02.02.2015 Views

โพรไบโอติก - ฐานข้อมูลการแพทย์ทางเลือก

โพรไบโอติก - ฐานข้อมูลการแพทย์ทางเลือก

โพรไบโอติก - ฐานข้อมูลการแพทย์ทางเลือก

SHOW MORE
SHOW LESS

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

PROBIOTICS : Alternative Microoganisms for Health<br />

โพรไบโอติก : จุลินทรีย์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ<br />

และ specific growth rate นั้น แบคทีเรีย SS2 มีอัตราการเจริญที่รวดเร็วกว่า<br />

แบคทีเรียโพรไบโอติกสายพันธุ์อ้างอิง ทั้งนี้อัตราการเจริญที่รวดเร็วกว่าสามารถ<br />

เชื่อมโยงกับการตอบสนองต่อภาวะต่าง ๆ ในการทดลองซึ่งสามารถตอบสนองให้ผล<br />

ในระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าด้วยเช่นกัน การที่จุลินทรีย์ที่จะน ำมาใช้เป็นโพรไบโอติก<br />

สามารถเจริญได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้สามารถขยายก ำลังการผลิตขนาดใหญ่ได้โดยง่าย<br />

และยังเป็นการลดต้นทุนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมอีกด้วย (ตารางที่ 2.2)<br />

(9) ความสามารถในการเกาะติดและอาศัยอยู่บริเวณลำไส้ของสิ่งมีชีวิต<br />

ของแบคทีเรียโพรไบโอติก แบคทีเรีย SS2 สามารถเกาะติดและอาศัยอยู่ในลำไส้<br />

หนูขาวได้ เมื่อทดสอบโดยการย้อมสีเรืองแสง cFDA-SE ให้กับแบคทีเรีย SS2 และป้อน<br />

ให้หนูขาวกิน เมื่อเวลาผ่านไปจึงนำผนังลำไส้ส่วนต่าง ๆ ของหนูขาวมาตรวจสอบ<br />

การเรืองแสงด้วยเครื่อง Flow cytometry พบว่าแบคทีเรียดังกล่าวมีการเกาะติด<br />

บริเวณลำไส้เล็ก ซึ่งแสดงรูปแบบการเรืองแสงดังรูปที่ 2.4 ข เมื่อเปรียบเทียบกับหนู<br />

กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ป้อนแบคทีเรียซี่งมีรูปแบบการเรืองแสงแสดงดังรูปที่ 2.4 ก<br />

สอดคล้องกับภาพการเรืองแสงของแบคทีเรียดังกล่าวที่ส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์<br />

เรืองแสง<br />

ความสามารถในการเกาะติดผนังลำไส้ของเจ้าบ้านเป็นคุณสมบัติที่มี<br />

ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภค เพราะเป็นการเริ่มต้นของการ<br />

อาศัยในระบบทางเดินอาหารของสิ่งมีชีวิตและช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันของ<br />

เจ้าบ้านหรือผู้บริโภคได้ แบคทีเรียที่สามารถเกาะติดลำไส้ผู้บริโภคได้ จะเป็นตัว<br />

ขับเคลื่อนสำคัญให้ร่างกายผู้บริโภคเกิดกลไกการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน<br />

ของร่างกาย โดยเฉพาะในลำไส้นั้นมีเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันกว่า<br />

ร้อยละ 80 อยู่บริเวณนี้ จึงถือว่าระบบทางเดินอาหารเป็นแหล่งที่มีบทบาทสูง<br />

ต่อสุขภาพของสิ่งมีชีวิต เมื่อแบคทีเรียเข้าไปในร่างกายจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกัน<br />

จดจำว่าเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีหรือชนิดที่ไม่ดีและมีการตอบสนองที่แตกต่างกัน<br />

อย่างเช่น ถ้าเป็นโพรไบโอติกซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดดีมีประโยชน์ เมื่อผ่านเข้ามา<br />

ในระบบทางเดินอาหาร และเกาะติดผิวเยื่อบุบริเวณลำไส้ ระบบภูมิคุ้มกันจะ<br />

จดจำมีความทนทาน (oral tolerance) ยอมรับให้อยู่ร่วมกันโดยจุลินทรีย์จะอาศัย<br />

อาหารในการเจริญเติบโต และผลพลอยได้ก็คือทำให้เจ้าบ้านอย่างเราได้รับสิ่งที่<br />

เป็นประโยชน์ร่วมด้วย เป็นการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย โดยโพรไบโอติก<br />

สามารถทำให้สภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่มีสภาพเป็นกรดทำให้เชื้อก่อโรค ซึ่งมักไม่<br />

ทนกรดนั้นไม่สามารถเจริญเติบโตได้ นอกจากนี้โพรไบโอติกยังสามารถผลิต<br />

เอนไซม์ที่ช่วยย่อยสารอาหารบางชนิดและสามารถผลิตวิตามิน สามารถผลิตสาร<br />

ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรค เช่น กรดอินทรีย์ แบคเทอริโอซิน ไฮโดรเจนเปอร์<br />

ออกไซด์ และสารชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์<br />

ให้สามารถควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในระบบทางเดินอาหารได้ซึ่งอาจส่งผลดีต่อ<br />

สุขภาพในด้านอื่น ๆ เช่น ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกระตุ้นหน้าที่<br />

ของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ลดการเกิดโรคมะเร็ง (Ouwehand<br />

et al., 1999; Zubillaga et al., 2001; Holzapfel and Schillinger, 2002; Grajek<br />

et al., 2005) เพิ่มคุณค่าทางอาหารโดยช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี และ<br />

ช่วยบังคับการเคลื่อนที่ภายในระบบทางเดินอาหาร (Vaughan et al., 1999) แต่<br />

ในทางกลับกัน ถ้าเป็นจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ดีหรือเป็นเชื้อก่อโรคระบบภูมิคุ้มกันจะ<br />

ตอบสนองแบบต่อต้านโดยกลไกต่าง ๆ เป็นต้นว่า เหนี่ยวนำให้เซลล์ที่เกี่ยวข้อง<br />

กับภูมิคุ้มกันมาทำลายหรือดักจับแล้วขับออกจากร่างกายหรืออาจเหนี่ยวนำให้<br />

ระบบภูมิคุ้มกันสร้างสารมาทำลายเชื้อโรคซึ่งถ้ารุนแรงอาจมีการทำลายเซลล์ของ<br />

เราจนเกิดภาวะการอักเสบรุนแรงได้ ฉะนั้น คุณสมบัติการเกาะติดเซลล์เยื่อบุของ<br />

โพรไบโอติกจึงเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนส่งผลต่อ<br />

สุขภาพของผู้บริโภค<br />

34 สำนักการแพทย์ทางเลือก http://www.thaicam.go.th<br />

สำนักการแพทย์ทางเลือก http://www.thaicam.go.th 35

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!