19.08.2020 Views

WorldOfRubber2

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เยอรมนีและญี่ปุ่นสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจของตัวเองขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว

ในระหว่างปี ค.ศ. 1960-1970

อุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่นต้องล้มระเนระนาดหลังสงครามแต่

ด้วยสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก บริษัทผู้ผลิตทั้งหลายของญี ่ปุ่นต่างหันมาพึ่ง

เทคโนโลยีการผลิตจากสหรัฐอเมริกาเพื่อสร้างอุตสาหกรรมต่างๆ ขึ้นมาภายใน

ประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of International

Trade Industry : MITI) ได้เป็นผู้นำาหลักในการผลักดันอุตสาหกรรมและ

การค้าให้ฟื้นตัว อิชิบาชิ คือหนึ่งในผู้นำาที่ MITI ขอร้องให้มาช่วยเจรจา

เทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตยางสังเคราะห์

ในระหว่างสงครามเกาหลี (ปี ค.ศ. 1952-1953) ความต้องการยาง

มีมากขึ้นทำาให้ราคายางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ต่างถีบตัวสูงขึ้น

เป็นอย่างมากด้วยสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการช่วย

ฟื้นฟูเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น MITI กระตุ้นให้เอกชนหันมาสนใจ

การผลิตยางสังเคราะห์ให้เกิดขึ้นภายในประเทศ รัฐบาลญี่ปุ่นส่งตัวแทน 12 คน

ไปเยือนโรงงานอุตสาหกรรมยางสังเคราะห์ในสหรัฐอเมริกา หลังจาก

เยี่ยมชมโรงงานถึง 3 เดือนผู้แทนต่างลงความคิดเห็นว่าเทคโนโลยีดั้งเดิม

ของญี่ปุ่นในการผลิตยางสังเคราะห์ที่เริ่มต้นจากแอลกอฮอล์ไม่ใช่

เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าการใช้วัตถุดิบจากการ

กลั่นน้ำามัน ฉะนั้นสิ่งแรกที่รัฐบาลญี่ปุ่นต้องรีบสนับสนุนคือตั้งโรงกลั่นน้ำามัน

ในปี ค.ศ. 1954-1955 มิตซูบิชิ (Mitsubishi) และ มิตซุย (Mitsui) เร่งก่อสร้าง

โรงกลั่นน้ำามันขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานภายในประเทศและ

เป็นแหล่งผลิตแนฟทา (naphtha) ซึ่งเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของปิโตรเคมีอีกด้วย

อิชิบาชิได้ไปเยือนกู๊ดเยียร์หลายครั้งซึ่งนำามาสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต

ล้อรถยนต์จากกู๊ดเยียร์ ในขณะที่ โยโกฮามา รับเบอร์ (Yokohama Rubber)

ขอความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์จากบีเอฟกู๊ดริช

31

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!