12.06.2020 Views

สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย โดย ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม

  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ข้อมูลทางบรรณานุกรม<br />

ชื่อหนังสือ <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี<br />

ผู้เขียน<br />

พีระพัฒน์ สำราญ<br />

ปีที ่พิมพ์ 2563<br />

เลขมาตรฐานสากล 978-616-7384-40-5<br />

ประจำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์<br />

จัดพิมพ์<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

248/1 ซอยศูนย์วิจัย 4 (ซอย 17) ถนนพระรามที่ 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310<br />

รูปเล่ม<br />

บริษัท บานาน่า สตูดิโอ จำกัด<br />

408/16 ถนนพระรามที่ 5 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300<br />

ลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์เนื้อหา ©ประเวศ ลิมปรังษี และพีระพัฒน์ สำราญ 2563<br />

ลิขสิทธิ์รูปเล่ม ©สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2563<br />

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 การคัดลอกหรือเผยแพร่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้<br />

ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางผู้เขียนและสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์เท่านั้น<br />

Cataloguing in Publication<br />

Title<br />

Thai Architecture and Decorative Pattern by Buddhist Art&Architecture Disciple Pravet Limparungsri<br />

Author<br />

Peerapat Sumran<br />

Year 2020<br />

ISBN (e-book) 978-616-7384-40-5<br />

Publisher<br />

The Association of Siamese Architects under Royal Patronage<br />

248/1 Soi Soonvijai 4 (Soi 17) Rama 9 Road, Bangkapi, Huaykwang, Bangkok 10310<br />

Production<br />

Banana Studio Co.,tld<br />

408/16 Rama 5 Road, Thanon Nakhon Chai Si, Dusit, Bangkok 10300<br />

Copyrights Copyrights text © Pravet Limparungsri &Peerapat Sumran 2020<br />

Copyrights artwork ©ASA 2020<br />

All right reserved. No part of this publication may be reproduced or transmitted in any form or by any means,<br />

electronic or mechanical, including photocopy, recording or any other information storage and retrieval system,<br />

without prior permission in writing from the publisher


สารนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

เนื่องในโอกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อพุทธศักราช 2559<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ รู้สึกสำานึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย ประกอบกับ<br />

เนื่องในวาระครบรอบ 84 ปี สมาคมสถาปนิกสยามฯ เมื่อพุทธศักราช 2561 ที่ผ่านมา สมาคมสถาปนิกสยามฯ จึงได้<br />

จัดทำาโครงการ “The Ten Books on Architecture by ASA: หนังสือชุดองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม 10 เล่ม <strong>โดย</strong>สมาคม<br />

สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์” ขึ้น เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสอันเป็นมงคลดังกล่าว<br />

หนังสือชุดองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม 10 เล่มที่จัดทำาขึ้นในรูปเล่มขนาด 10 นิ้ว x 10 นิ้วและเผยแพร่<br />

ในรูปแบบ e-book นี้ เป็นการรวบรวมผลงานการศึกษาสถาปัตยกรรมในสาขาวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมไทย<br />

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ภูมิสถาปัตยกรรม และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ให้แก่ผู้ที่สนใจทั้งใน<br />

และนอกวงการสถาปัตยกรรมได้อ่านและค้นคว้าอย่างแพร่หลาย<strong>โดย</strong>ไม่คิดมูลค่า <strong>โดย</strong>มีผู้เขียนเป็นคณาจารย์ที่มีความรู้<br />

ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาเหล่านั้นจากสถาบันการศึกษาทางสถาปัตยกรรมชั้นนำาของประเทศ ได้แก่<br />

1. ว่าด้วยภูมิสถาปัตยกรรม บทความคัดสรรในรอบ 3 ทศวรรษ <strong>โดย</strong> ศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำา<br />

2. สารัตถะการพัฒนาสถาปัตยกรรม และชุมชนเมือง เอกลักษณ์ วิชาชีพ การศึกษา การวิจัยออกแบบ และ<br />

สภาพแวดล้อม <strong>โดย</strong> ศาสตราจารย์ ดร. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร<br />

3. สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไทย <strong>โดย</strong> ศาสตราจารย์ ดร. วีระ อินพันทัง และคณะ<br />

4. สถาปัตยกรรมศิวิไลซ์แห่งชาติ เส้นทางโหยหาของญี่ปุ่นและสยาม ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ถึง<br />

กลางศตวรรษที่ 20 <strong>โดย</strong> ศาสตราจารย์ สมชาติ จึงสิริอารักษ์<br />

5. งานสถาปัตยกรรมไทย ฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

<strong>โดย</strong> ศาสตราจารย์ สมคิด จิระทัศนกุล<br />

6. หลักคิดด้านคุณค่าของการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในประเทศไทย <strong>โดย</strong> รองศาสตราจารย์ ดร. ยงธนิศร์ พิมลเสถียร<br />

7. อาษามหากาฬ: จากเริ่มต้นจนอวสาน <strong>โดย</strong> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุดจิต (เศวตจินดา) สนั่นไหว<br />

8. <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี<br />

<strong>โดย</strong> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พีระพัฒน์ สำาราญ<br />

9. เปิดคลังเอกสาร อมร ศรีวงศ์ <strong>โดย</strong> ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พินัย สิริเกียรติกุล<br />

10. หลากทันสมัย: สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย บรรณาธิการ<strong>โดย</strong> ดร. วิญญู อาจรักษา<br />

สมาคมสถาปนิกสยามฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือชุดองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรมทั้ง 10 เล่มนี้ จะเป็น<br />

ประโยชน์ในการค้นคว้าวิจัยทางวิชาชีพและวิชาการสถาปัตยกรรม ตลอดจนใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ หรือใช้<br />

เป็นข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ ในการอ้างอิง เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม และสร้างสรรค์ผลงานที่มีความหมาย<br />

และคุณค่าให้แก่สังคมต่อไป<br />

(ดร. อัชชพล ดุสิตนานนท์)<br />

นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำาปี 2561 - 2563


สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร่วมมือกับสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการจัดพิมพ์หนังสือชุดองค์ความรู้ทางสถาปัตยกรรม 10 เล่ม ในวาระครบรอบ 84 ปี<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ <strong>โดย</strong>ที่หนังสือเรื่อง “<strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong>ศิษย์<br />

พุทธศิลปสถาปัตยกรรม ประเวศ ลิมปรังษี” เป็นหนึ่งในหนังสือวิชาการชุดนี้<br />

หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากความประสงค์ของผู้รวบรวมในฐานะลูกศิษย์ ซึ่งได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้และรับ<br />

การอบรมจากอาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี เมื่อครั้งที่อาจารย์ประเวศ ได้กลับมาสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมไทย<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร ภายหลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว อาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จาก<br />

การทำงานให้แก่นักศึกษาอย่างต่อเนื่องมาหลายสิบปีจนกระทั่งถึงแก่วาระสุดท้ายของชีวิต นอกจากความรู้ที่ได้รับ<br />

จากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว อาจารย์ยังได้รวบรวมค้นคว้าจัดทำเอกสารประกอบการศึกษาเพื่อใช้ในการเรียน<br />

การสอนไว้เป็นจำนวนมาก และยังแนะนำให้ผู้เรียนสำเนาแบบเก็บไว้สำหรับการศึกษาเพื่อออกแบบอย่างเข้าใจ<br />

<strong>โดย</strong>ที่อาจารย์มักกล่าวแนะนำอยู่เสมอๆ ว่า “ให้เก็บไว้ศึกษาและเป็นทางเดินของความคิดที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า<br />

ได้<strong>โดย</strong>ไม่หลงทาง...”<br />

เอกสารการสอนต่างๆ ที่อาจารย์ประเวศ จัดทำไว้แล้วนั้นเป็นสมุดปกอ่อนเย็บเล่มอย่างง่ายๆ พอสำหรับ<br />

การใช้สอนตามหัวข้อบรรยายแต่ละเรื่องๆ <strong>โดย</strong>เขียนคำอธิบายหัวเรื่องและภาพถ่ายประกอบแบบสถาปัตยกรรม<br />

ด้วยลายมือเขียนข้อความสั้นๆ เพื ่อประกอบความเข้าใจ<br />

เอกสารการสอนเหล่านี้จึงเป็นการจัดระบบความรู้ความคิดของอาจารย์ประเวศ ด้วยวิธีการเรียบเรียงที่อาจารย์<br />

สามารถทำได้ด้วยตนเองเป็นหลัก คือการรวบรวมข้อมูล ประมวลความรู้ และนำเสนอตัวอย่างเป็นแนวทางสำหรับ<br />

การนำไปใช้ออกแบบศิลปสถาปัตยกรรมไทยตามแนวทางปรัชญาศาสตร์ศิลปสถาปัตยกรรมไทย ตามแต่ละเรื่อง<br />

เพื่อให้เข้าใจถึงต้นกำเนิด ที่มา และการนำไปใช้ในการออกแบบต่อไป<br />

4


เอกสารประกอบการสอนด้านสถาปัตยกรรมไทยทั้งหมด ซึ่งมีจำนวนมากมายหลายร้อยเล่มได้มอบไว้ให้แก่<br />

สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมด้วยผลงานออกแบบ แบบพิมพ์เขียว<br />

ที่เก็บสะสมไว้อีกเป็นจำนวนมาก <strong>โดย</strong>ความประสงค์ของอาจารย์ที่ต้องการมอบให้แก่สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยฯ<br />

ดูแลจัดเก็บรักษาและนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการเผยแพร่และสืบทอดความรู้ด้านสถาปัตยกรรมไทยที่อาจารย์<br />

ประเวศ ได้อุทิศตัวมุ่งมั่นศึกษาพัฒนาต่อยอดจากครูบาอาจารย์จนเป็นผลสำเร็จมาแล้ว ด้วยผลงานออกแบบ<br />

พุทธศิลปสถาปัตยกรรมในแนวทางสร้างสรรค์จำนวนมากซึ่งเป็นผลงานสำคัญระดับชาติ ตลอดจนงานในหน้าที่<br />

ราชการกรมศิลปากรซึ่งท่านเองมีบทบาทสำคัญในการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์สถาปัตยรรมไทยทั่วประเทศ<br />

แนวคิดในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ ผู้รวบรวมมีความประสงค์ที่จะรักษาต้นฉบับเอกสารการสอนลายมือเขียน<br />

หรือเอกสารพิมพ์ดีดอัดสำเนาของอาจารย์ประเวศ และบทสัมภาษณ์ในวารสารและสื่อสิ ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นหลัก<br />

ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาจากความคิดของอาจารย์ประเวศอย่างแท้จริง ส่วนการเรียบเรียงเนื้อหา ภาพถ่ายประกอบ<br />

แบบลายเส้นสถาปัตยกรรม เป็นการคัดสรรจากคลังข้อมูลของสถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ<br />

<strong>โดย</strong>ผู้รวบรวมเอง<br />

“<strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong>” เป็นชื่อที่ปรากฏอยู่บนหน้าปกเอกสาร<br />

การสอนที่อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี เขียนไว้ด้วยลายมือตัวท่านเอง ผู้รวบรวมพิจารณาเห็นว่าเพื่อเป็นการรักษา<br />

ต้นฉบับเดิมของท่านอาจารย์ จึงได้นำชื่อดังกล่าวมาเป็นชื่อของหนังสือเล่มนี้<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พีระพัฒน์ สำราญ<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

รวบรวมและเรียบเรียง


สารบัญ<br />

บทที่<br />

1 แบบอักษรสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ 8<br />

บทที่<br />

2 เรื่องทรงหลังคาไทย 32<br />

บทที่<br />

3 เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย 60<br />

บทที่<br />

4 เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง 124<br />

ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี 171<br />

บรรณานุกรม 210<br />

ที่มาภาพ 212<br />

ประวัติผู้เขียน 213


1แบบตัวอักษรสำนักสมเด็จฯ<br />

เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

8 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชื่อบท<br />

9


อักษรจารึก เย ธมฺมาฯ หลักธรรมสำคัญที่เป็นหัวใจย่อของพระพุทธศาสนา ประดับอยู่ที่ผนังด้านหลังพระอุโบสถ พระปฐมเจดีย์<br />

ออกแบบอักษร<strong>โดย</strong>สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

10 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องแบบอักษรสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

อักษรลายมือและอักษรประดิษฐ์ <strong>โดย</strong>สมเด็จฯ เจ้าฟ้า<br />

กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หรือสมเด็จครูนั้น ถือได้ว่า<br />

เป็นผลงานออกแบบฝีพระหัตถ์ที่มีความงดงามอย่างยิ่ง ซึ่ง<br />

ปรากฏอยู่ร่วมกับผลงานออกแบบสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม<br />

จิตรกรรม และประณีตศิลปกรรม เป็นต้น กล่าวได้ว่าผลงาน<br />

ออกแบบและแบบร่างฝีพระหัตถ์ของพระองค์ท่าน <strong>โดย</strong>เฉพาะ<br />

ด้านสถาปัตยกรรมสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางใหม่ในการ<br />

สร้างสรรค์ศิลปสถาปัตยกรรมไทยในช่วงเวลาขณะนั้น ซึ่ง<br />

ระยะต่อมายังได้ส่งอิทธิพลต่อแนวคิด ตลอดจนแนวทาง<br />

สร้างสรรค์สืบเนื่องต่อมาอีกด้วย <strong>โดย</strong>เฉพาะภายในหน่วยงาน<br />

ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับงานช่างของแผ่นดิน ได้แก่<br />

กรมศิลปากร ราชบัณฑิตยสภาแผนกช่าง และโรงเรียนเตรียม<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร ในปัจจุบัน<br />

ทั้งนี้ คณาจารย์ผู้สอนสั่งวิชาความรู้ต่างๆ ด้านศาสตร์<br />

ศิลป์ให้แก่นักเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วนมากเป็น<br />

ช่างที่ปฏิบัติงานสนองงานให้แก่หน่วยงานราชการสืบต่อกัน<br />

มาเป็นลำดับ จึงปลูกฝังถ่ายทอดความรู้และแนวทางปฏิบัติ<br />

งานจริงไปพร้อมๆ กัน จนเกิดความชำนาญสั่งสมประสบการณ์<br />

ทำงานเป็นความเชี่ยวชาญที่จะเป็นครูช่างสืบต่อไป<br />

คณาจารย์ที่สอนวิชาช่างในโรงเรียนเตรียมศิลปากร<br />

ช่วงเวลาที่อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี เข้าศึกษาอยู่นั้น ส่วนใหญ่<br />

เป็นอาจารย์อาวุโสของกรมศิลปากร ซึ่งเป็นผู้ที่เคยถวาย<br />

งานรับใช้ใกล้ชิดสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

ตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงงานออกแบบด้วยพระองค์เอง อาทิ<br />

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อาจารย์พระพรหมพิจิตร อาจารย์<br />

พระเทวาภินิมิตร เป็นต้น <strong>โดย</strong>ทรงก ำหนดแนวทาง (ความคิด)<br />

ในการทำงานและมอบหมายให้ดำเนินงานตามพระประสงค์<br />

จนสำเร็จลุล่วงได้ผลงานเป็นที่พอพระทัย ทั้งยังเป็นที่ชื่นชม<br />

แก่ผู้ได้พบเห็นทุกคราวไป<br />

ผลงานสร้างสรรค์ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา<br />

นริศรานุวัดติวงศ์ เป็นที่ประจักษ์ถึงพระปรีชาสามารถในงาน<br />

ช่างศิลปะทุกแขนง จึงทรงได้รับการถวายพระเกียรติคุณ<br />

ด้วยสมัญญานาม “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม” และทรงได้รับ<br />

การเทิดทูนเป็น “สมเด็จครู” ของเหล่าศิษย์ที่ประกอบงาน<br />

ช่างศิลปะซึ่งร่วมกันถวายพระเกียรติ ยกย่องพระปรีชาสามารถ<br />

ของพระองค์ท่านสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้<br />

อาจารย์พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) คณบดี<br />

ท่านแรกของคณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

และเป็นผู้เขียนตำราพุทธศิลปสถาปัตยกรรม ภาคต้น เล่าถึง<br />

สมเด็จครูไว้ดังนี้<br />

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

เรื่องแบบอักษรสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

11


ลายพระหัตถ์ของ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรม<br />

พระยานริศรานุวัดติวงศ์ ที่ปรากฏใน<br />

กระดาษร่างและแบบสถาปัตยกรรมที่<br />

ทรงออกแบบ<br />

12 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


“ต่อมาไม่นานเท่าใดนัก ก็ได้พบและได้เฝ้าสมเด็จครู<br />

คือวันเสด็จเยี่ยมกรมศิลปากรในวันต่อมา ได้ทอดพระเนตร<br />

การทำงานในห้องช่าง<strong>โดย</strong>ทั่วแล้ว ได้ทรงถามข้าพเจ้าว่า<br />

ชื่ออะไร และรับสั ่งว่าเลิกงานวันนี้ให้ไปเฝ้าท่านที่วังท่าพระ<br />

ข้าพเจ้าได้ไปเฝ้าตามพระประสงค์ ได้ประทานรูปพระ<br />

ฉายาลักษณ์ลงพระนามนริศให้ขุนบรรจงเลขา ในนามของ<br />

ข้าพเจ้าเป็นพระรูปครึ่งพระองค์ขนาดโปสการ์ดใส่กรอบ<br />

กระจกตั้ง กับได้ทรงถามบางอย่างตามสมควร วันรุ่งขึ้นจึง<br />

ได้นำดอกไม้ธูปเทียนไปกราบถวายตัว ครั้งต่อๆ มาก็ได้เฝ้า<br />

<strong>โดย</strong>รับสั่งหา และบางครั้งท่านก็เสด็จไปหาที่บ้านเมื่อยู่บ้าน<br />

ตึกดิน ตรอกกรมศิลปากร ถนนดินสอ<br />

…ต่อมาก็เริ่มใช้งานที่ท่านทรงเขียนให้ช่วยลอกและ<br />

ต่อๆ ไปเป็นงานชิ้นเล็กบ้างชิ้นใหญ่บ้าง และทรงรับสั่งวิธีการ<br />

ให้ทราบไปในตัวและสิ่งใดที่ทรงถาม ถ้าตอบได้ก็พอพระทัย….<br />

อันพระเกียรติคุณของสมเด็จครูของสมเด็จครูนั้น เมื่อผู้ใด<br />

ได้เห็นหรือรับใช้สอยอยู่ใกล้ชิด จึงจะรู้น้ำพระทัยและ<br />

พระอัธยาศัยยากที่จะหาได้ มีพระสติปัญญาสุขุม ถ้าพูดถึง<br />

คำสามัญก็เรียกว่ามีความรู้ในด้านต่างๆ รอบตัว แต่ความ<br />

สำคัญที่ทรงพอพระทัยอย่างยิ่งก็คือ “ศิลป” และคำว่าศิลปนี้<br />

เมื่อทรงออกแบบออกมาทีไรใครได้เห็นเป็นต้องชอบ มักจะ<br />

ขโมยลอกและล้อเลียนตามแบบของท่านเอาไปใช้<strong>โดย</strong>ตรงบ้าง<br />

ดัดแปลงบ้าง แต่ก็หนีในทำนองของท่านไม่พ้น…”<br />

ความสืบเนื่องทางความคิดและแนวทางการทำงาน<br />

สถาปัตยกรรมไทยแนวใหม่ ซึ่งสมเด็จครูเป็นผู้ริเริ่มขึ้นยัง<br />

ส่งต่อมาถึงอาจารย์พระพรหมพิจิตร ผู้เป็นศิษย์ที่ถวายงาน<br />

อย่างใกล้ชิดและสืบทอดงานในหน้าที่<strong>โดย</strong>ตรง<br />

นอกจากนั้น อาจารย์ประเวศ บรรยายการสอนและ<br />

เขียนเอกสารประกอบการสอนเกี่ยวกับ แบบอักษรสำนัก<br />

สมเด็จครู ไว้ว่า<br />

“สำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

นี้สืบทอดมา ๓ ชั่วคน เช่นเดียวกับ สำนักอื่นๆ ที่ผ่านมา<br />

ของยุคสมัยรัตนโกสินทร์ ศิษย์สำนักนี้ที่ปรากฏเอกลักษณ์<br />

สืบทอดในผลงานและเอกสารเฉพาะมีดังนี้<br />

๑. พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์)<br />

ศิษย์สมเด็จกรมพระยานริศฯ<br />

๒. อาจารย์ศิลป พีระศรี<br />

ศิษย์สมเด็จกรมพระยานริศฯ<br />

๓. นายทองอยู่ เรียงเนตร<br />

๔. นายปรุง เปรมโรจน์<br />

๕. นายปลิว จั่นแก้ว<br />

๖. หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี<br />

๗. นายประเวศ ลิมปรังษี (คนสุดท้ายของสำนัก)”<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี เป็นศิษย์ที่ได้รับการศึกษา<br />

จากอาจารย์พระพรหมพิจิตรและอาจารย์ศิลป์ พีระศรี <strong>โดย</strong>ตรง<br />

ทั้งสองท่าน ได้รับการอบรมสั่งสอน ฝึกฝนฝีมือช่างตั้งแต่<br />

ศึกษาที่โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร และเมื่อเข้ามา<br />

ศึกษาต่อที่คณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

ตั้งแต่พุทธศักราช 2489 จนสำเร็จอนุปริญญาสถาปัตยกรรม<br />

ไทย<br />

อาจารย์ประเวศ จึงมีโอกาสได้เรียนรู้การทำงานช่าง<br />

ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรมไทย ศิลปะไทย และประติมากรรมไทย<br />

จากบรรดาครูบาอาจารย์หลายท่านที่สืบทอดแนวทางการ<br />

ทำงานสายสำนักสมเด็จฯกรมพระยานริศฯ ซึ่งมาเป็นครูสอน<br />

ที่คณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร และต่อมา<br />

ภายหลังเมื่อทำงานรับราชการที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร<br />

เรื่องแบบอักษรสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

13


ฝีพระหัตถ์สมเด็จครู ทรงออกแบบ<br />

อักษรไทยประดิษฐ์ ลักษณะตัวอักษร<br />

หนาปลายตัดเฉียง เพื่อเขียนประกอบ<br />

แบบร่างลงเส้นระบายสี พัดพระวิมาน<br />

ไพชยนต์ ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ<br />

ถวาย ในงานพระเมรุมาศ สมเด็จพระ<br />

ศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถพระบรม<br />

ราชชนนีพันปีหลวง<br />

14 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบร่างพัดดำรงธรรม สมเด็จครูทรง<br />

ออกแบบ (ผูกแบบ) ถวายกรมพระดำรง<br />

ราชานุภาพ สำหรับงานเจริญพระชันษา<br />

60 ปี แบบอักษรภาษาบาลี ลักษณะ<br />

เป็นอักษรตัวหนารูปทรงสูง ส่วนหัว<br />

โค้งมนและเน้นปลายหางโค้งแหลม<br />

อย่างงดงาม ส่วนปีพุทธศักราชที่เป็น<br />

เลขไทยนั้นสอดแทรกอยู่ภายในกรอบ<br />

พื้นที่อย่างลงตัว<br />

เรื่องแบบอักษรสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

15


ฝีพระหัตถ์สมเด็จครู ทรงออกแบบพัด<br />

อักษรพระนาม สมเด็จพระเจ้าบรม<br />

วงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรม<br />

พระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ด้วยตัว<br />

อักษรหนาที ่มีหัวและปลายหางตัดเฉียง<br />

ลักษณะตัวอักษรเหลี่ยมและเชื่อมต่อ<br />

กับสระอย่างงดงาม แบบอักษรนี้ได้ถูก<br />

นำไปใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน<br />

16 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบรูปด้านหลัง พระอุโบสถ วัดพระปฐม<br />

เจดีย์ สมเด็จครูทรงวางแนวคิดการ<br />

ออกแบบ และมอบให้พระพรหมพิจิตร<br />

เป็นผู้เขียนคัดลายเส้นดินสอบนกระดาษ<br />

กราฟ จะสังเกตเห็นลักษณะรูปแบบอักษร<br />

ที่ใช้เขียนชื่องาน มาตราส่วน ชื่อแบบ<br />

พร้อมทั้งตราสัญลักษณ์แทนพระองค์<br />

คือ น. ในดวงใจ<br />

ในการร่างแบบหรือเขียนแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ<br />

เพื่อใช้สำหรับการก่อสร้างอาคาร จำเป็นต้องมีการเขียนอักษร<br />

เพื่ออธิบายรายการประกอบแบบ รวมทั้งชื่อผลงานพร้อมด้วย<br />

มาตราส่วน ตลอดจนลายมือผู้เขียนแบบ ตรวจแบบ หน่วยงาน<br />

และวัน เดือน ปี ที่เขียนแบบแล้วเสร็จอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็น<br />

ระบบการทำงานเขียนแบบที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิธีเขียน<br />

แบบของชาวตะวันตกที่เข้ามาทำงานออกแบบเขียนแบบให้<br />

แก่หน่วยงานราชการของสยาม<br />

เรื่องแบบอักษรสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

แบบตัวอักษรสมเด็จครูในผลงานฝีพระหัตถ์ต่างๆ นั้น<br />

อาจสังเกตได้ถึงเอกลักษณ์เฉพาะของตัวอักรษรที่คลี่คลาย<br />

มาจากการเขียนอักษรขอมด้วยปากกาไม้ ดังเช่น ตรา<br />

สัญลักษณ์พระนามย่อ “น. ในดวงใจ” ซึ่งแฝงอยู่ในงาน<br />

ออกแบบฝีพระหัตถ์<br />

สำหรับแบบอักษรประดิษฐ์ ฝีพระหัตถ์สมเด็จครู นั้นมี<br />

หลากหลายรูปแบบที่ทรงสร้างสรรค์รูปแบบขึ้นเฉพาะใน<br />

งานแต่ละชิ้น ดังตัวอย่างเช่น อักษรจารึก พระอุโบสถ พระ<br />

ปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม, อักษรจารึก ปฐมบรมราชานุสรณ์<br />

สะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช, อักษรจารึกพระ<br />

อุโบสถวัดศรีมหาราชา จังหวัดชลบุรี เป็นต้น<br />

17


ศิลาจารึกประดับผนังด้านหลังของพระ<br />

ปฐมบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก<br />

มหาราช<br />

18 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ตัวอักษรในแบบรูปด้าน พระเมรุพระบรมศพ<br />

รัชกาลที่ 6 ออกแบบ<strong>โดย</strong>สมเด็จครู เขียน<br />

ลงเส้น<strong>โดย</strong>หลวงสมิทธิเลขา (ต่อมาได้รับ<br />

พระราชทานเลื่อนเป็นพระพรหมพิจิตร)<br />

เรื่องแบบอักษรสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

19


แบบอักษรประดิษฐ์ชื่อประตูสวัสดิโสภา<br />

ผลงานออกแบบของพระพรหมพิจิตร<br />

ซึ่งได้รับอิทธิพลทางด้านรูปแบบ<br />

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมประดับ<br />

ตกแต่งจากซุ้มประตูด้านข้างพระที่นั่ง<br />

จักรีมหาปราสาท<br />

20 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ประตูสวัสดิโสภา ตั้งอยู่แนวกำแพง<br />

พระบรมมหาราชวัง ทางทิศตะวันออก<br />

ด้านหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม<br />

เรื่องแบบอักษรสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

21


การฝึกหัดเขียนแบบตัวอักษรอย่างเป็นระเบียบ<br />

งดงาม เพื่อประกอบแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบแผน<br />

ของสำนักแห่งนี้ ซึ่งปรากฏอยู่ในแบบสถาปัตยกรรมที่อาจารย์<br />

ประเวศ ลิมปรังษีรวบรวมไว้ประกอบการศึกษา เรื่องแบบ<br />

อักษรสำนักสมเด็จครู ดังตัวอย่างที่นำมาแสดงนี้<br />

22 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องแบบอักษรสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

23


24 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องแบบอักษรสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

25


26 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องแบบอักษรสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

27


28 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


อักษรประดิษฐ์ตัวหนาตกแต่งอยู่เหนือ<br />

ช่องประตูทางเข้าด้านหน้าของมณฑป<br />

“เทสรังษี รำลึก” “พ.ศ. ๒๕๒๔” ผลงาน<br />

ออกแบบ<strong>โดย</strong>อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

ใช้ลักษณะตัวอักษรสำนักสมเด็จฯ และ<br />

อาจารย์พระพรหมพิจิตร<br />

เรื่องแบบอักษรสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

29


รวบรวมแบบอักษรสำนักสมเด็จครู พระพรหมพิจิตร และกรมศิลปากร<br />

30 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ข้อดีการศึกษาศิลปะคือ<br />

“...เราเรียนมาจากบรมครูกับผู้เชี่ยวชาญ แล้วเราไม่มีทางติดขัด<br />

เพราะการสืบทอดบรมครู หาทางติดขัดไม่ได้<br />

เรียกว่าเรียนแล้วมีปรัชญา ใช้ได้ เอาไปเขียนได้ เอาไปฝึกได้<br />

แต่เราเรียนกันเดี๋ยวนี้ เราไม่ฝึก...เท็จจริงแล้วต้องฝึกทั้งชีวิต...”<br />

เรื่องแบบอักษรสำนักสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

31


2<br />

ทรงหลังคาไทย<br />

32 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชื่อบท<br />

33


34 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องทรงหลังคาไทย<br />

รูปทรงหลังคาในงานสถาปัตยกรรมไทยนั้นมี<br />

หลากหลายรูปแบบแตกต่างกัน เกิดจากการนำเส้นสายของ<br />

รูปทรงในธรรมชาติมาปรับใช้ หรืออาจกล่าวได้ว่า “รูปทรงที่<br />

มีธรรมชาติเป็นแดนเกิด” ซึ่งสามารถศึกษาที่มาของทรง<br />

หลังคาไทย แบ่งออกเป็น 7 ลักษณะดังนี้<br />

1. รูปทรงจั่วของเรือนเครื่องผูก<br />

มาจากการก่อสร้างเรือนอยู่อาศัยด้วยวัสดุไม้ไผ่ใน<br />

สมัยเริ่มแรกๆ คือ เกิดจากน้ำหนักของวัสดุประกอบอยู่บน<br />

หลังคา ถ่ายน้ำหนักลงบนจันทัน (จันทันไม้ไผ่) <strong>โดย</strong>หลักการ<br />

ก่อสร้างคือ เอาส่วนของช่วงโคนลำไม้ไผ่พาดหลังอกไก่<br />

ส่วนปลายห้อยลงพาดทับแปหัวเสา ทิ้งปลายจันทันลงห่าง<br />

แปหัวเสาประมาณ 1 ช่วงของระยะช่วงแป<br />

น้ำหนักที่ถ่ายจากแป กลอน และวัสดุเครื่องมุงหลังคา<br />

เช่น จาก ฯลฯ เป็นต้น น้ ำหนักที่จันทันรับแรงกดดังกล่าว ท ำให้<br />

จันทันอ่อนตัวลงที่ตรงช่วงล่างจันทันไกลๆ แปหัวเสา และ<br />

ส่วนปลายของจันทัน ทำให้จันทันเป็นทรงจั่วของหลังคา<br />

เกิดความอ่อนตัว เกิดเป็นทรงงามประทับใจของช่างและผู้<br />

พบเห็นตลอดมายึดถือเอาแบบอย่างของทรงหลังคา แม้จะท ำ<br />

โครงสร้างอย่างไม้จริงเรียกว่า เรือนเครื่องสับแล้ว ก็ยังยึดถือ<br />

ทรงจั่วเครื่องผูกอยู่ แม้จันทันเป็นโครงหลังคาไม้จริงแล้วก็ยัง<br />

ถากไม้ เสริมไม้ให้ได้ทรงจันทันทรงอ่อนอย่างทรงจันทันไม้ไผ่<br />

เครื่องผูกอยู่ ได้แก่ จั่วเรือนเครื่องสับ จั่วหลังคาพระอุโบสถ<br />

และจั่วหลังคาพระวิหาร เป็นต้น ฯลฯ ดังภาพรูปจั่วอาคาร<br />

ทรงไทยที่นำมาแสดงไว้<br />

เรือนเครื่องผูกภาคกลาง สร้างด้วยไม้ไผ่<br />

มุงหลังคาจาก ยกพื้น มีใต้ถุน เป็น<br />

รูปแบบเรือนพักอาศัยอย่างสามัญชน<br />

เรื่องทรงหลังคาไทย<br />

35


36 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบเรือนเครื่องผูก แสดงรูปลักษณะ<br />

และชื่อองค์ประกอบส่วนต่างๆ ของเรือน<br />

ดังปรากฏในรูปตัดซึ่งจะเห็นโครงสร้าง<br />

หลังคาไม้ไผ่ รองรับไม้กลอนและตับจาก<br />

ที่มุงปิดทับโครงสร้างทั้งส่วนเรือนและ<br />

ระเบียงเป็นทรงหลังคาอ่อนตัวตาม<br />

ธรรมชาติ<br />

ชื่อบท<br />

37


2. จั่วทรงเครื่องถ่วง<br />

รูปทรงนี้เกิดขึ้นจากความประทับใจของทรงอ่อนโค้ง<br />

ของจั่วเรือนเครื่องผูก เมื่อมีการสร้างเรือนให้มีความมั่นคง<br />

แข็งแรงกว่าเดิมที่เรียกว่า “เรือนไม้จริง” หรือ “เรือนเครื่องสับ”<br />

ขึ้นนั้น จึงได้นำเอาลักษณะของเส้นสายที่อ่อนโค้งของจั่วนั้น<br />

มาใช้เป็นทรงหลังคา <strong>โดย</strong>อาศัย “เครื่องถ่วง” น ำมาคิดน้ำหนัก<br />

ของโครงสร้างที่จะวางอยู่บนจันทัน อันได้แก่ แป กลอน<br />

และวัสดุมุง โดนคิดเฉลี่ยออกตามพื้นที่ เช่น คิดเป็น<br />

ตารางเมตร นำมาทดสอบกับโครงจั่วหลังคาจำลองเท่าจริง<br />

ที่วางแนบชิดผนังเป็นฉากหลัง จากนั้นจึงนำแผ่นไม้ที่ได้ถาก<br />

ส่วนปลายข้างหนึ่งออกแล้วขึ้นวางพาดบนอกไก่เหนือใบดั้ง<br />

แล้วจึงนำเครื่องถ่วงที่เตรียมไว้ขึ้นแขวนในตำแหน่งที่<br />

กำหนดไว้เพื่อให้สัมพันธ์กับการคำนวณน้ำหนักข้างต้น<br />

ไม้ที่ใช้ทำแบบทรงจันทันนั้นจะเกิดการอ่อนโค้ง<br />

อันเกิดจากการรับแรง จากนั้นจึงทำการเขียนแนวเส้นโค้งที่<br />

เกิดขึ้นนั้นบนพื้นฉากหลังติดผนัง และใช้เส้นโค้งดังกล่าว<br />

เป็นแบบในการปรุงส่วนโครงจั่วหลังคาเรือนต่อไป<br />

เรือนขนาดเล็กอย่างกุฏิ ที่สร้างให้มั่นคง<br />

แข็งแรงขึ้นเป็นเรือนไม้จริงทรงหลังคา<br />

เครื่องถ่วง ลักษณะทรงหลังคานี้กำกับ<br />

ด้วยเส้นโค้งของทรงจันทันเมื่อรับแรง<br />

แล้วอ่อนตัวลงเป็นเส้นโค้ง ซึ่งจะใช้เป็น<br />

แบบทรงหลังคาจั่ว<br />

38 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรือนเครื่องสับ ถือเป็นเอกลักษณ์ของ<br />

สถาปัตยกรรมไทยประเภทเรือนพัก<br />

อาศัยภาคกลางที่ก่อสร้างด้วยไม้จริง มี<br />

ความคงทนถาวรและสืบทอดแบบแผน<br />

การปลูกสร้างด้วยภูมิปัญญาเชิงช่าง<br />

<strong>โดย</strong>ช่างไม้จะปรุงเรือนขึ้นจากสัดส่วน<br />

แผนผัง รูปทรง โครงสร้าง และองค์<br />

ประกอบที่มีความสัมพันธ์สอดคล้อง<br />

กับพื้นที่ใช้สอยเพื่อการอยู่อาศัยใน<br />

บริบทสภาพแวดล้อมอย่างสงบสุข<br />

รูปทรงหลังคาเรือนไทยที่มีความ<br />

งดงามนี ้เป็นลักษณะของจั่วทรงเครื่อง<br />

ถ่วง ซึ่งช่างไม้จะกำหนดรูปทรง<strong>โดย</strong>ใช้<br />

องค์ประกอบโครงสร้างส่วนสำคัญคือ<br />

จันทันไม้แต่งรูปล้อไปตามเส้นนอก<br />

ของทรงหลังคาเครื่องถ่วง ใช้เป็นแบบ<br />

ในการปรุงเรือน<br />

เรื่องทรงหลังคาไทย<br />

39


3. จั่วทรงฟันปลา<br />

มาจากการก่อสร้างโครงสร้างหลังคาอาคารไทยด้วย<br />

วัสดุไม้จริงหรือไม้แปรรูปเป็นตัวไม้ทำจันทันที่มีกำลังรับ<br />

ต้านน้ำหนักเครื่องบนได้<strong>โดย</strong>จันทันไม่อ่อนตัวเมื่อตั้งแป<br />

กลอน ตลอดจนเครื่องมุงหลังคาแล้ว หากจะทำให้หลังคา<br />

อ่อนบ้างก็สามารถใช้ไม้เสริมตรงเชิงจันทัน แล้วถากไม้<br />

เสริมให้ได้ทรงอ่อนลงมาจนสุดตรงเชิงชาย เส้นทรงอ่อนได้<br />

เฉพาะส่วนเหนือแปหัวเสาขึ้นไปไม่ได้มากนัก<br />

ทรงจั่วฟันปลาจะดูแข็งเพราะจันทันเป็นไม้แปรรูป<br />

ทรงเส้นตรงทั้งแผ่น ส่วนใหญ่ใช้ไม้แปรรูปทำโครงสร้าง<br />

ทั้งหมด ทรงจึงไม่อ่อนหวานและนิ่มนวลเหมือนอย่างทรง<br />

จั่วเรือนหลังคาเครื่องผูก ดังตัวอย่างในแบบที่นำมาแสดง<br />

“ทรงจั่วฟันปลา”<br />

บน กระจังฟันปลา ในตำราพุทธศิลป<br />

สถาปัตยกรรม ภาคต้น <strong>โดย</strong>พระพรหม<br />

พิจิตร แสดงลักษณะฟันปลา 3 แบบ<br />

คือ ฟัน 1 , ฟัน 3 และฟัน 5 ซึ่งจัดวาง<br />

อยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยม<br />

ล่าง ทรงจั่วฟันปลา ซึ่งน ำมาเป็นตัวอย่าง<br />

ในการออกแบบสถาปัตยกรรมไทย<br />

จากแบบสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร<br />

40 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ศาลาไทย วัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี<br />

ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทย<strong>โดย</strong><br />

ประเวศ ลิมปรังษี ที ่ใช้ลักษณะหลังคา<br />

ทรงฟันปลา<br />

เรื่องทรงหลังคาไทย<br />

41


ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช<br />

จังหวัดหนองบัวลำภู ผลงานออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรมไทย<strong>โดย</strong> ประเวศ ลิมปรังษี<br />

เป็นอาคารเครื่องไม้ขนาดเล็กที่ใช้<br />

ลักษณะจั่วทรงฟันปลา หลังคาซ้อนชั้น<br />

มีชายคาปีกนกรอบทั้งสี่ด้าน รวยระกา<br />

ป้านลมประดับตกแต่ง หน้าจั่วทำด้วย<br />

ไม้แกะสลักลวดลายประณีตงดงาม<br />

42 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องทรงหลังคาไทย<br />

43


บน รูปทรงดอกบัว<strong>โดย</strong>ธรรมชาติและ<br />

แปลงเป็นตัวเทศในศิลปไทย จากตำรา<br />

พุทธศิลปสถาปัตยกรรม ภาคต้น <strong>โดย</strong><br />

พระพรหมพิจิตร อธิบายความสำคัญ<br />

ของดอกบัวที่เป็นบ่อเกิดของศิลปไทย<br />

อาทิ การแปลงลายเทศ (ตัวเทศและ<br />

ใบเทศ) ซึ่งยังสามารถดัดแปลงเข้าหา<br />

รูปทรงใหม่ๆ ได้อีกมาก อาทิ ทรงพุ่ม<br />

ข้าวบิณฑ์ใบเทศ เป็นต้น<br />

ล่าง ใบระกาและหน้าจั่ว จากตำราพุทธ<br />

ศิลปสถาปัตยกรรม ภาคต้น <strong>โดย</strong>พระ<br />

พรหมพิจิตร เป็นแบบอย่างของการ<br />

ดัดแปลงทรงดอกบัวเข้าหารูปทรงจั่ว<br />

ในงานสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งแสดงออก<br />

ด้วยองค์ประกอบชุดเครื่องบนประดับ<br />

ตกแต่งหน้าจั่ว ด้วยรูปทรง ลักษณะและ<br />

จังหวะของเส้นสายที่แฝงไว้ด้วยทรงบัว<br />

4. จั่วทรงบัว<br />

มาจากการก่อสร้างทรงโคมหลังคาปราสาทหินเมื่อ<br />

ถ่ายน้ำหนักลงผนังในทรงโค้ง <strong>โดย</strong>ไม่ใช้โครงสร้างอื่นๆ รับ<br />

น้ำหนักโครงหลังคา เมื่อช่างไทยทำหลังคาโค้งด้วยไม้ ทรงจั่ว<br />

ก็ต้องโค้งตามหลังคาทรงจั่วเช่นนี ้ ช่างไทยเห็นว่ามาจาก<br />

ลักษณะของทรงดอกบัวชนิดหนึ่งที่มีทรงดอกป้อมๆ<br />

ไม่แหลมนัก ช่างไทยจึงทำปั้นลมทรงจั่วเป็นทรงดอกบัว<br />

เรียกว่า “จั่วทรงบัว”<br />

การทำโครงสร้างหลังคาทรงบัวด้วยคอนกรีต<br />

เสริมเหล็กก็เป็นแบบที่ง่าย เพราะสามารถหล่อเป็นทรงโค้ง<br />

ได้อย่างสะดวก แต่ถ้าเป็นโครงหลังคาทำด้วยไม้ก็ต้องเสริม<br />

หลังจันทัน ถากหรือเลื่อยเข้าประกอบเสริมเป็นทรงหลังคา<br />

โค้งตามรูปจั่วทรงบัว ดังแสดงแบบประกอบการศึกษาวิธีทำ<br />

โครงสร้างหลังคาจั่วทรงบัว 2 รูปแบบ คือแบบไม้ และ<br />

แบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ดังรูปที่นำมาแสดงไว้<br />

44 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบลายเส้นรูปตั้งด้านหน้าและด้านข้างหอเปลื้องเครื่อง ประกอบพระเมรุมาศ<br />

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ออกแบบ<strong>โดย</strong><br />

ประเวศ ลิมปรังษี เป็นอาคารชั่วคราวสำหรับใช้ในงานพระราชพิธี ก่อสร้างด้วย<br />

ไม้อัด ฉลุลาย ซ้อนไม้ตกแต่งองค์ประกอบและลวดลายศิลปไทย สำหรับหน้าจั่ว<br />

และเครื่องบนชุด ใบระกา ผู้ออกแบบใช้ลักษณะทรงบัว ให้มีจังหวะเส้นสาย<br />

อ่อนหวานนิ่มนวล<br />

เรื่องทรงหลังคาไทย<br />

45


วชิราวุธวิทยาลัย สถาปัตยกรรมไทย<br />

คอนกรีตยุคแรก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาล<br />

ที่ 6 เป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรม<br />

ไทยที่มีหลังคาทรงบัว ซึ่งช่างไทย<br />

สามารถดัดแปลงทรงหลังคาไทยให้<br />

สอดรับกับการก่อสร้างอาคารโครงสร้าง<br />

คอนกรีตเสริมเหล็กประดับ ตกแต่ง<br />

ลวดลายถอดพิมพ์ปูนซีเมนต์ด้วยลาย<br />

ไทยได้อย่างประสานกลมกลืน<br />

46 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องทรงหลังคาไทย<br />

47


5. จั่วทรงทิ้งเส้นเชือก (ทรงตกท้องช้าง)<br />

มาจากการทิ้งเส้นเชือก คือ เมื่อจะทำการก่อสร้าง<br />

ขนาดขื่อกว้างเท่าไร ก็ให้แบ่งกลางขื่อแล้วตั้งไม้ใบดั้งให้ตั้ง<br />

ฉากดูสมส่วนกับความกว้างของตัวอาคาร เหนือใบดั้งให้<br />

ตัดไม้ประกอบเป็นรูปทรงอกไก่ แล้วตอกตะปูบนหลังตัวสัน<br />

อกไก่ ผูกเชือกยาว 2 เท่า ความกว้างของตัวเรือน แล้วดึง<br />

เชือกไปทางด้านข้างตรงแนวจันทันให้สุดปลายเชือกตึงชิด<br />

ปลายแปหัวเสาและเชิงชาย แล้วทิ้งเส้นเชือกไป เมื่อเชือก<br />

ทรงอ่อนหยุดนิ่ง ให้กดเชือกไว้กับหลังสะพานหนู ตอกตะปู<br />

จับไว้ไม่ให้เคลื่อน แล้วแบ่งขื่อจากเชิงใบดั้งถึงหลังข้างแป<br />

หัวเสาออกเป็น 5 ส่วน ตรงจุดภายในช่วงที่แบ่งตั้งตุ๊กตา<br />

เป็นไม้ตั ้งฉากขึ้นไปจดเส้นเชือก แล้วดัดปลายตุ๊กตาจาก<br />

ด้านข้างส่วนหลังที่แตะเชือกทุกๆ ต้น จุดที่ตุ๊กตาแตะเชือก<br />

ทั้งหมดเป็นแนวหลังจันทัน <strong>โดย</strong>หลังจันทันเป็นแนวทรง<br />

หลังคา หรือแนวของจั่วทรงทิ้งเส้นเชือก ตามกรรมวิธี<br />

ดังรูปทรงที่แสดง<br />

แบบลายเส้นรูปตั้งด้านหน้าและรูปตัด<br />

ทรงหลังคาพระระเบียง วัดเบญจมบพิตร<br />

ดุสิตวราราม เป็นตัวอย่างลักษณะหลังคา<br />

จั่วทรงทิ้งเส้นเชือก โครงสร้างหลังคา<br />

เครื่องประดุ<br />

48 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม<br />

ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทย<br />

<strong>โดย</strong> สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา<br />

นุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบแผนผังและ<br />

รูปทรงหลังคาของพระอุโบสถและ<br />

พระระเบียงเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่าง<br />

งดงาม กล่าวได้ว่า พระอุโบสถแห่งนี้<br />

เป็นงานสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมไทย<br />

แนวใหม่ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีต<br />

หลังคาจตุรมุขและมุขทางเข้าด้านหน้า<br />

มีลักษณะรูปทรงจั ่วเปิด ก่อสร้างด้วย<br />

ระบบโครงสร้างไม้แบบโครงเครื่องประดุ<br />

เผยให้เห็นไขราหน้าจั่วซึ่งมีแปสี ่เหลี ่ยม<br />

รองรับกลอน ระแนง มุงกระเบื้องหลังคา<br />

กาบกล้วย ปรากฏผลสัมฤทธิ์ด้านความ<br />

งดงามของรูปทรงหลังคาเครื่องไม้<br />

ที่สมเด็จครูทรงสร้างสรรค์ออกแบบ<br />

เรื่องทรงหลังคาไทย<br />

49


50 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบลายเส้นรูปตั้งและรูปตัดโครงสร้างหลังคาจั่วทรงทิ้งเส้นเชือก<br />

ที่มีเส้นรูปนอกอ่อนโค้งเป็นจังหวะงดงามจากเส้นร่างดินสอ <strong>โดย</strong><br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ผสานความงามของรูปทรงจั่วทรงตก<br />

ท้องช้างและชายคาปีกนกแผ่กว้างและคันทวยแนบข้างเสาที่รองรับ<br />

จังหวะต่อเนื่องเป็นลำดับของเส้นรูปนอกสถาปัตยกรรม<br />

เรื่องทรงหลังคาไทย<br />

51


6. จั่วทรงภควัม<br />

มาจากทรงเรือนรัศมีขององค์ภควัมตามที่ช่าง<br />

สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญในสถาปัตยกรรมไทย ได้กำหนดรูปแบบ<br />

ของทรงจั่วไว้ คือ คล้ายๆ ทรงหลังคาแบบทรงเครื่องผูกและ<br />

ทรงฟันปลา แต่จัดปั้นลมเป็น 3 ช่วง ตามจังหวะรูปทรงรัศมี<br />

ของพระภควัม จึงเรียกว่า “จั่วทรงภควัม” “ปั้นลมจั่วภควัม”<br />

บน หน้าจั ่วทรงภควัม ประดับตกแต่ง<br />

เครื่องบนแบบปั้นลมและแบบเครื่อง<br />

ลำยอง ภาพลายเส้นจากตำราพุทธศิลป<br />

สถาปัตยกรรม ภาคต้น <strong>โดย</strong>พระพรหม<br />

พิจิตร<br />

ล่าง แบบรูปตั้งพระเมรุมาศสมเด็จ<br />

พระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี<br />

ในรัชกาลที่ 7 ออกแบบ<strong>โดย</strong> ประเวศ<br />

ลิมปรังษี เป็นงานสถาปัตยกรรมไทย<br />

เฉพาะกิจ สำหรับงานพระราชพิธีถวาย<br />

พระเพลิงพระศพ ลักษณะเป็นอาคาร<br />

ทรงปราสาทยอดมุขทิศทั้งส่ี่ด้านมี<br />

ลักษณะจั่วทรงภควัมในเส้นรูปนอก<br />

ของทรงบัว<br />

52 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ออกแบบ<strong>โดย</strong> ประเวศ<br />

ลิมปรังษี เป็นอาคารชั่วคราวสำหรับใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ รูปทรงจั่วและ<br />

เครื่องบนประดับตกแต่งด้วยงานซ้อนไม้ปิดกระดาษทองย่น ผู้ออกแบบใช้ลักษณะพระเมรุมาศทรงยอด<br />

ปราสาทซ้อนชั้น ยื่นมุขอาคารออกมาจากเรือนธาตุทั้งสี่ทิศ เครื่องบนตกแต่งหน้าจั่วรูปทรงภควัม<br />

ที่มีจังหวะเส้นสายอ่อนหวานนิ่มนวล<br />

เรื่องทรงหลังคาไทย<br />

53


พระอุโบสถ วัดอรัญวาสี อำเภอศรีเชียงใหม่<br />

จังหวัดหนองคาย ออกแบบ<strong>โดย</strong> ประเวศ<br />

ลิมปรังษี เป็นอาคารสถาปัตยกรรมไทย<br />

อีสานด้วยเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรม<br />

ล้านช้าง ซึ่งผู้ออกแบบให้ความสำคัญกับ<br />

การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมที่มีรากฐาน<br />

ทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมของ<br />

ท้องถิ่น มาเป็นแนวทางในการออกแบบได้<br />

อย่างงดงาม เรียบง่ายและกลมกลืนกับ<br />

สภาพแวดล้อมของที่ตั้ง<br />

54 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องทรงหลังคาไทย<br />

55


7. หลังคาทรงจอมแห<br />

ที่มาของหลังคาทรงมณฑปหรือหลังคาเครื่องยอด<br />

มาจากทรงของการตากแหอย่างหนึ่ง และมาจากทรวดทรง<br />

พีระมิดหรือทรงแสงอาทิตย์ ทรงมณฑปหลังคาเหลี่ยม<br />

ทั้งหมดที่กล่าวก็เข้ารูปทรงหลังคาจอมแหทั้งสิ้น คือ การ<br />

ตัดส่วนหรือการรวมแหเอาทรงที่ต้องการ ดังรูปตัวอย่าง<br />

อาคารที่แสดงไว้<br />

แบบรูปด้านและรูปตัด พระมณฑป<br />

แปดเหลี่ยมที่มีหลังคาเครื่องยอดทรง<br />

จอมแห ร่างแบบ<strong>โดย</strong> อาจารย์ประเวศ<br />

ลิมปรังษี<br />

56 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


พระอุโบสถ วัดโสธรวรารามฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา<br />

ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทย<strong>โดย</strong> ประเวศ<br />

ลิมปรังษี ที่มีหลังคาทรงจอมแห อันเป็นลักษณะ<br />

หนึ่งของรูปทรงอาคารเครื่องยอด แต่ผู้ออกแบบ<br />

ดัดแปลงแผนผังหลังคาแปดเหลี่ยมด้านไม่เท่า<br />

(หรือสี่เหลี่ยมปาดมุม) เข้าประสานอยู่ภายใต้<br />

รูปทรงจอมแหได้อย่างงดงาม<br />

เรื่องทรงหลังคาไทย<br />

57


พระอุโบสถ วัดโสธรวรารามฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทย<strong>โดย</strong> ประเวศ ลิมปรังษี<br />

เพื่อสนองแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร<br />

มีพระราชดำรัสเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันวิสาขบูชา เมื่อวันที่ 3<br />

มิถุนายน พ.ศ. 2509 ความว่า “...ตั้งใจมานมัสการหลวงพ่อพุทธโสธรนานแล้ว ทำไมสร้างพระอุโบสถแบบนี้<br />

ไม่สมเกียรติหลวงพ่อพุทธโสธร ให้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่...” ซึ่งสถาปนิกผู้ออกแบบวางแนวคิดด้านประโยชน์<br />

ใช้สอยรูปแบบสถาปัตยกรรม โครงสร้างและวัสดุ ตลอดจนรายละเอียดการประดับตกแต่งตามหลักปรัชญา<br />

การสร้างงานพุทธศิลปสถาปัตยกรรมแนวใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 9<br />

58 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


การเรียน การออกแบบงานศิลปะเปรียบเสมือนกับ<br />

“...คนกินอาหารเข้าไปแล้วตกเป็นเหงื่อ ให้มีประโยชน์ ไม่ใช่การกินแล้วคายหรืออาเจียน<br />

คนก็จะเห็นว่าแบบเดิมเป็นอะไร เหมือนกับการลอกแบบ<br />

แต่ถ้ากลืนแล้วย่อยออกเป็นเหงื่อ เหมือนกับว่าเรากินเข้าไปในปัญญา<br />

เราสามารถขัดเกลา แก้ไข พลิกแพลง ไม่ให้ของเก่าเหลืออยู่และเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้น<br />

เท่ากับการสร้างสรรค์งานแบบใหม่ ชาติก็ได้รับสิ่งใหม่...”<br />

ชื่อบท<br />

59


3<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

60 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชื่อบท<br />

61


การนิวัติแห่งสิ่งส้าง <strong>โดย</strong>พระเทวาภินิมมิต (ฉาย เทียมสินไชย) เอกสารประกอบการสอนเรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย ของอาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

ความเป็นมาของอาคารเครื่องยอด<br />

คำว่า “เครื่อง” หมายถึง องค์ประกอบหลายสิ่ง<br />

หลายอย่างมารวมประกอบกันให้เกิดผลตามที่ต้องการ เช่น<br />

เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องยา เครื่องแกง เครื่องทองของหมั้น<br />

ตลอดจนเครื่องเรือน เป็นต้น คำว่า “เครื่องยอดอาคาร”<br />

ทำนองเดียวกันคือต้องมีองค์ประกอบหลายสิ่งหลายอย่าง<br />

อันประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างและประกอบการตกแต่งให้เกิด<br />

ผลตามต้องการ<br />

ทุกๆ ชาติในโลกที่เจริญแล้วด้วยพฤติกรรมทางปัญญา<br />

ย่อมมองเห็นองค์ประกอบของธรรมชาติที่เกิดขึ้นด้วยการ<br />

ปรุงแต่งให้มีทรวดทรงที่งดงามตามธรรมชาติมาสร้างสรรค์<br />

สิ่งที่มียอดเกือบทั้งสิ้น จึงอาศัยปรัชญาในธรรมชาติมาสร้าง<br />

สรรค์สิ่งที่ดีงามด้วยการใช้เครื่องยอดที่สำคัญอยู่ทั่วไป<br />

เครื่องยอดอาคารเหล่านี้ย่อมแตกต่างกันไปตามปรัชญา<br />

ที่เหมาะสมกับอาคารและการใช้สอยอาคารตามยศศักดิ์และ<br />

ความสำคัญต่างกัน เป็นตัวหลักของวิชาออกแบบเพื ่อ<br />

กาลเทศะที่เหมาะสมกับเรื่องแต่ละประเภทที่ใช้เป็นประการ<br />

สำคัญที่ต้องศึกษา <strong>โดย</strong>เฉพาะในสถาปัตยกรรมศิลปะไทย<br />

ตามโอกาสนั้นๆ ที่จะสร้างหรือที่จะก่อสร้างอาคารขึ้นใช้สอย<br />

ตามหลักวัฒนธรรมและประเพณีของไทยที่นิยมสืบทอด<br />

กันมาในทางที่ดี เหมาะสมที่สามารถใช้สอยกับผลที่แสดงออก<br />

ถึงความเจริญที่อวดทางปรัชญาของตนได้ อันเป็นที่ชื่นชม<br />

ของมนุษยชาติต่อไปได้เป็นประการสำคัญ<br />

การใช้เครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทยมีหลากหลาย<br />

รูปแบบ เท่าที่ปรากฏหลักฐานแห่งรูปแบบสามารถประมวล<br />

เข้าหลักวิชาที่จะศึกษาได้มีดังนี้<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

แบบรูปตั้งพระเมรุที่พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส<br />

ฝีพระหัตถ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ แสดงสัดส่วนรูปทรงยอดมณฑปย่อมุมไม้สิบสอง<br />

และร่างผังพื้นของชั้นหลังคาเครื่องยอด<br />

63


1 เครื่องยอดของอาคารที่มาจากฉัตร หรือมาจากแบบรูปทรง<br />

ของฉัตร<br />

ฉัตรคือร่มนั่นเอง เรามักเรียกว่า เจดีย์ มักมีฉัตรปัก<br />

เพราะว่าฉัตรนั้นมีลักษณะเหมือนกับร่มซ้อนกันหลายๆ ชั้น<br />

เหมือนนำร่มมาเสียบตามเถา ตามลักษณะของการซ้อนกัน<br />

ฉัตรจึงเหมือนกับร่มหรือพระกลดซ้อนกันเป็นชั้นๆ เพียงแต่<br />

ขนาดย่อยลงเท่านั้น แต่ก็เอาทรงตามรูปแบบตัวอย่างนี้<br />

เรียกว่า ทรงฉัตร เพราะนำฉัตรมาทำเครื่องยอด<br />

การนำมาใช้สอยมักใช้ในการประกอบพิธีที่เป็นงาน<br />

ชั่วคราวและเร่งรัด เพราะฉัตรทำด้วยผ้าขาวแล้วเดินเส้นทอง<br />

ติดขอบ<strong>โดย</strong>รอบ<br />

การใช้สอยเครื่องฉัตรสามารถใช้ทำเมรุก็ได้ เช่น ใน<br />

อดีตใช้สร้างเมรุของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินที่เกิดเหตุสวรรคตลง<br />

กลางทาง <strong>โดย</strong>ใช้เป็นยอดของปะรำ ตัวอาคารนั้นเราเรียกว่า<br />

“ปะรำ” แต่ปะรำลักษณะนี้นั้นเพิ่มฉัตรขึ้นเป็นเครื่องยอด<br />

ซึ่งเราจะเห็นว่าเป็นอาคารที่ปลูกสร้างได้ง่ายทั้งฉัตรและปะร ำ<br />

หรือสร้างเป็นเครื่องยอดประกอบพลับพลายกที่ประทับของ<br />

พระเจ้าแผ่นดินก็ได้<br />

รูปแบบของยอดฉัตรขึ้นอยู่กับจำนวนชั้นของฉัตรที่<br />

เหมาะสมกับศักดิ์ของอาคาร เช่น พระเจ้าแผ่นดินใช้ฉัตร<br />

จำนวน 9 ชั้น พระราชินีและเจ้านายฝ่ายในใช้ฉัตรจำนวน<br />

7 ชั้น ระดับเจ้าฟ้าใช้ฉัตร 5 ชั้น และพระสังฆราช พระสงฆ์<br />

ใช้ฉัตรจำนวน 3 ชั้น เป็นต้น<br />

เครื่องยอดฉัตรและเส้นกำกับรูปทรง<br />

ฉัตรแขวนและฉัตรปัก<br />

64 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ฉัตรปักประดับฐานพระเมรุมาศ ถวาย<br />

พระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลงานออกแบบ<br />

<strong>โดย</strong> สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา<br />

นุวัดติวงศ์<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

65


ปะรำยอดฉัตร 9 ชั้น ใช้ประกอบพิธีบวงสรวงอดีตบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า<br />

สมโภชพระนคร ครบ 200 ปี ออกแบบ<strong>โดย</strong> อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

66 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบรูปตั้งพลับพลาและปะรำบวงสรวง<br />

อดีตบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ในงาน<br />

พระราชพิธี ณ ท้องสนามหลวง<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

67


เบญจาสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ<br />

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร สร้างเป็น<br />

อาคารชั่วคราวทรงยอดฉัตรในแผนผัง<br />

สี่เหลี่ยมที่มีลักษณะแบบศิลปะล้านช้าง<br />

68 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบรูปด้านและรูปตัด<br />

เบญจาสมโภชพระบรม<br />

สารีริกธาตุ วัดพระธาตุพนม<br />

วรมหาวิหาร<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

69


70 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบปะรำประกอบพิธียอดฉัตร<br />

ประเภทงานเฉพาะกิจ พระราชพิธี<br />

ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จ<br />

พระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี<br />

ในรัชกาลที่ 7<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

71


2 เครื่องยอดของอาคารที่มาจากบุษบก หรือมาจากรูปแบบ<br />

ของทรงบุษบก<br />

บุษบก คือ อาคารที่ไม่มีฝา ใช้ทำบัลลังก์ เป็นอาคาร<br />

โถง ถ้ามีฝาจะเรียกว่า มณฑป ดังนั้น ลักษณะของบุษบก<br />

จึงเป็นเครื่องยอดโถงแต่สามารถนำไปใช้กับอาคารก็ได้<br />

รูปแบบจะมีชั้นเชิงกลอน 3 หรือ 5 ชั้น ขึ้นอยู่กับ<br />

ลักษณะของอาคาร แต่จะไม่ถึง 7 ชั้น อาจเปรียบเทียบ<br />

ความต่างระหว่างมณฑปกับบุษบกได้ว่า มณฑปมีฝา เป็น<br />

อาคารซึ่งมีผนัง แต่บุษบกนั้นจะไม่มีฝา สำหรับส่วนยอดจะ<br />

เป็นหลังคาเหลี่ยมหรือหลังคาซ้อนหลายชั้นหรือย่อไม้ก็ได้<br />

ทั้งสองแบบ<br />

การนำไปใช้สอยนั้นสามารถออกแบบเป็นหอพระ<br />

ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นอาคารที่มีพระพุทธรูปนั่งอยู่ภายใน<br />

บุษบก หรือหอระฆังซึ่งสามารถออกแบบเป็นเรือนยกพื้นสูง<br />

และมีขนาดเล็ก<br />

ตัวอย่างของอาคารเครื่องยอดบุษบก คือ พระเมรุมาศ<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเปลี่ยนมาตั้ง<br />

จิตกาธานข้างใน แต่เดิมนั้นอยู่ภายในปราสาท เพราะว่าเมรุ<br />

เดิมเป็นบัลลังก์ ซึ่งบัลลังก์ก็คือบุษบกที่อยู่ภายในปราสาท<br />

เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่มาใช้กันในสมัยอยุธยา<br />

เราเรียกว่าสร้างปราสาทแล้วเอาบุษบกไว้ในปราสาท แล้ว<br />

ตั้งจิตกาธานในบุษบกแล้วจึงเผา คือ เผาบนบัลลังก์ เหมือนกับ<br />

ท่านนั่งอยู่ภายในบุษบกคือบัลลังก์ของท่าน แต่ตัวอาคารนั้น<br />

เป็นปราสาททึบ ใช้ปราสาทเป็นเมรุ แต่พอตอนหลังใน<br />

สมัยรัชกาลที่ 5 จึงเลิก เพราะว่าสิ้นเปลือง<br />

ซ้าย แบบทรงยอดบุษบก มณฑป หรือ<br />

ปราสาท<br />

ขวา ชื่อองค์ประกอบส่วนต่างๆ ของบุษบก<br />

บัลลังก์ <strong>โดย</strong> อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

72 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


พระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอม<br />

เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

73


พระเมรุมาศ พระบรมศพพระบาทสมเด็จ<br />

พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6<br />

74 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบรูปด้านพระเมรุมาศ พระบรมศพ<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

รัชกาลที่ 6 ผลงานออกแบบ<strong>โดย</strong> สมเด็จฯ<br />

เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

75


แบบผังหลังคาเครื่องยอดทรงบุษบก<br />

และรูปด้านชั้นหลังคา พระเมรุมาศ<br />

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

76 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบร่างซุ้มประตูยอดทรงบุษบกที่<br />

ออกแบบให้มีขนาดต่างกันจึงใช้<br />

องค์ประกอบชั้น เชิงกลอนหลังคา 5 ชั้น<br />

และ 3 ชั้นตามลำดับ ออกแบบ<strong>โดย</strong><br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

77


3 เครื่องยอดของอาคารที่มาจากมณฑป หรือมาจากรูปแบบ<br />

ของทรงมณฑป<br />

มณฑป เป็นอาคารมีฝา หลังคาเหลี่ยมทรงเหลี่ยม<br />

แบบพีระมิด และมีพัฒนาการต่อมาในสมัยหลังด้วยการ<br />

เพิ่มชั้นซ้อนให้มากขึ้น เช่น มณฑปในสมัยอยุธยาและ<br />

รัตนโกสินทร์ คือ มณฑปพระพุทธบาท สระบุรี และมณฑป<br />

วัดพระแก้ว ต่อมาภายหลังยังมีการพลิกแพลงรูปแบบแผนผัง<br />

เป็นมณฑปหกเหลี่ยมหรือมณฑปแปดเหลี่ยม<br />

ลักษณะของยอดทรงมณฑปนั้นมีหลายทาง เช่น<br />

มณฑปตามรูปที่แสดงมานี้เป็นยอดมณฑปที่มาจากทรง<br />

จอมแห ซึ่งพัฒนามาเป็นทฤษฎีทางไทยแล้ว มีที่มาจาก<br />

การตากแห คือ หลังจากทอดแหเสร็จแล้วก็ได้นำไม้ไผ่<br />

มาเสียบปากแห แล้วเอาไม้กระทุ้งกางไว้ให้แห้ง จึงกลายเป็น<br />

รูปทรงที่สวยงาม<br />

ยอดมณฑปเราถือว่าเป็นของสูงศักดิ์ ไม่เหมาะที่จะ<br />

นำไปใช้กับงาน<strong>โดย</strong>ทั่วไป นอกจากเป็นอาคารที่เกี่ยวข้องกับ<br />

ระดับพระมหากษัตริย์ เช่น การนำมาใช้เป็นยอดปราสาท<br />

และพระมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง หรือที่เกี่ยวข้อง<br />

กับพระพุทธศาสนา เช่น มณฑปพระพุทธบาทหรือมณฑป<br />

หอพระไตรปิฎก เป็นต้น<br />

ลายเส้นพระมณฑป ร่างแบบ<strong>โดย</strong> อาจารย์พระพรหมพิจิตร<br />

78 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบรูปด้านพระมณฑป พระพุทธบาท<br />

จังหวัดสระบุรี สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา<br />

เดิมเป็นหลังคาทรงมณฑปโครงสร้างไม้<br />

ต่อมาซ่อมแปลงทรงยอดคอนกรีต<strong>โดย</strong><br />

อาจารย์พระพรหมพิจิตร<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

79


แบบเครื่องยอดมณฑปพระพุทธบาท<br />

จังหวัดสระบุรี เขียน<strong>โดย</strong> อาจารย์<br />

พระพรหมพิจิตร เพื่อใช้เป็นแบบซ่อม<br />

แปลงรูปทรง โครงสร้าง และองค์ประกอบ<br />

เป็นเครื่องยอดคอนกรีต ซึ่งจะสังเกต<br />

เห็นถึงวิธีการเขียนแบบอย่างถูกต้อง<br />

ประณีตงดงาม อันเป็นแนวทางการ<br />

ทำงานที่อาจารย์พระพรหมพิจิตรได้รับ<br />

การอบรมสืบทอดมาจากสมเด็จครู<br />

80 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


81


82 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบร่างพระที่นั่งชัยมังคลาภิเษก ณ<br />

มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เป็นงาน<br />

สถาปัตยกรรมไทยเฉพาะกิจ ในงาน<br />

พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษามหา<br />

มงคล 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระบรม<br />

ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

มหาราช บรมนาถบพิตร<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

83


ระบบโครงสร้างเครื่องไม้ในการขึ้น<br />

รูปทรงปราสาทจตุรมุขและทรงมณฑป<br />

ย่อไม้สิบสอง<br />

84 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบขยายรูปทรงหลังคาทรงจตุรมุขเชื่อมต่อหลังคายอดปราสาท<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

85


มณฑปเทศรังษีรำลึก วัดหินหมากเป้ง<br />

อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย<br />

สร้างริมตลิ่งแม่น้ำโขง ผลงานออกแบบ<br />

<strong>โดย</strong> อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

แบบรูปด้านมณฑปเทศรังษีรำลึก วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่<br />

จังหวัดหนองคาย ลักษณะอาคารเครื่องยอดทรงมณฑปศิลปะล้านช้าง<br />

86 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

87


88 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบแผนผังและรูปด้านพระมหา<br />

มณฑป (ไม่ได้สร้าง) ซึ่งอาจารย์ประเวศ<br />

ลิมปรังษี ร่างแบบแนวคิดเครื่องยอด<br />

เป็นทรงมณฑปเครื่องยอด 2 รัศมี แยก<br />

ผืนหลังคาเป็น สองส่วน<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

89


แบบรูปด้านพระมหามณฑป (ไม่ได้<br />

สร้าง) ซึ่งอาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

ออกแบบแนวคิดเป็นอาคารขนาดใหญ่<br />

สูงหลายชั้นภายใต้รูปทรงมณฑป 5 ยอด<br />

ประกอบชั้นฐานและโถงทางเข้า<br />

90 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

91


4 เครื่องยอดของอาคารที่มาจากสถูปเจดีย์ หรือมาจาก<br />

รูปแบบของทรงสถูปเจดีย์<br />

คำว่า สถูปเจดีย์ นั้นมีที่มาคือ ไทยเรียกว่า เจดีย์ แต่<br />

อินเดียเรียกว่า สถูป จึงทำให้ไขว้เขวอยู่เหมือนกัน เราต้อง<br />

เข้าใจก่อนว่าสถูปเป็นสถาปัตยกรรม ส่วนเจดีย์เป็นนามธรรม<br />

ไม่มีตัวตน คือสิ่งที่เคารพ สิ่งที่บูชา สิ่งที่นับถือ ฉะนั้นเจดีย์<br />

จึงเป็นนามธรรมเหมือนกับอนุสาวรีย์คือหมายถึงที ่ระลึกถึง<br />

แต่สถูปนั้นหมายถึงสถาปัตยกรรม เป็นสิ่งปลูกสร้างสิ่งก่อสร้าง<br />

ไม่ใช่นามธรรม จึงแตกต่างกันตรงนี้ ถ้าจะเรียกให้ถูกควร<br />

เรียกว่า สถูปเจดีย์<br />

สถูปเจดีย์นั้นมีประวัติความเป็นมาดังนี้ พระอานนท์<br />

ได้ทูลถามต่อพระพุทธเจ้าเมื่อเห็นว่าพระพุทธเจ้าถึงเวลาจะ<br />

ปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ท่านก็เลยเข้านั่งสมาธิ พระอานนท์<br />

เห็นดังนั้นก็จึงซักถามพระพุทธเจ้า “...เรียนถามพระตถาคต<br />

ว่า พระสรีระของพระองค์ท่านเมื่อสิ้นแล้วจะทำอย่างไร<br />

พระพุทธเจ้าตอบว่าให้ถวายพระเพลิงอย่างจักรพรรดิทั้ง<br />

หลาย เพราะท่านเป็นคนสั่งถวายพระเพลิงบิดา แล้วสถานที่<br />

ถวายพระเพลิงนั้นก็ให้ก่อเป็นสถูปไว้ พระอานนท์เข้าใจดีว่า<br />

การถวายพระเพลิงอย่างพระจักรพรรดินั้นท ำอย่างไร แต่คำว่า<br />

สถูปนั้นไม่เคยได้ยินชื่อ ก็จึงซักถามพระตถาคตต่อไปว่า<br />

คำว่าสถูปนี้รูปสัณฐานเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าจึงหยิบผ้า<br />

สังฆาฏิมาพับเป็นสี่เหลี่ยม แล้วยกบาตรมาคว่ ำลงบนสังฆาฏิ<br />

แล้วเอาตีนบาตรมาตั้งข้างบน แล้วจึงนำพระกลดตั้งขึ้น<br />

บนนั้น แล้วจึงตอบพระอานนท์ว่า นี่อานนท์...สถูป” เราจึง<br />

ได้รู้ว่าบาตร คือ ต้นแบบของสถูปของพระพุทธเจ้าที่ทรง<br />

สร้างแบบขึ้น<br />

หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว จึงได้สร้างสถูป<br />

ขึ้น<strong>โดย</strong>เริ่มขุดแกนเป็นสี่เหลี่ยมแล้วเอาผ้าจีวรของ<br />

พระพุทธเจ้ารอง เอาบาตรวางลง แล้วเอาตีนบาตรวางคว่ำลง<br />

แล้วจึงก่อถมดินเป็นสถูปใหญ่ทรงบาตร แต่ตัวบาตรจึงอยู่<br />

ภายใน ส่วนยอดปักฉัตรหรือกลด เพราะเดิมคงใช้กลด แต่ไทย<br />

เรามาใช้ฉัตรจึงเป็นปล้องไฉนหลายชั้นเกิดขึ้นมา แต่เมื่อก่อน<br />

นั้นคงจะปักพระกลดเฉยๆ<br />

สำหรับเครื่องยอดที่มาจากเจดีย์ สามารถนำไปใช้<br />

เป็นยอดของมณฑป หอระฆัง ซุ้มเสมา ฯลฯ เราจึงเห็นว่า<br />

เดิมนั้นสถูปอยู่บนพื้นดิน พอนำไปอยู่บนยอดอาคารก็กลาย<br />

เป็นเครื่องยอดของอาคารได้<br />

แบบเรือนของสถูปเจดีย์ นำมาใช้เป็น<br />

เครื่องยอดหอระฆังหรือใช้เป็นยอด<br />

ซุ้มเสมา<br />

92 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบรูปด้านและรูปตัด หอระฆังทรง<br />

ยอดเจดีย์ วัดยานนาวา ผลงานออกแบบ<br />

<strong>โดย</strong> อาจารย์พระพรหมพิจิตร<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

93


94 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบรูปด้านและรูปตัดเจดีย์ วัดหิน<br />

หมากเป้ง (ไม่ได้สร้าง) ออกแบบ<strong>โดย</strong><br />

อาจารย์ ประเวศ ลิมปรังษี รูปแบบ<br />

ผสมผสานของเจดีย์และทรงเครื่องยอด<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

95


96


แบบรูปตั้งด้านหน้าและด้านข้าง หอพระ<br />

ประจำเมือง จังหวัดสมุทรสาคร (ไม่ได้<br />

สร้าง) ออกแบบ<strong>โดย</strong> อาจารย์ประเวศ<br />

ลิมปรังษี ทรงยอดเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้<br />

สิบสอง<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

97


5 เครื่องยอดของอาคารที่มาจากปรางค์ หรือมาจากรูปแบบ<br />

ของทรงปรางค์<br />

ปรางค์ซึ่งเราใช้เป็นเครื่องยอดในศิลปไทยที ่ปรากฏ<br />

ในประเทศไทยมี 3 ชนิด<br />

ชนิดที่ 1 คือ ปรางค์ทรงจอมภูเขาหรือทรงศิขร เป็น<br />

ปรางค์สมัยลพบุรีและสมัยสุโขทัย สืบเนื่องจากเขมรได้เคย<br />

ปกครองประเทศไทยมาก่อน จึงได้มีการสร้างปรางค์เป็น<br />

เทวสถานของเทพ แต่มาภายหลังเรานำมาใช้ในทางพุทธ<br />

เราจึงเอาเทวรูปออกแล้วนำพระพุทธรูปเข้าไปใส่แทน<br />

ชนิดที่ 2 คือ ปรางค์ทรงงาเนียมหรืองาช้างหนุ่ม เป็น<br />

ปรางค์สมัยอยุธยา<br />

ชนิดที่ 3 คือ ปรางค์ทรงฝักข้าวโพด เป็นปรางค์สมัย<br />

รัตนโกสินทร์<br />

ปรางค์ในสมัยสุโขทัยนั้นเป็นเครื่องยอดที่แท้จริง คือ<br />

ใช้เป็นยอดอาคารของสถูปเจดีย์ แต่ปรางค์ของรัตนโกสินทร์<br />

ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องยอดปราสาท เช่น ปราสาทพระเทพ<br />

บิดรเป็นปรางค์ทรงฝักข้าวโพด หรือพระปรางค์วัดอรุณ<br />

ราชวรารามก็เป็นทรงฝักข้าวโพด เป็นความคิดของสมัย<br />

รัตนโกสินทร์ มีลักษณะคือทรงยาวต่างจากทรงงาเนียมสมัย<br />

อยุธยาที่จะเป็นทรงสั้น แต่ปลายป้อม เป็นทรงงาช้างหนุ่ม<br />

ฉะนั้นเราจึงมีเครื่องยอดทรงปรางค์อยู่ 3 ชนิด<br />

สามารถนำมาใช้สอยเป็นสถูปเจดีย์หรือนำมาเป็นเครื่อง<br />

ยอดของอาคารสถาปัตยกรรมไทยได้<br />

การนำเครื่องยอดทรงปรางค์ไปใช้เป็นยอดอาคาร<br />

จะต้องศึกษาให้เข้าทรง เข้าแบบไม่ใช่การตัดเฉพาะส่วนยอด<br />

มาเสียบลงบนหลังคา ต้องศึกษาและออกแบบให้ประสาน<br />

เสียงในศาสตร์ศิลป์เพื่อความงาม รูปแบบนี้เป็นเพียงทาง<br />

เดินของความคิด แต่เราจะเลือกแบบมาใช้ได้ตามปรัชญา<br />

ความคิดของแบบนั้น เราต้องดูความเหมาะสมด้วย<br />

แบบทรงยอดปรางค์และ<br />

ทรงยอดนพศูล<br />

98 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ตามรูปแบบที่แสดงมานี้ ส่วนยอดเหนือจอมโมฬี<br />

เราเรียกว่า อิศวรวัชระ คืออาวุธของพระอิศวรมาปักลงยอด<br />

เพราะว่าปรางค์เป็นเทวสถานของฮินดู พระอิศวรเป็นผู้สร้างโลก<br />

เพราะฉะนั้นอาวุธของท่านจึงเรียกว่า อิศวรวัชระ คือเมื่อ<br />

ยกขึ้นแล้วมีอำนาจ แสดงถึงผู้มีอำนาจ ถ้าตรีศูลอันนั้นเป็น<br />

ของหนุมานคือมีสามง่าม จึงต้องเรียกตามฐานะของผู้ใช้<br />

ซ้าย แบบร่างซุ้มประตูยอดปรางค์ ลาย<br />

เส้นของอาจารย์พระพรหมพิจิตร<br />

ขวา แบบรูปด้านประตูสวัสดิโสภา<br />

เครื่องยอดคอนกรีตทรงปรางค์สมัย<br />

รัตนโกสินทร์ ออกแบบ<strong>โดย</strong> อาจารย์<br />

พระพรหมพิจิตร<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

99


แบบรูปด้านประตูสวัสดิโสภา<br />

พระบรมมหาราชวัง<br />

100 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบแผนผังเครื่องยอดปรางค์ประตู<br />

สวัสดิโสภา พระบรมมหาราชวัง<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

101


แบบรูปด้านและรูปตัด ศาลหลักเมือง<br />

ทรงปรางค์ยอดจตุรภักตร์ (ไม่ได้สร้าง)<br />

ออกแบบ<strong>โดย</strong> อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

102 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบรูปด้านศาลหลักเมืองทรงปรางค์<br />

ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา<br />

ออกแบบ<strong>โดย</strong> อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

103


แบบลายเส้นเหรียญรางวัล สยามรัฐ<br />

พิพิธภัณฑ์ ฝีพระหัตถ์ออกแบบสมเด็จฯ<br />

เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์<br />

6 เครื่องยอดของอาคารที่มาจากมงกุฎ หรือมาจากรูปแบบ<br />

ของทรงมงกุฎ<br />

ตามรูปแบบที่แสดงมานี้เป็นลักษณะของมงกุฎ รูปแบบ<br />

ทรงมงกุฎประกอบด้วยพระเกี้ยว 3 ชั้น ทรงมงกุฎเราถือว่า<br />

เป็นของสูง พระเจ้าแผ่นดินทรงมงกุฎเป็นเครื่องสวมศีรษะ<br />

เต็มยศ ฉะนั้นมงกุฎจึงใช้กับพระเจ้าแผ่นดินองค์เดียวไม่ใช้<br />

กับคนอื่น<br />

104 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ซุ้มประตูยอดมงกุฎ วัดอรุณราชวราราม<br />

กรุงเทพมหานคร<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

105


พระเมรุ สมเด็จพระราชปิตุลาบรม<br />

พงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์<br />

กรมพระยา ภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

106 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบรูปด้านพระเมรุ สมเด็จพระราช<br />

ปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษี<br />

สว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

107


แบบรูปตัดพระเมรุ สมเด็จพระราช<br />

ปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษี<br />

สว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์<br />

วรเดช<br />

108 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

109


บน แบบเครื่องยอดชฎา ชฎายอดบัด<br />

และลอมพอก<br />

ล่าง ซุ้มประตูวัดพระเชตุพนวิมล<br />

มังคลาราม กรุงเทพมหานคร<br />

7 เครื่องยอดของอาคารที่มาจากชฎา ลอมพอก หรือมา<br />

จากรูปแบบของทรง ชฎา และลอมพอก<br />

พระชฎา ประกอบไปด้วยพระเกี้ยว 2 ชั้น บางครั้งมี<br />

ยอดบัดหรือยอดเดินหนปัดไปข้างหลัง ใช้เดินทางแล้วเสียบ<br />

ขนนกเหมือนกับลมพัด เช่น พระชฎาใส่เมื่อแปรพระราชฐาน<br />

ขึ้นเสลี่ยงคานหาม พระเจ้าแผ่นดินจะใส่เครื่องประดับพระชฎา<br />

พระชฎาสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องยอดได้เพราะอยู่<br />

ในกลุ่มเดียวกับเครื่องสวมศีรษะเช่นกัน ดังเช่น ซุ้มประตู<br />

วัดโพธิ์ เป็นต้น<br />

110 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบรูปด้านพระเมรุ สมเด็จพระปิตุฉาเจ้า<br />

สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

111


แบบรูปตัดพระเมรุ สมเด็จพระปิตุฉาเจ้า<br />

สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี<br />

112 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

113


ซ้าย มณฑปพระพุทธบาท ทรงยอดเกี้ยว<br />

วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร<br />

ขวา หอระฆัง ทรงยอดเกี้ยว วัดราชบพิธ<br />

สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร<br />

8 เครื่องยอดของอาคารที่มาจากพระเกี้ยว หรือมาจาก<br />

รูปแบบของทรง พระเกี้ยว (จุลมงกุฎ)<br />

พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎตามรูปแบบที ่แสดงมานี้ใช้<br />

เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 ทรงพระเยาว์ ลักษณะของจุลมงกุฎ คือ<br />

มีเกี้ยว 2 ชั้น ต่างกับทรงมงกุฎที่มีเกี้ยว 3 ชั้น แต่ตรงปลาย<br />

มีระบายสวมผมถ้าเป็นพระเกี้ยวจะมีหมอนรอง เช่น ลาย<br />

หน้าบันของหอประชุมจุฬาฯ ที่พระพรหมพิจิตรออกแบบ<br />

เป็นต้น<br />

เมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมี<br />

เครื่องหมายทั้งมงกุฎของพระเจ้าแผ่นดินและพระเกี้ยวหรือ<br />

จุลมงกุฎ เครื่องยอดทรงเกี้ยวสามารถนำไปใช้ออกแบบ<br />

สร้างเป็นยอดของหอระฆัง ตัวอย่างเช่น หอระฆัง วัดราชบพิธ<br />

สถิตมหาสีมาราม<br />

เราจึงเห็นว่า เครื่องยอดที่มาจากมงกุฎ ชฎา และ<br />

พระเกี้ยวหรือจุลมงกุฎนั้นส่วนมากจะใช้กับอาคารขนาด<br />

ไม่ใหญ่ เพราะว่ามีลักษณะเป็นเครื่องสวมศีรษะ ส่วนยอด<br />

จึงไม่ยาว ไม่เหมือนกับยอดชนิดอื่น เช่น ยอดเจดีย์หรือ<br />

ยอดมณฑป ซึ่งเป็นเครื่องยอดที่สูงใหญ่ ก็จะเหมาะสมกับ<br />

อาคารใหญ่ ดังนั้นในการนำไปใช้สอยเราจะเห็นว่าพวก<br />

เครื่องสวมหัวนั้นจะไม่ค่อยนำไปใช้กับของใหญ่ของสูงจะใช้<br />

กับของที่เรียกว่าเล็กๆ อันนี้คือปรัชญาที่เราสามารถน ำไปใช้<br />

กับการออกแบบได้ ขึ้นอยู่กับการใช้ที่เหมาะสมกับเรื่องของ<br />

สถาปัตยกรรม<br />

114 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบลายเส้นพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์<br />

มหาวิทยาลัย<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

115


9 เครื่องยอดของอาคารที่มาจากใบเสมา หรือมาจากรูปแบบ<br />

ของทรงใบเสมา<br />

เครื่องยอดทรงเสมามีที่มาจากใบเสมา เพราะเรานำ<br />

เอาเสมาไปเป็นเครื่องยอดเสีย เช่น เป็นยอดของอาคาร เป็น<br />

ยอดอันหนึ ่งของพนักกำแพง เป็นเสมายอดกำแพง เป็นต้น<br />

เครื่องยอดทรงเสมาใช้กับของไม่โต เช่น ศาลพระภูมิหรือ<br />

เทวาลัย จึงเรียกว่า อาคารเครื่องยอดทรงเสมาเป็นความคิด<br />

ของสมัยรัตนโกสินทร์ที่ต่อความคิดมาจากเดิมเพื่อจะได้<br />

เดินต่อไปข้างหน้า<br />

ซ้าย ประตูวังท่าพระ ปัจจุบันคือ<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพ<br />

มหานคร<br />

ขวา แบบรูปด้านและแบบขยายราย<br />

ละเอียดประตูวังท่าพระ<br />

116 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ซ้าย แบบศาลพระภูมิทรงยอดเสมา<br />

จากตำราพุทธศิลปสถาปัตยกรรม<br />

ภาคต้นของพระพรหมพิจิตร<br />

ขวา แบบร่างรูปด้านศาลพระพรหม<br />

ออกแบบ<strong>โดย</strong>อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

117


แบบรูปด้านเทวาลัยพระพิฆเณศวร<br />

ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต<br />

สารสนเทศเพชรบุรี ออกแบบ<strong>โดย</strong><br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

118 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบรูปตัด เทวาลัยพระพิฆเณศวร<br />

ประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต<br />

สารสนเทศเพชรบุรี ออกแบบ<strong>โดย</strong><br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

119


เทวาลัยพระพิฆเณศวร ประจำมหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี<br />

ออกแบบเป็นปราสาทจตุรมุขประดับ<br />

ยอดเสมา<br />

120 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องเครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

121


เครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทยที่อาจารย์ได้อธิบาย<br />

มานี้เป็นข้อมูลที่อาจารย์ใช้นำมาศึกษา ซึ่งเป็นแต่เพียงทรง<br />

เครื่องยอด ยังมีเรื่องที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีกใน<br />

ทฤษฎีต่างๆ เช่น ทรงอาคาร ทรงหลังคาไทย องค์ประกอบ<br />

อาคาร อีกมากมาย รูปแบบที่แสดงมานี้เรียกว่าเป็นทรง<br />

เครื่องยอดที่เคยสอนกันมาว่าเครื่องยอดเป็นอย่างไร แต่ว่า<br />

ไม่ได้นำเอารูปอาคารมาแสดง จึงเห็นเพียงรูปแบบทรงมงกุฎ<br />

ทรงเสมา ทรงฉัตร ฯลฯ เป็นแต่ที่มาของทรง แต่ไม่เห็นตัว<br />

สถาปัตยกรรม ซึ ่งอาจารย์มาเรียนต่อด้วยตนเองทีหลังว่า<br />

ทฤษฎีเหล่านี้เคยมีอาคารไหม อาจารย์เป็นคนที่ตั้งคำถาม<br />

จึงพบว่ามี แล้วก็รู้แน่นอนว่ามีและมีมาก<br />

อาจารย์จึงเห็นว่า เราเรียนเพราะเราได้ใช้เป็นข้อมูลใน<br />

การออกแบบของตนเอง เป็นเครื่องยอดที่เราควรออกแบบได้<br />

แต่ไม่ได้เพื่อไปใช้สอนใคร สะสมเพื่อตัวเองในด้านความคิด<br />

ต่างๆ ที่ได้ออกแบบไปแล้ว และอาจารย์ก็คิดไว้เพื่อใช้ใน<br />

การออกแบบของตัวเอง เพื่อเราจะเดินต่อไปข้างหน้า รูปแบบนี้<br />

เป็นเพียงทางเดินของความคิด แต่เราจะเลือกแบบมาใช้ได้<br />

ตามปรัชญาความคิดของแบบนั้น เราก็ต้องดูตามความ<br />

เหมาะสมด้วย แต่ต้องยึดแม่บท จึงจะรู้ที่มารู้ต้นกำเนิดและ<br />

ทางเดินของสถาปัตยกรรม แล้วจึงจะเดินไปข้างหน้าได้<strong>โดย</strong><br />

ไม่ผิดหลักเกณฑ์ เพราะถึงจะเปลี่ยนแปลงลักษณะรูปแบบได้<br />

แต่แม่บทเปลี่ยนไม่ได้<br />

ศาลาไทยเครื่องยอด นำไปจัดแสดง<br />

ในงาน Paris Exposition 1937 ณ<br />

กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส<br />

122 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


“...อาจารย์จึงได้รวบรวมรูปแบบที่อาจารย์ได้ออกแบบไปแล้ว<br />

รวมถึงแบบชั้นครูที่ผ่านมาที่เขามีเครื่องยอดชนิดต่างๆ เหล่านี้<br />

เพียงเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบ เหมือนดังที่สมเด็จครูได้กล่าวว่า<br />

การจะคิดการอะไรไปข้างหน้าให้เหลียวดูศิลปะในบ้านของตนเองก่อน<br />

แล้วจะเดินได้ไม่ผิด ไม่หลงทาง…”<br />

เครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย<br />

123


4<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

124 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชื่อบท<br />

125


126 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องศิลปะการขยายแบบ<br />

เท่าขนาดจริง<br />

หน้าซ้าย แบบขยายขนาดเท่าจริง<br />

ประทีปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์<br />

“…เรื่องของการสร้างพระเมรุนี้ ข้าพเจ้าได้ใกล้ชิด<br />

ตามเคย คือ เรื่องลอกแบบเขียนขยายแบบขนาดจริงและ<br />

รับคำสั่งติดต่อในด้านงานก็ได้เป็นนายด้านและเป็นผู้กำกับ<br />

การตลอดมา”<br />

“…เมื่อครั้งที่ทรงใช้ให้ไปพระปฐมเจดีย์ จังหวัด<br />

นครปฐมคราวนั้น ให้ไปสเก็ตช์รูปพระอุโบสถเก่าบนลาน<br />

พระปฐม มีความชำรุดจะทรงออกแบบสร้างขึ้นใหม่…<br />

ต่อเมื่อแบบพระอุโบสถที่ได้วัดสอบมาได้ทำกะส่วน 1 : 100<br />

ตามผังบริเวณสูงต่ำกว้างยาวถวาย ต่อจากนั้นท่านก็ได้ปรุง<br />

แบบพระอุโบสถเป็นแบบก่อสร้างขึ้นใหม่ ประทานให้ข้าพเจ้า<br />

ลอกแบบสำหรับพิมพ์ เมื่อเสร็จการพิมพ์แล้วก็ให้ลงมือ<br />

ขยายแบบต่างๆ เท่าตัวจริงให้ช่างผู้รับเหมาไปลงมือสร้าง<br />

ข้าพเจ้าเป็นผู้ตรวจการสร้างและรายงานทุกระยะ…”<br />

“…ทีนี้กลับมาทางงานซ่อมใหญ่ทั้งภายในและ<br />

ภายนอกพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในรัชกาลที่ 7 สมเด็จได้<br />

ให้ข้าพเจ้าปรุงแบบยอดและหน้าบันที่จะเปลี่ยนขึ้นใหม่<br />

เมื่อทรงตรวจแก้ไขเห็นชอบแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของศิลปากร<br />

ราชบัณฑิตยสภาจัดการประมูล และข้าพเจ้าได้เป็นผู้ขยาย<br />

แบบและตรวจการสร้างและรายงานทุกระยะจนเสร็จงาน<br />

ตามด้านที่กล่าวนี้”<br />

อาจารย์พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์)<br />

อาจารย์พระพรหมพิจิตร ได้อธิบายหลักวิชา<br />

“พุทธศิลป” กล่าวว่า มีแบบแผนการก่อสร้างและกฎเกณฑ์<br />

มาตรฐานเป็นระเบียบ 8 ประการ คือ 1. มาตราส่วน<br />

2. ผังสถานที่ 3. ผังพื้น 4. รูปตั้งด้านขื่อ 5. รูปตั้งด้านแป<br />

6. รูปโครงผ่าตัด 7. สัญญาและรายการ 8. ขยายแบบ<br />

เท่าตัวจริงและตรวจการก่อสร้าง ดังจะเห็นว่าเป็นการแสดง<br />

หลักวิชาที่มีหลักการและระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติซึ่ง<br />

เกี่ยวเนื่องกันตามลำดับ และขั้นตอนสุดท้ายของหลักวิชา<br />

คือ “การขยายแบบเท่าจริงและตรวจการก่อสร้าง” ถือเป็น<br />

ความสำคัญที่ขาดไม่ได้ในแนวทาง “พุทธศิลปสถาปัตยกรรม”<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

127


การดำเนินงานออกแบบเขียนแบบก่อสร้าง<br />

สถาปัตยกรรมไทย ตามแนวทางปรัชญาศาสตร์ศิลป<br />

สถาปัตยกรรมไทยถือเป็นขั้นตอนสำคัญส่วนหนึ่งของการ<br />

ก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งสถาปนิกอย่างอาจารย์<br />

ประเวศ ลิมปรังษี ให้ความสำคัญและถือปฏิบัติลงมือด้วย<br />

ตนเองตลอดมา <strong>โดย</strong>เฉพาะงานสร้างสรรค์สถาปัตยกรรม<br />

เครื่องยอดซึ่งจำเป็นต้องเขียนขยายแบบเท่าจริงเพื่อปรับ<br />

สัดส่วนทรวดทรงแก้ไขทัศนมิติลวงตา ซึ่งช่างไทยมีค ำเรียกว่า<br />

“อากาศกิน” เช่น งานออกแบบก่อสร้างพระเมรุมาศ สมเด็จ<br />

พระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7, พระที่นั่ง<br />

ชัยมังคลาภิเษก มณฑลพิธีท้องสนามหลวง, พระอุโบสถ<br />

วัดโสธรวรารามวรวิหาร ฯลฯ ความสำคัญของการเขียน<br />

ขยายแบบเท่าจริงยังมีผลส่งไปถึงลวดลายประดับตกแต่ง<br />

ทางสถาปัตยกรรมซึ่งมีมูลฐานมาจากเส้นที่งดงามประสาน<br />

สัมพันธ์กับรูปทรงทางสถาปัตยกรรมนั้นเอง<br />

หลักวิชาการเขียนขยายแบบเท่าขนาดจริงจึงเป็น<br />

ขั้นตอนสำคัญของการออกแบบ การถ่ายทอดความคิดและ<br />

ฝีมือเพื่อค้นหา “ความสำคัญของเส้นและรูปทรง” ที่ปรากฏ<br />

แก่สายตาเท่าสัดส่วนจริง <strong>โดย</strong>เฉพาะเส้นนั้นมีความสำคัญ<br />

อย่างยิ่งในการเขียนแบบ อาจารย์พระพรหมพิจิตรเคยกล่าว<br />

ถึงฝีพระหัตถ์การออกแบบของสมเด็จครู จากการพิจารณา<br />

ลายเส้นด้วยความเคยชินบ่อยๆ จนกระทั่งได้รับความรู้สึกว่า<br />

เส้นนั้นมีหัวใจแฝงอยู่ เมื่อประกอบเข้าเป็นรูปทรง<strong>โดย</strong><br />

ถูกต้องแท้ จะมีลักษณะและจังหวะคอยส่งเสริมให้ทรวดทรงนั้น<br />

งามวิจิตรพิสดารเป็นที่แปลกหูแปลกตาอย่างไม่จืดจาง…<br />

แบบลายเส้นจึงเป็นทั้งตัวแทนความคิดและฝีมือของ<br />

ผู้ออกแบบ<strong>โดย</strong>แท้ ดังคำโบราณของไทยที่เปรียบเปรย<br />

ความสามารถของช่าง <strong>โดย</strong>ดูได้จาก “ฝีไม้ลายมือ”<br />

แบบรูปด้านบุษบกประดิษฐานพระไตรปิฎก<br />

วัดโสธรวราราม ปรากฏเส้นตีตารางสี่เหลี่ยม<br />

จัตุรัส ขนาด 10 เซนติเมตร เพื่อใช้ร่างกำกับ<br />

สัดส่วนในการเขียนแบบขยายเท่าจริง<br />

128 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบขยายเท่าจริง 1 : 1 พนักลูกกรง<br />

ศาลาไทย ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศ<br />

ไทย ออกแบบและเขียนแบบ<strong>โดย</strong>อาจารย์<br />

ประเวศ ลิมปรังษี<br />

การเขียนแบบขยายแบบเท่าขนาดจริง หรือที่เรียก<br />

<strong>โดย</strong>ทั่วไปว่า “การขยายแบบ 1 : 1” นั้น ถือเป็นความสำคัญ<br />

ของสถาปนิกด้านสถาปัตยกรรมไทยที่จะต้องได้รับการ<br />

ศึกษาเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ และฝึกฝนด้วยการทำงานจริง<br />

จึงจะทำให้การออกแบบนั้นสมบูรณ์พร้อมทั้งความคิด<br />

สร้างสรรค์และผลงานสถาปัตยกรรมประสานศิลปกรรมตาม<br />

หลักวิชาที่ดี ดังความหมายของวิชาสถาปัตยกรรมที่เป็นทั้ง<br />

ศาสตร์และศิลป์ อันเป็นคำที ่อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

กล่าวอธิบายแก่ลูกศิษย์เสมอๆ ว่า “สถาปัตยกรรม คือ<br />

ศิลปะและวิทยาแห่งการก่อสร้าง”<br />

ครั้งหนึ่งในการสัมภาษณ์ อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

กล่าวอธิบายถึงความจำเป็นในการทำงานเขียนแบบขยาย<br />

เท่าจริงไว้อย่างชัดเจนว่า “อาจารย์ศิลป์ พีระศรี บอกว่า…<br />

ถ้างานศิลปะไม่เขียน 1 : 1 อย่าทำเลย เพราะว่าจะออกมา<br />

แล้วเสียเงินมาก แล้วทุบทิ้งอีก เพราะว่าเราไม่ทำ 1 : 1<br />

นี่มันบริสุทธิ์ แต่เราไปทำงานในสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ เขาเรียกว่า<br />

ผิดศิลปะ แบบที่ยังไม่บริสุทธิ์ไปสร้างแล้ว อันนี้มีแต่เสียหาย<br />

ถ้าใช้ไม่ได้ก็ต้องทุบทิ้ง อาคารก็เสียความมั่นคง เห็นมั้นว่า<br />

เรื่องมันเยอะ ถ้าคนไม่คิดให้ดี”<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

129


แบบผังพื้นพระเมรุมาศ ในงานพระราช<br />

พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จ<br />

พระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี<br />

ในรัชกาลที่ 7 มาตราส่วน 1 : 50<br />

การทำงานเขียนแบบขยายแบบเท่าจริงในงาน<br />

ออกแบบสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งอาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

เป็นผู้รื้อฟื้นหลักการและวางแนวทางการทำงานอย่าง<br />

เป็นรูปธรรมที่สำคัญคือ อาจารย์ประเวศเป็นผู้รับพระบรม<br />

ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ออกแบบพระเมรุมาศ เขียนแบบ<br />

ขยายแบบ และควบคุมการก่อสร้างในพระราชพิธีพระราชทาน<br />

เพลิงสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีใน<br />

รัชกาลที่ 7 ณ ท้องสนามหลวง เมื่อปีพุทธศักราช 2528<br />

ซึ่งกล่าวได้ว่าการพระราชพิธีต่างๆ อันละเอียดซับซ้อนนั้น<br />

ได้ถูกลืมเลือนไปเสียมากแล้ว เพราะงานพระราชพิธีครั้ง<br />

หลังสุดนั้นล่วงผ่านมากว่า 30 ปี<br />

การก่อสร้างพระเมรุมาศ สมเด็จพระนางเจ้าร ำไพพรรณี<br />

ถือได้ว่าเป็นงานพระราชพิธีที่สำคัญระดับชาติ ในฐานะ<br />

ผู้ออกแบบ เขียนแบบ และควบคุมการก่อสร้างสถาปัตยกรรม<br />

เฉพาะกิจในพระราชพิธีครั้งนี ้ อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

ทุ่มเทความสามารถและกำลังกายใจให้แก่การทำงานอย่าง<br />

เต็มที่ ภายใต้เงื่อนไขกำหนดเวลาแล้วเสร็จภายใน 7 เดือน<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี เล่าถึงการทำงานเขียนแบบ<br />

ขยายแบบพระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ไว้ว่า<br />

“…การทำพระเมรุนั้น ถือเป็นการรวมศิลปะไทยทุกสาขาวิชา<br />

ต้องรู้ทั้งงานสถาปัตย์ จิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์<br />

มัณฑนศิลป์ และวิศวกรรม อาจารย์ท่านต่างๆ เคยพูดไว้ว่า<br />

คนที่เรียนสถาปัตยกรรมหากไม่ได้ทำพระเมรุถือว่าเรียนไม่จบ<br />

นอกจากพระเมรุแล้วยังต้องออกแบบอาคารใช้สอยหลัง<br />

อื่นๆ ด้วย เช่น พลับพลาเปลื้องเครื่อง ฯลฯ<br />

130 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นวัสดุชั่วคราว เพราะ<br />

ต้องการความรวดเร็วและเมื่อเสร็จพิธีแล้วต้องรื้อทิ้ง ทองย่น<br />

ที่นำมาประดับตกแต่งให้เป็นสีทองดูมลังเมลืองนั้น ในอดีต<br />

ไทยเคยซื้อจากจีน ปัจจุบันหมู่บ้านจีนที่เคยเป็นผู้ผลิตเลิก<br />

ทำไปแล้ว แต่เมื่อประเทศจีนรู้ถึงพระราชประสงค์ของสมเด็จ<br />

พระเทพรัตน์ฯ ก็ยินดีผลิตส่งมาให้ บางส่วนของพระเมรุ<br />

ที่ทำอย่างถาวรก็มี เช่น ฉากบังเพลิงเป็นงานไม้ซึ่งออกแบบ<br />

แกะสลักอย่างประณีต ปัจจุบันเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์เพื่อให้<br />

ประชาชนได้ชม”<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

ซ้าย แบบขยายฐานปัทม์และเสาเม็ด<br />

พนักบันได มาตราส่วน 1 : 10<br />

ล่าง แบบขยายฐานหน้ากระดาน หอ<br />

เปลื้องเครื่อง มาตราส่วน 1 : 1<br />

ขวา แบบรูปด้านพระเมรุมาศ ในงาน<br />

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ<br />

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรม<br />

ราชินี ในรัชกาลที่ 7<br />

131


แบบรูปด้านปริมณฑลพระเมรุมาศ<br />

สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรม<br />

ราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 ฝีพระหัตถ์<br />

ออกแบบสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา<br />

นริศรานุวัดติวงศ์<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี เขียนอธิบายแนวทางการ<br />

ออกแบบพระเมรุมาศ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ไว้ดังนี้<br />

“ผู้ออกแบบอาศัยลักษณะของแบบพระเมรุ สมเด็จพระศรี<br />

พัชรินทรา พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 มาเป็นแนว<br />

ความคิดสร้างแบบพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี<br />

ในรัชกาลที่ 7 มุ่งประสงค์ให้สมพระเกียรติ ต้องตามพระราช<br />

ประเพณีและวัฒนธรรมไทยในรัชสมัยรัชกาลปัจจุบัน<br />

ผู้ออกแบบได้ศึกษาสถาปัตยกรรมไทย, ศิลปกรรมไทย<br />

สืบทอดจากสายสมเด็จครู (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า<br />

กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์) และพระอาจารย์ (พระพรหม<br />

พิจิตร) มาเป็นเวลากว่า 30 ปี พอเห็นทางปรัชญาศิลปไทย<br />

ดังที่เห็นและปรากฏในงานสร้างพระเมรุถวายพระเพลิง<br />

พระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ในรัชกาลที่ 7<br />

ณ ท้องสนามหลวงที่ผ่านมา เมื่อ พ.ศ. 2528 และพระเมรุ<br />

หลังนี้ได้ส่งผลทางวิชาการและทางการช่างสืบต่อมาถึง<br />

พระเมรุสมเด็จย่าเป็นอย่างดี ที่มีการก่อสร้างไม่ห่างไกล<br />

กันนัก ยังมีรูปแบบเมรุและองค์ประกอบ ตลอดวิธีการใช้<br />

ลวดลายซึ่งมีแบบแผนอยู่ครบถ้วนที่จะใช้เป็นแนวทาง<br />

ดำเนินการก่อสร้างอย่างถูกต้องได้ และช่างที่ดำเนินการ<br />

ก่อสร้างก็ยังมีชีวิตและความรู้ความเข้าใจในเชิงปฏิบัติการ<br />

อยู่เป็นอย่างดี<br />

ดังนั้นการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมไทยชนิดนี้จะ<br />

สืบทอดใกล้ชิดอยู่กับครู จนกว่าจะปฏิบัติงานเองใช้จริงได้<br />

แต่ต้องฝึกฝนเรียนรู้อยู่ตลอดชีวิตของผู้สืบทอด การศึกษา<br />

ปฏิบัติเรื่องพระเมรุต้องเรียนในศาสตร์ศิลปของไทยทุกๆ<br />

สาขาที่ใช้ประกอบอยู่กับพระเมรุแต่ละประเภท และต้องรู้<br />

ครบถ้วนในสิ่งที่จะต้องสร้างทำขึ้นใช้<strong>โดย</strong>ไม่ขาดตกบกพร่อง<br />

ในงานพระราชพิธีทางวัฒนธรรมไทยที่ดีงามมาแต่สมัย<br />

อยุธยาเป็นต้นมา<br />

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ช่างหลวงจึงคัดเลือกผู้รักงานการ<br />

ช่างมาฝึกอบรมให้ความรู้ไว้ใช้งาน คนใดมีฝีมือก็มอบงาน<br />

ให้ปฏิบัติงานระดับสูงขึ้นและยากขึ้นตามลำดับ จนครูเห็นว่า<br />

พอจะรับผิดชอบงานที่ให้ปฏิบัติได้ดี ก็แต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุม<br />

ดูแลงานที่พระเจ้าแผ่นดินประสงค์ที่จะให้สร้างหรือบูรณะ<br />

อาคารในพระราชฐานหรือวัดหลวงที่พระเจ้าแผ่นดินในอดีต<br />

ทรงสร้างไว้ หรือให้ปลูกสร้างอาคารภายในวัดหลวงเพิ่มเติม<br />

ตามที่ปฏิบัติสืบกันมาทางวัฒนธรรมไทยหรือประเพณีไทย<br />

ที่ปฏิบัติกันมา ดังจะเห็นปรากฏอยู่ทุกยุคทุกสมัยด้วยสิ่งดี<br />

สิ่งงามเกิดขึ้นในแผ่นดินไทยทั่วทั้งประเทศ<br />

ถึงปัจจุบันนี้ ศิลปไทยเกี่ยวกับพระเมรุก็เริ่มเรียวลง<br />

และเล็กลงมาเรื่อยๆ ตลอด ขาดผู้ปฏิบัติและขาดผู้มีความรู้<br />

ลดลงตามไปด้วย ตลอดจนหมดองค์กรของช่างไทย<br />

ตามไปด้วย ในระยะหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา<br />

เป็นระบอบประชาธิปไตย ประชาชนปกครองประเทศ<br />

ช่างหลวงก็ถูกยุบหมดไป.”<br />

132 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

133


พระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 ฝีพระหัตถ์ออกแบบ<br />

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ต้นแบบความคิด ซึ่งอาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี นำมาเป็นแนวทางในการออกแบบ<br />

134 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


พระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวาย<br />

พระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้า<br />

รำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ศิษย์ผู้สืบทอดวิชาพุทธศิลป<br />

สถาปัตยกรรม ต่อจากอาจารย์พระพรหมพิจิตร ได้แสดง<br />

ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ทางการออกแบบพระ<br />

เมรุมาศซึ่งเป็นงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีชั้นสูง ตามที่<br />

ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุมัติแบบก่อสร้าง ทั ้งยัง<br />

สนองแนวพระราชดำริเพิ่มเติมให้ดำเนินการ<strong>โดย</strong>ประหยัด<br />

แต่ครบถ้วนตามขัตติยราชประเพณีและสมพระเกียรติ<br />

พระบรมศพ <strong>โดย</strong>ศึกษาแบบแผนพระราชประเพณีเมื่อครั้ง<br />

งานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรม<br />

ราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า นำมาเป็นแบบอย่างใน<br />

การจัดงานถวายพระเกียรติยศและถวายพระเพลิงพระบรมศพ<br />

แต่สำหรับการออกแบบสถาปัตยกรรมได้นำแนวทางการ<br />

ออกแบบพระเมรุมาศสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ<br />

มาเป็นแนวทางการออกแบบสำหรับงานพระราชพิธีครั้งนี้<br />

แต่ได้ประพันธ์ลวดลายและการตกแต่งขึ้นใหม่ทั้งหมด <strong>โดย</strong><br />

คำนึงถึงพระราชจริยาวัตรในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี<br />

ที่แสดงออกถึงความสง่างาม สมพระบารมีของพระบรม<br />

ราชินีในรัชกาลที่ 7 และสื่อถึงพระสิริโฉมที่งดงามอ่อนหวาน<br />

พระราชจริยวัตรอันนุ่มนวลเปี่ยมไปด้วยพระเมตตาที่มีต่อ<br />

ประชาชน<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

135


การทำงานออกแบบ เขียนแบบและขยายแบบเท่าจริงพระเมรุมาศ<br />

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 ภายใน<br />

โรงเรือนชั่วคราวที่ปลูกสร้างขึ้น ณ ท้องสนามหลวง<br />

ขั้นตอนการทำงานเขียนแบบและขยายแบบ<br />

พระเมรุมาศนั้นใช้พื้นที่อาคารสำนักงานออกแบบเขียนแบบ<br />

ชั่วคราว ที่มีลักษณะอย่างโรงเรือนยาวชั้นเดียวมีพื้นที่<br />

กว้างขวาง ปูพื้นไม้อัดสำหรับรองรับการนั่งเขียนร่างแบบ<br />

กับพื้น ส่วนผนังด้านข้างมีช่องหน้าต่างบานกระทุ้งและช่อง<br />

ระบายอากาศคอสอง หลังคาจั่วโครงสร้างไม้มุงสังกะสี<br />

อาคารหลังนี้เป็นห้องทำงานที่ปลูกสร้างอยู่ภายในบริเวณ<br />

ท้องสนามหลวง เพื่อเตรียมรองรับการทำงานเขียนแบบ<br />

ขยายแบบเท่าจริงทุกๆ ส่วนของพระเมรุมาศ <strong>โดย</strong>เฉพาะ<br />

การออกแบบองค์ประกอบและลวดลายประดับพระเมรุมาศ<br />

ซึ่งจะต้องเขียนแบบขยายเท่าจริงเพื่อให้ช่างนำไปสร้างสรรค์<br />

งานประณีตศิลปกรรมตามลักษณะงานประเภทต่างๆ เพราะ<br />

การทำพระเมรุเป็นงานที่รวมทุกสาขาวิชา <strong>โดย</strong>อาจารย์ประเวศ<br />

ลิมปรังษี และผู้ร่วมงานที่เป็นข้าราชการของกรมศิลปากร<br />

ทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานครั้งนี้<br />

อย่างเต็มที่สุดความสามารถ อาจารย์ประเวศ เล่าว่า “งานนี้<br />

ทำด้วยความตกใจ กลัวเสร็จไม่ทันเวลา ระหว่างทำงาน<br />

เกือบจะล้มหลายครั้ง ต้องตั้งสติให้ดี ล้มไม่ได้ แต่เมื่อสำเร็จ<br />

ผลก็พอหายเหนื ่อย เพราะได้นำวิชามาสนองชาติ สนอง<br />

พระเจ้าแผ่นดิน เราเรียนมาแล้วเหมือนกับได้ใช้วิชาประลอง<br />

ยุทธ คนเราจะรู้ว่าชนะหรือไม่อยู่ที่ได้ประลองยุทธ”<br />

136 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ซ้าย พระโกศไม้จันทน์ฉลุลายซ้อนไม้<br />

อย่างประณีตงดงาม ประดิษฐานภายใน<br />

พระจิตกาธานซึ่งประดับตกแต่งด้วย<br />

งานดอกไม้สด<br />

ขวา สถาปัตยกรรมไทยเฉพาะกิจซึ่ง<br />

สร้างขึ้นในบริเวณปริมณฑลพระเมรุมาศ<br />

ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิง<br />

พระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพ<br />

พรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7<br />

พระเมรุหรือพระเมรุมาศเป็นงานสถาปัตยกรรมไทย<br />

เฉพาะกิจ หมายถึง สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นชั่วคราวเพื่อใช้<br />

ในพระราชพิธี เมื่อเสร็จสิ้นงานหรือหมดหน้าที่ใช้สอยอาคาร<br />

แล้วจึงรื้อถอนลง ดังนั้นการทำงานตามแนวทางดังกล่าวจึง<br />

ถือเป็นหลักปรัชญาของการสร้างงานสถาปัตยกรรมประเภทนี้<br />

ซึ่งสะท้อนให้ทั้งการทำงานเขียนแบบขยายแบบเท่าจริง<br />

ตลอดจนการก่อสร้างสถาปัตยกรรมอีกด้วย<br />

เมื่ออาจารย์ประเวศ รับมอบหมายหน้าที่สถาปนิก<br />

ผู้ออกแบบและควบคุมกำกับการปลูกสร้างพระเมรุครั้งนี้<br />

ท่านจึงได้รื้อฟื้นวิธีการทำงานต่างๆ ที่เคยได้ศึกษาเรียนรู้<br />

และปรับปรุงให้เหมาะสมกับช่วงเวลาทำงานสถาปัตยกรรม<br />

เฉพาะกิจครั้งนี้ ตามขั้นตอนการเขียนแบบ ขยายแบบ ส ำหรับ<br />

งานปลูกสร้างพระเมรุ ซึ่งได้รับการฝึกฝนผ่านการเรียนรู้<br />

ปฏิบัติงานจริง มาตั้งแต่เมื่อยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร จากการสร้างพระเมรุมาศ ณ ท้องสนามหลวง ซึ่ง<br />

อาจารย์พระพรหมพิจิตรเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ “…อาจารย์<br />

พระพรหมฯ มอบให้อาจารย์ประเวศ ขยายลายฉัตรและ<br />

ขยายลายเครื่องประกอบบางส่วนของพระเมรุมาศ ซึ่งการ<br />

ดำเนินการเขียนและตอกกระดาษทองอยู่ที่บริเวณกลางลาน<br />

ต้นจันทน์ งานนี้ถือได้ว่าเป็นการฝึกขยายลายของอาจารย์<br />

ประเวศ”<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

137


บน แบบร่างศาลหลักเมือง ซึ่งเขียน<br />

ขยายมาตราส่วนละเอียดตรวจสอบ<br />

โครงสร้าง ทรงหลังคามุขและลวดลาย<br />

ประดับเครื่องบนกรอบหน้าจั่วให้<br />

สัมพันธ์กัน<br />

ล่าง แบบร่างกรอบซุ้มคูหาซึ่งออกแบบ<br />

ให้สัมพันธ์กับระยะ ขนาดองค์ประกอบ<br />

และตำแหน่งที่ติดตั้ง ซึ่งสถาปนิกผู้<br />

ออกแบบจะต้องเป็นผู้กำหนดรูปทรง<br />

ลักษณะ จังหวะในการเขียนแบบ<br />

ออกแบบสถาปัตยกรรมให้ประสานไป<br />

ในทิศทางเดียวกันทั้งหมด<br />

วิธีการเขียนแบบขยายแบบเท่าจริง เป็นการทำงานที่<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจาก<br />

เป็นแนวทางการทำงานที่มุ่งให้เกิดสัมฤทธิผลได้ดังความ<br />

ตั้งใจของสถาปนิกผู้ออกแบบได้เป็นอย่างดี จากขั้นตอน<br />

การเขียนแบบในมาตราส่วนย่อเพื่อกำหนดรูปแบบและ<br />

ลักษณะของอาคารที่ลงตัวแล้ว จึงขยายมาตราส่วนใหญ่ขึ้น<br />

เป็นลำดับเพื ่อออกแบบรายละเอียดของลวดลายตามหลัก<br />

การตกแต่งทางประณีตศิลปกรรมไทย ซึ่งสถาปนิกหรือ<br />

ผู้ออกแบบจะเป็นผู้วางแนวทางการออกแบบลวดลายให้<br />

ประสานสอดคล้องกันอย่างงดงาม หรือที ่มีคำเรียกในหมู่<br />

ช่างว่า “กระบวนลาย” นั่นเอง อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

กล่าวเปรียบเทียบการทำงานด้านสถาปัตย์ศิลป์กับวงดนตรีว่า<br />

“…ผู้ทำต้องรู้ทุกกระบวนการ เพราะศิลปะนั้นเหมือนการ<br />

ประสานเสียงดนตรี โทนเสียง ลีลา ต้องประสานเข้ากันได้<br />

การทำต้องกำกับเองทุกอย่างเพราะรู้ลีลา เหมือนรู้โน้ตดนตรี<br />

พอเล่นยกวง เสียงนี้ขึ้น เสียงนั้นขึ้น ชี้ได้เลย เพราะมี<br />

ตัวโน้ตอยู่พร้อม…ขึ้นเป็นเสียงดนตรีประสานเสียงอย่าง<br />

ไพเราะ”<br />

ขั้นตอนการเขียนแบบขยายแบบเท่าจริง ทำให้การ<br />

ออกแบบนั้นสมบูรณ์พร้อมทั้งความคิดและผลงาน<br />

สถาปัตยกรรมประสานศิลปกรรมตามหลักวิชาที่ดี ดังเช่น<br />

กรณีการสร้างสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศที่มีปรัชญาการ<br />

ออกแบบสถาปัตยกรรมไทยชั่วคราวเป็นแนวคิดหลักของ<br />

การสร้างสรรค์งาน ผู้ออกแบบต้องมีความรอบรู้ทางด้าน<br />

สถาปัตยกรรมไทยเครื่องยอดที่มีความซับซ้อนในการ<br />

ออกแบบรูปทรงให้ผสานประโยชน์ใช้สอยที่ดี รวมไปถึง<br />

ลวดลายประดับตกแต่งทั้งภายนอกและภายในพระเมรุมาศ<br />

ซึ่งมีความประณีตงดงามทุกๆ ส่วนตั้งแต่ฐานจนถึงส่วนยอด<br />

พระเมรุ ตลอดจนประณีตศิลปกรรมเกี่ยวเนื่องกับงานพระ<br />

ราชพิธีต่างๆ อาทิ พระจิตกาธาน และฉากบังเพลิง เป็นต้น<br />

138 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบรูปด้านและรูปตัดทรงจั่วของ<br />

พลับพลายก ณ ปริมณฑลพระเมรุมาศ<br />

เขียนแบบด้วยมาตราส่วน 1 : 10 เพื่อ<br />

ตรวจสอบองค์ประกอบสถาปัตยกรรม<br />

กับลักษณะโครงสร้างและวัสดุก่อสร้าง<br />

พร้อมทั้งร่างแบบรายละเอียดของ<br />

ลวดลายประดับตกแต่งให้มีสัดส่วน<br />

สัมพันธ์กับองค์ประกอบทาง<br />

สถาปัตยกรรมไทยให้ลงตัว ก่อนจะนำ<br />

แบบร่างไปใช้เพื่อขยายแบบขนาดเท่า<br />

จริงต่อไป<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

139


อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ขณะทำงาน<br />

เขียนแบบขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

ภายใน โรงเรือนชั่วคราวที่ปลูกสร้างขึ้น<br />

ณ ท้องสนามหลวง<br />

เบื ้องต้นจากแบบผังบริเวณปริมณฑล มาตราส่วน<br />

1 : 200 และแบบสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ มาตราส่วน<br />

1 : 50 อาจารย์ประเวศยังใช้เวลาทำงานบนโต๊ะเขียนแบบ<br />

ออกแบบลงรายละเอียดของงานสถาปัตยกรรม โครงสร้าง<br />

และองค์ประกอบงานประดับตกแต่ง ด้วยวิธีขยายมาตราส่วน<br />

ใหญ่ขึ้นตามลำดับ จนถึงมาตราส่วน 1 : 20 ซึ่งจะใช้เป็น<br />

แบบ กำหนดสัดส่วน รูปทรง ลักษณะ และลวดลายประดับ<br />

ตกแต่งสถาปัตยกรรม เพื่อขยายแบบเท่าจริงต่อไป<br />

การเขียนแบบขยายเท่าจริง สถาปนิกบรรจงร่างลาย<br />

เส้นด้วยชอล์กขาวลงบนกระดาษน้ำตาลที่ต่อกันเป็นผืนใหญ่<br />

ปูอยู่บนพื้น ตรงตามตารางสเกลของแบบร่างซึ่งสถาปนิกได้<br />

คิดออกแบบไว้ก่อนแล้ว <strong>โดย</strong>ใช้เส้นราบ เส้นดิ่ง เส้นฉาก<br />

เส้นเฉียง เส้นโค้งวงกลม และเส้นทรง ในการร่างแบบเพื่อ<br />

ขยายสัดส่วนขึ้นเท่าจริงทุกๆ ส่วน (มาตราส่วน 1 : 1)<br />

จนปรากฏขึ้นแก่สายตา จากนั้นจึงพิจารณาดูเส้นร่างอย่าง<br />

ละเอียดถี่ถ้วน เพื่อค้นหาเส้นรูปทรงและลวดลายที่ขยาย<br />

เท่าจริงกับความสัมพันธ์ของระยะมุมมองที่จะเห็นได้อย่าง<br />

ชัดเจน ซึ่งจะต้องอาศัยประสบการณ์ทำงานอย่างสูงในการ<br />

ตรวจสอบเพื่อแก้ไขระยะซ้น (ทัศนมิติลวงตา) และอากาศกิน<br />

(ห้วงที่ว่าง)<br />

ในขณะเดียวกัน การเขียนแบบขยายเท่าจริงนี้ยังเป็น<br />

ขั้นตอนสำคัญซึ่งผู้ออกแบบใช้ร่างแบบลวดลายประดับ<br />

ตกแต่งตามชนิดหรือประเภทของวัสดุให้สอดคล้องกับ<br />

กระบวนงานช่างประเภทต่างๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ดังเช่น<br />

กรณีศึกษางานก่อสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบใน<br />

มณฑลพิธี ซึ่งถือเป็นงานสถาปัตยกรรมชั่วคราว ปลูกสร้าง<br />

และรื้อถอนได้ง่าย รวดเร็ว ใช้วัสดุไม่ถาวรนำมาประดับ<br />

ตกแต่งองค์ประกอบและลวดลายสถาปัตยกรรม อาทิ ไม้อัด<br />

ฉลุลายซ้อนไม้ปิดทับด้วยลายฉลุกระดาษทองย่นสาบสี<br />

เป็นต้น<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี เขียนขยายลวดลายตกแต่ง<br />

พระเมรุมาศ ตามหลักวิชาการใช้ลายไทยสำหรับงาน<br />

สถาปัตยกรรมไทยเฉพาะกิจ ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่าง<br />

จากลายไทยในงานสถาปัตยกรรมแบบถาวร ซึ ่งกระบวน<br />

งานช่างไทยในอดีตใช้ลักษณะลายซ้อนตัว (ลายซ้อนไม้)<br />

เป็นแม่ลายในการออกแบบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม<br />

ทั้งส่วนฐาน ส่วนเรือน และส่วนยอด <strong>โดย</strong>วิธีการนำแผ่น<br />

ไม้อัดมาฉลุลายซ้อนทับกันหลายชั้น ให้ได้ขนาดรูปร่างและ<br />

รูปทรงอย่างสถาปัตยกรรมถาวร แต่เมื่อพิจารณาดูระยะใกล้<br />

จะเห็นได้ว่าเกิดจากการฉลุร่องลายและซ้อนทับกันหลายชั้น<br />

เพื่อให้เห็นมิตินูนต่ำของลายหรือภาพด้วยระยะหน้า-หลัง<br />

ของแผ่นไม้อัด การออกแบบลายซ้อนไม้จึงถือเป็นวิชาหนึ่ง<br />

ที่สำคัญในงานสถาปัตยกรรมไทย มีลักษณะลายและการ<br />

เขียนลายเฉพาะตัว ผู้ออกแบบจะต้องเขียนร่างลายให้<br />

เหมาะสมกับวิธีการดังกล่าวด้วย ดังที่อาจารย์พระพรหม<br />

พิจิตรอธิบายหลักวิชาการผูกลวดลายมีความหมายและหลัก<br />

วิชา 2 วิธีคือ วิธีที่ 1 วางรูปและระเบียบตัวลาย วิธีที่ 2 จัด<br />

จังหวะช่องไฟให้เหมาะสมนั่นเอง<br />

140 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ซ้าย ลวดลายและสีสันที่เกิดขึ้นจาก<br />

กระดาษทองย่นฉลุสาบสีนำมาปิดทับ<br />

บนองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมไทย<br />

ขวา แบบขยายเท่าขนาดจริง 1 : 1 ของ<br />

ซุ้มบันแถลงประดับส่วนเรือนยอด<br />

พระเมรุมาศ<br />

ลายฉลุกระดาษทองย่นและลายฉลุสาบสี เป็นงาน<br />

ช่างอีกแขนงหนึ่งซึ่งปรากฏให้เห็นในงานสถาปัตยกรรมไทย<br />

เฉพาะกิจ สำหรับปิดทับบนระนาบพื้นผนังหรือองค์ประกอบ<br />

ทางสถาปัตยกรรมให้งดงาม <strong>โดย</strong>ใช้ลักษณะลายสัมพันธ์<br />

กับพื้นที่ในการตกแต่ง เช่น ลายฐาน ลายหน้ากระดาน<br />

ลายขาสิงห์ ลายท้องไม้ ลายเสา ลายผนัง ลายซุ้ม ลายบัว<br />

หัวเสา ลายซุ้มบันแถลง ลายนาคปัก ลายกระเบื้องหลังคา<br />

เป็นต้น ทั้งนี้สถาปนิกหรือช่างสามารถออกแบบผูกลายได้<br />

อย่างอิสระ<strong>โดย</strong>นำกระดาษทองย่นฉลุลายสาบกระดาษสีรอง<br />

พื้นหลังส่งเสริมให้ลายทองดูเด่นชัดยิ่งขึ้น<br />

ทั้งนี้ลายซ้อนไม้ ยังนำมาใช้ร่วมกับลายฉลุกระดาษ<br />

ทองย่นสำหรับตกแต่งส่วนต่างๆ ของพระเมรุมาศได้เป็น<br />

อย่างดี ซึ่งเป็นการใช้สีทองตกแต่งอาคารให้มีความประณีต<br />

งดงาม สร้างเสริมจินตลักษณ์ของพระเมรุมาศให้สง่างาม<br />

ประดุจทิพยวิมานบนสรวงสวรรค์ในอุดมคติได้อย่างเป็น<br />

รูปธรรม<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

141


ลายไทยประดับตกแต่งด้วยกระดาษ<br />

ทองย่น ปิดทับผิวไม้อัดที่เป็นโครงสร้าง<br />

ชั่วคราวของพระเมรุมาศในงานพระ<br />

ราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ<br />

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี<br />

พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7<br />

142 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


พระเมรุมาศ ในงานพระราชพิธีถวาย<br />

พระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนาง<br />

เจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีใน<br />

รัชกาลที่ 7<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

143


พระอุโบสถ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา<br />

144 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


การออกแบบเขียนแบบพระอุโบสถ วัดโสธรวราราม<br />

วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่<br />

ที่มีความสำคัญระดับชาติ อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ใน<br />

วัยหลังเกษียณอายุราชการ มีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่<br />

จะทุ่มเทความคิดสร้างสรรค์งานสถาปัตยศิลป์ชั้นสูงเพื่อ<br />

ฝากไว้แก่แผ่นดิน และอุทิศตนอย่างมุ่งมั่นให้แก่การทำงาน<br />

ออกแบบเขียนแบบทุกขั้นตอนตามหลักวิชาปรัชญาการ<br />

ทำงานขยายแบบเท่าจริง<br />

การออกแบบพระอุโบสถ วัดโสธรวรารามวรวิหาร<br />

หลังใหม่ อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี คิดหาแนวทางออกแบบ<br />

ให้รวมประโยชน์ใช้สอยประสานกันหลายๆ หน้าที่ใช้สอย<br />

ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ พระอุโบสถอยู่ส่วนกลาง<br />

วิหารหอพระไตรปิฎกอยู่ส่วนหน้า พระอุโบสถอยู่ทางด้าน<br />

ทิศตะวันออก วิหารพระเดิมอยู่ส่วนหลังพระอุโบสถด้านทิศ<br />

ตะวันตก ส่วนที่ประดิษฐานพระอุทิศอยู่ต่อจากวิหารพระเดิม<br />

ด้านทิศตะวันตก สำหรับส่วนที่เหนืออาคารพระอุโบสถขึ้นไป<br />

(พื้นที่ส่วนกลาง) เป็นอาคารทรงมณฑป ทำแทนพระสถูป<br />

เจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ให้เป็นหลักแห่ง<br />

พุทธาวาสตามหลักการสร้างวัดแต่โบราณ มีรายละเอียดดังนี้<br />

ความเป็นมาและแนวทางที่ใช้ประกอบในการ<br />

ออกแบบพระอุโบสถหลังใหม่ วัดโสธรวรารามวรวิหาร<br />

จังหวัดฉะเชิงเทรา<br />

เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2509 พระบาท<br />

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม<br />

ราชินีนาถและพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญา<br />

ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดโสธรวรารามวรวิหาร เพื่อทรง<br />

กระทำพิธีวิสาขบูชา ตามขัตติยราชประเพณี เมื่อประกอบ<br />

พระราชภารกิจเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้เสด็จออกจากพระอุโบสถ<br />

แล้วมีพระราชดำรัสว่า “ตั้งใจมานมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร<br />

นานแล้ว ทำไมสร้างพระอุโบสถแบบนี้ ไม่สมเกียรติหลวง<br />

พ่อพุทธโสธร ให้ปรับปรุงแก้ไขเสียใหม่” และมีพระราชดำรัส<br />

ถึงโรงเรียนและแหล่งเสื่อมโทรงหน้าพระอุโบสถ ให้แก้ไขให้<br />

สมเกียรติกับหลวงพ่อพุทธโสธร<br />

หลังจากนั้นทางวัดก็ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข<br />

บริเวณหน้าวัดและแหล่งเสื่อมโทรมให้เกิดเป็นระเบียบ<br />

เรียบร้อย ตลอดจนดำเนินการสร้างอาคารเรียน โรงเรียน<br />

วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตามพระราชดำริ ใช้เวลาล่วงมาถึง<br />

20 ปี จึงได้เริ่มการที่จะทำการก่อสร้างพระอุโบสถ (เนื่องจาก<br />

เหตุที่ต้องโยกย้ายบ้านเรือนและตลาดหน้าวัดออก ใช้เวลา<br />

ยาวนานพอสมควร)<br />

เมื่อข้าพเจ้า (นายประเวศ ลิมปรังษี) ได้รับมอบ<br />

หมายให้เป็นสถาปนิกออกแบบพระอุโบสถ วัดโสธรวราราม<br />

วรวิหาร ข้าพเจ้าก็รีบทำการสำรวจตรวจพระอุโบสถเดิม<br />

บริเวณสถานที่และสิ่งแวดล้อมของวัดโสธรวรารามวรวิหาร<br />

<strong>โดย</strong>ทั่วไปเสร็จก็เริ่มพิจารณาข้อมูลและพิจารณาหลักการใช้<br />

ในการออกแบบเป็นขั้นตอน ดังนี้<br />

หลวงพ่อโสธร พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์<br />

คู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะของ<br />

พุทธศาสนิกชนอย่างยิ่ง<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

145


ผังบริเวณวัดโสธรวรารามวรวิหาร<br />

ซึ่งสถาปนิกออกแบบวางผังใหม่ให้มี<br />

ความเป็นระเบียบเรียบร้อย <strong>โดย</strong>กำหนด<br />

ขอบเขตพุทธาวาสให้เหมาะสมแก่การ<br />

สร้างพุทธสถานและสอดคล้องกับ<br />

ประเพณีนิยมที่ปฏิบัติกันสืบมา<br />

ขั้นตอนที่ 1 พิจารณาสภาพวัด เห็นว่าวัดโสธรวราราม<br />

วรวิหาร มิได้เป็นวัดที่สร้างขึ้นตามหลักการสร้างวัดทาง<br />

พุทธศาสนาแต่โบราณ และมิได้วางผังวัดแต่อย่างใด<br />

ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาด้านพื้นที่เห็นว่าวัดโสธรวราราม<br />

วรวิหาร มีพื้นที่ดินน้อย ไม่สามารถที่จะขยับขยายได้<br />

ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาถึงองค์พระพุทธโสธรและ<br />

ลักษณะการเคารพบูชา ตลอดจนวิธีการนมัสการ<strong>โดย</strong>การ<br />

ปิดทองและการขอพรและโชคลาภ <strong>โดย</strong>วิธีแตะต้ององค์<br />

หลวงพ่อพุทธโสธร <strong>โดย</strong>ให้หลวงพ่อพระพุทธโสธรรับรู้เจตนา<br />

ความประสงค์ของผู้มานมัสการ<br />

ขั้นตอนที่ 4 พิจารณาถึงขนาดของพระอุโบสถเดิม<br />

ขั้นตอนที่ 5 พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ ตามพระราชดำริ<br />

ที่ให้ปรับปรุงพระอุโบสถเดิม ให้สมเกียรติกับหลวงพ่อพุทธโสธร<br />

บรรยายผลการพิจารณาของขั้นตอนที่ 1 ดังนี้<br />

พิจารณาขั้นตอนที่ 1 แล้ว ควรแก้ไขให้ถูกต้องตาม<br />

หลักการจัดผังวัดคือ ให้พระอุโบสถที่จะสร้างใหม่เป็นส่วน<br />

ของพุทธาวาส อันเป็นหลักของวัดสืบไป ถือเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์<br />

ใช้ประกอบสังฆกรรมตามที่บัญญัติไว้ในการสร้างวัดตาม<br />

ประเพณีที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม<br />

บรรยายผลการพิจารณาของขั้นตอนที่ 2 ดังนี้<br />

พิจารณาขั้นตอนที่ 2 แล้ว บนที่ดินของวัดคับแคบไม่<br />

สามารถขยายเป็นเขตหรือบริเวณพุทธาวาสได้ จึงหาทางออก<br />

แบบพระอุโบสถหลังใหม่ ให้มีองค์ประกอบใช้สอยของตัว<br />

อาคารในเขตพุทธาวาสให้อยู่ร่วมกันในที่เดียวกันคือ อยู่<br />

ต่อเนื่องในแบบรูปเดียวกัน <strong>โดย</strong>มีแนวรั้วล้อมเป็นเขตพุทธาวาส<br />

ตามหลักประเพณีการสร้างวัดสืบต่อกันมา<br />

146 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


รูปด้านตั้งพระอุโบสถ วัดโสธรวราราม<br />

วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา ออกแบบ<br />

<strong>โดย</strong> อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ศิลปิน<br />

แห่งชาติ<br />

บรรยายผลการพิจารณาของขั้นตอนที่ 3 ดังนี้<br />

พิจารณาขั้นตอนที่ 3 แล้ว เห็นว่าองค์หลวงพ่อพุทธโสธร<br />

เป็นพระประธานที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากพระประธาน<br />

ภายในพระอุโบสถ<strong>โดย</strong>ทั่วไปของประเทศไทย คือ เป็นพระประธาน<br />

ที่มีแท่นชุกชีเตี้ย สามารถเดินขึ้นไปนมัสการปิดทองและสัมผัส<br />

องค์หลวงพ่อพุทธโสธรได้ หลวงพ่อพุทธโสธรมีความเมตตา<br />

กรุณา ให้ความสุข ความสำเร็จแก่ผู้มานมัสการขอพรในทาง<br />

ที่ชอบตามความประสงค์ได้แทบทุกราย พิจารณาแล้วหลวง<br />

พ่อพุทธโสธรเป็นของประชาชนจริงๆ <strong>โดย</strong>เอกลักษณ์ และ<br />

จำต้องอยู่อย่างที่เป็นอยู่เดิมสืบไป ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลง<br />

ได้ หากเปลี่ยนแปลงก็จะเสียเอกลักษณ์และหมดความส ำคัญไป<br />

การออกแบบพระอุโบสถใหม่จำต้องอนุรักษ์ฐานชุกชีเดิมไว้<br />

ไม่เปลี่ยนแปลง<br />

บรรยายผลการพิจารณาของขั้นตอนที่ 4 ดังนี้<br />

พิจารณาขั้นตอนที่ 4 แล้ว เห็นว่าขนาดของพระอุโบสถ<br />

เดิมมีขนาดเล็กและคับแคบไม่สามารถที่จะบรรจุบุคคลที่มา<br />

นมัสการเป็นจำนวนมากได้ จำต้องออกแบบพระอุโบสถใหม่<br />

ให้กว้างและสามารถระบายคนเข้าออกได้สะดวก และออกแบบ<br />

ให้มีขั้นตอนในการสักการบูชาเพื่อความไม่แออัด เมื่อมีผู้มา<br />

สักการบูชาเป็นจำนวนมากๆ และให้อาคารโปร่งมีทาง<br />

เข้าออก 4 ทาง ยกเพดานของอาคารสูงเพื่อไม่ให้อบอ้าว<br />

อึดอัด เมื่อเวลาอยู่ภายในอาคาร มีความสุข ปลอดโปร่งโล่งใจ<br />

เมื่อมานมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร ถือเป็นข้อมูลส ำคัญในการ<br />

ออกแบบพระอุโบสถหลังใหม่<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

147


บนซ้าย พระบาทสมเด็จพระบรม<br />

ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

มหาราช บรมนาถบพิตร ทรงประกอบ<br />

พิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างพระอุโบสถ<br />

วัดโสธรวรารามหลังใหม่ ภายหลังจาก<br />

ทรงมีพระราชดำริและพระบรมราช<br />

วินิจฉัยเห็นชอบตามที่ สถาปนิกผู้<br />

ออกแบบนำเสนอแบบก่อสร้างพระ<br />

อุโบสถหลังใหม่<br />

ล่างซ้าย แบบทัศนียภาพพระอุโบสถ<br />

วัดโสธรหลังใหม่<br />

ล่างขวา พระอุโบสถประดิษฐานหลวง<br />

พ่อโสธรหลังเดิม<br />

บรรยายผลการพิจารณาของขั้นตอนที่ 5 ดังนี้<br />

เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู ่หัวมีพระราชดำริ<br />

ให้ปรับปรุงแก้ไขพระอุโบสถเสียใหม่ให้สมเกียรติกับองค์<br />

หลวงพ่อพุทธโสธร ตลอดจนให้ปรับปรุงบริเวณแหล่ง<br />

เสื่อมโทรมหน้าวัด ให้เกิดเป็นระเบียบเรียบร้อย<br />

เมื่อได้ผลการพิจารณาตามหลักการใหญ่ทั้ง 5 ประการ<br />

นี้แล้ว ข้าพเจ้าจึงหาทางออกแบบให้รวมประโยชน์และ<br />

ความมุ่งหมายตามประสงค์ทั้ง 5 ประการนั้น ให้ครบถ้วนใน<br />

การออกแบบพระอุโบสถหลังนี้ คือ ให้เป็นอาคารประสาน<br />

กันหลายๆ หน้าที่ใช้สอยตามหลักพระพุทธศาสนา คือ<br />

พระอุโบสถอยู่ส่วนกลาง วิหารหอพระไตรปิฎกอยู่ส่วนหน้า<br />

พระอุโบสถด้านทิศตะวันออก วิหารพระเดิมอยู่ส่วนหลัง<br />

พระอุโบสถด้านทิศตะวันตก ที่ประดิษฐานพระอุทิศอยู่<br />

ต่อจากวิหารพระเดิมด้านทิศตะวันตก ส่วนที่เหนืออาคาร<br />

พระอุโบสถขึ้นไป (ส่วนกลาง) เป็นอาคารทรงมณฑป<br />

ทำแทนพระสถูปเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระสารีริกธาตุ<br />

ให้เป็นหลักแห่งพุทธาวาส ตามหลักการสร้างวัดแต่โบราณ<br />

ความสำคัญอีกประการหนึ่งในการออกแบบพระอุโบสถ<br />

วัดโสธรวรารามวรวิหารหลังใหม่นี้ คือประสงค์ที่จะให้เป็น<br />

สถาปัตยกรรมแนวใหม่ยุครัชกาลที่ 9 มีคุณลักษณะตาม<br />

พระราชดำริ คือ ให้เป็นอาคารสมเกียรติกับองค์หลวงพ่อ<br />

พุทธโสธร ให้มีความสง่างาม มีคุณค่าทางศิลปกรรมเหมาะสม<br />

ที่จะเป็นพุทธสถาน เป็นถาวรวัตถุคู่บ้านคู่เมือง และให้เป็น<br />

สมบัติของชาติอันมีค่าในอนาคตต่อไป<br />

148 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


พระอุโบสถ วัดโสธรวรารามวรวิหาร เมื่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ สภาพแวดล้อม<strong>โดย</strong>รอบให้มี<br />

ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและส่งเสริมความสง่างามให้เกิดพุทธาวาสอันเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุดภายในวัด<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

149


ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของวัดโสธร<br />

อยู่ติดกับแม่น้ำบางปะกงและชุมชน<br />

เมืองฉะเชิงเทรา อาจารย์ประเวศ<br />

สถาปนิกผู้ออกแบบกำหนดให้อาคาร<br />

ทั้งหลังตั้งวางขนานไปตามสายน้ำ<br />

อย่างกลมกลืน และสอดคล้องกับ<br />

แบบแผนคตินิยมในการวาง ผังอาคาร<br />

สัมพันธ์กับแนวแกนทิศอย่างประเพณี<br />

ไทย<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ศิลปินแห่งชาติ สถาปนิก<br />

ผู้รับหน้าที่การออกแบบพระอุโบสถ วัดโสธรวรารามวรวิหาร<br />

ได้พิจารณาหลักการและวัตถุประสงค์ของการสร้างพระ<br />

อุโบสถแล้ว จึงกำหนดแนวความคิดในการออกแบบไว้ดังนี้<br />

การออกแบบแปลนพื้นพระอุโบสถ วัดโสธรวรารามวรวิหาร<br />

หลังใหม่ เป็นไปตามแนวความคิดที่สถาปนิกวางไว้แล้ว คือ<br />

พื้นเตี้ยราบคล้ายพื้นพระอุโบสถฝรั่ง ภายนอกยกฐานอาคาร<br />

สูงแบบไทยทั่วไป จัดแปลนตามหน้าที่การใช้สอยถูกต้องตาม<br />

หลักการในพระพุทธศาสนา แบ่งรูปแปลนออกเป็นส่วนต่างๆ<br />

ดังนี้<br />

ส่วนที่ 1 เป็นส่วนของมุขด้านหน้าสุด (ทิศตะวันออก)<br />

ใช้เป็นส่วนนมัสการสักการบูชา ประดิษฐานหลวงพ่อพุทธ<br />

โสธรจำลอง ฯลฯ ตั้งโต๊ะหมู่บูชา ตั้งแท่นเชิงเทียนกระถางธูป<br />

และจัดที่วางดอกไม้ที่นำมานมัสการ ตลอดจนตั้งแท่นที่กราบ<br />

ส่วนนี้เป็นมุขอาคารโถง ไม่มีผนัง เพื่อให้โปร่งระบายควัน<br />

ธูปเทียนได้อย่างสะดวก ยึดหลักการที่เป็นมาแต่เดิม แก้ไข<br />

เปลี่ยนแปลงรูปแบบอาคารใหม่เพื่อความเหมาะสม<br />

ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของวิหารพระไตรปิฎก หรือวิหาร<br />

ประดิษฐานพระธรรม อยู่ถัดมุขด้านหน้าเข้าไปเป็นวิหาร<br />

ส่วนหน้าพระอุโบสถสุดพื้นด้านหน้าเป็นชุกชีพระยืน สุดพื้น<br />

ด้านหลังวิหารเป็นชุกชีตั้งบุษบกประดิษฐานคัมภีร์พระไตรปิฎก<br />

(พระธรรม)<br />

ส่วนที่ 3 เป็นพื้นที่อยู่ระหว่างวิหารพระไตรปิฎก<br />

กับพระอุโบสถ ใช้เป็นทางผ่านเข้า-ออก และใช้เป็นทาง<br />

ประทักษิณา เมื่อมีการเวียนเทียนหรือแห่บวชนาค ก่อน<br />

เข้า-ออกพระอุโบสถ และใช้เป็นทางลัดเข้าพระอุโบสถระยะสั้น<br />

เข้าออกได้รวดเร็ว ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนอื่น<br />

ส่วนที่ 4 เป็นส่วนของพระอุโบสถ มีชุกชีอาสนะหลวง<br />

พ่อพุทธโสธร อันเป็นพระประธานของพระอุโบสถเดิมไว้<br />

แต่ขยายพื้นที่ให้กว้างออกไป รับผู้คนที่มานมัสการปิดทอง<br />

ได้สะดวก ไม่แออัด และมีทางเข้าออกพระอุโบสถ 4 ทิศทาง<br />

คือ เข้า-ออกได้ทั้งสี่ด้าน มีความคล่องตัวเมื่อมีความประสงค์<br />

จะเข้าออกอย่างรวดเร็วได้ ส่วนกลางของตัวพระอุโบสถเป็น<br />

โถงใหญ่ เพดานสูงโล่ง เป็นเพดานรูปโดมคล้ายแบบฝรั่ง<br />

ทำให้อากาศภายในพระอุโบสถไม่ร้อนอบอ้าว เมื่อเวลาเข้าไป<br />

ภายในอาคาร เหนือฝ้าเพดานพระอุโบสถรูปโดมขึ้นไปเป็น<br />

อาคารรูปมณฑป ประดิษฐานพระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรม<br />

สารีริกธาตุไว้สำหรับสักการบูชา<br />

150 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ส่วนที่ 5 เป็นพื้นที ่อยู่ระหว่างพระอุโบสถกับวิหาร<br />

พระเดิมด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถ ทำรูปแบบพื้นและ<br />

มีการใช้สอยอย่างเดียวกันกับส่วนที่ 3<br />

ส่วนที่ 6 เป็นพื้นที่วิหารพระเดิม คือ ส่วนที่ก่อสร้าง<br />

แทนพระวิหารของเดิมที่รื้อถอนไป ปรับปรุงวิหารพระเดิมนี้<br />

ตั้งพระพุทธรูปองค์เดิม <strong>โดย</strong>การสร้างฐานชุกชีใหม่ให้สวยงาม<br />

สง่ามากยิ่งขึ้น พื้นที่ส่วนหน้าวิหารพระเดิมตั้งมหาธรรมาสน์<br />

สำหรับแสดงธรรมในพิธีต่างๆ ของวัดที่เห็นสมควรให้มีขึ้น<br />

ส่วนที่ 7 เป็นพื้นที่อาคารมุขหลัง อยู่ต่อเชื่อมกับวิหาร<br />

พระเดิมด้านหลัง (ทิศตะวันตก) เป็นวิหารหอพระอุทิศ ท ำตาม<br />

อย่างที่มีมาแต่สมัยโบราณ เช่น ที่วัดพระบรมธาตุ<br />

นครศรีธรรมราชทำพระหรือสร้างพระอุทิศให้แก่นางเหม<br />

ชาลา และสร้างพระอุทิศให้แก่พระธนกุมาร ผู้นำพระธาตุ<br />

เขี้ยวแก้วมาจากอินเดียเพื ่อให้ศรีลังกา แต่เกิดเหตุเรือนำ<br />

พระธาตุมาแตกที่หาดนครศรีธรรมราช พระธาตุเลยมาตก<br />

อยู่ที่เมืองนี้ ส่วนที่วัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)<br />

ในพระอุโบสถสร้างพระอุทิศให้รัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2<br />

เป็นต้น ฯลฯ เพื่อรักษาความดีงามไว้ไม่ให้เสื่อมคลาย<br />

ตามราชประเพณีทางพุทธศาสนาในอดีต สิ่งก่อสร้างเหล่านี้<br />

เป็นถาวรวัตถุอยู่ในเขตพุทธาวาส อันพึงจะมีตามความ<br />

จำเป็นที่สำคัญไว้อย่างพร้อมมูล<br />

แบบรูปตัดตามยาวของพระอุโบสถ<br />

วัดโสธรวราราม แสดงแนวคิดการออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรมไทยเครื่องยอดเพื่อ<br />

ผสานประโยชน์ใช้สอยส่วนต่างๆ ในเขต<br />

พุทธาวาสเข้ากับการสร้างสรรค์รูปทรง<br />

อาคารทางราบและทางดิ่งต่อเนื่องกัน<br />

อย่างเป็นเอกภาพ<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

151


152 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ทางเข้าด้านหน้าพระอุโบสถ ออกแบบ<br />

เป็นหน้าบันมุขประเจิด ผูกลายหน้าบัน<br />

สัญลักษณ์องค์พระพุทธโสธรประทับอยู่<br />

บนพุทธอาสน์ ภายในซุ้มคูหาเรือนแก้ว<br />

ประกอบลายไทยที่เป็นการผูกลายใน<br />

ศิลปะชั้นสูง<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

153


ความสำคัญอีกประการหนึ่งในการออกแบบพระอุโบสถ<br />

วัดโสธรวรารามวรวิหารหลังใหม่นี้ คือ ประสงค์ที่จะให้เป็น<br />

สถาปัตยกรรมแนวใหม่ยุครัชกาลที่ 9 มีคุณลักษณะตาม<br />

พระราชดำริ คือ ให้เป็นอาคารสมเกียรติกับองค์หลวงพ่อ<br />

พุทธโสธร ให้มีความสง่างาม มีคุณค่าทางศิลปกรรมเหมาะสม<br />

ที่จะเป็นพุทธสถาน เป็นถาวรวัตถุคู่บ้านคู่เมือง และให้เป็น<br />

สมบัติของชาติอันมีค่าในอนาคตต่อไป<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี จึงได้จัดตั้ง “สำนักงาน<br />

เฉพาะกิจออกแบบเขียนแบบก่อสร้างพระอุโบสถวัดโสธร<br />

วรารามวรวิหาร” ขึ้นที่บริเวณโรงเรียนวัดโสธรฯ ด้วยความ<br />

มุ่งมั่นและจริงจังในการทำงานดำเนินตามปรัชญาการ<br />

ออกแบบเขียนแบบศิลปสถาปัตยกรรมชั้นสูงและด้วย<br />

จิตศรัทธาที่จะอุทิศตนให้แก่การงานถวายเป็นพุทธบูชา<br />

ท่านจึงทำงานต่อเนื่องกันทุกวันมิได้มีเวลาพักผ่อนส่วนตัว<br />

ทั้งยังบอกแก่ผู้ร่วมงานด้วยกำลังใจมุ่งมั่นเต็มเปี่ยมว่า “งานนี้<br />

ตั้งใจมากจะให้เป็นวัดสำหรับรัชกาลที่ 9”<br />

ณ สำนักงานเฉพาะกิจแห่งนั้นยังมีพื้นที่ส่วนหนึ่ง<br />

สำหรับจัดแสดงนิทรรศการแบบสถาปัตยกรรมสำคัญของ<br />

ประเทศ เช่น แบบพิมพ์เขียวของพระที่นั่งอนันตสมาคม<br />

เป็นต้น เพื่อแสดงให้ผู้มาเยี่ยมชมได้เห็นถึงแนวทางการ<br />

ทำงานออกแบบเขียนแบบอย่างประณีตงดงาม และมีความ<br />

ละเอียดทุกขั้นตอนในการเขียนแบบด้วยมาตราส่วนต่างๆ<br />

ได้แก่ แบบสถาปัตยกรรม แบบโครงสร้าง ตลอดจนถึงแบบ<br />

ขยายลวดลายศิลปกรรมประดับตกแต่งอาคาร เป็นต้น<br />

ภายในห้องจัดแสดงนิทรรศการส่วนหนึ่ง จัดเตรียม<br />

ไว้สำหรับจัดแสดงขั้นตอนการออกแบบเขียนแบบ<br />

พระอุโบสถ วัดโสธรวราราม ที่อยู่ระหว่างด ำเนินการเขียนแบบ<br />

อยู่ด้วย อาจารย์ประเวศได้วางหลักการและวิธีการทำงาน<br />

เขียนแบบ ขยายแบบเท่าจริงให้เป็นไปตามหลักปรัชญาการ<br />

ทำงานด้านสถาปัตยกรรมไทยอย่างเคร่งครัด <strong>โดย</strong>กำหนด<br />

ขั้นตอนการทำงานไว้ในเอกสารอัดสำเนาที่พิมพ์ขึ้นไว้ดังนี้<br />

สำนักงานเฉพาะกิจออกแบบเขียนแบบ<br />

ก่อสร้างพระอุโบสถ วัดโสธรวรารามวรวิหาร<br />

ฝ่ายสถาปัตยกรรมได้ดำเนินงานออกแบบเขียนแบบ<br />

ก่อสร้างพระอุโบสถฯ ตามขั้นตอนดังนี้<br />

1. งานออกแบบ 1 : 200 เพิื่อหาแนวทางของรูปแบบ<br />

พระอุโบสถให้มีลักษณะสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมตาม<br />

ยุคสมัย ถูกต้องตามประเพณีและหน้าที่ใช้สอยทางพระพุทธ<br />

ศาสนาเป็นสำคัญ<br />

2. งานออกแบบ,เขียนแบบ 1 : 100 เพื่อหาแนวทาง<br />

ปรับแบบ 1 : 200 ให้มีลักษณะแบบได้ทรวดทรงและมี<br />

สัดส่วนพอที่จะออกแบบเขียนแบบส่วนประกอบเพิ่มเติม<br />

ตามรายละเอียดขึ้น เกี่ยวกับการร่างแบบของโครงสร้าง<br />

และส่วนตกแต่งอันเป็นหลักใหญ่ๆ ที่ต้องการ เช่น ออกแบบ<br />

ชุกชี ซุ้มพระ ประตู หน้าต่าง<br />

3. งานออกแบบเขียนแบบ 1 : 50 เพื่อปรับปรุงแบบ<br />

ให้มีส่วนละเอียดเพิ่มขึ้น ให้มีสัดส่วนที่แน่นอนยิ่งขึ้น ตลอด<br />

การออกแบบจุดตำแหน่งของการตกแต่งจามความประสงค์<br />

ในงานสถาปัตยกรรมได้มากยิ่งขึ้น ตลอดกำหนดรูปแบบ<br />

ของโครงสร้างที่แน่นอนเป็นแบบพร้อมที่วิศวกรใช้เป็นแบบ<br />

คิดน้ำหนักและคำนวณกำลังของตัวอาคาร<strong>โดย</strong>ทั่วไปได้<br />

4. งานออกแบบเขียนแบบ 1 : 20 เพื่อออกแบบ<br />

เขียนแบบรูปของอาคาร กำหนดสัดส่วนอย่างละเอียดทุก<br />

ส่วนของอาคารไว้ครบถ้วนพร้อมที่จะนำไปใช้ประกอบการ<br />

เสริมเหล็กโครงสร้าง การขยายแบบเท่าของจริงใช้เป็นแบบ<br />

คิดราคา ประมาณราคาก่อสร้างได้<strong>โดย</strong>บริบูรณ์ และใช้เป็น<br />

แบบก่อสร้างได้อย่างถูกต้องตามสัดส่วนระยะที่กำหนดไว้<br />

5. งานขยายแบบเท่าของจริง 1 : 1 เพื่อแสดงรูปแบบ<br />

ที่เป็นจริงของอาคารที่จะก่อสร้างทุกๆ ส่วนที่จะนำไปใช้<br />

ปฏิบัติงาน ทั้งด้านโครงสร้างและใช้ปฏิบัติงาน ปฏิบัติการ<br />

ปั้นหล่อสร้างชิ้นส่วนของการตกแต่งได้ถูกต้องดังประสงค์<br />

(งานขยายแบบเท่าของจริงจะต้องทำพร้อมกับการปฏิบัติ<br />

การก่อสร้างควบคู่กันไป)<br />

154 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


หุ่นจำลองพระอุโบสถวัดโสธรวราราม<br />

จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอรูปแบบ<br />

สถาปัตยกรรม และใช้ในการศึกษา<br />

โครงสร้างอาคารที่มีความซับซ้อนให้<br />

ผู้ปฏิบัติงานส่วนต่างๆ ได้เข้าใจตรงกัน<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

155


แบบขยายรูปด้านส่วนยอดมณฑป<br />

บริเวณพื้นที่ใช้งานชั้นสูงสุด ซึ่งภายใน<br />

ประดิษฐานพระสถูปเจดีย์บรรจุ<br />

พระบรมสารีริกธาตุไว้สำหรับสักการบูชา<br />

156 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบขยายรูปตัดโครงสร้าง และผังคาน<br />

เครื่องยอดมณฑป วัดโสธรวราราม<br />

ออกแบบโครงสร้าง<strong>โดย</strong> อาจารย์<br />

ดร.พิบูลย์ จินาวัฒน์ วิศวกร<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

157


นิทรรศการแสดงลำดับขั้นตอน การออกแบบเขียนแบบ<br />

ก่อสร้างพระอุโบสถและพระวิหาร วัดโสธรวรารามวรวิหาร<br />

ที่จะก่อสร้างใหม่แทนของเดิม<br />

งานออกแบบเขียนแบบสถาปัตยศิลป มีหลักการ<br />

เขียนแบบเป็นขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้<br />

ขั้นตอนลำดับที่ 1 งานร่างแบบสมมุติฐาน 1 : 200<br />

แสดงรูปอาคารพระอุโบสถและพระวิหาร ให้เป็นไปตาม<br />

ความประสงค์ ตลอดทั้งประเพณีการใช้สอยของพระอุโบสถ<br />

นี้เป็นสำคัญ ตามวิชาการออกแบบ ได้ปรับปรุงเพิ่มเติมจาก<br />

ของเดิมในส่วนที่จำเป็นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รูปแบบและรูปทรง<br />

ของพระอุโบสถได้ออกแบบเพิ่มเติมจากของเดิมในส่วนที่<br />

จำเป็นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รูปแบบและรูปทรงของพระอุโบสถ<br />

ได้ออกแบบวิวัฒนาการลักษณะยุคใหม่ ไม่ซ้ำจากที่เป็นมา<br />

แต่เดิมในอดีต ประสงค์ให้เป็นยุคสมัยรัชกาลที่ 9 ดังแบบ<br />

ที่แสดง<br />

ขั้นตอนลำดับที่ 2 งานออกแบบตัวอาคารพระอุโบสถ,<br />

พระวิหาร, รูปตัดอาคารพระอุโบสถ, พระวิหาร ตลอดแสดง<br />

แนวโครงสร้าง, แสดงแนวอาคารการตกแต่งภายใน<strong>โดย</strong>ทั่วไป<br />

<strong>โดย</strong>สังเขป 1 : 100 ดังแบบแสดง<br />

ขั้นตอนลำดับที่ 3 งานออกแบบรายละเอียดของ<br />

อาคารพระอุโบสถ, พระวิหาร <strong>โดย</strong>กำหนดจุดตำแหน่งของ<br />

แบบ ทุกๆ ส่วน 1 : 50 แสดงแบบรูปแปลน, แบบรูปด้าน<br />

(รูปตั้ง), แบบรูปตัดทุกๆ ส่วน ภายในที่มีรูปแบบต่างๆ กัน<br />

<strong>โดย</strong>ทั่วไป (งานออกแบบเขียนแบบ 1 : 50 ใช้เป็นแบบ<br />

คำนวณกำลังโครงสร้างได้<strong>โดย</strong>กำหนดรายการวัสดุที่ใช้<br />

ก่อสร้างประกอบไว้) ดังแบบแสดง<br />

ขั้นตอนลำดับที่ 4งานออกแบบพระอุโบสถพระวิหาร<br />

1 : 20 แสดงรูปแบบของอาคารที่กำหนดสัดส่วนอย่าง<br />

ละเอียดทุกๆ ส่วนไว้ในแบบอย่างครบถ้วน พร้อมที่จะนำไป<br />

ใช้ประกอบการเขียนแบบเสริมเหล็กโครงสร้าง เขียนแบบ<br />

รายละเอียกเท่าของจริง ใช้เป็นแบบประกอบการคิดประมาณ<br />

ราคาค่าก่อสร้างในส่วนต่างๆ ได้<strong>โดย</strong>สมบูรณ์ ตลอดใช้เป็น<br />

แบบก่อสร้างอาคารพระอุโบสถ, พระวิหาร ได้อย่างถูกต้อง<br />

ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ ดังแบบแสดง<br />

ขั้นตอนลำดับที่ 5 งานขยายรายละเอียดเท่าของจริง<br />

1 : 1 ส่วนต่างๆ ของอาคาร เป็นแบบแสดงรายละเอียดเท่า<br />

ของจริง แสดงโครงสร้างส่วนละเอียดอย่างของจริงทุกๆ ส่วน<br />

เพื่อความถูกต้องของแบบ ตลอดความสวยงามของฟอร์ม<br />

และรูปทรงที่ต้องการก่อนนำแบบไปใช้ก่อสร้าง ดังแบบแสดง<br />

นอกจากนั้นอาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี พร้อมด้วย<br />

อาจารย์ ดร.พิบูลย์ จินาวัฒน์ วิศวกร ยังเห็นตรงกันถึง<br />

ความจำเป็นในการจัดสร้างหุ่นจำลองแบบโครงสร้างและ<br />

สถาปัตยกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันระหว่างการ<br />

ปฏิบัติงานออกแบบเขียนแบบโครงสร้างให้ประสานกับงาน<br />

สถาปัตยกรรมไทยได้อย่างถูกต้องงดงามสอดคล้องตาม<br />

รูปแบบที่สถาปนิกกำหนดไว้<br />

หุ่นจำลองพระอุโบสถ พระวิหาร วัดโสธรวราราม ซึ่ง<br />

จัดทำขึ้นในมาตราส่วนขนาดใหญ่ มีความงดงามและใหญ่โต<br />

แสดงรูปทรง รายละเอียดของการประสานแบบโครงสร้าง<br />

และแบบสถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์รูปทรงขึ้นใหม่ได้อย่าง<br />

งดงาม และสร้างความเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ถึงพื้นที่ใช้สอย<br />

ส่วนต่างๆ ทางแนวดิ่งของส่วนยอดตรงกลางเหนือตำแหน่ง<br />

ฐานชุกชีประดิษฐานหลวงพ่อพระพุทธโสธรฯ ซึ่งเป็นการ<br />

ออกแบบใช้พื้นที่ว่างต่างจากแบบแผนทางประเพณี ทั้งยัง<br />

เปิดเผยให้เห็นแนวความคิดในการออกแบบของโครงสร้าง<br />

สำหรับสถาปัตยกรรมไทยขนาดใหญ่ได้อย่างงดงาม<br />

158 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


หุ่นจำลองโครงสร้างขนาดใหญ่ของ<br />

พระอุโบสถ วัดโสธรวราราม จัดทำ<br />

ขนาดย่อส่วนเหมือนของจริง เพื่อ<br />

แสดงลักษณะโครงสร้างและที่ว่าง<br />

ภายในของส่วน อาคารทางราบและ<br />

อาคารทางดิ่งคือส่วนยอดทรงมณฑป<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

159


ซ้าย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม<br />

ราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินยังวัด<br />

โสธรเพื่อทอดพระเนตร และติดตาม<br />

การดำเนิน งานออกแบบเขียนแบบของ<br />

ทีมสถาปนิก วิศวกร และคณะทำงาน<br />

ขวา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรม<br />

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม<br />

บรมราชกุมารี เสด็จนมัสการหลวงพ่อ<br />

โสธร ทรงรับเป็นองค์ประธานการ<br />

ก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ตามแนว<br />

พระราชดำริของพระบาทสมเด็จ<br />

พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล<br />

อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร<br />

ณ สำนักงานเฉพาะกิจออกแบบ เขียนแบบ ก่อสร้าง<br />

พระอุโบสถ วัดโสธรวรารามวรวิหาร แห่งนี้จึงเป็นสถานที่<br />

สำหรับการปฏิบัติงานและให้ความรู้ตามหลักปรัชญาการทำ<br />

งานด้านสถาปัตย์ศิลป์ ดังความตั้งใจที่อาจารย์ประเวศ มุ่งมั่น<br />

ที่จะสร้างงานออกแบบชิ้นนี้ให้เป็นพุทธศิลปสถาปัตยกรรม<br />

อันสมบูรณ์พร้อมทุกประการ เป็นศิลปะคู่บ้านคู่เมืองสืบต่อไป<br />

ในอนาคต<br />

ทั้งนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ<br />

รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมา<br />

ติดตามการดำเนินงานออกแบบเขียนแบบก่อสร้างพระอุโบสถ<br />

วัดโสธรวรารามวรวิหาร พระมหากรุณาธิคุณในครั้งนั้นนำ<br />

ความปลาบปลื้มใจและกำลังใจมาสู่อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

และคณะทำงานทุกๆ ฝ่ายที่ทุ่มเทการทำงานอย่างเต็มกำลัง<br />

ความสามารถ เพื่อสนองงานให้สำเร็จตามพระราชประสงค์<br />

ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

มหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า<br />

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

องค์ประธานการก่อสร้าง ทั้งยังอุทิศตนด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเท<br />

แรงกายแรงใจอย่างจริงจังเพื ่อถวายเป็นพุทธบูชาแก่องค์<br />

หลวงพ่อโสธร<br />

160 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


การทำงานเขียนแบบขยายแบบเท่าจริง ยังถือเป็น<br />

กระบวนการทำงานที่สำคัญต่อการออกแบบองค์ประกอบ<br />

สถาปัตยกรรมซึ่งมีการประดับตกแต่งด้วยลวดลายศิลปไทย<br />

<strong>โดย</strong>ความสำคัญนี้ยังเกี่ยวข้องกับการพิจารณาเลือกใช้วัสดุ<br />

และประเภทงานช่างที่จะสัมพันธ์กับการออกแบบลวดลาย<br />

ตกแต่งนั้นๆ ด้วย อาทิ งานปูนปั้น งานแกะสลัก หรืองานปั้น<br />

หล่อพิมพ์ซีเมนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ขั้นตอนการออกแบบเขียนแบบ<br />

ลวดลายตกแต่งนั้น จะถูกออกแบบตามมาตราส่วนเท่าจริง<br />

เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ของลวดลายกับมิติของพื้นที่และ<br />

การนำไปใช้ตกแต่งซึ่งมีคุณลักษณะแตกต่างกันตามประเภท<br />

ของลวดลายและการนำไปใช้ตกแต่งสถาปัตยกรรมไทย ซึ่ง<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ได้กำหนดหลักการออกแบบให้<br />

สอดคล้องกับแนวทางการพิจารณาใช้วัสดุในการก่อสร้าง<br />

พระอุโบสถหลวงพ่อพระพุทธโสธรหลังใหม่ ไว้ดังนี้<br />

“…การออกแบบพระอุโบสถ วัดโสธรวรารามวรวิหาร<br />

เน้นถึงการประหยัดในการออกแบบ การใช้วัสดุประกอบการ<br />

ก่อสร้างพระอุโบสถหลวงพ่อพระพุทธโสธรหลังใหม่ เน้นหนักให้<br />

เป็นวัสดุอันมีคุณภาพเป็นถาวรวัตถุ เพื่อให้มีอายุยืนยาวอย่าง<br />

ประหยัด ซึ่งไม่ต้องท ำการซ่อมกันบ่อยๆ อย่างที่เป็นในปัจจุบัน<br />

วัสดุที่น ำมาประกอบใช้ก่อสร้างคือ จะต้องผลิตขึ้นเกือบทั้งหมด<br />

<strong>โดย</strong>ไม่มีขายในงานอุตสาหกรรมในตลาด<strong>โดย</strong>ทั่วไป ดังนี้<br />

1. กระเบื้องมุงหลังคา เป็นกระเบื้องที่ออกแบบขึ้น<br />

มาใหม่ ตามรูปแบบและขนาดตามมาตราส่วนของแบบตาม<br />

ประสงค์ของงานศิลป ทำเผาเป็นเซรามิค อายุของกระเบื้อง<br />

เมื่อผลิตขึ้นแล้วมีอายุไม่น้อยกว่า 1 พันปี<br />

2. ช่อฟ้าใบระกา หัวนาคปั้นลม และคันทวย ใช้วัสดุ<br />

เป็นเซรามิค ซึ่งสมัยสุโขทัยได้เคยทำมาแล้ว มีอายุไม่น้อย<br />

กว่า 1 พันปี<br />

3. ลายหน้าบัน ลานกระจังฐานพระ และลายตกแต่ง<br />

<strong>โดย</strong>ทั่วไป ทำแบบเผาเคลือบเป็นเซรามิคประกอบตกแต่ง<br />

ซึ่งเป็นวัสดุที่มีอายุยืนยาวไม่น้อยกว่า 1 พันปี ตามอย่างที่<br />

ทำมาแล้วในสมัยสุโขทัย<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

แบบขยายรายละเอียดเท่าจริงของกระจังซึ่งอาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ออกแบบสร้างสรรค์ใหม่ให้มีรูปแบบต่างๆ กัน<br />

ตามขนาดสัดส่วนสัมพันธ์กับคิ้วบัวอย่างฝรั่ง สำหรับตกแต่งภายในพระอุโบสถ<br />

161


4. พื้นอาคารพระอุโบสถ ตลอดบันได ปูหินแกรนิต<br />

5. ซุ้มประตู ภายนอกและภายในทั้งหมดทำด้วย<br />

หินอ่อน หินแกรนิต หรือเป็นเซรามิค อันมีอายุยืนยาวเป็น<br />

พันๆ ปีทั้งสิ้น<br />

6. กรองวงประตู กรอบบานประตูและหน้าต่าง<br />

หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ กรุแผ่นหินแกรนิต เป็นต้น บานประตู<br />

แบบลูกฟักเซาะบัวคิ้ว ซึ่งมีอายุไม่น้อยกว่าพันๆ ปีทั้งสิ้น<br />

7. ลวดบัว ท้องคาน และกรอบแว่นต่างๆ ที่ใช้ตกแต่ง<br />

ทำชนิดปั้นแบบถอดแบบ ทำแบบตีซีเมนต์ ตามหลักช่างและ<br />

อย่างคุณภาพประกอบตกแต่งตามรูปแบบที่ได้กำหนดให้<br />

8. ลายตกแต่งอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้ความมั่นคงและ<br />

เป็นงานถาวร ก็ต้องทำหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เช่น ลายบาน<br />

ประตู ลายช่อระบายอากาศ หัวเสาเม็ด บันไดเวียน กรอบ<br />

ช่องแสงต่างๆ ที่กรุกระจก พระพุทธรูปภายในซุ้มทิศ ประกอบ<br />

เรือนธาตุชั้นยอดหลังคาพระอุโบสถ ฯลฯ<br />

9. ฉัตรยอดมณฑปและฉัตรเครื่องสูงเหนือเสาเม็ด<br />

รอบระเบียงเรือนยอดพระอุโบสถ อันเป็นสถูปเจดีย์ประดิษฐาน<br />

พระบรมสารีริกธาตุ ทำด้วยทองแดงเพื่อความคงทนต่อ<br />

ดินฟ้าอากาศ<br />

ตัวอย่างงานเขียนแบบออกแบบกระเบื้องหลังคา<br />

พระอุโบสถ วัดโสธรวราราม ซึ่งอาจารย์ประเวศ คิดแก้ไข<br />

ปัญหาเรื่องสัดส่วนขององค์ประกอบไปพร้อมๆ กับลวดลาย<br />

ตกแต่ง เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจกล่าวคือ การก่อสร้าง<br />

พระอุโบสถหลังนี้มีส่วนองค์ประกอบหลักของหลังคามุง<br />

กระเบื้องเคลือบที่ตั้งใจออกแบบทำขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจาก<br />

ปริมาตรพื้นที่หลังคาของอาคารมีขนาดสูงใหญ่ทั้งส่วนที่<br />

เป็นหลังคาจั่วซ้อนชั้นและหลังคายอดมณฑปจึงถือเป็น<br />

ความสำคัญของการออกแบบให้มีศิลปลักษณะอันงดงาม<br />

และมีอายุยาวนาน<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ออกแบบกระเบื้องหลังคา<br />

ที่มีลักษณะปลายโค้งเน้นขอบเส้นทองต่อเนื่องทั้งผืนหลังคา<br />

เพื่อให้เกิดประกายแสงทองเจิดจรัสงดงามของหลังคา<br />

เครื่องยอด ซึ ่งพระอุโบสถวัดโสธรฯ หลังนี ้มีการออกแบบ<br />

เครื ่องยอดหลังคาและมุขทิศลดหลั่นต่อเนื่องกันเป็นลำดับ<br />

ด้วยจังหวะลีลาอันงดงามเฉพาะตัวของผู้ออกแบบอย่างยาก<br />

จะหาใครเปรียบเทียบ<br />

สถาปนิกเล็งเห็นถึงปัญหาของการออกแบบกระเบื้อง<br />

มุงหลังคาซึ่งตกแต่งลวดลายทองในมิติของงานก่อสร้างจริง<br />

ล่วงหน้าเป็นอย่างดียิ่ง ทั้งยังเข้าใจแน่ชัดว่าการผลิตแผ่น<br />

กระเบื้องเพียงขนาดเดียวนำมาใช้มุงหลังคาทั ้งอาคารนั้น<br />

ไม่สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ในการออกแบบและ<br />

ความงามได้อย่างสมบูรณ์ เพราะว่ากระเบื้องมุงหลังคาในที่สูง<br />

เช่น ส่วนยอดมณฑปนั้นมองเห็นได้เพียงระยะไกล จึงมี<br />

ความจำเป็นต้องเขียนแบบขยายแบบเท่าจริงเพื ่อผลิต<br />

กระเบื้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้นหลายขนาดตามระยะลวงตาใน<br />

ทัศนมิติที่มองเห็นจากเบื้องล่าง ทั้งนี้เพื่อให้ปรากฏเห็น<br />

ความงามของลายขลิบทองบนกระเบื้องที่มุงเป็นผืนหลังคา<br />

ตั้งแต่ระยะใกล้ต่อเนื่องไปยังผืนหลังคายอดมณฑปทุกๆ ชั้น<br />

อย่างประสานลงตัว<br />

ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างถึงที่สุด<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี จึงเขียนแบบกระเบื้องมุงหลังคา<br />

พระอุโบสถวัดโสธรฯ ไว้ในขั้นตอนการทำงานขยายแบบเท่า<br />

จริงถึง 5 รูปแบบ ซึ่งมีรายละเอียดรูปแบบ สัดส่วน ลวดลาย<br />

ตกแต่ง วัสดุ และวิธีการก่อสร้างอย่างครบถ้วน เพื่อส่งมอบ<br />

ให้ช่างนำไปผลิตงานต้นแบบจำลองเท่าขนาดจริงให้ได้หุ่น<br />

จำลองรูปแบบที่สวยงาม ตรงตามความประสงค์ของแนวคิด<br />

การออกแบบซึ่งแฝงอยู่ในการตกแต่งด้านสถาปัตย์ศิลป์<br />

และตอบสนองต่อความประสงค์ในการใช้วัสดุเฉพาะที่มี<br />

คุณภาพสูงอายุยืนยาวอย่างประหยัด<br />

162 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


แบบขยายเท่าจริงกระเบื้องหลังคาและ<br />

กระเบื้องเชิงชายซึ่งจะผลิตขึ้นเฉพาะ<br />

สำหรับ มุงหลังคาพระอุโบสถวัดโสธรฯ<br />

<strong>โดย</strong>สถาปนิกเป็นผู้ออกแบบและ<br />

กำหนดสัดส่วน ขึ้นตามหลักวิชา<br />

ปรัชญาการออกแบบในศาสตร์ศิลป<br />

สถาปัตยกรรมไทย<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

163


เครื่องบนและกระเบื้องหลังคาเครื่องยอด<br />

ซึ่งสถาปนิกจะต้องออกแบบ เขียนแบบ<br />

ขยายแบบเท่าจริงทุกๆ ส่วนตามสเกล<br />

และความสูงเพื่อแก้ไขอากาศกิน<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี เล่าถึงการทำงานเขียนแบบ<br />

ขยายแบบพระอุโบสถ วัดโสธรฯ ว่า “...งานนี้ตั้งใจมาก<br />

เขียนแบบถึง 5 ปี ประมาณพันกว่าแผ่น ต้องเขียนทุกจุด<br />

ต้องเขียนเท่าจริงหมด อาจารย์จำลองทุกจุดก่อนที่จะเขียน<br />

รายการ คือเราทำได้จึงจะเขียนรายการ…งานเขียนแบบ<br />

เหลือแต่องค์ใหญ่ เพราะจะต้องดีไซน์ตกแต่งก่อนจึงจะเขียน<br />

ต้องรอโครงสร้างก่อน…การคิดลายก็ยาก เพราะจะต้องคิด<br />

ว่าลายตรงนั ้นจะเป็นอย่างไร ตรงนี้จะเป็นยังไง เราจะไป<br />

เขียนให้เสร็จทั้งหมดเลยไม่ได้ คือต้องลองเอาไปใส่ใน<br />

สถาปัตยกรรม…คือวิธีการทำงานศิลปะ เราจะไปเขียนให้<br />

เสร็จเลยไม่ได้ เพราะต้องเขียนออกแบบลายที่จะไปใส่ดูว่า<br />

เป็นลายแบบไหนจึงจะขึ้น 1 : 1 แล้วขยายลงไป มิอย่างนั้น<br />

เรายังไม่มีอุปกรณ์ในความคิด แล้วจะไปขยายกับอะไรถ้า<br />

ความคิดยังไม่จบ…<br />

…อย่างการสร้างกระเบื้องมุงหลังคา แต่ละชั้นต้อง<br />

สร้างไม่เท่ากันอีก กระเบื้องต้องออกแบบตามสเกลและ<br />

ความสูง มองดูแล้วกลมกลืนกัน ถ้าไปใช้เท่ากันหมดแล้ว<br />

ข้างบนมองแล้วไม่เห็นอะไร ดูเป็นพืดไปหมด ตกลงกระเบื้อง<br />

เห็นแต่ข้างล่างเชิงชายเท่านั้น นี่คือการออกแบบที่ไม่ถูกสเกล<br />

คือต้องสเกลทั้งอากาศด้วยไม่ใช่สเกลเลขในแบบ สูงเท่านี้<br />

ลายต้องโตเท่าไหร่ เมื่อมองดูใกล้แล้วหยาบ แต่ไปติดแล้ว<br />

ดูละเอียด…”<br />

164 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ทัศนียภาพพระอุโบสถ วัดโสธรวราราม<br />

วรวิหารเมื่อสร้างแล้วเสร็จ สถาปัตยกรรม<br />

แนวใหม่ยุครัชกาลที่ 9 มีคุณลักษณะ<br />

ตามพระราชดำริ คือ เป็นอาคาร<br />

สมเกียรติกับ องค์หลวงพ่อพุทธโสธร<br />

มีความสง่างาม มีคุณค่าทางศิลป<br />

สถาปัตยกรรมเหมาะสมที ่จะเป็นพุทธ<br />

ศิลปสถาปัตยกรรม เป็นถาวรวัตถุ<br />

คู่บ้านคู่เมืองและเป็นสมบัติของชาติ<br />

ในอนาคตสืบไป<br />

นอกจากอาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี สถาปนิกออกแบบ<br />

พระอุโบสถแล้ว ยังมีคณะทำงานฝ่ายออกแบบเขียนแบบฯ<br />

ส่วนหนึ่งซึ่งเคยเป็นผู้ร่วมงานเมื่อครั้งรับราชการอยู่ในกอง<br />

หัตถศิลป์และกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ครั้นเมื่อ<br />

เกษียณอายุราชการแล้ว จึงได้มาทำงานเป็นลูกมือช่วยแบ่ง<br />

เบาหน้าที่ในงานเขียนแบบและคัดลอกลงเส้นจากแบบร่างที่<br />

สถาปนิกเป็นผู้ออกแบบไว้เสร็จแล้ว ซึ่งเป็นวิธีการบริหาร<br />

จัดการหน้าที่ตามความรับผิดชอบแต่ละบุคคลในคณะ<br />

ทำงานอย่างชัดเจน ทั้งยังเป็นผลดีของการเรียนรู้จากการ<br />

ถ่ายทอดประสบการณ์ทำงานในสำนักระหว่างครูและศิษย์<br />

ซึ่งทำงานร่วมกัน การปฏิบัติงานเขียนแบบขยายแบบเท่าจริง<br />

จึงสำเร็จลงได้ก็ด้วยการทำงานเป็นหมู่คณะอย่างสำนักฯ<br />

นั่นเอง<br />

เรื่องศิลปะการขยายแบบเท่าขนาดจริง<br />

165


ลายหน้าบันมุขทิศ พระอุโบสถวัดโสธร<br />

ผูกลายหน้าบัน<strong>โดย</strong>ใช้ตราสัญลักษณ์<br />

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 9<br />

ภายในกรอบซุ้มวิมาน ประกอบลายไทย<br />

ที่เป็นการผูก ลายในศิลปะชั้นสูง เพื่อ<br />

เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรม<br />

ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

มหาราช บรมนาถบพิตร<br />

166 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี สรุปใจความสำคัญของ “งานขยายแบบ” และ “งานจำลองแบบเท่าของจริง”<br />

จากประสบการณ์ทำงานด้านสถาปัตยกรรมไทยตลอดช่วงชีวิตไว้อย่างชัดเจน ดังนี้<br />

“ งานขยายแบบ<br />

งานขยายแบบก่อสร้างเท่าของจริง ถือเป็นความสำคัญสูงสุดในการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมศิลป<br />

การเขียนแบบเท่าของจริงเป็นการเขียนแบบครั้งสุดท้ายของงานศิลปประเภทคลาสสิก เขียนเพื่อให้ได้มาซึ่ง<br />

ความงามบริสุทธิ์ของแบบให้สิ้นสุดในรูปทรงของสัดส่วนที่สวยงามในองค์ประกอบที่กลมกลืนกัน ประสาน<br />

กันในทุกๆ ส่วนอย่างมีสเกลเป็นข้อยุติแห่งความงาม อันได้กลั่นกรองเป็นที่เรียบร้อยแล้วอย่างไม่ผิดพลาด<br />

ที่จะเกิดขึ้นได้ เป็นข้อมูลสำคัญในการตรวจงานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรมศิลป<br />

ซึ่งขาดงานขั้นตอนนี้เสียมิได้เป็นอันขาด<br />

งานจำลองแบบเท่าของจริง<br />

งานทำหุ่นจำลองแบบเท่าของจริง ถือเป็นความสำคัญสูงสุดทัดเทียมกับการขยายแบบเท่าของจริงอีก<br />

ประการหนึ่งในการก่อสร้างงานศิลปประเภทงานสถาปัตยกรรมศิลป การขยายแบบเท่าของจริงเป็นแต่เพียง<br />

กำหนดเส้นให้ได้รูปทรง ลักษณะ รูปแบบและสัดส่วนที่ต้องการอย่างแม่นยำตามที่ต้องการแล้ว<br />

แต่ไม่สามารถมองเห็นความบริสุทธิ์ของความที่เป็นจริง<strong>โดย</strong>รวมได้ จึงจำเป็นต้องทำหุ่นจำลองแบบขึ้นเป็น<br />

รูป 3 มิติ ด้วยความเป็นจริงอีกขั้นตอนหนึ่ง ด้วยการกลึงแบบ, ปั้นแบบ, ถอดแบบ, ทำพิมพ์<br />

ตลอดการหล่อแบบประกอบแบบขึ้นเป็นหุ่นจำลองเท่าของจริง<br />

การจะได้มาซึ่งแบบหุ่นจำลองเท่าของจริงที่สวยงามอย่างที่ประสงค์นั้น จำเป็นต้องใช้บุคคลากรที่เป็น<br />

ช่างด้านศิลป มีความชำนาญงานมาดำเนินการทำและผลิตขึ้นให้ได้ตรงกับหน้าที่ของงานประเภทนั้นๆ<br />

ที่จำเป็นต้องใช้วิชาและเทคนิคในงานส่วนนั้นๆ ให้ถูกต้องตามแบบ ดังที่สถาปนิกก ำหนดให้เป็นประการสำคัญ<br />

ซึ่งจะขาดขั้นตอนนี้เสียมิได้เป็นอันขาดอีกขั้นตอนหนึ่ง<br />

เมื่อได้งานของหุ่นจำลองเท่าของจริงแต่ละอย่างของแต่ละแบบเป็นตัวอย่างแล้ว จึงจะดำเนินการ<br />

ว่าจ้างหรือประมูลหาผู้รับจ้างทำการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ <strong>โดย</strong>ยึดหุ่นแบบตัวอย่างเป็นคู่สัญญา และใช้เป็น<br />

ข้อมูลมาตรฐานในการตรวจการจ้างรับงานก่อสร้างได้อย่างถูกต้องตรงตามความประสงค์ และเป็น<br />

การยุติธรรมต่อการสร้างงานศิลป”<br />

167


168 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชื่อบท<br />

169


170 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน<br />

ประเวศ ลิมปรังษี <strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong><br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน<br />

พุทธศักราช 2473 ที่ตำบลท่าพยา อำเภอปากพนัง จังหวัด<br />

นครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายเชื่อง ลิมปรังษี และ<br />

นางสีลิ่ม ลิมปรังษี ซึ่งประกอบอาชีพค้าขาย เมื่อวัยเยาว์ได้<br />

เริ่มเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทศบาล 7 วัดท่าโพธิ์<br />

จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาได้<br />

เข้าเรียนที่วัดจันทร์หรือโรงเรียนวัดจันทาราม ในจังหวัด<br />

นครศรีธรรมราช ณ สถานศึกษาแห่งนี้เองเป็นสถานที่แรก<br />

ที่ท่านได้ซึมซับวิชาศิลปะจากศิลปกรรมอันงดงามของ<br />

วัดจันทาราม <strong>โดย</strong>พบเห็นการทำงานของช่างพื้นบ้าน<br />

ที่ทำการก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมอาคารภายในวัด เมื่อมี<br />

เวลาว่างก็จะอาสาเป็นลูกมือช่างซึ่งเป็นพระในวัดนั่นเอง<br />

ทำให้ได้คลุกคลีอยู่กับงานช่างเป็นประจำ<br />

ตอนเช้าก่อนเข้าเรียนซึ่งเป็นช่วงเวลาว่างจึงได้ฝึก<br />

เขียนทรายที่สนามเป็นรูปร่างพระอุโบสถ หน้าบันและ<br />

ลวดลายไทยต่างๆ ทำเช่นนี้อยู่สม่ำเสมอจนเป็นอุปนิสัย<br />

เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แล้วจึงเดินทางเข้ามา<br />

กรุงเทพฯ เพื่อจะสอบเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนอำนวยศิลป์<br />

ธนบุรี ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 และปีที่ 6<br />

ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

171


เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

แม้ว่าอาจารย์ประเวศจะมีโอกาสสัมผัสและฝึกฝน<br />

การวาดภาพตั้งแต่เมื่อครั้งยังศึกษาชั้นมัธยมแต่ความตั้งใจ<br />

แรกเริ่มที่มุ่งจะศึกษาวิชาช่างเครื่องยนต์ยังคงอยู่ ด้วยเห็นว่า<br />

ในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องยนต์ เครื่องบิน อาวุธ<br />

ยุทโธปกรณ์ต่างๆ มีอำนาจมาก สามารถใช้ป้องกันชาติได้<br />

จากเหตุนี ้เองเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ท่านจึงทำตาม<br />

ความฝันด้วยการสอบเข้าโรงเรียนช่างกลปทุมวัน ในการสอบ<br />

ท่านเลือกทำข้อสอบวิชาคำนวณข้อที่พิจารณาแล้วว่ายาก<br />

ที่สุดและไม่คุ้นเคยเป็นอันดับแรก จึงใช้เวลาที่มีทั้งหมดไปกับ<br />

ข้อสอบข้อนั้นจนทำข้ออื่นไม่ทันทำให้ท่านไม่สามารถสอบ<br />

เข้าเรียนที่โรงเรียนช่างกลปทุมวันได้ที่ตั้งใจไว้ได้<br />

อาจารย์ประเวศเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อพลาดหวังจาก<br />

โรงเรียนช่างกลว่า ท่านได้เดินเท้าจากย่านปทุมวันบริเวณ<br />

สนามกีฬาแห่งชาติเรื่อยไปจนมาถึงท้องสนามหลวง ขณะ<br />

เดินอยู่นั้นก็มองเห็นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรม<br />

มหาราชวัง รู้สึกประทับใจในความงดงามของพระที่นั่งแห่งนี้<br />

จึงเข้าไปดูให้ใกล้ขึ้นเพื่อให้เห็นรายละเอียดของอาคาร และ<br />

ขึ้นไปถึงหน้ามุข<strong>โดย</strong>ไม่รู้ว่าเป็นเขตหวงห้าม ทหารยามที่<br />

เฝ้ารักษาการณ์อยู่ในบริเวณใกล้กันเพิ่งสังเกตเห็นจึงวิ่งมา<br />

ไล่และเอ็ดว่าผ่านเข้ามาได้อย่างไร ท่านคิดว่าคงเป็นเพราะ<br />

ดวงวิญญาณของบรรดาครูอาจารย์ต้องการประสิทธิประสาท<br />

วิชาให้ จึงกำบังตาทหารยาม และทำให้ท่านมีโอกาสชื่นชม<br />

ความงดงามของงานสถาปัตยกรรมช่างหลวงอย่างใกล้ชิด<br />

ช่วงเวลาเดียวกันนั้นมีการประกาศรับสมัครนักเรียน<br />

เข้าศึกษาหลักสูตรวิชาช่างไทยที่โรงเรียนศิลปศึกษา (โรงเรียน<br />

เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร) แผนกช่างสิบหมู่เป็นรุ่นแรก<br />

ตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี<br />

ในขณะนั้น ที่ต้องการผลิตช่างฝีมือของแผ่นดินเพื่อรักษา<br />

สืบทอดงานศิลปกรรมและโบราณสถานที่กำลังชำรุดทรุด<br />

โทรมอยู่ทั่วประเทศ อาจารย์ประเวศได้เห็นใบประกาศรับ<br />

สมัครดังกล่าวติดอยู่ด้านหน้ากรมศิลปากรจึงสมัครเรียน<br />

ทั้งที่ยังผิดหวังอยู่ แต่กลับปรากฏว่าสามารถทำข้อสอบเข้า<br />

ได้เป็นอย่างดีเพราะผ่านประสบการณ์งานด้านศิลปะเมื่อ<br />

ครั้งเรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดจันทราราม<br />

เข้าศึกษาที ่มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

อาจารย์ประเวศศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร เป็นเวลา 2 ปี จึงจบหลักสูตรวิชาช่างไทย ขณะนั้น<br />

เองได้ก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมไทยขึ้นที่มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากรในพุทธศักราช 2498 เพื่อรองรับนักเรียนช่างหลวง<br />

ให้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยและมีคุณวุฒิ<br />

ทางการศึกษา สามารถนำไปใช้รับรองเข้ารับราชการได้<br />

อาจารย์ประเวศจึงได้เข้าศึกษาต่อเป็นนักศึกษารุ่นแรกของ<br />

172 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


คณะสถาปัตยกรรมไทย และเป็นศิษย์ของศาสตราจารย์<br />

พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ผู้สืบทอดความรู้ทาง<br />

สถาปัตยกรรมไทยต่อจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า<br />

กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ทรงสร้างสรรค์แนวทางใหม่<br />

ให้กับงานสถาปัตยกรรมไทยของพระองค์เอง จึงนับได้ว่า<br />

อาจารย์ประเวศศึกษามาทางสายปรัชญาของสมเด็จครูฯ<br />

<strong>โดย</strong>ตรงและเป็นการนำสถาปัตยกรรมไทยเข้าสู่ยุคสมัยใหม่<br />

ผ่านสำนักของศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตร วิชา<br />

สถาปัตยกรรมไทยในสำนักนี้มีคำศัพท์เฉพาะของสำนัก<br />

เรียกว่า “พุทธศิลปสถาปัตย์” ซึ่งมีความหมายในเบื้องต้นว่า<br />

ทางปัญญาความรู้ในทางศิลปสถาปัตยกรรม และมีความ<br />

หมายเบื้องปลายว่า ความรู้แจ้งในศาสตร์ศิลปสถาปัตยกรรม<br />

ขณะศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ประเวศ<br />

มีโอกาสเล่าเรียนวิชาสถาปัตยกรรมไทยจากบรมครูหลาย<br />

ท่านด้วยกัน <strong>โดย</strong>เฉพาะอย่างยิ่งการเรียนจากศาสตราจารย์<br />

พระพรหมพิจิตร ทั้งด้านการออกแบบไทย ปรัชญาไทย<br />

องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ซึ่งสอนตั้งแต่กำเนิดของ<br />

สถาปัตยกรรมไทยเพื่อให้เข้าใจพื้นฐานของการสร้างสรรค์<br />

งานศิลปกรรม และนำความรู้เหล่านี้มาประกอบกันแล้ว<br />

ผลิตผลงานให้ออกมาได้งดงามและเหมาะสม นอกจากนี้แล้ว<br />

ศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตรยังสอนให้ฝึกการออกแบบ<br />

อาคารทางสถาปัตยกรรมไทยทุกชนิด อาทิ เครื่องยอด<br />

หอระฆัง หอกลอง พระอุโบสถ และกุฏิ มีหลักการในการ<br />

ออกแบบคือความเข้าใจในประวัติอาคาร หน้าที่ใช้สอยด้าน<br />

พื้นที่และการตกแต่งซึ่งเป็นหน้าที่ใช้สอยทางจิตวิญญาณ<br />

สิ่งสำคัญที่อาจารย์ประเวศเน้นย้ำในการเรียน<br />

สถาปัตยกรรมคือการฝึกฝนหลังจากที่ร่ำเรียนไปแล้วใน<br />

แต่ละวัน สิ่งที่เรียนผ่านกระดานดำในวันหนึ่งๆ เมื่อจบวัน<br />

แล้วเหล่านั้นคือ การบ้านที่ต้องนำกลับมาทำซ้ำๆ ทั้งหมด<br />

เป็นประจำจนเกิดความเข้าใจและความชำนาญ<br />

อาจารย์ประเวศนับได้ว่าเป็นลูกศิษย์ด้านงานช่าง<br />

สถาปัตยกรรมไทยของศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตรรุ่น<br />

แรกๆ นับตั้งแต่มีการตั้งโรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากรและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ไทย มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร ทั้งยังเป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายไปในคราวเดียวกันด้วย<br />

เป็นนักเรียนคนสุดท้ายที่ได้มีโอกาสครอบครูจากศาสตราจารย์<br />

พระพรหมพิจิตร เพราะเห็นถึงความตั้งใจและความพากเพียร<br />

พยายามในการเล่าเรียนของท่าน ซึ่งยังคงปรากฏให้เห็น<br />

หลังจากสำเร็จการศึกษาและตลอดช่วงชีวิตการทำงาน<br />

ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

173


ชีวิตการทำงาน<br />

เมื่ออาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี สำเร็จการศึกษาระดับ<br />

อนุปริญญาด้านสถาปัตยกรรมไทยจากมหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร ในปีพุทธศักราช 2501 ได้เข้ารับราชการตำแหน่ง<br />

ครูตรีที่คณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

ระหว่างนี้ได้สอนวิชาสถาปัตยกรรมไทยให้แก่นักศึกษาทั้งใน<br />

คณะที่ตนสังกัดและคณะอื่นๆ เช่น คณะโบราณคดี ท่าน<br />

เป็นที่เคารพนับถือของนักศึกษา ตลอดจนผู้ที่ได้มีโอกาส<br />

ใกล้ชิด เนื่องด้วยมีบุคลิกอันเป็นเอกลักษณ์ที่ลูกศิษย์ต่าง<br />

กล่าวถึงเหมือนกันคือ เสียงดัง ใจดี มีหลักการ อีกทั้งยัง<br />

เป็นผู้ที่มีเมตตา ไม่ถือตัว และตั้งใจอย่างเต็มที่ที่จะถ่ายทอด<br />

วิชาความรู้ที่ตนได้ศึกษามา<br />

ปีพุทธศักราช 2508 อาจารย์ประเวศได้โอนย้ายมา<br />

สังกัดกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ตำแหน่งช่างศิลป์ตรี และ<br />

ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกช่างสิบหมู่ในเวลาต่อมา ผลงาน<br />

สำคัญชิ้นแรกๆ ที่สร้างสรรค์เมื่อเข้ารับราชการอยู่ในกรม<br />

ศิลปากร<strong>โดย</strong>มากเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อ<br />

ประกอบพระราชพิธีและพิธีซึ่งจัดทั้งในกรุงเทพมหานคร<br />

และต่างจังหวัด การออกแบบพุทธสถาน อาทิ พระอุโบสถ<br />

พระวิหาร และศาลาการเปรียญ ที่สำคัญเช่นงานออกแบบ<br />

พระอุโบสถ วัดพุทธประทีป ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ<br />

งานออกแบบแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์และอนุสาวรีย์<br />

ต่อมาได้เป็นสถาปนิกเอกในปีพุทธศักราช 2518 และเลื่อน<br />

ตำแหน่งนายช่างศิลปกรรมในปีพุทธศักราช 2520<br />

อาจารย์ประเวศได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยกอง<br />

หัตถศิลป์ กรมศิลปากร ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2521 เป็นต้นมา<br />

จนถึงปีพุทธศักราช 2530 ก็ได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ<br />

กองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ในระหว่างนี้เองเป็นช่วงเวลา<br />

ที่อาจารย์ได้มีโอกาสออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างชิ้น<br />

สำคัญของประเทศจำนวนมาก เป็นต้นว่าสถาปัตยกรรมที่ใช้<br />

เพื่อประกอบพระราชพิธีและพิธีสำคัญ ได้แก่ ออกแบบและ<br />

ก่อสร้างพระเบญจาบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยา<br />

ธิราชเจ้า ณ ท้องสนามหลวง, งานออกแบบพลับพลา<br />

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ, งานออกแบบและ<br />

ก่อสร้างพระที่นั่งชัยมังคลาภิเษก ในพระราชพิธีมหามงคล<br />

เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร<br />

มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร, งานออกแบบพลับพลา<br />

รับเสด็จถาวรที่จังหวัดต่างๆ และผลงานชิ้นสำคัญคือการ<br />

ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างพระเมรุมาศและสิ่งก่อสร้าง<br />

ประกอบพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ<br />

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7,<br />

งานออกแบบประเภทพุทธสถาน,อาคารหลักเมือง, ศาลาไทย,<br />

ออกแบบแท่นฐานพระบรมราชานุสาวรีย์และอนุสาวรีย์<br />

หลายแห่งรวมไปถึงงานออกแบบอาคารปฏิบัติงานราชการ<br />

เช่น หอวชิราวุธานุสรณ์ กรุงเทพมหานคร เป็นต้น<br />

นอกเหนือไปจากงานออกแบบและควบคุมการ<br />

ก่อสร้างอาคารสถาปัตยกรรมไทยประเภทต่างๆ แล้ว<br />

อาจารย์ประเวศยังมีโอกาสได้ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์<br />

โบราณสถานหลายแห่งในประเทศไทย เป็นต้นว่า การบูรณ<br />

ปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม, การบูรณ<br />

ปฏิสังขรณ์พระปรางวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร,<br />

การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรม<br />

มหาราชวัง ทำให้ท่านมีประสบการณ์ในงานอนุรักษ์โบราณ<br />

สถานเป็นอย่างมาก ส่งเสริมให้ท่านมีความสามารถในทาง<br />

ศิลปสถาปัตยกรรมตลอดจนงานประณีตศิลป์ที่ใช้ประดับ<br />

ตกแต่งยิ่งขึ้นและนำไปปรับใช้ในการสร้างสรรค์งาน<br />

ออกแบบของตนเองได้ จนในพุทธศักราช 2531 จึงได้ดำรง<br />

ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (สถาปนิก 9) ด้านการบูรณ<br />

ปฏิสังขรณ์ของกองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร อันเป็น<br />

ตำแหน่งสูงสุดในชีวิตราชการ<br />

174 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

175


176 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ตลอดช่วงชีวิตที่อาจารย์ประเวศได้ปฏิบัติงานราชการ<br />

ที่กองหัตถศิลปและกองสถาปัตยกรรมด้วยความรักใน<br />

วิชาชีพและความรับผิดชอบต่อหน้าที่อยู่เสมอ ท่านได้สัมผัส<br />

กับงานช่างศิลป์ไทยทุกแขนง ปฏิบัติงานในด้านออกแบบ<br />

สร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง และด้านการบริหารงานราชการ<br />

ทั้งควบคุม สั่งการ ตรวจสอบ และติดตามงาน ผนวกกับ<br />

ความตั้งใจที่จะรักษาสมบัติวัฒนธรรมของชาติ ดังนั้น ท่าน<br />

จึงมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการทำงานสถาปัตยกรรมไทย<br />

ทั้งหลักการรูปแบบ และปรัชญาที่ใช้การออกแบบก่อสร้าง<br />

ขณะเดียวกันก็สามารถบริหารและดำเนินงานที่ได้รับ<br />

มอบหมายให้สำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดีทุกครั้ง<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี เกษียณอายุราชการจาก<br />

กรมศิลปากรในปีพุทธศักราช 2533 แต่ท่านยังคงอุทิศตนให้<br />

กับการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมไทยอย่างต่อเนื่อง อาทิ<br />

งานออกแบบพระอุโบสถวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา<br />

ซึ่งท่านได้ออกแบบ เขียนแบบ และวางแนวทางในการ<br />

ออกแบบก่อสร้าง จนถึงรายละเอียดงานประดับตกแต่งเพื่อให้<br />

มีคุณค่าทางศิลปกรรมเหมาะสมที่จะเป็นพุทธสถานคู่บ้าน<br />

คู่เมืองสืบต่อไป นอกจากนี้ ท่านยังเป็นที่ปรึกษาให้แก่<br />

กรมศิลปากรและหน่วยงานราชการต่างๆ สม่ำเสมอ และได้<br />

รับเชิญให้เป็นอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิถ่ายทอดความรู้ทางด้าน<br />

สถาปัตยกรรมไทย ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร และสถาบันการศึกษาอื่นๆ เรื่อยมาจนบั้นปลาย<br />

แห่งชีวิต<br />

ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

177


สืบสานงานสถาปัตยกรรมไทย<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี มีหลักปรัชญาในการ<br />

ออกแบบงานสถาปัตยกรรมไทยที่ได้เรียนรู้จากครูเมื่อครั้ง<br />

ยังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยศิลปากรคือการเรียนการออกแบบ<br />

งานศิลปะเปรียบเหมือนกับ “คนกินอาหารเข้าไปแล้วตก<br />

เป็นเหงื่อ ให้มีประโยชน์ ไม่ใช่การกินแล้วคายหรืออาเจียน<br />

คนก็จะเห็นว่าแบบเดิมเป็นอะไร เหมือนกับการลอกแบบ<br />

แต่ถ้ากลืนแล้วย่อยออกเป็นเหงื่อ เหมือนกับว่าเรากินเข้าไป<br />

ในปัญญา เราสามารถขัดเกลาแก้ไขพลิกแพลงไม่ให้ของเก่า<br />

เหลืออยู่ และเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้น เท่ากับการสร้างสรรค์งาน<br />

แบบใหม่ ชาติก็ได้รับสิ่งใหม่” ฉะนั้นผลงานออกแบบของ<br />

ท่านที่ได้สืบทอดปรัชญามาจากครูจึงเป็นการออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรมไทยที่มีความสวยงามถูกต้องตามหลักการ<br />

และมีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ผ่านการคิดวิเคราะห์มาอย่าง<br />

ละเอียดถี่ถ้วน<br />

ในการออกแบบก่อสร้างงานสถาปัตยกรรม อาจารย์<br />

ประเวศได้ถ่ายทอดแนวคิดและอธิบายถึงที่มาหรือความ<br />

หมายของรูปแบบที่ใช้ในการออกแบบได้อย่างชัดเจน<br />

นอกจากนี้ยังคำนึงถึงส่วนประกอบอื่นสัมพันธ์กับงาน<br />

ออกแบบนั้นๆ ได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ภูมิทัศน์ สภาพ<br />

แวดล้อม ประวัติของสถานที่ตั้งอาคารที่จะทำการออกแบบ<br />

ก่อสร้าง ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบศาลประดิษฐาน<br />

พระบรมราชานุสาวรีย์ ต้องให้มีรูปแบบที่สมพระราชอิสริยยศ<br />

และสอดคล้องกับลักษณะศิลปกรรมของท้องถิ่นนั้นๆ<br />

เช่น งานออกแบบก่อสร้างศาลพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จ<br />

พระนเรศวรมหาราช จังหวัดอุดรธานี<br />

การออกแบบงานสถาปัตยกรรมเพื่อประกอบพระ<br />

ราชพิธีและพิธีก็ใช้แนวทางในการออกแบบเดียวกัน เช่น<br />

งานออกแบบพระที่นั่งชัยมังคลาภิเษก ที่มีการจัดสร้างขึ้น<br />

เพื่อใช้ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ<br />

5 รอบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช<br />

บรมนาถบพิตร ซึ่งไม่เคยปรากฏสถาปัตยกรรมในพระราชพิธี<br />

นี้มาก่อน และเป็นอาคารที่ใช้ประกอบพระราชพิธีนอก<br />

พระบรมมหาราชวังเพื่อให้ประชาชนมาเฝ้าถวายความจงรัก<br />

ภักดีได้ การออกแบบจึงต้องคำนึงถึงพระเกียรติยศของ<br />

พระมหากษัตริย์ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นอาคารที่เหมาะ<br />

สมกลมกลืนไปกับพื้นที่ตั้ง ณ ท้องสนามหลวง<strong>โดย</strong>มีฉากหลัง<br />

คือพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้แล้ว อาจารย์ประเวศยัง<br />

เล่าว่า ท่านได้เลือกใช้รูปปั้นกระต่ายสีขาวซึ่งเป็นสัตว์ประจำ<br />

ปีพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็น<br />

สัตว์เฝ้าบันไดทางขึ้นสู่พระที่นั่งแทนการใช้สัตว์ตามประเพณี<br />

ดังเช่นสิงห์<br />

178 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

179


180 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

181


ผลงานชิ้นสำคัญที่ต้องใช้องค์ความรู้ทุกแขนงของ<br />

งานศิลปกรรมไทยในการสร้างสรรค์อีกชิ้นหนึ่งของอาจารย์<br />

ประเวศ ลิมปรังษี คือ งานออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง<br />

พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีใน<br />

รัชกาลที่ 7 พระเมรุมาศและสิ่งก่อสร้างประกอบพระเมรุมาศ<br />

จะต้องสมกับพระอิสริยยศ ถ่ายทอดพระบุคลิกภาพและ<br />

ลักษณะของเจ้านายแต่ละพระองค์ผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย อีกทั้ง<br />

ต้องคำนึงประโยชน์ใช้สอยของอาคารด้วย จึงได้กำหนดให้<br />

พระเมรุมาศเป็นพระเมรุบุษบกบัลลังก์ที่มีความประณีตและ<br />

สง่างามตามลักษณะของกษัตรีย์ เลือกใช้สีชมพูอันเป็นสีวัน<br />

พระราชสมภพและดูมีความอ่อนหวาน มีการประดับประดา<br />

ด้วยรายละเอียดที่เหมือนเครื่องประดับของสตรี<br />

182 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

183


184 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

185


นอกจากนี้ อาจารย์ประเวศยังมีศรัทธายึดมั่นใน<br />

พระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อคราวที่ได้รับมอบหมายให้<br />

เป็นสถาปนิกในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม<br />

ที่พังทลายและออกแบบก่อสร้างเบญจาสมโภชพระบรม<br />

สารีริกธาตุ ท่านเล่าว่าเป็นงานที่เร่งด่วนมาก มีความเป็นไป<br />

ได้ที่งานจะเสร็จไม่ทันตามกำหนดเวลา ทำให้ท่านรู้สึก<br />

ท้อแท้ใจ แต่มารดาของท่านได้ให้กำลังใจและกล่าวว่าเป็น<br />

บุญอย่างยิ่งที่ได้รับหน้าที่สร้างอาคารฉลองพระธาตุของ<br />

พระพุทธเจ้า ซึ่งมีไม่กี่คนเท่านั้นที่จะได้ท ำ เป็นการทำนุบำรุง<br />

พระศาสนาให้ยืนยาวต่อไปอีกด้วย ขอให้ตั้งใจทำงานอย่าง<br />

เต็มที่อย่าท้อถอย ท่านจึงกลับมาทำงานครั้งนั้นจนสำเร็จไป<br />

ด้วยดี ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อท่านได้ทำงานออกแบบพุทธสถาน<br />

ก็จะกระทำด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา อย่างมีความ<br />

ตั้งใจ วิริยะอุตสาหะ และใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอน<br />

นอกเหนือไปจากสถาปัตยกรรมเพื่อใช้ประกอบ<br />

พระราชพิธีและรัฐพิธี รวมถึงอาคารในพุทธสถานแล้ว อาจารย์<br />

ประเวศยังได้ใช้ความรู้ความสามารถทางสถาปัตยกรรมไทย<br />

ในงานออกแบบอาคารและงานสถาปัตยกรรมประเภทอื่นๆ<br />

อีกจำนวนมากในระหว่างที่รับราชการในกรมศิลปากร ได้แก่<br />

แท่นฐานประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์<br />

อาคารศาลหลักเมือง และศาลาไทยทั้งในและต่างประเทศ เช่น<br />

ศาลาไทยเครื่องยอดกลางสระน้ำ มหาวิทยาลัยรามคำแหง<br />

ศาลาไทยศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร<br />

และศาลาไทยในสวนสาธารณะซุรุมิ เรียวคุชิ ณ นครโอซากา<br />

ประเทศญี่ปุ่น<br />

186 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

187


188 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

189


แนวทางการทำงานของอาจารย์ประเวศ เริ่มจากการ<br />

เขียนแบบตั้งแต่มาตราส่วน 1 : 200 เพื่อให้เห็นภาพรวม<br />

ทั้งหมดของงานออกแบบ จากนั้นจึงเขียนขยายในมาตราส่วน<br />

ใหญ่ขึ้น ในขั้นสุดท้ายทุกครั้งก่อนสร้างจริงคือการเขียนแบบ<br />

ขนาดมาตรา 1 : 1 ที่จะแสดงทุกรายละเอียดของงานทั้ง<br />

องค์ประกอบและสัดส่วนทางสถาปัตยกรรมที่ตรงตามความ<br />

ต้องการ ส่งผลให้งานที่สร้างสรรค์ออกมามีความประณีต<br />

งดงาม และมีความแม่นยำในการก่อสร้าง ท่านยังกล่าวอีกว่า<br />

หากไม่เขียนแบบ 1 : 1 จะทำให้งานที่ออกมาไม่สมบูรณ์<br />

ไม่เห็นความจริงที่ปรากฏในงานออกแบบชิ้นนั้นๆ ซึ่งอาจ<br />

จะนำไปสู่ความผิดพลาด ต้องมีการปรับแก้ไข และเป็นเหตุ<br />

ให้เสียเวลาและทรัพย์เป็นอย่างมาก<br />

อาจารย์ประเวศมีความแน่วแน่ที่จะสืบสานวิชาช่าง<br />

สถาปัตยกรรมไทยตามแบบอย่างของบรรพชน และยึดหลัก<br />

การทำงานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรม<br />

พระยานริศรานุวัดติวงศ์ และศาสตราจารย์พระพรหมพิจิตร<br />

คือ “ศิลปะต้องไปข้างหน้า ไม่มีถอยหลังนั่นคือ การทำงาน<br />

ศิลปะต้องปฏิบัติ จะต้องทำให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์<br />

ถ้าจะสอนจะต้องสอนด้วยความพร้อมด้วยความรู้ ไม่ใช่เพียง<br />

สอนตามตำรา ตำราเป็นเพียงคู่มือเท่านั้น ถ้าเรียนตาม<br />

ตำราจะกลายเป็นวัวพันหลัก ความคิดสร้างสรรค์ก็จะไม่เกิด<br />

จึงถือตามอาจารย์ที่ว่า ถ้าเปิดตำราสอนเมื่อใดก็ฆ่าศิษย์<br />

เมื่อนั้น” การถ่ายทอดความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมไทย<br />

ในฐานะอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที ่มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

การช่วยเหลืองานราชการและงานสาธารณะประโยชน์อย่าง<br />

สม่ำเสมอภายหลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว แสดงให้<br />

เห็นถึงปณิธานของท่านในวันที่จะสืบสานและส่งทอดวิชา<br />

สถาปัตยกรรมไทยให้ดำรงต่อไป<br />

190 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

191


เกียรติยศที่ได้รับ<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี อุทิศตนปฏิบัติหน้าที่ใน<br />

ทางราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ ตลอดทั้งชีวิต<br />

กระทำคุณงามความดี เกิดประโยชน์ในทางส่งเสริมสร้างสรรค์<br />

งานศิลปกรรมให้แก่ประเทศชาติตลอดมา ในปีพุทธศักราช<br />

2532 ท่านจึงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่ง<br />

มงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) และในปี<br />

พุทธศักราช 2542 ท่านได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา<br />

เข็มศิลปวิทยา ซึ่งผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์<br />

นี้จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติงานในทางศิลปวิทยาที่มีฝีมืออันเอกอุ<br />

ยากที่จะมีผู้ใดทัดเทียมเสมอเหมือน และมีผลงานที่แสดงให้<br />

ประจักษ์เป็นพิเศษว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศชาติ<br />

ผลงานสถาปัตยกรรมที่อาจารย์ประเวศได้สร้างสรรค์<br />

มาตลอดช่วงชีวิตแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วถึงความรู้<br />

ความสามารถในวิชาสถาปัตยกรรมไทยอย่างลึกซึ้ง เป็นที่<br />

ยอมรับทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ และยังถ่ายทอด<br />

ให้แก่ผู้อื่นด้วยเจตนาที่ต้องการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม<br />

และงานศิลปกรรมไทยให้คงอยู่สืบไป ด้วยเหตุนี้เอง<br />

มหาวิทยาลัยเคลตัน (Clayton University) สหรัฐอเมริกา<br />

ได้จัดพิธีมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ด้านปรัชญา<br />

สาขาวิจิตรศิลป์ให้แก่ท่านในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529 ต่อมา<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากรได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์<br />

ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ ให้แก่ท่านเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน<br />

2534<br />

ด้านเกียรติคุณที่ได้รับจากสังคม คณะกรรมการ<br />

วัฒนธรรมแห่งชาติประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้อาจารย์<br />

ประเวศ ลิมปรังษี เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์<br />

(สถาปัตยกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2532 และคณะกรรมการ<br />

อำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทยได้ประกาศเกียรติคุณ<br />

ยกย่องให้เป็นปูชนียบุคคลดีเด่นด้านสถาปัตยกรรมไทย<br />

ประจำปีพุทธศักราช 2538<br />

192 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

193


ชีวิตและผลงานออกแบบช่วงสุดท้าย<br />

หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว ท่านได้อุทิศตนให้<br />

แก่การทำงานออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถ วัดโสธรวราราม<br />

วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา อย่างเต็มที่ สุดกำลังความ<br />

สามารถ ร่วมกับคณะทำงานซึ่งมีทั้งวิศวกรและช่างศิลปกรรม<br />

เพื่อให้บรรลุซึ่งพุทธศิลป์สถาปัตยกรรมแนวใหม่ อาจารย์<br />

ประเวศ ลิมปรังษี ปรารถนาให้งานออกแบบสถาปัตยกรรม<br />

แห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมแนวใหม่ยุครัชกาลที่ 9 มีคุณลักษณะ<br />

ตามพระราชดำริ คือให้เป็นอาคารสมเกียรติกับหลวงพ่อ<br />

พุทธโสธร มีความสง่างามพร้อมด้วยคุณค่าทางศิลปกรรม<br />

เหมาะสมที ่จะเป็นพุทธสถาน เป็นถาวรวัตถุคู่บ้านคู่เมือง<br />

และให้เป็นสมบัติอันมีค่าของชาติและพระพุทธศาสนาใน<br />

อนาคตต่อไป จึงถือได้ว่าเป็นผลงานออกแบบสำคัญที่สุด<br />

ชิ้นหนึ่งในชีวิตการทำงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทยของ<br />

ท่านที ่ได้ทุ่มเทเวลาและกำลังอุทิศตนเพื่อการทำงานชิ้นนี้<br />

อย่างมุ่งมั่นต่อเนื่องกันหลายปี ปรากฏผลงานเขียนแบบ<br />

หลายพันแผ่นและหุ่นจำลองขนาดใหญ่ที่มีความงดงามจาก<br />

ความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่และนับเป็นก้าวสำคัญของ<br />

พัฒนาการด้านงานสถาปัตยกรรมไทยสืบต่อมา<br />

อาจารย์ประเวศ จึงตั้ง “สำนักงานเฉพาะกิจออกแบบ<br />

เขียนแบบก่อสร้างพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร” ขึ้นที่<br />

บริเวณโรงเรียนวัดโสธรฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยความมุ่งมั่น<br />

และจริงจังดำเนินตามปรัชญาการทำงานศิลปสถาปัตยกรรม<br />

ชั้นสูงและจิตศรัทธาที่จะอุทิศตนให้แก่การงานถวายเป็น<br />

พุทธบูชา ท่านจึงทำงานต่อเนื่องกันทุกวันมิได้มีเวลาพักผ่อน<br />

ส่วนตัว ทั้งยังบอกแก่ผู้ร่วมงานด้วยก ำลังใจมุ่งมั่นเต็มเปี่ยมว่า<br />

“งานนี้ตั้งใจมากจะให้เป็นวัดสำหรับรัชกาลที่ 9”<br />

เมื่อการก่อสร้างดำเนินงานไปได้เพียงส่วนฐานราก<br />

และหล่อเสาอาคารช่วงแรก ได้เกิดอุปสรรคขัดแย้งขึ้นระหว่าง<br />

คณะกรรมการตัวแทนของวัดและอาจารย์ประเวศ ฝ่าย<br />

ผู้ออกแบบ ท่านจึงจำต้องยุติบทบาทหน้าที่ลง และถอนตัว<br />

ออกมาให้คณะบุคคลอื่นเข้ามาทำงานแทนต่อไป<br />

194 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

195


196 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

197


198 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

199


จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช 2538 อาจารย์ประเวศได้<br />

รับเชิญให้กลับมาช่วยสอนสถาปัตยกรรมไทย ที่คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นสถานที่<br />

ที่ท่านได้ศึกษาร่ำเรียน ทำงานและเคยเป็นอาจารย์สอนอยู่<br />

คราวหนึ่ง ในระยะก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี อุทิศตนเพื่อถ่ายทอดความรู้<br />

ให้แก่บรรดาเหล่าศิษย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นับตั้งแต่นั้น<br />

ต่อเนื่องมาอีก 20 ปี <strong>โดย</strong>เดินทางออกจากบ้านมาทำงานที่<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ อันเป็นสถานที่ที่ท่านรักและเคารพ<br />

ทุกๆ วันมิได้ขาด ทุกๆ เช้าเมื่อเดินทางมาถึงมหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร ท่านจะเดินเข้าสู่ตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เข้าไป<br />

กราบสักการะรูปปั้นพระอาจารย์พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์)<br />

ด้วยอาการสงบนิ่ง ส ำรวมจิตน้อมระลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์<br />

ด้วยความเคารพกตัญญูรู้คุณ อาจารย์ประเวศ มีความรัก<br />

ความผูกพันกับมหาวิทยาลัยศิลปากรมาก ท่านมีความสุขที่<br />

ได้พบปะพูดคุยกับบรรดาเพื่อนคณาจารย์ ลูกศิษย์ และ<br />

ผู้ร่วมงานอย่างเป็นกันเอง<br />

อาจารย์ประเวศเตรียมการสอนด้วยตัวท่านเองจาก<br />

การค้นคว้าข้อมูล หนังสือ และประสบการณ์ท ำงานในวิชาชีพ<br />

ด้านสถาปัตยกรรมไทยมาตลอดทั้งชีวิต ทั้งยังพานักศึกษา<br />

ออกไปเรียนรู้นอกสถานที่เพื่อให้เข้าใจจากการทำงานจริง<br />

<strong>โดย</strong>อาจารย์มักพูดบ่อยครั้งว่า “...การศึกษาต้องเรียนให้ลึก<br />

ซึ้งถึงปรัชญาของสถาปัตยกรรม ให้รู้แม่บท เข้าใจถึงต้น<br />

กำเนิดและที่มา จึงจะเดินต่อไปข้างหน้าได้” อาจารย์ประเวศ<br />

มักกล่าวยกคำของสมเด็จครู (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์) ที่ท่านยึดถือเป็นปรัชญา<br />

ของสำนักสมเด็จครูถ่ายทอดลงมาสู่พระอาจารย์พระพรหม<br />

พิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) ของท่านว่า “...ช่างคนใดที่ทำแต่การ<br />

ถ่ายถอนแล้ว จะลือชื่อไม่ได้ คนที่ลือนั้นเปรียบว่า เขากิน<br />

แบบที่ทำแล้วเข้าไปจนตกออกมาเป็นเหงื่อนั่นจึงลือ…”<br />

และ “เดาน้อยที่สุด คือต้องดูของจริงในบ้านเรา ถ้าไม่เช่นนั้น<br />

ก็หลง” อีกทั้ง “ต้องเห็นมากกับทั้งสังเกตด้วย จึงจะเป็น<br />

เครื่องเรืองปัญญา ถ้าได้เห็นน้อยหรือไม่จ ำ ก็ไม่ช่วยตัวเองได้ ”<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี จึงเป็นสถาปนิกด้าน<br />

สถาปัตยกรรมไทยที่ใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา ท่านเป็นคน<br />

ใฝ่รู้ ชอบอ่าน ชอบเก็บสะสมรูป งานศิลปะแบบต่างๆ ที่<br />

เป็นงานสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ทั้งในและต่างประเทศ<br />

ด้วยวิธีการเก็บรวมคัดสรรแยกออกเป็นเล่มเฉพาะเรื่อง มีทั้ง<br />

เอกสารแบบต้นฉบับ แบบถ่ายสำเนา และลายมือเขียน<br />

200 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


อธิบายเรื่องและภาพประกอบแล้วนำมาเย็บเล่มไว้เป็น<br />

จำนวนมาก <strong>โดย</strong>ท่านจะเขียนหน้าปกหัวเรื่องไว้อย่างชัดเจน<br />

แล้วเขียนลงท้ายด้วยข้อความเหมือนกันทุกเล่มว่า<br />

“...รวบรวมไว้เพื่อประกอบการศึกษา <strong>โดย</strong> ศิษย์พุทธ<br />

ศิลปสถาปัตยกรรม ประเวศ ลิมปรังษี”<br />

ห้องทำงานส่วนตัวของท่านจึงแวดล้อมไปด้วยแบบ<br />

พิมพ์เขียวและแบบร่างงานสถาปัตยกรรมชิ้นเยี่ยมที่ท่านใช้<br />

ศึกษาเป็นแนวทางการทำงานออกแบบเขียนแบบ และติด<br />

แสดงผลงานไปด้วยในตัว พื้นที่รอบๆ โต๊ะทำงานมีทั้ง<br />

เครื่องมือเขียนแบบออกแบบ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ซ่อม<br />

ปะติดกระดาษแบบพิมพ์เขียวที่มีสภาพเก่าแก่ชำรุดผ่าน<br />

การใช้งานมาแล้วในอดีต อาจารย์ประเวศเป็นผู้ที่เห็นคุณค่า<br />

ของแบบสถาปัตยกรรมเหล่านี้ เพราะผลงานออกแบบเหล่านี้<br />

เองเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของฝีมือครูบาอาจารย์ที่ท่าน<br />

เคารพรักเทิดทูน จึงสั่งสมและเก็บรักษาไว้ด้วยความรัก<br />

หวงแหนอย่างยิ่ง<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี จึงเป็นทั้งอาจารย์ผู้มี<br />

ความรู้ความสามารถ สถาปนิกที่ผ่านประสบการณ์ทำงาน<br />

ออกแบบก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมไทยสำคัญระดับชาติ<br />

ทั้งยังเป็นนักอนุรักษ์บูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สำคัญๆ<br />

ของชาติอีกด้วย องค์ความรู้ที่สั่งสมในตัวท่านนั้น ได้ถ่ายทอด<br />

มาสู่สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนสถาปัตยกรรม<br />

ไทยเป็นหลักคือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

201


สำหรับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขา<br />

สถาปัตยกรรมไทย อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ได้รับ<br />

มอบหมายให้เตรียมการสอนเกี่ยวกับวิชาการออกแบบ<br />

สถาปัตยกรรมไทย วิชาลายไทย วิชาประณีตศิลป์ วิชาการ<br />

เขียนขยายแบบเท่าจริงงานสถาปัตยกรรมไทย วิชาวิทยานิพนธ์<br />

เป็นต้น ซึ่งอาจารย์จะเตรียมการสอนด้วยตนเองตามหัวเรื่อง<br />

บรรยายที่กำหนดไว้แต่ละสัปดาห์ทั้งภาคบรรยายและปฏิบัติ<br />

<strong>โดย</strong>มีอาจารย์รุ่นลูกศิษย์คอยติดตามเรียนรู้จากการเรียน<br />

การสอนไปด้วยในตัว ซึ่งอาจารย์ประเวศจะมอบความไว้<br />

วางใจให้ช่วยเหลือในการเตรียมเอกสารที่ใช้ประกอบการ<br />

สอนอยู่บ่อยครั้ง<br />

หากมีข้อสงสัยใฝ่รู้ในเรื่องใดเป็นพิเศษ อาจารย์ประเวศ<br />

จะเปิดโอกาสให้ซักถาม พูดคุยและอธิบายให้ฟังจนเข้าใจ<br />

อย่างถ่องแท้ ศิษย์บางคนที่มีความสนใจใฝ่หาความรู้เป็น<br />

พิเศษ หากพบปะพูดคุยจนคุ้นเคยและได้รับความไว้วางใจ<br />

จะได้รับโอกาสไปพบท่านในเวลาส่วนตัวได้ที่บ้านพักหรือ<br />

สถานที่ทำงานที่บ้านเป็นครั้งคราว ณ สถานที่แห่งนั้น<br />

เปรียบดังขุมทรัพย์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมไทยอัน<br />

ประเมินค่ามิได้ เพราะเป็นสถานที่ทำงานและเก็บผลงานซึ่ง<br />

ได้รวบรวมสั่งสมมาตลอดทั้งชีวิต อันประกอบไปด้วยพื้นที่<br />

ห้องทำงาน ห้องแสดงแบบสถาปัตยกรรมและภาพถ่าย<br />

ห้องคลังเก็บแบบก่อสร้างกระดาษพิมพ์เขียว และต้นแบบ<br />

งานศิลปกรรมที่เป็นผลงานสำคัญระดับชาติ ฯลฯ จัดเก็บอยู่<br />

ในพื้นที่อันจำกัดอย่างแออัด แม้ว่าอาจารย์ประเวศจะ<br />

พยายามนำเสนอต่อหน่วยงานต่างๆ ให้เห็นความสำคัญ<br />

ของการเก็บรักษาแบบผลงานเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นองค์ความรู้<br />

ของชาติทางด้านสถาปัตยกรรม แต่กลับไม่เป็นผลที่น่าพอใจ<br />

สุดท้ายอาจารย์ประเวศ จึงได้มอบไว้ให้แก่สถาบันศิลป<br />

สถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

ดำเนินการเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาใน<br />

อนาคตสืบต่อไป<br />

202 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

203


ผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมไทยช่วงสุดท้าย<br />

(พุทธศักราช 2539-2550) ระหว่างที่อาจารย์ประเวศ<br />

ลิมปรังษี ทำการสอนอยู่ที ่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แก่ งานออกแบบเมรุและฌาปนสถาน<br />

อาคารกุฏิสงฆ์คณะ 7 วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร,<br />

เทวาลัยพระพิฆเณศวรประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ผลงานทั้งสองชิ้นนี้ท่านร่างแบบ<br />

เขียนแบบขึ้นเองจนเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงมอบหมายให้<br />

อาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ในคณะฯ ไปดำเนินการเขียนแบบ<br />

ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้สำหรับการก่อสร้างต่อไป<br />

204 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

205


206 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


วาระสุดท้ายแห่งชีวิต<br />

ในช่วงปีท้ายๆ อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษีมีปัญหาด้าน<br />

สุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติจากความชราภาพ<br />

มีผลให้ร่างกายและจิตใจเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน<br />

ประกอบกับการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเพราะยังคง<br />

ห่วงเรื่องการทำงานอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย<br />

ขาดกำลัง ครั้นร่างกายเหนื่อยล้าสะสมมากขึ้นจึงค่อย ๆ หลับ<br />

ได้เป็นครั้งคราว แม้ในขณะนอนหลับยังยกมือขึ้นวาดเขียนไป<br />

ในอากาศตามจิตคิดฝัน<br />

ปลายปีพุทธศักราช 2560 อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี<br />

จึงขอลาออกจากการสอน เพื่อพักผ่อนอยู่ในความดูแลของ<br />

ครอบครัว <strong>โดย</strong>มิได้กลับมาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากรอีกเลยนับแต่นั้นมา จนกระทั่งกลางปี<br />

ต่อมา เช้าวันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พุทธศักราช 2561<br />

ขณะนั่งพักผ่อนอยู่ในบ้านรอรับประทานอาหาร ท่านหลับไป<br />

เป็นเวลายาวนานกว่าปกติ และถอดดวงจิตจากร่างไปอย่าง<br />

สงบ นำความเศร้าโศกเสียใจมาสู่ครอบครัวและผู้เป็นที่รัก<br />

ตลอดจนลูกศิษย์ทั้งหลายที่ได้ทราบ<strong>โดย</strong>ทั่วไป<br />

เมื่อวาระสุดท้ายแห่งชีวิตมาถึง อาจารย์ประเวศ<br />

ลิมปรังษี ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวง<br />

อาบศพ พร้อมด้วยเครื่องเกียรติยศประกอบศพ ในการ<br />

บำเพ็ญกุศลศพ ณ ศาลาวัดมกุฏกษัตริยาราม และเมื่อถึง<br />

กำหนดการพิธี ในวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พุทธศักราช<br />

2561 เวลา 17.30 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาฯ<br />

พระราชทานพระราชานุเคราะห์ในการพระราชทานเพลิงศพ<br />

<strong>โดย</strong>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ<br />

พระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ นายประเวศ<br />

ลิมปรังษี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)<br />

ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร<br />

ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม เป็นเกียรติ<br />

อันสูงสุดแก่ผู้วายชนม์และวงศ์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้<br />

ชีวประวัติและผลงาน ประเวศ ลิมปรังษี<br />

207


ครั้งหนึ่ง อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี ได้เคยปรารภกับผู้เขียนถึงการสืบทอดวิชาระหว่างครูกับศิษย์ไว้ว่า<br />

“…การทำงานเมื่อสมัยก่อน พระพรหมพิจิตรท่านถือเป็นบรมครู<br />

พอทำงานอะไรลูกศิษย์ก็ช่วยกันทำ ช่วยกันเขียน เพราะว่าครูแก่มากแล้ว<br />

ศิษย์ก็ช่วยเหลือกัน เป็นคนลงไม้ลงมือ เป็นเรี่ยวแรงแทนท่าน<br />

คือเป็นลูกมือ เพราะฉะนั้นจึงได้วิชาความรู้จากครูติดตัวมามาก<br />

สมัยก่อนก็ทำกันอยู่อย่างนี้ ครูและศิษย์ใกล้ชิดกันมาก<br />

ช่วนกันทำแทนครู สงสัยอะไรก็ไปสอบถามครู<br />

จึงได้รับความรู้เอามาอยู่ในตัวเราเสียหมด เพราะอาศัยครู<br />

ช่วยเหลืองานครูจึงได้รับวิชาเอามาติดตัว<br />

วิชาก็ตกมาอยู่แก่คนช่วย และเป็นความเชี่ยวชาญต่อไป<br />

วิชาจึงจะสืบทอดลงมาจากครูบาอาจารย์ไปสู่ลูกศิษย์…<br />

วิชาจึงจะถ่ายให้กัน…จากการทำงานร่วมกัน<br />

แล้วคนๆ นั้นก็จะกลายเป็นครูต่อไป สืบต่อกันมาอย่างนี้<br />

เพราะคนอยู่กับวิชา มีตัวตายก็มีตัวแทน มันเป็นธรรมชาติอย่างนี้ล่ะ<br />

วิชาจึงตกอยู่แก่การช่วยเหลืองานกัน สืบทอดกัน...จนตัวตายนั่นแหล่ะ<br />

วิชาจึงจะตกไปอยู่แก่คนที่ยังมีชีวิต คนที่ตายไปแล้วก็หมดเรื่อง...<br />

หน้าที่ของเราก็คือใส่ใจสืบทอด พาวิชาเป็นลำดับต่อไป...อันนี้เป็นธรรมชาติ”


บรรณานุกรม<br />

เอกสารประกอบการสอน<br />

ประเวศ ลิมปรังษี. เอกสารประกอบการสอนเรื่อง<br />

เครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย.<br />

. เอกสารประกอบการสอนเรื่องทรงหลังคาไทย.<br />

ม.ป.ป. (อัดสำเนา)<br />

. เอกสารประกอบการสอนเรื่องแบบอักษรสำนัก<br />

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์. ม.ป.ป.<br />

(อัดสำเนา)<br />

. เอกสารประกอบการสอนเรื่องศิลปลายไทย. ม.ป.ป.<br />

(อัดสำเนา)<br />

. เอกสารรวบรวมประวัติและผลงาน. ม.ป.ป.<br />

(อัดสำเนา)<br />

หนังสือ<br />

กรมศิลปากร. จดหมายเหตุการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์<br />

พระธาตุพนม ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร<br />

อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. 2518-2522.<br />

กรุงเทพฯ: คณะกรรมการดำเนินงานบรรจุพระบรม<br />

สารีริกธาตุในองค์พระธาตุพนม, 2522.<br />

. จดหมายเหตุการสร้างพระพุทธรูปพระประธาน<br />

พุทธมณฑล. คณะกรรมการอำนวยการจัดสร้าง<br />

พุทธมณฑล และกรมศิลปากร จัดพิมพ์เป็นที่ระลึก<br />

ในพิธีสมโภชพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล,<br />

กรุงเทพฯ, 2525.<br />

กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร. จดหมายเหตุ<br />

งานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี<br />

พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เล่ม 1. กรุงเทพฯ:<br />

กรมศิลปากร, 2529.<br />

กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.<br />

อนุสาวรีย์ในประเทศไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กอง<br />

วรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2539-2541.<br />

. อนุสาวรีย์ในประเทศไทย เล่ม 2. กรุงเทพฯ: กอง<br />

วรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2539-2541.<br />

คณะอนุกรรมการจัดทำจดหมายเหตุและจัดพิมพ์<br />

หนังสือที่ระลึก พระราชพิธีถวายพระเพลิง<br />

พระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี<br />

พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7. สมุดภาพพระราชพิธี<br />

ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้า<br />

รำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7. กรุงเทพฯ:<br />

คณะอนุกรรมการฯ, 2528.<br />

ความเป็นมาและแนวทางที่ใช้ประกอบในการออกแบบ<br />

พระอุโบสถหลังใหม่ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัด<br />

ฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ: สำนักราชเลขาธิการ, 2536.<br />

นภัส ขวัญเมือง. “อุโบสถเจดีย์: พุทธศิลป์สถาปัตยกรรม<br />

รูปแบบใหม่ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า<br />

เจ้าอยู่หัว.” วารสารไทยศึกษา 9, 2 (สิงหาคม 2556<br />

- มกราคม 2557) : 51-71.<br />

ประกิจ ลัคนผจง และคณะ. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<br />

กับสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง<br />

แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2548.<br />

ประติมา นิ่มเสมอ. “พุทธศิลป์สถาปนิก.” ใน สถาปัตยกรรม<br />

ไทยเฉลิมพระเกียรติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:<br />

อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2549.<br />

ประเวศ ลิมปรังษี. ความเป็นมาและแนวทางที่ใช้ประกอบ<br />

ในการออกแบบพระอุโบสถหลังใหม่ วัดโสธรวราราม<br />

วรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ: สำนักราช<br />

เลขาธิการ, 2536.<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

ประวัติและผลงานสำคัญ ของพระพรหมพิจิตร<br />

พิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี อาจารย์<br />

พระพรหมพิจิตร. กรุงเทพฯ, 2533.<br />

. “บทสัมภาษณ์ ศิลปินแห่งชาติ อ.ดร.ประเวศ<br />

ลิมปรังษี.”วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์<br />

สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย 1, (มกราคม<br />

2547): 118-127.<br />

. 5 ศิลปินแห่งชาติ : สถาปัตย์-ปริวรรต 15 กันยายน<br />

2545 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545.<br />

. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสถาปัตยกรรมไทย.<br />

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548.<br />

. สี่ทศวรรษสถาปัตย์ ศิลปากร. กรุงเทพฯ :<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2538.<br />

. สูจิบัตรนิทรรศการสถาปัตยกรรมไทยเฉลิม<br />

พระเกียรติ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548.<br />

สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร. ที่ระลึกในงานพระราชทาน<br />

เพลิงศพอาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี . นครปฐม: รุ่งศิลป์<br />

การพิมพ์ (1977), 2561.<br />

. 9 สถาปัตย์ศิลป์ พระภูมินทร์อัครศิลปินสยาม.<br />

กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2555.<br />

สมาคมนักศึกษาเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร. สามทศวรรษสมาคม<br />

นักศึกษาเก่า สถาปัตย์ ศิลปากร. กรุงเทพฯ:<br />

สมาคม, 2548.<br />

210 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. ศิลปิน<br />

แห่งชาติ พุทธศักราช 2532. กรุงเทพฯ: สำนักงาน<br />

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2533.<br />

หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรีและคณะ. “พระเมรุมาศ<br />

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีใน<br />

รัชกาลที่ 7.” ใน สถาปัตยกรรมพระเมรุในสยาม.<br />

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ (1984), 2555.<br />

อภิญญา ทวนทอง. “อาคารทรงปราสาทกับการ<br />

เปลี่ยนแปลงแนวความคิดและความหมาย : กรณี<br />

ศึกษาอุโบสถหลังใหม่ วัดโธรวรารามวรวิหาร.”<br />

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชา<br />

ประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร 2552.<br />

เอกสารประวัติและผลงาน (แฟ้มส่วนบุคคล) ของ<br />

อาจารย์ประเวศ ลิมปรังษี.<br />

บทความในวารสาร<br />

“นายประเวศ ลิมปรังษี.” อาษา, (สิงหาคม 2537): 44-47.<br />

“ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)<br />

คุณประเวศ ลิมปรังษี.” อาษา, (มกราคม-กุมภาพันธ์<br />

2533): 11.<br />

“ศิลปินแห่งชาติ อ.ดร.ประเวศ ลิมปรังษี.” วารสารหน้าจั่ว<br />

ฉบับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรม<br />

ไทย 1, 1 (มกราคม 2547): 118-127.<br />

“สัมภาษณ์พิเศษ ดร.ประเวศ ลิมปรังษี ผู้อำนวยการ<br />

กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ศิลปกรรมและช่างศิลป<br />

ของไทย.” บ้านและสวน 10, 120 (สิงหาคม 2529):<br />

144-149.<br />

ฉวีงาม มาเจริญ. “ศิลปิน-ศิลปากร ประเวศ ลิมปรังษี.”<br />

ศิลปากร 40, 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2540): 108-117.<br />

บุญเยี่ยม บุญยกะลิน และชิน ประสงค์. “ประติมากรรม<br />

ของไทย.” ศิลปากร 26, 3 (กรกฎาคม 2525): 15-34.<br />

vศิลปากร 26, 3 (กรกฎาคม 2525): 1-14.<br />

. “เครื่องยอดในสถาปัตยกรรมไทย.” วารสารหน้าจั่ว<br />

ฉบับประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรม<br />

ไทย 5, 5 (กันยายน 2550): 14-25.<br />

. “ประวัติพระคเณศ.” หน้าจั่ว, 18 (2544): 11-16.<br />

ภิญโญ ศรีจำลอง “สมองศิลปะ.” คลังสมอง 4, 45<br />

(ธันวาคม 2528): 82-85.<br />

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. “ประเวศ ลิมปรังษี ผู้สืบสานงาน<br />

สถาปัตยกรรมไทย.” ไฮคลาส 10, 119 (มีนาคม<br />

2537): 115-118.<br />

“สัมภาษณ์ประเวศ ลิมปรังษี.” อาษา, (มีนาคม 2539):<br />

84-85.<br />

สุดารา สุจฉายา. “ประเวศ ลิมปรังษี ผู้สรรค์สร้างพระเมรุ<br />

กลางเมือง.” สารคดี1, 4 (พฤษภาคม 2528): 22-32.<br />

บรรณานุกรม<br />

211


ที่มาภาพประกอบ<br />

หน้า 8-12 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 14-20 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 21 วราภรณ์ ไทยานันท์<br />

หน้า 22-45 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 46-47 อันเยลา ศรีสมวงศ์วัฒนา<br />

หน้า 48 บน-ล่างซ้าย: สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

ขวา: ศรีรัฏฐ์ สมสวัสดิ์<br />

หน้า 49 ศรีรัฏฐ์ สมสวัสดิ์<br />

หน้า 50-52 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 53 ล่างซ้าย: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />

หน้า 54-56 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 57 ซ้าย: Suksan Phaseeda / Shutterstock.com<br />

ขวา: PixHound / Shutterstock.com<br />

หน้า 58 Suwirote p / Shutterstock.com<br />

หน้า 59-64 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 65 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />

หน้า 66-72 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 73-74 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />

หน้า 75-98 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 99 ซ้าย: สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร<br />

ขวา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />

หน้า 100-104 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 105-106 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />

หน้า 107-109 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 110 บน: สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร<br />

ล่างซ้าย: ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน<br />

หน้า 111-126 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 128-133 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 134 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />

หน้า 135-136 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 137 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />

หน้า 138-148 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 149-150 Panwasin seemala / Shutterstock.com<br />

หน้า 151-153 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 155-157 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 159-161 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 163 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 164 Borirak / Shutterstock.com<br />

หน้า 165 PixHound / Shutterstock.com<br />

หน้า 166 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 168-169 MOLPIX / Shutterstock.com<br />

หน้า 170 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 172 ศรีรัฏฐ์ สมสวัสดิ์<br />

หน้า 173-182 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 183 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร<br />

หน้า 184-202 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

หน้า 203 ซ้าย: ศรีรัฏฐ์ สมสวัสดิ์<br />

ขวา: สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัย<br />

ศิลปากร<br />

หน้า 204-208 สถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

212 <strong>สถาปัตยกรรมไทยและศิลปลายไทย</strong> <strong>โดย</strong><strong>ศิษย์พุทธศิลปสถาปัตยกรรม</strong> ประเวศ ลิมปรังษี


ประวัติผู้เขียน<br />

พีระพัฒน์ สำราญ<br />

ผู้ช่วยศาตราจารย์ พีระพัฒน์ สำราญ สำเร็จการศึกษาปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร<br />

บัณฑิต (สถาปัตยกรรมไทย) จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ<br />

ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้อำนวยการสถาบันศิลปสถาปัตยกรรมไทยเฉลิมพระเกียรติ<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

ผลงานทางวิชาการด้านหนังสือ อาทิ สถาปัตยกรรมวัดโพธิ์ (พ.ศ. 2552) ต ำหนักวาสุกรี<br />

วัดโพธิ์ (พ.ศ. 2559) พระอุโบสถวัดโพธิ์ (พ.ศ. 2562) จัดพิมพ์<strong>โดย</strong> วัดพระเชตุพน<br />

วิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, สถาปัตยกรรมวัดสุทัศนเทพวราราม เล่ม 1 พระวิหาร<br />

หลวงและพระระเบียงคด (พ.ศ. 2551) สถาปัตยกรรมวัดสุทัศนเทพวราราม เล่ม 2<br />

พระอุโบสถและสัตตมหาสถาน (พ.ศ. 2558) จิตรกรรมภาพสัตว์หิมพานต์ พระวิหาร<br />

หลวงวัดสุทัศนเทพวราราม (พ.ศ. 2559) จัดพิมพ์<strong>โดย</strong> วัดสุทัศนเทพวราราม<br />

กรุงเทพมหานคร, พัฒนาการพระปรางค์ในสยามประเทศ ชุดอัศจรรย์วัดอรุณ เล่ม 1,<br />

แบบสำรวจรังวัดสถาปัตยกรรมวัดอรุณราชวราราม ชุดอัศจรรย์วัดอรุณ เล่ม 4 ฯลฯ<br />

ผลงานทางวิชาการประเภทโครงการวิจัย ได้แก่ “ลายพุดตานในศิลปะและสถาปัตยกรรม<br />

ไทย” ทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, “ตำราภาพจับ<br />

รามเกียรติ์” สู่การสร้างสรรค์จิตรกรรม “ภาพจับรามเกียรติ์ วัดสุทัศนเทพวราราม”<br />

ทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ<br />

ปัจจุบันผู้ช่วยศาสตราจารย์ พีระพัฒน์ สำราญ ศึกษาต่อด้านการอนุรักษ์ศิลปกรรม<br />

และร่วมดำเนินงานโครงการสำรวจและบันทึกสภาพจิตรกรรมภาพจับรามเกียรติ์ใน<br />

กรอบกระจก พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร และโครงการอนุรักษ์<br />

จิตรกรรมภาพสัตว์หิมพานต์ พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร<br />

ฯลฯ<br />

ประวัติผู้เขียน<br />

213

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!