19.01.2018 Views

127 ปี กระทรวงกลาโหม

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

๔.๑.๒ เหตุการณ์การปราบกบฏอั้งยี่<br />

ในเดือนมิถุนายน ๒๔๓๒ ได้เกิดเหตุการณ์กบฏอั้งยี่ ซึ่งเป็นการก่อความไม่สงบในพระนคร บริเวณโรงสี<br />

ปล่องเหลี่ยม บางรัก ระหว่างกรรมกรชาวจีนเชื้อสายฮกเกี้ยนกับกรรมกรชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋ว โดยมีสาเหตุมาจากการแย่งงานกันทำ<br />

ซึ่งความรุนแรงเกิดขึ้นที่บริเวณริมถนนเจริญกรุง ๒ ข้าง ใกล้กับวัดยานนาวา<br />

เนื่องจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นกรมนครบาลไม่สามารถระงับเหตุได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรง<br />

พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ เตรียมการจัด<br />

กำลังทหารเข้าปราบปรามพวกอั้งยี่และควบคุมสถานการณ์แทน<br />

โดยในวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๔๓๒ ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ จึง<br />

โปรดให้มีการใช้ตึกกลางของศาลายุทธนาธิการ เป็นกองบัญชาการปราบอั้งยี่ โดยทูลเชิญ<br />

นายพลโท สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เจ้าพนักงานใหญ่<br />

ผู้บัญชาการใช้จ่าย นายพลตรี สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ<br />

ผู้ช่วยบัญชาการทหารบก และนายพลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธิน รักษาราชการแทนผู้ช่วย<br />

บัญชาการทหารเรือ มาร่วมประชุมปรึกษาเพื่อวางแผนการปฏิบัติการปราบอั้งยี่ในครั้งนี้<br />

ผลการประชุมได้จัดกำลังทหารบกขึ้นรถรางไฟฟ้าสายหลักเมือง - ถนนตก ไปที่<br />

บริเวณใกล้ที่เกิดเหตุ และจัดกำลังทหารเรือ ลงเรือล่องตามแม่น้ำเจ้าพระยาจากกรมทหารเรือ<br />

ขึ้นบุกด้านใต้บริเวณที่เกิดเหตุอีกหนึ่งกองกำลัง<br />

ภาพนายพลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธิน<br />

รักษาราชการแทน<br />

ผู้ช่วยบัญชาการทหารเรือ<br />

ภาพกำลังพลกรมยุทธนาธิการบนรถรางไฟฟ้า<br />

เพื่อเข้าปฏิบัติการปราบอั้งยี่<br />

64

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!