19.08.2020 Views

WorldOfRubber2

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

การสื่อสารคือปัจจัยหลักอันหนึ่งที่จะทำาให้การเรียนการสอนออนไลน์เกิดขึ้นได้

ด้วยระบบที่ยังไม่พร้อมอีกทั้งยังขาดปัจจัยจำ าเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการสอน

แต่โควิด-19 ทำาให้เกิดข้อจำากัดของการอยู่ใกล้ชิดกัน (Social Distancing) นี่จึง

เป็นปัจจัยที่ทำาให้การเรียนออนไลน์จำาต้องเกิดขึ้น เปิดการเรียนเดือน

มิถุนายนเด็กชั้นประถมหลายโรงเรียนเริ่มเรียนทางออนไลน์ ในขณะที่สถาบัน

การศึกษาใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียงอย่าง Harvard และ MIT ต่างเปิดโอกาสให้

เข้าถึงการเรียนและวิชาที่เรียนได้ฟรี ในวิกฤติที่เกิดขึ้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลง

ให้เราอยู่รอด แต่เราจะฉวยโอกาสเหล่านี้ให้เกิดผลได้อย่างไร เรายังมีปัจจัย

หลายอย่างที่ท้าทายที่ต้องจัดการและปรับการเรียนออนไลน์ให้เกิดประโยชน์

ระบบการสื่อสารและวิธีการสอน รวมถึงครูที่จะสอนออนไลน์เป็นปัจจัยที่

เราต้องรีบจัดการก่อนที่จะนำาระบบการเรียนมาใช้อย่างกว้างขวาง ปัจจุบันระบบ

การสื่อสารออนไลน์ในระบบ 4G เรายังมีปัญหาการสนทนาติดๆ ขัดๆ ระบบ

สื่อสาร 4G ปัจจุบันยังไม่พร้อมรองรับการสื่อสารออนไลน์ได้เต็มที่ทั้งความเร็ว

รายละเอียดของภาพ ดีใจที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยกำาลังติดตั้งระบบ 5G ซึ่ง

เป็นหนึ่งในปัจจัยทางเทคโนโลยีที่ทำ าให้การเรียนการสอนเป็นไปได้ แต่ก่อนอื่นทั้ง

โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต้องพร้อมในระบบสื่อสารนี้เสียก่อน และนักเรียนเอง

อย่างน้อยต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะติดตั้งระบบสื่อสารออนไลน์ได้

วิธีการสอนและครูที่สอนต้องได้รับการพัฒนาให้พร้อมเพราะแม้แต่การสอน

ในห้องเรียนเรายังมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพดังที่กล่าวมาข้างต้น หากเปลี่ยน

มาเป็นการสอนออนไลน์ที่ใช้ข้อมูลใบหน้าผู้สอนและเสียง การสอนจะเกิด

ประสิทธิภาพแค่ไหน นำาความคิดเรื่องนี้ปรึกษากับ ศ. ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน

อดีตรองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ. ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย

คณบดีวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับ

ความเป็นไปได้และอุปสรรคในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ และการสอน

121

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!