04.03.2015 Views

ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2552 - สำนักงานนโยบายและแผน ...

ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2552 - สำนักงานนโยบายและแผน ...

ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2552 - สำนักงานนโยบายและแผน ...

SHOW MORE
SHOW LESS

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

บทบรรณาธิการ<br />

Editorial Notes<br />

เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม <strong>2552</strong> กองบรรณาธิการ<br />

ขอถวายความจงรักภักดี โดยอัญเชิญการดําเนินงานตามแนวพระราชดําริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ<br />

เกี่ยวกับหมู่บ้านยามชายแดน เพื่อลงเป็นบทความพิเศษของวารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย <strong>ปีที่</strong> 5 <strong>ฉบับที่</strong> 3 นี้ โดย<br />

บทความได้กล่าวถึงที่มาและการดําเนินการตามแนวพระราชดําริที่ให้จัดตั้งหมู่บ้านในรูป “บ้านยามชายแดน” เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์<br />

พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จ ณ เรือนประทับแรมปางตอง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2545 เพื่อพัฒนาราษฎรในพื้นที่ให้มีความ<br />

เข็มแข็งและมีส่วนร่วมในการรักษาอธิปไตยของชาติไทย ซึ่งแนวพระราชดําริดังกล่าวแสดงถึงพระปรีชาญาณ พระวิสัยทัศน์อันยาวไกล<br />

รวมทั้งความรักความห่วงใยที่ทั้งสองพระองค์มีต่อราษฎรอย่างเท่าเทียมกัน ถึงแม้จะอยู่ไกลแสนไกลก็ตาม จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ<br />

อย่างหาที่สุดมิได้<br />

อีกประการหนึ่ง กองบรรณาธิการขอขอบพระคุณในความร่วมมือจากทุกท่านที่ได้กรุณากรอกแบบสอบถามความพึงพอใจและส่งให้กองบรรณาธิการ<br />

อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงวารสารในอนาคต<br />

On the auspicious occasion of Her Majesty Queen Sirikit Birthday Anniversary on September 12 th , 2009, the<br />

Editorial Team humbly presented our loyalties by respectfully inviting His Majesty the King and Her Majesty the Queen’s<br />

Royal Initiatives on the Border Guard Village to publish as special article in the Thailand’s Nature and Environment<br />

Journal, 3 rd issue. This article thoroughly stated the background and operation based on Her Majesty the Queen<br />

Sirikit royal initiative on the establishment of a “Border Guard Village” during Her Majesty staying at Pangthong Royal<br />

Residence on March 22 nd 2002 This project aims to strength residents’ will and promote Thai Sovereignty. Such Royal<br />

Initiative demonstrated His and Her Majesty’s wisdoms and lengthy visions, including loves and caring for their subjects<br />

equally, even to those living in the remote areas which showed His and Her Majesty utmost royal kindness.<br />

Above all, the Editorial Staff would like express their gratitude for those who continued returning completed<br />

questionnaires which should help further improving to this journal.<br />

ภาพจากปก<br />

Cover Picture<br />

ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง<br />

The Phatthalung Rice Research Center


สารบัญ<br />

Content<br />

17<br />

33<br />

10<br />

26<br />

37<br />

. บทบรรณาธิการ / Editorial Notes 3<br />

ภาพข่าว / Internews 5<br />

. สัมภาษณ์ผู้รู้ / Interview<br />

บทสัมภาษณ์ แนวคิดการพัฒนาที่ดีต้องมีการอนุรักษ์ 10<br />

Conservation for Ideal Development<br />

. บทความพิเศษ / Special<br />

หมู่บ้านยามชายแดน 14<br />

Border Guard Village<br />

. ความสมดุลและความหลากหลาย / Balance and Diverse<br />

‘ข้าวสังข์หยด’ จังหวัดพัทลุงจากข้าวพันธุ์พื้นเมือง ถึงพันธุ์ข้าว GI 17<br />

Sangyod Rice from Phatthalung Province From<br />

Indigenous Rice to GI Rice<br />

คืนกล้วยไม้สู่ป่าในโครงการพระราชดําริ 26<br />

Orchids Replanted in Jungle: the Royal Development Project<br />

. Üสิ่งแวดล้อมและมลพิษ / Environment and Pollution<br />

CSR เครื่องมือการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อม 33<br />

ตอนที่ 2 CSR กับการยอมรับในระดับโลก<br />

CSR: Environmental management tool<br />

Chapter 2: CSR and universally acception<br />

“เรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้เกี่ยวกับปลาหมึก... 37<br />

สัตว์ทะเลที่ไม่ใช่ปลาแต่เป็นหอย”<br />

“Unknown Facts about Cephalopods......A Non-Fish Marine Creature,<br />

It’s Really a Mollusc”<br />

. ก่อนจะปิดเล่ม / Epilogue<br />

สถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ําประเภท “พรุ” ของประเทศไทย 42<br />

Status of Peat Swamp in Thailand<br />

เเนะนำหนังสือ พิษเเละภัยจากสัตว์ทะเล 46<br />

Introducing Environmental Glossary (3 rd Issue)<br />

42<br />

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอใดๆ ที่นำเสนอในบทความต่างๆ เป็นของผู้เขียน<br />

All comments and recommendations in this journal are exclusively of the authors


ภาพข่าว<br />

Internews<br />

สผ. สนับสนุนภาคธุรกิจ แบ่งปันข้อมูล CSR ร่วมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ<br />

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning Supports<br />

the Business Sector in Sharing CSR Information for Biological Diversity Conservation<br />

20 <strong>กรกฎาคม</strong> <strong>2552</strong> : ดร.ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ<br />

ความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่อง “ธุรกิจกับความหลากหลายทางชีวภาพ” ซึ่งประเทศไทย โดย สํานักงานนโยบายและ<br />

แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลาง อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ร่วมกับ ศูนย์อาเซียน<br />

ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ จัดการประชุมขึ้น ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมการริเริ่มว่าด้วยธุรกิจ<br />

ความหลากหลายทางชีวภาพระดับภูมิภาค โดยเฉพาะการดําเนินงานของกลุ่มธุรกิจบริษัทชั้นนําในประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของ<br />

หน่วยงานภาคธุรกิจในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์ข้อมูลการดําเนิน<br />

กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR : Corporate social responsibility) ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึง<br />

ร่วมหารือถึงแนวทางและวิธีการในการผลักดันให้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นหนึ่งในประเด็นสําคัญของภาคธุรกิจ ตลอดจนสนับสนุน<br />

การสร้างพันธมิตรความร่วมมือระหว่างชุมชนภาคธุรกิจทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ทั้งนี้ จะมีการรวบรวมและบันทึก<br />

กิจกรรม CSR ด้านดังกล่าว เพื่อนําเสนอในรายงานภาพรวมของพันธมิตรธุรกิจกับความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกภายใต้การดําเนินงาน<br />

ตามอนุสัญญาฯ<br />

On July 20 th , 2009, Dr. Saksit Tridech, Permanent Secretary of the Ministry of Natural Resources and Environment,<br />

served as the Chairman of the Workshop Conference in Thailand in collaboration with Southeast Asia region, with the<br />

title of “Business and Biological Diversity”. It was organized by the Office of Natural Resources and Environmental Policy<br />

and Planning, which liaised with the ASEAN Center for Biodiversity in accordance with the Convention on Biological<br />

Diversity. The meeting was held at the Miracle Grand Convention Hotel, Bangkok to promote business initiatives and<br />

biological diversity at the regional level, particularly in terms of leading Thai corporations becoming known among<br />

business agencies in the Southeast Asia region, while also sharing experiences and operational information. This was<br />

intended to lead to Corporate Social Responsibility (CSR) relevant to biological diversity conservation, including<br />

consultation to find guidelines and procedures for making biological diversity a significant business topic. At the same time,<br />

building corporate alliances among communities was promoted at national, regional and global levels. These CSR activities<br />

have been completed and recorded for an overall presentation about business alliances and worldwide biological diversity<br />

under the Convention on Biological Diversity’s operational guidelines.<br />

5<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


สผ. ร่วมกับ GTZ เตรียมพร้อมคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมเจรจาในเวทีการประชุม UNFCCC - COP15<br />

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning in Collaboration with GTZ<br />

Prepares a Group of Thai Representatives to Participate in the UNFCCC - COP15 Conference<br />

20 <strong>กรกฎาคม</strong> <strong>2552</strong> : H.E. Dr. Hanns Schumacher เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และนางนิศากร<br />

โฆษิตรัตน์ เลขาธิการ สผ., Mr. Franz Ellermann ผู้อํานวยการ GTZ และนายเมธา พร้อมเทพ รองอธิบดีกรมองค์การระหว่าง<br />

ประเทศ ร่วมเปิดการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพคณะผู้แทนไทยเตรียมพร้อมเข้าร่วมเจรจาในเวทีนานาชาติ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง<br />

สภาพภูมิอากาศ (Capacity Building Workshop for Thai Climate Change Negotiation) ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค<br />

กรุงเทพฯ สําหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC - COP)<br />

ครั้งที่ 15 และพิธีสารเกียวโต (KP - CMP) ครั้งที่ 5 ณ กรุงโคเปนเฮเกน ราชอาณาจักรเดนมาร์ก ช่วงเดือนธันวาคม <strong>2552</strong><br />

ซึ่งการอบรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมแรกของโครงการดําเนินงานตามนโยบายเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศ (Climate Protection)<br />

ภายใต้กรอบความร่วมมือไทย - เยอรมัน ซึ่ง สผ. และ GTZ จะร่วมกันดําเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 3 ปี<br />

(พ.ศ. <strong>2552</strong> - 2554) ประกอบด้วย 1) การดําเนินงานตามนโยบายเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากร<br />

ด้านการกําหนดนโยบายและการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติ 2) การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในวิสาหกิจขนาดกลาง<br />

3) การปกป้องสภาพภูมิอากาศในภาคการท่องเที่ยว 4) การผลิตน้ํามันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อใช้เป็นพลังงานชีวภาพ 5) การ<br />

ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่เกาะคอเขา จังหวัดพังงา และ 6) การผลิตไฟฟ้าความร้อนร่วมจากพลังงานแสงอาทิตย์<br />

และเชื้อเพลิงชีวมวล<br />

On July 20 th , 2009, H.E. Dr. Hans Schumacher, the Ambassador of the Federal Republic of Germany,<br />

Mrs. Nisakorn Kositratana, the Secretary-General of the Office of Natural Resources and Environmental<br />

Policy and Planning, Mr. Franz Ellermann, GTZ Director and Mr. Metha Promthep, Deputy Director - General,<br />

Department of International Organizations, together announced the opening of the Capacity Building<br />

Training Workshop for Thai Climate Change Negotiations at the Landmark Hotel, Bangkok concerning the<br />

15 th United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC - COP) and the 5 th Kyoto Protocol<br />

(KP - CMP) at Copenhagen, Denmark during December 2009. The training is considered to be the highest<br />

priority under the Climate Protection policy and<br />

involves collaboration between Thailand and Germany<br />

through the Office of Natural Resources and<br />

Environmental Policy and Planning and GTZ. It is<br />

projected to take place for the next three years<br />

(2009 - 2011). It emphasizes 1) developing policies and<br />

practices for staff improvement; 2) efficient use of<br />

energy among medium enterprises; 3) climate protection<br />

in the tourism industry; 4) sustainable palm oil production<br />

for bio-energy; 5) efficient use of energy at Koh Kho<br />

Khao, Phangnga Province and 6) generating heat from<br />

solar energy and biomass.<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

6


สผ. รับฟังความเห็นต่อร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.<strong>2552</strong><br />

Office of Natural Resources and Environmental Policy and<br />

Planning Acknowledged Public Opinion on State of Environment, 2009<br />

26 สิงหาคม <strong>2552</strong> : ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพ สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและ<br />

สิ่งแวดล้อม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. <strong>2552</strong>” เพื่อนําเสนอ<br />

และรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฯ ที่ได้ศึกษาข้อมูล ข้อเท็จจริง สภาพปัญหา สาเหตุ สถานภาพ ผลกระทบของ<br />

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้ทําการทบทวนข้อมูลสถานการณ์ย้อนหลัง 5 ปี เพื่อให้ทราบแนวโน้มของ<br />

สถานการณ์จนถึงปีปัจจุบัน เพื่อนําเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณานําเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นประจํา<br />

ทุกปี สําหรับใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจในกําหนดนโยบายและวางแผนการจัดการคุณภาพ<br />

สิ่งแวดล้อมของประเทศ<br />

On August 26 th , 2009, at the Miracle Grand Convention Hotel, Bangkok, the Office of Natural<br />

Resources and Environmental Policy and Planning arranged a workshop conference with<br />

the topic of “Draft Final Report of the State of Environment, 2009” to present and accept<br />

comments on the draft final report which had intended to find facts, identify problems, their causes,<br />

status and impacts on natural resources and the environment. Data from the past five years were<br />

reviewed to find current trends for the National Environment Board to consider before presenting<br />

it to the Cabinet on a yearly basis. The acquired information is being used to form guidelines for<br />

decision-making and planning quality management for the Kingdom.<br />

7<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


สผ. เดินหน้าดําเนินงานตามนโยบายเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศ<br />

Office of Natural Resources and Environmental Policy and<br />

Planning Continues Operations in Accordance with Climate Protection Policy<br />

25 สิงหาคม <strong>2552</strong> : ที่ห้องประชุมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นางนิศากร โฆษิตรัตน์ เลขาธิการ สผ.<br />

ร่วมการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานและการลดก๊าซเรือนกระจกในสถาน<br />

ประกอบการขนาดกลาง ระหว่างผู้แทนหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยกับเยอรมนี ซึ่งเป็น<br />

หนึ่งในกิจกรรมของโครงการดําเนินงานตามนโยบายเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศ ที่ สผ. ร่วมกับ GTZ จัดขึ้น โดย<br />

Mr. Franz Ellermann ผู้อํานวยการสํานักงาน GTZ ได้เชิญ Dr. Georg Maue ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส จากกระทรวงสิ่งแวดล้อม<br />

ประเทศเยอรมนี มาร่วมเสวนาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการลด<br />

ก๊าซเรือนกระจกในสถานประกอบการ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน โดยการนําเสนอข้อมูลเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ BAT<br />

(Best Available Techniques) ที่ EU และเยอรมนี ใช้ในขณะนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานของประเทศไทย<br />

ในด้านดังกล่าว<br />

On August 25 th , 2009, at the Conference Room of the Ministry of Natural Resources and Environment,<br />

Office of the Natural Resources and Environmental Policy and Planning Secretary-General, Mrs. Nisakorn<br />

Kositratana participated in the discussion to share experiences related to increasing efficiency, using energy<br />

and reducing greenhouse effects in the medium-sized enterprises between Thai and German representatives<br />

responsible for climate change. This is considered to be one of the principal activities in the project to<br />

protect the climate that was arranged by the Office of Natural Resources and Environmental Policy and<br />

Planning and GTZ. Mr.Franz Ellermann, Director of GTZ, invited Dr. George Maue, the senior expert from<br />

the Ministry of Environment, Germany to take part in the discussion to share knowledge and experiences,<br />

aiming for increasing efficiency in energy use and reducing greenhouse effects in the workplace to find<br />

solutions for global warming. Best Available Techniques (BAT) were introduced at EU and implemented in<br />

Germany and these should benefit similar operations in Thailand.<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

8


กองทุนสิ่งแวดล้อมปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ําให้ภาคเอกชนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม<br />

Low Interest Loans Arranged by the Office of Environmental Funds<br />

for Private Sector Participation in Environmental Preservation<br />

20 สิงหาคม <strong>2552</strong> : ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพฯ สผ.<br />

เชิญผู้ประกอบการภาคเอกชน ร่วมสัมมนา เรื่อง “กองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อภาคเอกชน”<br />

เพื่อให้ได้รับทราบระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวทางการขอรับการสนับสนุนเงินกู้<br />

ดอกเบี้ยต่ํา จากกองทุนสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ให้ต่ํากว่า<br />

ท้องตลาด คือ ร้อยละ 2 - 3 ต่อปี และการชําระคืนเงินกู้ โดยกําหนดให้มี<br />

ระยะเวลาปลอดการชําระคืนเงินต้นไว้ 2 ปี และมีระยะเวลาชําระหนี้รวมระยะเวลา<br />

ปลอดการชําระคืนเงินต้นไม่เกิน 7 ปี เพื่อใช้ในการดําเนินธุรกิจของตนเอง ตาม<br />

แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility :<br />

CSR) สําหรับการลงทุนที่จัดให้มีระบบการจัดการมลพิษ ในการขจัดมลพิษที่เกิดจาก<br />

กระบวนการผลิต เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมหรือให้ส่งผลกระทบ<br />

น้อยที่สุด<br />

On August 20<br />

th<br />

, 2009, at the Miracle Grand Convention Hotel,<br />

Bangkok, the Office of Natural Resources and Environmental Policy and<br />

Planning invited entrepreneurs to participate in a seminar with the title<br />

“Environmental Funds for the Private Sector,” so that they could learn<br />

about rules, regulations and guidelines for requesting low interest loans<br />

from the Office of Environmental Funds. The adjusted interest rate is<br />

lower than the market rate, approximately 2% to 3% per year, with two<br />

years non-repayment of the principle and total loan payment within<br />

seven years for those business enterprises that operated according to<br />

principles of Corporate Social Responsibility (CSR) by investing in pollution<br />

management systems to dispose of pollution from production processes<br />

for minimum or no effect on the community and the environment.<br />

9<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


สัมภาษณìผูéรูé<br />

Interview<br />

บทสัมภาษณ์ ร.ศ. ประสงค์ เอี่ยมอนันต์<br />

แนวคิดการพัฒนาที่ดีต้องมีการอนุรักษ์<br />

Conservation Associate professor Prasong Eiam-anant for ldeal Development<br />

“หากเปรียบว่าพื้นที่ต้องการอนุรักษ์เป็นห้องที่เรานั่งประชุม<br />

กันอยู่นี้ ขณะที่ประชุมเราต้องการความสงบเรียบร้อยเป็นปกติ แต่หาก<br />

มีเด็กมาเล่นฟุตบอลอยู่ ใกล้ๆ ก็ต้องไม่เหมาะไม่ควรแน่ๆ เพราะจะ<br />

รบกวนการประชุมจนถึงทำให้ประชุมไม่ได้เลย เราอาจต้องบอกให้เด็ก<br />

ออกไปเล่นข้างนอก และแค่ข้างนอกอาจจะยังไม่พอ เพราะเล่นฟุตบอล<br />

ต้องใช้พื้นที่และเสียงดังมาก หากอยู่ไม่ไกลมากพอเสียงก็จะดังเข้ามา<br />

ข้างใน คงต้องออกไปไกลกว่านั้น แต่ถ้าหากว่ามีเพียงเด็กผู้หญิง<br />

2-3 คน นั่งเล่นหมากเก็บกันอยู่ อันนี้ก็ไม่ต้องลงไปถึงข้างล่าง ก็ยังพอ<br />

นั่งเล่นในห้องเดียวกันได้หากห้องใหญ่พอและการประชุมนั้นไม่เป็นทาง<br />

การมากนัก หรืออาจให้ไปนั่งเล่นห้องข้างๆ ก็จะไม่มีปัญหา ในทำนอง<br />

เดียวกัน หลักการการพัฒนาและการอนุรักษ์ก็คือ การนำหลักการตาม<br />

ตัวอย่างดังกล่าวมาเป็นแนวคิดในการพิจารณากำหนดเป็น เขตคุ้มครอง<br />

พื้นที่อนุรักษ์นั่นเอง”<br />

“Imagine the intended conservation area as the meeting<br />

room we are in now. If children are playing football nearby,<br />

the meeting would be disturbed and eventually cancelled.<br />

Asking the children to play outside may not be enough<br />

because football must be played in a large area and can<br />

be noisy. We may have to ask them to move further away.<br />

On the contrary, if only two girls are playing Jackstones,<br />

they can be in the same area with us provided that the<br />

meeting is informal or perhaps we could ask them to play<br />

in the next room. The above mentioned are then good<br />

examples of the principle of development in defining the<br />

conservation area.”<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

10


นั่นเป็นเรื่องราวที่ รองศาสตราจารย์ประสงค์ เอี่ยมอนันต์ อธิบาย<br />

เปรียบเทียบให้กองบรรณาธิการได้เข้าใจเรื่องยากๆ ให้เป็นเรื่องง่าย<br />

ด้วยการอุปมาอุปไมยอย่างแจ่มแจ้งเพื่อให้เราเข้าใจหลักการคร่าวๆ<br />

ในการพิจารณาและกำหนดขอบเขตคุ้มครองพื้นที่ที่ต้องการอนุรักษ์<br />

รองศาสตราจารย์ประสงค์ เอี่ยมอนันต์ หรือ ที่ลูกศิษย์หลายคน<br />

เรียกท่านว่า “อาจารย์” ท่านเป็นผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษด้านการ<br />

อนุรักษ์ชุมชนและเมืองเก่า และงานสถาปัตยกรรมท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้<br />

านการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เป็นกรรมการในชุดต่างๆ<br />

ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พื้นที่และอาคารเก่าหลายชุด และยังเป็นสถาปนิก<br />

ที่ปรึกษาของโครงการอนุรักษ์อาคารเก่าต่างๆ อาทิเช่น วัดซางตราครูส<br />

กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2536 อาคารศาลากลาง จังหวัดเชียงใหม่หลังเก่า<br />

ที ่ปรับปรุงเป็นหอศิลปวัฒนธรรมล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2539 และ<br />

งานอนุรักษ์ด้านสถาปัตยกรรมอีกหลายโครงการ<br />

ท่านได้เล่าถึงหลักการของการพัฒนาเมืองในเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน<br />

รวมถึงแนวทางการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรม โดยเริ่มต้นที่ความหมายของ<br />

คำว่า “ทรัพยากรธรรมชาติ” และ “สิ่งแวดล้อม” ก่อน ทั้งนี้เนื่องจาก<br />

การลงมือทำสิ่งต่างๆ ของภาครัฐนั้นหากต้องการให้ประสบความสำเร็จ<br />

จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีส่วนรวม เพื่อให้โครงการเหล่านั้นดำเนินการไปได้<br />

อย่างราบรื่น และสำเร็จอย่างยั่งยืน<br />

“ทรัพยากรธรรมชาติ” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ส่วน<br />

“สิ่งแวดล้อม” คือสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งทางกายภาพและชีวภาพ ทั้งที่<br />

เกิดเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อการดำรง<br />

ชีพของมนุษย์ เมื่อทุกคนเข้าใจความหมายที่ครอบคลุมดังที่กล่าวมาแล้ว<br />

นั่นหมายความว่า การพัฒนาสิ่งต่างๆ ย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม<br />

ด้วยกันทั้งสิ้น อย่างที่เรียกได้ว่า “การเด็ดดอกไม้ก็ยังสะเทือนถึงดวงดาว”<br />

ดังนั้นการพัฒนาเพื่อความเจริญที่แท้จริงและอย่างยั่งยืน ควรจะเป็นการ<br />

พัฒนาไปพร้อมกับการอนุรักษ์ มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม<br />

กับการดำรงอยู่ของสังคมมนุษย์และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ โดยการ<br />

ประเมินสภาพสิ่งแวดล้อมว่ามีคุณภาพอย่างไร มีคุณค่ามากน้อยเพียงใด<br />

และลักษณะของสิ่งแวดล้อมจะฟื้นฟูเองได้หรือไม่ หากเข้าใจอย่างท่องแท้<br />

แล้วก็จะรู้ว่าต้องนำทรัพยากรไปใช้อย่างไร ใช้มากหรือน้อยเพียงใด จึงจะ<br />

กระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งเรียกว่า “การพัฒนาเชิงอนุรักษ์”<br />

ส่วนสถานการณ์ต่างๆ รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม<br />

การเมือง การบริหารและการปกครอง ล้วนมีผลต่อการพัฒนาทั้งสิ้น<br />

เพราะโดยทั่วไปแล้วเมื่อภาวะเศรษฐกิจมีปัญหา หรือภาวะเศรษฐกิจขาลง<br />

จะไม่มีการเร่งการขยายตัวของชุมชนและเมือง จึงเป็นช่วงจังหวะ<br />

เวลาที่ดีที่รัฐบาลจะใช้ในการพิจารณาปรับปรุงสิ่งที่เรามีอยู่อย่าง<br />

รอบคอบและรัดกุม ไม่ต้องเร่งที่จะพัฒนาแบบก้าวกระโดดเหมือนใน<br />

ยุคเศรษฐกิจขาขึ้น แต่ที่ผ่านมาเราไม่ได้ทำเช่นนั้น ดังนั้นก็ได้แต่หวังว่า<br />

เมื่อเศรษฐกิจขาลงครั้งนี้จะเป็นโอกาสให้เราแก้ตัวในเรื่องนี้อีกครั้ง<br />

ทั้งนี้หลักการ และแนวทางการปฎิบัติอย่างครอบคลุมและกว้างขวางนั้นมี<br />

อยู่ แต่ต้องทำอย่างระมัดระวัง และการพัฒนากับการอนุรักษ์ก็จะสามารถ<br />

กระทำพร้อมกันได้ในคราวเดียว โดยเราจะต้องพัฒนาแบบมีสำนึกว่าต้อง<br />

รักษาส่วนใดไว้บ้าง หรืออนุรักษ์ด้านใดบ้าง ถ้าทำได้ก็เป็นการ<br />

This is how Associate Professor Prasong Eiam-anant<br />

used metaphors to explain the complex situation of defining<br />

conservation areas.<br />

Associate Professor Prasong Eiam-anant is an expert in<br />

preserving old towns, historical and architectural sites. He<br />

is the chairman of the committee and also an expert in<br />

architectural conservation at the Fine Arts Department. He<br />

acts as an architectural consultant for the conservation of<br />

old buildings such as Santa Cruz Church, Bangkok 1993. He<br />

is also responsible for turning Chiang Mai Old City Hall into<br />

the Lanna culture art gallery, 1993, as well as many other<br />

architectural conservation projects.<br />

He told us about sustainable town development,<br />

including guidelines for architectural conservation by<br />

starting to define the meaning of “Natural Resources” and<br />

“Environment”. In order for the government to accomplish<br />

their tasks, it is crucial for them to be actively involved for<br />

smooth and sustainable operations.<br />

“Natural Resources” are nature-made surroundings,<br />

whereas “Environment” is composed of human-made<br />

physical and biological surroundings; both natural and<br />

man-made items have become key elements for human<br />

existence. So, everyone must understand that all<br />

developments create some form of environmental impact,<br />

as in the old saying, “picking a single flower can disturb<br />

all the stars”. Consequently, true progress and sustainable<br />

development should be attempted together with conservation<br />

and environmental management so as to make it suitable for<br />

human existence. Environmental conditions must be assessed<br />

to find good quality conditions, values and environmental<br />

capacity. Only through clear understanding can one learn<br />

how to utilize resources wisely, in the right amount and<br />

with the least environmental impact. This is the so-called<br />

“Conservation Development”.<br />

All situations around us, whether economic, political and<br />

administrative, influence development. Generally, when the<br />

economy is in trouble or in recession, there is no need for<br />

immediate urban expansion. Consequently, this is the best<br />

time to consider carefully improving the existing surroundings<br />

without rushing into it as might happen when the economy<br />

is flourishing. In the past, we sometimes failed to do the right<br />

thing. Now, we are hopeful that this economic downturn<br />

will present us with the opportunity to do the right thing this<br />

time, thoroughly and carefully covering the requisite principles<br />

11<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


บริหารจัดการที่ดี โดยก่อนที่จะลงมือทำอะไรต้องพิจารณาให้รอบคอบ<br />

ทุกด้านและมองในมุมกว้าง เพื่อที่จะได้เห็นปัญหาและเห็นลู่ทางกว้างขึ้น<br />

เมื่อสำรวจดูรอบคอบแล้วก็จะพบว่า ตรงไหนต้องรักษาไว้ ในเรื่องอะไร<br />

และเคร่งครัดเพียงใด ตรงไหนพอพัฒนาได้บ้างและตรงไหนพัฒนาได้<br />

มากขึ้น แล้วกำหนดขอบเขตของพื้นที่ที่จะดำเนินการทั้งการพัฒนาและ<br />

อนุรักษ์ไว้แต่ละพื้นที่ เหมือนตัวอย่างการเล่นที่เกริ่นมาตั้งแต่ต้น<br />

นอกไปจากนั้นการพัฒนาควรให้มีความเชื่อมต่อหรือกลมกลืนกับ<br />

ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่เดิมกับพื้นที่ใหม่ด้วย ซึ่งบางครั้งอาจจะต้อง<br />

หาวิธีป้องกันพื้นที่เพื่อไม่ให้มีผลกระทบในระยะยาว ในบางพื้นที่การพัฒนา<br />

อาจเอื้อประโยชน์ต่อกัน เช่น การพัฒนาในพื้นที่กว้างอาจมีโอกาส<br />

พัฒนาได้เหมาะสมกว่า และไม่ค่อยทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย ตัวอย่างการ<br />

พิจารณาการแบ่งพื้นที่อย่างง่ายๆ เช่น เราต้องการสร้างโรงงานอุตสาหกรรม<br />

แต่พื้นที่อุตสาหกรรมจะก่อให้เกิดมลพิษต่อชุมชนมาก ดังนั้นการตั้งโรงงาน<br />

ต้องตั้งให้อยู่ไกลจากชุมชน เพราะมลพิษที่ปล่อยออกมาจะรบกวนชุมชน<br />

ทั้งนี้ต้องประเมินถึงค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการ<br />

ขนส่ง (Logistic) หรือแรงงานที่มีความชำนาญ ถึงแม้ว่าการลงทุนในพื้นที่<br />

ที่ห่างไกลจะใช้งบประมาณมากกว่าในเบื้องต้น แต่หากคำนวนเรื่องผลได้<br />

ผลเสียในระยะยาว และงบประมาณที่ต้องมาเสียกับการแก้ปัญหา<br />

สิ่งแวดล้อมในภายหลังนั้น การวางแผนในระยะยาวย่อมมีความคุ้มค่า<br />

กว่าแน่นอน<br />

ในส่วนของรัฐบาลจึงจำเป็นต้องใช้มาตราการต่างๆ ทั้งการจูงใจ<br />

การส่งเสริม และการสนับสนุน เช่น การให้สิทธิในเรื่องของภาษี อาจ<br />

จะลดหรืองดการเก็บภาษีในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือลดภาษีหากมีการ<br />

ตั้งโรงงานในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนดให้ หรือการให้กู้ยืมเงินในอัตราพิเศษ<br />

จากนั้นก็ต้องเร่งรัด จนถึงการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ อย่างเคร่งครัด<br />

หรือออกกฎเกณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ดีขึ้น<br />

and guidelines. Both development and conservation must be<br />

done at the same time by developing with consciousness<br />

those things that need to be conserved. This can only<br />

succeed through good management, careful consideration<br />

and deep perception by identifying proper solutions to<br />

problems and wise choices. After careful consideration,<br />

answers should be found in the subject matter, what should<br />

be preserved and how, and where to develop a more or<br />

less and defined scope of each area in planning for the<br />

conservation mentioned earlier.<br />

Furthermore, in developing old areas, the physical<br />

appearance of the old and new areas are blended<br />

together. Sometimes there will be a need for preventive<br />

measures for long-term effects. In certain areas, development<br />

could complement other objectives, so that for example<br />

developing large areas may be managed properly with the<br />

least environmental damage. Another example concerns a<br />

simple area division when building a factory that may create<br />

heavy pollution for community. Other expenses must also be<br />

taken into consideration, such as the costs of logistics or for<br />

hiring experienced labourers. Even though expenses in remote<br />

areas may be higher than initially forecast, when considering<br />

the long-run effects and budget for solving such problems,<br />

then certainly long-term plans seem to work better.<br />

มาบตาพุด<br />

Map Ta Phut<br />

ถนนสาธรเหนือ<br />

North sathorn Road<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

12


โดยสรุป การพัฒนาดีแน่ แต่ต้องไม่ลืมการอนุรักษ์ให้มีความ<br />

พอดีกันสมดุลกัน หากอย่างหนึ่งอย่างใดมากไปหรือน้อยไป ย่อมไม่<br />

เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมทั้งสิ้น ดังนั้น การบริหารจัดการจึงสำคัญที่<br />

จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เหลืออยู่ในช่วงชีวิตของ<br />

เราดำรงอยู่ตลอดไป รู้จักการแบ่งปัน จัดสรรอย่างสมดุล เหมาะสม<br />

เหมือนการเปรียบเทียบง่ายๆ ที่ “อาจารย์ประสงค์” ได้พยายามสื่อไว้<br />

ในข้างต้นของบทสัมภาษณ์ และโอกาสนี้กองบรรณาธิการต้องกราบ<br />

ขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ประสงค์ เอี่ยมอนันต์ เป็นอย่างสูงที่ให้ความรู้<br />

“แนวคิดการพัฒนาที่ดีต้องมีการอนุรักษ์” โดยได้อธิบายทั้งเชิงทฤษฎีและ<br />

เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น<br />

As a result, the government must use various measures<br />

to induce and promote desired activities, such as tax<br />

privileges through tax reduction for factories built in specific<br />

zones, or special rates loans, as well as strictly enforcing<br />

rules or issuing new regulations for better enforcement of<br />

such projects.<br />

In summary, development is good but one should<br />

never forget that all things must be equal. Without<br />

equilibrium, society cannot enjoy the full benefits of<br />

development. Therefore, available natural resources and<br />

environment must be managed well for sustainable<br />

living, with attention to the needs for sharing and allocating<br />

equally as “Professor Prasong” tried to explain at the<br />

beginning of the interview. On this occasion, the Editorial<br />

Board would like to offer sincere appreciation to Associate<br />

Professor Prasong Iaemarnun for providing us with knowledge<br />

about “Conservation for Ideal Development” and explanations<br />

of theory as well as comparisons for easier understanding.<br />

ผังเมืองยะลา<br />

Yala City<br />

13<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


บทความพิเศษ<br />

Special<br />

“หมู่บ้านยามชายแดน”<br />

“Border Guard Village”<br />

ตลอดระยะเวลากว่า 59 ปี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ ์ พระบรมราชินีนาถ<br />

“แม่หลวงของแผ่นดิน” ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกหนแห่ง<br />

ทั่วราชอาณาจักร ไม่ว่าหนทางจะแสนไกลยากลําบากเพียงใด ทรงตรากตรํา<br />

พระวรกาย เสด็จพระราชดําเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎร เพื่อพระราชทาน<br />

ความช่วยเหลือให้แก่พสกนิกรทั่วทุกหมู่เหล่าได้มีโอกาสและมีชีวิตความ<br />

เป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน<br />

พระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ<br />

พระแม่หลวงของปวงชนชาวไทยแผ่ไพศาล พระองค์ได้พระราชทาน<br />

ความช่วยเหลือและทรงรับเป็นพระราชภาระผ่อนเพลาบรรเทาทุกข์เพื่อ<br />

พสกนิกรตลอดมา แม้แต่ราษฎรในถิ่นทุรกันดาร พระองค์ก็ทรงสน<br />

พระราชหฤทัยในความปลอดภัยของราษฎรอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะ<br />

ราษฎรที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน เนื่องจากบริเวณชายแดน<br />

โดยเฉพาะในภาคเหนือมีชนกลุ่มน้อยและชาวไทยภูเขาเผ่า<br />

ต่างๆ อาศัยอยู ่และยังไม่มีความชัดเจนในเรื ่องเขตแดน โดยเฉพาะ<br />

ชายแดนติดต่อกับประเทศเมียนม่าร์ จึงทําให้เกิดปัญหากระทบ<br />

กระทั่งกันตามแนวชายแดนบ่อยครั้ง จากการที่พม่าปราบปรามชนกลุ่มน้อย<br />

ทําให้มีผลกระทบต่อราษฎรที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนต้องโยกย้าย<br />

ถิ่นฐาน นอกจากนี้ ยังมีปัญหาผู้หนีภัยจากการสู้รบ รวมทั้ง การหลบหนี<br />

เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายทําให้การดูแลราษฎรเป็นไปด้วยความยากลําบาก<br />

Over 59 years that Her Majesty Queen Sirikit, “Mother<br />

of the land”, has followed His Majesty King Bhumibol to<br />

throughout the kingdom of Thailand. No matter how far and<br />

rough it is, she has visited people in order to help, give<br />

them opportunity, and provide their better well-beings and<br />

sustainable living.<br />

The Royal Kindness of Her Majesty Queen Sirikit has<br />

been far-flung over the prople. She consistently supports and<br />

takes the responsibility to solace people. Even people in<br />

barren areas, Her Majesty Queen Sirikit concerns about the<br />

security of people, especially those who live alongside the<br />

border.<br />

The border area, especially in the northern region,<br />

has been dwelled by several minorities and Thai hill tribes,<br />

which still has unclear borderline particularly the border areas<br />

adjoined with Myanmar. Many conflicts and combats have<br />

been occurred there. Particularly when Myanmar represses<br />

the minorities at the border, which has effect the people to<br />

immigrate. Moreover, the problems occur from refugees of<br />

the war within Myanmar and illegal immigrants.<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

14


จากสภาพปัญหาดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน<br />

แนวทางการสร้างความมั่นคงพื้นที่ชายแดนในพื้นที่เพ่งเล็งตั้งแต่ช่องทาง<br />

กิ่วผาวอก จังหวัดเชียงใหม่ ถึงอําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน<br />

จากแนวพระราชดําริดังกล่าว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ ์ พระบรมราชินีนาถ<br />

ได้มีพระราชเสาวนีย์กับพลเอกนิพนธ์ ภารัญนิตย์ ผู้อํานวยการโครงการ<br />

พัฒนาตามพระราชดําริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ณ เรือนประทับแรม<br />

ปางตอง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2545 ว่า ให้พิจารณาแนวทาง<br />

ในการดําเนินการจัดตั้งหมู่บ้านในรูปแบบ “บ้านยามชายแดน” ด้าน<br />

ทิศตะวันตกของตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเพื่อพัฒนาราษฎรในพื้นที่ให้เข้มแข็ง<br />

มีส่วนร่วมรักษาอธิปไตยของชาติอย่างมีระบบ ตามแนวพระราชดําริของ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะต้องเป็นหมู่บ้านจัดตั้งใหม่บนเขา<br />

และมีความปลอดภัยพอสมควร เป็นพื้นที่ที่สามารถทําการเกษตรได้<br />

มีแหล่งน้ําและพื้นที่เพียงพอสําหรับราษฎร 40 - 50 ครอบครัว และ<br />

ให้ทหารช่วยเหลือในการจัดตั้งหมู่บ้าน การฝึกอบรม การระวังป้องกัน<br />

การรายงานข่าวสารเพื่อเป็นหูเป็นตาให้กับทางราชการ นอกจากนี้ มูลนิธิ<br />

ส่งเสริมศิลปาชีพจะช่วยสนับสนุนด้านอาชีพอีกด้วย<br />

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ<br />

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ ์ พระบรมราชินีนาถที ่ได้พระราชทานแนวพระราชดําริ<br />

ให้ดําเนินงานโครงการต่างๆ ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ตลอดจน<br />

พระราชกรณีกิจน้อยใหญ่ที่ทรงปฏิบัติในการพระราชทานความช่วยเหลือ<br />

ราษฎรและขจัดปัดเป่าปัญหาของชาติตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทําให้<br />

วิกฤติการณ์ที่เป็นปัญหาในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อ<br />

ความมั่นคงและความผาสุกของคนในชาติเป็นส่วนรวมได้กับการแก้ไข<br />

อย่างทันท่วงที<br />

ปัจจุบันโครงการหมู่บ้านยามชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดําริ<br />

ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มี 4 แห่ง<br />

1. โครงการหมู่บ้านยามชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดําริ<br />

(บ้านปางคอง) อําเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน<br />

2. โครงการหมู่บ้านยามชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดําริ<br />

(บ้านแม่ส่วยอู) อําเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน<br />

3. โครงการหมู่บ้านยามชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดําริ<br />

(บ้านดอยผักกูด) อําเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน<br />

4. โครงการหมู่บ้านยามชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดําริ<br />

(บ้านอาโจ้) อําเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน<br />

For the problems above, His Majesty King Bhumibol<br />

gave an idea to build security within critical border areas.<br />

These critical border areas are from Kiew Pha Wok path,<br />

Chiangmai province to Amphoe Pang Ma Pha, Maehongson<br />

province. According to the king idea or the royal thought,<br />

Her Majesty Queen Sirikit asked General Nipon Pharannit,<br />

the director of Development Project by Royal Thought of<br />

Maehongson Province, at Pang Tong residence on 22 rd<br />

March 2002. to consider how to establish the “Border Guard<br />

Village” at the West of Maehongson province in order<br />

to encourage local people and allow them to systematically<br />

take part in sovereignty protection. The establishment<br />

of the border guard village must be a new location on<br />

mountain with moderate security. The village area should have<br />

enough water sources, and cultivation area for 40-50 families.<br />

Soldiers should support the village establishment, precaution,<br />

training, and information-report to look after things for the<br />

official and The Foundation of the Promotion of Supplementary<br />

Occupations and Related Techniques of Her Majesty Queen<br />

Sirikit of Thailand should give a hand on career sector.<br />

According to the royal kindness of His Majesty King<br />

Bhumibol and Her Majesty Queen Sirikit who give the royal<br />

thought to implement several projects on the Northern of<br />

Thailand. As well as, royal activities which have been done<br />

in order to help people and eliminate national problems.<br />

With these projects carried out, the crisis in the Northern<br />

area, which may affect the public security and overall<br />

well-being of people, is just-in-time resolved.<br />

There are currently 4 places of the Border Guard<br />

Village project by royal thought in Maehongson province<br />

including:<br />

1. Border Guard Village Project by royal thought<br />

(Ban Pang Kong) at Amphoe Pang Ma Pha<br />

2. Border Guard Village Project by royal thought<br />

(Ban Mae Suay Ou), Amphoe Muang.<br />

3. Border Guard Village Project by royal thought<br />

(Ban Doi Pak kood), Amphoe Muang<br />

4. Border Guard Village Project by royal thought<br />

(Ban Ar Jo), Amphoe Pai<br />

15<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


โครงการหมู่บ้านยามชายแดนดําเนินการโดยยึดหลักการมีส่วนร่ว<br />

มของชุมชนตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดําเนินการ ร่วมประเมินผล<br />

และร่วมแก้ไขปัญหาเพื ่อให้ชุมชนมีความพร้อมที ่จะรับการพัฒนา เรียกว่า<br />

“การระเบิดจากข้างใน” เป็นการพัฒนาแบบค่อยเป็นค่อยไป คํานึงถึง<br />

ความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพสังคม และมีความสมดุลกับทรัพยากร<br />

ธรรมชาติเเละสิ่งแวดล้อมของชุมชน มุ่งพัฒนาสู่ชุมชนพึ่งตนเอง ให้สมาชิก<br />

ในชุมชนอยู่ดีมีสุข และส่งผลต่อความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและ<br />

สิ่งแวดล้อม ให้อนุชนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ ทําให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง<br />

มีภูมิคุ้มกันพร้อมที่จะรับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ต่างๆ และสามารถ<br />

ปฏิบัติภารกิจของราษฎรไทยอาสาสมัครหมู่บ้านยามชายแดนได้อย่าง<br />

มีประสิทธิภาพ โดยมีทหารเข้าไปช่วยในด้านการฝึกอบรม การระวัง<br />

ป้องกัน การรายงานข่าวสารเพื่อเป็นหูเป็นตาให้กับทางราชการวัตถุประสงค์<br />

ที ่สําคัญเพื่อการข่าวและความมั่นคงของประเทศ<br />

วันนี้ หมู่บ้านยามชายแดนได้มีการพัฒนาตามแนวทางพระราชดําริ<br />

ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ<br />

จนสามารถดํารงความเป็นหมู ่บ้านยามชายแดนได้ตามจุดมุ ่งหมายเพราะ<br />

ประชาชนในหมู่บ้านนั้น ได้เป็นผู้ดํารงชีวิตอยู่ในผืนป่าอย่างเรียบง่าย<br />

พอใจในชีวิตความเป็นอยู่ ทําหน้าที่รายงานข่าวสารที่เป็นผลดีต่อความมั่นคง<br />

ของชาติ และนี่คือพระราชกรณียกิจหนึ่ง ที่ทั้งสองพระองค์ได้ทรงมอบ<br />

ให้แก่พสกนิกรของพระองค์ถึงแม้จะอยู่ไกลแสนไกลก็ตาม<br />

The implementation of the Border Guard Village by<br />

royal thought is based on community participation including;<br />

brainstorming, planning, implementation, evaluation, and<br />

resolving problems, which can make the community ready<br />

for development. This principle is called “Explosion within”.<br />

It is evolutionary development realizing about aptitude<br />

which should be suitable and compatible with social and<br />

balance with natural resources and environment of community.<br />

The project aims to create autonomous community, allow<br />

community members to live well, and sustain natural<br />

resources and environment for posterity. Consequentially,<br />

the community becomes strong and ready for any critical<br />

impact, and villagers can practice as volunteer border<br />

guard efficiently with the support of soldiers in training,<br />

precaution and also information reported from villagers who<br />

are informants corresponding with the primary objectives:<br />

intelligence and national security.<br />

At present, the current guard village are developed<br />

based on the guideline of royal thought and principles of<br />

King Bhumibol and Queen Sirikit until they can achieve the<br />

goal of Border Guard Village. This is because the people<br />

in such villages are satisfy of their livelihood and live in<br />

the forest with simplicity, meanwhile reporting information<br />

which is beneficial to the national security. This border guard<br />

village is one of many royal activities that the King and the<br />

Queen support people who even live in faraway and barren<br />

locations.<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

16


ความสมดุลและ<br />

ความหลากหลาย<br />

Balance and Diverse<br />

‘ข้าวสังข์หยด’ จังหวัดพัทลุงจาก<br />

ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ถึงพันธุ์ข้าว GI<br />

Sangyod Rice from Phatthalung Province From Indigenous Rice to GI Rice<br />

17<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


“สําหรับข้าวสังข์หยดนี้ ข้าพเจ้าเพิ่งได้ไปพบเข้าที่จังหวัดพัทลุง เมื่อ 2 ปีมาแล้ว<br />

และข้าพเจ้าก็ได้นํากลับมาที่พระตําหนักทักษิณฯ แล้วหุง พอดีกับท่านนายกรัฐมนตรีเมตตาไปเยี่ยมเยียนข้าพเจ้า<br />

และท่านนายกฯ ก็รับประทานข้าวสังข์หยด ซึ่งเป็นข้าวซ้อมมือ แล้วนายกฯ บอกว่าข้าวนี้อร่อย<br />

ทําให้ข้าพเจ้ามีกําลังใจมากและก็ประชาชนทั้งหลายก็มีความภาคภูมิใจ<br />

นอกจากข้าวหอมมะลิก็ยังได้มีข้าวสังข์หยด สีแดงๆ มีผู้ช่วยคิดนําข้าวกล้องหลายชนิดมาผสมกัน<br />

เพื่อหุงเป็นข้าวชนิดใหม่ที่อร่อยและมีคุณประโยชน์มากขึ้น”<br />

พระราชดํารัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 11 สิงหาคม 2548<br />

เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา<br />

“I found Sangyod rice at Phattalung Province two years ago<br />

and brought it back to cook at Taksin Palace. During that time,<br />

the Prime Minister had kindly paid a visit and eaten Sangyod rice with me.<br />

Because he mentioned that the rice was so delicious,<br />

I felt overjoyed and most people felt proud. Besides Jusmine rice,<br />

there is a brand new red variety, which is delicious and full of nutrients.<br />

This is a type of Sangyod rice that was derived<br />

from mixing different kinds of brown rice together.”<br />

The Royal Address by Her Majesty Queen Sirikit on August 11 th , 2005<br />

On the Auspicious Occasion of Her Majesty Queen Sirikit’s Birthday<br />

given at Sala Dusitalai, Chitralada Palace<br />

เส้นทางข้าวพันธุ์สังข์หยด<br />

ข้าวเฉพาะถิ่นเมืองลุง...<br />

ข้อมูลจากกรมการข้าวบันทึกถึงพันธุ์ข้าวสังข์หยด เอาไว้ว่า เป็น<br />

พันธุ์ข้าวเฉพาะถิ่นของจังหวัดพัทลุงที่ชาวใต้รู้จักกันมานานนับ 100 ปี<br />

สมัยก่อนชาวนาปลูกไว้เป็นของกํานัลแก่ผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ<br />

ในเทศกาลหรือวันสําคัญต่างๆ เช่น วันสงกรานต์ขึ้นบ้านใหม่แบบไทย<br />

โบราณ หรือใช้หุงต้มเพื่อทําบุญตักบาตรตามประเพณีนิยม มีคุณสมบัติ<br />

เฉพาะตามลักษณะของข้าวกล้องที่แตกต่างจากพันธุ์ข้าวพื้นเมืองอื่นๆ<br />

ด้วยเมล็ดมีเยื่อหุ้มสีแดง เรียวเล็ก นิยมบริโภคในรูปแบบข้าวซ้อมมือ<br />

และข้าวกล้อง<br />

ปี พ.ศ. 2525-2529 ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าว<br />

พื้นเมืองในภาคใต้ 1,997 สายพันธุ์ มีพันธุ์ข้าวสังข์หยดจาก 3 แหล่ง<br />

ได้แก่ สังข์หยด (KGTC82045) จากตําบลโคกทราย อําเภอปากพะยูน<br />

จังหวัดพัทลุง สังข์หยด (KGTC82239) จากตําบลท่ามะเดื่อ อําเภอ<br />

บางแก้ว จังหวัดพัทลุง และสังข์หยด (KGTC82267) จากตําบลควนขนุน<br />

อําเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เมล็ดพันธุ์ที่รวบรวมได้ส่วนหนึ่งถูกส่งไป<br />

อนุรักษ์ที่ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติศูนย์วิจัยข้าว<br />

ปทุมธานี และส่วนหนึ่งปลูกรักษาพันธุ์ในศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง<br />

Sangyod Rice: an Indigenous<br />

Rice Species of Muang Lung<br />

According to data from the Department of Rice,<br />

Sangyod rice is an indigenous rice species of Patthalung,<br />

which has been well-known for more than 100 years.<br />

In the old days, this rice was grown as a gift to be<br />

presented to respected elderly people at special occasions or<br />

festivals such as Songkran, traditional house warming<br />

parties or for cooking for merit making activities. Although<br />

this rice possesses some specific characteristic of brown rice,<br />

the differences can be seen in the seed, which is covered<br />

with red fibres and has an elongated shape. It can be<br />

cooked the same way as brown rice.<br />

From 1982-1986, the Patthalung Rice Research Center a<br />

total of 1,997 rice species in the South. Sangyod rice was<br />

collected from three different places: Sangyod (KGTC82045)<br />

from KokeSai Sub-district, Pak Payoon District, Pattalung<br />

Province; Sangyod (KGTC82239) from Tha Maduea Sub-district,<br />

Bang-Keow District, Pattalung Province; and Sangyod<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

18


ฤดูทํานาปี พ.ศ. 2531/32 มีการคัดเลือกพันธุ ์สังข์หยด (KGTC82239)<br />

จากแหล่งเก็บตําบลท่ามะเดื่อ อําเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง โดยคัดเลือก<br />

แบบหมู่ (mass selection) จนได้สายพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239-2)<br />

ซึ ่งมีลักษณะเมล็ดเล็กเรียวยาว แต่จุดเปลี ่ยนสําคัญเกิดขึ ้นในปี พ.ศ. 2543<br />

เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดําริให้ตั้ง<br />

โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดําริ จังหวัดพัทลุง ขึ้นที่ตําบลนาปะขอ<br />

อําเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงซึ่งได้รับมอบหมาย<br />

ให้รับผิดชอบแปลงนาในโครงการฯ จึงทดลองปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยดและ<br />

ถวายข้าวสังข์หยดแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่<br />

24 <strong>กันยายน</strong> 2546 ปรากฏว่าเป็นที่ทรงโปรด<br />

ต่อมา ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ได้ยื่นคําขอหนังสือรับรองพันธุ์พืช<br />

ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 โดยกรมวิชาการ<br />

เกษตรได้ประกาศออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนชื่อพันธุ์ “ข้าว<br />

สังข์หยดพัทลุง” เมื่อวันที่ 4 <strong>กรกฎาคม</strong> 2548 และเสนอคําขอ<br />

ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน<br />

2549 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546<br />

ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ โดยใช้ชื่อสินค้าว่า<br />

“ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง”<br />

ด้วยคุณสมบัติพิเศษ ลักษณะข้าวกล้องสีแดง รูปร่างเมล็ดเรียว<br />

ความยาวเมล็ดข้าวกล้อง 6.70 มิลลิเมตร ข้าวซ้อมมือมีสีแดงปนสีขาว<br />

เมื่อขัดสีแล้วบางเมล็ดมีสีขาวใส แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะขาวขุ่น คุณสมบัติ<br />

การหุงต้มดี ลักษณะข้าวหุงสุกนุ่ม มีความคงตัวของแป้งสุกอ่อน (94<br />

มิลลิเมตร) ปริมาณอมิโลสต่ํา (15.28-2.08%) ลักษณะทรงต้นสูง 140<br />

เซนติเมตร<br />

(KGTC82267) from Khuan-khanun Sub-district, Khao-chaison<br />

District, Phattalung Province. Certain parts of the collected<br />

seeds were sent to be preserved at the Germplasm Bank,<br />

Pathumthani Rice Research Center and some other parts<br />

were kept at the Phattalung Rice Research Center.<br />

During the rice growing season in 1978-1979,<br />

Sangyod (KGTC82239) breeder seeds were selected from<br />

the rice stock at Tamadae Sub-district, Bangkaew District,<br />

Phattalung Province, through mass selection. This produced<br />

Sangyod (KGTC82239-2) breeders, which have elongated<br />

seeds. However, the significant change happened during<br />

2000 when Her Majesty the Queen initiated the Royal<br />

Farm Project at Phattalung Province, Napakor Sub-district,<br />

Bang Kaew District, Phattalung Province by assigning the<br />

Phattalung Rice Research Center to tend rice plots in<br />

the project. Sangyod rice was grown and the harvested<br />

rice was presented to Her Majesty the Queen on September<br />

24 th , 2003. This rice has become the Queen’s favourite.<br />

Later, the Phattalung Rice Research Center petitioned<br />

for this rice breeder to be registered in accordance with the<br />

Plant Offspring Act B.E. 2518 (1975) and subsequently received<br />

a letter of approval to register seeds under the name<br />

“Sangyod Muang Phattalung Rice” on July 4 th , 2005 and<br />

also submitted the petition for GI (Geographical Indication)<br />

registration on June 23 rd , 2006 to comply with the GI<br />

(Geographical Indication) Act of the Intellectual Property<br />

Department, Ministry of Commerce under the name “Sangyod<br />

Muang Phattalung Rice.”<br />

19<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


ข้าวสังข์หยดมีกากใยอาหารสูงเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย<br />

มีวิตามินอีช่วยชะลอความแก่ มีโปรตีน ธาตุเหล็กและฟอสฟอรัส<br />

ช่วยในการบํารุงโลหิต บํารุงร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันโรคความจําเสื่อม<br />

และยังมีสารแอนติออกซิแดนท์จําพวก oryzanol และ gama<br />

aminbutyric acid (GABA) ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง<br />

ทําให้ในปัจจุบัน ข้าวสังข์หยดได้รับความนิยม แม้จะมีราคาที่แพงเมื่อ<br />

เปรียบเทียบกับข้าวสายพันธุ์อื่นๆ<br />

คุณสําเริง แซ่ตัน นักวิชาการเกษตรชํานาญการพิเศษจากศูนย์วิจัย<br />

ข้าวพัทลุง กล่าวว่า สํานักงานเกษตรจังหวัดพัทลุงวางยุทธศาสตร์<br />

พัฒนาข้าวพันธุ์พื้นเมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ในระยะแรกข้าวสังข์หยด<br />

ราคาประมาณ 7,000 บาท/เกวียน ต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้น<br />

เพราะสามารถปลูกในพื้นที่โซนข้าวเฉี้ยงได้ทุกแปลง ปี พ.ศ. 2550<br />

มีการปลูกข้าวสังข์หยดประมาณ 15,000 ไร่ ผลผลิตประมาณ<br />

450-500 กิโลกรัม/ไร่ ราคาประมาณ 15,000 บาท/เกวียน ราคาส่งอยู่ที่<br />

25-30 บาท/กิโลกรัม ส่วนราคาในห้างสรรพสินค้าอยู่ที่กิโลกรัมละ<br />

40-45 บาท และตลาดมีความต้องการมากจนผลิตกันไม่ทันและไม่พอเพียง<br />

ต่อความต้องการของตลาดและผู้บริโภค คาดว่าในปี พ.ศ. <strong>2552</strong><br />

ราคาจะขยับขึ้นถึง 20,000 บาท/เกวียน<br />

With its specific attributes, Sangyod Muang Phattalung<br />

Rice is a combination of red colored brown rice with<br />

an elongated shape 6.70 millimeters in length for the rice<br />

seed. Unpolished rice grains have reddish white colored,<br />

some of which turn clear white after polishing but most<br />

remain cloudy. This rice can be cooked easily and produces<br />

soft cooked rice with a partially cooked flour (94 millimeters)<br />

and low amilos (15.28-2.08%) in the shape of a tall tree. It<br />

helps to nourish the blood supply and strengthens the body<br />

as well as preventing Alzheimer’s disease and providing full<br />

measures of antioxidants, namely, oryzanol and gamma<br />

aminbutyric acid (GABA), which are said to reduce the risk<br />

of cancer. At present, Sangyod Rice is quite popular, despite<br />

being higher priced compared to other rice species.<br />

According to Mr. Samrueng Saetun, an agricultural<br />

technical officer, senior professional level from the<br />

Phatthalung Rice Research Center, Phattalung Agricultural<br />

Office planned a strategy to develop indigenous rice<br />

species since 2005. At first, Sangyod rice had an<br />

estimated cost of 7,000 baht/cart. Later, rice growing areas<br />

were expanded because Sangyod rice could be grown<br />

in all Chiang Rice plots. In 2007, Sangyod rice was grown<br />

across an estimated 15,000 rais with estimated yields of<br />

450-500 kilograms/rai at an estimated price 15,000 baht/cart<br />

and wholesale price of 25-30 baht/kilogram. The price in<br />

department stores averages 40-45 baht per kilogram. The<br />

market demand for Sangyod rice is extremely high to the<br />

extent that production cannot keep up with market and<br />

consumer demand. It is anticipated that, in 2009, its price<br />

would reach 20,000 baht/cart.<br />

Mr. Samrueng further stated that, even though the price of<br />

Sangyod rice had not been guaranteed by the government,<br />

farmers in Payoon District could sell Sangyod rice at<br />

higher than the expected guaranteed price by directly<br />

selling to outside merchants while the rice plants were still<br />

growing in the field. For old reserved rice, its price could be as<br />

high as 17,000 baht per cart. It is anticipated that, in 2009, all<br />

Sangyod rice production at Pak Payoon District would reach<br />

250 carts. However, this would still be lower than last year’s<br />

production of 300 carts because some rice paddies were<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

20


คุณสําเริงกล่าวต่อไปว่า ข้าวสังข์หยดเป็นชนิดข้าวที่รัฐบาลไม่ได้รับ<br />

จํานํา แต่เกษตรกรในอําเภอปากพะยูน สามารถขายข้าวเปลือกสังข์หยด<br />

ได้สูงกว่าราคารับจํานํา โดยมีพ่อค้าจากต่างถิ ่นมากว้านซื ้อข้าวสดในแปลงนา<br />

หากเป็นข้าวเก่าจะมีราคาสูงถึงเกวียนละ 17,000 บาท คาดว่า ผลผลิต<br />

ข้าวสังข์หยดของทั้งอําเภอปากพะยูน ในปี พ.ศ. <strong>2552</strong> จะมีประมาณ<br />

250 เกวียน โดยลดลงจาก<strong>ปีที่</strong>แล้วที่ผลิตได้ถึง 300 เกวียน เพราะพื้นที่<br />

นาข้าวบางส่วนได้รับผลกระทบจากน้ําท่วม ทําให้มีพื้นที่เก็บเกี่ยวไม่ถึง<br />

600 ไร่ ราคาผลผลิตข้าวที่สูงขึ้นทําให้มีการตื่นตัวที่จะปลูกข้าวสังข์หยด<br />

มากขึ้น ในฤดูกาลผลิตปี พ.ศ. <strong>2552</strong>/53 พื้นที่ปลูกข้าวสังข์หยด<br />

และราคาต่อเกวียนในอําเภอปากพะยูนจึงคาดว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่าง<br />

หลีกเลี่ยงไม่พ้น<br />

ข้าวสังข์หยด เมืองพัทลุง<br />

จากข้าวท้องถิ่นสู่ข้าวสายพันธุ์ GI...<br />

จังหวัดพัทลุงถือว่าเป็นเมืองอู่ข้าวอีกจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้เพราะมี<br />

พื้นที่ปลูกข้าวเป็นอันดับ 2 รองจากจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจังหวัด<br />

พัทลุงมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 549,978 ไร่ นาปรัง 99,484 ไร่ มีผลผลิตรวม<br />

274,450 ตัน มูลค่า 984.21 ล้านบาทปัจจุบัน มีการปลูกข้าวสังข์หยด<br />

9,300 ไร่ ผลผลิต 3,000 ตัน มูลค่า 15 ล้านบาท คิดเป็น 1.7 เปอร์เซ็นต์<br />

ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งจังหวัด<br />

คุณสําเริง เล่าว่า ข้าวสังข์หยดมีหลายตํานาน มีการเล่าขานเอาไว้<br />

มากมายหลายเรื่องราว ตํานานที่เล่าให้กันฟังบ่อยๆ เชื่อว่าเมื่อก่อน<br />

ข้าวสังข์หยดไม่ได้เขียนอย่างในปัจจุบัน แต่เขียนว่า “ข้าว สัง หยด”<br />

คําว่า สัง หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่ง คนภาคใต้ออกเสียงว่า “มูสัง”<br />

ในภาษาถิ่น หรือชะมดในภาษาภาคกลาง ตํานานกล่าวเอาไว้ว่า ชะมด<br />

หรือมูสังจะหยุดนิ่ง เมื่อมาเจอแปลงข้าวสังข์หยด คนในภาคใต้กล่าว<br />

ด้วยสําเนียงท้องถิ่นว่า ข้าวสังหยุด ก่อนจะเพี้ยนเสียงมาเป็นข้าวสังข์หยด<br />

อย่างเช่นในปัจจุบัน<br />

affected by floods and only 600 rais of Sangyod rice could<br />

then be harvested. The higher price of Sangyod rice has<br />

motivated farmers to grow more of that product. In the<br />

production year 2009/2010, it is being expected that both<br />

the growing areas will expand and that the price of<br />

Sangyod rice will rise sharply.<br />

Sangyod Muang Phattalung Rice:<br />

from Indigenous Species to GI Rice<br />

Phattalung Province is considered to be one of<br />

Thailand’s leading food production areas in the South<br />

of the Kingdom; the rice growing area there is ranked<br />

second only to Nakhorn Si Thammarat. Phattalung grows<br />

seasonal rice in 549,978 rais of land and off-season<br />

rice in 99,484 rais of paddy fields, with an overall<br />

production of 274,450 tons worth 984.21 million baht. At<br />

present, there are 9,300 rais of Sangyod rice with a yield of<br />

3,000 tons worth 15 million baht, which is as much as 1.7<br />

percent of the total rice growing area of the province.<br />

Mr. Samrueng recounted many legends of Sangyod<br />

rice, with the most well-known story being that of the<br />

naming of Sangyod rice. Previously, Sangyod rice was written as<br />

“Sang Yod Rice,” which represented a certain type of<br />

animal. Indigenous southern people pronounce the word<br />

as “Moo Sung” and it is “Civet” in the central region. The<br />

legend claimed that Chamod or Moo Sung would not<br />

enter Sangyod rice plots. Later, people in the South called it<br />

“Sangyud” before its current pronunciation as “Sangyod.”<br />

In 2006, Sangyod Muang Phatthalung Rice was<br />

declared to be Geographical Indication (GI) merchandize in<br />

accordance with the Geographical indicator protection Act<br />

B.E. 2546 (2003) under the formal name of “Sangyod<br />

Muang Phattalung Rice” (June 23 rd , 2006, Registration No. Sor<br />

Chor 49100011). It is considered to be the first rice breed to<br />

receive full community protection.<br />

21<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


ในปี พ.ศ. 2549 ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงได้รับคําประกาศรับรอง<br />

ให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ Geographical Indication (GI)<br />

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 โดย<br />

ใช้ชื่อว่า “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง (Sangyod Muang Phatthalung<br />

Rice)” (23 มิถุนายน 2549, ทะเบียนเลขที่ สช 49100011) นับเป็น<br />

ข้าวพันธุ์แรกในประเทศไทยที่ได้รับการคุ้มครองสิทธิประโยชน์แก่ชุมชน<br />

ผู้ผลิต<br />

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือ ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งซึ่ง<br />

เป็นชื ่อของแหล่งภูมิศาสตร์ที ่ใช้กับสินค้าใดสินค้าหนึ ่งซึ ่งเชื ่อมโยงระหว่าง<br />

สินค้ากับแหล่งภูมิศาสตร์และระบบวัฒนธรรมหนึ่ง ทั้งในด้านปัจจัย<br />

ธรรมชาติ (ดิน-น้ํา-ลม-ไฟ) และปัจจัยอันเกิดจากมนุษย์ (ภูมิศาสตร์<br />

เฉพาะถิ่น ระบบวัฒนธรรม) ที่เกิดขึ้นมาช้านาน มีเอกลักษณ์เฉพาะพื้นที่<br />

ทั้งที่เกิดขึ้นในประเทศและต่างประเทศ<br />

ทั้งนี้ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีลักษณะสําคัญ คือ 1. ถือเป็นทรัพย์สิน<br />

ทางปัญญาประเภทหนึ่ง 2. มีความเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติและมนุษย์<br />

3. เน้นผู้ผลิตกับพื้นที่ผลิต/ทรัพยากรในพื้นที่ 4. สินค้ามีเอกลักษณ์พิเศษ<br />

แตกต่างจากสินค้าชนิดเดียวกัน 5. ผู้บริโภคมั่นใจและพึงพอใจที่จะซื้อ<br />

สินค้าในราคาที่สูงกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่ผลิตจากที่อื่น<br />

Geographical indications are one way of identifying<br />

Intellectual Property. This can involve identifying geographical<br />

sites linked with production of certain items, especially<br />

when linked with culturally-specific production methods (e.g.<br />

the soil-water-air-fire cycle), as well as human factors (e.g.<br />

specific geography and cultural systems) that have been in<br />

existence for some time, with unique areas identified both<br />

domestically and overseas.<br />

GI can include such significant geographical features<br />

as the following: 1. Being a certain type of Intellectual<br />

Property; 2. Connecting people with nature; 3. Putting<br />

emphasis on the producers and production areas/area<br />

resources; 4. Having a unique identity distinct from other<br />

instances of the same type of product; 5. Giving consumers<br />

more confidence and satisfaction in buying products even if<br />

they have higher prices.<br />

GI categorization also provided five key benefits:<br />

1. Legal protection for the community to manufacture<br />

good quality products; 2. Adding value to merchandize as<br />

well as being a marketing tool to further develop trade;<br />

3. Motivating local producers to maintain product standards<br />

in order to maintain their own product images; 4. Promoting<br />

local industry to increase and distribute income locally;<br />

5. Building strong community and local pride in preserving<br />

indigenous wisdom as a part of tourism promotion.<br />

Mr. Samrueng also observed that rice is one of the<br />

world’s most important staple foods. Improving Sangyod rice<br />

to become a pure breed would lead to it becoming a<br />

stable and unique product both in height and length that<br />

could be grown and provide the same yield elsewhere, so<br />

long as the control gene was not altered.<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

22


สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ นี้มีประโยชน์หลัก 5 ประการ คือ<br />

1. การคุ้มครองตามกฎหมายให้เป็นสิทธิของชุมชนผู้ผลิตในการพัฒนา<br />

คุณภาพสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น 2. เป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเป็น<br />

เครื่องมือทางการตลาด เพื่อพัฒนาทางด้านการค้าต่อไป 3. กระตุ้น<br />

ให้ผู ้ผลิตในท้องถิ ่นมีการดูแลรักษามาตรฐานของสินค้าเพื ่อรักษาภาพพจน์<br />

สินค้าที่ผลิตจากท้องถิ่นตน 4. ส่งเสริมอุตสาหกรรมท้องถิ่นเพื่อเพิ่มและ<br />

กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น 5. สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและความ<br />

ภาคภูมิใจในการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น และอาจเป็นส่วนหนึ่งของการ<br />

ส่งเสริมการท่องเที่ยว<br />

คุณสําเริงกล่าวว่า ข้าวเป็นเมล็ดธัญญาหารที่สําคัญระดับโลก<br />

สายพันธุ์หนึ่ง การปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดให้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์<br />

หมายความว่า ได้ผลผลิตที่มีลักษณะสม่ําเสมอและมีความเฉพาะถิ่น<br />

ทั้งความสูงของต้นหรือความยาวของเมล็ดจะมีความเสถียร ไม่ว่าจะนํา<br />

ไปปลูกที่ไหนหรือปลูกไปแล้วกี่ปีก็ตาม นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลงยีน<br />

ที่ควบคุมลักษณะของพันธุ์ข้าว<br />

ข้อมูลจากการดําเนินงานของศูนย์สายพันธุ ์ข้าวจังหวัดพัทลุงที ่ได้นํา<br />

พันธุ์ข้าวสังข์หยดแจกจ่ายแก่เกษตรกร ระบุว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548<br />

เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบัน จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่การปลูกข้าวสังข์หยด<br />

ทั้งจังหวัด 12,900 ไร่ มีชาวนาปลูกข้าวชนิดนี้เพิ่มขึ้น 1,900 คน ความ<br />

นิยมเหล่านี้เกิดมาจากลักษณะพิเศษของพันธุ์ข้าว รวมทั้งแรงสนับสนุน<br />

จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถที่ทรงพระราชทาน<br />

วโรกาสให้จัดทําโครงการขยายพื้นที่ทดลองเพาะปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยดจน<br />

ได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่คนพัทลุง<br />

ภาคภูมิใจ<br />

Data from the Phattalung Rice Research Center<br />

mapped the distribution of Sangyod breeder seeds to<br />

farmers since 2005. Now, Phattalung Province grows<br />

Sangyod rice in 12,900 rais of land with a total of 1,900<br />

rice growers. Their preferences resulted from specific features<br />

of Sangyod rice, including the kind support of Her Majesty<br />

the Queen, in expanding test areas for growing this strain<br />

until it became a registered GI product and the pride of<br />

Phattalung.<br />

From Indigenous Rice to<br />

Export Production<br />

In 2005, Khun Saisunee Kaekao, a 40 year-old<br />

Phattalung farmer became one of the first persons to<br />

grow Sangyod rice from improved breeder seeds by the<br />

Phattalung Rice Research Center on 10 rais of land,<br />

later expanded to 200 rais, which provided a good<br />

yield of over 100 tons that benefited consumers and rice<br />

merchants who came to buy rice directly at her plot.<br />

Later, the Sangyod Housewives’ Group was established with<br />

the support of the Provincial Governor, namely Mr. Prajak<br />

Suwannapakdee, to supply Sangyod rice to domestic<br />

markets.<br />

Furthermore, the Sangyod Cooperative was established<br />

so as to distribute rice breeder seeds to members. Now,<br />

the Sangyod Housewives’ Group owns more than 500 rais of<br />

rice plots. As the pioneer of the Sangyod rice growers, Khun<br />

Saisunee realized that Sangyod rice has a softer texture than<br />

regular rice and is suitable for making into highly nutritional<br />

brown rice.<br />

23<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


จากข้าวพื้นบ้านสู่สายการผลิต<br />

เพื่อการส่งออก...<br />

นับจากปี พ.ศ. 2548 คุณสายสุนีย์ เกื้อแก้ว วัย 40 ปี ชาวนา<br />

คนหนึ่งในจังหวัดพัทลุง เป็นบุคคลแรกๆ ที่ปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยดที่ปรับปรุง<br />

พันธุ์โดยศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง จาก 10 ไร่ ขยายเป็น 200 ไร่ ส่งผลผลิต<br />

ตรงแก่ผู้บริโภคและพ่อค้าข้าวที่เข้ามารับซื้อถึงแปลงนาของเธอ จนกระทั่ง<br />

สามารถผลิตข้าวได้มากกว่า 100 ตัน ต่อมาจึงจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านซึ่ง<br />

ผลิตข้าวสังข์หยดและได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น<br />

คือ ท่านประจักษ์ สุวรรณภักดี ให้สามารถผลิตข้าวสังข์หยดป้อนตลาด<br />

ผู้บริโภคทั่วประเทศ<br />

นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสหกรณ์ข้าวสังข์หยดและแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์<br />

แก่สมาชิก จนถึงบัดนี้ สหกรณ์กลุ่มแม่บ้านข้าวสังข์หยดมีพื้นที่แปลง<br />

ข้าวสังข์หยดมากกว่า 500 ไร่ ในฐานะที่เป็นคนแรกๆ ที่ริเริ่มการปลูกข้าว<br />

สังข์หยด คุณสายสุนีย์ เห็นว่า ข้าวสังข์หยดมีความนิ่มกว่าปกติและ<br />

เหมาะที่จะทําข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง<br />

จากประสบการณ์ คุณสายสุนีย์บอกอีกว่า ข้าวสังข์หยดเป็นข้าว<br />

ที่กินน้อยแต่อิ่มนาน เปลือกสีแดงที่หุ้มข้าวสังข์หยดติดอยู่กับรําข้าวและ<br />

ปลายข้าว เมื่อเอาไปเลี้ยงหมูทําให้หมูโตไวและอ้วนพีแต่กลับมีเนื้อติดมัน<br />

น้อย หมูที่คุณสายสุนีย์เลี้ยงไว้มีน้ําหนักกว่า 200 กิโลกรัม แต่เนื้อแทบ<br />

จะไม่ติดมันเลย “มีแต่เนื้อแดงเหมือนกับเนื้อวัว” เธอกล่าว การทดลอง<br />

ให้หมูกินรําข้าวสังข์หยด ทําให้กลุ่มแม่บ้านได้แปรรูปผลิตภัณฑ์รําข้าว<br />

และจมูกข้าวสังข์หยดพร้อมชงดื่มและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี<br />

จากผู้บริโภคทั้งในและต่างจังหวัด<br />

คุณสายสุนีย์ ยกตัวอย่างลูกค้าบางรายซึ่งเป็นอัมพาต จากที่ต้อง<br />

นอนเพียงอย่างเดียว เดินไปไหนไม่ได้ แต่ปัจจุบัน ลูกค้ารายนั้นเข้ามา<br />

เยี่ยมกลุ่มแม่บ้าน บางรายสามีนําภรรยามาซื้อผลิตภัณฑ์จากข้าวสังข์หยด<br />

ครั้งละมากๆ “เค้าบอกว่า ที่ภรรยาเค้าเดินได้เพราะรําข้าวและจมูกข้าว<br />

นี้” คุณสายสุนีย์กล่าวพร้อมรอยยิ้ม<br />

From her own experience, Khun Saisunee observed that<br />

Sangyod rice eaten even in small portions made people feel<br />

full for longer. The red husk that covers rice seeds when<br />

mixed with other rice species and rice ends for feeding<br />

pigs would make them grow quicker, stronger and bigger<br />

with less or almost no fat such that some pigs weighed<br />

over 200 kilograms. Khun Saisunee stated that they have<br />

“only red meat similar to beef.” Moreover, test feeding<br />

pigs with Sangyod rice bran had led the housewives’ group<br />

to convert to Sangyod rice bran and to brew products that<br />

have become widely accepted among local and outside<br />

consumers.<br />

Khun Saisunee also cited the example of certain clients<br />

who had been paralyzed and confined to bed. Now, those<br />

same people came to visit the housewives’ group and,<br />

also, some husbands bought their wives to purchase lots of<br />

products made from Sangyod rice. She talked about one<br />

client with a smile, “He mentioned to me that his wife was<br />

able to walk because of this rice bran and rice germ.”<br />

Unfortunately, contemporary Sangyod rice growing still<br />

provides lower yields than other rice strains and export<br />

markets refuse to accept contaminated rice. Moreover,<br />

unpredictable weather conditions, such as sudden floods, as<br />

well as unsuitable agricultural systems created some minor<br />

problems. However, improving breeder rice strains must be<br />

continued so that Sangyod rice can enter the export market<br />

with a brighter future. Also, there should be research studies<br />

to learn how to process Sangyod rice into brown rice drinks<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

24


ปัจจุบันข้าวพันธุ์สังข์หยดยังปลูกได้ผลผลิตน้อยกว่าข้าวพันธุ์ทั่ว<br />

ไป ตลาดส่งออกยังไม่เป็นที่ยอมรับเพราะการส่งออกข้าวเมล็ดขาวจะต้อง<br />

ไม่มีการปนเปื้อน หรือดินฟ้าอากาศที่ปรวนแปร เช่น สภาพน้ําท่วม<br />

ฉับพลันกับระบบการเกษตรที่ยังไม่ดีพร้อมจะเป็นปัญหาอุปสรรคอยู่บ้าง<br />

แต่การพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์และการเกษตรแบบครบวงจรจะต้องไม่<br />

หยุดนิ่งเพื่อช่วยให้ข้าวสังข์หยดก้าวสู่ตลาดข้าวเพื่อการส่งออกได้อย่าง<br />

แจ่มใสในอนาคต นอกจากนี้ ยังต้องการผลงานศึกษาเชิงวิจัยเพื่อการ<br />

แปรรูปข้าวสังข์หยดให้เป็น น้ําข้าวกล้อง น้ํามันรําข้าว โดยพัฒนา<br />

กรรมวิธีร่วมกับกลุ่มแม่บ้าน เช่น กลุ่มแม่บ้านของคุณสายสุนีย์เป็นต้น<br />

แบบในการผลิต โดยมีการเชื่อมโยงตลาดท้องถิ่น พัฒนาเครือข่ายและ<br />

ผลิตเป็นสินค้า OTOP<br />

ปัจจุบัน มีผู้ผลิตในจังหวัดพัทลุงมากมาย อาทิ สหกรณ์การเกษตร<br />

เพื่อการตลาด (สกต.) จังหวัดพัทลุง กลุ่มผลิตข้าวซ้อมมือ-นาขยาด<br />

กลุ่มผลิตข้าวซ้อมมือควนขนุนกลุ่มข้าวซ้อมมือ-บ้านไสกุน กลุ่มผลิตข้าว<br />

ซ้อมมือ-ปากพะยูน กลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวซ้อมมือบ้านนาหม่อม ที่พร้อมจะ<br />

เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาข้าวสายพันธุ์นี้<br />

ถึงวันนี้<br />

ข้าวสังข์หยด ข้าวพันธุ์พื้นเมือง จังหวัดพัทลุง กําลังก้าวเข้าสู่<br />

ตลาดข้าวโลกด้วยแผนพัฒนาข้าวครบวงจรของกรมการข้าว มีแนวโน้ม<br />

ที่สดใสแจ่มชัด ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์<br />

พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงทอดพระเนตรเห็นถึงความสําคัญของการปรับปรุง<br />

พันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้ก้าวสู่ทศวรรษใหม่ บวกกับแรงกายแรงใจของชาวนา<br />

จังหวัดพัทลุงที่ไม่ละทิ้งภูมิปัญญาและวิถีชาวนาของบรรพบุรุษที่สืบทอด<br />

กันมายาวนานและทําให้สังคมไทยดํารงอยู่ได้จวบจนทุกวันนี้<br />

and rice bran oil by developing methods together with the<br />

Housewives’ groups, such as Khun Saisunee’s housewives’<br />

group, as a production model to link local markets with<br />

network development so as to become an OTOP brand.<br />

Presently, many producers in Phattalung Province,<br />

such as the Phattalung Agricultural Marketing Cooperative,<br />

Nakayad Brown Rice Producers’ Group, Quankanun Brown<br />

Rice Producers’ Group, Ban Saikun Brown Rice Producers’<br />

Group, Pakpayoon Brown Rice Producers’ Group and Ban<br />

Namon Brown Rice Producers’ Group are ready to take part<br />

in developing this rice breeder.<br />

The Present<br />

Sangyod Rice, an indigenous rice strain of Phattalung<br />

Province, is entering the world market with complete<br />

development plan of the Phattalung Rice Department,<br />

with a bright future thanks to the kindness of Her<br />

Majesty the Queen, who foresaw the urgent need to<br />

improve indigenous rice breeder strains ready for the next<br />

decade. This combines the strong spirit of Phattalung’s<br />

farmers in preserving their ancestors’ wisdom and traditions<br />

descending from one generation to another that continues<br />

to sustain Thai society.<br />

25<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


ความสมดุลและ<br />

ความหลากหลาย<br />

Balance and Diverse<br />

คืนกล้วยไม้สู่ป่าในโครงการพระราชดําริ<br />

Orchids Replanted in Jungle: the Royal Development Project<br />

ประเทศไทยนอกจากจะเป็นประเทศส่งออกกล้วยไม้เขตร้อน<br />

อันดับ 1 ของโลก นํารายได้เข้าประเทศกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี แล้ว<br />

ประเทศไทยยังเป็นบ้านหลังใหญ่ของกล้วยไม้รองเท้านารีหลากชนิด<br />

ซึ่งชนิดที่ค้นพบในประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ต่อ 4 ของกล้วยไม้<br />

รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum ทั้งหมดบนโลก<br />

สีสันและลวดลายของดอก ใบอันงดงามแปลกตา อีกทั้งความคงทน<br />

ของดอกซึ่งมีอายุนานถึง 45 วัน กว่าจะโรยรา ลักษณะดอกที่มีกลีบปาก<br />

งองุ้มเข้าหากันเป็นกระเปาะคล้ายกระเป๋า หรือรองเท้าบูทของผู้หญิง<br />

ชาวยุโรปโบราณ ดังนั้น จึงไม่เพียงแต่ล่อใจเหล่าแมลงให้ชวนมาผสมพันธุ์<br />

ถ่ายละอองเกสรเท่านั้น ยังดึงดูดให้ผู้คนหันมาสนใจปลูกมากขึ้น และ<br />

ด้วยสนนราคาที่ค่อนข้างสูง ทําให้มีการปลูก ปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์<br />

เพื่อการค้ากันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ นี่เองจึงเป็นสาเหตุ<br />

สําคัญของการลักลอบนํากล้วยไม้รองเท้านารีออกจากป่าจนกระทั่ง<br />

เกือบจะสูญพันธุ์ไปในที่สุด<br />

Being the world’s number one tropical orchid exporter,<br />

with generates incomes of over 3 billion baht annually,<br />

Thailand is home of orchids specifically Lady’s Slipper orchids.<br />

There are one fourth of genus Paphiopedilum found in the<br />

country comparing to the total that found on earth.<br />

Lady’s Slipper Orchids are beautiful flowers with vivid<br />

colors and exotic shapes that bloom for as long as 45 days.<br />

This flower has a pouch like or slipper-shaped lip similar to<br />

the shoes once worn by european women. Lady’s Slipper<br />

pouches attract insects to pollinate the flowers as well as<br />

proving delightful for people. Owing to high prices, Lady’s<br />

Slipper orchids have become popular commercial plants with<br />

improved and extended species grown for both domestic<br />

and overseas sales. This has contributed to over-exploitation<br />

of the species in its natural habitat and has caused Lady’s<br />

Slipper Orchids to become nearly extinct in the wild.<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

26


โครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีดอยอินทนนท์<br />

ตามแนวพระราชดําริฯ<br />

ณ ยอดดอยจุดสูงที่สุดของประเทศไทยและภายใต้ผืนป่าดิบ<br />

ดึกดําบรรพ์อันกว้างใหญ่ ความเขียวขจีและอากาศเย็นบริสุทธิ์แสดง<br />

ให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ไม้นานาชนิดที่ปกคลุมอยู่รายล้อม<br />

รอบบริเวณ ในอดีตหลังเส้นทางเล็กๆ ที่ตัดเข้าป่าลึกอันชุ่มชื้นและ<br />

หนาวเย็น ที่นี่เป็นที่แรกที่ได้ค้นพบ “กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์”<br />

รวมไปถึงกล้วยไม้และพันธุ์ไม้ป่าที่สวยงามและหายากยิ่งนัก ทว่าปัจจุบัน<br />

ดอยอินทนนท์กลับไม่หลงเหลือพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีในป่าธรรมชาติ<br />

ให้เห็นอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น บนพื้นที่ 30 ไร่ สูงกว่าระดับน้ําทะเล<br />

1,665 เมตร จึงเป็นที่ตั้งของโครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี<br />

ดอยอินทนนท์ตามแนวพระราชดําริฯ ซึ่งได้ตกแต่งภูมิทัศน์ไว้ได้อย่าง<br />

งดงามชวนมองในลักษณะของสวนหินและพันธุ์ไม้ต่างๆ มากมาย และ<br />

ได้รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีจากทั่วประเทศมาทําการเพาะเลี้ยง<br />

และจัดตกแต่งสวนไว้อย่างสวยงาม<br />

คุณณัฐวุฒิ มณีรัตนชัยยง เจ้าหน้าที่โครงการฯ ได้เล่าถึงความเป็นมา<br />

ของโครงการ ซึ่งเกิดขึ้นจากพระราชดําริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์<br />

พระบรมราชินีนาถที่ทรงเล็งเห็นถึงคุณค่าของการอนุรักษ์สายพันธุ์<br />

กล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย โดยทรงมีพระราชดําริ<br />

ให้ดําเนินการอนุรักษ์ขยายพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีเพิ่มเติม ดังนั้น<br />

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จึงได้จัดทําโครงการอนุรักษ์<br />

พันธุ์ไม้กล้วยไม้รองเท้านารีขึ้น ณ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์<br />

ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ<br />

ระบบนิเวศวิทยาของพันธุ์ไม้ดังกล่าว และใช้เป็นสถานีเพาะชําและขยาย<br />

พันธุ์ โดยได้นําพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีที่เป็นต้นกล้ามาอนุบาลไว้และ<br />

ขยายพันธุ์ เพื่อรองรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและ<br />

การคืนพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีกลับสู่ป่าธรรมชาติตามเดิม<br />

Inthanon Lady’s Slipper Orchid Conservation Project:<br />

the Royal Development Project<br />

At the very top of the highest mountain (Doi) in<br />

Thailand and its vast jungle, the lush green plants and<br />

cool breeze show the fertility and abundant flora of the<br />

surrounding areas. Back in the past, along the small trails<br />

leading to the tropical rain forest, “Lady’s Slipper Inthanon”<br />

was found here, as well as exotic orchids and other rare<br />

flora. Unfortunately, wild Lady’s Slipper Orchids are now<br />

nowhere to be seen at Doi Inthanon. Consequently, the<br />

Inthanon Lady’s Slipper Orchid Conservation Project has<br />

been established in accordance with the Royal Development<br />

Project, on 30 rais of land with beautiful landscape,<br />

decorated with rock gardens and many plants, located 1,665<br />

meters above sea level. Lady’s Slipper Orchids from all over<br />

the country have been collected and are being grown here<br />

in beautiful decorated gardens.<br />

Mr. Nattavut Maneerattanachaiyong, the Project<br />

Officer, talked about the background of the project initiated<br />

by Her Majesty Queen Sirikit, who has foreseen the value of<br />

preserving indigenous Lady’s Slippers Orchids as well as<br />

supporting the expansion of Lady’s Slippers species. As a result,<br />

the Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation<br />

set up the Lady’s Slipper Conservation Project at Doi<br />

Inthanon National Park, Ban Luang Sub-district, Jomthong<br />

District, Chiang Mai Province to conduct study and research<br />

concerning the ecological systems of such species as well<br />

as using the place as a nursery. Many Lady’s Slipper Orchids<br />

seedlings are propagated to preserve biological diversity so<br />

as one day to return Lady’s Slipper Orchids to their natural<br />

habitats.<br />

27<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


มารู้จัก “กล้วยไม้รองเท้านารี” เสน่ห์ความงามแห่งยอดดอย<br />

อันที่จริงกล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum spp.<br />

เป็นพันธุ์ไม้ดอกที่ค่อนข้างปลูกยาก เติบโตช้าและใช้เวลานาน โดยรวม<br />

ต้องใช้เวลากว่า 5 ปี จึงจะออกดอก ในสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ<br />

ที่เหมาะสมซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญต่ออัตราการรอดและเจริญเติบโตของ<br />

พืชอนุรักษ์พันธุ์นี้ โดยธรรมชาติกล้วยไม้รองเท้านารีเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย<br />

มักขึ้นตามที่สูงบนต้นไม้ใหญ่หรือตามซอกผาหินและพื้นดินที่มีซากใบไม้<br />

ผุทับถมอยู่เป็นเวลานานหลายปี อีกทั้งเติบโตอยู่ในระดับความสูง<br />

ที่สูงกว่าระดับน้ําทะเลปานกลางมาก ซึ่งคุณณัฐวุฒิได้เล่าให้ฟังว่า<br />

“โดยธรรมชาติกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์มันจะอยู่ข้างล่าง<br />

ไม่รอด เพราะต้องอยู ่ในที ่สูงระดับ 1,000 เมตร ขึ ้นไป ถ้านําไปปลูกข้างล่าง<br />

จะตาย ฉะนั้นที่เขานําไปซื้อขายกันจึงปลูกไม่รอด แต่ที่ยังมีการลักลอบ<br />

อยู่เรื่อยๆ เนื่องจากคนส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลนี้”<br />

และยังกล่าวเสริมอีกว่า “กล้วยไม้รองเท้านารีชอบความชื้นสูง<br />

อุณหภูมิต่ํา โดยเฉพาะที่ดอยอินทนนท์ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ําทะเล<br />

ปานกลางถึง 1,600 - 2,000 เมตร จึงเป็นแหล่งอาศัยของกล้วยไม้<br />

รองเท้านารีที่เหมาะสมที่สุด”<br />

Appreciating Lady’s Slipper Orchids Exotic Highland<br />

Beauty<br />

According to Mr. Nattayut, Lady’s Slipper Orchids<br />

(Paphiopedilum spp.) grow slowly. It usually take more than<br />

five years for the flower to bud. Proper environment and<br />

climate are considered crucial factors for the survival and<br />

growth of this species. Normally, Lady’s Slipper Orchids are<br />

Ephiphytic Orchids that grow on the top of big trees,<br />

between the cracks of a cliff or in areas full of long<br />

decayed leaves much higher than sea level.<br />

“Normally, Inthanon Lady’s Slipper Orchids cannot<br />

survive down below because they must be grown 1,000<br />

metres above sea level. However, smuggling such orchids<br />

out of the area occurs frequently because people are not<br />

aware of this fact.”<br />

He further observed that “Lady’s Slipper Orchids<br />

prefer extremely high humidity with a rather cool temperature,<br />

which is especially true of Doi Inthanon, which is some<br />

1,600 - 2,000 meters above sea level and very suitable for<br />

the flowers.”<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

28


สําหรับการขยายเพาะพันธุ์ สามารถทําได้ 3 วิธี คือ เพาะจาก<br />

เมล็ดที่มีลักษณะเป็นฝักโดย เมล็ด 1 ฝัก มีจํานวน 10,000 - 100,000<br />

เมล็ด และจะมีชีวิตรอดเพียง 10 ต้น นอกจากนี้ ยังเพาะพันธุ์โดยวิธี<br />

แยกหน่อและเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแต่รอดยาก โครงการฯ จึงใช้วิธีเพาะจาก<br />

เมล็ด โดยการผสมเมล็ดให้เกสรติด จากนั้นจึงนําไปให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้<br />

เพาะปั่นเมล็ด แล้วนํามาขยายพันธุ์อนุบาลต่อ<br />

ในปัจจุบันมีการค้นพบกล้วยไม้รองเท้านารี สกุล Paphiopedilum<br />

spp. สายพันธุ์แท้ในประเทศไทยทั้งหมด 17 ชนิด ซึ่งจัดเป็นพืชอนุรักษ์<br />

ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (<strong>ฉบับที่</strong> 2) พ.ศ.2535 อันได้แก่<br />

Plant propagation can be managed in three ways. The<br />

first is to take seedlings from a pod. Within a single pod,<br />

there are about 10,000 - 100,000 seeds but only ten of the<br />

plants survive. The second, by dividing the shoot and lastly<br />

by cultured tissue, which is rather difficult for the plant to<br />

survive. So, the project chooses the third method seedlings<br />

by mixing seeds with pollen before giving them to Mae Jo<br />

University to grow and expand the species.<br />

Until now, the following 17 pure breeds of Lady’s<br />

Slipper Orchids (Paphiopedilum spp.) have been found and<br />

are classified as conserved plants under the protection of<br />

the Plant Act (No.2) B.E. 2535 (1992)<br />

1. รองเท้านารีคางกบ (Paphiopedilum callosum)<br />

2. รองเท้านารีดอยตุง (Paphiopedilum charlesworthii)<br />

3. รองเท้านารีอินทนนท์ (Paphiopedilum villosum)<br />

4. รองเท้านารีขาวชุมพร (Paphiopedilum godefroyae)<br />

5. รองเท้านารีขาวสตูล (Paphiopedilum niveum)<br />

6. รองเท้านารีอินซิกเน่ (Paphiopedilum insigne)<br />

7. รองเท้านารีปีกแมลงปอ (Paphiopedilum sukhakulii)<br />

8. รองเท้านารีช่องอ่างทอง (Paphiopedilum ang thong)<br />

9. รองเท้านารีเกาะช้าง (Paphiopedilum siamensis)<br />

10. รองเท้านารีคางกบคอแดง (Paphiopedilum appletonianum)<br />

11. รองเท้านารีม่วงสงขลา (Paphiopedilum barbatum)<br />

12. รองเท้านารีฝาหอย (Paphiopedilum bellatulam)<br />

13. รองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor)<br />

14. รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilum exull)<br />

15. รองเท้านารีเหลืองตรัง (Paphiopedilum godefroyae var.leucochilum)<br />

16. รองเท้านารีเหลืองเลย (Paphiopedilum hirsutissimum)<br />

17. รองเท้านารีเมืองกาญจน์ (Paphiopedilum parishii)<br />

29<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


คุณณัฐวุฒิได้เล่าให้ฟังอีกว่า “โครงการนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่ง<br />

รวบรวมพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีสายพันธุ์ต่างๆ ไม่เฉพาะพันธุ์อินทนนท์<br />

เท่านั้นแต่หมายรวมถึงพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีสายพันธุ์แท้ในประเทศไทย<br />

ทั้ง 17 ชนิด ซึ่งเราพยายามรวบรวมมาไว้ในโครงการนี้ แต่ตอนนี้<br />

เรายังหาได้ไม่ครบ ขาดอีก 3 ชนิด คือ ม่วงสงขลา (Paphiopedilum<br />

barbatum) ช่องอ่างทอง (Paphiopedilium ang thong) เกาะช้าง<br />

(Paphiopedilum siamensis) ส่วนกล้วยไม้รองเท้านารีอีก 14 ชนิด<br />

ที่เราหามาปลูกและเพาะพันธุ์ไว้ บางชนิดก็อยู่ไม่ได้ ตัวอย่างเช่น<br />

สายพันธุ์ที่มาจากภาคใต้อันเหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้น แต่ที่นี่<br />

อากาศเย็นเกือบตลอดปีทําให้กล้วยไม้ไม่สามารถปรับตัวได้ ดังนั้น<br />

กล้วยไม้รองเท้านารีส่วนใหญ่ที่เพาะพันธุ์ภายในโครงการจึงเป็นพันธุ์ไม้<br />

กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์เชียงใหม่”<br />

ตลอดระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโครงการขึ้นในปี<br />

พ.ศ. 2547 ปัจจุบันโครงการฯ สามารถขยายพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี<br />

พันธุ์พื้นเมืองโดยเฉพาะรองเท้านารีอินทนนท์ได้เป็นจํานวนมากแล้ว<br />

แต่ปริมาณที่มากขึ้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะนํากลับคืนสู่ธรรมชาติดั่งเดิม<br />

อีกทั้งกล้วยไม้รองเท้านารีได้ถูกจัดให้เป็นพันธุ์พืชที่ต้องคุ้มครองตาม<br />

บัญชีแนบท้ายที่ 1 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ชนิด<br />

สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (The Convention on International<br />

Trade in Endangered Species : of Wild Fanna and<br />

Flora CITES) ซึ่งห้ามทําการค้าโดยเด็ดขาดยกเว้นเพื่อการ<br />

ศึกษา วิจัย หรือขยายพันธุ์เทียม ซึ่งจะต้องได้รับการยินยอม<br />

จากประเทศที่นําเข้าเสียก่อน ประเทศที่ส่งออกจึงสามารถออกใบอนุญาต<br />

ได้ ทั้งนี้ ต้องคํานึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ด้วย นอกจากนี้<br />

ยังเป็นพืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช (<strong>ฉบับที่</strong> 2) พ.ศ. 2535<br />

อีกด้วย ดังนั้น หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ<br />

ดังกล่าว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 3,000<br />

บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ซึ่งคุณณัฐวุฒิได้ให้ข้อคิดเห็นว่า<br />

“กรณีที่รองเท้านารีอินทนนท์ เชียงใหม่ ยังไม่สามารถนําคืนสู่<br />

ป่าได้เพราะยังไม่ผ่านอนุสัญญาไซเตส ซึ่งเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศ<br />

ที่กําหนดห้ามมิให้มีการครอบครองพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี ชาวบ้าน<br />

จึงนําไปเพาะพันธุ์ต่อเพื่อธุรกิจไม่ได้ ฉะนั้น หากเรานํากล้วยไม้คืนสู่ป่า<br />

ในขณะนี้ ความที่เป็นพืชพันธุ์หายาก ตลาดต้องการสูง ราคาแพง<br />

ชาวบ้านก็จะแอบลักลอบเอาไปขายต่อ ดังนั้น ถ้าเราผ่านอนุสัญญาตัวนี้<br />

ชาวบ้านก็สามารถนํามาขยายเพาะพันธุ์ปลูกเองได้ ขายเองได้ ปัญหา<br />

การลักลอบขโมยพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีออกจากป่าก็จะลดลงไปได้<br />

โดยปริยาย”<br />

นอกจากการพยายามรวบรวมสายพันธุ์เพื่ออนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้<br />

รองเท้านารีแล้ว โครงการยังได้มีความพยายามพัฒนาโดยดัดแปลง<br />

สภาพการปลูกเป็นแบบปลูกในกระถาง ซึ่งกล้วยไม้มีรากเป็นชนิดระบบ<br />

รากอากาศ จึงต้องมีการใช้วัสดุที่โปร่งเพื่อให้อากาศสามารถผ่านได้ โครงการฯ<br />

จึงได้มีการทดลองวัสดุที่ใช้ปลูก เช่น ถ่าน ไม้ผุ เปลือกสน เป็นต้น<br />

ผลที ่ได้คือ กล้วยไม้สามารถเจริญเติบโตได้ดีเพราะได้ปุ ๋ยและน้ ําที ่เหมาะสม<br />

Mr. Nuttavut further stated that “... the project’s aim is to<br />

collect Inthanon Lady’s Slipper orchids, as well as other<br />

indigenous Lady’s Slippers orchid species in Thailand.<br />

There are now 17 species available on the site. We are<br />

still searching for three species, namely, Paphiopedilum<br />

barbatum, Paphiopedilum angthong, and Paphiopedilum<br />

siamensis. As for the other 14 species of Lady’s Slipper<br />

orchids that have been grown at the Project, some<br />

survived while others perished. For example, Lady’s Slipper<br />

orchids that come from the south prefer a hot and humid<br />

climate and have been unable to adapt to the climate<br />

here, which is mostly cold for the entire year. Consequently,<br />

the most propagated Lady’s Slipper orchids at the project<br />

are the Inthanon Lady’s Slippers orchids of Chiang Mai.”<br />

For five years, since the inauguration of this project<br />

in 2004, many indigenous Lady’s Slippers orchid plants have<br />

been grown but not yet enough to be able to return them<br />

to the wild. Meanwhile, Lady’s Slipper orchids have been<br />

classified as a protected species according to attachment<br />

one of The Convention on International Trade in<br />

Endangered Species of wild Fanna and Klora (CITES), which<br />

has absolutely forbidden commercial trade of the species<br />

unless it is for study, research or artificial propagation.<br />

Shipment of the species must be approved by the<br />

importing country before the exporting country can issue<br />

the requisite permit and the survival of the plants must also<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

30


นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดในการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อพัฒนาสายพันธุ์<br />

กล้วยไม้รองเท้านารีให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศปกติ<br />

ทั้งนี้ อาศัยการดึงจุดเด่นของกล้วยไม้แต่ละสายพันธุ์มารวมไว้ในพันธุ์<br />

กล้วยไม้ลูกผสม จึงอาจเป็นหนึ่งทางเลือกสําหรับผู้ชื่นชอบในเสน่ห์<br />

ความงามของกล้วยไม้สายพันธุ์นี้<br />

เหนืออื่นใดแรงสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อต่อยอดโครงการฯ<br />

ทั้งจากภาครัฐและเอกชนคงเป็นกําลังสําคัญที่จะทําให้เกิดการพัฒนา<br />

มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับข้อมูลที่ถูกต้อง<br />

เกี่ยวกับกล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์พื้นเมืองแท้ ซึ่งนําไปสู่ความเข้าใจและ<br />

ความตระหนักเพื่อการอนุรักษ์พืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์นี้ได้ไม่มากก็น้อย<br />

ในอนาคตหากจํานวนพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีเพียงพอต่อการ<br />

นํากลับคืนสู่ป่าและผ่านกฎหมายไซเตสแล้ว เราและลูกหลานของเรา<br />

คงได้เห็นต้นกล้ากล้วยไม้รองเท้านารีพันธุ์พื้นเมืองของประเทศไทย<br />

ทั้ง 17 ชนิด กลับคืนสู่ป่าอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนว่าแนวโน้มการอยู่รอดใน<br />

สภาพป่าธรรมชาติที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์จากแหล่งอาหารที่สะสมไว้<br />

เป็นจํานวนมากจะสามารถสร้างการปรับสภาพความอยู่รอดของต้นกล้า<br />

ในระบบนิเวศโดยรอบได้เป็นอย่างดี อีกทั้งโดยทั่วไปกล้วยไม้สายพันธุ์นี้<br />

ชอบแสงผ่านแค่ร้อยละ 30 - 40 เท่านั้น ซึ่งธรรมชาติของป่าทึบ<br />

จึงถือเป็นที่อาศัยอันเหมาะสมอย่างยิ่ง<br />

be considered. Since they are also under the protection<br />

of the Plant Act (No. 2) B.E. 2535, any violators may be<br />

sentenced to a maximum of three months imprisonment or<br />

a 3,000 baht fine or both.<br />

According to Mr. Nuttavut, “The reason that we are<br />

unable to return Inthanon Lady’s Slipper orchids of Chiang<br />

Mai to the wild is because they are not protected by<br />

CITES. Locals are unable to propagate them for commercial<br />

purposes and this has made them very rare species with<br />

high price and market demand. Local people will certainly<br />

seek plants to sell illegally. When the species are protected<br />

by CITES, the local people should be able to propagate and<br />

sell them legally. Then, the problems from smuggling Lady’s<br />

Slipper orchids from the jungle would be reduced.”<br />

In addition to collecting varieties of Lady’s Slipper<br />

orchids for the Conservation Project, more efforts are<br />

being made in terms of further development by experiment<br />

growing them in pots. Since orchids have aerial roots, they<br />

require planting materials with good ventilation. The Project<br />

has tried growing them with numerous planting materials such<br />

31<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลานั้นคงต้องมีการศึกษาวิจัยต่อเนื่องทั้งใน<br />

เรื่องของระบบนิเวศ อัตราการรอด การติดเชื้อโรค ฯลฯ เพื่อพัฒนาและ<br />

สร้างกระบวนเรียนรู้ในขั้นต่อไป และยังเป็นการสร้างความเข้าใจในกลไก<br />

อันซับซ้อนของธรรมชาติ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ความ<br />

หลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นสมบัติล้ําค่าทั้งของชาติและของโลกสืบไป<br />

สุดท้ายนี้ กองบรรณาธิการวารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ<br />

ประเทศไทยต้องขอขอบพระคุณโครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้า<br />

นารีอินทนนท์ตามพระราชดําริฯ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ ์พืช<br />

ที่ได้มอบหมายให้คุณณัฐวุฒิ มณีรัตนชัยยง เป็นผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์<br />

อย่างยิ่ง<br />

as charcoal, rotten wood and pine bark. It has been found<br />

that orchids can grow very well with suitable amounts of<br />

fertilizer and water.<br />

Furthermore, the crossbreeding concept to develop<br />

better hybrid species able to grow in a normal climate<br />

by drawing on the superior features of various species to<br />

combine in one could be another alternative for Lady’s<br />

Slipper orchid admirers.<br />

Above all, budget support both from the private and<br />

public sectors to add more value to the Project is the<br />

main drive for better development, including publicity and<br />

accurate information of indigenous Lady’s Slipper orchids. This<br />

should lead to better understanding and awareness for the<br />

conservation of nearly extinct species.<br />

In the future, if the stock of the Lady’s Slipper<br />

orchids is sufficient to replant them in the wild and to<br />

meet CITES requirements, then all of us and our descendents<br />

might see the return of all 17 species of indigenous<br />

Lady’s Slipper orchids to the wild once again. Certainly, their<br />

existence in their natural habitat abundant with food could<br />

increase chances of survival for seedlings in the surrounding<br />

ecological systems. Since this orchid species can tolerate only<br />

30 - 40% sunlight, dense jungle is the most suitable habitat.<br />

However, research has to continually conduct regarding<br />

ecological systems, survival rates and infectious diseases in<br />

order to develop and build higher level learning processes,<br />

as well as encouraging true understanding the complexity of<br />

nature. To expand the knowledge about biological diversity<br />

is a priceless treasure of both the nation and the world.<br />

Finally, the editorial board of Thailand’s Nature and<br />

Environment Journal would like to thank the Royal<br />

Development Inthanon Lady’s Slipper Conservation Project,<br />

the Department of National Parks, Wildlife and Plant<br />

Conservation for allowing Mr.Nuttavut Maneerattanachaiyong<br />

to provide us with useful information.<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

32


สิ่งแวดล้อมและมลพิษ<br />

Environment and<br />

Pollution<br />

มิ่งขวัญ ธรศิริกุล 1<br />

by Mingkwan Thornsirikul 1<br />

CSR เครื่องมือการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อม<br />

ตอนที่ 2 CSR กับการยอมรับในระดับโลก<br />

CSR: Environmental management tool Chapter 2: CSR and universally acception<br />

ตอนที่แล้ว เป็นการนําเสนอความหมายของ CSR (Corporate<br />

Social Responsibility) หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ<br />

และดูเหมือนแต่ละสํานักแต่ละสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ<br />

ได้ให้ความหมายไว้ในทิศทางที่คล้ายกันโดยตั้งอยู่บนหลักการของการ<br />

บริหารที่ต้องการให้ภาคธุรกิจหรือองค์กรมีความเข้มแข็ง เจริญก้าวหน้า<br />

ไปพร้อมๆ กับสังคมที่ยั่งยืนทั้งคนและสิ่งแวดล้อม จึงไม่น่าแปลกใจที่ทําไม<br />

CSR จึงอยู่ในความสนใจของภาคธุรกิจและวิสาหกิจทั้งขนาดเล็กและ<br />

ขนาดใหญ่ทั่วโลก<br />

A previous chapter introduces a definition of CSR<br />

(Corporate Social Responsibility) or the responsibility to the<br />

society of business sector. It seems each institute both inside<br />

and outside the country give a similar meaning based on<br />

the principle of management which expects business sector<br />

and organizations to become strong and prosper along with<br />

people and environment in a sustainable society. So it is not<br />

surprising why CSR interests many companies in large and<br />

small size around the world.<br />

1 นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชํานาญการพิเศษ กองติดตามประเมินผล สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม<br />

1 Environmental official, Senior Professional Level, Division of Monitoring and Evaluation, Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning<br />

33<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


องค์กร ISO (International Organization for Standardization)<br />

เป็นองค์กรเอกชนที่มีเครือข่ายทั่วโลก โดยมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็น<br />

สมาชิกมากถึง 162 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย องค์กรนี้มี<br />

หน้าที ่ในการพัฒนาและจัดทํามาตรฐานต่างๆ ไปแล้ว ถึง 17,500 มาตรฐาน<br />

ที่สําคัญและเป็นที่รู้จัก เช่น ISO 14000 (ระบบจัดการสิ่งแวดล้อม) และ<br />

ISO 9001 (ระบบคุณภาพ) เป็นต้น ดังนั้นในกรณีของ CSR ก็เช่นกัน<br />

ที่องค์กรนี้ได้เห็นความสําคัญโดยจัดทําเป็นมาตรฐานความรับผิดชอบ<br />

ต่อสังคมของภาคธุรกิจภายใต้รหัส ISO 26000 ซึ่งเริ่มดําเนินการ<br />

มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 เรื่อยมาจนกระทั่งในเดือน มกราคม ปี พ.ศ. 2548<br />

จึงมีการตั้งคณะทํางานขึ้นมาดําเนินการพัฒนามาตรฐานอย่างจริงจัง<br />

เพื่อจัดทําคู่มือและแนวทางปฎิบัติที่สามารถเข้าใจได้ง่าย และใช้ได้กับ<br />

องค์กรทุกขนาดและทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก ขนาดใหญ่<br />

ในประเทศที่กําลังพัฒนาหรือพัฒนาแล้วก็ตาม ซึ่งคณะทํางานนี้ประกอบ<br />

ด้วยภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบทางสังคม 6 กลุ่ม ได้แก่<br />

กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มแรงงาน กลุ่มลูกค้า<br />

กลุ่มองค์กรเอกชน และกลุ่มบริการอื่นๆ คณะทํางานได้มีการประชุม<br />

ดําเนินการอย่างต่อเนื่องถึง 7 ครั้ง และคาดว่าจะประชุมอีกครั้งหนึ่ง<br />

ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2553 ก่อนที่จะสรุป ประกาศใช้ และเผยแพร่<br />

ในกลางปีเดียวกันต่อไป<br />

มาตรฐาน ISO 26000 นี้เป็นมาตรฐานแนะนํา (guidance<br />

document) ที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับมาตรฐานสําคัญ ได้แก่<br />

มาตรฐาน ISO 14000 และมาตรฐาน ISO 9000 ด้วย นั่นแสดงให้เห็น<br />

ถึงความสําคัญของ CSR ที่ภาคธุรกิจ วิสาหกิจและองค์กรต่างๆ<br />

ทั่วโลกรวมถึงภาครัฐไม่ควรมองข้ามและควรนําไปใช้ในการบริหาร<br />

องค์กรเพื่อสร้างการยอมรับและความเชื่อถือ ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อ<br />

ภาคธุรกิจ วิสาหกิจและองค์กรนั้นๆ โดยสาระสําคัญของ ISO 26000<br />

ประกอบด้วยหลักการรับผิดชอบต่อสังคม 7 ประการ ได้แก่<br />

• หลักการความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้<br />

• หลักการความโปร่งใส<br />

• หลักการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม<br />

• หลักการยอมรับถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย<br />

• หลักการเคารพต่อหลักนิติธรรม<br />

• หลักการเคารพต่อแนวปฏิบัติสากล<br />

• หลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน<br />

International Organization for Standardization (ISO) is<br />

a non-government organization which has a worldwide<br />

network and 162 countries including Thailand are its<br />

members, is responsible to develop and publish international<br />

standards (currently 17,500 standards). Some important<br />

and well-known standards are ISO 14000 (Environmental<br />

management system) and ISO 9001 (Quality management<br />

system). In case of CSR, the organization has developed<br />

and established a standard of business sector’s responsibility<br />

to a society under “ISO 26000” since 2001. In January 2005<br />

a working groups is established to provide apprehensive<br />

manual and guideline which can be used in any size of<br />

organizations and companies in every country, no matter it is<br />

developing or developed country. The working group<br />

consists of 6 social responsibility groups: namely industrial<br />

group, government agency group, labor group, customer<br />

group, private sector group, and other services group. The<br />

working group has 7 continuous conferences. It is expected<br />

that another one conference will be held in April 2010<br />

before the final announcement and promulgation in the<br />

mid-year.<br />

The ISO 26000 is the guidance document which<br />

relates and associates with other important standards<br />

including ISO 14000 and ISO 9000. This indicates an<br />

importance of CSR that the business sector and organizations<br />

around the world as well as government agencies should<br />

not overlook and apply it in organizational management<br />

to build acceptance and reliability and to gain a direct<br />

advantage to organizations or businesses. The main content<br />

of ISO 26000 includes : The 7 Social responsibility principles<br />

• Accountability<br />

• Transparency<br />

• Ethical behavior<br />

• Respect for stakeholder interests<br />

• Respect for the rule of law<br />

• Respect for international norms of behavior<br />

• Respect for human rights<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

34


นอกจากองค์กร ISO แล้ว สหประชาชาติซึ่งเป็นองค์กร<br />

ระหว่างประเทศ มีสมาชิกทั้งหมดถึง 192 ประเทศ ได้เห็นความสําคัญ<br />

ของความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ การป้องกันต่อต้านคอร์รัปชั่น การรักษา<br />

ดูแลสิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชนเช่นกัน จึงได้มีการวางกรอบหรือ<br />

หลักการเรียกว่า UN Global Compact โดยมีวัตถุประสงค์สองประการ<br />

กล่าวคือ เพื่อเป็นหลักปฎิบัติ 10 ประการในการทําธุรกิจทั่วโลก และ<br />

เป็นการกระตุ้นการปฏิบัติให้สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาอย่าง<br />

ยั่งยืน (Millionium Development Goals : MDGs) ซึ่ง ดร.โสภณ<br />

พรโชคชัย จากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ได้อธิบายใน<br />

หนังสือ CSR ที่แท้ ว่า UN Global Compact ประกอบด้วยหลัก 10<br />

ประการ ที่เป็นทั้งนโยบายและการปฎิบัติ โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่<br />

• ด้านสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย 2 หลัก<br />

หลักข้อที่ 1 ธุรกิจควรสนับสนุนและเคารพการปกป้อง<br />

หลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ<br />

หลักข้อที่ 2 ธุรกิจไม่พึงข้องแวะกับการกระทําที่ละเมิดต่อ<br />

สิทธิมนุษยชน<br />

• ด้านแรงงาน ประกอบด้วย 4 หลัก<br />

หลักข้อที่ 3 ธุรกิจควรส่งเสริมและตระหนักถึงเสรีภาพในการ<br />

รวมกลุ่มแรงงาน เช่น การตั้ง สหภาพแรงงาน<br />

ของพนักงาน<br />

หลักข้อที่ 4 ธุรกิจต้องร่วมขจัดการบังคับใช้แรงงาน<br />

หลักข้อที่ 5 ธุรกิจต้องขจัดการใช้แรงงานเด็ก<br />

หลักข้อที่ 6 ธุรกิจต้องไม่กีดกันการจ้างงานและอาชีพ<br />

• ด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 3 หลัก<br />

หลักข้อที่ 7 ธุรกิจควรสนับสนุนการดําเนินการปกป้อง<br />

สิ่งแวดล้อม<br />

หลักข้อที่ 8 ธุรกิจควรแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ<br />

ต่อความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม<br />

หลักข้อที่ 9 ธุรกิจควรส่งเสริมและเผยแพร่เทคโนโลยีที่เป็นมิตร<br />

กับสิ่งแวดล้อม<br />

• ด้านการไม่ยอบรับการทุจริต ประกอบด้วย<br />

หลักข้อที่ 10 ธุรกิจควรดําเนินไปโดยปราศจากการฉ้อโกง<br />

ทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ รวมทั้ง<br />

การบังคับ ขูดรีดและการติดสินบนทั้งภายใน<br />

วิสาหกิจและการให้สินบนในวงราชการ<br />

Besides ISO organization, United Nations, an international<br />

organization which includes 192 member countries, also sees<br />

an importance of business sector responsibility, anti-corruption,<br />

environment and human rights. The United Nations established<br />

a framework called “UN Global Compact” that has 2<br />

objectives: to create 10 principles for worldwide businesses<br />

and to encourage an operation which with Millennium<br />

Development Golds (MDGs). The UN Global Compact includes<br />

10 principles of both policy platform and practical<br />

framework that divided into 4 parts:<br />

• Human rights<br />

Principle 1<br />

Principle 2<br />

• Labour<br />

Principle 3<br />

Principle 4<br />

Principle 5<br />

Principle 6<br />

• Environment<br />

Principle 7<br />

Principle 8<br />

Principle 9<br />

Businesses should support and respect<br />

the protection of internationally<br />

proclaimed human rights; and<br />

make sure that they are not complicit<br />

in human rights abuses.<br />

Businesses should uphold the freedom<br />

of association and the effective<br />

recognition of the right to collective<br />

bargaining;<br />

the elimination of all forms of forced<br />

and compulsory labour;<br />

the effective abolition of child labour;<br />

and<br />

the elimination of discrimination in<br />

respect of employment and occupation.<br />

Businesses are asked to support a<br />

precautionary approach to environmental<br />

challenges;<br />

undertake initiatives to promote greater<br />

environmental responsibility; and<br />

encourage the development and<br />

diffusion of environmentally friendly<br />

technologies.<br />

• Anti-Corruption<br />

Principle 10 Businesses should work against corruption<br />

in all its forms, including extortion and<br />

bribery.<br />

35<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


หลัก 10 ประการของ UN Global Compact ดังกล่าว องค์กร<br />

ภาคธุรกิจและวิสาหกิจต่างๆ ได้นํามาปฎิบัติตั้งแต่เดือน<strong>กรกฎาคม</strong><br />

ปี พ.ศ. 2543 จึงนับเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี ที่ภาคธุรกิจสนใจ<br />

เข้าร่วมลงนามรับมาปฎิบัติเป็นจํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จะเป็นกรอบ<br />

ตามความสมัครใจเชิงอาสาสมัคร มิใช่การบังคับใช้ แต่หลังจากที่<br />

วิสาหกิจหรือองค์กรใดลงนามเข้าร่วมการปฏิบัติแล้ว ก็ต้องมีการดําเนิน<br />

การตามขั้นตอนหลัก 10 ประการอย่างเคร่งครัด รวมทั้ง การจัดทํารายงาน<br />

ความก้าวหน้ารายปี และที่สําคัญองค์กรนั้นจะมีสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมาย<br />

ของ The Global Compact เพื่อเป็นเกียรติยศต่อองค์กรอีกด้วย<br />

จากที่กล่าวมาข้างต้น อาจสรุปและพูดอย่างเต็มปากได้ว่า CSR<br />

ได้ถูกยกระดับให้เป็นมาตรฐานหนึ่งของโลกไปแล้ว และกําลังทวีความ<br />

สําคัญมากขึ ้นเป็นลําดับ แม้แต่ในประเทศไทยเองดูเหมือนภาคส่วนต่างๆ<br />

ให้ความมั่นใจกับ CSR มากขึ้นอย่างชัดเจน โดยดูได้จากการเคลื่อนไหว<br />

ในแง่มุมต่างๆ รวมทั ้ง การประกอบกิจกรรมที ่เน้นการให้ประโยชน์ต่อสังคม<br />

การจัดกิจกรรมการประชุม สัมมนา ที่เกี่ยวข้องกับ CSR และมีการ<br />

วิพากษ์ถึงประโยชน์ของ CSR ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่อยู่ในช่วง<br />

วิกฤต เป็นต้น เหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะการดําเนินการใดๆ ของภาคธุรกิจ<br />

ภาครัฐ และองค์กรต่างๆ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม<br />

ด้วยกันทั้งสิ้น<br />

The 10 principles of UN Global Compact have been<br />

implemented since July 2000. It takes almost 10 years that<br />

business sector participated and endorsed more and more.<br />

Although it is a voluntary initiative not regulation instrument,<br />

the 10 principles must be seriously implemented after the<br />

endorsement and annual progression must be reported.<br />

Especially, the endorsed organizations are able to use the<br />

UN Global Compact signs as an honor.<br />

As mentioned above, it can be concluded that CSR<br />

is now a global standard and is increasing its importance.<br />

Even in Thailand, many sectors are patently assured of<br />

CSR according to several movements, such as activities<br />

focusing on social profit, CSR - related conference, and CSR<br />

advantage critique during the current economic crisis, etc. This<br />

is because any action by business sector, government<br />

agency, and other organizations must be based on social<br />

responsibility.<br />

เอกสารอ้างอิง<br />

• โสภณ พรโชคชัย. 2551. CSR ที่แท้. มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สิน<br />

แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ<br />

• สํานักรับรองมาตรฐานไอเอสโอ. <strong>2552</strong>. เอกสารประกอบการอบรม<br />

เรื่อง ISO/CD 26000 ความรับผิดชอบต่อสังคม Social<br />

Responsibility. สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ.<br />

วันที่ 4 สิงหาคม <strong>2552</strong> ณ ห้องประชุมสํานักงานนโยบายและ<br />

แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.<br />

• http://www.iso.org/iso/about.htm<br />

• http://www.isotc.iso.org/livelink/livelink/fetch<br />

• http://www.iisd.org./standards/csr.asp<br />

• http://www.unglobalcompact.org<br />

• http://www.wikipedia.org/wiki/<br />

References<br />

• Sopon Pornchokchai. 2008. Real CSR. Appraisal<br />

Foundation of Thailand. Bangkok.<br />

• Management System Certification Institute. 2009.<br />

Documentation of training course “ISO/CD 26000:<br />

Social Responsibility”. MASCI (Management System<br />

Certification Institute Thailand) on August 4 th 2009.<br />

at the office of Natural Resourees and<br />

Environmental Policy and Planning.<br />

• http://www.iso.org/iso/about.htm<br />

• http://www.isotc.iso.org/livelink/livelink/fetch<br />

• http://www.iisd.org./standards/csr.asp<br />

• http://www.unglobalcompact.org<br />

• http://www.wikipedia.org/wiki/<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

36


สิ่งแวดล้อมและมลพิษ<br />

Environment and<br />

Pollution<br />

จรวย สุขแสงจันทร์<br />

by Charuay Sukhsangchan<br />

“เรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้เกี่ยวกับปลาหมึก...<br />

สัตว์ทะเลที่ไม่ใช่ปลาแต่เป็นหอย”<br />

“Unknown Facts about Cephalopods......A Non-Fish Marine Creature, It’s Really a Mollusc”<br />

เมื ่อพูดถึงสัตว์ทะเลท่านผู ้อ่านคงจินตนาการไปได้เป็นร้อยๆพันๆ<br />

ชนิด แค่ปลาหรือสัตว์มีกระดูกสันหลังที่พบในทะเลก็มีเป็นหมื่นๆ ชนิด<br />

เข้าไปแล้ว แต่สัตว์ทะเลที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จัดเป็นสัตว์ทะเลจริงๆ ครับ<br />

เพราะว่าสายพันธุ์ของสัตว์ชนิดนี้ไม่พบในน้ําจืดเลย นั่นก็คือ “ปลาหมึก”<br />

*อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

*Department of Marine Science<br />

When asked to name marine creature, many readers<br />

might be able to come up with hundreds and thousands<br />

of different species. Fishes or vertebrate animals in the sea<br />

alone already numbered more than ten thousand types.<br />

However, we are about to present our readers with a<br />

true marine creature, the cephalopods is the group of<br />

squid, cuttlefish and octopus ect., that cannot be found in<br />

freshwater areas.<br />

Cephalopods are classified as invertebrate animals, in<br />

a class called ‘mollusc’ the same as clams (a certain type<br />

has internal structure support and is called cuttlefish) with<br />

mantle enclosing their bodies and the radula in the mouth<br />

to scrape nutrients from food sources. The reason for calling<br />

cephalopods a fish (which happens in Thai language) is<br />

37<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


ปลาหมึกถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับหอยเนื่องจากเป็นสัตว์ที่ไม่มี<br />

กระดูกสันหลัง (บางชนิดอาจมีโครงร่างค้ําจุนภายในที่เรียกว่าลิ้นทะเ<br />

ล หรือ cuttlefish) มีเนื้อเยื่อแมนเติล (mantle) ปกคลุมร่างกาย และ<br />

มีแผงฟันในช่องปากสําหรับบดย่อยอาหาร สาเหตุที่เรียกปลาหมึกว่า<br />

ปลานั้นมีสาเหตุมาจากปลาหมึกส่วนหนึ่งดํารงชีวิตที่แตกต่างจากหอย<br />

เนื่องจากปลาหมึกเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการที่สูงกว่าหอยนั่นเอง ปลาหมึก<br />

สามารถว่ายน้ํา หาอาหารได้มีระบบประสาทที่พัฒนา มีระบบสมอง และ<br />

ดวงตาที่มองวัตถุเช่นเดียวกับดวงตาของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น มนุษย์<br />

และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการเรียกชื่อในการสื่อความหมายถึง<br />

สัตว์ชนิดนี้ นักวิชาการบางท่านสนับสนุนให้เรียกว่า หมึก เพียง<br />

คําเดียว แต่นักวิชาการบางกลุ่มแย้งว่าคําว่าหมึกอาจสื่อความหมาย<br />

ให้เข้าใจในทางด้านอื่นเช่น น้ําหมึก เป็นต้น ดังนั้นนักวิชาการจึงอนุโลม<br />

ในการเรียกชื่อสัตว์ชนิดนี้ว่าปลาหมึกในกรณีที่ไม่แบ่งแยกกลุ่ม และหากมี<br />

การแบ่งแยกกลุ่มก็ให้เรียกชื่อตามไปเลย เช่น หมึกกล้วย หมึกกระดอง<br />

และหมึกหอม เป็นต้น โดยไม่ต้องมีคําว่าปลานําหน้า<br />

because of its way of life quite different from clams and<br />

other molluscs and their ability to evolve to more complex<br />

forms. cephalopods can swim to search for food using well<br />

developed nerve and brain systems, including eyes that can<br />

see objects the same way that vertebrate animals such<br />

as human beings can do. Moreover, it is called that way<br />

to avoid confusion. Some scholars prefer only the word<br />

“Muek (in Thai)” without mentioning pla at all, while others<br />

argue that its name may refer to different object such as<br />

ink. Consequently, some scholars agree to call this animal<br />

plain “Pla-Muek (in Thai)” for the whole group of creatures.<br />

In the case, where cephalopods are being separated into<br />

different groups, more formal names would be used such<br />

as squid, cuttlefish and big-fin reef squid without use of the<br />

word “Fish or Pla (in Thai)”.<br />

ภาพที่ 1 หมึกสาย<br />

Figure 1 Octopus<br />

ทุกๆ ปีปลาหมึกถูกจับขึ้นมาบริโภคเป็นจํานวนมาก และมีมูลค่า<br />

นับหมื่นล้านบาท คนไทยนิยมบริโภคปลาหมึกทั้งในรูปของหมึกแห้งและ<br />

หมึกสด นอกจากนี้ปลาหมึกยังเป็นสินค้าที่ส่งออกทํารายได้แก่ประเทศ<br />

ประเทศไทยยังมีนโยบายส่งเสริมสินค้าเกษตรและประมงเพื่อผลักดัน<br />

ประเทศสู่การเป็นครัวของโลก เพื่อสร้างรายได้ สถานะทางการเงินและ<br />

สังคมของประชากรของประเทศให้มั่นคง<br />

ถึงแม้ว่าประชาชนชาวไทยจะนิยมบริโภคปลาหมึก และผลการ<br />

จับสัตว์น้ําชนิดนี้จะมีปริมาณสูงนับหมื่นตันต่อปี แต่การศึกษาค้นคว้า<br />

เกี ่ยวกับสัตว์น้ ําชนิดนี ้กลับมีค่อนข้างน้อยดังจะเห็นได้จากเอกสารวิชาการ<br />

ต่างๆ ที่กล่าวถึงสัตว์กลุ่มนี้นั้นมีน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณผลผลิตที่<br />

จับได้จากทะเล อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการทําความรู้จักกับสัตว์กลุ่มนี้<br />

ให้มากขึ้นจึงขออธิบายเกี่ยวกับความเป็นมา และเรื่องราวต่างๆ ที่น่า<br />

สนใจเกี่ยวกับปลาหมึกดังต่อไปนี้<br />

Every year, large numbers of cephalopods are caught<br />

for consumption with a value of more than ten billion<br />

baht. Thai people enjoy both dried and fresh cephalopods.<br />

Furthermore, exporting cephalopods can generate substantial<br />

income for the country. Thailand has set up policies to<br />

promote exporting agricultural and fishery products for the<br />

country to become the world’s kitchen, leading to improved<br />

financial and social stability.<br />

Although, Thai people consume a lot of cephalopods<br />

and this has led to large numbers of this marine creature being<br />

caught, as much as ten thousand tons per year. Also, there<br />

is only a comparatively little research on this marine creature<br />

in available academic documents. In another words, only a<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

38


เป็นเวลานานนับล้าน<strong>ปีที่</strong>ปลาหมึกได้ถือกําเนิดและอาศัยดํารงชีวิต<br />

อยู่ในสิ่งแวดล้อมในทะเลบนโลกใบนี้ ปลาหมึกในยุคโบราณอาจมีรูปร่าง<br />

หน้าตาที่แตกต่างจากปลาหมึกที่พบเห็นในปัจจุบันค่อนข้างมากเนื่องจาก<br />

สภาพแวดล้อมและการดํารงชีวิตที่แตกต่างจากปัจจุบัน เช่น เปลือกที่หนา<br />

และหนัก หนวดที่มีจํานวนมาก ลักษณะเปลือกของปลาหมึกในยุคโบราณ<br />

จัดว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งเนื่องจากศัตรูหรือผู้ล่าในยุคนั้นมีขนาดใหญ่<br />

และดุร้าย ปลาหมึกใช้เปลือกห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันศัตรู เมื่อปลาหมึก<br />

มีวิวัฒนาการสูงขึ ้นทางด้านระบบประสาท และการเรียนรู ้เพื ่อการปรับตัว<br />

เปลือกที่หนาและหนักจึงมีความจําเป็นน้อยลง วิวัฒนาการอย่างหนึ่ง<br />

ที่เห็นเด่นชัด คือ ระบบประสาท โดยเฉพาะระบบประสาทที่เกี่ยวกับ<br />

การมองเห็น อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์พบว่ามีปลาหมึกชนิดหนึ่งที่ยังคง<br />

มีเปลือก และรูปร่างที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับบรรพบุรุษ (Living fossil)<br />

หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันเพียงชนิดเดียว คือ หอยงวงช้าง (Chambered<br />

nautilus)<br />

few documents are available as compared to the number<br />

of cephalopods taken from the sea. However, in order to<br />

understand this animal better, more details are provided for our<br />

readers as follows:<br />

For more than a million years, cephalopods have<br />

been born and lived in the seas of the world. Prehistoric<br />

cephalopods may have had quite different appearances<br />

from modern cephalopods because of different environmental<br />

conditions, such as having thick and heavy shells with<br />

many tentacles. The shells of ancestors may have acted<br />

as shields against large enemies or vicious predators. When<br />

cephalopods evolved a nervous system and adapted<br />

themselves to the surroundings, thick and heavy shells then<br />

became obsolete. Another obvious sign of evolution is in<br />

the nervous system, especially in terms of the advanced<br />

eyes. Scientists have found that only one type of living fossil<br />

remains alive in the present time, namely the Chambered<br />

Nautilus.<br />

ภาพที่ 2 หอยงวงช้าง<br />

Figure 2 Chambered nautilus<br />

ภาพที่ 3 ปลาหมึกยุคโบราณ<br />

Figure 3 Ancestors of the modern cephalopods, Belemnite<br />

39<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


Most cephalopods now have no or little shell and<br />

instead have developed more complex nervous systems,<br />

including such features as chromatophores, which are found<br />

on the upper and lower parts of the body and enable<br />

the cephalopods to camouflage itself from both prey<br />

and predators by changing color to suit its surroundings.<br />

Moreover, chromatophores play important parts in courting<br />

or threatening enemies.<br />

ภาพที่ 4 บรรพบุรุษของปลาหมึกในยุคปัจจุบัน<br />

Figure 4 Ancestors of the modern cephalopods, Ammonites<br />

ปลาหมึกในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่มีเปลือกหรือเปลือกได้ลดรูปหายไป<br />

และได้พัฒนาระบบประสาทที่ซับซ้อนขึ้น เช่น เม็ดสี (chromatophore)<br />

ที่พบบริเวณผิวตัวทั้งด้านบนและด้านล่างของลําตัว ปลาหมึกจะใช้เม็ดสี<br />

ในการอําพรางศัตรูโดยการปรับแต่งสีตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมนอกจากนี้<br />

เม็ดสียังใช้ในการเกี้ยวพาราสี หรือแม้กระทั่งใช้ในการข่มขู่ศัตรูด้วย<br />

นอกจากนี้ปลาหมึกบางชนิดมีพิษที่มีความรุนแรงเพื่อใช้ในการ<br />

ป้องกันตัว และใช้พิษเพื่อล่าเหยื่อมาเป็นอาหาร ปลาหมึกที่มีพิษร้ายแรง<br />

ส่วนใหญ่จะเป็นปลาหมึกในกลุ่มหมึกสาย เช่น หมึกสายวงฟ้า (Blue ring<br />

octopus) พิษของหมึกสายวงฟ้าจะผลิตจากต่อมน้ําลาย เมื่อหมึกสาย-<br />

วงฟ้ากัดเหยื่อจะปล่อยสารพิษเข้าไปในตัวเหยื่อเพื่อให้เหยื่อเป็นอัมพาต<br />

ชั่วคราว จากนั้นจึงค่อยๆ จัดการกับเหยื่อนั้น นอกจากปลาหมึกจะใช้<br />

พิษในการล่าเหยื่อแล้วบางครั้งยังพบว่า ปลาหมึกเมื่อถูกรบกวนหรือ<br />

ตกใจอาจกัดหรือทําร้ายศัตรูของมันแล้วปล่อยสารพิษออกมา ซึ่งพิษที่<br />

ปล่อยออกมานั้นมีความรุนแรงและสามารถทําให้เหยื่อหรือศัตรูของมัน<br />

ถึงแก่ชีวิตได้<br />

ภาพที่ 5 หมึกหอม<br />

Figure 5 Big-fin Reef Squid<br />

Moreover, certain cephalopods, such as the Blue<br />

ringed octopus, have powerful poison for self-protection<br />

and hunting prey. The poison is contained in the octopus’<br />

saliva, which comes from the saliva gland. When the Blue<br />

ringed octopus bites its prey, it injects a neuromuscular<br />

paralyzing venom before devouring the prey. Besides using<br />

the venom to catch the prey, the Blue ringed octopus<br />

also defends itself using its venom when it is disturbed or<br />

provoked. The ejected venom is deadly.<br />

พิษของหมึกสายวงฟ้าเป็นพิษที ่มีผลต่อระบบประสาท (neurotoxins)<br />

มนุษย์ที่ถูกกัดจะมีอาการหายใจติดขัด กล้ามเนื้อกระตุก อาเจียน<br />

หากทําการรักษาไม่ทันกล้ามเนื้อหัวใจอาจเป็นอัมพาตและทําให้เหยื่อ<br />

เสียชีวิตได้จากการศึกษาพบว่าพิษหมึกสายวงฟ้าเพียงหนึ่งตัวสามารถฆ่า<br />

ชีวิตคนได้ถึง 26 คนภายในเวลาเพียงหนึ่งนาทีเท่านั้น<br />

หมึกสายวงฟ้าสามารถพบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในเขตร้อนและ<br />

เขตอบอุ่น ในน่านน้ําของประเทศไทยพบได้ทั่วไปทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่ง<br />

อันดามัน หมึกสายวงฟ้ามักอาศัยอยู่ในเขตน้ําลึกห่างฝั่งออกไป ส่วนมาก<br />

มักติดมากับเครื่องมือประมงประเภทอวนลาก และยังไม่มีรายงานว่าพบ<br />

ในเขตแนวปะการังใกล้ชายฝั่งประเทศไทยของเรายังมีการศึกษาเกี่ยวกับ<br />

ปลาหมึกชนิดนี้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นปลาหมึกที่พบเห็นค่อนข้างยาก<br />

ภาพที่ 6 หมึกสายวงฟ้า<br />

Figure 6 Blue ringed octopus<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

40


และผู ้คนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงอันตรายจากพิษที ่รุนแรงของหมึกสายวงฟ้า<br />

อย่างไรก็ตามเคยมีผู้พบเห็นว่ามีการนําเอาหมึกสายวงฟ้ามาขายปะปน<br />

อยู่กับปลาหมึกที่ปิ้งขายตามท้องตลาด เพราะฉะนั้นก่อนที่จะบริโภค<br />

ปลาหมึกควรตรวจสอบดูให้ดีก่อน โดยการสังเกตง่ายๆ ที่บริเวณลําตัว<br />

หรือหนวดจะต้องไม่มีสีที่เข้มเป็นวงกระจายอยู่ทั่วไป และถ้าหากพบว่า<br />

มีปะปนอยู่ควรหลีกเลี่ยงในการบริโภคเนื่องจากพิษของปลาหมึก<br />

อาจกระจายอยู่ในเนื้อเยื่อและพิษนี้ไม่สามารถ ถูกทําลายด้วยความร้อน<br />

เมื่อบริโภคเข้าไปอาจทําให้เสียชีวิตได้ !!!<br />

เรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลาหมึกยังมีอีกมากมายเนื่องจาก<br />

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าปลาหมึกมีจํานวนชนิดไม่น้อยกว่า 700 ชนิด<br />

อาศัยแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในทะเลตั้งแต่ที่ตื้นชายฝั่งจนกระทั่งถึงระดับ<br />

ความลึกนับพันเมตร ดังนั้นปลาหมึกจึงเป็นสัตว์ทะเลที่น่าศึกษาค้นคว้า<br />

เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ปลาหมึกยังจัดเป็นผู้บริโภคระดับสูงในห่วงโซ่<br />

อาหาร และตัวของปลาหมึกเองก็ยังเป็นอาหารให้แก่สัตว์น้ําชนิดอื่นๆ<br />

อีกหลายชนิด เช่น โลมา วาฬ ซึ่งนับว่าปลาหมึกมีความสําคัญต่อระบบ<br />

ห่วงโซ่อาหารและระบบนิเวศในทะเลอย่างยิ่ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหาร<br />

ทะเลที่สําคัญของประชากรโลกอีกด้วย<br />

ภาพที่ 7 ห่วงโซ่อาหารในทะเล<br />

Figure 7 Marine food chain<br />

The venom of the Blue Ringed Octopus is highly<br />

neurotoxic. A person who has been bitten may have trouble<br />

breathing, suffer muscle spasms, nausea and vomiting. If<br />

such a person is not treated in time, heart paralysis may<br />

lead to loss of life. Research revealed that a Blue ringed<br />

octopus might be able to kill as many as 26 adult people<br />

within minutes.<br />

The Blue ringed octopus is found in tropical and<br />

temperate waters. In Thailand’s coastal areas, it can be<br />

found along the Gulf of Thailand and the Andaman Sea.<br />

The Blue ringed octopus usually stays in deep waters<br />

and is mostly caught by trawl net. There have been no<br />

reports finding the Blue ringed octopus along the coral<br />

reefs around the costal areas. However, there have been<br />

few studies on this octopus because it is not commonly<br />

found and most people are unaware of its lethal venom.<br />

Nonetheless, some street vendors have been found selling<br />

Blue ringed octopus together with grilled cephalopods.<br />

Consequently, one should carefully examine the cephalopods<br />

before eating it by checking for the dark color and the<br />

concentric rings on its body and tentacles. Please avoid<br />

eating this octopus because its deadly venom and may still<br />

be in the tissue and cannot be eliminated by extreme heat<br />

and can cause death!<br />

There are many more interesting stories about<br />

cephalopods because scientists have found at least 700 types<br />

of cephalopods living in the sea from shallow coastal<br />

regions to deep sea at a depth of up to 1,000 meters. So,<br />

cephalopods are interesting marine creature worth studying<br />

as well as being the top level of consumer in the food<br />

chain. It is a food source for other marine creatures such<br />

as dolphins and whales and is considered to be crucial<br />

for marine food chains and ecosystems. It is also the main<br />

source of seafood for the people of the world.<br />

41<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


ก่อนจะปิดเล่ม<br />

Epilogue<br />

สถานภาพพื้นที่ชุ่มน้ําประเภท “พรุ”<br />

ของประเทศไทย<br />

Status of Peat Swamp in Thailand<br />

พรุ จัดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ําประเภทหนึ่งภายใต้คํานิยามของอนุสัญญา<br />

ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ํา โดยมีลักษณะเด่นคือ เป็นพื้นที่ที่มีการสะสมของ<br />

สารอินทรีย์จากพืชที่ถูกย่อยสลายในสภาพที่มีน้ําท่วมขังและมีซากผุพัง<br />

ของพืชพรรณธรรมชาติทับถม โดยอาจลอยอยู่เหนือใต้ท้องน้ํา (ในภาคกลาง<br />

จะเรียกว่า “ที่ลุ่มสนุ่น” ส่วนภาคใต้เรียกว่า “พรุ”)<br />

A “peat swamp” is classified as one type of wetlands<br />

under the Ramsar Convention on Wetlands with its uniqueness<br />

on accumulation of organic matter from decomposed plants<br />

in flooding environment, which have decayed vegetation<br />

deposition either in suspended or submerged states. These<br />

are known as “bogs” in the central region and as “peat<br />

swamp” in the southern region.<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

42


บทบาทและความสําคัญของพรุ<br />

1) เป็นแก้มลิงตามธรรมชาติป้องกันน้ําท่วมและเป็นแหล่งน้ํา<br />

ในฤดูแล้ง<br />

2) รักษาสมดุลก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเนื่องจากพื้นที่พรุ<br />

สามารถเก็บกักคาร์บอนได้เท่ากับมวลชีวภาพบนบกทั้งหมด<br />

และเป็น 2 เท่าของปริมาณคาร์บอนของมวลชีวภาพป่าไม้<br />

ของโลก การทําลายพื้นที่พรุโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาถางและ<br />

สูบน้ ําออกจากพื ้นที ่จึงเป็นการเร่งการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก<br />

การทําลายพรุ เทียบเท่ากับการปล่อย Co 2<br />

15% ของปริมาณ<br />

Co 2<br />

ในปี 1990 ของประเทศที ่อยู ่ใน Annex I ของ<br />

UNFCCC<br />

3) ป้องกันการรุกล้ําของน้ําเค็มเข้ามาในแผ่นดิน<br />

4) แหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภาพ<br />

Roles and Significance of Peat Swamps<br />

1) Act as natural Monkey Cheeks (Kaem Ling) to<br />

prevent floods and water storage during the dry<br />

season.<br />

2) Balance greenhouse gas in the atmosphere. Peat<br />

swamp has ability to capture as much carbon as the<br />

total land biomass, which is two fold of carbon<br />

found in forest biomass. Thedestruction of peat<br />

swamps has accelerated greenhouse gas emission<br />

in a rate that equal to 15% of total CO 2<br />

emissions<br />

by the Annex I countries of the UNFCCC during<br />

1990.<br />

3) Prevent inland seawater intrusion.<br />

4) Source of biological diversity.<br />

43<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


สําหรับประเทศไทย พื้นที่พรุได้รับผลกระทบจากโครงการ<br />

พัฒนาต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น การขุดลอก ถมดิน การทําคันดิน<br />

การปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากพื้นที่พรุมักถูกมองว่าเป็น<br />

“พื้นที่เสื่อมโทรม” ในขณะที่การควบคุมดูแลยังไม่ทั่วถึง ส่วนหนึ่งเป็นผล<br />

มาจากการขาดฐานข้อมูลสําหรับการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหา<br />

ดังกล่าวสำนักงานนโยบายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่ง<br />

เเวดล้อมจึงได้มอบหมายให้ดําเนินการศึกษา สํารวจ เพื่อทบทวน<br />

สถานภาพของพื้นที่พรุธรรมชาติของประเทศไทย รวมถึงกําหนดขอบเขต<br />

ที่ชัดเจนเพื่อประกอบการวางแผนการจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม<br />

ผลการศึกษาพบพื้นที่พรุที่สําคัญอย่างน้อย 25 แห่ง มีพื้นที่รวม<br />

186,649 ไร่ ส่วนใหญ่กระจายอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ นอกจากนี้<br />

ยังพบพื้นที่พรุในบริเวณที่สูงทางตอนเหนือของประเทศ คือ อ่างกาหลวง<br />

และพรุหญ้าท่าตอน จ.เชียงใหม่ เมื่อจําแนกพื้นที่ตามลักษณะที่ตั้งและ<br />

ระบบนิเวศ สามารถแบ่งออกเป็น 8 ประเภท คือ 1) พรุในที่สูง<br />

2) พรุในที่ตอน 3) พรุในที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ํา 4) พรุในที่ลุ่มแอ่ง<br />

5) พรุหลังสันทรายที ่ยังได้รับอิทธิพลจากน้ ําทะเล 6) พรุบริเวณปากแม่น้ ํา<br />

7) พรุหลังสันทราย และ 8) พรุในที่ราบลุ่ม<br />

สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 42.7 อยู่ในระดับเสื่อมโทรมมาก โดยมี<br />

สาเหตุสําคัญจากความไม่ชัดเจนของขอบเขตพื้นที่ ด้านการใช้ประโยชน์<br />

พบว่าร้อยละ 33 ใช้ในการหาปลา รองลงมา คือ แหล่งน้ําการเพาะปลูก<br />

As for Thailand, public and private development<br />

projects such as land digging and filling, building dikes<br />

and land preparation for cultivation have had numerous<br />

impacts upon peat swamps, which was often perceived<br />

as “deteriorated land”. This problems have partly arisen<br />

because of lack of data to support area management.<br />

To remedy such problems, the Office of Natural Resources<br />

and Environmental Policy and Planning conducted a study<br />

and surveyed to review status of natural peat swamp<br />

in Thailand, as well as to set clear boundaries for area<br />

management and planning. The study revealed that there<br />

were at least 25 significant peat swamps with a total<br />

area of 186,649 rais, mostly spread across the southern<br />

region. Moreover, more swamps are being discovered in the<br />

northern highlands, including Ang Ka Luang and Ta Ton<br />

Phragmites Peat Swamps in Chiang Mai province.<br />

According to the classification system based on location<br />

and ecosystem, peat swamps are classified into 8 types as follows:<br />

1) highland peat swamps 2) upland peat swamps 3) low-lying<br />

land near river banks 4) peat bog 5) peat swamps behind<br />

sand dunes next to sea water 6) estuary 7) peat swamps<br />

behind sand dunes 8) low-lying land.<br />

Some 42.7 percent of total peat swamps area is rated<br />

as very destructive resulting from having unclear boundaries.<br />

In terms of area utilization, 33% of peat swamps support<br />

fishing, with lower proportions being water sources for<br />

consumption, cultivation and food source.<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

44


และแหล่งอาหาร<br />

พรุแม่รําพึง อ.บางสะพาน<br />

จัดอยู่ในกลุ่มของพรุหลังสันทรายที่ยังได้รับอิทธิพลจากน้ําทะเล<br />

จึงมีทั้งระบบน้ําจืดและน้ํากร่อย จากการวิเคราะห์ตัวอย่างดินที่เก็บบริเวณ<br />

ป่าเสม็ดสมบูรณ์ พบว่าปฏิกิริยาดินชั้นบนเป็นกรดแก่และเป็นด่างในดิน<br />

ชั้นล่าง ผลการศึกษาพบพรรณไม้ป่าพรุทั้งสิ้น 194 ชนิด สัตว์ป่า<br />

39 ชนิด ลักษณะเด่นสําคัญ คือ 1) พบชั้นดินอินทรีย์บริเวณป่าเสม็ด<br />

ที่ขึ้นหนาแน่น 2) บริเวณที่มีน้ําท่วมขังจะพบต้นจาก แสดงว่าได้รับ<br />

อิทธิพลจากน้ําทะเล 3) พบต้นจูดบริเวณที่มีน้ําท่วมขัง 4) ปฏิกิริยา<br />

ดินเป็นกรดจัด<br />

บทบาทสําคัญ ของพรุแม่รําพึง คือ การเก็บกักน้ําฝนและน้ําท่าและ<br />

การป้องกันน้ําเค็มรุกเข้ามาในแผ่นดิน ผลการจัดลําดับความสําคัญ อยู่ใน<br />

กลุ่มของพื้นที่ชุ่มน้ําที่มีความสําคัญระดับชาติ<br />

Mae Rampung Peat Swamp at Bangsapan District<br />

This swamp is classified as “behind sand dunes next to sea<br />

water” and contains both fresh and brackish water system. Soil<br />

analysis results from samples collected at Melaleuca Forest<br />

showed strong acid reactions in the upper soil and alkaline<br />

reactions in the lower soil, 194 types of peat swamp forest<br />

vegetation and 39 types of wildlife have been found in the<br />

peat swamp areas. Significant findings are 1) layer of organic<br />

soil in the dense area of Melaleuca Forest 2) nipa palms<br />

growing in the flood area, indicating sea water access<br />

3) jute trees growing in the flood areas 4) extremely acid<br />

soil.<br />

Mae Rampung Peat Swamp was determined as one<br />

among significant wetlands at national level with its crucial<br />

role in reserving rainfall and runoff water, as well as preventing<br />

inland sea water intrusion.<br />

45<br />

Thailand’s Nature and Environment Journal


ก่อนจะปิดเล่ม<br />

Epilogue<br />

แนะนําหนังสือ พิษและภัยจากสัตว์ทะเล<br />

Introducing on Venom and Danger from Sea Creatures<br />

ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 2,800 กิโลเมตร และมีชายหาด<br />

ที่สวยงามอยู่มากมาย ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาว<br />

ต่างประเทศจํานวนมากเดินทางมาพักผ่อนตามชายฝั่งทะเล รวมทั้ง<br />

ชุมชนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลทั้งในภาคตะวันออกและภาคใต้<br />

ของประเทศไทย<br />

ช่วงฤดูร้อน หลายครอบครัววางแผนจะไปพักผ่อนชายทะเลกัน<br />

จะเที่ยวให้สนุกก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมกันก่อน โดยก่อนออก<br />

เดินทางควรตรวจสอบเส้นทางและศึกษาสภาพอากาศของแหล่งท่องเที ่ยว<br />

โดยติดตามพยากรณ์อากาศอย่างสม่ําเสมอ หากมีประกาศแจ้งเตือน<br />

เกี่ยวกับพายุคลื่นลมแรง ควรงดหรือเลื่อนการเดินทางออกไปก่อน<br />

นอกจากนี ้ควรตรวจสอบสภาพแหล่งท่องเที ่ยว หากเป็นบริเวณที ่มีคลื ่นสูง<br />

มีทรายดูด เป็นที่อาศัยของสัตว์มีพิษ เคยเกิดคลื่นน้ําทะเลดูด (Rip<br />

Current) หรือคลื่นซัดฝั่งอย่างรุนแรงก็ควรจะระวังไว้ก่อน คงไม่มีใคร<br />

อยากไปเที่ยวแล้วมีอันตรายเกิดขึ้น เราจึงไม่ควรที่จะละเลยเกี่ยวกับ<br />

เรื่องของความปลอดภัย โดยเฉพาะเรื่องของพืชและสัตว์มีพิษต่างๆ<br />

เพราะหากพลาดพลั้งโดนพืชหรือสัตว์มีพิษเหล่านี้เข้าไปอาจส่งผลให้<br />

ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ มีสัตว์ทะเลหลายชนิดที่อาจเป็นอันตราย<br />

ต่อเราได้ เช่น แมงกะพรุนไฟ บุ้งทะเล ปะการังไฟ ฟองน้ําไฟ กั้งตั๊กแตน<br />

ปลาปักเป้า เพรียง หอยนางรม ฯลฯ ในปีหนึ่งๆ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ<br />

จากสัตว์ทะเลเหล่านี้เป็นจํานวนไม่น้อย แต่ทุกอย่างสามารถป้องกันได้<br />

ถ้าไม่ประมาท และระมัดระวังตัวอยู่เสมอ<br />

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้จัดพิมพ์หนังสือ “พิษและภัย<br />

จากสัตว์ทะเล” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ<br />

สัตว์ทะเลมีพิษและเป็นภัย ที่พบเห็นในน่านน้ําของประเทศไทย รวมทั้ง<br />

แนวทางปฏิบัติเมื่อได้รับอันตรายจากสัตว์ทะเลเหล่านั้น แก่ประชาชน<br />

ทั่วไป นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว ชุมชนที่อาศัยอยู่ตาม<br />

ชายทะเลและผู้ใช้ประโยชน์จากทะเล หนังสือเล่มนี้มีขนาดเล็กกะทัดรัด<br />

พิมพ์สี่สีสวยงาม เหมาะสําหรับพกติดตัว โดยเนื้อหาในเล่มประกอบด้วย<br />

ลักษณะทั่วไป พิษและอาการ การบําบัดรักษา และการป้องกัน<br />

พร้อมรูปประกอบ<br />

หากท่านผู้อ่านสนใจสามารถติดต่อขอรับได้ที่ กลุ่มสื่อสารองค์กร<br />

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ชั้น 5<br />

อาคารรวมหน่วยราชการ บี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา<br />

5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่<br />

กรุงเทพมหานคร 10210 โทรศัพท์ 0 2141 1299 โทรสาร 0 2143 9249<br />

เพื่อให้การท่องเที่ยวทะเลครั้งต่อไปของท่านปลอดภัยยิ่งขึ้น<br />

There are many beautiful beaches strung along the<br />

2,800 kilometers of Thailand’s coastline. Large numbers of<br />

Thai and overseas tourists visit these beaches every year. In<br />

addition, there are numerous local communities settled along<br />

the eastern and southern shorelines of the Kingdom.<br />

Most families like to plan vacations by the seashore<br />

during the summer. For a carefree holiday, it is better to<br />

plan ahead and check out the routes and the likely weather<br />

conditions. Plans can be postponed if there are warnings<br />

about strong winds and currents. It is also better to check<br />

safety conditions for areas reporting high waves or quicksand,<br />

venomous animal sources, rip currents or strong currents.<br />

Be careful of dangerous animals that may cause injuries or even<br />

death: Portuguese Man o’ War, fire worms, fire coral, fire<br />

sponges, mantis shrimps, porcupine fish, barnacles and even<br />

some mussels can inflict harm or even put a person’s life<br />

in danger. Every year, many people are injured by these<br />

creatures. However, all dangers can be avoided if people<br />

proceed with caution.<br />

Department of Marine and Coastal Resources has<br />

published a book called ‘Venom and Danger from Sea<br />

Creatures. with the objective of distributing knowledge<br />

about these perils to all people, including tourists, students,<br />

local residents and anyone else who utilize the sea. Information<br />

includes the types of medical treatment available. This is<br />

a small, handy pocket-size book filled with colorful illustrations<br />

and information about venoms and symptoms, treatments and<br />

ways of preventing being hurt.<br />

Readers who interest in this book should contact the<br />

Inter-Organizational Communication Group, Department of<br />

Marine and Coastal Resources, 120 Moo 3, 5 th floor, B<br />

Building, The Government Complex Commemorating His Majesty<br />

The King’s 80 th Birthday Anniversary, December 5 th , B.E. 2550<br />

(2007), Chaengwattana Road, Tung Song Hong Sub-district,<br />

Laksi District, Bangkok 10210, Tel 0 2141 1299, Fax 0 2143 9249<br />

and make your next trip safer and even more pleasant.<br />

วารสารธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย<br />

46


ที่พูดกันว่าฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลนั้น ความจริงเป็นฝีมือของมนุษย์นั่นเอง<br />

เพราะฉะนั้นถ้าเราให้สภาพธรรมชาติกลับคืนมาเหมือนเดิมมีแม่น้ำลำธาร มีน้ำจืด<br />

ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อชีวิตมนุษย์และการพัฒนาประเทศชาติ พวกเราต้องเข้าใจ<br />

และช่วยกันรักษาป่า เพื่อที่เราจะได้มีอนาคตและความหวังร่วมกัน<br />

พระราชดำรัส ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ


ภูชี้ฟ้า<br />

Phu Chee Fa<br />

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์<br />

Doi Inthanon National Park<br />

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย<br />

Sukhothai Historical Park<br />

โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ<br />

The Royal initiated Huai Ong Kot Project<br />

ช้างป่า อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์<br />

Elephants Kuiburi Prachuap Khiri Khan


ÇÒÃÊÒøÃÃÁªÒµÔáÅÐÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁ<br />

¢Í§»ÃÐà·Èä·Â<br />

¡Í§ºÃóҸԡÒÃ<br />

ÇÒÃÊÒøÃÃÁªÒµÔáÅÐÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁ¢Í§»ÃÐà·Èä·Â<br />

60/1 «Í¾ԺÙÅÇѲ¹Ò 7 ¹¹¾ÃÐÃÒÁ·Õè 6<br />

ÊÒÁàʹ㹠¾ÞÒä· ¡ÃØ§à·¾Ï 10400<br />

¡ÃسÒÊ‹§<br />

áʵÁ»Š<br />

¡Í§ºÃóҸԡÒà ÇÒÃÊÒøÃÃÁªÒµÔáÅÐÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁ¢Í§»ÃÐà·Èä·Â<br />

¡Í§µÔ´µÒÁ»ÃÐàÁÔ¹¼Å<br />

Êӹѡ§Ò¹¹âºÒÂáÅÐá¼¹·ÃѾÂҡøÃÃÁªÒµÔáÅÐÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁ<br />

60/1 «Í¾ԺÙÅÇѲ¹Ò 7 ¹¹¾ÃÐÃÒÁ·Õè 6<br />

ÊÒÁàʹ㹠¾ÞÒä·<br />

¡ÃØ§à·¾Ï 10400<br />

¡ÒùÓä»ãªŒ»ÃÐ⪹<br />

18. »ÃÐ⪹·Õèä´ŒÃѺ¨Ò¡ÇÒÃÊÒÃÏ (àÅ×Í¡ä´ŒÁÒ¡¡Ç‹Ò 1 ¢ŒÍ)<br />

• à¾ÔèÁ¾Ù¹¤ÇÒÁÃÙŒ´ŒÒ¹ÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁ<br />

• 㪌໚¹áËÅ‹§¢ŒÍÁÙÅ/àÍ¡ÊÒÃ͌ҧÍÔ§<br />

• 㪌㹡ÒÃÈÖ¡ÉÒ/ÇÔ¨ÑÂ<br />

• 㪌㹡ÒúÃÔËÒèѴ¡ÒÃ<br />

• Í×è¹æ (â»Ã´ÃкØ) ...............................................<br />

...........................................................................................<br />

19. ¡ÒÃ㪌»ÃÐ⪹¨Ò¡¡ÒÃá»Åà¹×éÍËÒ໚¹ÀÒÉÒÍѧ¡ÄÉ<br />

• ÁÒ¡ • »Ò¹¡ÅÒ§ • ¹ŒÍÂ<br />

• Í×è¹æ (â»Ã´ÃкØ) ...............................................<br />

...........................................................................................<br />

20. ·‹Ò¹Ê¹ã¨¨ÐµÔ´µÒÁÇÒÃÊÒøÃÃÁªÒµÔáÅÐÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁ<br />

¢Í§»ÃÐà·Èä·Âµ‹Íä»ËÃ×ÍäÁ‹<br />

• ʹ㨠• äÁ‹Ê¹ã¨<br />

(â»Ã´ÃкØà˵ؼÅ) .........................................................<br />

...........................................................................................<br />

¢ŒÍàʹÍá¹ÐÍ×è¹æ<br />

21. ¤ÍÅÑÁ¹/ËÑÇ¢ŒÍàÃ×èͧ·Õ赌ͧ¡ÒÃãËŒ¹ÓàʹÍ<br />

...........................................................................................<br />

...........................................................................................<br />

...........................................................................................<br />

...........................................................................................<br />

22. ¢ŒÍàʹÍá¹Ð/¤Óá¹Ð¹ÓÍ×è¹æ à¾×èÍ¡ÒûÃѺ»ÃاÇÒÃÊÒÃÏ<br />

...........................................................................................<br />

...........................................................................................<br />

...........................................................................................<br />

...........................................................................................<br />

¢Í¢Íº¤Ø³·Ø¡·‹Ò¹·ÕèãËŒ¤ÇÒÁËÇÁÁ×Í㹡ÒõͺẺÊͺÒÁ<br />

ẺÊͺÒÁ<br />

ª×èͼٌʋ§ .........................................................................<br />

·ÕèÍÂÙ‹ .............................................................................<br />

......................................................................................<br />

......................................................................................


ẺÊͺÒÁ<br />

¢ŒÍÁÙÅ·ÑèÇ仢ͧ¼ÙŒµÍºáººÊͺÒÁ<br />

à¾È • ªÒ • ËÞÔ§<br />

ÍÒÂØ ..................... »‚<br />

¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ • »ÃÐÁÈÖ¡ÉÒ • ÁѸÂÁÈÖ¡ÉÒ<br />

• »ÃÔÞÞÒµÃÕ • ÊÙ§¡Ç‹Ò»ÃÔÞÞÒµÃÕ<br />

• Í×è¹æ (â»Ã´ÃкØ) .....................................<br />

ÍÒªÕ¾ • ¹Ñ¡àÃÕ¹/¹Ñ¡ÈÖ¡ÉÒ • ¢ŒÒÃÒª¡ÒÃ/ÃÑ°ÇÔÊÒË¡Ô¨<br />

• Í×è¹æ (â»Ã´ÃкØ) ....................................<br />

...........................................................................................<br />

1. ·‹Ò¹ä´ŒÃѺÇÒÃÊÒøÃÃÁªÒµÔáÅÐÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁ¢Í§<br />

»ÃÐà·Èä·Â´ŒÇÂÇÔ¸Õ¡ÒÃã´<br />

• ä´ŒÃѺᨡ • µÔ´µ‹Í¢ÍÃѺàͧ<br />

• Í×è¹æ (â»Ã´ÃкØ) ................................................<br />

...........................................................................................<br />

2. ÃÐÂÐàÇÅҢͧ¡ÒÃÍÍ¡ÇÒÃÊÒÃÏ (»‚ÅÐ 4 ©ºÑº)<br />

• ÁÒ¡ä» • àËÁÒÐÊÁ • ¹ŒÍÂä»<br />

• Í×è¹æ (â»Ã´ÃкØ) ................................................<br />

...........................................................................................<br />

3. ¤ÇÒÁµÃ§µ‹ÍàÇÅҢͧ¡ÒÃà¼Âá¾Ã‹ÇÒÃÊÒÃÏ<br />

• ´Õ • »Ò¹¡ÅÒ§ • Å‹ÒªŒÒ<br />

• ¤ÇûÃѺ»Ãا (â»Ã´ÃкØ) ....................................<br />

...........................................................................................<br />

¤ÇÒÁ¤Ô´àËç¹µ‹ÍÃÙ»àÅ‹ÁáÅСÒÃÍ͡Ẻ<br />

4. ¢¹Ò´¢Í§ÃÙ»àÅ‹Á<br />

• ´ÕÁÒ¡ • ´Õ • »Ò¹¡ÅÒ§<br />

• ¤ÇûÃѺ»Ãا (â»Ã´ÃкØ) ................................<br />

...........................................................................................<br />

5. ¡ÒÃÍ͡Ẻ»¡<br />

• ´ÕÁÒ¡ • ´Õ • »Ò¹¡ÅÒ§<br />

• ¤ÇûÃѺ»Ãا (â»Ã´ÃкØ) ................................<br />

...........................................................................................<br />

6. ¡ÒèѴÇÒ§ÀÒ¾»ÃСͺ/á¼¹¼Ñ§/µÒÃÒ§<br />

• ´ÕÁÒ¡ • ´Õ • »Ò¹¡ÅÒ§<br />

• ¤ÇûÃѺ»Ãا (â»Ã´ÃкØ) ................................<br />

...........................................................................................<br />

7. ¡ÒèѴÇÒ§à¹×éÍËÒã¹àÅ‹Á<br />

• ´ÕÁÒ¡ • ´Õ • »Ò¹¡ÅÒ§<br />

• ¤ÇûÃѺ»Ãا (â»Ã´ÃкØ) ................................<br />

...........................................................................................<br />

8. ¤ÇÒÁ¤Ô´àËç¹â´ÂÃÇÁµ‹ÍÃÙ»àÅ‹ÁáÅСÒÃÍ͡Ẻ<br />

• ´ÕÁÒ¡ • ´Õ • »Ò¹¡ÅÒ§<br />

• ¤ÇûÃѺ»Ãا (â»Ã´ÃкØ) ................................<br />

...........................................................................................<br />

¤ÇÒÁ¤Ô´àËç¹µ‹Í¤ÍÅÑÁ¹áÅÐà¹×éÍËÒ<br />

9. ¨Ó¹Ç¹àÃ×èͧã¹áµ‹ÅФÍÅÑÁ¹<br />

• ´ÕÁÒ¡ • ´Õ • »Ò¹¡ÅÒ§<br />

• ¤ÇûÃѺ»Ãا (â»Ã´ÃкØ) ................................<br />

...........................................................................................<br />

10. ¤ÇÒÁÊÍ´¤ÅŒÍ§¢Í§ËÑÇàÃ×èͧã¹áµ‹ÅФÍÅÑÁ¹<br />

• ´ÕÁÒ¡ • ´Õ • »Ò¹¡ÅÒ§<br />

• ¤ÇûÃѺ»Ãا (â»Ã´ÃкØ) ................................<br />

...........................................................................................<br />

11. ¤ÇÒÁ¹‹Òʹ㨢ͧà¹×éÍËÒ<br />

• ´ÕÁÒ¡ • ´Õ • »Ò¹¡ÅÒ§<br />

• ¤ÇûÃѺ»Ãا (â»Ã´ÃкØ) ................................<br />

...........................................................................................<br />

12. ¤ÇÒÁàËÁÒÐÊÁ¢Í§à¹×éÍËÒã¹áµ‹ÅÐàÃ×èͧ<br />

• ´ÕÁÒ¡ • ´Õ • »Ò¹¡ÅÒ§<br />

• ¤ÇûÃѺ»Ãا (â»Ã´ÃкØ) ................................<br />

...........................................................................................<br />

13. ¤ÇÒÁàËÁÒÐÊÁ¢Í§ÀÒ¾»ÃСͺã¹áµ‹ÅÐàÃ×èͧ<br />

• ´ÕÁÒ¡ • ´Õ • »Ò¹¡ÅÒ§<br />

• ¤ÇûÃѺ»Ãا (â»Ã´ÃкØ) ................................<br />

...........................................................................................<br />

14. ¤ÇÒÁàËÁÒÐÊÁ¢Í§¡ÒÃá»Åà¹×éÍËÒ໚¹ÀÒÉÒÍѧ¡ÄÉ<br />

• àËÁÒÐÊÁáÅŒÇ • ¤ÇÃá»ÅÊÃØ»/‹Í<br />

• äÁ‹¤ÇÃá»Å<br />

• â»Ã´ÃкØà˵ؼŠ............................................<br />

...........................................................................................<br />

15. ¤ÍÅÑÁ¹·Õè·‹Ò¹ªÍºÁÒ¡·ÕèÊǾ<br />

• º·ºÃóҸԡÒà • ÀÒ¾¢‹ÒÇ<br />

• º·ÊÑÁÀÒɳ • ÊÁ´ØÅáÅÐËÅÒ¡ËÅÒÂ<br />

• ÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁáÅÐÁžÔÉ • ¡‹Í¹¨Ð»´àÅ‹Á<br />

• â»Ã´ÃкØà˵ؼŠ............................................<br />

...........................................................................................<br />

16. ¤ÍÅÑÁ¹·Õè¤ÇûÃѺ»ÃاÁÒ¡·ÕèÊǾ<br />

• º·ºÃóҸԡÒà • ÀÒ¾¢‹ÒÇ<br />

• º·ÊÑÁÀÒɳ • ÊÁ´ØÅáÅÐËÅÒ¡ËÅÒÂ<br />

• ÊÔè§áÇ´ÅŒÍÁáÅÐÁžÔÉ • ¡‹Í¹¨Ð»´àÅ‹Á<br />

• â»Ã´ÃкØà˵ؼŠ............................................<br />

...........................................................................................<br />

17. ¤ÇÒÁ¤Ô´àËç¹â´ÂÃÇÁµ‹Í¤ÍÅÑÁ¹áÅÐà¹×éÍËÒ<br />

• ´ÕÁÒ¡ • ´Õ • »Ò¹¡ÅÒ§<br />

• ¤ÇûÃѺ»Ãا (â»Ã´ÃкØ) ................................<br />

...........................................................................................

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!