02.02.2015 Views

โพรไบโอติก - ฐานข้อมูลการแพทย์ทางเลือก

โพรไบโอติก - ฐานข้อมูลการแพทย์ทางเลือก

โพรไบโอติก - ฐานข้อมูลการแพทย์ทางเลือก

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

PROBIOTICS : Alternative Microoganisms for Health<br />

โพรไบโอติก : จุลินทรีย์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ<br />

ภาพ ก<br />

ภาพ ข<br />

รูปที่ 2.4 ความสามารถของแบคทีเรีย L. plantarum SS2 ในการเกาะติดและ<br />

อาศัยอยู่ในลาไส้ของหนูขาว ก และ ข คือ ความเข้มข้นของการติดสีย้อมฟลูออ-<br />

เรสเซนท์แสดงความหนาแน่นบริเวณที่มีการเกาะติดของแบคทีเรีย L. plantarum<br />

SS2 ที่บริเวณเยื่อบุลาไส้ของหนูกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ป้อนแบคทีเรีย (ก) และกลุ่ม<br />

ที่ป้อนแบคทีเรีย (ข) (ดัดแปลงจาก ไชยวัฒน์ ไชยสุต และคณะใน Duangjitcharoen<br />

Y, et al. 2008 เอกสารอ้างอิงหมายเลข 1 และ Duangjitcharoen Y, et al.<br />

2009 เอกสารอ้างอิงหมายเลข 2)<br />

การคัดเลือกแบคทีเรียกรดแลกติกจากผลิตภัณฑ์หมักจากพืชต่าง ๆ ใน<br />

กลุ่มของอาหารหมักดองจากพืชและกลุ่มของน้ำหมักชีวภาพจากพืช สามารถ<br />

คัดแยกแบคทีเรียแลกติก คือ แบคทีเรีย L. plantarum SS2 เป็นแบคทีเรียที่แยกได้<br />

จากผลิตภัณฑ์น้ำหมักจากผลมะเฟือง (Avetthoa carambola) ซึ่งคุณลักษณะที่ใช้<br />

เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกโพรไบโอติกแบคทีเรียกรดแลกติกที่จะน ำมาใช้กับมนุษย์<br />

มีคุณสมบัติหลัก ๆ ดังแสดงในตารางที่ 2.2 2.3 และรูปที่ 2.4 ซึ่งมีรายละเอียด<br />

ดังต่อไปนี้ (Lee et al. 1999; Morelli, 2000; Duangjitcharoen et al. 2008)<br />

(1) ความสามารถในการเจริญได้ในภาวะที่มีเกลือน้ำดีร้อยละ 0.15<br />

และ 0.30 ทั้งนี้เพื่อให้สัมพันธ์กับสภาวะการหลั่งเกลือน้ำดีภายในลำไส้เล็กใน<br />

ระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ ที่มีความเข้มข้นของเกลือน้ำดีประมาณร้อยละ<br />

0.15 - 0.30 และเป็นแหล่งที่โพรไบติกแบคทีเรียอาศัยอยู่ ทั้งนี้แบคทีเรีย SS2<br />

และแบคทีเรียอ้างอิง R สามารถเจริญได้ในสภาวะดังกล่าว (ตารางที่ 2.2)<br />

(2) ความสามารถในการเจริญได้ในภาวะความเป็น กรด - ด่าง (ค่าพีเอช,<br />

pH unit) 2, 3, 4, 8 และ 9 ซึ่งเป็นระดับความเป็น กรด - ด่าง เช่นเดียวกับที่พบ<br />

ในกระเพาะอาหารของมนุษย์ซึ่งมีความเป็นกรดที่ระดับค่าพีเอชเท่ากับ 3 หรือ<br />

ต่ำกว่า และในลำไส้เล็กที่มีความเป็นด่างในระดับค่าพีเอชประมาณ 8 ถึง 9 ทั้งนี้<br />

จากการทดสอบพบว่า แบคทีเรีย SS2 ที่แยกได้จากพืชสามารถเจริญได้ในช่วง<br />

ความเป็น กรด - ด่าง ที่กว้างกว่า คือ ทนต่อค่า pH 3 4 5 และ 8 ในขณะที่แบคทีเรีย<br />

30 สำนักการแพทย์ทางเลือก http://www.thaicam.go.th<br />

สำนักการแพทย์ทางเลือก http://www.thaicam.go.th 31

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!