanec, W & Whyte, C 2019, Understanding Cyber Warfare: Politics,

Policy and Strategy, Routledge, London

Mearsheimer, J J 2014, pp.40-41, 55The Tragedy of Great Power

Politics, W.W. Norton & Company, New York

Mullins, S 2016, ‘Home-Grown’ Jihad: Understanding Islamist

Terrorism in the US and UK, Imperial College Press, London

Pomerleau, M. 2020, What Cyber Command’s ISIS operations means

for the future of information warfare, Information Warfare, 18 th

June, viewed 10 th Oct, <https://www.c4isrnet.com/informationwarfare/2020/06/18/what-cyber-commands-isis-operationsmeans-for-the-future-of-information-warfare/>.

33


เปิดประตูสู่เทคโนโลยี

ป้องกันประเทศ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ

ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนา

จัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์

เพื ่อความมั ่นคงทางทะเล

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

34

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


ในการวิจัยและพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์

เพื่อความมั่นคงทางทะเล ที่สามารถตอบสนองภารกิจของ นสร.กร.

ดังนี้

๑) ด้านความมั่นคงทางทหาร ได้แก่ ๑.๑) สนับสนุนภารกิจ

หลักสูตรต่างๆ ของ นสร. เช่น นักทำลายใต้น้ำจู่โจม, ปฏิบัติงาน

ใต้น้ำ และลาดตระเวน ๑.๒) ขนส่งในพื้นที่ที ่เรือใหญ่เข้าไม่ถึง

(เข้าเกยหาด)

๒) ด้านความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การเก็บ

ขยะลอยน้ำในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

(อพ.สธ.) และพื้นที่รับผิดชอบของ นสร.กร.

ถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. ในฐานะ

หน่วยงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศที่มีองค์

ความรู้และความเชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยี

ป้องกันประเทศขั้นสูง เพื่อสนับสนุนการใช้งานของกองทัพและ

ภาคพลเรือนเพื่อการพึ่งพาตนเอง ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความ

ร่วมมือพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อ

ความมั่นคงทางทะเล ร่วมกับกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ เพื่อสนับสนุน

ภารกิจของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ

หรือ นสร.กร. ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ

และในนามของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย (พธท.)

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จ

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) อีกด้วย

เพื่อให้สามารถตอบสนองภารกิจที่สำคัญดังกล่าว กองเรือ

ยุทธการ กองทัพเรือ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนา

เทคโนโลยีป้องกันประเทศของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

35


๓) ด้านความมั่นคงทางสังคม การมีส่วนร่วมตอบสนองความ

รับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสร้างการตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากขยะ

ในทะเลให้แก่ประชาชนร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะให้หมดไป

โดยมีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการโครงการฯ ๒ ปี

จนแล้วเสร็จ พร้อมส่งมอบให้นสร.กร. ใช้งาน สทป. ได้เสนอโครงการ

เรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเลต่อคณะกรรมการ สทป.

เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๒ โดยคณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบ

และพิจารณาอนุมัติให้ สทป. วิจัยและพัฒนาสร้างต้นแบบ

อุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ร่วมกับ

นสร.กร. และบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพภายในประเทศ และได้

กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการโครงการฯ ๑ - ๒ ปี จนแล้วเสร็จ

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการฯ ในครั้งนี้ ได้แก่

๑) สทป. ได้นําแนวคิดในเรื่องแผนพัฒนาทางลัดมาดําเนินการให้เป็น

รูปธรรม ๒) เพิ่มขีดความสามารถในงานวิจัยต่อยอดองค์ความรู้

สําหรับแพลตฟอร์มทางน้ำของ สทป. ๓) การพัฒนาต่อยอดการ

จัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์ทางทะเล ๔) ส่งเสริม

อุตสาหกรรมการต่อเรือของไทย ๕) ตอบสนองความรับผิดชอบต่อ

สังคม ๖) การร่วมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพระ

มหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ดําริโครงการเพื่อให้สาธารณชน

เรียนรู้และตระหนักถึงความสําคัญของพันธุกรรมพืช และ สทป. เป็น

ส่วนหนึ่งในการช่วยอนุรักษ์พันธุ์พืช เพื่อสร้างการตระหนักถึงปัญหาที่เกิด

จากขยะในทะเลให้แก่ประชาชนร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะให้หมดไป

พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบัน

เทคโนโลยีป้องกันประเทศ กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความ

ร่วมมือในการพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์

เพื่อความมั่นคงทางทะเลระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

กับ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของความ

ร่วมมือในการพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์

เพื่อความมั่นคงทางทะเลให้สำเร็จเป็นรูปธรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

ในการพึ่งพาตนเอง ในการสนับสนุนภารกิจของกองเรือยุทธการ

กองทัพเรือ และสามารถสนับสนุนการดำเนินการโครงการอนุรักษ์

พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตน

ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

ทางเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือ อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงต่อยอด

องค์ความรู้ในการวิจัยและพัฒนาต้นแบบอุตสาหกรรมเรือเพื่อความ

มั่นคงทางทะเลไปจนถึงขั้นการผลิต และส่งเสริมสู่อุตสาหกรรมตาม

พระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.๒๕๖๒

นอกจากนี้โครงการเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล

ยังถือเป็นโครงการแรกของ สทป. ตั้งแต่ก่อตั้งสถาบันฯ มา ที่จะได้มี

โอกาสนำผลงานวิจัยพัฒนาต้นแบบสนับสนุนการดำเนินงานตาม

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ

กองเรือยุทธการ หรือ นสร.กร. ซึ่งถือเป็นมหามงคลอย่างยิ่งต่อ สทป.

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพึ่งพาตนเองสามารถสนับสนุนกระทรวง

กลาโหม ในการดำเนินกิจการด้านการวิจัยพัฒนา และอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศเพื่อความมั่นคง รวมถึงต่อยอดผลการวิจัยและพัฒนา

ไปจนถึงขั้นการผลิต และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติ

เทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.๒๕๖๒ ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์

ของ สทป. มาตรา ๒๒ (๑) (๒) ว่าด้วยการศึกษาค้นคว้า วิจัย และ

36

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศและดำเนินการอื่นที่

เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีป้องกัน

ประเทศ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ของกระทรวงกลาโหม หน่วยงานอื่นของรัฐและภาคเอกชน และ

มาตรา ๒๓ (๖) ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงาน

อื่นทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการที่

เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบันที่ระบุไว้ใน

พ.ร.บ.เทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ.๒๕๖๒ นอกจากนั้นการดำเนิน

โครงการฯ ยังก่อให้เกิดความคุ้มค่าด้านต่าง ๆ ดังนี้

๑. ความคุ้มค่าด้านเศรษฐกิจ

- ลดการนำเข้า และ/หรือการใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ

ที่มีต้นทุนสูง

- เพิ่มมูลค่าของผลงานวิจัยและพัฒนาทางด้านความมั่นคง

ในอนาคต

๒. ความคุ้มค่าด้านความมั่นคง

- ตอบสนองยุทธศาสตร์ของ กห. และสอดคล้องกับนโยบาย

ของรัฐบาลในการส่งเสริมกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

- สามารถตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยผู้ใช้งาน

ได้อย่างเป็นรูปธรรม

๓. ความคุ้มค่าด้านการเมือง

- ก่อให้เกิดพันธมิตรทางยุทธศาสตร์รวมถึงการบูรณาการ/

พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือตามแผนยุทธศาสตร์ของ สทป.

- ตอบสนองตามนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันให้เกิด

การพึ่งตนเองในด้านการวิจัยและพัฒนา

๔. ความคุ้มค่าด้านเทคโนโลยี

- มีความคุ้มค่าในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในโครงการร่วม

วิจัยของหน่วยงานรัฐ

- เปิดโอกาสให้บุคลากรของหน่วยงานรัฐในการร่วมวิจัย

และพัฒนา

ทั้งนี้ เมื่อสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศสามารถสร้าง

ต้นแบบเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเลสำเร็จเป็นรูปธรรม

และส่งมอบให้หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ

เพื่อใช้งานสำเร็จเรียบร้อยแล้ว สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

มีแผนที ่จะนำองค์ความรู้ในการสร้างต้นแบบเรืออเนกประสงค์

เพื่อความมั่นคงทางทะเล ดังกล่าว ต่อยอดองค์ความรู้สู่การผลิต

ในเชิงอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้นต่อไปในอนาคต

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

37


ภาษาอังกฤษง่ายๆ สไตล์ครูวันดี

COVID

“Happy

New Year 2021”

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ

นักวิจัยพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

ในวารดิถีขึ้นปีใหม่พุทธศักราช ๒๕๖๔ ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์

ทั้งหลายในสากลโลก จงดลบันดาลให้ทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ทหาร ตำรวจ ครู ผู้ที่ร่วม

ปฏิบัติงานในสถานกักตัวของรัฐและผู้อ่านทุกท่าน จงมีความสุขกาย

สบายใจ ปราศจากทุกข์โศก โรคภัย และไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

ตลอดจนสัมฤทธิผล ในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ เทอญ

ถึงแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๒ จนมาถึงต้นปี พ.ศ.

๒๕๖๔ ยังไม่มีทีท่าจะคลี่คลาย แต่คนไทยเรายังโชคดีกว่าหลาย

ประเทศ เนื่องจากรัฐบาลไทย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวง

กลาโหม และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนพี่น้องชาวไทย

ประสานงานร่วมกันอย่างยอดเยี่ยม ทำให้ประเทศไทยสามารถ

ยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

38

ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีวัคซีนที่

สามารถป้องกันได้ก็ตาม แต่ก็สามารถพิสูจน์

จากตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ซึ่งมีการ

สำรวจในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓ จำนวน

ประมาณ ๕,๐๐๐ ราย มีผู้เสียชีวิตเพียง

๖๐ ราย จากประชากรทั้งสิ้น ๗๐ ล้านคน

ในขณะที่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีผู้ติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) จำนวน

สะสมถึง ๖๕๐,๐๐๐ ราย และมีผู้เสียชีวิต

จำนวน ๑๙,๕๑๔ ราย ซึ่งถือเป็นจำนวนสูง

ที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่สามารถเฉลิม

ฉลองเทศกาลปีใหม่หรือจัดงานเลี้ยงสังสรรค์

ได้ เพียงแค่เราต้องมีมาตรการในการป้องกัน

เชื้อไวรัสดังกล่าว แบบไม่ประมาท การ์ด

ไม่ตก ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่

ออกจากบ้าน หมั่นล้างมือ เว้นระยะห่าง และ

ที่สำคัญ คือสแกนแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”

ทุกครั้ง เพื่อเก็บข้อมูล และติดตามการใช้

บริการในพื้นที่สาธารณะต่างๆ

สำหรับการ์ดอวยพรหรือการ์ดปีใหม่ (ส.ค.ส.) ในปี พ.ศ.๒๕๖๔

จะสังเกตได้ว่าข้อความ หรือเนื้อหาที่อวยพร จะเน้นการอวยพรที่

ให้กำลังใจ ห่วงใยสุขภาพแก่กลุ่มที่ช่วยเหลือสังคมหรือในชุมชน

และผู้ให้บริการช่วยเหลือสังคม เราอาจจะเรียกว่า กลุ่มแนวหน้า

(Frontline workers) คำอธิบายภาษาอังกฤษกันค่ะ

Frontline workers are those who support us in our

communities, providing services that are most needed. เช่น

แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (Health care workers)

ทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ด้านสังคมสงเคราะห์ (Social workers)

คนขายของชำ (Grocery store workers) ลูกจ้าง (Retail employees)

พนักงานร้านอาหาร (Restaurant staff) คนขับรถส่งของ (Delivery

drivers) บุรุษไปรษณีย์ (Postal workers) พนักงานดับเพลิง

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ


(Firefighters) ครู (Teachers) พนักงานทำความสะอาดห้องพัก

(Housekeeping staff) และพนักงานด้านสาธารณูปโภคอื่นๆ

(Utility workers) เป็นต้น

ดังนั้น เรามาฝึกอ่านและแปลข้อความประโยคภาษาอังกฤษ

แบบซึ้งๆ ที่มีคำศัพท์และสำนวนในการส่งขวัญ (Moral) พลังทางใจ

(Empowerment) การกล่าวขอบคุณ (Thanks) การรู้สึกซาบซึ้ง

(Appreciation) ให้กับพวกเขาเหล่านี้กันค่ะ หรือหากมีเวลาก็อาจจะ

เขียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หรือส่งการ์ดออนไลน์ หรือส่ง

ข้อความผ่านไลน์ เฟซบุ๊ค หรือคำพูดดีๆ ไปให้พวกเขาบ้างนะคะ เพื่อ

ให้เขารู้ว่าเรารู้สึกประทับใจ ขอบคุณมากแค่ไหน ที่สำคัญ เวลาอ่าน

ต้องอ่านออกเสียงดังๆ เพราะๆ ไม่ต้องรีบ โดยการอ่านที่ถูกต้อง ต้อง

พยายามออกเสียงอักษรตัวหลังเบาๆ เช่น thank (แทธงค์ คึ) warm

(วอร์ม มึ) เริ่มเลยค่ะ

1. Sending thanks and warm thoughts to all of you

who are working through these challenging times. (ท้าทาย)

2. Thank you for giving your strength (ความแข็งแกร่ง)

to so many.

3. You are the true heroes and we appreciate (ซาบซึ้ง)

you and your sacrifices (ความเสียสละ) more than words

can say.

4. To all those willing to sacrifice their own safety

and well-being in this crisis (สถานการณ์วิกฤต), we are eternally

(ตลอดไป) grateful. (ขอบคุณ) We wish you safety and health

as you forge ahead to get us to the other side of this

pandemic. (โรคระบาด)

5. We are here for you. Thanks for being there

for us.

6. We are so grateful for your support.

7. Thank you so much for what you are doing for

our world.

8. You are truly a hero. (พระเอกตัวจริง) Thank you.

9. You show us that we are all in this together.

10. Thank you for your commitment (ความมุ่งมั่น)

and dedication (ความเสียสละ).

11. Thank you for your compassion (ความเห็นใจ),

collaboration (ความช่วยเหลือ), and courage. (ความกล้าหาญ)

12. Thank you for providing exceptional care

(การดูแลเป็นอย่างดี) and, perhaps, most importantly, thank

you for giving us hope (ความหวัง) and bringing light (นำ

แสงสว่าง) during these times of uncertainty and fear.

13. Everyday you make a commitment to serve.

Thank you.

14. You are one of the best and the bravest.

(กล้าหาญที่สุด)

15. Your selfless service to the greater community

(ชุมชน) is helping us all get through these tough times.

(ผ่านช่วงที่หนักหน่วง)

16. Sending love, respect, and high praises (ชื่นชม

อย่างยิ่ง) to you ALL! Thank you for your loyal service.

I salute you!

17. Your tireless efforts (ความพยายามอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย)

are not going unnoticed.

18. You have my support and heartfelt appreciation

for all you do.

19. We are deeply grateful to you for all the

sacrifices that you and your family are making.

20. Your contributions (การอุทิศ เสียสละ) are

appreciated and we thank you in our prayers, hearts, and

minds each and everyday

อ้างอิง https://www.operationwarm.org/newsroom/blog.

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

39


แผนงานที ่สำคัญ

ของมูลนิธิอนุรักษ์ป่ ารอยต่อ ๕ จังหวัด

เพื ่อดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ด้านภาคตะวันออกของไทย

พลโท ดร.ทวี แจ่มจำรัส

ข้าราชการบำนาญ/อนุกรรมการฝ่ายหารายได้มูลนิธิฯ

ปั

จจุบันป่าไม้ในทุกภาคส่วนของประเทศไทย ประสบกับปัญหา

การบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า เกิดไฟป่าจากธรรมชาติและน้ำมือ

มนุษย์มากขึ้น แต่ก็ยังมีป่าที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์และมีสัตว์ป่าอาศัย

อยู่มากพอสมควร ซึ่งเป็นพื้นที่ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด (ฉะเชิงเทรา

ชลบุรี ระยอง จันทบุรี สระแก้ว) ประมาณ ๑ ล้าน ๒ แสนไร่เศษ

ที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด ช่วยรับผิดชอบให้การกำกับ

ดูแลและสนับสนุนงบประมาณ โดยมีแผนงานสำคัญดังนี้

๑. โครงการขุดคูกั้นช้าง แต่เดิมสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ ๙ มี

พระราชดำรัสให้มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

ในพื้นที่ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด (ภาคตะวันออก) เพื่อสร้างจิตสำนึก

ให้ประชาชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาคุณภาพชีวิต

ของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด

เป็นป่าต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ผลิตน้ำต้นทุน หล่อเลี้ยงประชาชน

ภาคการเกษตร แหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม และยังเป็นที่อยู่

40

อาศัยของสัตว์ป่าที่สำคัญ เช่น ช้างป่าที่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

และเนื่องจากปัจจุบัน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ส่งผล

ให้อาหารและแหล่งแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นต่อสัตว์มีน้อยลง ส่งผลให้

สัตว์ป่าโดยเฉพาะช้างป่า ต้องออกมาหากินนอกเขตป่าอนุรักษ์

สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนอย่างมาก

ปัจจุบันช้างป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาวมีเป็น

จำนวนมาก นับได้เป็นร้อยเชือก และกำลังประสบกับปัญหาช้างป่า

ออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ เนื่องจากขาดแคลนแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร

และพื้นที่ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของช้างป่า ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่

เกษตรกรรมของราษฎร ทำให้ช้างป่าออกนอกพื ้นที่ป่าไปทำลาย

พืชผล ทรัพย์สินของราษฎร เกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างช้างป่า

กับชุมชน ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน อาจจะทำให้

ช้างป่าถูกทำร้ายหรือถูกล่า อันเนื่องมาจากความโกรธแค้นของ

ราษฎรในพื้นที่ หรือไม่ก็ช้างป่าออกมาหาอาหารและบุกรุกทำลาย

พืชผลทางการเกษตร และทำร้ายราษฎรจนบาดเจ็บล้มตายอยู่บ่อยครั้ง

พลโท ดร.ทวี แจ่มจำรัส


จึงได้มีการจัดทำแผนช่วยช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขต

รอยต่อเขาสอยดาว และอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ที่เป็น

จุดเสี ่ยงและวิกฤต จำนวน ๘๒ กิโลเมตร เพื่อการอนุรักษ์และ

คุ้มครองช้างป่าในพื้นที่ โดยการสร้างระบบนิเวศ ฟื้นฟูแหล่งน้ำ

แหล่งอาหาร แหล่งอาหารช้างป่าในธรรมชาติ และแนวกั้นช้างป่า

เช่น รั้วกั้นช้าง คูกั้นช้าง เพื่อให้ช้างป่าหากินเฉพาะในพื้นที่ป่าไม้

ไม่ออกไปรบกวนหรือทำลายพืชผล ทรัพย์สินของราษฎร และเป็น

ไปตามผลการประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาช้างป่าออกหากิน

นอกพื ้นที่ป่าอนุรักษ์ เมื่อ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๓ โดยมี พลเอก

ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานกรรมการมูลนิธิเป็นประธาน และ

มอบหมายให้ พลเอก สุรัตน์ วรรักษ์ เลขานุการมูลนิธิเร่งดำเนินการ

ประสานงาน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่เสนอต่อโครงการพัชรสุธา

คชานุรักษ์ ตามพระบรมราโชบายที่จะให้อนุรักษ์ป่าและช้าง อยู่ร่วมกัน

อย่างสมดุลอย่างมีความสุข ซึ่งเบื้องต้น เมื่อ

มกราคม ๒๕๖๑ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า

และพันธุ์พืชได้เคยเห็นชอบในหลักการ

ขุดคูกั้นช้างไปแล้วบางส่วน ในพื้นที่ตำบล

ทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี

แต่ยังไม่เสร็จเรียบร้อยตลอดแนว ยังขาดอีก

ประมาณ ๗๕ กิโลเมตร โดยอยู่ในความ

รับผิดชอบของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขา

สอยดาว ๓๗ กิโลเมตร และพื้นที่ป่าแห่งชาติ

ป่าเขาสอยดาว ๓๘ กิโลเมตร โดยโครงการนี้

แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ช่วงที่ ๑ กรณีเร่งด่วน

ระยะทาง ๑๒ กิโลเมตร ขุดต่อจากแนวเดิม

ที่ดำเนินการ และได้รับอนุญาตจากหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องแล้ว ช่วงที่ ๒ ระยะทาง ๒๐

กิโลเมตร ช่วงที่ ๓ ระยะทาง ๔๐.๖ กิโลเมตร

โดยใช้งบประมาณดำเนินการ ๒๙๕,๐๐๐ บาท/กิโลเมตร โดยมี

ลักษณะงานขุดคูกั้นช้าง ความยาว ๑๒ กิโลเมตร กว้าง ๕.๒๑ เมตร

ลึก ๒.๕๐ เมตร พร้อมสร้างหอตรวจการณ์และสโล้ป กว้าง ๕ เมตร

สูง ๑ เมตร ใช้เวลา ๙๐ วัน ด้วยรถโกยตัก รถถากถางตีนตะขาบ

รถบด รถยนต์บรรทุกเทท้าย รถลากจูง (หัวลาก) รถยนต์บรรทุก

ขนาดเล็ก เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด ๓ กิโลวัตต์ และเลื่อยยนต์

ทำไมช้างป่าจึงมีความสำคัญในระบบนิเวศ

๑. ช้างป่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ต้องการถิ่นอาศัยที่อุดมสมบูรณ์

และกว้างขวาง ช้างช่วยเปิดแหล่งดินโป่ง และขุดหาแหล่งน้ำให้สัตว์

อื่นๆ ได้ใช้ประโยชน์ในหน้าแล้ง พฤติกรรมของช้างเอื้อประโยชน์ต่อ

สัตว์ป่าอีกเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น การอนุรักษ์ป่าคือ การอนุรักษ์

ช้างป่า ซึ่งถือเป็นการอนุรักษ์ถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ด้วย

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

41


๒. ช้างป่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยแพร่กระจายพันธุ์ต้นไม้ได้

จากผลการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญ เมื่อ พ.ศ.๒๕๖๐ มีต้นหัวช้าง

(ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับน้อยหน่า) ออกลูกขนาด ๓ - ๕ นิ้ว ลูก

จะเริ่มสุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนสิงหาคม จากการตรวจ

มูลช้าง พบว่าช้างจะกินผลของต้นหัวช้าง และมูลของช้างช่วยให้

เมล็ดพันธุ์งอกเงยเป็นต้นกล้าได้ถึงร้อยละ ๓๗ ในป่ามีด้วงถั่วเหลือง

เป็นตัวอุปสรรคหลักต่อการอยู่รอดของเมล็ดพืชที่กำลังจะงอกเงย

เป็นต้นกล้า ด้วงปีกแเข็งชนิดนี้เป็นศัตรูพืชที่ตกหล่นอยู่พื้นในป่า แต่

มูลของช้างจะช่วยปกป้องเมล็ดของพืชพันธุ์ในป่า จากด้วงถั่วเหลือง

และช่วยให้งอกเป็นต้นกล้าได้

๓. ช้างป่าช่วยในวงจรชีวิตของสัตว์เล็กกว่าช้างซึ่งเป็นสัตว์

ชนาดใหญ่และมีกำลังมาก กินจุ หากช้างผ่านทางไหน พืชต่าง ๆ ที่

ช้างกินได้ก็จะถูกกวาดเรียบไปเสียทั้งหมด ยังไม่นับภูมิประเทศที่

เปลี่ยนแปลงไปจากการแผ้วถางของช้าง อย่างต้นไม้ใหญ่ที่ขวางหน้า

42

หรือบ่อน้ำเล็กที่มีฝูงช้างลงไปดื่ม

กิน แล้วก็อาจจะพังไปตลอดกาล

การเอื้อมและแผ้วถางต้นไม้เพื่อ

หาผลไม้ หรือยอดไม้เป็นอาหาร

ของช้าง ทำให้สัตว์อื่นๆ ได้มี

อาหารกินจากการที่ต้นไม้หรือ

กิ่งไม้ถูกหักโค่นลงมา และถ้าหาก

ไม่มีช้าง สัตว์ที่ตัวเล็กกว่า ที่อาศัย

กินผลไม้บนยอดไม้ ก็จะอดอยาก

และลดจำนวนลง การถอนต้นไม้

หรือพังทลายหน้าดิน ทำให้ดินที

เป็นหลุมเป็นโพรง ยังเป็นที่อาศัย

ของสัตว์เล็ก รวมถึงการพังหน้าดิน

ซึ่งกินโป่งของช้าง ซึ่งเป็นอาหาร

ที่จำเป็นต่อสัตว์ ก็ทำให้สัตว์อื่นๆ

สามารถใช้ประโยชน์จากแอ่งโป่ง

ดินเหล่านั้นได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น

กวาง หมูป่า นกนานาชนิด หรือแมลง ฯลฯ ต่างได้ประโยชน์

จากคนสวน (คือช้าง) ประจำป่า มูลช้างปริมาณมหาศาลที่ขับถ่าย

ออกมาเป็นอาหารให้แมลงและเป็นปุ๋ยอย่างดี กระจายไป

ทั่วป่า ทำให้เกิดพืชเล็กๆ เป็นอาหารของสัตว์ป่าประเภทอื่นๆ

อย่างเพียงพอ

๔. ช้างป่ามีบทบาทสำคัญต่อการลดคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้น

บรรยากาศที่ทำให้โลกร้อน เมื่อ พ.ศ.๒๕๖๒ นักชีววิทยาได้เสนอ

ผลงานวิจัยสำคัญว่า พฤติกรรมของช้างมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต

ของต้นไม้ในป่าที่โตช้า ซึ่งสามารถแยกคาร์บอนออกจากชั้น

บรรยากาศได้ดีกว่าสายพันธุ์ที่โตไว โดยช้างจะคอยกินต้นไม้ หรือ

พืชพรรณที่โตไว เพื่อเปิดโอกาสให้พันธุ์ไม้ที่โตช้าได้มีโอกาสเติบโต

ขึ้นมาในที่สุด หากไม่มีช้างป่า ก็จะส่งผลให้ต้นไม้สายพันธุ์ที่เติบโต

ช้าลดลง จนเหลือเพียงพันธุ์ไม้ที่เติบโตเร็วแทนที่อยู่เต็มป่า

๒. โครงการจัดหาโดรน (Drone) ปัจจุบัน โดรนได้ถูกพัฒนา

และนำมาใช้ประโยชน์ในด้านความมั่นคง และมีบทบาทในการ

รักษาความปลอดภัยที่ตั้ง หาข้อมูลด้านการข่าว และการหา

ข้อมูลอื่นๆ เพื่อนำมาประเมินความเสี่ยงก่อนการปฏิบัติการ

เพื่อลดการสูญเสียกำลังพล ประหยัดงบประมาณ และขยาย

ขีดความสามารถในขอบเขตที่ภารกิจที่คนไม่สามารถเข้าถึง

และกระทำได้ นอกจากนั้น ข้อมูลที่ได้รับยังนำมาประเมินผล

หลังปฏิบัติ เพื่อปรับกลยุทธ์และทำให้ภารกิจต่อเนื่อง เพิ่ม

มาตรการประสบความสำเร็จตามเป้าหมายสูงขึ้น ตลอดจน

สนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนในยามมีภัยพิบัติได้ดีโดยโดรน

มีขีดความสามารถ ดังนี้

๒.๑ สามารถเก็บรวบรวมภาพในเวลาปัจจุบัน

ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนดับไฟป่า ผลักดัน

ช้างป่า สำรวจแหล่งน้ำและพื้นที่บุกรุกป่าไม้

พลโท ดร.ทวี แจ่มจำรัส


๒.๒ ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน และประหยัด

เวลาของผู้ปฏิบัติงานในการลาดตระเวน

๒.๓ ใช้บินสำรวจแหล่งน้ำ แหล่งอาหารของสัตว์เพื่อเก็บ

ข้อมูลและนำมาพิจารณาในการขุดบ่อน้ำตื้น ทำโป่งเทียม ปลูกพืช

อาหารสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

๒.๔ ใช้สำรวจคูกั้นช้าง สำรวจฝูงช้างป่า และเส้นทางการ

เคลื่อนที่ เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานข้อมูลในการเฝ้าระวัง

๒.๕ ใช้สนับสนุนงานด้านป่าไม้ทางจิตวิทยา สร้างความ

สัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชน

คุณลักษณะของโดรน รุ่น DJI Phantom 4 pro plus v”2.0

ราคาเครื่องละประมาณ ๖๘,๐๐๐ บาท โดยมีขีดความสามารถบิน

ได้นานสูงสุดครึ่งชั่วโมง ระยะทางการบินได้ไกล ๗ กิโลเมตร มีระบบ

บินกลับฐาน (Return to home) ความเร็ว ๗๒ กิโลเมตร/ชั่วโมง

มี Sensor กันชนรอบด้าน ง่ายต่อการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง

ความละเอียดภาพนิ่งสูงสุด ๒๐ ล้านพิกเซล ความละเอียดวิดีโอ สูงสุด

4K และหน้าจอมอนิเตอร์ขนาด ๕.๕ นิ้ว มีน้ำหนัก ๑,๓๘๘ กรัม

๓. โครงการลาดตระเวนทางอากาศด้วยร่มบิน (พารา

มอเตอร์) จากสถานการณ์ในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้และสัตว์ป่า ถือเป็น

ทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง สภาพแวดล้อม

ทางธรรมชาติมีการบุกรุกทำลาย การตรวจสอบและปราบปราม

บางครั้งทำให้ต้องสูญเสียเจ้าหน้าที่และยุทโธปกรณ์การลาดตระเวน

ทางอากาศ จึงเป็นการช่วยเสริมประสิทธิภาพการลาดตระเวน

ทางพื้นดิน โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ในป่าลึก ทำให้สามารถตรวจการณ์

ได้ไกล และตรวจพบสิ่งผิดปกติหรือการบุกรุกทำลายป่าได้ง่าย

โดยจัดตั้งชุดปฏิบัติการร่มบิน ๔ ลำ บินสำรวจสภาพพื้นที่

รอบป่า และแนวขอบป่าอนุรักษ์ เดือนละ ๒ ครั้ง เพื่อสังเกต

สิ่งผิดปกติ เช่น ร่องรอย ทุ่งหญ้ารกร้าง ไฟป่า การแผ้วถางป่า

การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การเคลื่อนที่ของช้างป่า การโปรย

เมล็ดพันธุ์ลงในผืนป่า ฯลฯ เพื่อหารายละเอียด พิกัด ที่ตั้งที่ชัดเจน

และนำภาพถ่ายทางอากาศมาวางแผนการลาดตระเวนทางพื้นดิน

ต่อไป มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าน้ำมันเชื ้อเพลิงเบนซินของร่มบิน, ค่าน้ำมัน

เชื้อเพลิงยานพาหนะบรรทุกร่มบิน และค่าปรนนิบัติบำรุง

พารามอเตอร์

ทั้ง ๓ โครงการดังกล่าว สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๔

เป้าประสงค์ที่ ๘ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการ

บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๔

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ : เพื่อประสิทธิภาพการจัดการองค์กรและการ

บริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

มีหน่วยราชการทหารและพลเรือนที่ปฏิบัติงานสนับสนุน

มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด ได้แก่ กองกำลังบูรพา (กองทัพ

ภาค ๑) กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กองทัพเรือ)

สำนักงานพัฒนาภาค ๑ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (กองทัพไทย)

กรมทหารพรานที่ ๑๓ สำนักบริหารพื ้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ (ศรีราชา)

สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ ๒ (ปราจีนบุรี) สำนักจัดการทรัพยากร

ป่าไม้ที่๙ (ชลบุรี) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่๙ สาขาปราจีนบุรี

ของกรมป่าไม้

จะเห็นได้ว่า การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้และ

สัตว์ป่า ไม่สามารถทำได้เพียงหน่วยงานเดียว ต้องพึ่งพาอาศัยและ

ส่งเสริมซึ่งกันและกัน จากหน่วยปฏิบัติงานมีทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ

กองบัญชาการกองทัพไทย กรมป่าไม้ กรมอุทยาน

สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีทำให้ป่า

ภาคตะวันออกของไทยมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด

ในประเทศ ด้วยการช่วยเหลือของภาคเอกชนคือ

มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ ๕ จังหวัด ก็หวังว่าในพื้นที่

ภาคอื ่นๆ ของประเทศไทย จะได้มีภาคราชการหรือ

เอกชน ที่มีบารมีและเงินทุน เช่น มูลนิธิที่มีผู้ประสงค์

จะบริจาค ได้มีการจัดตั้งเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต เพื่อ

ช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่า ให้

อยู่ยั่งยืนถาวรสืบต่อไป เพื่ออนาคตของลูกหลานไทย

ทุกคน

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

43


“ปีที่แล้วโรคร้ายหมายชีวิต

มีคนติดทั่วโลกอยู่มากหลาย

คนยังอยู่จนยากลำบากกาย

ที่ทุกข์คลายเพราะความรักสามัคคี

ปีฉลูวัวใจดีเข้ามาหา

มีนมมาให้ดื่มเป็นสุขี

สุขภาพของเด็กเติบโตดี

ผู้ใหญ่ที่ดื่มนมก็แข็งแรง”

สวัสดีปีฉลูวัว พ.ศ.๒๕๖๔

โลกเปลี ่ยนสี

ลมเปลี ่ยนทิศ

จุฬาพิช มณีวงศ์

รองบรรณาธิการ วารสารวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

พรปีใหม่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ที่พระราชทานแก่ปวงชนชาวไทย พร้อมรูปร่างหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ในวาระขึ้นปีใหม่

รปีใหม่ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน

ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานแก่ปวงชนชาว

ไทย พร้อมภาพฝีพระหัตถ์รูปร่างหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ข้างๆ มีขวด

นมสดสีขาว พร้อมทรงลงพระปรมาภิไธยสิรินธร คงจะทำให้ปีใหม่

ที่กำลังย่างกรายเข้ามาเปี่ยมไปด้วยความหวังและกำลังใจกับ

การเปลี ่ยนแปลงที่เพียงแต่พยากรณ์กันไปในทางดี หรืออย่างน้อย

ก็น่าจะดีกว่าปีที่แล้ว ซึ่งวิกฤตโควิด-๑๙ ได้ท ำให้เกิดผลกระทบอย่าง

ใหญ่หลวงไปทั่วทั้งโลกโดยไม่มีใครคาดฝัน

การเปลี่ยนแปลงระดับโลกคือ ความสนใจต่อการเปลี่ยนถ่าย

อำนาจของผู้นำสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลทำให้ โจ ไบเดน ผู้นำของพรรค

เดโมแครท ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ และ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนถ่ายอ ำนาจผู้นำสหรัฐอเมริกา คือ

องค์กรกำกับบริหารภาครัฐแห่งสหรัฐฯ หรือ GSA (General Serviese

Administartion) เดินหน้าเปลี่ยนถ่ายอำนาจทุกอย่างจากรัฐบาล

ทรัมป์ ไปสู่รัฐบาลใหม่ของ โจ ไบเดน โดยจะต้องทำให้แล้วเสร็จใน

เวลา ๑๒.๐๐ น. ของวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๔ ซึ่งประธานาธิบดี

สหรัฐอเมริกาจะสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ในเวลาเดียวกัน

ประธานาธิบดี ทรัมป์ ก็สิ้นสุดอำนาจโดยสมบูรณ์ หากไม่ย้ายออก

44

จากทำเนียบขาวก่อนเวลา ข้าวของเครื่องของใช้ของทรัมป์และ

ครอบครัวจะถูกเจ้าหน้าที่ GSA ขนย้ายออกจากทำเนียบขาวทันที

ก่อนหน้าที่จะมีธรรมเนียมปฏิบัติเช่นนี้ ให้สหรัฐอเมริกาถือฤกษ์

๑๒.๐๐ น. ของวันที่ ๒๐ มกราคม เป็นวันสาบานตน เข้ารับตำแหน่ง

ประธานาธิบดีคนใหม่ เมื่อ ๒๐๐ กว่าปีก่อน นายจอห์น อดัมร์ ผู้นำ

สหรัฐอเมริกาไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ ไม่ยอมส่งมอบตำแหน่งให้กับ

ประธานาธิบดี โทมัส เจฟเฟอร์สัน จึงต้องมีกติกานี้ขึ้นมา เพื่อเป็น

จุฬาพิช มณีวงศ์


เครื่องการันตีว่า พ้นเวลาดังกล่าว ประธานาธิบดีคนเก่าจะหมด

อำนาจทันทีโดยปริยาย

การเปลี่ยนถ่ายอำนาจประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่อง

ใหญ่มาก เพราะสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจอันดับ ๑ ของ

โลก ทั้งทางเศรษฐกิจ ทหารและการเมือง เบื้องต้น CIA จะนำส่ง

ข้อมูลชั้นความลับสุดยอดให้กับผู้นำคนใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติ

การลับทางทหาร หน่วยสืบราชการลับทั่วโลก การอนุญาตให้เข้าถึง

ข้อมูลความลับของรัฐบาลไปจนถึงการปฐมนิเทศผู้ที่ได้รับตำแหน่ง

รัฐมนตรีและหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ

โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐอเมริกา

ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนเก่าของสหรัฐอเมริกา

คำประกาศของ โจ ไบเดน ที่จะนำสหรัฐอเมริกากลับมาเป็น

ผู้นำบนเวทีโลกและเดินออกจาก America First ที่ประธานาธิบดี

โดนัลด์ ทรัมป์ ผลักดันมาตลอด ๔ ปี จึงทำให้นักวิเคราะห์

สถานการณ์โลกมองว่า โลกในเงื้อมงำของโจ ไบเดน ผู้สร้างสถิติเป็น

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่มีอายุมากที่สุดถึง ๗๘ ปี น่าจะ

สงบสุขลงกว่าปีที่ผ่านมา และเมื่อประกอบกับรายงานสถานการณ์

การก่อการร้ายซึ่งมีสถิติลดลงเรื่อยๆ ในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมาก็ยิ่งทำให้

มั่นใจว่าโลกอยู่ในภาวะ Clam Down อย่างแน่นอน ขณะที่รายงาน

มีข้อสังเกตว่าแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงและต้องเตรียมรับมือคือ ปัญหา

ความเหลื่อมล้ำหลากหลายรูปแบบที่

ทำให้เกิดความแตกแยกทางความคิด

และก่อให้เกิดความรุนแรง อาทิ สีผิว

และชนชั้น ซึ่งแม้แต่ในสหรัฐอเมริกา

ประเทศต้นตำรับแห่งประชาธิปไตย

และเสรีภาพ ยังเกิดการจลาจลมาแล้ว

สำหรับประเทศไทยในปี พ.ศ.

๒๕๖๔ เรายังคงตั้งความหวังที่จะสร้าง

ความปรองดอง สมานฉันท์ จาก

สถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อ

เรื้อรังมายาวนาน และมีการเคลื่อนไหว

ชุมนุมจากกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่ปลายปี

พ.ศ.๒๕๖๓ ทั้งในรูปแบบคณะ

กรรมการสมานฉันท์ที่จัดตั้งขึ้น จนถึง

การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อยู่ในระหว่าง

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

45


การใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์

อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกฝ่ายพึงมีได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราช

อาณาจักรไทย และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ

สิทธิทางการเมืองรับรองไว้ เราจะยืนยันเสมอว่าแนวทางสันติวิธี

เท่านั้นที่จะทำให้สถานการณ์และขัดแย้งต่างๆ จบลงได้ และเสนอว่า

รัฐสภาน่าจะเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ เพราะนี่คือตัวแทนของ

ประชาชน ดังนั้นปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากความเห็นต่างของประชาชน

ในประเทศนี้ ตัวแทนประชาชนที่อยู่ในสภาต้องช่วยกันคิดหา

ทางออกและควรจะเป็นแนวทางที่สันติวิธี

นางประกายรัตน์ ตันธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการ ให้ทัศนคติว่า เสนอให้ทุกฝ่ายพิจารณา

แก้ปัญหาความขัดแย้งและขอให้มีการยุติปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม

เพื่อป้องกันและลดการก่อให้เกิดความรุนแรง

การดำเนินงานตามขั้นตอนของรัฐสภา โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีความ

ไว้เนื้อเชื่อใจ และทำหน้าที่ของตนอย่างตรงไปตรงมา ปราศจากวาระ

แอบแฝงและปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย อันจะทำให้การแก้

ปัญหาเป็นอุปสรรคยากที่จะแก้ไข โดยหลายฝ่ายยังมีความเห็นว่า

รัฐสภาน่าจะเป็นองค์กรที่ทำให้สถานการณ์และข้อขัดแย้งต่างๆ

จบลงได้

อาทิ นางประกายรัตน์ ตันธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชน

แห่งชาติ ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการ ให้ทัศนคติว่า คณะกรรมการ

สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เสนอให้ทุกฝ่ายพิจารณาแก้ปัญหาความ

ขัดแย้งของประเทศอย่างจริงจังและขอให้มีผลที่สามารถยุติปัญหา

ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื ่อป้องกันและลดการเผชิญหน้าระหว่าง

กลุ่มผู้เห็นต่างที่จะก่อให้เกิดความรุนแรง โดยจะต้องไม่เป็นการปิดกั้น

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศกระทรวงการต่างประเทศ

ทำหน้าที่โฆษกกระทรวงเปิดเผยถึงการทำงานเชิงรุกในปี ๒๕๖๔

ว่าขณะนี้มีความเชื่อมกับต่างประเทศสะท้อนให้เห็นทั้งจากในสื่อ

ต่างประเทศและชุมนุมคนไทยทั่วโลกว่า เป้าหมายของเราคือ

การสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องบนพื้นฐานทางข้อมูลที่ถูกต้อง

ด้าน นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศกระทรวงการ

ต่างประเทศ ทำหน้าที่โฆษกกระทรวงเปิดเผยถึงการทำงานเชิงรุกในปี

พ.ศ.๒๕๖๔ ว่าขณะนี ้แทบแยกประเด็นภายในประเทศกับประเด็น

ระหว่างประเทศได้ยาก จนมีคำศัพท์ที่เกิดขึ้นว่า Intermastic คือ

46

จุฬาพิช มณีวงศ์


เป็นการเอาประเด็น International

กับ Domestic มารวมกัน สิ่งที่เกิดขึ้น

ในประเทศไทยและในบ้านของเรา มี

ความเชื่อมกับต่างประเทศอย่างแยก

กันไม่ออก สะท้อนให้เห็นทั้งจากในสื่อ

ต่างประเทศและชุมนุมคนไทยทั่วโลก

ว่า มีการสื่อสารเหมือนอยู่เมืองไทย

ประเด็นต่าง ๆ ที่พูดคุยจึงเป็นเรื่อง

เดียวกันถึงแม้จะอยู่คนละที่กลายเป็น

Global Village ดังนั้น สิ่งที่เป็นเรื่อง

ท้าทายของกระทรวงการต่างประเทศ

จึงเป็นเรื่องที่เราต้องทำความเข้าใจให้

เกิดขึ้นในประเด็นที่พูดคุยไม่ว่าจะ

ในประเทศไทย ในชุมชนไทยที่ต่าง

ประเทศ ไปจนถึงในสื่อต่างประเทศ

เป้าหมายของเราคือ การสร้างความ

เข้าใจให้ถูกต้องบนพื้นฐานทางข้อมูลที่

ถูกต้อง การชี้แจ้งของหน่วยงานทาง

ราชการจะบิดเบือนไม่ได้ แต่สิ่งที่จะลด

ความขัดแย้งได้อย่างดีก็คือ ต้องใช้ข้อมูล

และข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เช่น ที่ผ่านมา

มีการระบุถึงการใช้ความรุนแรงกับ

ผู้ชุมนุมเกินไปหรือไม่สัดส่วนการ

กระทำของเจ้าหน้าที่เหมาะสมหรือเปล่า

เราก็ต้องนำกฎหมายระหว่างประเทศ

และพระราชบัญญัติการชุมนุมใน

ประเทศมาพิจารณา หากเป็นการตีแผ่

ข้อเท็จจริงก็จะช่วยลดความเข้าใจผิดได้

ในระดับหนึ่ง

โครงการหนึ่งที ่กระทรวงการ

ต่างประเทศเล็งไว้ในปี พ.ศ.๒๕๖๔ คือ

โครงการเงาฝรั่งบนฝั่งอยุธยาที่มีแผนนำสื่อมวลชนทั้งในประเทศ

และต่างประเทศเดินทางไปอยุธยาเพื่อสร้างความเข้าใจว่า งานการ

ทูตของเราในอดีตมาจนถึงปัจจุบันรวมถึงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ในยุคสมัยต่างๆ สามารถช่วยนำพาประเทศไทยให้รอดพ้นจากภัย

อันตรายมาได้อย่างไร และยังสะท้อนให้เห็นความเป็นสังคม

นานาชาติที ่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา บางครั้งเมื่อเรามีภัยคุกคามใน

ยุคสมัยต่างๆ สถาบันพระมหากษัตริย์ของเราได้นำพาประเทศชาติ

อย่างไร หลังจากนั้นยังมีแผนที่จะพาไปชมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อชม

ประวัติศาสตร์ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์อีกด้วย

“ประวัติศาสตร์จะทำให้เราเข้าใจในปัจจุบัน และปัจจุบันจะ

ทำให้เรามองถึงอนาคต ถ้าเราไม่รู้ประวัติศาสตร์ เราก็จะไม่เข้าใจ

ปัจจุบัน และเราจะวางแผนอนาคตได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้อยากให้

พี่น้องประชาชนชาวไทย เยาวชนไทย รวมทั้งพวกเราที่เป็นข้าราชการ

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทยให้มากขึ้น แล้วเราจะสามารถร่วมมือ

กันได้มากขึ้นเพื่อประเทศชาติอันเป็นที่รักของเรา ประเทศไทยมีวิธี

ที่จะไม่เจริญก้าวหน้าหรือสู้จนตัวตายแล้วยอมเสียเอกราช ซึ่งเป็น

วิธีทางการทูตของเรา บางทีจะไม่ได้เป็นบวกทั้งหมด แต่มันก็เป็น

ลักษณะของไทยที่เราควรต้องรู้จักตนเอง”

โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวย้ำว่างานที่จะเดินหน้า

ในปี พ.ศ.๒๕๖๔ ให้ความสำคัญสูงสุดทั้งการเมือง เศรษฐกิจและ

วัฒนธรรม

เพราะเราไม่ได้อยู่เดียวดาย โลกมีลักษณะเป็นพลวัต

เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและมีความเกี่ยวเนื่องทั้งหมด วิถีชีวิตแบบ

New Normal หรือ Next Normal ก็อาจไม่เพียงพอรับมือกับโลก

ที่เปลี่ยนสีและลมที่เปลี่ยนทิศจนยากแก่การตามทัน

47


ราชวงศ์อลองพญา

หลังจากการก่อกบฏวังหลวง พ.ศ.๒๔๐๙

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

ข้าราชการบำนาญ

อาณาจักรพม่าแห่งราชวงศ์อลองพญา (Alaungpaya Dynasty) มีความขัดแย้งในราชสำนักอย่างรุนแรงนำมาสู่การเกิดกบฏ และ

ได้ปลงพระชนม์เจ้าชายกะนอง (Kanaung Mintha) รัชทายาทของอาณาจักรพม่า และผู้นำของกบฏหลบหนีไปยังเขตยังดินแดนภายใต้การปกครอง

ของบริษัทอิสต์-อินเดีย (East India Company) ได้รับสถานะลี้ภัยจากอาณาจักรอังกฤษ

บทความนี้ กล่าวถึงหลังจากการก่อกบฏวังหลวงในสมัยของพระเจ้ามินดง (Mindon Min) แห่งราชวงศ์อลองพญา (Alaungpaya Dynasty)

ทหารอังกฤษหรืออิสต์-อินเดีย (East India Company) กำลังทำการรบกับทหารอาณาจักรจีน

ที่เมืองปักกิ่ง ปี พ.ศ.๒๔๐๓ เป็นฝ่ายชนะในสงครามฝิ่นครั้งที่สอง (การรบระหว่างวันที่ ๘ ตุลาคม

พ.ศ.๒๓๙๙ ถึงวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๐๓ เป็นเวลานาน ๔ ปี ๒ สัปดาห์ และ ๒ วัน)

๑. กล่าวทั ่วไป

วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๙๖ พระเจ้ามินดง (Mindon

Min) ขึ้นครองราชสมบัติแห่งอาณาจักรพม่า ลำดับที่๑๐ แห่ง

ราชวงศ์อลองพญา (Alaungpaya Dynasty) พระองค์ทรงแต่งตั้ง

เจ้าชายกะนอง (Kanaung Mintha) พระอนุชาเป็นองค์รัชทายาท

เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๙๖ และทรงย้ายราชธานีมาสู่

กรุงมัณฑะเลย์ (ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิรวดี) ปี พ.ศ.๒๔๐๐ ทรง

แต่งตั้งเจ้าชายกะนอง (Kanaung Mintha) พระอนุชาเป็นองค์

รัชทายาท เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๙๖ เกิดเป็นความ

ขัดแย้งภายในราชวงศ์ (Alaungpaya Dynasty) โดยเจ้าชายมินกุน

และเจ้าชายมินกุนเดอง พระราชโอรสของพระเจ้ามินดง (Mindon

Min) ซึ่งไม่พอพระทัยที่พระบิดาทรงแต่งตั้งพระอนุชาซึ่งมีศักดิ์เป็น

พระปิตุลาของเจ้าชายทั้งสองพระองค์เป็นรัชทายาท ผ่านมา ๑๓ ปี

ในวันที่๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๐๙ เกิดกบฏขึ้นภายในอาณาจักรนำโดย

เจ้าชายสองพระองค์ คือเจ้าชายมินกุน และเจ้าชายมินกุนเดอง

พระราชโอรสของพระเจ้ามินดง (Mindon Min) ได้ปลง

พระชนม์เจ้าชายกะนอง (Kanaung Mintha) กำลังทหาร

ของเจ้าชายทั้งสองบุกพระราชวังหลวงเพื่อปลงพระชนม์

พระราชบิดาคือพระเจ้ามินดง (Mindon Min) แต่พระองค์

ทรงหลบหนีไปได้ การก่อกบฏในครั้งนี้ประสบความล้มเหลว

ที่ไม่สามารถจะปลงพระชนม์พระเจ้ามินดง (Mindon Min)

เจ้าชายทั้งสองจึงได้รีบหลบหนีไปทางเรือกำปั่นสู่ดินแดน

ภายใต้การปกครองของบริษัทอิสต์-อินเดีย (East India

Company) โดยได้รับสถานะลี้ภัยจากอาณาจักรอังกฤษ

๒. พระเจ้ามินดง (Mindon Min) แห่งราชวงศ์

อลองพญา (Alaungpaya Dynasty)

การเกิดกบฏในครั้งนี้ได้ล้มเหลว เมื่อเจ้าชายทั้ง

สองพระองค์หลบหนีไปยังเขตปกครองของอังกฤษหรือ

อิสต์-อินเดีย (East India Company) แต่ฝ่ายอังกฤษไม่ยอม

ส่งตัวเจ้าชายทั้งสองให้พม่าทำการไต่สวน ทำให้อังกฤษถูกมองว่า

เป็นผู้ให้การสนับสนุนในการปลงพระชนม์เจ้าชายกะนอง (Kanaung

Mintha) เพื่อที่จะหยุดยั้งการปฏิรูปอาณาจักร เป็นผลให้มีความ

ขัดแย้งระหว่างพม่ากับอิสต์-อินเดีย (East India Company) มากยิ่งขึ้น

แต่ทางฝ่ายอิสต์-อินเดีย (East India Company) ยังไม่พร้อม

ที่จะทำสงครามใหม่อีกครั้ง เนื่องด้วยยังต้องทำสงครามในหลาย

ภูมิภาคที่ต้องใช้กำลังทหารและเรือรบเป็นจำนวนมาก และพื้นที่

การรบยังอยู่ห่างไกล ที่สำคัญคือสงครามฝิ่นครั้งที่สองกับอาณาจักรจีน

แม่ทัพคือพลตรี โฮป แกรนท์ (Maj. Gen. Hope Grant อายุ ๔๘ ปี

ได้เข้าร่วมรบในสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง ปี พ.ศ.๒๓๘๒ หรือเมื่อ ๑๗

ปีที่แล้ว) และพลเรือตรี ไมเคิล เซมัวร์ (RAdm. Michael Seymour

อายุ ๕๔ ปี) มีกำลังทหาร ๑๓,๑๒๗ นาย (หน่วยทหารม้า ๓ กองพัน,

หน่วยทหารราบ ๑๒ กองพัน จะเป็นทหารราบท้องถิ่นอินเดีย

48

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


สมัยพระเจ้ามินดง (Mindon Min) รัชทายาทคือเจ้าชายกะนอง (Prince of

Kanaung) ต่อมาเกิดกบฏเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๐๙ ถูกปลงพระชนม์

ขณะประชุมในสภาลุตอ

๔ กองพัน ทหารปืนใหญ่ และทหารช่าง) และพันธมิตรฝรั่งเศส

๗,๐๐๐ นาย ฝ่ายอาณาจักรจีน (Qing Dynasty) ทหาร ๒๐๐,๐๐๐

นาย อิสต์-อินเดีย (East India Company) เป็นฝ่ายชนะในการรบ

สูญเสียทหาร ๑๓๔ นาย ได้รับบาดเจ็บ ๖๔๒ นาย เรือรบจม ๓ ลำ

และเรือรบเสียหายอย่างหนัก ๓ ลำ ฝรั่งเศสสูญเสียทหาร ๒๕ นาย

ได้รับบาดเจ็บ ๑๔๖ นาย และสหรัฐอเมริกา สูญเสีย ๑๑ นาย

บาดเจ็บ ๒๓ นาย ฝ่ายอาณาจักรจีน (Qing Dynasty) สูญเสียทหาร

และบาดเจ็บ ๒,๑๐๐ - ๒,๘๐๑ นาย ถูกจับเป็นเชลย ๒,๑๐๐ นาย

สูญเสียป้อมสนาม ๑๐ ป้อม ปืนใหญ่ถูกยึด ๗๓๖ กระบอก และ

สูญเสียเรือรบทั้งจมและถูกยึด ๙๙ - ๑๐๙ ลำ การรบเกิดขึ้นระหว่าง

วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๓๙๙ ถึงวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๐๓ เป็น

เวลานาน ๔ ปี ๒ สัปดาห์ และ ๒ วัน และได้ทำสงครามที่ลัคเนา

(Lucknow) ทางตอนเหนือของอินเดีย (ปัจจุบันคือเมืองเอก ของ

รัฐอุตตรประเทศ ใกล้กับแนวเทือกเขาหิมาลัย) อิสต์-อินเดีย

(East India Company) มีทหาร ๓๑,๐๐๐ นาย พร้อมปืนใหญ่

๑๐๔ กระบอก ฝ่ายอินเดีย มีทหาร ๑๐๐,๐๐๐ นาย อังกฤษ (East

India Company) ได้รับชัยชนะในการรบ สูญเสียทหาร ๑๒๗ นาย

บาดเจ็บ ๕๙๕ นาย ไม่ทราบความสูญเสียของฝ่ายอินเดีย

แม่ทัพฝ่ายอังกฤษคือ พลตรี โฮป แกรนท์ (Maj. Gen. Hope Grant) ขณะมีอายุ ๔๘

ปี ส่วนใหญ่ปฏิบัติราชการที่อินเดียเข้าร่วมรบในอินเดียหลายครั้ง เสียชีวิตเมื่อวันที่

๗ มีนาคม พ.ศ.๒๔๑๘ ที่กรุงลอนดอน อายุ ๖๖ ปี ได้รับยศพลเอก และบรรดาศักดิ์

เป็น เซอร์ (Sir)

๓. บทสรุป

ผลของการเกิดกบฏในสมัยของพระเจ้ามินดง (Mindon Min)

แห่งอาณาจักรพม่า ได้สูญเสียรัชทายาทที่มีความรู้ความสามารถ

มีส่วนสำคัญในการดำเนินนโยบายปฏิรูปอาณาจักรและกองทัพ

ให้มีความก้าวหน้าแบบอาณาจักรตะวันตก แต่เป็นอุปสรรค

ที่สำคัญและล่าช้าออกไป พร้อมทั ้งมีความขัดแย้งมากยิ่งขึ้นกับ

อิสต์-อินเดีย (East India Company) จะนำมาสู่สงครามครั้งใหม่

ได้ในอนาคต

บรรณานุกรม

๑. en.wikipedia.org/wiki/Second_Angro-Burmese_War

๒. en.wikipedia.org/wiki/First_Angro-Burmese_War

๓. en.wikipedia.org/wiki/Second_Opium_War

๔. en.wikipedia.org/wiki/Treaty_of_Yandabo

๕. en.wikipedia.org/wiki/Hope_Grant

๖. en.wikipedia.org/wiki/Mindon_Min

๗. en.wikipedia.org/wiki/Kanaung_Min

๘. en.wikipedia.org/wiki/Second_Angro-Afghan_War

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

49


สาระน่ารู้ทางการแพทย์

“โควิด-๑๙ :

เชื้อกลายพันธุ์ที ่น่าจับตามอง”

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

หราชอาณาจักรรายงานการพบเชื้อไวรัสโคโรนาก่อโรค

โควิด-๑๙ ที่กลายพันธุ์ชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า VUI-202012/01

ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรี บอริส

จอห์นสัน ระบุว่าเชื้อชนิดนี้อาจสามารถแพร่สู่กันได้ง่ายขึ้นถึง

ร้อยละ ๗๐ คาดว่าเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้อาจอุบัติขึ้นจากคนไข้ใน

สหราชอาณาจักร หรืออาจถูกนำเข้าจากประเทศที่มีความสามารถ

ในการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนาน้อยกว่า และได้

แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่พบใน

ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรขณะนี้โดยข้อมูลของทางการ

เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ ระบุว่า สหราชอาณาจักรมีผู้ติดเชื้อ

รายวันมากกว่าสี่หมื่นคน และเสียชีวิตเกือบห้าร้อยคนแล้ว

๓ ปัจจัยที่ทำให้ต้องจับตามองไวรัสกลายพันธุ์ของอังกฤษ

• แพร่ระบาดแทนที่เชื้อโรคโควิด-๑๙ อย่างรวดเร็ว

• เกิดการกลายพันธุ์ที่น่าจะส่งผลสำคัญต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้

• การกลายพันธุ์บางอย่างได้แสดงให้เห็นในห้องปฏิบัติการ

ทางวิทยาศาสตร์ (ห้องแล็บ) แล้วว่า ทำให้เชื้อชนิดใหม่นี้มีความ

สามารถทำให้เซลล์ติดเชื้อได้มากขึ้น

ด้วยเหตุนี้มีความเป็นไปได้ว่าไวรัสกลายพันธุ์นี้จะสามารถแพร่เชื้อ

ได้ง่ายขึ้นหรือทำให้การติดเชื้อรุนแรงขึ้น แต่ก็ยังไม่มีการยืนยัน

50

ในเรื่องนี้ การกลายพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญ

ของไวรัสที่ก่อโรคโควิด-๑๙ นี้น่าจะเกิด

จากคนไข้ที่มีระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ

ซึ่งไม่สามารถต่อสู้กับไวรัสได้ จึงทำให้

ร่างกายของคนไข้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์

เชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-๑๙ ที่หลายบริษัท

เพิ่งจะคิดค้นขึ้นมาได้และผ่านการอนุมัติ

ใช้จะยังคงใช้ได้ผลกับเชื้อกลายพันธุ์

ชนิดใหม่นี้ได้อย่างแน่นอน หรืออย่างน้อย

ก็ยังใช้ได้ในตอนนี้ แต่หากไวรัสมีการ

พัฒนาหรือปรับตัวขึ้นจนสามารถหลบ

เลี่ยงการทำงานของวัคซีนได้ ก็จะกลาย

เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุด

เชื้อกลายพันธุ์ชนิดอื่น นอกจาก

สหราชอาณาจักร ก็ยังพบการอุบัติของ

เชื้อโรคโควิด-๑๙ กลายพันธุ์อีกชนิดในประเทศแอฟริกาใต้ที่ชื่อ

501.V2 ซึ่งดูเหมือนจะมีการกลายพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นจากชนิดที่พบ

ในอังกฤษและทำให้เชื้อติดต่อได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้อัตราการติดเชื้อ

ในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหมู่คนหนุ่มสาว นับแต่

ทีมนักวิทยาศาสตร์ตรวจพบเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้ในแอฟริกาใต้

เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา ก็พบว่ามันได้กลายเป็น

สายพันธุ์หลักที่พบในผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ในประเทศ โดยเมื่อวันที่๒๗

ธันวาคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา แอฟริกาใต้กลายเป็นประเทศแรกในทวีป

แอฟริกาที ่มีผู้ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโรคโควิด-๑๙ ทะลุ

๑ ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย ๒๗,๐๐๐ คน นับแต่โรค

เริ่มระบาดเข้าไปในประเทศเมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๖๓ ตัวเลข

ผู้ติดเชื้อที่พุ่งไม่หยุด ส่งผลให้ประธานาธิบดี ซีริล รามาโพซา ของ

แอฟริกาใต้ประกาศยกระดับควบคุมโรค โดยประกาศใช้มาตรการ

เคอร์ฟิว ห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา ๒๑.๐๐

– ๐๖.๐๐ น. ห้ามการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และห้ามการชุมนุม

ต่างๆ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ ไปจนถึง

วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๔ เป็นอย่างน้อย

ผู้นำแอฟริกาใต้กล่าวผ่านการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ว่า

เชื้อกลายพันธุ์ 501.V2 เป็นเชื้อหลักที่กำลังระบาดในประเทศ และ

สำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


อัตราการติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นก็ “ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง”

และเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา หน่วยงาน

ควบคุมโรคของแอฟริการายงานการพบเชื้อโรคโควิด-๑๙ กลายพันธุ์

อีกชนิดที่ชื่อ P681H ในประเทศไนจีเรีย โดยเป็นเชื้อสายพันธุ์ใหม่

ที่ไม่ได้กลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์ที่พบในอังกฤษหรือแอฟริกาใต้

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนเชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้จะไม่แพร่ระบาดอย่าง

รวดเร็วเท่าสองชนิดที่กล่าวมาข้างต้น

สำหรับประเทศไทย หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา

คลินิก จุฬาฯ ให้ความรู้ถึงวิวัฒนาการไวรัสโควิด-๑๙ พร้อมให้ข้อมูล

สายพันธุ์ G พบมากที่สุดในปัจจุบัน การวิวัฒนาการของเชื้อโรค

โควิด-๑๙ อยากทำความเข้าใจและช่วยเผยแพร่ให้ถูกต้อง การแยก

สายพันธุ์ของไวรัสเกิดจากวิวัฒนาการของเชื้อตามรูปที่เขียนให้ดู

ไวรัสเริ่มต้นจากจีนจะมี ๒ สายพันธุ์ คือสายพันธุ์เอส S (Serine)

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

และสายพันธุ์ L (Leucine)

สายพันธุ์ L แพร่กระจายมีลูกหลาน

ได้มากกว่าสายพันธุ์ S โดยเฉพาะเมื่อออก

นอกจีนไปถึงยุโรป

สายพันธุ์ L แพร่กระจายได้ดีออก

ลูกหลานเป็นสายพันธุ์ G (Glycine) และ

สายพันธุ์ V (Valine)

สายพันธุ์ G แพร่กระจายได้ง่าย

ตามหลักวิวัฒนาการ จึงกระจายไปทั่วโลก

อย่างกว้างขวาง มีลูกหลานของสายพันธุ์ G

มาเป็นสายพันธุ์ GR (Arginine) และ GH

(Histidine)

นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่าสายพันธุ์

G ระบาดได้ง่าย แพร่กระจายได้เร็วแต่ไม่

เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรคและระบบ

ภูมิต้านทาน ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา

วัคซีน ขณะนี้อัตราการครอบคลุมของ

สายพันธุ์ G เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกือบร้อยละ ๙๐

สายพันธุ์ที่ระบาดทั่วโลกอยู่นี้เป็นสายพันธุ์

G ย้อนกลับมาถึงการระบาดในประเทศไทย

เมื่อระลอกแรกถึงแม้จะพบได้ทุกสายพันธุ์

เพราะมีการเดินทาง แต่สายพันธุ์หลักที

ระบาดในประเทศไทยในระลอกแรกเป็น

สายพันธุ์ S ขณะนี้การตรวจไวรัสในผู้ที่อยู่ในที่กักกันของรัฐหรือที่

เรียกว่า State quarantine พบว่าเป็นสายพันธุ์ G เกือบทั้งหมด

ไม่ว่าจะมาจากตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกา สายพันธุ์นี้

ไม่เกี่ยวข้องที่จะทำให้โรครุนแรงขึ้น ไม่เกี่ยวกับระบบภูมิต้านทาน

เพียงแต่เกิดการกระจายได้ง่าย จึงทำให้อัตราการพบส่วนใหญ่ของ

ทั่วโลกในขณะนี้เป็นสายพันธุ์ G สายพันธุ์ไวรัสที่เรียกว่าสายพันธุ์G

เป็นสายพันธุ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนจากเดิมคือ

Aspartate (D) ในตำแหน่งที่ 614 ของ spike โปรตีน หรือเรียกว่า

D614 ไปเป็น Glycine เรียกว่า G614 คือกรดอะมิโนของ spike

หรือหนามแหลมที่ยื่นออกมาจากสายพันธุ์เดิม

ถ้าตรวจพบว่าเป็น Glycine ก็จะเรียกว่า G type การเปลี่ยน

กรดอะมิโนตัวเดียว ไม่ได้ทำให้รูปร่างของโปรตีน spike เปลี่ยนแปลง

ไป แต่การเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งนี้มีผลทำให้ปลดปล่อยไวรัสหรือ

แพร่กระจายไวรัสออกมาได้มากขึ้น พบว่าผู้ป่วยที ่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้

โรคไม่ได้รุนแรงขึ้น แต่มีการแพร่กระจายเชื้อได้มากขึ้น ทำให้ไวรัส

สายพันธุ์นี้แพร่กระจายไปได้มากกว่า ตามหลักวิวัฒนาการจึงเป็น

สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน สายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้น้อย

กว่าก็จะถูกเบียดบังให้น้อยลงไป ระบบภูมิต้านทานของโปรตีน

ใน spike หรือหนามแหลมที่ยื่นออกมาเป็นส่วนที่กระตุ้นให้สร้าง

ภูมิต้านทาน รูปร่างไม่ได้เปลี่ยนแปลงภูมิต้านทานจากวัคซีนที่

ผลิตกันอยู่ก็สามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็น type ไหนของไวรัส

ที่มาข้อมูลเพิ่มเติม https://www.health-th.com

51


กองทัพอากาศสิงคโปร์ ประจำการ

ด้วยรถสายพานลำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓

(M-113) รุ่นติดตั้งระบบเรดาร์ และรุ่นติดตั้ง

จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบอิ๊กล่า

(Igla) ชนิดหกท่อยิง รวม ๗๕ คัน

(ในภาพติดตั้งจรวดนำวิถีแบบอิ๊กล่า)

แนะนำอาวุธเพื ่อนบ้าน

รถสายพานลำเลียงพล

แบบเอ็ม-๑๑๓ (M-113)

กองทัพบกฟิลิปปินส์ (PA) ประจำการด้วยรถสายพานลำเลียงพล

แบบเอ็ม-๑๑๓เอ๒ (M-113A2) จากสหรัฐอเมริกา จำนวน

๑๑๔ คัน เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘ แต่ต้องดำเนินการเคลื่อน

ย้ายมายังประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเงิน ๑.๔ ล้านเหรียญสหรัฐ ทำการ

ปรับปรุงใหม่จำนวน ๒๘ คัน ให้เป็นรถสนับสนุนการยิง (FSV)

ปืนขนาด ๗๖ มิลลิเมตร รวม ๑๔ คัน ปืนขนาด ๒๕ มิลลิเมตร รวม

๔ คัน ปืนขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร (ควบคุมด้วยระบบรีโมท) รวม ๖ คัน

และรถกู้ซ่อม (ARV) รวม ๔ คัน เป็นเงิน ๑๙.๗ ล้านเหรียญสหรัฐ

ต่อมาเกิดปฏิบัติการทางทหารเรียกว่าการรบที่เมืองมาราวี (Battle

52

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

ข้าราชการบำนาญ

of Marawi) เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นการต่อสู้

ภายในตัวเมืองขนาดใหญ่ประชากร ๒๐๐,๐๐๐ คน จึงได้นำ

รถสายพานลำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓เอ๒ เข้าร่วมปฏิบัติการ เพื่อจะ

เพิ่มอำนาจการยิงและช่วยในการดำเนินกลยุทธ์ การต่อสู้สามารถ

กวาดล้างกองกำลังติดอาวุธกลุ่มอาบูไซยาฟ (Abu Sayyaf) และ

มาอูเต (Maute) ให้ออกจากเกาะมินดาเนาตอนใต้ของประเทศ

ได้รับชัยชนะ การต่อสู้ได้ยุติลงเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐

กองทัพบกฟิลิปปินส์ ประจำการด้วยรถสายพานลำเลียงพล

แบบเอ็ม-๑๑๓เอ๒ หน่วยกองพันทหารราบยานเกราะที่ ๖ ชุดรบ

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


กองทัพบกฟิลิปปินส์ (PA) นำรถสายพานลำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓เอ๒ (M-113A2)

ปฏิบัติการทางทหารเรียกว่าการรบที่เมืองมาราวี (Battle of Marawi) ปฏิบัติการ

กวาดล้างกองกำลังติดอาวุธกลุ่มอาบูไซยาฟ (Abu Sayyaf) และมาอูเต (Maute)

กองพลน้อยที่ ๑ กองพลทหารราบที่ ๑๑ อยู่ที่เมืองโจโล (Jolo)

จังหวัดซูลู (Sulu) ทางตอนใต้สุดของประเทศฟิลิปปินส์

รถสายพานลำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓ (M-113) ผลิตโดย

ประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อมูลที่สำคัญคือ น้ำหนัก ๑๒.๓ ตัน ยาว

๔.๘๖ เมตร กว้าง ๒.๖๘ เมตร สูง ๒.๕ เมตร เครื่องยนต์ดีเซล

(6V53T) ขนาด ๒๗๕ แรงม้า ความเร็ว ๖๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ระยะปฏิบัติการ ๔๘๐ กิโลเมตร บรรทุกทหาร ๑๓ นาย (ประจำรถ

๒ นาย และทหารราบ ๑๑ นาย) และอาวุธหลักปืนกลหนักขนาด

๑๒.๗ มิลลิเมตร (M-2) ผลิตรุ่นหลัก ๔ รุ่น ประกอบด้วย เอ็ม-๑๑๓

(M-113) เครื่องยนต์ ๒๐๙ แรงม้า (Chrysler75M) ปี พ.ศ.๒๕๐๓

เอ็ม-๑๑๓เอ๑ (M-113A1) เครื่องยนต์ดีเซล ๒๑๕ แรงม้า (Detroit

6V-53) ปี พ.ศ.๒๕๐๗ เอ็ม-๑๑๓เอ๒ (M-113A2) ปี พ.ศ.๒๕๒๒

และเอ็ม-๑๑๓เอ๓ (M-113A3) เครื่องยนต์ดีเซล ๒๗๕ แรงม้า

(Detroit 6V-53T) ปี พ.ศ.๒๕๓๐ มีการผลิตตามภารกิจการใช้งาน

ที่สำคัญคือ เอ็ม-๑๐๖ (M-106) ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๔.๒

นิ้ว (M-30) เอ็ม-๑๐๖๔ (M-1064) ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด

๑๒๐ มิลลิเมตร เอ็ม-๑๒๕ (M-125) ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด

รถสายพานลำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓เอ๒ (M-113A2) กองทัพบกฟิลิปปินส์ (PA)

ติดตั้งปืนขนาด ๒๕ มิลลิเมตร ขณะปฏิบัติการทางทหารที่เมืองมาราวี (Battle of

Marawi) การรบระหว่างวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๐ การรบได้ยุติลง

เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

กองทัพบกอินโดนีเซีย (TNI-AD) ประจำการด้วยรถสายพานลำเลียงพล

แบบเอ็ม-๑๑๓เอ๑ (M-113A1) ประจำการกองพันทหารราบยานเกราะ ๖ กองพัน

๘๑ มิลลิเมตร เอ็ม-๑๖๓ (M-163 VADS) ติดตั้งปืนต่อสู ้อากาศยาน

แบบวัลแคน (M-61 Vulcan) ขนาด ๒๐ มิลลิเมตร เอ็ม-๕๗๗

(M-577) รถบังคับการติดตั้งระบบสื่อสาร เอ็ม-๘๖๐ (M-860)

รถกู้ซ่อมและเอ็ม-๙๐๑ (M-901 ITV) ติดตั้งจรวดนำวิถีต่อสู้รถถัง

ขนาดหนักแบบโทว์ (TOW) ชนิดสองท่อยิง ยอดผลิตทุกรุ่นกว่า

๘๐,๐๐๐ คัน ปัจจุบันกองทัพบกสหรัฐอเมริกาคงเหลือประจำการ

๓,๐๐๐ คัน เป็นรุ่นใช้ในภารกิจสำคัญ

รถสายพานลำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓ สหรัฐอเมริกานำ

ออกปฏิบัติการทางทหารสงครามเวียดนามระหว่างปี พ.ศ.

๒๕๐๘ - ๒๕๑๘ ต่อมาได้ประจำการอย่างแพร่หลายทั่วโลก

มิตรประเทศของสหรัฐฯ ประจำการ ๔๓ ประเทศ กลุ่มประเทศ

เอเชียประจำการ ๑๗ ประเทศ รถสายพานลำเลียงพลเอ็ม-๑๑๓

ประจำการนาน ๖๐ ปี นำเข้าปฏิบัติการทางทหารทั่วโลกที ่สำคัญ

รวม ๓๒ สมรภูมิ มีการรบขนาดใหญ่ที่สำคัญรวม ๕ สมรภูมิ

กองทัพบกอินโดนีเซีย จัดหาจากรถสายพานลำเลียงพล

มือสองของกองทัพบกเบลเยียม แบบเอ็ม-๑๑๓เอ๑ (M-113A1)

รับมอบ ๕๐ คัน เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙ จัดหา

เพิ่มเติมอีกรวมประจำการทั้งสิ้น ๑๕๕ คัน ประจำการที่หน่วย

กองพลน้อยพร้อมรบที่ ๖ (กองพันทหารราบยานเกราะที่ ๔๑๑ และ

กองพันทหารราบยานเกราะที่ ๔๑๒) กองพลทหารราบที่ ๒

เมืองมาลัง (Malang) จังหวัดชวาตะวันออก กองพลน้อยทหารราบ

ยานเกราะที่ ๑ (กองพันทหารราบยานเกราะที่ ๒๐๑ กองพันทหาร

ราบยานเกราะที่ ๒๐๒ และกองพันทหารราบยานเกราะที่ ๒๐๓)

จังหวัดชวาตะวันออก และกองพลน้อยทหารราบยานเกราะที่ ๑๖

(กองพันทหารราบยานเกราะที่ ๕๑๒) เมืองสุราบายา จังหวัดชวา

ตะวันออก

53


รถสายพานลำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓ (M-113) กองทัพบกไทย (RTA) ขณะทำการฝึกเป็นหน่วยร่วมกับรถถังหลักแบบเอ็ม-๘๔ (M-84 Oplot-M) เป็นยานเกราะที่สำคัญ

ห้วงของการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ปฏิบัติการทางทหารที่สำคัญระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๐ - ๒๕๒๕

กองทัพบกสิงคโปร์ ประจำการรุ่นเอ็ม-๑๑๓เอ๑ ต่อมาได้

ทำการปรับปรุงให้เป็นรุ่นเอ็ม-๑๑๓เอ๒ จำนวน ๑,๐๐๐ คัน ทำการ

ปรับปรุงเพื่อเพิ่มอำนาจการยิงด้วยการติดตั้งป้อมปืนใหม่ ประกอบด้วย

รุ่นติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด ๔๐ มิลลิเมตร และ

ติดตั้งปืนกลหนักขนาด ๑๒.๗ มิลลิเมตร รวม ๑๗๕ คัน และรุ่นติดตั้งปืน

ขนาด ๒๕ มิลลิเมตร รวม ๑๗๕ คัน กองทัพอากาศ ประกอบด้วย

รุ่นติดตั้งระบบเรดาร์และรุ่นติดตั้งจรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานระดับ

ต่ำแบบอิ๊กล่า (Igla) ชนิดหกท่อยิง รวม ๗๕ คัน

กองทัพบกเวียดนาม ประจำการด้วยรถสายพานลำเลียงพล

แบบเอ็ม-๑๑๓เอ๑ โดยยึดได้มาจากกองทัพบกเวียดนามใต้ในยุค

ของสงครามเวียดนาม จำนวน ๑,๖๓๓ คัน ปัจจุบันยังคงประจำการ

๒๐๐ คัน

กองทัพบกไทย ประจำการด้วยรถสายพานลำเลียงพลแบบ

เอ็ม-๑๑๓เอ๑/เอ๒ (M-113A1/A2) ปี พ.ศ.๒๕๐๕ ได้จัดหาเพิ่มเติม

อีกหลายครั้ง ห้วงการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.)

ได้นำรถสายพานลำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓ ปฏิบัติการทางทหาร

ในพื้นที่ทั้งสี่กองทัพภาค จากกองร้อยรถสายพานลำเลียง กรมทหารราบ

ปฏิบัติการทางทหารหลายภารกิจเมื่อการปราบปรามผู้ก่อการร้าย

คอมมิวนิสต์ได้ยุติลงปลายปี พ.ศ.๒๕๒๕ มีการปรับโอนหน่วย

อีกหลายครั้ง ต่อมาจัดหาอีกหลายครั้งที่สำคัญคือเอ็ม-๑๖๓ (M-163

VADS) ติดตั้งปืนต่อสู้อากาศยานแบบวัลแคน ขนาด ๒๐ มิลลิเมตร

เอ็ม-๕๗๗เอ๓ (M-577A3) รถบังคับการติดตั้งระบบสื่อสารและ

เอ็ม-๙๐๑ (M-901 ITV) ติดตั้งจรวดนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดหนัก

แบบโทว์ (TOW) ชนิดสองท่อยิง ปัจจุบันประจำการที่หน่วยกองพัน

ทหารราบ ๓ กองพัน กองพันทหารม้า ๓ กองพัน และกองพัน

ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ๑ กองพัน

รถสายพานลำเลียงพลแบบเอ็ม-๑๑๓ (M-113) ติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด

๔.๒ นิ้ว หมวดเครื่องยิงหนัก กองพลน้อยพลร่มที่ ๑๗๓ กองทัพบกสหรัฐอเมริกา

ขณะทำการยิงสนับสนุนในสงครามเวียดนาม

54

บรรณานุกรม

๑. en.wikipedia.org/wiki/M113_armored_personnel_carrier

๒. en.wikipedia.org/wiki/Indonesian_Army

๓. en.wikipedia.org/wiki/Royal_Thai_Army

๔. en.wikipedia.org/wiki/Singapore_Army

๕. en.wikipedia.org/wiki/Philippine_Army

๖. The World Defence Almanac 2015, Asia and Far East, P.321-355.

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ปริศนาอักษรไขว้

สำ

หรับปริศนาอักษรไขว้ในวารสารหลักเมือง

ฉบับนี้จะเป็นคำที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรม

ทางการเงิน ที่ใช้ในธนาคาร ซึ่งมีทั้งหมด ๑๘ คำ

มีอะไรบ้างลองหาดูนะคะ Let’s go

เฉลย

1. DEBIT CARD 2. PAYMENT 3. BALANCE 4. BANKER 5. TRANSACTION 6. MANAGER 7. MONEY MARKET

8. CREDIT CARD 9. CUSTOMER 10. DRAWER 11. DEPOSIT 12. ACCOUNT 13. NOTES

14. SAVINGS 15. COIN 16. CHECKING 17. TRANSIT 18. TELLER

หลักเมือง มกราคม ๒๕๖๔

55


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม

ราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พลเอก อภิรัชต์

คงสมพงษ์์ รองเลขาธิิการพระราชวัง เป็นผูู้ ้แทนพระองค์

เชิญของขวัญพระราชทานมอบให้แก่ พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เน่องในโอกาสวันข้นปีใหม่

พุทธิศัักราช ๒๕๖๔ ณ ห้องสุรศัักดิมนตรีภายในศัาลาว่าการกลาโหม

เม่อ ๔ มกราคม ๒๕๖๔

56activities


พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วย

ว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ

พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ ์ ประธิาน

คณะกรรมาธิิการทหารและความมันคง

ของรัฐ วุฒิิสภา พร้อมคณะ เพ่อเยียมเยียน

และให้กำล ังใจการปฏิิบัติงานภารกิจ

ความมันคงทางทหาร โดยมี พลเอก ณัฐ

อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม

และนายทหารชั ้นผูู้้ใหญ่ของสำานักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมให้การต้อนรับ

ณ ศัาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๗

ธิันวาคม ๒๕๖๓

หลัักเมืือง มืกราคมื ๒๕๖๔

57


สมเด็จพระเจ้าลูกเธิอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลอากาศัโท สมคิด

สุขบาง กรมวังผูู้้ใหญ่ฯ เชิญของขวัญพระราชทานมอบให้แก่

พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม เนื่องในโอกาส

วันขึ้นปีใหม่ พุทธิศัักราช ๒๕๖๔ ณ ห้องสุรศัักดิ์มนตรี ภายใน

ศัาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๔ มกราคม ๒๕๖๔

58


พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พันเอก โพ บุน ฮ๊๊อก ผู้้ช ่วยทูตทหารสาธิารณรัฐสิงคโปร์ประจำากรุงเทพฯ

เพ่ออำาลาเน่องในโอกาสครบวาระการปฏิิบัติหน้าทีและแนะนำ พัันเอก โก ฮััน ทอง ทีจะมาดำารงตำาแหน่ง ผู้้ช ่วยทูตทหารสาธิารณรัฐสิงคโปร์

ประจำากรุงเทพฯ ณ ห้องพระบารมีปกเกล้า ภายในศัาลาว่าการกลาโหม เม่อ ๑๖ ธัันวาคม ๒๕๖๓

หลัักเมืือง มืกราคมื ๒๕๖๔

59


พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม นางรมิดา อินทรเจริญ นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ถวายแจกันดอกไม้หน้าพระบรมฉายาลักษณ์์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมทังลงนามถวายพระพร

เน่องในโอกาสวันข้นปีใหม่ พุทธิศัักราช ๒๕๖๔ โดยมีนายทหารชันผูู้ ้ใหญ่ของสำนัักงานปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมลงนาม ณ ห้องแดง

อาคารหน่วยราชการในพระองค์๙๐๔ ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๖๔

60


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พลเอก อภิรัชต์คงสมพงษ์์

รองเลขาธิิการพระราชวัง เป็นผูู้้แทนพระองค์ เชิญของขวัญพระราชทานมอบให้แก่ พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม

เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่พุทธิศัักราช ๒๕๖๔ ณ ห้องสุรศัักดิ ์มนตรี ภายในศัาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๔ มกราคม ๒๕๖๔

หลัักเมืือง มืกราคมื ๒๕๖๔

61


นางรมิดา อินทรเจริญ นายกสมาคมภริยาข้าราชการสำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมกิจกรรม

บริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศัล ณ ห้องพินิตประชานาถ ภายในศัาลาว่าการกลาโหม เม่อ ๓๐ พฤศจิิกายน ๒๕๖๓ และห้องสนามไชย ๔

ชัน ๓ อาคารบริการสำนัักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีีสมาน) เม่อ ๑ ธัันวาคม ๒๕๖๓

กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

62


นางรมิดา อินทรเจริญ พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมพิธิีถวายบังคมและพิธิีวางพานพุ่ม เพื่อถวายสักการะพระบาทสมเด็จ

พระบรมชนกาธิิเบศัร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ

ณ มณฑลพิธิีท้องสนามหลวง เมื่อ ๕ ธิันวาคม ๒๕๖๓

นางรมิดา อินทรเจริญ พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ

ร่วมกิจกรรมสนับสนุนอาหารและเครื่องดื่มบริการประชาชนที ่มา

ร่วมพิธิีจุดเทียนมหามงคล เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณและน้อมรำาลึก

ในพระมหากรุณาธิิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิิเบศัร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ มณฑลพิธิี

ท้องสนามหลวง เมื่อ ๕ ธิันวาคม ๒๕๖๓

หลัักเมืือง มืกราคมื ๒๕๖๔

63


นางรมิดา อินทรเจริญ พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมงานหมุนวงล้อสลากกาชาด เพ่อประกาศัผู้ลรางวัลสลากบำร ุง

สภากาชาดไทยของสมาคมภริยาข้าราชการสำนัักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ประจำปีี ๒๕๖๓ ณ อาคารแพทยพัฒน์์ คณะแพทยศัาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ ๒๒ ธิันวาคม ๒๕๖๓

นางรมิดา อินทรเจริญ พร้อมด้วยคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมงานวันที ่ระลึกคล้ายวันสถาปนาศัูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศัและพลังงานทหาร ครบรอบปีที ่ ๓๐ ณ ห้องศัรีสมาน ๓ อาคารอเนกประสงค์ สำานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศัรีสมาน)

เมื่อ ๒๔ ธิันวาคม ๒๕๖๓

กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

64


คำแนะนำกำรป้องกัน

ช่วงโควิด-๑๙ ระบาดระลอกใหม่

๑. ระมัดระวังการสั่งอาหารออนไลน์ ควรนามาอุ่นก่อนรับประทาน

๒. งดไปห้างสรรพสินค้า และพื้นที่ชุมชน เพื่อลดความแออัด

๓. พกแอลกอฮอล์เจล และล้างมือด้วยแอลกอฮอล์อย่างสม่าเสมอ

๔. ลูกบิด ปุ่มที่ลิฟต์ มักเป็นที่สะสมเชื้อโรค

๕. รับประทานอาหารปรุงสุก

๖. ถ้าคิดถึงกัน ใช้โทรคุย หรือ Video call

๗. ลดการใช้เงินสด เพราะจะสัมผัสเชื้อได้ แนะนาให้ใช้ mobile payment

๘. เวลารับ-ส่งของ โดยใช้ Lineman หรือ Grab ควรล้างมือ และเช็ดพัสดุด้วยแอลกอฮอล์

เพื่อลดความเสี่ยง ให้กับคนส่งและคนรับ

๙. ถ้ามีผู้อาวุโสในบ้าน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ หมั่นล้างมือ ใส่ mask และเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้ง

ที่เข้าบ้าน เว้นระยะในการสื่อสาร

๑๐. ถ้าคุณมีสภาวะเสี่ยงเพราะเคยไปหรืออยู่ในสถานที่ที่มีการแพร่ระบาด หรือมีอาการผิดปกติต่างๆ

ให้ใจเย็นๆ ตั้งสติ แยกตัวออกจากคนรอบข้าง

๑๑. ปฏิบัติตามคาแนะนาของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

หำกมีข้อสงสัยโทรถำมได้ที่...

๑๔๒๒ กรมควบคุมโรค

สอบถามเรื่องโควิด-๑๙ หรือรับแจ้งเหตุผู้ที่มีอาการป่วยเข้าเกณฑ์สงสัย รวมไปถึงประสานงาน

โรงพยาบาล โทรฟรี ตลอด ๒๔ ชั่วโมง (For foreigner call 0-9684-7820-9)

๑๑๑๑ ศูนย์บริกำรข้อมูลภำครัฐเพื่อประชำชน

ร้องเรียน/ร้องทุกข์ เกี่ยวกับโควิด-๑๙ ฟรี ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

๑๖๖๘ กรมกำรแพทย์

สายด่วนให้คาปรึกษาผู้ป่วยโรคโควิด-๑๙ และโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สถาบันทรวงอก

กรมการแพทย์ โทรฟรี ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

๑๖๖๙ สถำบันกำรแพทย์ฉุกเฉินแห่งชำติ

สาหรับแจ้งเหตุฉุกเฉินทั้งผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ (สพฉ.) โทรฟรี ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

๑๖๔๖ ศูนย์บริกำรแพทย์ฉุกเฉิน (ศูนย์เอรำวัณ)

สาหรับแจ้งเหตุฉุกเฉินทั้งผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ (สพฉ.) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

โทรฟรี ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

๐-๒๒๔๕-๔๙๖๔ สำยด่วนสำนักอนำมัย

สอบถามอาการป่วยโควิด-๑๙ ก็ได้ หรือผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ก็สามารถสอบถามรายละเอียด

รักษาฟรี ได้ที่เบอร์นี้ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

๐-๒๑๙๓-๗๐๕๗ กรมสนับสนุนบริกำรสุขภำพ

สงสัยหรือกังวลก็ประเมินความเสี่ยง ได้ที่ http://bkkcovid19.bangkok.go.th

หรือ โทรสายด่วน สานักอนามัย ๐-๒๒๔๕-๗๕๙๗ หรือ ๐-๙๔๓๘-๖๐๐๕-๑

เพื่อรับคำแนะนำและปฏิบัติตำมอย่ำงเคร่งครัด


Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!