19.08.2020 Views

WorldOfRubber2

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

นวัตกรรมทางด้านยาง ผิดกับห่วงโซ่อุปทานของยานยนต์ในยุโรปซึ่งมีความ

แตกต่างกันเป็นอย่างมากที่ Tier 1 และ Tier 2 จะเป็นบริษัทผู้ผลิตที่ไม่ใช่

เครือข่ายของผู้ผลิตรถยนต์ เราจึงเห็นบริษัทผลิตรถยนต์ Tier 1 และ Tier 2

เติบโตในยุโรป มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างแข็งแกร่ง ผู้ผลิตเหล่านี้จะเชื่อมโยง

กับภาคการศึกษาในด้านวิจัย นี่คือสาเหตุหนึ่งที่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางไทย

ไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีเท่าที่ควร การวิจัยในภาคอุตสาหกรรมมีน้อยมาก

เพราะต่างก็ยุ่งอยู่กับการผลิตที่ทำาให้ต้นทุนของตัวเองถูกกว่าบริษัทอื่น

ในส่วนของยางล้อ ประเทศไทยมีการลงทุนของบริษัทล้อรถยนต์ใหญ่ๆ

เช่น Bridgestone, Michelin, Continental, Goodyear, Sumitomo, Yokohama

บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตล้อรถยนต์ต่างมีโรงงานผลิตล้อรถยนต์ในประเทศไทย

รวมทั้งใน อินเดีย เกาหลี และอีก 3 บริษัทใหญ่จากจีน ทั้งนี้เพราะการที่

ประเทศไทยมีวัตถุดิบที ่พร้อม ทั้งยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ (SBR, BR)

Carbon Black และ น้ำามันผสมยาง ประเทศไทยมีผู้ผลิตล้อรถยนต์ยี่ห้อของ

ตัวเอง ยางรถจักรยานยนต์, ยางรถจักรยาน และยางรถ off-road ผู้ผลิตยาง

ไทยเราเหล่านี้มีหลายบริษัทที่พยายามลงทุนในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม

แต่เนื่องจากความไม่พร้อมในเครื่องทดสอบ สนามทดสอบ และการเข้าถึงตลาด

ผู้ใช้ใหญ่ๆ อีกทั้งการเข้ามาของบริษัทผลิตล้อรถยนต์ของจีนที่เข้ามาทุ่มตลาด

ใน after-market ทำาให้ผู้ผลิตล้อรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ไทยต่างตกอยู่ในภาวะ

ต้องต่อสู้กับคู่แข่งในทุกด้าน การสร้างนวัตกรรมยางล้อก็เป็นไปได้ช้ามาก

หลายๆ บริษัทยังดิ้นรนอยู่กับเทคโนโลยีการผลิต

สิ่งที่ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมล้อรถยนต์ไทยควรระวัง จากข้อมูลที่นำาเสนอ

โดย คุณจักรา สวัสดิ์บุรี จากบริษัท บีเอสที อิลาสโตเมอรร์ส ต่อคณะกรรมการ

กลุ่มสาขายาง สมาคมโพลิเมอร์ประเทศไทย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562

ให้ทราบว่า ความต้องการล้อรถยนต์ได้ลดลงอย่างมากในปีพ.ศ. 2563 ประมาณ

ร้อยละ 20 จากความต้องการ 1,571 ล้านชิ้น ตกลงมาอยู่ที่ 1,275 ล้านชิ้น

43

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!