02.02.2015 Views

โพรไบโอติก - ฐานข้อมูลการแพทย์ทางเลือก

โพรไบโอติก - ฐานข้อมูลการแพทย์ทางเลือก

โพรไบโอติก - ฐานข้อมูลการแพทย์ทางเลือก

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

PROBIOTICS : Alternative Microoganisms for Health<br />

โพรไบโอติก : จุลินทรีย์ทางเลือกเพื่อสุขภาพ<br />

ตารางที่ 3.1 ตัวอย่างชนิดจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีรายงานความปลอดภัยต่อ<br />

การใช้ (ดัดแปลงจาก Salminen and von Wright, 1998 เอกสารอ้างอิงหมายเลข 7)<br />

ชนิดจุลินทรีย์<br />

รายงานความปลอดภัย<br />

แบคทีเรีย Lactobacillus ส่วนใหญ่ไม่เป็นเชื้อก่อโรค แต่มีโอกาสพบเป็นเชื้อฉวย<br />

โอกาสก่อโรค ซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง<br />

แบคทีเรีย Lactococcus ส่วนใหญ่ไม่เป็นเชื้อก่อโรค<br />

แบคทีเรีย Leuconostoc ส่วนใหญ่ไม่เป็นเชื้อก่อโรค แต่มีโอกาสพบในผู้ป่วย<br />

ติดเชื้อ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง<br />

แบคทีเรีย Enterococcus บางสายพันธุ์เป็นเชื้อฉวยโอกาสก่อโรคซึ่งเป็นสาเหตุ<br />

ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกและดื้อต่อยาปฏิชีวนะ<br />

แบคทีเรีย Bifidobacterium ส่วนใหญ่ไม่เป็นเชื้อก่อโรค แต่มีโอกาสพบในผู้ป่วย<br />

ติดเชื้อ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง<br />

ยีสต์ Saccharomyces ส่วนใหญ่ไม่เป็นเชื้อก่อโรค แต่มีโอกาสพบในผู้ป่วย<br />

ติดเชื้อ<br />

ตัวอย่างการประเมินความปลอดภัยของโพรไบโอติกแบคทีเรีย L. plantarum<br />

SS2 (Duangjitcharoen et al., 2009) ที่แยกได้จากน้ำหมักชีวภาพมะเฟืองที่ผลิต<br />

ในภาคอีสานตอนล่างของประเทศไทย เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์โพรไบโอติกที่จะน ำไปใช้<br />

กับผลิตภัณฑ์อาหารหมักที่ได้จากพืช โดยศึกษาผลของแบคทีเรียสายพันธุ์นี้ โดยการป้อน<br />

ในหนูขาวที่ความเข้มข้น 2 ระดับ คือ 10 12 เซลล์ต่อหนู และ 10 9 เซลล์ต่อหนู<br />

โดยให้แบคทีเรียเป็นเวลา 14 วัน และตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม<br />

สัตว์ทดลอง น้ำหนักตัว น้ำหนักของตับและม้าม และเพาะเชื้อจากตัวอย่างเลือด<br />

เพื่อประเมินว่าโพรไบโอติกสามารถแพร่เข้าสู่กระแสเลือดหรือไม่ โดยเปรียบเทียบ<br />

กับชุดควบคุม (control) ที่ไม่ได้รับการป้อนแบคทีเรีย L. plantarum SS2 ซึ่งหนูกลุ่ม<br />

ที่ถูกป้อนด้วยแบคทีเรียโพรไบโอติกนั้นยังคงมีพฤติกรรมการกินอาหาร การดื่มน้ ำ<br />

การขับถ่าย การนอนหลับ การอยู่ร่วมกัน และการตอบสนองที่ปกติ รวมทั้งยังคงมี<br />

ลักษณะทางสัณฐานวิทยา เช่น ลักษณะขน สีของเท้า ที่ปกติเช่นกัน แต่มีน้ ำหนักตัว<br />

โดยรวมต่ำกว่าในกลุ่มควบคุม ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่โพรไบโอติกจะสามารถช่วยควบคุม<br />

น้ำหนักได้ อาจเนื่องจากการช่วยลดการดูดซึมกลูโคสจากล ำไส้หรือช่วยเพิ่มเมแทบอลิซึม<br />

ของกลูโคส เป็นต้น นอกจากนี้ยังตรวจไม่พบแบคทีเรียจากการน ำเลือดมาเพาะเชื้อ<br />

และไม่พบความแตกต่างของน้ำหนักของตับและม้ามระหว่างหนูกลุ่มทดสอบกับ<br />

กลุ่มควบคุม ดังนั้น โพรไบโอติกแบคทีเรียสายพันธุ์นี้จึงมีความปลอดภัย ผลการศึกษา<br />

แสดงดังรูปที่ 3.1 และ 3.2<br />

body weight gain (g)<br />

30<br />

20<br />

10<br />

0<br />

u<br />

control<br />

10 12 lactobacili / mouse<br />

10 9 lactobacili / mouse<br />

Time (days)<br />

10 12 14<br />

รูปที่ 3.1 แสดงผลรวมการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอวัยวะของสัตว์ทดลองกลุ่ม<br />

ควบคุมและกลุ่มทดลองที่ได้รับการป้อนแบคทีเรียโพรไบโอติก Lactobacillus<br />

plantarum SS2 เป็นเวลา 14 วัน (ดัดแปลงจาก ไชยวัฒน์ ไชยสุต และคณะใน<br />

Duangjitcharoen Y, et al. 2009 เอกสารอ้างอิงหมายเลข 2)<br />

42 สำนักการแพทย์ทางเลือก http://www.thaicam.go.th<br />

สำนักการแพทย์ทางเลือก http://www.thaicam.go.th 43

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!