29.09.2020 Views

ก.ย. 63

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สานักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส า นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ISSN 0858 - 3803

ปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๓๕๔ หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

www.lakmuangonline.com

9 770858 380005


เกียรติคุณ...

ความดีที่ยั่งยืน


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น สํา นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor Consultants

ที่ปรกษากิตติมศักดิ์

พัล.อ.วันช่ัย เรืองต่ระก้ล

พัล.อ.อ.สุวิช่ จำันทป็ระดิษัฐ์

พัล.อ.ไพับ้ลย์ เอมพัันธุ์

พัล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิป็ระภา

พัล.อ.ธ่รเดช่ ม่เพั่ยร

พัล.อ.ธวัช่ เกษัร์อังก้ร

พัล.อ.สัมพัันธ์ บุญญานันต่์

พัล.อ.อ้้ด เบืองบน

พัล.อ.สิริช่ัย ธัญญสิริ

พัล.อ.วินัย ภัททิยกุล

พัล.อ.อภิช่าต่ เพั็ญกิต่ต่ิ

พัล.อ.กิต่ต่ิพังษั์ เกษัโกวิท

พัล.อ.เสถ่ยร เพัิมทองอินทร์

พัล.อ.วิทวัส รช่ต่ะนันทน์

พัล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษั์โยธิน

พัล.อ.นิพััทธ์ ทองเล็ก

พัล.อ.สุรศักดิ์ กาญจำนรัต่น์

พัล.อ.ศิริช่ัย ดิษัฐกุล

พัล.อ.ป็ร่ช่า จำันทร์โอช่า

พัล.อ.ช่ัยช่าญ ช่้างมงคิล

พัล.อ.เทพัพังศ์ ทิพัยจำันทร์

ที่ปรกษา

พัล.อ.ณัฐ อินทรเจำริญ

พัล.อ.อ.ป็รเมศร์ เกษัโกวิท

พัล.อ.นภนต่์ สร้างสมวงษั์

พัล.ร.อ.สมป็ระสงคิ์ นิลสมัย ร.น.

พัล.อ.ก้เก่ยรต่ิ ศร่นาคิา

พัล.อ.รักศักดิ์ โรจำน์พัิมพั์พัันธุ์

พัล.อ.ช่ัยพัฤกษั์ พั้นสวัสดิ์

พัล.อ.ธนิส พัิพัิธวณิช่การ

พัล.อ.ป็ระช่าพััฒน์ วัจำนะรัต่น์

พัล.ท.นพัพังศ์ ไพันุพังศ์

พัล.ท.ว่รช่น สุคินธป็ฏิภาคิ

พัล.ท.เดช่า พัลสุวรรณ

พัล.ท.จำิรวิทย์ เดช่จำรัสศร่

พัล.ท.ภราดร จำินดาลัทธ

พัล.ท.คิงช่่พั ต่ันต่ระวาณิช่ย์

พัล.ท.ไพับ้ลย์ วรวรรณป็ร่ช่า

พัล.ท.เอกช่ัย ห็าญพั้นวิทยา

พัล.ท.สนิธช่นก สังข้จำันทร์

พัล.ท.พัุฒิป็ระสิทธิ์ จำิระมะกร

พัล.ท.จำักรพังษั์ นวลช่ืน

พัล.ต่.จำิรศักดิ์ ไกรทุกข้์ร้าง

พัล.ต่.พัจำน์ เอมพัันธุ์

พัล.ต่.ป็ระจำวบ จำันต่ะม่

พัล.ต่.ศักดิ์วุฒิ วงศ์วานิช่

พัล.ต่.ไช่ย ห็ว่างสิงห็์

ผูอํานวยการ

พัล.ต่.ช่้เลิศ จำิระรัต่นเมธากร

รองผูอํานวยการ

พั.อ.ป็ณิธาน กาญจำนวิโรจำน์

น.อ.พัรห็มเมธ อต่ิแพัทย์ ร.น.

กองจัดการ

ผูจัดการ

น.อ.กฤษัณ์ ไช่ยสมบัต่ิ

ประจํากองจัดการ

พั.อ.ธนะศักดิ์ ป็ระดิษัฐ์ธรรม

พั.ท.ไพับ้ลย์ รุ่งโรจำน์

เหรัญญิก

พั.อ.กณพั ห็งษั์วิไล

ฝายกฎหมาย

น.อ.สุรช่ัย สลามเต่ะ

พิสูจนอักษร

พั.อ.ห็ญิง วิวรรณ วรวิศิษัฏ์ธำารง

กองบรรณาธิการ

บรรณาธิการ

พั.อ.ช่ัยวัฒน์ สว่างศร่

รองบรรณาธิการ

น.อ.ส้งศักดิ์ อัคิรป็ร่ด่ ร.น.

น.อ.วัฒนสิน ป็ัต่พั่ ร.น.

ผูชวยบรรณาธิการ

น.ท.ห็ญิง กัญญารัต่น์ ช่้ช่าต่ิ ร.น.

ประจํากองบรรณาธิการ

พั.ท.ห็ญิง สายต่า น้อยรักษั์

น.ท.ห็ญิง ฉันทน่ บุญป็ักษั์

พั.ต่.ห็ญิง ลลิดา กล้าห็าญ

ร.ท.ห็ญิง สุช่าดา โยธาข้ันธ์

พั.จำ.อ.สุพัจำน์ นุต่โร

จำ.ท.ห็ญิง ศุภรเพั็ญ สุพัรรณ


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น สํา นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

Editor talk

สวัสด่ผู้้อ่านทุกท่าน ในห็้วงเวลาแห็่งการเกษั่ยณอายุราช่การ

เป็็นท่ทราบกันด่สำาห็รับบรรดาข้้าราช่การว่า ป็ลายเดือนกันยายนข้องทุกป็ี

ข้้าราช่การทัวไป็ซิึงม่อายุคิรบ ๖๐ ป็ี ก็จำะย่างเข้้าส้่วัยเกษั่ยณอายุ ห็รือใน

ภาษัาอังกฤษัท่ว่า Retire from service ซิึงอาจำเป็็นก้าวส้่การเป็ล่ยนแป็ลง

ในช่่วิต่คิรังให็ญ่ข้องห็ลายๆ ท่าน บางท่านต่ังใจำจำะห็ากิจำกรรมท่ยังไม่ได้ทำา

ข้ณะรับราช่การ อาทิ ท่องเท่ยว เข้่ยนห็นังสือ ศึกษัาพัระธรรม ฯลฯ

บางท่านอาจำยังม่ไฟิในการทำางานต่่อ โดยอาจำได้รับโอกาสไป็ทำางานด้าน

การเมือง ห็รือธุรกิจำข้องคิรอบคิรัว สุดแล้วแต่่คิวามช่อบห็รือพัืนฐานทางการ

ทำางาน ซิึงลักษัณะแบบน่คิือ เกษั่ยณอายุราช่การ แต่่ยังไม่ได้เกษั่ยณอายุ

จำากงาน Retire from job (ต่่คิวามจำากสำานักงานคิณะกรรมการข้้าราช่การ

พัลเรือน : สำานักงาน ก.พั.)

สำาห็รับในวงการทห็าร ในห็้วงเวลาแห็่งการเกษั่ยณอายุราช่การ

ม่ห็ลายท่านให็้คิำานิยามไว้เป็็นวล่คิมๆ ด้วยป็ระโยคิ ว่า “ฤด้กาลเป็ล่ยน

แผู้่นดิน” อันห็มายถึง ด้วยองคิ์กรข้องทห็ารซิึงม่ข้นาดให็ญ่ ม่กำาลังพัล

อาวุธยุทโธป็กรณ์มห็าศาล การเป็ล่ยนแป็ลงผู้้้นำาคินสำาคิัญข้องห็น่วย

จำึงห็มายถึงจำะม่การเป็ล่ยนแนวทางนโยบายจำากผู้้บังคิับบัญช่าท่านให็ม่

ให็้ผู้้ใต่้บังคิับบัญช่าจำำานวนมากป็ฏิบัต่ิ (ซิึงกลุ่มคินห็ม้่มากในพัืนท่ให็ญ่ๆ

เป็ร่ยบเสมือนเป็็นผู้ืนแผู้่นดิน นันเอง) ผู้้้เข้่ยนเคิยนึกสนุกข้ึนว่า คิำาว่าเป็ล่ยน

แผู้่นดินน่ส่วนให็ญ่น่าจำะใช่้กับกองทัพับกซิึงป็ฏิบัต่ิงานบนผู้ืนดิน ถ้าเช่่นนัน

กลุ่มท่ทำางานในนำากับท้องฟิ้าอย่างกองทัพัเรือ กองทัพัอากาศคิวรจำะม่

วล่คิมๆ ในห็้วงน่ คิล้ายๆ กัน เช่่น “ฤด้กาลเป็ล่ ยนสายนำา” ห็รือ

“ฤด้กาลเป็ล่ยนผู้ืนฟิ้า” ก็น่าจำะอิงจำากแนวทางเดิมได้ อันน่ฝึากให็้ท่าน

ผู้้้อ่านลองพัิจำารณาเล่นๆ ยามว่างนะคิรับ

สำาห็รับวารสารห็ลักเมือง ฉบับเกษั่ยณอายุ ๖๓ น่ นอกจำาก

เนือห็าสาระในเรืองเทคิโนโลย่ทางทห็ารท่สำาคิัญแล้ว ยังม่เก่ยรต่ิป็ระวัต่ิ

การทำางานข้องผู้้้บังคิับบัญช่าระดับส้งข้อง สำานักงานป็ลัดกระทรวงกลาโห็ม

ท่จำะเกษั่ยณอายุห็ลายท่านให็้ได้อ่านเพัือนำาไป็ศึกษัาเป็็นแนวทางการ

รับราช่การอ่กด้วย ท้ายน่ กองบรรณาธิการข้อข้อบพัระคิุณผู้้้บังคิับบัญช่า

ช่ันส้ง และข้้าราช่การข้องห็น่วยข้ึนต่รง สำานักงานป็ลัดกระทรวงกลาโห็ม

ห็ลายท่าน ท่กรุณาให็้การสนับสนุนบทคิวามอันเป็็นป็ระโยช่น์กับวารสาร

ห็ลักเมืองด้วยด่ ต่ลอดป็ีงบป็ระมาณ พั.ศ.๒๕๖๓ ท่ผู้่านมา รวมถึงท่าน

ผู้้อ่านท่รักทุกท่าน ซิึงเป็็นแรงใจำให็้เราม่วารสารห็ลักเมืองจำนถึงป็ัจำจำุบัน

และท้ายท่สุดน่ ข้อให็้ผู้้้ท่กำาลังจำะเกษั่ยณอายุราช่การทุกท่าน ม่สุข้ภาพัท่ด่

ม่แรงกายแรงใจำในการดำาเนินช่่วิต่อย่างม่สุข้ต่ามวิถ่ทางท่แต่่ละท่านมุ่งห็วัง

ป็รารถนาทุกป็ระการ แล้วพับกันให็ม่ในป็ีงบป็ระมาณห็น้าคิรับ

เก่ยรต่ิป็ระวัต่ิ พัลอากาศเอก ป็รเมศร์ เกษัโกวิท

รองป็ลัดกระทรวงกลาโห็ม

เก่ยรต่ิป็ระวัต่ิ พัลเอก นภนต่์ สร้างสมวงษั์

รองป็ลัดกระทรวงกลาโห็ม

๑๒

เก่ยรต่ิป็ระวัต่ิ พัลเอก ก้้เก่ยรต่ิ ศร่นาคิา

รองป็ลัดกระทรวงกลาโห็ม

๑๖

บทเทิดเก่ยรต่ิ พัลเอก รักศักดิ์ โรจำน์พัิมพั์พัันธุ์

ผู้้้อำานวยการสำานักนโยบายและแผู้นกลาโห็ม

๑๘

เก่ยรต่ิป็ระวัต่ิ พัลเอก ธนิส พัิพัิธวณิช่การ

ผู้้้อำานวยการศ้นย์การอุต่สาห็กรรม

ป็้องกันป็ระเทศและพัลังงานทห็าร

๒๐

เก่ยรต่ิป็ระวัต่ิ พัลเอก อนุช่ิต่ อินทรทัต่

จำเรทห็ารทัวไป็

๒๒

พัระบาทสมเด็จำพัระเจำ้าอย้่ห็ัวภ้มิพัลอดุลยเดช่

พัระมห็ากษััต่ริย์นักพััฒนาผู้้้ทรงเป็็นต่้นแบบ

ข้องการบริห็ารจำัดการสมัยให็ม่ (ต่อนท่ ๑๔)

๒๖

๑ กันยายน ๒๕๖๓ ๓๑ ป็ี วันคิล้ายวันสถาป็นา

สำานักงานต่รวจำสอบภายในกลาโห็ม

๒๘

๔ กันยายน ๒๕๖๓ ๒๕ ป็ี วันคิล้ายวันสถาป็นา

กรมเทคิโนโลย่สารสนเทศและอวกาศกลาโห็ม

๓๐

๖ กันยายน ๒๕๖๓

๓๐ ป็ี กรมการสรรพักำาลังกลาโห็ม

๒๖

สวัสดีครับ


๓๒

๑๒ กันยายน ๒๕๖๓

๑๑๔ ปีี กรมพัระธรรมน้ญ

๓๔

๑๒ กันยายน ๒๕๖๓

๖๔ ปีี ศ้นย์พััฒนาปิิโต่รเล่ยมภาคิเหนืือ

กรมการพลัังงานทห็าร

ศ้นย์การอุต่สาห็กรรมป้้องกันป็ระเทศ

และพลัังงานทห็าร

๓๖

๑๘ กันยายน ๒๕๖๓

๔๑ ปีี วันคล้้ายวันสถาป็นา

ศ้นย์อำานวยการสร้างอาวุธ

ศ้นย์การอุต่สาห็กรรมป้้องกันป็ระเทศ

และพลัังงานทห็าร

๓๘

โคิรงการจััดห็า

เรือดำานำาข้องกองทัพัเรือไทย

๔๒

คิรบวาระงาน สานพัันธะใจำ

๔๖

เครืือข่่ายกำลัังพัลสำารองเพัือคิวามมันคิง

๔๘

กระทรวงกลาโห็มกับแนวนโยบาย

เรืองการสนับสนุนการแก้ไข้ป็ัญห็า

การแพร่่ระบาดข้องโรคิโควิิด-๑๙

๕๐

ข้้อคิิดในการพััฒนาป็ระเทศจีีน

ข้องป็ระธานาธิบด่ ส่ จำินผู้ิง

(ต่อนท่ ๘ แนวทางข้องจีีนต่่ออินโด - แป็ซิิฟิิก)

๕๔

ภาษัาอังกฤษง่่ายๆ สไตล์์คิร้วันด่

แบบฝึึกหััดภาษัาอังกฤษัแบบอเมริกัน

(American Language Course

Placement Test: ALCPT)

๕๖

การก่อการร้าย :

จำากโทรศัพท์์มือถือส้่โทรศัพท์์อัจำฉริยะ

Terrorism: From Mobile Phones

to Smart Phones

๕๘

ศ้นย์คิวามร่วมมือด้านเทคิโนโลย่

ปััญญาป็ระดิษฐ์์เพัือการป้้องกันป็ระเทศ

(Defence Artificial Intelligence

Collaboration Center)

๖๐

เปิิดป็ระต่้ส้่เทคิโนโลย่ป็้องกันป็ระเทศ

สถาบันเทคิโนโลย่ป็้องกันป็ระเทศ

แสดงศักยภาพัคิวามพร้้อมจััดต่ังศ้นย์ฝึึกอบรม

ระบบอากาศยานไร้คินขัับ ต่ามมาต่รฐานสากล

แห่่งแรกข้องป็ระเทศและภ้มิภาคิอาเซีียน

๖๓

“ยาและเวชภััณฑ์์

กับหลัักป็ระกันคิวามมันคิงแห่่งช่าติิ”

๖๖

แนะนำาอาวุธเพัือนบ้าน เคิรืองบินขัับไล่

เอฟิ-๑๖ กับจำรวดนำวิิถ่แบบเอไอเอ็ม-๑๒๐

๗๐

แนวโน้มมิติิใหม่่

ข้องวงการแพัทย์หลัังโควิิด-๑๙

๗๒

ภาพกิิจำกรรม

๓๖

๓๘

๔๘

๖๖

๕๐ ๕๘

๗๐

ข้้อคิิดเห็็นและบทคิวามท่นำาลงในวารสารหล ักเมืองเป็็นข้องผู้้ ้เขีียน มิใช่่ข้้อคิิดเห็็นหร ือนโยบายข้องหน่่วยงานข้องรัฐ และมิได้ผู้้กพััน

ต่่อราช่การแต่่อย่างใด สำนัักงานเลข้านุการสำนัักงานปลััดกระทรวงกลาโห็ม ถนนสนามไช่ย เข้ต่พัระนคิร กรุงเทพัฯ ๑๐๒๐๐

โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm

พิิมพ์์ท่ : บริษััท ธนอรุณการพิิมพ์์ จำำกััด ๔๕๗/๖-๗ ถนนพัระสุเมรุ แข้วงบวรนิเวศ เข้ต่พัระนคิร กรุงเทพัฯ ๑๐๒๐๐

โทร. ๐-๒๒๘๒-๖๐๓๓-๔ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๒๑๘๗-๘

E-mail : thanaaroon19@gmail.com ออกแบบ : บริษััท ธนอรุณการพิิมพ์์ จำำกััด


เกียรติประวัติ

พลอากาศเอก ปรเมศร์ เกษโกวิท

รองปลัดกระทรวงกลาโหม

(ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓)

เสืออากาศ อาจอง ดำรงศักดิ์ เฝ้าพิทักษ์ ท้องนภา น่านฟ้ากว้าง

จากฟ้าแจ้ง อัมพรเคลื่อน เป็นเลือนลาง จากรุ่งสาง ปกเวหา จวบสายัณห์

ปกครองหน่วย ด้วยวินัย ใฝ่เคร่งครัด วิสัยทัศน์ นำพากิจ จิตสร้างสรร

งานชายแดน ยุทธวิธี มีครบครัน เสริมสร้างขวัญ กำลังใจ ในบัดดล

รองปลัดฯ กลาโหม พลิกโฉมงาน ผู้ประสาน นิติกิจ สัมฤทธิ์ผล

สารสนเทศ ไซเบอร์เอื้อ เกื้อกูลชน กำลังพล สวัสดิการ สานมั่นคง

พลอากาศเอก ปรเมศร์ เกษโกวิท ผู้อุทิศ กายใจล้ำ ธรรมสูงส่ง

รบบนฟ้า ตามองหน่วย ช่วยธำรง เกียรติยืนยง คงไว้ ให้จดจำ

4


ลอากาศเอก ปรเมศร์ เกษโกวิท เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่

๒๒ ตุลาคม ๒๕๐๒ ณ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์

จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบุตรคนที่ ๒ จากทั้งหมด ๓ คน ของ

นาวาอากาศเอก ไพฑูรย์ และ นางอุดมพร เกษโกวิท โดยสมรสกับ

นางยุคลธร เกษโกวิท มีบุตร ๑ คน คือ นายคริษฐ์ เกษโกวิท

การศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียน

หอวัง จากนั้นเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๘

โรงเรียนนายเรืออากาศ รุ่นที่ ๒๕ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (ทอ.)

สาขาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรศิษย์การบินของกองทัพอากาศ

รุ่นที่ ๗๒-๒๕-๒ ในระหว่างการรับราชการได้เข้ารับการศึกษาและอบรม

หลักสูตรต่างๆ ของกองทัพอากาศอย่างต่อเนื่อง อาทิ นักบิน

ลองเครื่อง รุ่นที่ ๑๕ โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง รุ่นที่ ๖๕

โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ ๓๖ วิทยาลัยการทัพอากาศ

รุ่นที่ ๓๗ ตลอดจนหลักสูตรของหน่วยงานภายนอก อาทิ

หลักสูตรภาษาเกาหลีเบื้องต้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาลัย

ป้องกันราชอาณาจักร ภาครัฐ เอกชน และการเมือง รุ่นที่ ๕ เป็นต้น

การรับราชการ ดำรงตำแหน่งที่สำคัญต่างๆ อาทิ ผู้บังคับ

ฝูงบิน ๒๑๑ กองบิน ๒๑ (อุบลราชธานี) นายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำผู้บัญชาการทหารอากาศ นายทหารฝ่ายอำนวยการประจำ

ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้อำนวยการกองยุทธการ กรมยุทธการ

ทหารอากาศ ผู้บังคับการกองบิน ๑ (นครราชสีมา) ผู้ช่วยทูตทหาร

อากาศไทย ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ผู้ช่วยหัวหน้านายทหาร

ฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บังคับทหาร

อากาศดอนเมือง ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ

จนกระทั่งท่านได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับ

ราชการ ในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม ตามลำดับ โดยมี

ตำแหน่งพิเศษทางการทหารอื่นๆ อาทิ นายทหารราชองครักษ์

นายทหารพิเศษประจำหน่วยรักษาพระองค์ และตุลาการศาลทหาร

อีกทั้งที่ผ่านมายังได้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานที่สำคัญอื่นๆ เช่น

คณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน

ในห้วงการรับราชการที่กองทัพอากาศ ได้ปฏิบัติหน้าที่และ

ราชการที่สำคัญต่างๆ ในด้านการบินของกองทัพอากาศหลายบทบาท

หน้าที่ โดยหลังจากสำเร็จการศึกษาได้รับการบรรจุเป็นนักบิน

ประจำกองพร้อมรบ สังกัด ฝูงบิน ๑๐๑ กองบิน ๑ จังหวัด

นครราชสีมา เพื่อเข้ารับการฝึกหลักสูตรนักบินขับไล่กับเครื่องบินฝึก

ไอพ่นขั้นสูง แบบที่ ๑๑ (T-33) เมื่อจบหลักสูตรฯ เข้าบรรจุเป็น

นักบินฯ สังกัด ฝูงบิน ๔๐๓ กองบิน ๔ อำเภอตาคลี

จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งถือได้ว่าการเป็นนักบินขับไล่

โจมตีไอพ่นอย่างเต็มตัวเริ่มต้นที่นี่ โดยท ำการบินกับ

เครื่องบินขับไล่ แบบที่ ๑๘/ก/ข/ค (F-5A/B/E/F)

ในช่วงที่ทำการบินอยู่นั้น ได้ปฏิบัติหน้าที่

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

5


นักบินได้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบ เป็นทั้งนักบินประจำกองพร้อมรบ

ครูการบินและผู้บังคับฝูงบิน ได้รับคัดเลือกให้อบรมหลักสูตรนักบิน

ลองเครื่อง ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ทดสอบเครื่องบินได้นั้น ต้องใช้ความ

รู้ความสามารถ ทักษะ กระบวนการคิดและมากด้วยประสบการณ์

จึงจะสามารถทดสอบเครื่องบินได้สำเร็จลุล่วง ตรงตามขั้นตอน และ

สามารถบ่งชี้ถึงความผิดปกติได้ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นประเทศไทย

กำลังเกิดข้อพิพาทบริเวณแนวชายแดนทางด้านภาคตะวันออก

เฉียงเหนือและภาคเหนือกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

แล้วลุกลามต่อเนื่องจนกลายเป็นสงครามเต็มรูปแบบ ได้รับมอบหมาย

ให้ปฏิบัติการบินโจมตีในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า ปฏิบัติหน้าที่

ด้วยความองอาจกล้าหาญ สมเกียรติชายชาติทหาร จนภารกิจสำเร็จ

ลุล่วงเป็นอย่างดี จึงได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน

และอีกหนึ่งบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย คือการได้รับ

พระราชทานพระราชวโรกาสถวายงานด้านการบินกับเครื่องบิน

ขับไล่ แบบที่ ๑๘/ก/ข/ค (F-5A/B/E/F) แด่พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรม

โอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งนับว่า

เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ นำมาซึ่งความภาคภูมิใจ

เป็นเกียรติประวัติแก่ตนเองและวงศ์ตระกูล

เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติ

ทางอากาศนั้น ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการทดสอบใช้กำลัง

ของกองทัพอากาศ ได้ริเริ่มการทดสอบการใช้กำลังทางอากาศปฏิบัติ

การร่วมกับกำลังทางเรือ โดยมีการทดสอบการใช้ระบบบัญชาการ

และควบคุมทางอากาศ ACCS (Air Command and Control

System) ในการปฏิบัติการร่วมกับการเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี

(Technical Data Link) ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่าย

เป็นศูนย์กลางเป็นครั้งแรก ซึ่งทำให้บุคลากรในทุกภาคส่วน

ที่เกี่ยวข้องได้รับประสบการณ์ เกิดความรู้ความเข้าใจในแนวทาง

การปฏิบัติ และสามารถปฏิบัติภารกิจได้สอดคล้องกับหลักนิยมของ

6


แต่ละเหล่าทัพได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังได้นำอาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องมือ

เทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ได้อย่างคุ้มค่า นับว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญ

ในพัฒนาการทดสอบการใช้กำลังทางอากาศให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ต่อกองทัพอากาศ รวมไปถึงเหล่าทัพอื่นในอนาคตอีกด้วย

ในช่วงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทาง

อากาศ/ผู้อำนวยการศูนย์ยุทธการทางอากาศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหน่วย

กำลังรบหลักของกองทัพอากาศ ได้มีนโยบายที่สำคัญต่างๆ มากมาย

เพื่อดำรงและเพิ่มขีดความสามารถของศูนย์ยุทธการทางอากาศ

หน่วยบินยุทธวิธี หน่วยควบคุมอากาศยานและแจ้งเตือน ตลอดจน

ขวัญและกำลังใจของกำลังพล อาทิ การมอบนโยบายและ

แนวทางการปฏิบัติให้ศูนย์ยุทธการทางอากาศสามารถปฏิบัติภารกิจ

ได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้หน่วยบินยุทธวิธี

บินลาดตระเวนตามแนวชายแดนทั่วประเทศ การพัฒนาปรับปรุง

อาคาร เครื่องมือและอุปกรณ์ การปรับปรุงแก้ไขระเบียบปฏิบัติ

ประจำของหน่วยให้ทันสมัย การปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม สะอาด

น่าอยู่และเรียบร้อย รวมทั้งการสนับสนุนให้จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อ

เพิ่มขวัญกำลังใจของกำลังพล แต่ยังคงดำรงไว้ซึ่งระเบียบวินัยของ

ทหารอย่างเคร่งครัด การดำเนินนโยบายทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วนั้น

ทำให้บุคลากรในระบบใช้กำลังทางอากาศ มีความรู้ ความเข้าใจ

และความมั่นใจในการปฏิบัติ ด้วยความตระหนักในหน้าที่และความ

รับผิดชอบของตนเอง นำไปสู่ความพร้อมรบของกำลังทางอากาศ

ที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ พร้อมรับกับทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ตลอดเวลา

ในขณะดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม ได้รับ

มอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบในสายงานด้านกำลังพล สวัสดิการ

กิจการสหกรณ์ออมทรัพย์ ด้านพระธรรมนูญ กิจการพลเรือน

ด้านเลขานุการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กิจการอวกาศ

และไซเบอร์ ตลอดจนงานด้านอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งได้ปฏิบัติ

หน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ ทำให้ภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

สำเร็จลุล่วงด้วยดีเสมอมา

ด้วยบุคลิกลักษณะเป็นผู้มีวิสัยทัศน์มองการณ์ไกล ศึกษา

ค้นคว้า และใฝ่หาความรู้รอบด้านอยู่เสมอ มีความมุ่งมั่นในการ

ปฏิบัติงาน ใส่ใจในทุกรายละเอียด ยึดถือระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด

ทำให้การปฏิบัติหน้าที ่ในทุกตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย ประสบ

ความสำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี ประกอบกับอุปนิสัยส่วนตัวเป็นผู้ที่

มีอารมณ์ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ให้ความ

สำคัญและห่วงใยผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม

ทำให้ได้รับความไว้วางใจและยอมรับจากผู้บังคับบัญชา เป็นที ่รัก

และเคารพของผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนได้รับไมตรีจิตจากบุคคล

อื่นที่มีโอกาสได้รู้จักหรือร่วมงานกันเสมอมา นับต่อจากนี้

เส้นทางการรับราชการของ พลอากาศเอก ปรเมศร์ เกษโกวิท

รองปลัดกระทรวงกลาโหม ถึงเวลาต้องอำลาชีวิตราชการไปตาม

วาระเกษียณอายุ เกียรติภูมิและคุณงามความดี ตลอดจนผลงานต่างๆ

ที่ท่านได้กระทำจารึกไว้ จะยังคงปรากฏเป็นเกียรติประวัติ เป็นแบบอย่าง

ที่ดีให้กับข้าราชการทหารรุ่นหลังสืบไป

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

7


เกียรติประวัติ

พลเอก นภนต์ สร้างสมวงษ์

รองปลัดกระทรวงกลาโหม

(ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓)

เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

เชิญปรัชญา จอมไผท ไว้รังสรร

ชายแดนใต้ คืนความสุข ทุกคืนวัน ด้วยจำนรรจ์ สันติสุข ทุกเขตคาม

สร้างระบบ อาวุธ สุดทันสมัย กิจวิจัย พัฒนา น่าเกรงขาม

เสริมเขี้ยวเล็บ ทหารไทย ให้ทุกยาม จนครั่นคร้าม ทั่วพิภพ จบสากล

ทัพยานยนต์ สานหมู่มวล สวนสนาม สร้างนิยาม หลักนิยม ชื่นชมผล

ร่วมปฏิญาณ ต่อธงไชย เฉลิมพล เกียรติสูงล้น ทุกเหล่าย้ำ เจตน์จำนง

รองปลัดฯ กลาโหม ประโคมศักดิ์ ร่วมพิทักษ์ เกียรติศรี ที่ประสงค์

คือ พลเอก นภนต์ สร้างสมวงษ์ ผู้ดำรง ฤทธาการ ทหารไทย

8


หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

ลเอก นภนต์ สร้างสมวงษ์ เกิดวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๐๓

เป็นบุตร พลเอก ทวีสิทธิ์ กับ พันตำรวจเอกหญิง ปองทิพย์

สร้างสมวงษ์ สมรสกับ พลตรีหญิง จิรดา สร้างสมวงษ์ มีบุตรี ๒ คน

คือ พันตรีหญิง จรรยวรรธน์ และนางสาวนัทชนันธ์ สร้างสมวงษ์

ประวัติการศึกษา

- โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

- โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๐

- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๓๑

- หลักสูตรชั้นนายร้อยทหารราบ รุ่นที่ ๗๔

- หลักสูตรชั้นนายพันทหารราบ รุ่นที่ ๕๓

- โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ ๗๑

- หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๖

- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย

รามคำแหง

ตำแหน่งที่สำคัญ

- พ.ศ.๒๕๒๗ ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา

กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์

- พ.ศ.๒๕๓๐ ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ ๓

กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์

- พ.ศ.๒๕๓๔ ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ ๑

กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์

- พ.ศ.๒๕๓๖ อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

- พ.ศ.๒๕๓๙ รองเสนาธิการ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็ก

รักษาพระองค์

- พ.ศ.๒๕๔๔ เสนาธิการ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์

- พ.ศ.๒๕๔๗ รองผู้บังคับการ กรมทหารราบที่ ๒

รักษาพระองค์

- พ.ศ.๒๕๔๙ ผู้อำนวยการกองข่าว กองทัพน้อยที่ ๑

- พ.ศ.๒๕๕๒ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหม

- พ.ศ.๒๕๕๓ หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม

- พ.ศ.๒๕๕๔ เสนาธิการกรมการอุตสาหกรรมทหาร

- พ.ศ.๒๕๕๕ รองผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

- พ.ศ.๒๕๕๗ ผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

- พ.ศ.๒๕๖๐ ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศและพลังงานทหาร

- พ.ศ.๒๕๖๒ รองปลัดกระทรวงกลาโหม

ประวัติการรับราชการที่สำคัญ

๑. ปี พ.ศ.๒๕๔๗ – ๒๕๔๙ กองทัพบกให้กองทัพภาคที่ ๑

จัดกำลัง ๓ กองพันทหารราบ ปฏิบัติงานในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดน

ภาคใต้ หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ (ฉก.๓๕)

รับผิดชอบในพื ้นที่อำเภอสุคิริน อำเภอแว้ง และอำเภอระแงะ

9


จังหวัดนราธิวาส ในฐานะที่ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการหน่วย

เฉพาะกิจที่ ๓๕ รับคำสั่งจากผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจที่ ๓๕ คือ

พันเอก ธีรชัย นาควานิช ให้ใช้แนวทางการเมืองนำการทหาร

ในบางพื้นที่ และบางพื้นที่ใช้การทหารนำการเมือง ในพื้นที่ที่ใช้การเมือง

นำการทหารได้ใช้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเข้าใจ

เข้าถึง พัฒนา ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เข้าปฏิบัติให้การ

คุ้มครอง ดูแลช่วยเหลือประชาชนจนเป็นที่ยอมรับแก่ผู้นำท้องถิ่น

และประชาชนในพื้นที่ทั้ง ๓ อำเภอที่รับผิดชอบ สำหรับในพื้นที่ที่

ใช้การทหารนำการเมือง ได้ใช้การเจรจากับผู้ปกครองครอบครัว และ

ผู้นำท้องถิ่นของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ และใช้วิธีการเฝ้าติดตามและ

กดดันทุกขั้นเวลา และตอบโต้ทางยุทธวิธีอย่างรุนแรงในกรณีมีการ

ทำร้าย พระ ครู เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนผู้บริสุทธิ์ จนมีผู้มาแสดง

ตน มามอบตัวเป็นจำนวนมาก ทั้งในอำเภอสุคิริน อำเภอแว้ง และ

อำเภอระแงะ

๒. ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ

ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การ

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ได้เล็งเห็นว่า

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ เป็นหน่วยที่มีความพร้อมทั้งกำลังพล

อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ จึงมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะ

พัฒนาให้เป็นหน่วยต้นแบบในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

เมื่อรับหน้าที่จึงได้เริ่มทำการพัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่พัฒนา

ด้านสวัสดิการ พัฒนาด้านการฝึก พัฒนาด้านขีดความสามารถและความรู้

ของกำลังพล รวมทั้งคำนึงถึงภารกิจหลักของหน่วย คือ วิจัย พัฒนา

ปรับปรุง ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ สนับสนุนเหล่าทัพอย่างต่อเนื่อง

10

๒.๑ ด้านการพัฒนา ปรับปรุงอาคารกองบัญชาการ ห้อง

ประชุม ห้องทำงานของส่วนต่าง ๆ ภูมิทัศน์โดยรอบของหน่วยให้มี

ความสวยและสง่างาม จัดสร้างห้องพักผ่อน (ร้านกาแฟ) ห้องพิธีการ

ห้องรับประทานอาหาร ห้องตัดผม และหน่วยตรวจโรค โดยยึดถือ

แนวทาง ๕ส เป็นหลัก จนได้รับรางวัลจากปลัดกระทรวงกลาโหม

ในโอกาสวันสถาปนา ๑๒๙ ปี กระทรวงกลาโหม ปี พ.ศ.๒๕๕๙

ในการตรวจ ๕ส ของคณะกรรมการจากสำนักงานตรวจสอบภายใน

กลาโหม ทั้ง ๓ รางวัล คือ อาคารสถานที่ทำงาน บ้านพัก และโรงงาน

ในปี พ.ศ.๒๕๕๙

๒.๒ ด้านการฝึก ให้มีการเดินทางไกล และยิงปืนประจำปี

จัดกำลังพลเข้าร่วมเดินสวนสนามในวันกองทัพไทย เพื่อถวายสัตย์

ปฏิญาณต่อธงไชยเฉลิมพลร่วมกับหน่วยทหารของกองทัพบก ริเริ่ม

ให้มีการจัดพิธีสวนสนามด้วยขบวนยานยนต์ โดยใช้ยุทโธปกรณ์ที่

หน่วยประกอบและผลิตเอง เข้าทำการสวนสนามในโอกาสพิธี

เชิดชูเกียรติปลัดกระทรวงกลาโหมที่เกษียณอายุราชการ


๒.๓ ในด้านการพัฒนายุทโธปกรณ์ ซึ่งเป็นภารกิจหลัก

ของศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ได้มุ่งเน้นให้มีการวิจัย พัฒนา

ปรับปรุงยุทโธปกรณ์ให้มีความทันสมัยทัดเทียมกับนานา

อารยประเทศ โดยเน้นถึงประสิทธิภาพ คุณภาพ มาตรฐาน NATO

เป็นประการสำคัญ และงานวิจัยเป็นไปตามความต้องการของหน่วยใช้

และต้องเข้าสู่สายการผลิตให้ได้ รวมทั้งมุ่งเดินตามนโยบายรัฐบาล

ให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ลำดับที่ ๑๑ ซึ่งมีงานวิจัยที่ทำร่วมกับภาคเอกชนทั้งในประเทศ

และต่างประเทศเข้าสู่สายการผลิต เช่น

๒.๓.๑ วิจัยพัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๑๒๐

มิลลิเมตร แบบอัตตาจร ร่วมกับประเทศอิสราเอล และได้ให้นักวิจัย

ของศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ คือ พันเอก นักรบ วานิชนุเคราะห์

วิจัยเครื่องรับแรงของเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด ๘๑ มิลลิเมตร และ

๑๒๐ มิลลิเมตร และ พันเอก สัญญา แสนทนันชัย วิจัยระบบอำนวยการ

ยิงอัตโนมัติและระบบเข้าที่ตั้งยิงอัตโนมัติ เพื่อที่จะผลิตเครื่องยิง

ลูกระเบิดแบบอัตตาจรเองในอนาคตทั้งระบบ โดยจัดหาเฉพาะ

รถรองปืนเพียงอย่างเดียว

๒.๓.๒ ให้ พลตรี ประสิทธิ์ สุขวงศ์ วิจัยชนวนหัว

ของลูกระเบิดยิงร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งผ่านคณะกรรมการมาตรฐาน

ยุทโธปกรณ์กลาโหมแล้ว และเข้าสู่สายการผลิตใช้งาน อีกทั้ง

ยังมีแผนที่จะวิจัยชนวนหัวของกระสุนปืนใหญ่ ซึ่งอยู่ในระหว่าง

ดำเนินการ

๓. ในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศและพลังงานทหาร และรองปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ทำ

หน้าที่ในฐานะฝ่ายกิจการพิเศษของปลัดกระทรวงกลาโหม และ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยได้ใช้ประสบการณ์ในการ

ศึกษาดูงานในต่างประเทศที่ผ่านมา ให้ข้อเสนอแนะปลัดกระทรวง

กลาโหม พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ในการจัดงาน Defense &

Security 2019 ในพิธีเปิดงานให้แตกต่างจากในอดีตที่ผ่านมา

ในรูปแบบการนำยุทโธปกรณ์ที่ผลิตในประเทศ ทั้งจากในส่วนของ

โรงงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม และส่วนภาคเอกชน มาทำการ

สาธิตร่วมกับการปฏิบัติการสาธิตทางทหารของกองทัพไทย เพื่อให้

ผู้นำประเทศ รัฐมนตรี และผู้นำกองทัพต่างประเทศที่มาร่วมประชุม

ASEAN SUMMIT ในห้วง ๑๗ - ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ได้เห็นถึง

ศักยภาพของกองทัพไทย อีกทั้งเป็นการเปิดตัวอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศของประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากนั้นแล้ว ยังได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยีกลาโหม และศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธร่วมกับบริษัท

เอกชน ทำการวิจัยปืนเล็กยาว ขนาด ๕.๕๖ มิลลิเมตร ทั้งแบบไรเฟิล

จู่โจม ลำกล้อง ๑๔.๕ นิ้ว และขนาดมาตรฐาน ลำกล้อง ๒๐ นิ้ว และ

ปืนพกขนาด ๙ มิลลิเมตร เพื่อเข้าสู่สายการผลิต และใช้ในหน่วยงาน

ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมต่อไปในอนาคตอีกด้วย

ร่วมใจ ริเริ่ม พัฒนา

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

11


เกียรติประวัติ

พลเอก กู้เกียรติ ศรีนาคา

รองปลัดกระทรวงกลาโหม

(ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓)

ผู้นำหน่วย ทหารราบ ยานเกราะ กิจเฉพาะ ประจัญหน้า แนวข้าศึก

ทั่วชายแดน ฟันฝ่า ปัจนึก ผู้หาญฮึก พิทักษ์ถิ่น แผ่นดินทอง

จิตซื่อสัตย์ จงรัก และภักดี ราชพลี น้อมใจกาย ถวายสนอง

เทิดราชัน ด้วยเศียรเกล้า เฝ้าประคอง พร้อมปกป้อง ด้วยชีวิต และจิตใจ

เสริมนิติ บัญญัติ วิวัฒน์ชาติ ให้สามารถ เผชิญหน้า ปัญหาใหญ่

สร้างรากฐาน ปึกแผ่น ถิ่นแดนไทย ความเกรียงไกร หยัดยืน ฟื้นพสุธา

คือต้นแบบ นายทหาร เชี่ยวชาญกิจ ผู้ลิขิต ความมั่นคง ทรงคุณค่า

คือ พลเอก กู้เกียรติ ศรีนาคา นักรบกล้า บูรพาพยัคฆ์ พิทักษ์อรัญ

12


ลเอก กู้เกียรติ ศรีนาคา เกิดเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๐๓

ด้านการศึกษา ท่านสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา

จากโรงเรียนหัวหินวิทยาลัย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากนั้น

สอบเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๐ และนักเรียนนายร้อย

พระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๓๑ ต่อจากนั้น เข้ารับราชการและเข้ารับ

การศึกษาในหลักสูตรตามแนวทางการรับราชการ อาทิ โรงเรียน

เสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ ๗๑ วิทยาลัย

เสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๔๘ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๗

และสำเร็จการศึกษาปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยบูรพา หลักสูตรกรรมการสมาคมส่งเสริมสถาบัน

กรรมการ บริษัทไทย และหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการ

พลังงาน รุ่นที่ ๑๕

ด้านการรับราชการ หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน

นายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปี ๒๕๒๖ ท่านได้บรรจุเข้ารับราชการ

ในเหล่าทหารราบ ตำแหน่งผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา

กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ อำเภอ

อรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี และปฏิบัติหน้าที่ส่วนใหญ่อยู่ใน

สนามรบ ในภารกิจป้องกันประเทศ บริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา

พื้นที่ของกองกำลังบูรพา โดยต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ใต้บังคับบัญชา

โดยตลอด เป็นเวลากว่า ๓๐ ปี โดยชีวิตการรับราชการเจริญก้าวหน้า

มาโดยตลอด ตั้งแต่ผู้บังคับกองร้อยทหารราบยานเกราะคนแรก

ผู้บังคับกองพันทหารราบยานเกราะ ๒ กองพัน และในขณะที่ท่าน

ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์

ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ณ หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส ในพื้นที่๓ จังหวัด

ชายแดนภาคใต้ รวมถึงการรักษาความสงบเรียบร้อยในเขต

กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ในปี ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๓ จนกระทั่ง

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

13


ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ และ

ผู้บัญชาการกองกำลังบูรพา หัวหน้าสำนักงานประสานงานชายแดน

ไทย - กัมพูชา ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ ๑ ต่อจากนั้นท่านได้

ดำรงตำแหน่งแม่ทัพน้อยที่ ๑ แม่ทัพภาคที่ ๑ และขณะที่ดำรง

ตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ ๑ ท่านมีความภาคภูมิใจและเป็นเกียรติ

กับวงศ์ตระกูล ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการฝ่ายรักษา

ความปลอดภัยและการจราจร และคณะกรรมการฝ่ายจัดขบวน

พระบรมราชอิสริยยศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

บรมนาถบพิตร อย่างสมพระเกียรติ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต จงรักภักดี

เป็นอย่างยิ่ง

ดังหลักในการปฏิบัติงาน ที่ท่านยึดถือมาตลอดชีวิตรับ

ราชการ คือ “ซื่อสัตย์ จงรักภักดี” ต่อจากนั้นได้

ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ.

๒๕๖๑ จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ ท่าน

ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ให้รับราชการในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม

จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดในชีวิต

รับราชการ โดยตลอดระยะเวลา ๑ ปี ในตำแหน่ง

รองปลัดกระทรวงกลาโหม ท่านได้ทำหน้าที่ในฐานะ

ฝ่ายกิจการพิเศษของปลัดกระทรวงกลาโหม โดยได้

ใช้ประสบการณ์การเป็นผู้บังคับหน่วยที่รับผิดชอบ

งานการฝึกกับมิตรประเทศ และงานถวายความ

ปลอดภัยแก่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ตลอด

๓๐ ปี ท่านให้ข้อเสนอแนะปลัดกระทรวงกลาโหม

ในการจัดงาน Defense & Security 2019 ในฐานะ

ประธานอนุกรรมการด้านรักษาความปลอดภัยผู้นำ

ประเทศ รัฐมนตรี และผู้นำกองทัพต่างประเทศ ที่มา

ร่วมประชุม Asean Summit ได้เห็นศักยภาพ

ของกองทัพไทย จนได้รับการชื่นชม ประสบความสำเร็จ

สำหรับงานด้านการส่งกำลังบำรุงที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ

จัดจ้างของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ท่านได้รับมอบอำนาจ

จากปลัดกระทรวงกลาโหม ดำเนินงานที่สำคัญ คือ งานการลงนาม

ในสัญญาที่สำคัญ ประจำปี ๒๕๖๓ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการ

พัฒนาศักยภาพของกำลังพล เพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยพัฒนา

ยุทโธปกรณ์ให้นำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และ

เสริมสร้างความมั่นคงทางทหารของประเทศอย่างยั่งยืน อาทิ

๑. การลงนามในสัญญาจ้างโครงการดำรงขีดความสามารถ

และเพิ่มประสิทธิภาพโรงงานของศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ

๒. การลงนามในสัญญาซื้อวัสดุอุปกรณ์พร้อมติดตั้งและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยี สำหรับโครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ ขนาด

๑๕๕ มิลลิเมตร แบบอัตตาจรล้อยาง เพื่อสนับสนุนเหล่าทัพ

14


หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

นอกจากนั้น ท่านยังต้องรับบทบาทหน้าที่ที่สำคัญอีกประการ

หนึ่งคือ การเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสมาชิกสภา

กลาโหม อีกด้วย และนอกจากงานราชการแล้ว ท่านยังได้รับความ

ไว้วางใจให้ทำงานพิเศษอื่นๆ อีก อาทิ เป็นคณะกรรมการอำนวยการ

การยาสูบแห่งประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร

สมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาประธาน

คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการอิสระ/กรรมการ

กำกับดูแลกิจการบริษัทไทยออยล์ จำกัด มหาชน กรรมการบริหาร

กองทุน ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง

กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

บนเส้นทางเริ่มต้นจากนักเรียนเตรียมทหารจนมาสู่ตำแหน่ง

รองปลัดกระทรวงกลาโหมนั้น ท่านได้แสดงให้เห็นถึงความเป็น

นายทหารที่มีอุดมการณ์ ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา และ

พระมหากษัตริย์ และเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่บนความวิริยะ อุตสาหะ

พร้อมที่จะอุทิศตนและเสียสละความสุขส่วนตัวในการปฏิบัติงาน

ที่ได้รับมอบหมาย ด้วยความทุ่มเทและยึดถือประโยชน์ส่วนรวม

และกองทัพมาตลอดชีวิตรับราชการ โดยได้ตั้งปณิธานในการ

รับราชการไว้ว่า “ผู้นำที่ดี ต้องมีคุณธรรม” เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชา

ปฏิบัติตาม จนได้รับการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้บังคับ

บัญชามาโดยตลอด ท่านจึงนับเป็นแบบอย่างที่ดี และควรค่าที่จะ

ได้รับการยกย่องเชิดชู และเป็นแบบอย่างให้อนุชนรุ่นหลัง และ

นายทหารรุ่นน้องสืบต่อไป

นาม พลเอก ท่านนี้ คือ กู้เกียรติ

วงศ์ ศรีนาคา เทิดไว้

รักชาติศาสน์ชูเชิด ชีพยิ่ง

เป็นราชองครักษ์ไท้ โปรดเกล้าถวายงาน

15


บทเทิดเกียรติ

พลเอก รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์

ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม

(ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓)

นายทหารเหล่า ปืนใหญ่ ใจมุ่งมั่น ผู้ฝ่าฟัน วิเทศกิจ ประสิทธิผล

ผู้ช่วยทูต ทหารไทย ในสากล เชื่อมใจชน ทูตทหาร สานไมตรี

งานมั่นคง พร้อมสรรพ์ ป้องกันชาติ ให้องอาจ ทุกปวงงาน ขานสุขี

สู้ COVID วิกฤตร้าย หายด้วยดี คุมพื้นที่ กักกันโรค ปัดโบกภัย

กิจการ พลเรือน ย้ำเตือนมิตร แนบสนิท กิจกรรม นำสดใส

ร่วมพัฒนา ประเทศ พิเศษนัย ร่วมน้ำใจ ร่วมนิยาม งดงามครัน

คือ ชายชาญ ทหารไทย ใฝ่มวลกิจ รังสฤษฎิ์ ประกิตงาน สมานฉันท์

คือ พลเอก รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์ ผู้รังสรร งานมวลชน ท้นทั่วไทย

ลเอก รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบาย

และแผนกลาโหม เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๐๓ ณ จังหวัด

กาญจนบุรี ด้านครอบครัว สมรสกับนางพุทธรักษา โรจน์พิมพ์พันธุ์

มีบุตรและธิดา ๒ คน คือ นางสาวพิชามญช์ โรจน์พิมพ์พันธุ์

และนายพศุตม์ โรจน์พิมพ์พันธุ์

ด้านการศึกษา

สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม

จังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นเข้าศึกษาต่อโรงเรียนเตรียมทหารและ

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โดยเป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่๒๐

และนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๓๑ ในขณะศึกษาที่

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าชั้นปีที่ ๑ สอบได้ทุนกองทัพบก

ไปศึกษาต่อ ณ โรงเรียนนายทหารบกเยอรมัน Offizierschule des

Heeres (OSH) จนสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขา

วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยทหาร เมืองมิวนิก สหพันธ์สาธารณรัฐ

เยอรมนี ระหว่างการรับราชการได้เข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโท

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา รวมถึงการศึกษา

ตามแนวทางรับราชการอีกหลายหลักสูตร เช่น หลักสูตรชั้นนายร้อย

เหล่าทหารปืนใหญ่ รุ่นที่ ๓๔ หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารปืนใหญ่

รุ่นที่ ๓๕ หลักสูตรหลักประจำโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ ๗๑

หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๖ และอบรม ณ

ต่างประเทศ ในหลักสูตรการบริหารทรัพยากรด้านความมั่นคง

เพื่อการป้องกันประเทศ (IDMC) เมือง Monterey สหรัฐอเมริกา

ด้านชีวิตรับราชการ

เริ่มต้นรับราชการในกองทัพบกปี ๒๕๒๖ ในตำแหน่งอาจารย์

โรงเรียนทหารปืนใหญ่ ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จากนั้นในปี ๒๕๓๓

ได้ดำรงตำแหน่งนายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กองพันทหารปืนใหญ่

ที่ ๗๑๑ จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

ชุดที่ ๗๑ ในปี ๒๕๓๖ และได้รับราชการที่กรมข่าวทหารบก ได้มี

โอกาสในการทำงานด้านการต่างประเทศและปฏิบัติราชการพิเศษใน

ตำแหน่งหัวหน้านายทหารติดต่อในการประชุมสัมมนาการบริหารงาน

กองทัพบกภาคพื้นแปซิฟิก (Pacific Armies Management Seminars:

PAMS) โดยสหรัฐอเมริกาได้มอบเหรียญอิสริยาภรณ์เชิดชูเกียรติ

16


The Army Commendation Medal จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

ในปี ๒๕๓๗ ได้รับคัดเลือกให้ไปปฏิบัติหน้าที่ของสหประชาชาติ

ในตำแหน่งนายทหารสังเกตการณ์ชายแดนอิรัก-คูเวต (UNIKOM)

ต่อมาได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ คือ ผู้ช่วยทูต

ฝ่ายทหารบกไทย ปฏิบัติหน้าที่รองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารไทย ประจำ

สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว และผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก

ไทย ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารไทย ประจำสถานเอกอัครราชทูต

ไทย ณ กรุงปารีส มีเขตอาณาครอบคลุมถึงกรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส

และกรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม จากการปฏิบัติหน้าที่ใน

ฐานะผู้แทนทางทหารของประเทศในครั้งนี้สาธารณรัฐฝรั่งเศสได้มอบ

เหรียญอิสริยาภรณ์เชิดชูเกียรติ The National Order of Merit,

Chevalier เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ปฏิบัติหน้ าที่ด้วยความมุ่งมั่นและเป็น

ผลดีต่อความสัมพันธ์ทางทหารของทั้งสองประเทศ

ต่อมาในปี ๒๕๕๑ ได้มารับราชการที่สำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหมในตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่ง อาทิ ผู้อำนวยการกอง

พิธีการ สำนักงานวิเทศสัมพันธ์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม

รองผู้อำนวยการสำนักงานวิเทศสัมพันธ์สำนักนโยบายและแผนกลาโหม

ผู้อำนวยการสำนักงานวิเทศสัมพันธ์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม

ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการพลเรือน สำนักนโยบายและแผนกลาโหม

ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม ผู้อำนวยการ

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม ก่อนได้รับพระมหากรุณาธิคุณ

โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักนโยบาย

และแผนกลาโหมในปี ๖๑ โดยในระหว่างรับราชการที่สำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการพิเศษ ได้แก่ นายทหาร

พิเศษประจำกรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อย

พระจุลจอมเกล้า ตุลาการศาลทหารกลาง และราชองครักษ์เวร

นอกจากนี้ ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาสภาความมั่นคง

แห่งชาติด้านการเตรียมพร้อมและการป้องกันประเทศ เพื่อทำหน้าที่

ในการติดตาม ประเมิน วิเคราะห์สถานการณ์อันเป็นภัยคุกคาม

ต่อความมั่นคงของชาติ จนในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของ

โรค COVID-19 ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการ

ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ บริหารจัดการ

และกำกับดูแลพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) และพื้นที่

กักกันโรคแห่งรัฐทางเลือก (Alternative State Quarantine)

ของกระทรวงกลาโหม

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

17


เกียรติประวัติ

พลเอก ธนิส พิพิธวณิชการ

ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

(ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓)

ยอดบุรุษ ชาติชายชาญ ทหารม้า นักกีฬา เปี่ยมทักษะ ทุกสนาม

ยามแข่งขัน ท่วงทีท่า สง่างาม เลื่องลือนาม ความสามารถ ทีมชาติไทย

ยุทธศาสตร์ ยุทธการ ผ่านครันครบ อีกเจนจบ วิชาการ สานกิจใหญ่

ความโดดเด่น กล่าวขาน งานวิจัย จารึกไว้ เกียรติยศ ปรากฏมี

ซื่อสัตย์ ปฏิบัติ ตามคำสั่ง มิหยุดยั้ง ตรงเวลา รักษ์หน้าที่

ขับเคลื่อนกิจ อุตสาหกรรม นำวิธี เทคโนโลยี เพิ่มความหวัง พลังงาน

ก่อนิคม อุตสาหกรรม ป้องกันประเทศ พร้อมป้องเหตุ มิคาดคิด กิจทหาร

พลเอก ธนิส พิพิธวณิชการ ผู้เชี่ยวชาญ งานเพื่อชาติ องอาจจริง

Services University of Exeter UK เกียรตินิยม และปริญญาเอก

Ph.D. Business Administration, NIDA Business School ปัจจุบัน

ทำงานในตำแหน่ง Business Research Manager ที่ Asset World

Corporation และนางสาวธนัญญา พิพิธวณิชการ สำเร็จการศึกษา

ปริญญาตรีจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เกียรตินิยมอันดับ ๑ เหรียญทอง ปัจจุบัน เป็นผู้ประกาศข่าว และ

จัดรายการของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

ด้านการศึกษา สำเร็จการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลายจาก

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดราชบุรี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๒ ได้เข้า

เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๐ และศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อย

พระจุลจอมเกล้า (รร.จปร.) รุ่นที่ ๓๑ ในระหว่างการศึกษาด้วยความ

รักในด้านกีฬาได้เข้าร่วมเป็นนักรักบี้ฟุตบอลของทีม รร.จปร. และ

กองทัพบก ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จึงได้รับการคัดเลือก

เป็นนักรักบี้ทีมชาติ ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ หลังสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.

๒๕๒๗ พลเอก ธนิส ได้เลือกรับราชการใน “เหล่าทหารม้า”

หลังจากนั้นได้เข้ารับการศึกษาในหลักสูตรตามแนวทางรับราชการ

และหลักสูตรอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ หลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารม้า

รุ่นที่ ๒/๒๙ หลักสูตรชั้นนายพันเหล่าทหารม้า รุ่นที่ ๑/๓๓ โรงเรียน

เสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ ๗๑ ปริญญาโท

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

และวิทยาลัยเสนาธิการทหาร หลักสูตรเสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๔๔

ประวัติการทำงานและตำแหน่งราชการที่สำคัญ ปฏิบัติหน้าที่

ผู้บังคับกองร้อยทหารม้า กองพันทหารม้าที่ ๒๒ นายทหารฝ่าย

ยุทธการและการฝึก กองพันทหารม้าที่ ๒๒ อาจารย์โรงเรียนทหารม้า

ศูนย์การทหารม้า หัวหน้ากองส่วนวิจัย และพัฒนายุทธศาสตร์สถาบัน

วิชาการทหารบกชั้นสูง ณ สถาบันแห่งนี้ พลเอก ธนิส ได้ริเริ่มจัดทำ

โครงการวิจัยเรื่องการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ซึ่งผลงานดังกล่าว

ได้รับการคัดเลือกให้รับรางวัล นักวิจัยดีเด่นด้านหลักนิยม ประจำปี

พลเอก ธนิส พิพิธวณิชการ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๐๒

ที่จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรคนแรก ของนายสิระ และ

นางนงลักษณ์ พิพิธวณิชการ ด้านครอบครัว สมรสกับ นางกาญจนา

พิพิธวณิชการ (สกุลเดิม ตันตระวาณิชย์) มีบุตรด้วยกัน ๒ คน คือ

ดร.ธนิกาญจน์ พิพิธวณิชการ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เกียรตินิยมอันดับ ๒ ปริญญาโท M.Sc. Marketing and Financial

18


๒๕๕๐ ของกองทัพบก และตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นต้นมา ได้รับ

พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับราชการ ตามลำดับ

ดังนี้ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา สำนักงานผู้บังคับ

บัญชากองทัพบก (อัตรา พลตรี) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท) หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก) และปี พ.ศ.๒๕๖๒

รับราชการในตำแหน่ง “ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศและพลังงานทหาร” จนถึงปัจจุบัน

ราชการพิเศษ ปี ๒๕๒๒ – ๒๕๓๓ เป็นตุลาการศาลทหาร

กรุงเทพ ปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๙ เป็นตุลาการศาลทหารกลาง ปี ๒๕๔๕

– ๒๕๕๘ ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคง

ภายในราชอาณาจักรและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

ภาค ๔ ส่วนหน้า ปี ๒๕๔๗ เป็นคณะอนุกรรมการรักษาผลประโยชน์

แห่งชาติ ในคณะกรรมการความมั่นคง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๖ เป็นเจ้าหน้าที่ในคณะรักษาความสงบเรียบร้อย

แห่งชาติ ปี ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ เป็นผู้เชี ่ยวชาญประจำสมาชิกสภา

นิติบัญญัติแห่งชาติ ปี ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ ปฏิบัติหน้าที่ในคณะพูดคุย

เพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐

เป็น “เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน” (พลเอก ศิริชัย

ดิษฐกุล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน)

ด้วยความรู้ความสามารถ เป็นนักคิด นักพัฒนา และทุ่มเท

ให้กับงานราชการ พลเอก ธนิส จึงได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา

ให้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญๆ ซึ่งล้วนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

โดยยึดคติประจำใจที่ว่า “ซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามคำสั่ง ตรงต่อเวลา รักษา

หน้าที่” และเมื่อรับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศและพลังงานทหาร ได้ขับเคลื่อนงานอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศตอบสนองนโยบายรัฐบาล “Thailand 4.0” ที่ต้องการให้

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็น “อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ ๑๑

(S-Curve 11)” ที่จะนำพาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

กับเป้าหมายอื่นๆ ด้วยการปรับปรุงแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนา

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ.๒๕๖๓

- ๒๕๘๐) การพัฒนาเงินทุนหมุนเวียนที่รับผิดชอบทั้ง ๕ กองทุน

(เงินทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โรงงานแบตเตอรี่ทหาร

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ โรงงานวัตถุระเบิดทหาร และโรงงาน

เภสัชกรรมทหาร) ให้เกิดประสิทธิภาพ การริเริ่มจัดตั้งศูนย์บูรณาการ

ด้านข้อมูลอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การลงนามความร่วมมือด้าน

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศกับสาธารณรัฐประชาชนจีน การขาย

กระสุนปืนให้กับสาธารณรัฐสิงคโปร์ และการดำเนินการจัดตั้ง “นิคม

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ” ซึ่งอยู่ระหว่างการบูรณาการกับ

ทุกภาคส่วนโดยร่วมกันพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินการ

เพื่อให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากงานภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมายแล้ว พลเอก ธนิส

ยังได้ดำเนินงานด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและสังคม อาทิ

การบูรณาการส่งเสริมโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ผ่าน

แผนงานฟื้นฟูพัฒนาลำน้ำ คูคลอง (คลองบ้านเก่า) ปรับปรุงภูมิทัศน์

ในพื้นที่ “สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์” และถนนเฉลิมพระเกียรติ

(ถนนศรีสมาน) การสนับสนุนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ

เชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ การดำเนินกิจกรรม Corporate Social

Responsibility (CSR) และการพัฒนาด้านสวัสดิการกำลังพล เพื่อให้

กำลังพลมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีโดยยึดหลัก “กำลังพลทุกนาย

ต้องกินดี อยู่ดี มีความสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน”

จากเด็กบ้านนอก สู่ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร พร้อมด้วยผลงานที่เป็นประโยชน์

ต่อกระทรวงกลาโหมและประเทศชาติมากมาย ดังที่กล่าวมาแล้ว

นับควรค่าแก่การจารึกให้อนุชนรุ่นหลังได้นำไปเป็นแบบฉบับต่อไป...

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

“หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน”...

19


เกียรติประวัติ

พลเอก อนุชิต อินทรทัต

จเรทหารทั่วไป

(ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓)

หลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

ท่านได้บรรจุเข้ารับราชการในเหล่าทหารราบ ตำแหน่งผู้บังคับหมวด

ปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๒๕

อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยท่านได้ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ใน

สนาม ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศ ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับ

ผู้ใต้บังคับบัญชาในพื้นที่ภาคใต้มาโดยตลอด

ในระหว่างที่ท่านปฏิบัติภารกิจอยู่ในสนามในตำแหน่งผู้บังคับ

กองร้อยทหารราบ และผู้บังคับหน่วยสันตินิมิตร ท่านได้มีโอกาสไป

ศึกษาต่อในหลักสูตรการข่าวกรองทางทหาร ณ โรงเรียนทหารการข่าว

เครือรัฐออสเตรเลีย และหลักสูตรจู่โจมส่งทางอากาศ ผู้ปล่อย

นักกระโดดร่มและผู้นำอากาศยานหน้า ณ โรงเรียนทหารราบ

ศูนย์การทหารราบ ประเทศสหรัฐอเมริกา

หลังจากนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยทหารราบ

ที่๔๒๕๓ นำกำลังเข้าปราบปรามโจรจีนคอมมิวนิสต์มาลายา ในยุทธการ

ทักษิณ ๘๗๐๑ อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส จนสามารถนำกำลัง

เข้ายึดฐานที ่มั่นข้าศึกได้เป็นผลสำเร็จ และได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่าย

อำนวยการของกองพันต่อมา จนเข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

และหลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

ท่านได้เข้ารับราชการที่กรมกิจการพลเรือนทหารบก กองทัพภาคที่ ๑

และสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตามลำดับ

ยอดนักรบ ปกปัก พิทักษ์ไทย ชายแดนใต้ ป้องกัน รังสรรค่า

หน่วยสันตินิมิตร กิจนำพา เพื่อประชา พ้นภัย ใต้ร่มเย็น

ยุทธการ เลื่องลือแคว้น แดนทักษิณ สุคิริน กล่าวขาน งานโดดเด่น

ปราบโจรจีน มาลายา พาลำเค็ญ ให้กลับเป็น รอยยิ้ม ปริ่มไมตรี

ปกครองหน่วย กรมการเงิน สรรเสริญงาน งบประมาณ ฐานแนวทาง สร้างหน้าที่

จเรทหารทั่วไป ภูมิใจมี นำศักดิ์ศรี เกียรติก้อง ฟ่องฟ้าไทย

คือ พลเอก อนุชิต อินทรทัต

เกียรติประวัติ ฝ่ายอำนวยการ ขานยิ่งใหญ่

ผู้มุ่งมั่น ป้องแดนดิน ถิ่นไผท จารึกไว้ คงอยู่ คู่แผ่นดิน

ลเอก อนุชิต อินทรทัต เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๓

ณ บ้านพักนายทหาร ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัด

ลพบุรีสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดราชาธิวาส

กรุงเทพมหานคร และเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๑๙

และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๓๐ โรงเรียนเสนาธิการ

ทหารบก หลักสูตรหลักประจำชุดที่ ๗๐ หลักสูตรวิทยาลัยป้องกัน

ราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๗ หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหลักสูตรนักบริหารการเงินการคลัง

ภาครัฐระดับสูง รุ่นที่ ๓ กรมบัญชีกลาง

20


จากความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ขยันหมั่นเพียรและรับผิดชอบ

ต่อหน้าที่ในการทำงานเพื่อประเทศชาติท่านจึงได้รับความไว้วางใจจาก

ผู้บังคับบัญชาให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ อาทิ เจ้ากรมการเงินกลาโหม

และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม และเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม

พ.ศ.๒๕๖๒ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้

ดำรงตำแหน่ง จเรทหารทั่วไป ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีอัตราสูงสุดทางทหาร

และสมาชิกสภากลาโหม ถือเป็นเกียรติประวัติอย่างยิ่งแก่วงศ์ตระกูล

ความภาคภูมิใจในชีวิตรับราชการทหาร นอกจากผลงาน

ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ท่านมีความภาคภูมิใจที่ได้รับพระบรมราชโองการ

โปรดเกล้าฯ เป็นราชองครักษ์เวรในรัชกาลที่ ๙ และนายทหาร

ราชองครักษ์ในรัชกาลที่ ๑๐

ในด้านชีวิตครอบครัว ท่านได้สมรสกับ นางทัศนียา อินทรทัต

มีธิดา ๒ คน คือ นางสาวพิมแพร อินทรทัต อยู่ระหว่างการศึกษา

ในคณะนิติศาสตร์ สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชั้นปีที่ ๓ และ นางสาวพิมดาว อินทรทัต อยู่ระหว่างการศึกษา

ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ ๑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตลอดชีวิตรับราชการของท่าน ท่านได้ทุ่มเทขีดความสามารถ

อย่างเต็มกำลัง ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ มีความเสียสละ และซื่อสัตย์

สุจริต ท่านยึดมั่นในความเป็นทหารอาชีพที่ยึดถือเกียรติยศ เกียรติศักดิ์

มีอุดมการณ์ ในการที่จะปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

และประชาชน จึงถือได้ว่า พลเอก อนุชิต อินทรทัต เป็นบุคคล

ที่ควรค่าแก่การยกย่องให้เป็นเกียรติประวัติสืบไป

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

21


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระมหากษัตริย์นักพัฒนาผู้ทรงเป็นต้นแบบ

ของการบริหารจัดการสมัยใหม่ (ตอนที ่ ๑๔)

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

การพัฒนาดินแดนตามพระราชดำริที่สำคัญอีกโครงการหนึ่งคือ การปลูกหญ้าแฝกป้องกัน

การเสื่อมโทรมและพังทลายของดิน เพราะการชะล้างพังทลายของดินก่อให้เกิดการ

สูญเสียหน้าดิน ที่ประกอบด้วยสารอาหารที่สะสมในดิน รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาและสาเหตุทรงศึกษาศักยภาพของ

หญ้าแฝกซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลาย

ของดิน อนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดินไว้ วิธีการปลูกใช้เทคโนโลยีง่ายๆ เกษตรกรสามารถดำเนินการ

ได้เองโดยมิต้องดูแลการปลูกและเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิดและทฤษฎีการใช้หญ้าแฝกให้มี

ประสิทธิภาพสูงสุดตามลักษณะและสภาพภูมิประเทศ เช่น ปลูกเป็นแถวตามระดับขวาง

แก้ปัญหาดินที่เป็นร่องลึกพังทลาย ปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน เพื่ออนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน

มีประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ นอกจากแก้ปัญหาการพังทลายของ

ดิน ทำให้แหล่งน้ำสะอาด เช่น ปลูกเป็นแนวตามคลองส่งน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง จะช่วยดัก

ตะกอนดินและกรองขยะมูลฝอยมิให้ลงสู่แม่น้ำลำคลองได้ นอกจากนี้ ใบและต้นของหญ้าแฝก

ยังเป็นอาหารสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก นำมาใช้มุงหลังคา ทำสมุนไพรและน้ำหอมได้ด้วย

22

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


การปลูกหญ้าแฝกตามพระราชดำริได้รับการยอมรับจาก

ธนาคารโลกว่า “ประเทศไทยทำได้ผลอย่างเต็มที่ และประสิทธิภาพ

ยอดเยี่ยม” เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๖ International

Erosion Control Association (IECA) มีมติให้ถวายรางวัล

The International Erosion Control Association’s lnter

national Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่

ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ

และเมื่อวันที่๓๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝก

เพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ

ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝกชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัล

สดุดีพระเกียรติคุณ (Award of Recognition) ในฐานะที ่ทรง

มุ่งในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกอนุรักษ์ดินและน้ ำซึ่งการ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

ดำเนินงานเรื่องหญ้าแฝกในประเทศไทย ได้นำตีพิมพ์เผยแพร่

พระเกียรติคุณออกไปทั่วโลก ทั้งนี้ประเทศไทยยังได้เกียรติให้

จัดการประชุมสัมมนาหญ้าแฝกนานาชาติที่จังหวัดเชียงราย

เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๙ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมหามงคลที่ทรงครองสิริราชสมบัติ

ครบ ๕๐ ปี

การจัดการทรัพยากรป่าไม้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความสำคัญ

ของป่าไม้อย่างยิ่ง ทรงห่วงใยผืนป่าที่ต้นไม้ลดน้อยลงเรื่อยๆ

ทรงค้นหาวิธีเพิ่มปริมาณป่าไม้ให้มากขึ้น มีพระราชดำริอนุรักษ์

ป่าไม้ด้วยการสร้างสำนึกให้รักป่าไม้ร่วมกัน มากกว่าวิธีใช้อำนาจ

บังคับ พระราชดำริเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๙ กำหนดให้ปลูกต้นไม้

ที่มีความแตกต่างกัน ๓ ชนิด คือ ไม้ผล ไม้โตเร็ว และไม้เศรษฐกิจ

เพื่อให้เกิดป่าไม้แบบผสมผสานและในชุมชนถือเป็นทฤษฎี

23


พัฒนาป่าไม้ว่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน

แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดินและรักษาต้นไม้

ด้วยตนเอง

พระราชดำริดังกล่าวเป็นปรัชญาในการพัฒนาป่าไม้จึงมีการ

ปลูกป่าขึ้นหลายลักษณะ เช่น ปลูกป่าทดแทน ปลูกป่าในที่สูง

ปลูกต้นไม้ที่ลำธาร หรือปลูกป่าธรรมชาติ การปลูกป่า ๓ อย่าง

ได้ประโยชน์ ๔ อย่าง มีพระราชดำรัสว่า

“...การปลูกป่า ๓ อย่าง แต่ให้ประโยชน์ ๔ อย่าง ซึ่งได้ไม้ผล

ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง ๔ อย่าง คือ

นอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่อแล้วยังสามารถให้ประโยชน์

อันที่ ๔ ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือสามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำ

ลำธารด้วย...”

พระราชดำรัสเพิ่มเติม อีกความหนึ่งว่า

24

“...การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ให้ใช้วิธี

ปลูกไม้ ๓ อย่าง แต่มีประโยชน์ ๔ อย่างคือ ไม่ใช้สอย ไม้กินได้

ไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทานปลูกรับซับน้ำ และปลูก

อุดช่วงไหล่ตามร่องห้อย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ ๔

คือ ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ...”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริในการพัฒนา

ป่าไม้หลายประการ เช่น สร้างภูเขาป่าอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลน

ซึ่งเป็นการสร้างวงจรระบบนิเวศมาพัฒนาป่าชายเลน โดยเฉพาะต้น

โกงกาง ซึ่งเป็นไม้ชายเลนที่ขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก พระราชดำรัส

เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔ พระราชทานแก่

นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า

“...ป่าชายเลนมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศของพื้นที่ชายฝั่งทะเล

และอ่าวไทย จึงควรหาทางป้องกันอนุรักษ์และขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น โดย

เฉพาะต้นโกงกางเป็นไม้ชายเลนที่แปลกและขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก

เพราะต้องอาศัยระบบน้ำขึ้นลงในการเติบโตด้วยจึงขอให้ส่วนราชการ

ที่เกี่ยวข้อง คือ กรมป่าไม้ กรมประมง กรมชลประทาน และกรม

อุทกศาสตร์ร่วมกันหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทดลองขยายพันธุ์

โกงกางและปลูกสร้างป่าชายเลนกันต่อไป...”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะฟื้นฟู

สภาพแวดล้อมและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้มีสภาพยั่งยืน

จึงเกิดโครงการพัฒนาและฟื้นฟูป่าชายเลน เริ่มจากเขตพื้นที่เป้าหมาย

จังหวัดสงขลาและปัตตานีก่อน แล้วขยับขยายไปยังพื้นที่ป่าชายเลน

สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


เสื่อมโทรมอื่นๆ ของประเทศอีกหลายแห่ง เช่น ที่จังหวัดระนอง พังงา

สตูล เพชรบุรี และสมุทรสาคร นอกจากป่าชายเลน พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริในการอนุรักษ์และพัฒนา “ป่าพรุ” โดย

ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าพรุใหญ่ที่สุดอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเหลืออยู่

เพียงผืนเดียวในประเทศ เป็นป่าไม้ทึบไม่ผลัดใบ ลักษณะพิเศษ คือ

เป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังทั่วบริเวณ จึงจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา

พิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการพัฒนาพื้นที่พรุให้

เกิดประโยชน์ หลายๆ ด้าน ปัจจุบันป่าพรุก่อให้เกิดประโยชน์

อเนกประสงค์ ช่วยสร้างความสมดุลของระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

การจัดการด้านการเกษตร

เนื่องจากปัญหาหลักของเกษตรกรเฉพาะพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝน

ตั้งแต่อดีตมา คือปัญหาการขาดแคลนน้ำทำการเพาะปลูก เพราะ

อาศัยน้ำช่วงฤดูฝน เพียงปีละครั้งเท่านั้น และมักเผชิญ

ความหายนะ เมื่อดินฟ้าอากาศแปรปรวนหรือฝนทิ้งช่วง

แม้จะขุดหรือสระเก็บน้ำไว้ก็ไม่เพียงพอ พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริ แก้ไขปัญหา

ความแห้งแล้งและขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม คือ

พระราชดำริ เรื่อง “ทฤษฎีใหม่” เพื่อเป็นหลักการในการ

ใช้น้ำและที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

มุ่งประคับประคองสถานภาพของเกษตรกรรายย่อย

ให้ดำรงชีวิตเรียบง่าย ปลอดหนี้ ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมนุม

สังคม และพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมถึงการ

เลือกสรรพืชที่ปลูกให้พอเหมาะแก่ความจำเป็น

แนวพระราชดำริเรื่องทฤษฎีใหม่

เหตุที่เรียกว่า ทฤษฎีใหม่ เพราะมีการบริหารและ

จัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อ

ประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีผู้ใดคิดมาก่อน มีการคำนวณ

โดยหลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการ

เพาะปลูกได้ตลอดปีและมีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบพระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองที่วัดมงคล

ชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรีทฤษฎีใหม่มุ่งหมาย

ให้เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงตัวเองในระดับประหยัดก่อน ให้มีความ

มั่นคง เรื่องอาหารสามารถผลิตข้าวเพียงพอต่อการบริโภค สำนักงาน

คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก

พระราชดำริได้สรุปหลักการของทฤษฎีใหม่ไว้ ๓ ขั้นตอน

๑. ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น

๒. ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า

๓. ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

25


๑ กันยายน ๒๕๖๓

๓๑ ปี วันคล้ายวันสถาปนา

สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม

สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม

26

พลโท จักรพงษ์ นวลชื่น

ผู้อำนวยการ

สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม

ประวัติความเป็นมา

สำ

นักงานตรวจสอบภายในกลาโหม เป็นส่วนราชการขึ้นตรง

ต่อสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เดิมมีชื่อว่า “สำนักงาน

ตรวจบัญชีกลาโหม” จัดตั้งขึ้นเพื่อทดแทนกองตรวจสอบภายใน

กรมการเงินกลาโหม ที่ได้ถูกยุบเลิกอัตราและให้โอนอัตรากำลังพล

ให้กับสำนักงานตรวจบัญชีกลาโหม ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๒

เป็นต้นไป ดังนั้น จึงได้ถือเอาวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๓๒ เป็นวัน

ก่อตั้งสำนักงานตรวจบัญชีกลาโหมเป็นต้นมา ต่อมามีการ

ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของ

ส่วนราชการ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๒ โดยเปลี่ยนนามหน่วยจาก

“สำนักงานตรวจบัญชีกลาโหม” เป็น “สำนักงานตรวจสอบภายใน

กลาโหม” เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒ และต่อมาเมื่อวันที่ ๒๓

สิงหาคม ๒๕๖๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้อนุมัติให้มี

การแก้ไขอัตราเฉพาะกิจ หมายเลข ๑๒๐๐ ของสำนักงานตรวจสอบ

ภายในกลาโหม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป

ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการจัดของสำนักงานตรวจสอบ

ภายในกลาโหม โดยปรับอัตราตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบ

ภายในกลาโหม จากเดิม เงินเดือนอัตรา พลตรีพลเรือตรี และ

พลอากาศตรี เป็น เงินเดือนอัตรา พลโท พลเรือโทและพลอากาศ

โท และตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานตรวจสอบภายใน

กลาโหม จากเดิม เงินเดือนอัตราพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ และ

นาวาอากาศเอกพิเศษ เป็น เงินเดือนอัตราพลตรี พลเรือตรี และ

พลอากาศตรี ภารกิจ มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน

และการตรวจสอบการปฏิบัติราชการ ให้แก่ส่วนราชการในสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม

ตามคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เป็นไปตามแบบแผน

ของทางราชการ ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตาม

แผนงาน/โครงการของหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ

สอบทานรายงานผลการตรวจสอบ วิเคราะห์และสรุปผลการตรวจสอบ

ของหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและเหล่าทัพ พิจารณา

ความรับผิดทางแพ่งและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

ผลการปฏิบัติงานที่สำคัญในรอบปี ๒๕๖๓

การตรวจสอบภายใน ด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุและ

ทรัพย์สิน เงินทุนหมุนเวียน เงินอุดหนุนการควบคุมงบประมาณ

เฉพาะการเบิกจ่ายเงิน การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ

การสอบทานการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน

การตรวจสอบการดำเนินงาน และการตรวจสอบสารสนเทศ

ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ นโยบายการตรวจสอบยังคงดำรงความ

ต่อเนื่องในการนำแนวทางการปฏิบัติงานของปลัดกระทรวงกลาโหม

มาใช้เป็นกรอบแนวทางในการตรวจสอบภายใน โดยให้ความสำคัญ

สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม


ในการตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การทำสัญญาใน

โครงการต่างๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้อง โปร่งใสและ

ปฏิบัติตามระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดเพื่อป้องกันการทุจริต

และประพฤติมิชอบ และไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ

ท่องเที่ยวของกองทัพอากาศในการตรวจสอบภายในระดับกระทรวง

แบบบูรณาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่า

ในการปฏิบัติงาน

การพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง ดำเนินการพิจารณา

กลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวกับรายงานทรัพย์สินหรือเงินราชการเสียหาย

สูญหาย ขาดบัญชี หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต และรายงานผลการ

สอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด รวมทั้งพิจารณาการขอ

อนุมัติผ่อนชำระ กรณีผิดสัญญาลาศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ

และหลักเกณฑ์ที่กำหนด

งานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบและ

ประเมินผลประจำกระทรวงกลาโหม (ค.ต.ป. ประจำ กห.) ซึ่งมี

พลเอก บัณฑิต เนียมทันต์ เป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการ

สำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม เป็นกรรมการและเลขานุการ

โดยการจัดประชุม และทำหน้าที่สอบทานและติดตามตรวจสอบ

ประเมินผลโครงการตามแนวทางการตรวจสอบและประเมินผล

ภาคราชการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓

การตรวจสอบการปฏิบัติราชการ ด้านการรักษาความ

ปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล เอกสาร และสถานที่ ด้านการป้องกันและ

ระงับอัคคีภัย ด้านกำลังพล ด้านยานพาหนะ ด้านการป้องกันและ

บรรเทาสาธารณภัย และตรวจตามนโยบายปลัดกระทรวงกลาโหม

ในเรื่องผู้มีสิทธิพักอาศัยในอาคารที่พักอาศัยของทางราชการและ

สอบทานการกำกับดูแลคุณภาพชีวิตของกำลังพล

การตรวจสอบภายในระดับกระทรวง ดำเนินการตรวจสอบ

และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/งาน/โครงการที่มีความ

สำคัญของหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย

และเหล่าทัพ หรือเป็นงาน/โครงการที่มีความเสี่ยงสูงหรือเชื่อมโยง

กับหลายส่วนราชการ หรือที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงกลาโหม และ/หรือ ปลัดกระทรวงกลาโหม รวมทั้ง

ได้ดำเนินการตรวจสอบภายในระดับกระทรวงแบบบูรณาการร่วมกัน

ระหว่างผู้ตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบภายในกลาโหม

สำนักงานตรวจสอบภายในทหารและสำนักงานตรวจสอบภายใน

เหล่าทัพโดยได้คัดเลือกแผนงานบูรณาการสร้างรายได้ทางการ

รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ

สำนักงานตรวจสอบภายใน

กลาโหมผ่านเกณฑ์การประเมินการ

ประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายใน

ภาครัฐ “เป็นไปตามมาตรฐาน

(GC : General Conforms)” จาก

กรมบัญชีกลาง รวมทั้งสำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหมได้รับรางวัล องค์กร

ที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง จำนวน

๒ รางวัล ได้แก่รางวัลประกาศเกียรติคุณด้านการตรวจสอบภายใน

ภาครัฐ ระดับ “ดี” และรางวัลประกาศเกียรติคุณด้านปลอดความ

รับผิดทางละเมิด ระดับ “ดี” เป็นปีที่ ๒ ติดต่อกัน ซึ่งรางวัลดังกล่าว

ถือเป็นขวัญและกำลังใจที่จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความมุ่งมั่นและ

พัฒนาหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

27


พลโท เดชา พลสุวรรณ

เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม

รมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม โดยเริ่มแรก

มีนามหน่วย “ศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารโทรคมนาคมป้องกัน

ประเทศ” จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ มีวัตถุประสงค์เพื่อ

รองรับโครงการดาวเทียมเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ หรือ Star of

Siam แต่โครงการดังกล่าวถูกชะลอเนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณ

หลังจากนั้นในปี พ.ศ.๒๕๓๙ จึงได้มีการเปลี่ยนนามหน่วยให้

สอดคล้องตามภารกิจเป็น “ศูนย์พัฒนากิจการอวกาศกลาโหม”

ต่อมารัฐบาลมีนโยบายให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานซึ่งศูนย์พัฒนากิจการอวกาศกลาโหม

ได้รับมอบหมายภารกิจดังกล่าว จึงได้ปรับเปลี่ยนภารกิจ การจัด

และนามหน่วย เป็น “กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศ

กลาโหม” หรือ ทสอ.กห. ตั้งแต่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ จนถึง

ปัจจุบัน พร้อมทั้งมีการปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วยให้มีความ

ทันสมัย สามารถรองรับภารกิจสำคัญสอดคล้องตามสภาวะแวดล้อม

ที่เปลี่ยนแปลงไปให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยมีการจัดตั้งศูนย์ไซเบอร์เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ จัดตั้งศูนย์กิจการ

อวกาศ เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ และจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลใน ๑ ตุลาคม

๒๕๖๓ ตามลำดับ

๔ กันยายน ๒๕๖๓

๒๕ ปี วันคล้ายวันสถาปนา

กรมเทคโนโลยีสารสนเทศ

และอวกาศกลาโหม

กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม

กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม ได้รับมอบหมาย

ภารกิจ ตามมาตราที่ ๓๒ ของพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวง

กลาโหม พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งกำหนดให้กระทรวงกลาโหมรับผิดชอบ

การดำเนินงานด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เพื่อการบริหารราชการทั่วไป ให้สามารถติดต่อเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน

ข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

พร้อมทั้งได้รับมอบหมายภารกิจสำคัญทั้งในระดับกระทรวง

และระดับสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน ๓ ด้าน ได้แก่

(๑) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (๒) ด้านไซเบอร์ และ (๓) ด้านกิจการ

อวกาศ

การดำเนินงานสำคัญที่ผ่านมา กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและ

อวกาศกลาโหม มีส่วนร่วมในคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

ไซเบอร์ และกิจการอวกาศ ทั้งในระดับประเทศและระดับกระทรวง

หลายคณะ ตลอดจนมีความมุ่งมั่นพัฒนาขีดความสามารถด้าน

ไซเบอร์และกิจการอวกาศ ให้เป็นหน่วยนำของกระทรวงกลาโหม

พร้อมทั้งเป็นผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น บริการ

ระบบเครือข่ายการสื่อสารที่มีพื้นที่ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ บริการ

ระบบเครือข่ายสารสนเทศซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม บริการอินเทอร์เน็ต บริการ

เก็บรักษาข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ บริการจดหมาย

อิเล็กทรอนิกส์ บริการเว็บไซต์ บริการประชุมทางไกลผ่านสื่อ

อิเล็กทรอนิกส์ บริการโทรศัพท์พื้นฐาน บริการโสตทัศนูปกรณ์

บริการภูมิสารสนเทศพัฒนาระบบป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์และ

ป้องกันภัยคุกคามจากภายนอก การฝึกอบรมด้านคอมพิวเตอร์

ให้กับข้าราชการและบุตรหลาน เป็นต้น

ห้วงปีที่ผ่านมา ภายใต้การนำของ พลโท เดชา พลสุวรรณ

เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม มีการพัฒนา

หน่วยในทุกมิติให้สามารถสนับสนุนงานในภาพรวมทั้งในระดับ

กระทรวงกลาโหมและสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม อย่างมี

ประสิทธิภาพ เช่น การสนับสนุนนโยบาย “ไทยแลนด์ ๔.๐” ที่มุ่งเน้น

ให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมพัฒนาการใช้งาน

ข้อมูลขนาดใหญ่ของกระทรวงกลาโหม สนับสนุนการใช้บริการ

คลาวด์กลางภาครัฐ หรือ GDCC ซึ่งเป็นโครงการในภาพรวมของ

28

กรมเทคโนโลยีสารสรเทศและอวกาศกลาโหม


ประเทศ การวางระบบและเชื่อมโยงข้อมูลของศูนย์บัญชาการ

กระทรวงกลาโหม (ศบช.กห.) การขับเคลื่อนการดำเนินงาน

ของคณะทำงานการขับเคลื่อนนโยบายด้านดิจิทัลเพื่อสนับสนุน

“ไทยแลนด์ ๔.๐” ของกระทรวงกลาโหมส่งผลให้เกิดการพัฒนา

ที่เป็นรูปธรรมหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนการใช้งานระบบเครือข่าย

การสื่อสารหลักของกระทรวงกลาโหมจากเทคโนโลยี SDH ซึ่งเป็น

เทคโนโลยีเก่า เป็นเทคโนโลยี SD - WAN และ Cloud ที่มีขีดความ

สามารถและความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น การกำหนดแนวทางการพัฒนา

โปรแกรมติดต่อสื่อสารผ่านอุปกรณ์มือถือ คุณสมบัติกำลังพลสำรอง

ไซเบอร์ การพัฒนา Big Data ของกระทรวงกลาโหม การบูรณาการ

งานข่าวกรองมิติไซเบอร์ การจัดทำแผนปฏิบัติการที่สำคัญระดับ

กระทรวงกลาโหม จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่แผนปฏิบัติการด้านไซเบอร์

เพื่อความมั่นคง แผนปฏิบัติการด้าน

กิจการอวกาศ แผนปฏิบัติการด้านดิจิทัล

ตลอดจนจัดทำเอกสารแนวทางการพัฒนา

ทักษะดิจิทัลของบุคลากร เพื่อเป็นกรอบ

ดำเนินงานในภาพรวมของกระทรวง

กลาโหมพร้อมทั้งเตรียมความพร้อมส่ง

มอบระบบความมั่นคงภายใต้โครงการ

ระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา หรือ

ธีออส - ๒ ซึ่งประกอบด้วย จานรับสัญญาณ

ดาวเทียมแบบเคลื่อนที่ ระบบประมวล

ภาพถ่ายดาวเทียม เครื่องคอมพิวเตอร์

พร้อมติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ใช้งานด้าน

การข่าวกรองทางทหาร และห้องปฏิบัติงาน

จำนวน ๒ ห้อง ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ ศรีราชา

จังหวัดชลบุรี พร้อมทั้งได้มีการจัดส่งกำลังพลเข้ารับการฝึกอบรม

ในลักษณะ On the job training ณ บริษัท Surrey Satellite

Technology Ltd. ณ เมือง Guildford, Surrey ประเทศอังกฤษ

อีกทั้งมีการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศใน

ภาพรวมของกระทรวงกลาโหม ภายใต้คณะทำงานศึกษาความเป็น

ไปได้ในการพัฒนาสายการผลิตระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ความ

ปลอดภัยสูงของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และคณะ

อนุกรรมการดำเนินการความร่วมมือด้านการสื่อสาร ความมั่นคง

ทางไซเบอร์ สงครามอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับสาธารณรัฐเช็ก โดยมี

เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม เป็นหัวหน้าคณะ

พร้อมทั้งส่งเสริมงานสวัสดิการ สร้างขวัญกำลังใจให้กับกำลังพล

เช่น งานออกร้านงานกาชาด จัดงานทัศน

ศึกษาต่างจังหวัด แข่งขันกีฬาภายใน

การดูแลสภาพความเป็นอยู่ของกำลังพล

ในเขตพื้นที่อาคารบ้านพัก การปรับปรุง

สภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน

ความสำเร็จต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในหน่วย

มีเหตุผลสำคัญมาจากความมุ่งมั่นพัฒนา

ตนเองและหน่วยงานของกำลังพล

กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศ

กลาโหมอย่างต่อเนื่อง ให้สมกับคติพจน์

ประจำหน่วย ซึ่งมีความหมายจาก นามย่อ

ของหน่วย ทสอ.กห. ได้แก่ ท. หมายถึง

ความทุ่มเท, ส. หมายถึง ความเสียสละ

และ อ. หมายถึง มีอุดมการณ์

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

29


๖ กันยายน ๒๕๖๓

๓๐ ปี กรมการสรรพกำลังกลาโหม

กรมการสรรพกำลังกลาโหม

ระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม ให้จัดตั้ง

กรมการสรรพกำลังทหาร เป็นหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการ

ทหารสูงสุด เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๓๓ และตามแผนแม่บทการ

ปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๕๐ ให้ปรับโอนให้เป็น

หน่วยขึ้นตรงของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และเปลี่ยนชื่อ

หน่วยจาก กรมการสรรพกำลังทหาร เป็น กรมการสรรพกำลัง

กลาโหม เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ อาคาร

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (พื้นที่ศรีสมาน) ตำบลบ้านใหม่

อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

กรมการสรรพกำลังกลาโหม เป็นองค์กรนำในงานด้านการ

ระดมสรรพกำลัง การกำลังสำรองและการสัสดีของกระทรวง

กลาโหม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อการ

บริหารจัดการงานการระดมสรรพกำลังกลาโหมให้กับกองทัพไทย

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อดำรงไว้ซึ ่งความมั่นคงของสถาบันชาติ

ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความผาสุกของประชาชนชาวไทย

การปฏิบัติงานในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓

ด้านการระดมสรรพกำลัง

- การขับเคลื่อนแผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกัน

ประเทศ ในพื้นที่กองทัพภาคที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๑

พฤศจิกายน ๒๕๖๒ เป็นการเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจให้กับ

30

พลโท จิรวิทย์ เดชจรัสศรี

เจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหม

ส่วนราชการพลเรือนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่/

ระดับจังหวัด/ระดับกลุ่มจังหวัด ได้ทราบถึงสาระสำคัญของแผน

เตรียมพร้อมแห่งชาติ แผนผนึกกำลังและทรัพยากรเพื่อการป้องกัน

ประเทศ แผนเตรียมพร้อมทรัพยากร ๑๐ ด้าน และดำเนินงานด้าน

การระดมสรรพกำลัง เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้จัดทำร่างแผนปฏิบัติการ

ในระดับจังหวัดตั้งแต่ภาวะปกติ ให้สามารถสนับสนุนทรัพยากรให้

กับฝ่ายทหารตามภารกิจการป้องกันประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านการกำลังสำรอง

- จัดชุดเจ้าหน้าที่เดินทางไปราชการเพื่อติดตาม ตรวจสอบ

และประเมินผลการดำเนินการกิจการกำลังพลสำรอง ประจำ

ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ ณ พื้นที่กองทัพภาคต่างๆ เพื่อรับทราบ

ผลการดำเนินการด้านกิจการกำลังพลสำรองทั้ง ๕ ระบบย่อย

รับทราบปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง

พ.ศ.๒๕๕๘ และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชี้แจงแนวทาง

การสร้างเครือข่ายกำลังพลสำรองของกระทรวงกลาโหม

กรมการสรรพกำลังกลาโหม


- จัดการประชุมเพื่อดำเนินการตามกรอบการพัฒนากิจการ

กำลังพลสำรองของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อขับเคลื่อน

กิจการกำลังพลสำรองในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ในการ

เรียกกำลังพลสำรองมาฝึกวิชาทหารหรือปฏิบัติราชการในสำนักงาน

ปลัดกระทรวงกลาโหม

- จัดการประชุมเพื่อปรับปรุง แก้ไข กฎหมายลำดับรอง

ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.กำลังพลสำรอง พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อปรับปรุง

กฎกระทรวง ข้อบังคับ และระเบียบที่ออกตามความใน พ.ร.บ.

กำลังพลสำรอง พ.ศ.๒๕๕๘ ให้มีความเหมาะสมและทันสมัยนำไป

ใช้ได้จริง

- จัดหาชุดอุปกรณ์จัดทำบัตรประจำตัวกำลังพลสำรอง

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓ เพื่อให้กำลังพลสำรองมีบัตร

ประจำตัวกำลังพลสำรองใช้เป็นเอกสารแสดงตนตามโอกาสการ

เข้ารับราชการทหาร หรือในการที่เกี่ยวข้องกับกิจการกำลังพลสำรอง

ตามกฎหมายว่าด้วยกำลังพลสำรองและขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ

ตามที่ส่วนราชการกำหนดให้ตลอดจนเพื่อให้เกิดระบบการตรวจสอบ

ข้อมูลกำลังพลสำรองสำหรับนำไปสู่การบริหารจัดการกำลังพล

สำรอง และกิจการกำลังพลสำรองตามกฎหมายว่าด้วยกำลังพล

สำรอง กฎ ข้อบังคับและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

- การจัดทำ Line official : @RESERVETHAI เพื่อ

ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับกิจการกำลังพลสำรอง และ

กิจกรรมต่างๆ ของกรมการสรรพกำลังกลาโหม ที่เกี่ยวข้องเป็น

ประจำทุกวันทำการ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจบทบาท

หน้าที่ของกำลังพลสำรองที่มีความสำคัญต่อการป้องกันประเทศ

และการช่วยเหลือประชาชนให้ครอบคลุมในทุกกลุ่มเป้าหมาย

ด้านการสัสดี

- ดำเนินการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้การปฏิบัติตาม

กฎหมายรับราชการทหาร ภารกิจ อำนาจ หน้าที่ของกรมการสรรพ

กำลังกลาโหม และการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการ

ทหาร โดยเริ่มจากขั้นตอนวิธีการลงบัญชีทหารกองเกิน การรับ

หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับ

ราชการทหารกองประจำการ การยกเว้นฯ การผ่อนผันฯ การตรวจ

โรคก่อนการตรวจเลือก สิทธิประโยชน์ของทหารกองประจำการ

รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยกำลังพลสำรอง เกี่ยวกับการ

เป็นกำลังพลสำรองและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับนักศึกษาจาก

มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๓ และนักศึกษา

จากมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่

๒๒ มกราคม ๒๕๖๓ นักศึกษาสามารถปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ได้อย่าง

ถูกต้อง ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลและนโยบายผู้บังคับบัญชา

ระดับสูงของกระทรวงกลาโหม ถือเป็นการพัฒนาการให้ความรู้งาน

ด้านการสัสดีซึ่งเป็นงานบริการประชาชน ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์

ที่ดีต่อกองทัพ และเสริมสร้างงานด้านความมั่นคง ในภาพรวมของ

ประเทศด้วย

- การตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงาน และให้ความรู้ทางวิทยาการ

สายงานสัสดี จึงได้จัดประชุม บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติ

ตามกฎหมายรับราชการทหารให้กับข้าราชการสายงานสัสดีผู้แทน

หน่วยทหารในเขตพื้นที่ ผู้แทนส่วนราชการพลเรือน ผู้แทนสถาน

ศึกษา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนของแต่ละจังหวัดในเขต

พื้นที่ของกองทัพภาคต่างๆ ในพื้นที่กองทัพภาคที่ ๒ ณ จังหวัด

กาฬสินธุ์ อุดรธานี และหนองคาย ระหว่างวันที่ ๑๘ - ๒๒

พฤศจิกายน ๒๕๖๓ และในพื้นที่กองทัพภาคที่ ๓ จังหวัดเชียงราย

และจังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ ๓ - ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ โดยมี

เจ้ากรมการสรรพกำลังกลาโหมเป็นหัวหน้าคณะการตรวจเยี่ยมฯ

พร้อมกับรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น ตอบปัญหาต่างๆ จากการ

สอบถามของผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุง

แก้ไข พัฒนา ระเบียบแนวทางปฏิบัติให้มีความถูกต้อง และเหมาะสม

กับปัจจุบัน

งานที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา

ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายอำนวยการในพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State

Quarantine) เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ณ โรงแรม Bay Beach

Resort Jomtien (พัทยา) โรงแรม Jomtien Holiday Inn (พัทยา)

โรงแรม Jomtien Palm Beach Hotel (พัทยา) และโรงแรม Mercure

Hotel Pattaya (พัทยา) ตั้งแต่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ถึง

จนจบภารกิจ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

31


๑๒ กันยายน ๒๕๖๓

๑๑๔ ปี กรมพระธรรมนูญ

กรมพระธรรมนูญ

ต่เดิมการพิจารณาชำระความและการลงโทษทหารยังมิได้

เป็นไปในแนวทางเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาที่๓๑/๘๕๘ ลงวันที่๒๙ ตุลาคม

รัตนโกสินทรศก ๑๑๘ ถึงกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เสนาบดี

ว่าการกระทรวงกลาโหมความว่า “ด้วยการปฤกษาลงโทษทหาร ซึ่ง

ได้สังเกตเหนเมื่อพิจารณาโดยที่ประชุมทหาร (คอตมาแส) ยอมลง

โทษแปลกๆ ซึ่งก็มีเหตุที่เขาคิดเหน แต่เปนที่น่าสงไสยว่าจะพอควร

ฤาเกินไปเบาไปอย่างไร...เห็นว่าควรจะมีเอดโวเคตเยเนราล

เสียเหมือนอย่างประเทศอื่นๆ” อันเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า

ล้นกระหม่อมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้

พระราชทานกำเนิดพระธรรมนูญ โดยพระองค์ทรงมีพระบรม

ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมพระธรรมนูญทหารบกขึ้นตรงต่อ

กรมยุทธนาธิการ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๕

(พุทธศักราช ๒๔๔๙) มีหน้าที่รับปรึกษาหารือในการที่เกี่ยวด้วย

พระราชกำหนดกฎหมาย คำสั่งที่เกี่ยวกับการไต่สวนและคดีของศาล

ดำริจัดการในหน้าที่ของอัยการและศาลทหาร ตรวจตราอำนวยการ

ในกองทหารบกทั่วไป จัดระเบียบการไต่สวน ระเบียบทางตุลาการ

กับตรวจการไต่สวนและศาลทหาร ให้ดำเนินไปโดยชอบด้วย

กฎหมายและข้อบังคับทุกประการ หลังจากนั้นมีการตั้งกรมพระ

ธรรมนูญทหารเรือขึ้นตรงต่อกรมบัญชาการกลาง กรมทหารเรือ

32

พลเอก ประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์

เจ้ากรมพระธรรมนูญ

เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๗ (พุทธศักราช ๒๔๕๑) ต่อมา

ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ ได้มีคำสั่งให้รวมกรมพระธรรมนูญทหารบก

และกรมพระธรรมนูญทหารเรือ เป็นกรมพระธรรมนูญทหาร

จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ ได้มีการจัดระเบียบราชการ

กระทรวงกลาโหมใหม่ ให้เปลี่ยนแปลงชื่อ กรมพระธรรมนูญทหาร

เป็น กรมพระธรรมนูญ และให้เปลี่ยนแปลงจากขึ้นตรงต่อกระทรวง

กลาโหมเป็นขึ้นต่อปลัดทูลฉลอง (ปัจจุบันคือปลัดกระทรวงกลาโหม)

รวมทั้งมีการยึดถือเอาวันที่ ๑๒ กันยายนของทุกปี เป็นวันคล้าย

วันสถาปนากรมพระธรรมนูญ จวบจนปัจจุบัน กรมพระธรรมนูญ

เป็นหน่วยงานที่มีการก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา ๑๑๔ ปี

ปัจจุบันนี้กรมพระธรรมนูญได้ดำเนินงานโดยยึดมั่นในสถาบัน

พระมหากษัตริย์ ร่วมกิจกรรมจิตอาสาอย่างเต็มกำลังความสามารถ

และดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม และเจ้ากรมพระธรรมนูญหลาย

ประการ โดยเฉพาะการดำเนินการตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงกลาโหม และปลัดกระทรวงกลาโหม ที่กรุณาสั่งการให้มี

ศาลทหารทั่วประเทศพัฒนาให้มีลักษณะเป็นศาลทหารต้นแบบที่มี

ความเป็นมาตรฐานสากล เป็นแบบแผน มีความสะอาด สะดวก

มีความสง่างามสมศักดิ์ศรี มีเครื่องมือในการพิจารณาคดี และเสริม

ทักษะบุคลากรศาลมีความรู้ความเชี่ยวชาญอยู่เสมอ เพื่อเป็นที่เชื่อมั่น

กับประชาชนในการอำนวยความยุติธรรมอย่างแท้จริงและจัดให้มี

การประกวดศาลทหารต้นแบบในทุกกองทัพภาค

ประการสำคัญ ได้มีการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและ

แผนปฏิรูปประเทศ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราช

บัญญัติว่าด้วยแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ.๒๕๖๐

ที่เกี่ยวข้องกับกรมพระธรรมนูญ ได้แก่ การปฏิรูปประเทศด้าน

กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิ้น ๒๖ โครงการ

ที่สำคัญได้แก่ โครงการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในศาลทหาร

โดยไม่ล่าช้าและพัฒนาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม โครงการระบบ

การตรวจสอบความคืบหน้าของการดำเนินงานในศาลทหารและ

อัยการทหาร โครงการคุ้มครองพยานเพื่อความมั่นคงแห่ง

ราชอาณาจักร เป็นต้น

นอกจากนี้ กรมพระธรรมนูญได้ดำเนินการให้มีการทำงาน

ด้วยการวิเคราะห์กฎหมายเชิงรุกในประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย

กรมพระธรรมนูญ


ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงของชาติ นำและสนับสนุนการ

นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติราชการ

ให้มีความทันสมัย เช่น ระบบการประชุมทางไกลตีความและ

ใช้กฎหมายที่ชัดเจน เช่นให้ความเห็นทางกฎหมายเพื่อรองรับการ

จัดตั้งศูนย์บัญชาการกระทรวงกลาโหม (ศบช.กห.) และศูนย์

บูรณาการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศจัดให้มีการคุ้มครองพยาน

จนศาลรับฟังพยานนำไปสู่การพิสูจน์ความจริงในศาล และหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมให้การยอมรับ

ในด้านวิชาการ ได้มีการพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรใน

สายงานนายทหารพระธรรมนูญ ทนายทหารคุ้มครองพยาน อัยการ

ทหาร ตุลาการพระธรรมนูญ ให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาตาม

ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของด้านกฎหมาย โดยมีการ

ดำเนินการให้ตุลาการพระธรรมนูญเข้าอบรมหลักสูตรเตรียมความ

พร้อมในการดำเนินคดีระบบไต่สวนร่วมกับผู้พิพากษาศาลอาญาคดี

ทุจริต เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งกลุ่มดำเนินคดีในระบบ

ไต่สวนในศาลทหาร จัดการบรรยายเรื่องการดำเนินคดีบุกรุกที่ดิน

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

ในราชการ การพิจารณาคดีโดยไม่ล่าช้า และเป็นเจ้าภาพ

ร่วมกับคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (the

International Committee of the Red Cross

(ICRC)) จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ ๗๐ ปี อนุสัญญา

เจนีวา รวมทั้งได้มีการจัดทำความร่วมมือกับหน่วยงาน

ในกระบวนการยุติธรรม เช่น จัดทำบันทึกข้อตกลง

ความร่วมมือว่าด้วยการสร้างและพัฒนากระบวน

การเรียนรู้ด้านสิทธิเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนระหว่าง

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและกรมพระธรรมนูญ

เตรียมที่จะจัดทำบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานศาล

ยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ในเชิงวิชาการ เพื่อสร้างเสริมความรู้และเพื่อให้เกิด

ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรในกระบวนการ

ยุติธรรม

การบริหารจัดการสิทธิกำลังพล ได้มีการดำเนินการปรับย้าย

นายทหารเหล่าพระธรรมนูญตรงตามระยะเวลา รวดเร็วและมี

ประสิทธิภาพ มุ่งเน้นให้นายทหารเหล่าทหารพระธรรมนูญดำรง

ความรักสามัคคี ความพร้อมปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจและเต็มใจ

ยึดมั่นในอุดมการณ์และความภาคภูมิใจของนายทหารเหล่าทหาร

พระธรรมนูญ เสริมสร้างการทำงานยุคใหม่โดยเน้นการจัดสัมมนา

ในรูปแบบกิจกรรมบันเทิงเชิงสาระ (Team Building) ตลอดจน

ผลักดันเกี่ยวกับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งตุลาการพระธรรมนูญและ

อัยการทหารตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารและที่สำคัญ

ปลัดกระทรวงกลาโหมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญมีการจัดการประชุม

คณะกรรมการข้าราชการทหารมีปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน

จนมีมติให้ตุลาการพระธรรมนูญและอัยการทหารได้รับสิทธิเงินเพิ่ม

ดังกล่าวขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่

เกี่ยวข้องและจัดสวัสดิการให้แก่กำลังพลให้มีความเป็นอยู่ตาม

สมควร และดูแลเอาใจใส่สิทธิชีวิตความเป็นอยู่ของกำลังพลตาม

ลำดับชั้นอย่างใกล้ชิด เช่น จัดให้นายทหารตั้งแต่ชั้นยศ

ร้อยเอก เรือเอก และเรืออากาศเอกลงมารับประทาน

อาหารกลางวัน ตัดผมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งมอบ

สิ่งของจำเป็นแก่กำลังพล ครอบครัว และประชาชนที่

ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เป็นต้น

การดำเนินการของกรมพระธรรมนูญผ่านพ้น

อุปสรรคได้เพราะได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา

ทุกระดับและจากกำลังพลที่เกี่ยวข้องทุกนาย ในโอกาส

ต่อไปกรมพระธรรมนูญมุ่งหวังว่าจะเป็นองค์กรที่มุ่งธ ำรง

ความยุติธรรมในกระบวนการยุติธรรมทหารแก่ทหาร

และประชาชน รักษาดุลยภาพแห่งกฎหมายเพื่อประโยชน์

สูงสุดในการสั่งการการปกครองบังคับบัญชาทหาร

อย่างต่อเนื่องเช่นทุกวันนี้ต่อไป

33


พลตรี ประจวบ จันต๊ะมี

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือฯ

๑๒ กันยายน ๒๕๖๓

๖๔ ปี ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ

กรมการพลังงานทหาร

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือฯ

ขององค์การเชื้อเพลิงและปรับปรุงขยายกิจการเชื้อเพลิงให้กว้างขวาง

ยิ่งขึ้น

คณะรัฐมนตรีมีมติโอนกิจการน้ำมันฝาง มาขึ้นกับกรมการ

พลังงานทหาร เมื่อ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๙ และธันวาคม พ.ศ.

๒๔๙๙ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้สร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด ๑,๐๐๐

บาร์เรลต่อวัน (แล้วเสร็จเมื่อ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๒)

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การ

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศพปน.พท.

ศอพท.) เป็นส่วนราชการในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตั้งอยู่

ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีภารกิจหลักต่อการสำรวจ ขุดเจาะ

“พ

ลังงาน เป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินชีวิต

ประจำวันของทุกคน เพื่อตอบสนองต่อการสนับสนุนของ

มวลมนุษยชาติในทุกๆ ด้าน และยังจำเป็นต่อการขับเคลื่อนพัฒนา

เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งพลังงานหลักในปัจจุบันคงหนีไม่พ้นพลังงาน

เชื้อเพลิงฟอสซิลหรือปิโตรเลียมนั่นเอง”

ประเทศไทยค้นพบแหล่งผลิตน้ำมันดิบเป็นระยะเวลานานกว่า

๑๐๐ ปี ในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยบังเอิญจากชาวบ้าน

ในพื้นที่ซึ่งเป็นการพบน้ำมันดิบไหลขึ้นมาบริเวณผิวดิน โดยมี

ความเชื่อว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ เจ้าหลวง

เชียงใหม่ในขณะนั้นจึงสั่งให้ขุดบ่อในบริเวณดังกล่าวเพื่อกักเก็บ

น้ำมันดิบ คนในพื้นที่จึงเรียกสถานที่กักเก็บน้ำมันดังกล่าวว่าบ่อหลวง

หรือบ่อเจ้าหลวง ภายหลังได้มีหน่วยงานทางราชการหลายฝ่าย

ให้ความสนใจ ทำการสำรวจและดำเนินการเรื่อยมา ดังนี้

พ.ศ.๒๔๖๔ กรมรถไฟ โดย พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ

กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

พ.ศ.๒๔๗๕ กรมทางหลวง โดย หม่อมหลวงกวี เดชาติวงศ์

พ.ศ.๒๔๘๐ กรมเชื้อเพลิงทหารบก

พ.ศ.๒๔๙๒ กรมโลหะกิจ (กรมทรัพยากรธรณี) ใช้ชื่อหน่วยงาน

ว่า “หน่วยสำรวจน้ำมันฝาง”

กระทรวงกลาโหม มีคำสั่ง (พ) ที่๗๖/๒๗๒๑๗ เมื่อ ๓๐ ตุลาคม

พ.ศ.๒๔๙๖ ตั้งกรมการพลังงานทหารขึ้นเพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน

34

ภาพบ่อหลวงหรือบ่อเจ้าหลวง บ่อน้ำมันแห่งแรกของประเทศไทย

ผลิตและกลั่นปิโตรเลียม นอกจากนี้ยังมีการวิจัยและพัฒนาการผลิต

ปิโตรเลียม รวมถึงผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ให้เป็นไปตามนโยบาย

ของทางราชการ เพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านพลังงานภายใต้

กรอบแนวทางที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตลอดระยะเวลา ๖๓ ปี

ที่ผ่านมา ได้ดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างต่อเนื่อง

ครอบคลุมพื้นที่๖ จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่เชียงราย เชียงใหม่

ลำพูน ลำปาง แพร่ และพะเยา

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการ

พลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

ได้ทดลอง คิดค้น ค้นคว้า วิจัย ปรับปรุง และพัฒนาขีดความสามารถด้าน

ปิโตรเลียม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้อุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศ และพลังงานทหารสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้

โดยให้ความสำคัญกับการสำรวจค้นหาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ๆ

เพื่อเตรียมความพร้อมด้านปริมาณสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง ในกระทรวง

ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือฯ


กลาโหม รวมทั้งแสวงหากระบวนการผลิตน้ำมันดิบ ซึ่งแต่เดิม

จะทำการผลิตน้ำมันดิบขั้นปฐมภูมิ (Primary Recovery) เป็นหลัก

มาเป็นการผลิตน้ำมันในขั้นทุติยภูมิ (Secondary Recovery)

และขั้นตติยภูมิ (Tertiary Recovery) โดยใช้เทคนิคและเทคโนโลยี

ที่ทันสมัย เช่น เทคนิคการอัดน้ำ (Waterflood) ลงสู่ชั้นหินกักเก็บ

ปิโตรเลียม เพื่อเป็นแรงดันและกวาดน้ำมันดิบที่หลงเหลืออยู่ภายใน

ชั้นหินกักเก็บ การผลิตน้ำมันโดยใช้จุลินทรีย์(Microbial Enhanced

Oil Recovery, MEOR) เพื่อลดความหนืด และแรงตึงผิวของน้ำมัน

ในชั้นหินกักเก็บให้สามารถนำน้ำมันที่ติดค้างขึ้นมาใช้ประโยชน์

ให้มากที่สุด

ภาพเทคนิคการอัดน้ำ (Waterflood)

นอกเหนือจากภารกิจด้านการสำรวจ ขุด เจาะ และผลิต

ปิโตรเลียม ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ยังมีภารกิจ

สำคัญอีกประการหนึ่งคือการกลั่นปิโตรเลียม และการเพิ่มมาตรฐาน

รวมถึงเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม โดยต่อยอดจากองค์ความรู้

ที่ได้จากการสั่งสมในอดีตที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาคุณภาพให้มีมาตรฐาน

สามารถแข่งขันในเชิงพาณิชย์และตอบสนองความต้องการในตลาด

ปัจจุบันได้ดี อาทิ การนำน้ำมันดีเซลผ่านการลดกำมะถัน การนำ

น้ำมันเตาใสเบา (Light Distillate, LD) และน้ำมันเตาใสหนัก

(Heavy Distillate, HD)

ผ่านกระบวนการแยกขจัด

น้ำมันปิโตรเลียมออกจาก

ปิโตรเลียมแว็กซ์ ด้วยตัวทำ

ละลายทำให้ได้ผลิตภัณฑ์

พาราฟินแว็กซ์ (Parafin Wax)

ที่มีความบริสุทธิ์สูงและเพิ่ม

มูลค่าสูงขึ้น สามารถนำไปใช้

ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม

เช่น ทำกระดาษเคลือบไข

เทียนไข และสารตั้งต้นใน

อุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น

ตลอดระยะกว่า ๖๐ ปี

พาราฟินแว็กซ์ (Parafin Wax)

ที่ผ่านมา ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารได้มุ่งมั่น ทุ่มเท

เสียสละ ทั้งด้านบุคลากร การพัฒนาองค์ความรู้และประสบการณ์

ตลอดจนนำวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มและพัฒนาศักยภาพ

ของหน่วยงาน องค์กร ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยรวมถึงตอบสนองต่อนโยบายการ

พัฒนาประเทศและระบบราชการ ๔.๐ ภายใต้การบังคับบัญชาของ

พลตรี ประจวบ จันต๊ะมีผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ

กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ

พลังงานทหาร เพื่อให้บรรลุภารกิจ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ

ทางราชการ และดำรงรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของประเทศชาติตลอดไป

เพื่อตรงกับเจตนารมณ์ของหน่วยที่ว่า

“พลังงานทหาร พลังการทัพไทย”

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

35


๑๘ กันยายน ๒๕๖๓

๔๑ ปี วันคล้ายวันสถาปนาศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ

พลโท สนิธชนก สังขจันทร์

ผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ

.ศ.๒๕๑๘ กองทัพบกต้องประสบปัญหาการขาดแคลนอาวุธ

และกระสุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการลดความช่วยเหลือทาง

ด้านการทหารของชาติพันธมิตร ประกอบกับกองทัพมีภารกิจสำคัญ

ในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ศูนย์อำนวยการสร้าง

อาวุธฯ จึงได้ก่อกำเนิดขึ้นโดยกองทัพบกตามความคิดริเริ่มของ พลเอก

สัมผัส พาสนยงภิญโญ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การ

ทหารปืนใหญ่ ชั้นยศพลตรี ที่ได้เห็นถึงความ

สำคัญในการวิจัย การพัฒนาและการ

ผลิตอาวุธบนพื้นฐานของการพึ่งพา

ตนเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพ และเป็น

หลักประกันในด้านความมั่นคง

ทางด้านการทหาร

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ

ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ ต่อมาได้มี

การพัฒนาทั้งทางด้านการวิจัย การ

พัฒนา และการผลิตยุทโธปกรณ์อย่าง

ต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ จนได้รับการ

รับรองมาตรฐาน ISO 9001 ทั้งหน่วยงาน เมื่อ ๑๘ กันยายน พ.ศ.

๒๕๔๓ ต่อมาได้ปรับโอนจากหน่วยขึ้นตรงของกองทัพบก มาเป็น

หน่วยขึ้นตรงของศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงาน

ทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๕

36

ปัจจุบันมี พลโท สนิธชนก สังขจันทร์ เป็นผู้บัญชาการ

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

และพลังงานทหาร

วิสัยทัศน์ เป็นหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับในมาตรฐานของ

ผลิตภัณฑ์ และประสิทธิภาพทางการบริหาร การผลิตอาวุธ กระสุน

และยุทโธปกรณ์ เพื่อการพึ่งพาตนเองของกองทัพ และมุ่งไปสู่การ

ขายยังต่างประเทศในโอกาสต่อไป

พันธกิจ ดำเนินการศึกษาวิจัย พัฒนา ผลิตอาวุธ กระสุน และ

ยุทโธปกรณ์ที่ได้มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับ เพื่อสนับสนุนกองทัพ

ตามขีดความสามารถในลักษณะของการผลิตเพื่อแจกจ่าย และการ

รับการสั่งซื้อ รวมทั้งขยายขีดความสามารถโดยรับการถ่ายทอด

เทคโนโลยีจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานระดับสากล และมุ่งขยายตลาด

ในการนำผลิตภัณฑ์ไปสู่การขายยังต่างประเทศต่อไป

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ มีการจัดตามอัตราการจัดเฉพาะกิจ

หมายเลข ๐๖๐๔ ประกอบด้วย ส่วนที่สำคัญ ๔ ส่วน คือ กอง

บัญชาการ โรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ โรงงานสร้างปืนใหญ่

และเครื่องยิงลูกระเบิด และโรงงานผลิตกระสุนปืนใหญ่และลูกระเบิดยิง

โรงงานต้นแบบการวิจัยพัฒนาอาวุธ มีขีดความสามารถในการ

วิจัยพัฒนายุทโธปกรณ์ให้เป็นต้นแบบ เพื่อนำเข้าสู่สายการผลิต และ

ผลิตเครื่องช่วยฝึกและยุทโธปกรณ์ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมี

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ


ผลงานวิจัยที่สำคัญ เช่น เครื่องช่วยฝึกลำกล้องชนิดอัดอากาศที่ใช้กับ

เครื่องยิงลูกระเบิดและหน่วยช่วยขับเคลื่อน (APU) ของปืนใหญ่หนัก

กระสุนวิถีราบ ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร แบบ ๓๔ (GHN-45)

โรงงานสร้างปืนใหญ่และเครื่องยิงลูกระเบิด มีขีดความสามารถ

ในการผลิตเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด ๖๐ ๘๑ และ ๑๒๐ มิลลิเมตร

และปรับปรุงพัฒนาเครื่องยิงลูกระเบิดขนาดต่างๆ ผลิต/ปรับปรุง

พัฒนาปืนใหญ่ ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตร และปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่

ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร แบบลากจูง ให้เป็นแบบอัตตาจรล้อยาง

โรงงานผลิตกระสุนปืนใหญ่และลูกระเบิดยิง มีขีดความสามารถ

ในการผลิต/ประกอบรวมลูกระเบิดยิงจากเครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด

๖๐ ๘๑ และ ๑๒๐ มิลลิเมตร ทั้งชนิดระเบิดและควันฟอสฟอรัส

การผลิตกระสุนปืนใหญ่ ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตร ชนิดระเบิดชนิด

ระเบิดเพิ่มระยะกลาง ชนิดระเบิดเพิ่มระยะไกล ชนิดควันฟอสฟอรัส

และชนิดส่องแสง การผลิตกระสุนปืนรถถัง ขนาด ๑๐๕ มิลลิเมตร

และผลิตกระสุนปืนใหญ่ ขนาด ๑๕๕ มิลลิเมตร ชนิดระเบิด

เอ็ม ๑๐๗ ชนิดระเบิดเพิ่มระยะกลาง (ERFB/BT) และชนิดระเบิด

เพิ่มระยะไกล (ERFB/BB)

ในวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓ นี้ เป็นโอกาสอันดีที่ศูนย์อำนวย

การสร้างอาวุธฯ ดำเนินงานมาจนครบรอบปีที่๔๑ ซึ่งศูนย์อำนวยการ

สร้างอาวุธฯ จะมุ่งมั่นในการวิจัยพัฒนา และผลิตอาวุธ บนพื้นฐานของ

การพึ่งพาตนเอง เพื่อเพิ่มศักยภาพ และเป็นหลักประกันในด้านความ

มั่นคงทางด้านการทหารในอนาคต

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

37


โครงการจัดหา

เรือดำน ้ำ

ของกองทัพเรือไทย

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

นปี พ.ศ.๒๔๗๗ กองทัพเรือได้เคยจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการ

จากประเทศญี่ปุ่น จำนวน ๔ ลำ โดยได้มีการเสนอพระราชบัญญัติ

บำรุงกำลังกองทัพเรือต่อสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งกองทัพเรือ ได้มีคำสั่ง

ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโครงการบำรุงกองทัพเรือ และได้คัดเลือก

แบบเรือดำน้ำของบริษัทมิตซูบิชิ ประเทศญี่ปุ่น จำนวน ๔ ลำ ซึ่งทั้ง

๔ ลำนี้ เป็นเรือดำน้ำขนาดเล็กสำหรับใช้รักษาชายฝั่ง ได้รับ

พระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ว่า

เรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวง

พลายชุมพล

ในอดีตเรือดำน้ำเคยช่วยทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการถูก

ยึดครองและเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ในกรณีพิพาทไทย - อินโดจีน

มาแล้ว และจากประวัติการรบกับฝรั่งเศสจนเกิดยุทธนาวีที่เกาะช้าง

ที่กองทัพเรือต้องเสียเรือหลวงธนบุรี เรือหลวงชลบุรีและเรือหลวง

38

สงขลาไปนั้น มีหลักฐานว่าฝรั่งเศสระแวงเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทย

อย่างมาก หลังจากต่อตีเรือของกองทัพเรือแล้ว จึงรีบถอนกำลังทาง

เรือกลับทันที

ต่อมาเรือดำน้ำของกองทัพเรือได้ถูกปลดระวางประจำการไป

พร้อมกันเมื่อวันที่๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๔ จึงทำให้ประเทศไทย

ขาดรั้วที่สำคัญไปหนึ่งด้านมาเป็นเวลากว่า ๖๔ ปี จึงถือเป็น

ความเสี่ยงต่อความมั่นคงทางทะเลที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคปัจจุบัน

เรือดํานํ้ำกับความมั่นคงในสถานการณ์และภัยคุกคามปัจจุบัน

ประเทศไทยมีผลประโยชน์ทางทะเลคิดเป็นมูลค่าประมาณ

๒๔ ล้านล้านบาทต่อปี และนับวันจะทวีมูลค่ามากขึ้นในอนาคต

ดังนั้นการปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล โดยการเสริมสร้างกําลัง

ทางเรือจึงเป็นความจําเป็น เพื่อให้มีกําลังทางเรือที่สมดุล ทัดเทียม

กันในภูมิภาค ปัจจุบันประเทศต่างๆ ในภูมิภาคได้เสริมสร้างกําลัง

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ทางเรือเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกําลังเรือดําน้ำทําให้เมื่อเปรียบเทียบ

ขีดความสามารถของกําลังทางเรือแล้ว มีความเสียเปรียบอย่างยิ่ง

จึงจําเป็นต้องจัดหาเรือดําน้ำเข้าประจําการ

เรือดําน้ำเป็นเรือรบที่มีศักยภาพสูงที่สุดในบรรดาเรือรบด้วยกัน

เป็นอาวุธที่มองไม่เห็น ตรวจจับยาก ปฏิบัติการได้ไกล และมีอํานาจ

การทําลายรุนแรง สามารถสร้างความยําเกรงให้กับฝ่ายตรงข้ามที่มี

กําลังทางเรือเหนือกว่าอย่างมากได้ ซึ่งจะเข้ามาเสริมเติมเต็มให้

กองทัพเรือมีขีดความสามารถครบทุกมิติ คือ ผิวน้ำ ใต้น้ำและ

ในอากาศ ทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมของกําลังรบทางเรือ หาก

เกิดความขัดแย้งและสถานการณ์ที่อ่อนไหวระหว่างประเทศที ่อาจ

เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่คาดไม่ถึง ดังนั้นการที่กองทัพเรือมีความพร้อม

ในการรบทุกๆ มิติจะทําให้ประเทศมีความมั่นใจในการรักษาอธิปไตย

ของชาติได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตามการจัดหาเรือดําน้ำมิได้ใช้เวลาแค่เพียงชั่วข้ามคืน

เพราะการต่อเรือและการฝึกกําลังพลให้มีความพร้อมต้องใช้เวลานาน

๗ ถึง ๑๐ ปี กองทัพเรือ จึงต้องเร่งขจัดความเสี่ยงต่อความล่อแหลม

ที่อาจจะเกิดขึ้นได้นี้ด้วยการเริ่มโครงการจัดหาเรือดําน้ำตั้งแต่ปี

๒๕๕๘ นี้ เนื่องจากประเทศต่างๆ รอบข้าง ล้วนมีเรือดําน้ำเข้า

ประจําการแล้วเป็นส่วนใหญ่ จึงมีขีดความสามารถที่เหนือกว่ากองทัพเรือ

ไปล่วงหน้า ๘ - ๑๐ ปี ตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ ปัจจุบันมี

เรือดําน้ำประจําการ ๖ ลํา และกําลังต่อเพิ่มอีก ๒ ลํา ประเทศ

เวียดนามสั่งต่อเรือดําน้ำจากรัสเซียจํานวน ๖ ลํา ขณะนี้

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

39


เข้าประจําการแล้ว ๔ ลํา ประเทศอินโดนีเซียมีเรือดําน้ำประจําการ

๒ ลํา กําลังต่อเพิ่มจากเกาหลีใต้อีก ๓ ลํา และประเทศมาเลเซีย

มีเรือดําน้ำประจําการ ๒ ลํา เป็นต้น

เรือดํานํ้ำกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

ประเทศไทยมีการนําเข้า - ส่งออก สินค้าทางทะเลสูงถึงร้อยละ

๙๕ และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรานี้ถือว่าเป็น

เส้นทางคมนาคมทางทะเลเชื่อมทวีปยุโรป เอเชีย และอเมริกา

ผ่านช่องแคบมะละกา จึงนับว่ามีความสําคัญระดับโลกทีเดียว ซึ่งหาก

เกิดปัญหาการปิดล้อมพื้นที่หรือข้อพิพาททางทะเลไม่ว่าที่ใดย่อม

ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมทางทะเลโดยตรง ทําให้เกิดความ

เสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก

เมื่อมองพื้นที่บริเวณอ่าวไทยซึ่งมีเรือสินค้าผ่านเข้าออกปีละ

ประมาณ ๑๕,๐๐๐ ลํา แต่ด้วยพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงทางด้าน

ภูมิศาสตร์ในการที่จะถูกปิดอ่าวหรือขัดขวางการใช้เส้นทางเดินเรือ

เนื่องจากปากอ่าวมีความกว้าง ประมาณ ๒๐๐ ไมล์ทะเล หรือ

๔๐๐ กิโลเมตรเท่านั้น หากเกิดกรณีพิพาทหรือความขัดแย้งกับ

ต่างประเทศขึ้น การถูกปิดอ่าวจะทําให้การขนส่งทางทะเลสายนี้

หยุดชะงักทันที ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดความเสียหาย ดังเช่นที่เรา

เคยประสบมาแล้วในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่อ่าวไทยถูกปิดทําให้

เกิดความเดือดร้อนแสนสาหัส

ปัจจุบันประเทศไทยมีผลประโยชน์ทางทะเลคิดเป็นมูลค่า

ประมาณ ๒๔ ล้านล้านบาทต่อปี แบ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติทาง

ทะเล การขนส่งทางทะเล อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการท่องเที่ยว

การที่กองทัพเรือเสนอโครงการจัดหาเรือดําน้ำจํานวน ๓ ลํา ใช้

งบประมาณ ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท หากมองระยะยาวเมื่อนับ

อายุการใช้งานของเรือดําน้ำท่ี่มีอย่างน้อย ๓๐ ปี

รวมกับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ

ต่อปีแล้ว คิดเป็นเพียงร้อยละ ๐.๐๐๖ ของผลประโยชน์ของชาติ

ทางทะเล การจัดซื้อเรือดําน้ำจึงมีความคุ้มค่าอย่างแน่นอน

เรือดํานํ้ำกับความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์

ประเทศไทยมีแผ่นดินติดกับทะเล ๒ ด้าน คือ ด้านตะวันตก

เป็นทะเลอันดามันและช่องแคบมะละกา ส่วนด้านตะวันออกเป็น

อ่าวไทย มีพื้นที่ทางทะเลประมาณ ๓๒๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มี

ความลึกเฉลี่ยที่ประมาณ ๕๐ เมตร ความลึกที่สุดอยู่บริเวณกลางอ่าว

ประมาณ ๘๕ เมตร ความใสของน้ำสามารถเห็นได้ลึกสุดไม่เกิน

๑๖ เมตร จากพื้นที่ที่มีบริเวณกว้างและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน

การซ่อนพรางของเรือดําน้ำ ทําให้การค้นหาเรือดําน้ำด้วยสายตาจาก

บริเวณผิวน้ำหรืออากาศยาน เป็นไปด้วยความยากลําบาก เรือดําน้ำ

จึงสามารถเข้ามาปฏิบัติการในอ่าวไทยได้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายที่

จําเป็นต่อการพิทักษ์ปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทาง

ทะเล อีกทั้งเรือดําน้ำสมัยใหม่มีอุปกรณ์การเดินเรือที่ทันสมัยมาก

มีระบบรักษาความลึก ขณะดําน้ำโดยอัตโนมัติที่มีความเที่ยงตรงสูง

ดังนั้นการปฏิบัติการในเขตน้ำตื้นถือเป็นเรื่องปกติของเรือดําน้ำ

เพราะในบางภารกิจเรือดําน้ำจําเป็นต้องเข้าใกล้ฝั่งมาก ในอ่าวไทย

มีน้ำลึกเฉลี่ย ๕๐ เมตร จึงไม่ใช่อุปสรรคในการปฏิบัติการของเรือดําน้ำ

ปัจจุบัน และการมองเห็นจากเครื่องบินเมื่อเรือดําน้ำดําลึกกว่า

๒๐ เมตร ก็ไม่สามารถมองเห็นได้

คุณลักษณะและขีดสมรรถนะที่สําคัญ

เรือดำน้ำ S-26T เป็นรุ่นพิเศษที่จีนต่อขึ้นสำหรับประเทศไทย

โดยเฉพาะ ซึ่งพัฒนาจากเรือดำน้ำคลาส Yuan Class S26 มีความ

ยาว ๗๙.๕ เมตร กว้าง ๘.๖ เมตร สูง ๙.๒ เมตร เปลือกลำตัวแบบ

๒ ชั้น ระวางขับเหนือนํ้า ๑,๘๕๐ ตัน ระวางขับขณะดำ ๒,๖๐๐ ตัน

S-26T ความเร็วสูงสุด ๑๘ นอต ระยะทำการ

๘,๐๐๐ ไมล์ทะเล ดำลึกสูงสุด ๓๐๐ เมตร

ลูกเรือประจำการ ๕๐ นาย ระยะเวลาปฏิบัติ

การต่อการออกทะเล ๑ ครั้ง นาน ๒ เดือน

เครื่องยนต์ประสิทธิภาพสูงในการปฏิบัติการ

รบใต้น้ำและผิวน้ำ ความลึกปฏิบัติการ

40

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


น้อยสุด ๕๐ เมตร ระดับความลึกปลอดภัย ๖๐ เมตร ระบบขับเคลื่อน

ใช้เครื่องยนต์ดีเซล (สิทธิบัตร MTU เยอรมนี) ๒ เครื่อง และมอเตอร์

ไฟฟ้ากำลังขับ ๕,๕๑๕ กิโลวัตต์ พร้อมระบบขับเคลื่อน AIP

(Air Independent Propulsion) ดำน้ำได้นานที่สุดมากกว่า ๒๐ วัน

ระบบตรวจจับและระบบอาวุธติดตั้งระบบวิเคราะห์เป้า

เคลื่อนที่ (Target Motion Analysis) ๖๔ เป้าหมาย กำหนดการยิง

เป้าหมายได้ต่อเนื่อง ๔ - ๖ เป้าพร้อมกัน โจมตีเป้าหมายได้พร้อมกัน

สูงสุด ๒ เป้าหมาย ระบบอาวุธ : ท่อ Torpedo ๖ ท่อยิง สามารถใช้ได้

ทั้ง Torpedo, อาวุธปล่อยนำวิถี และทุ่นระเบิด ประกอบด้วย

Torpedo แบบ ET38 ต่อต้านเรือดำน้ำและเรือผิวน้ำ ระบบนำวิถี

ด้วยเส้นลวด เสียงและพลิ้วน้ำ (Fiber-Optic Wire-Guided+Passive/

Active Acoustic Homing+Wake Homing) ระยะยิงประมาณ

๔๕ - ๕๐ กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด ๕๐ - ๖๐ นอต อาวุธปล่อยนำวิถี

แบบ CM-708UNB ระยะยิง ๒๙๐ กิโลเมตร ยิงได้ทั้งเป้าหมายเรือ

ผิวน้ำขนาด ๓,๐๐๐ ตัน ที่ความเร็วไม่เกิน ๓๐ นอต และเป้าหมาย

ชายฝั่ง (Surface Ships and Inshore fixed Targets) ควบคุมการ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

ยิงได้พร้อมกัน ๕ นัด และเตรียมข้อมูลได้พร้อมกันอีก ๒ นัด ใช้ได้ที่

ความลึก ๑๐๐ เมตรขึ้นไป ทุ่นระเบิด ๓๖ ทุ่น แบบ Smart Mine,

Bubble Shell, เป้าลวง Torpedo Decoy แบบ MSS-01

บทสรุป

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่าประเทศไทยมีผลประโยชน์แห่งชาติ

ทางทะเล คิดเป็นมูลค่าประมาณ ๒๔ ล้านล้านบาทต่อปีและนับวัน

จะทวีมูลค่ามากขึ้น รวมถึงเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สำคัญและ

แหล่งทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่ทับซ้อนกัน จึงมีแนวโน้มว่า

ความขัดแย้งจะเคลื่อนย้ายจากบกลงสู่ทะเล เพราะประเทศต่างๆ

โดยเฉพาะประเทศชายฝั่งจะแย่งชิงทรัพยากรทางทะเลมากขึ้น

ประเทศต่างๆ เร่งสำรวจ ค้นหาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในทะเล

มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศรอบทะเลจีนใต้ ประเทศชายฝั่งได้อ้าง

กรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะบางแห่งก็เพราะมีภาพถ่ายดาวเทียมสำรวจ

แล้วว่าน่าจะมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก จึงนำไปสู่ความ

ขัดแย้งมากขึ้น ความขัดแย้งที่ใกล้ที่สุดคือ ทะเลจีนใต้ ซึ่งนอกจาก

เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ทั้งในยามสันติและสงครามแล้ว ยังเป็นพื้นที่

แย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอีกแห่ง

ของโลกด้วย ซึ่งคู่กรณีต่างก็พยายามรักษา

ผลประโยชน์สำคัญยิ่งของชาติตนไว้ดังนั้นบทบาท

ของกองทัพเรือจึงมีมากยิ่งขึ้น รัฐบาลต้องให้

ความสำคัญในการสนับสนุนกองทัพเรือมากขึ้นใน

การจัดหาเรือดําน้ำเข้าประจําการ เพราะการมี

เรือดําน้ำเท่านั้น จึงจะรักษาดุลกําลังทางเรือ

ในสถานการณ์ความมั่นคงทางทะเลในปัจจุบันได้

และเพื่อเตรียมความพร้อมในการพิทักษ์ซึ่งไม่ใช่

เพียงอธิปไตยของประเทศเท่านั้น แต่ยังหมายถึง

ปกป้องเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ อีกทั้งทรัพยากร

ธรรมชาติทั้งในน้ำและใต้น้ำอีกด้วย

41


ครบวาระงาน สานพันธะใจ

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

วั

นที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ นอกจากเป็นวันเริ่มต้นตำแหน่งหน้าที่

ใหม่ของบางท่าน ซึ่งก็เป็นการเริ่มต้นของภาระงานที่พ่วงไปด้วย

หน้าที่ ความรับผิดชอบและเกียรติยศ อาจรวมถึงการปกครองดูแล

หน่วยและดูแลกำลังพลไปด้วย และในขณะเดียวกันก็มีบุคคลอีกกลุ่ม

หนึ่งที่ละวางภาระงานไปแล้วตามเงื่อนไขของกาลเวลาควบคู่ไปกับ

วิถีแนวทางการรับราชการ ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางสังคมที่ทุกท่านต่าง

รับทราบกันเป็นอย่างดีและยอมรับกันอย่างแพร่หลายทั่วไปกับ

คำว่า เกษียณอายุราชการ

แม้ว่าข้าราชการผู้เกษียณอายุราชการนั้น จะต้องรู้สึกอ้างว้าง

จากเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาก็ตาม หรือรู้สึก

42

เหงาเปล่าเปลี่ยวใจที่ต้องพลัดพรากจากสถานที่ที่เคยปฏิบัติงาน

ที่เคยประชุมหารือ เคยรับประทานอาหารและสถานที่เคยดำเนิน

กิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ พี่ๆ และน้องๆ เป็นเวลาหลายปีหรือหลาย

สิบปีในลักษณะที่เรียกว่าพลัดที่นาคาที่อยู่ หรืออาจรู้สึกใจหายกับ

การที่ต้องวางมือจากภารกิจที่เคยรับผิดชอบมาเป็นแรมเดือนแรมปี

หรือรู้สึกเสียใจกับงานที่ยังคั่งค้างอยู่ในขณะที่ต้องร้างลาจากภารกิจ

ที่ดำเนินอยู่

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้าราชการผู้เกษียณอายุราชการอีกหลาย

ท่านที่ภาคภูมิที ่ได้รำลึกถึงภารกิจหรืองานที่เคยปฏิบัติมาก่อน

สัมฤทธิผลอย่างน่าพึงพอใจ หรือเป็นแนวทางให้เพื่อนข้าราชการ

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


สิ่งสำคัญที่เป็นผลพวงมาจากความสัมพันธ์กันระหว่างรุ่น

ต่อรุ่นนั้นก็คือ การถ่ายทอดองค์ความรู้ การสั่งสอนในเรื่องที่ถูกต้อง

เหมาะควรด้วยความเมตตาปรานี ด้วยจิตใจแห่งความเป็นผู้ให้ และ

เป็นแนวทางสำคัญในการก้าวย่างไปข้างหน้าอย่างมีความมั ่นคงของ

คนรุ่นต่อไป ซึ่งเป็นเสมือนพันธะหรือความผูกพันทางใจที ่มีต่อกัน

ของคนในรุ่นต่างๆ ให้เชื่อมโยงต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตราบธุลีดิน

หากที่ทำงานเดิมเคยเป็นที่เคยใช้หลบแดดหลบฝน เคยใช้เป็น

ที่ประชุมหรือพูดคุยหารือ เคยใช้เป็นที่ปฏิบัติงานและเป็นที่สร้าง

องค์ความรู้ เสริมทักษะ ประสบการณ์ เติมความรักและความ

รุ่นต่อไปสามารถดำเนินต่อได้ตามหมุดหมายที่เคยปักเอาไว้ หรือยินดี

กับข้าราชการรุ่นน้องที่เคยร่วมงานกันมาต่างเจริญ

ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และหลายท่านอาจจะโล่งใจ

ที่สามารถวางภาระงานอันหนักอึ้งลงได้อย่างงดงาม

และส่งต่อให้ผู้มีความสามารถคนต่อไปรับไปดำเนินการ

ให้บังเกิดผลสำเร็จ

ไม้ที่ผลัดใบย่อมยังความเจริญเติบโตให้แก่ต้นไม้

ก็ดี หรือเมื่อพระอาทิตย์ที่เคยลับลาไปในวันก่อนและ

ลอยกลับขึ้นมาในวันใหม่ยังความสดชื่นให้บรรดาสรรพ

สัตว์หรือพฤกษ์พันธุ์ก็ดี หรือคลื่นลูกเก่าสลายไปและ

คลื่นลูกใหม่เข้ามาทดแทนและถ่ายทอดพลังงานออก

มาก็ดี ย่อมเป็นสัญญาณบอกเหตุให้ทราบได้ว่า เมื่อคน

รุ่นเก่าร้างลาไปกับผลงานฉันใด คนรุ่นใหม่ก็เข้ามา

แทนที่ก็พร้อมสามารถสร้างผลงานได้ฉันนั้น

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

43


ปรารถนาดี ที่ทำงานแห่งนั้นก็คงไม่แตกต่างไปจากบ้านอีกหลังที่เคย

ให้ความสุขทั้งทางกายและทางใจ และอาจเป็นโรงเรียนอีกแห่งที่

ถ่ายทอดความรู้และทักษะที่พัฒนาจากเนื้อหาวิชาการไปสู่การเป็น

โรงเรียนแห่งชีวิตจริงที่สอนให้คนรุ่นต่างๆ ให้เรียนรู้ควบคู่ไปกับการ

ปฏิบัติงานในขณะเดียวกัน (Learning by Doing) ดังนั้น คนรุ่นเก่า

ที่เพิ่งเกษียณอายุราชการไปจึงไม่ต่างจากครูที่กำลังวางชอล์กเพราะ

สิ้นวาระหน้าที่แล้ว แต่ความรู้ดังกล่าวได้ถูกถ่ายทอดไปยังศิษย์ที่เป็น

คนรุ่นถัดไป แม้ว่าครูจะต้องวางภาระการสอนลงไปแล้วก็ตาม สิ่งที่

คงเหลือไว้คือความรัก ความผูกพันและพันธะทางใจที่มีต่อกันต่อไป

อย่างมิรู้ลืม และไม่มีอุปสรรคของกาลเวลาหรืออุปสรรคทางกายภาพ

อื่นใดมาปิดกั้นความรู้สึกที่ดีระหว่างกันได้อีกต่อไป

คนไม่น้อยกว่าสองรุ่นคงตระหนักดีว่า ในอดีตบ้านหลังนี้เคย

เป็นบ้านที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความอบอุ่น เคยเป็นที่พักกาย พักใจ

เคยเป็นโรงเรียน เป็นโรงพยาบาล และสถานฝึกฝนการทำงาน ความ

เชื่อมโยงของคนในฐานะพี่ ในฐานะน้อง ในฐานะลูก ในฐานะหลาน

และมีบรรยากาศของอุ่นไอรัก ยังคงมีอยู่อย่างเต็มไปด้วยความรู้สึก

ของความผูกพันที่มีต่อกันอย่างไม่รู้คลาย และวันใดที่คนรุ่นพี่ รุ่นพ่อ

รุ่นแม่ มาเคาะประตูเรียกเพื่อถามไถ่เยี่ยมเยียนด้วยความคิดถึง ก็ยัง

หวังว่าประตูบ้านแห่งนี้ก็พร้อมที่จะเปิดออก อ้าแขนรับด้วยรอยยิ้ม

ด้วยความสุข และความปรารถนาดีที่ยังคงอบอวลอยู่อย่างไม่มีวัน

จืดจาง

ข้าราชการรุ่นปัจจุบันยังคงถวิลหาความปรารถนาดีของ

ข้าราชการผู้เกษียณอายุราชการที่เปี่ยมล้นไปด้วยความรู้

ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญที่ควบคู่ไปกับความรัก ความ

ปรารถนาดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้

และเรื่องราวอันเป็นประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติราชการ

ให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน ประเทศ และสังคมไทย เมื่อเป็นเช่นนี้

การเกษียณอายุราชการจึงไม่ใช่การลาจากของคนรุ่นพี่ แต่เป็นวาระ

ของงานที่ต้องจากกันไปตามเงื่อนไขของสังคมและกฎระเบียบของ

ทางราชการ ในขณะที่ความรู้สึกที่ดีและพันธะทางใจยังคงอยู่ระหว่าง

คนสองรุ่นคือรุ่นพี่และรุ่นน้องที่ยังคงเห็นกันอยู่ เคยร่วมทุกข์ร่วมสุข

ร่วมฝ่าฟันในเรื่องงานกันมาในอดีต

จึงกล่าวได้ว่า วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ เป็นเพียงวันแห่งการ

เปลี่ยนแปลงใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ

44

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


(๑) การเปลี่ยนแปลงของวาระงานที่ครบกำหนดตามเงื่อนไข

ของเวลา กฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่สังคมกำหนดขึ้น

(๒) การผสานพันธะทางใจให้กระชับขึ้น แม้ว่าจะต้องห่างกัน

ไปตามเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นของสังคมหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นกาลเวลา

แห่งการครบวาระงาน และสานพันธะใจของข้าราชการสองรุ่น คือ

รุ่นที่เพิ่งเกษียณอายุราชการ (รุ่นพี่) และข้าราชการที่เข้าดำรง

ตำแหน่งใหม่แทนที่ (รุ่นน้อง) ซึ่งยังคงมีความผูกพันกันด้วยดีเสมอมา

พร้อมกันนี้ ผู้เขียนขอฝากบทร้อยกรองเพื่อการรำลึกถึงพี่ๆ ที่กำลัง

จะเกษียณอายุราชการในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ พร้อมด้วยความ

เคารพรักมาในโอกาสนี้ กล่าวคือ

คลื่นลูกเก่า เจือจาง กลางชลาลัย คืนลูกใหม่ พละแสน ก่อเข้าแทนที่

ไม้ใบเก่า ผลัดร่วงราง หว่างปฐพี ใบใหม่ดี แทงยอด ตลอดแนว

ครบวาระ คนเก่าไป คนใหม่มา คือสัญญา บ่งชี้ ที่แน่แน่ว

จบวาระ งานเดิม ใหม่เสริมแล้ว คงวี่แวว พันธะใจ ในกมล

เกียรติภูมิ ศักดิ์ศรี มีต่องาน ฝากให้สาน สืบต่อ ก่อเกิดผล

จำใจร้าง วิถีครอง แห่งผองชน จากวังวน สู่โลกใหม่ ใจสำราญ

ผ่านเส้นทาง เกียรติยศ ปรากฏเด่น ฝากไว้เป็น อุทาหรณ์ สอนลูกหลาน

กิจเคยสร้าง งานเคยก่อ ส่อตำนาน ครบวาระ แห่งงาน สานพันธะใจ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

45


เครือข่ายกำลังพลสำรอง

เพื

่อความมั ่นคง

กรมการสรรพกำลังกลาโหม

ด้

วยสภาวการณ์ปัจจุบันที่สังคมโลกได้รับผลกระทบจากภัยคุกคาม

รูปแบบใหม่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และ

กว้างขวาง เช่น กรณีของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)

ที่สร้างความวิตกกังวลและเดือดร้อนอย่างหนักต่อประชากรทั่วทุก

ภูมิภาค นำไปสู่การสร้างความตระหนักรู้และความร่วมมือร่วมใจกัน

จัดเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนเพื่อหยุดยั้งและป้องกันการ

เกิดซ้ำของโรคซึ่งยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐ ประเด็น

ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ได้กล่าวถึงการพัฒนาระบบเตรียม

พร้อมแห่งชาติและการบริหารจัดการภัยคุกคาม เสริมสร้างความร่วมมือ

กันอย่างบูรณาการของทุกภาคส่วนให้มีประสิทธิภาพชัดเจนเป็นรูปธรรม

ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสร้างเครือข่าย (Networking)

เพื่อการพัฒนางาน การป้องกัน และแก้ไขปัญหาต่างๆ ในทุกมิติ

ด้วยการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มคนที่มีเป้าหมายเดียวกัน

มีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงแลกเปลี่ยนทั้งข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์

โดยมีช่องทางการทำงานร่วมกัน มีการสื่อสารที่ง่ายต่อการเข้าถึง

ที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมร่วมกันได้

อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดความสำเร็จในภาพรวมอย่างยั่งยืน

กำลังพลสำรอง เป็นกำลังทางยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญในการ

รักษาความมั่นคงและอธิปไตยของชาติ ทั้งในภาวะปกติและภาวะ

สงคราม ซึ่งในภาวะสงครามกำลังพลสำรองจะเข้ารับราชการทหารใน

การปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับกำลังทหารประจำการในการป้องกันประเทศ

46

ในยามปกติกำลังพลสำรองเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือและแก้ไข

ปัญหาภัยพิบัติสาธารณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยพิบัติทางธรรมชาติที่นับวัน

จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และมีผลกระทบกับพี่น้องประชาชน

เป็นวงกว้างซึ่งกำลังพลสำรองนับได้ว่าเป็นกำลังขนาดใหญ่ โดยส่วน

หนึ่งกระทรวงกลาโหมได้ควบคุมไว้ในรูปบัญชีต่างๆ มีจำนวนกว่า ๑๓

ล้านคนในปัจจุบัน และกำลังพลสำรองอีกส่วนหนึ่งนอกบัญชี ได้มีการ

รวมตัวจัดตั้งเป็นสมาคม ชมรม กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ

กรมการสรรพกำลังกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ดำเนินงาน

ด้านการกำลังสำรอง ภายใต้พระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ.

๒๕๕๘ ซึ่งในมาตรา ๓ “กำลังพลสำรอง” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็น

กำลังสำรองประเภทหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการ

กระทรวงกลาโหมที่มีการบรรจุในบัญชีบรรจุกำลังตามพระราชบัญญัตินี้

และมาตรา ๑๓ ได้กำหนดให้ กรมการสรรพกำลังกลาโหม ทำหน้าที่

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการกำลังพลสำรอง โดยมีอำนาจ

หน้าที่ใน (๒) รวบรวมเอกสารและข้อมูล ตลอดจนส่งเสริมการ

ประชาสัมพันธ์ในกิจการกำลังสำรอง และ (๓) เป็นศูนย์กลางการติดต่อ

ประสานงานในการดำเนินงานทั้งปวงเกี่ยวกับกิจการกำลังพลสำรอง

และสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งดำเนินการตามแผน

แม่บทการพัฒนากิจการกำลังพลสำรองของกระทรวงกลาโหม พ.ศ.

๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “กระทรวงกลาโหมสามารถ

บริหารจัดการกิจการกำลังพลสำรองได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผล

กรมการสรรพกำลังกลาโหม


เป็นรูปธรรม ตลอดจนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนและร่วม

เป็นเครือข่ายกำลังพลสำรอง มุ่งไปสู่กำลังพลสำรองอาสาสมัคร เพื่อ

ให้มีการจัดเตรียมกำลังและการใช้กำลังพลสำรองเกิดประสิทธิภาพ

สูงสุด” และกำหนดพันธกิจ ในการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์กิจการ

กำลังพลสำรองของกระทรวงกลาโหม ให้เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย และ

สร้างเครือข่ายกำลังพลสำรองของกระทรวงกลาโหม ให้ครอบคลุม

ทุกพื้นที่ พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายด้านความมั่นคงของ

ประเทศและพร้อมให้การสนับสนุนกองทัพ และรัฐบาลตามสถานการณ์

ด้านความมั่นคงที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยบริบทดังกล่าวข้างต้น รวมทั้ง

นโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในการพัฒนา

ระบบกำลังพลสำรองให้สอดคล้องกับแนวทางการใช้กำลังกองทัพ และ

ให้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายด้านความมั่นคงของประเทศ กรมการ

สรรพกำลังกลาโหม จึงได้จัดตั้ง “เครือข่ายกำลังพลสำรองเพื่อความ

มั่นคง” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ๗ ประการคือ ๑) ส่งเสริมให้

มีการจัดตั้งเครือข่ายกำลังพลสำรองเพื่อความมั่นคงในการเป็นเครือข่าย

กำลังพลสำรองของกระทรวงกลาโหม ๒) เพื่อให้กำลังพลสำรอง

ได้มีความรักและความผูกพันซึ่งกันและกัน มีความจงรักภักดีต่อชาติ

ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๓) เพื่อให้กำลังพลสำรองทั่วประเทศ

ได้เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งข่าวสารและร่วมแก้ไขปัญหาความ

มั่นคง อีกทั้งเป็นแกนหลักในการร่วมสร้างความปรองดองสมานฉันท์

๔) เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างทหารกับฝ่าย

พลเรือนและประชาชน เพื่อสนับสนุนกิจการกำลังพลสำรองของ

กระทรวงกลาโหม ๕) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

ทางวิชาการ ด้านการทหาร สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองแก่สมาชิก

ในเครือข่าย ๖) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานกับบุคคล คณะบุคคล

หน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ ในการดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือสังคมใน

รูปแบบต่างๆ และ ๗) เพื่อเป็นการพัฒนาเครือข่ายกำลังพลสำรองให้

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

มีศักยภาพ สร้างความสามัคคี มีระเบียบวินัยกล้าหาญ เสียสละ

การพัฒนาบุคลิกภาพและมีความภาคภูมิใจในการเป็นกำลังพลสำรอง

สำหรับเป้าหมายที่สำคัญของการจัดตั้งเครือข่ายฯ คือ การมีเครือข่าย

กำลังพลสำรองเพื่อความมั่นคงครอบคลุมทั่วประเทศ และเครือข่าย

กำลังพลสำรอง มีความเชื่อมั่น ศรัทธา และภาคภูมิใจในบทบาทหน้าที่

การเป็นกำลังส่วนหนึ่งของกองทัพ ตลอดจนให้การสนับสนุนกิจการ

กำลังพลสำรองของกระทรวงกลาโหม

เครือข่ายกำลังพลสำรองเพื่อความมั่นคง ได้รับความสนใจและ

ความร่วมมืออย่างดียิ่งจากเครือข่ายทหารผ่านศึกชมรมการกำลัง

สำรองแห่งประเทศไทย ชมรมกำลังพลสำรอง สมาคมศิษย์เก่านักศึกษา

วิชาทหาร ชมรมกำลังพลสำรองทหารเรือ ชมรมเครือข่ายกำลังพล

สำรองกองทัพอากาศไทย โดยในปี พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ผ่านมา ได้จัดผู้แทน

เข้าร่วมกิจกรรมด้านการกำลังสำรองที่สำคัญของกรมการสรรพกำลัง

กลาโหม ได้แก่ ร่วมงานการจัดการแสดงศักยภาพของกำลังพลสำรอง

๓ เหล่าทัพ ณ พื้นที่กองบัญชาการช่วยรบที่๓ ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ

อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๒

และเข้าร่วมโครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง การจัดตั้งเครือข่าย

กำลังพลสำรองเพื่อความมั่นคง ณ โรงแรมเพิร์ล รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล

อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่ ๑๙ – ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.

๒๕๖๒ สำหรับในปีพ.ศ.๒๕๖๓ นี้ได้จัดผู้แทนเข้าร่วมการประชุมชี้แจง

วัตถุประสงค์และแนวทางในการดำเนินการของเครือข่ายกำลังพล

สำรองเพื่อความมั่นคง เมื่อวันที่๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓ ณ ห้องประชุม

กรมการสรรพกำลังกลาโหม ชั้น ๔ อาคารสำนักงานปลัดกระทรวง

กลาโหม (ศรีสมาน) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และได้เข้าร่วม

การอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง เครือข่ายกำลังพลสำรองเพื่อ

ความมั่นคงเมื่อวันที ่ ๒๐ - ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ณ โรงแรม

เมธาวลัย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตาม

รายละเอียดและรูปภาพการอบรมสัมมนาฯ ดังกล่าวได้ทาง Line

Official : @RESERVETHAI ซึ่งกรมการสรรพกำลังกลาโหมได้

จัดทำขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร

กิจการกำลังพลสำรองและกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวข้อง รวมทั้งสามารถ

สอบถามข้อมูล ข้อสงสัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานการกำลังสำรอง

ของกระทรวงกลาโหมได้โดยสะดวก

กรมการสรรพกำลังกลาโหม มุ่งมั่นพัฒนางานกิจการกำลังพล

สำรอง เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายกำลังพลสำรองเพื่อความ

มั่นคง ให้เป็นเครือข่ายกำลังพลสำรองของกระทรวงกลาโหม

ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย รวมทั้งเป็นแกนหลักในการร่วม

สร้างความปรองดองสมานฉันท์ มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ

ศาสนา และพระมหากษัตริย์มีความพร้อมให้การสนับสนุนภารกิจ

ของกองทัพในงานความมั่นคงและช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้ประชาชน

ในชาติมีความผาสุกร่มเย็นสืบไป ขอเชิญท่านที่สนใจ สแกน

QR CODE เพื่อร่วมติดตาม Line Official : @RESERVETHAI และ

ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้

47


กระทรวงกลาโหม

กับแนวนโยบายเรื ่องการสนับสนุน

การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงกลาโหม ได้มอบแนวนโยบายเรื่องการสนับสนุนการ

แก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ให้กับหัวหน้าหน่วย

ขึ้นตรงกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการเหล่าทัพ และได้ขอบคุณ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และทุกเหล่าทัพ ที่ช่วยเป็นแม่งาน

ในการจัดตั้งสถานกักกันโรคแห่งรัฐ (SQ) และสถานกักกันโรคแห่งรัฐ

ทางเลือก (ASQ) สนับสนุนรัฐบาลในการยับยั้งการแพร่ระบาดของ

COVID-19 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการคัดกรองโรคจากผู้เดินทางกลับ

จากต่างประเทศ พร้อมทั้งช่วยกันดูแลความเรียบร้อยของสังคมตาม

มาตรการทางสาธารณสุขเมื่อเกิดการระบาดของโรคที่ผ่านมา ทั้งยัง

ขอให้จัดทำข้อมูลกระบวนการทำงานร่วมกันและถ่ายทอดองค์ความรู้

สำหรับเตรียมความพร้อมแนวทางปฏิบัติของสถานกักกันโรคแห่งรัฐ

และสถานกักกันโรคแห่งรัฐทางเลือกในระดับภูมิภาคที่จำเป็นต้องมีขึ้น

เพื่อรองรับการเดินทางกลับเข้ามาของชาวต่างชาติและนักท่องเที่ยว

ในอนาคตตามมาตรการผ่อนคลายของรัฐบาลที่จะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้กระทรวงกลาโหมได้เตรียมแผนการปฏิบัติภารกิจทางทหาร

และการปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ไว้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาดังนี้

48

แนวทางการปฏิบัติของกระทรวงกลาโหม

ด้านการส่งกำลังบำรุง เพื่อรองรับ New Normal

ถือเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการ

ปรับตัวของหน่วยขึ้นตรงกระทรวงกลาโหม

และเหล่าทัพให้มีความพร้อมต่อการแก้ไข

ปัญหาและรับมือกับความท้าทายหรือ

ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับ

ภารกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ ทั้งนี้การปฏิบัติประกอบด้วยการ

วางแผนด้านการส่งกำลัง โดยการผลิตและ

จัดหาสิ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการป้องกันและ

ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค สำหรับหน่วย

ทั่วไป หน่วยเชิงเทคนิค และสำหรับสนับสนุน

พลเรือนที่ได้รับความเดือดร้อน อาทิ หน้ากาก

อนามัยหรือหน้ากากผ้า และเจลแอลกอฮอล์

หน้ากาก Face Shield ชุด PPE น้ำยาทำความ

สะอาดพื้นผิว เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิแบบ

อินฟราเรด หรือแบบ Thermoscan รวมทั้ง

สนับสนุนการผลิตสิ่งอุปกรณ์สนับสนุนที่

เกี่ยวข้อง อาทิ รถครัวสนาม หุ่นยนต์บังคับ

สำหรับส่งอาหารให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาล

การเสริมสร้างหน่วยแพทย์ทหารให้มีความพร้อมในการ

สนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกัน

และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ กำหนดมาตรการและ

จัดทำแนวทางการปฏิบัติด้านเวชกรรมป้องกันทางทหารให้กับกำลังพล

และหน่วยทหาร เพื่อไม่ให้กำลังพลเสี่ยงต่อโรค รวมทั้งเป็นการ

ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และโรคอุบัติใหม่

สร้างเครือข่ายข้ามหน่วยงานทั้งภายในประเทศและระหว่าง

ประเทศ เพื่อรองรับภารกิจที่ไม่คาดฝันและภารกิจเร่งด่วนทั้งในยาม

ปกติและยามวิกฤต เป็นหลักประกันความต่อเนื่องของการส่งกำลัง

บำรุง

ป้องกันการแพร่ระบาดของสถานพยาบาล อาทิ การคัดกรอง

ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจไปตรวจในคลินิกโรคทางเดินหายใจ

(Acute Respiratory Infection : ARI) หรือสถานที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะ

รวมทั้งการจัดจุด One Stop Service สำหรับการตรวจรักษาเฉพาะ

โรคพัฒนาระบบการรักษาแบบทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


(Telemedicine) เพื่อลดการสัมผัสและใช้ช่วงการเกิดระบาดในช่วง

ที่คนไข้ทั่วไปไม่สามารถเดินทางไปโรงพยาบาลได้ตลอดจนการส่งยา

ทางพัสดุแทนการเดินทางมาโรงพยาบาล ตลอดจนการประสานหน่วย

กำลังรบหรือหน่วยอื่นๆ ในการเตรียมสถานที่กักกันกำลังพลของหน่วย

ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดหรือผู้ป่วย รวมทั้งการจัดเตรียมโรงพยาบาลสนาม

ให้พร้อมปฏิบัติการ

นอกจากนี้กระทรวงกลาโหมยังได้ประเมินสภาวะแวดล้อมทาง

ยุทธศาสตร์ในการจัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อรองรับฐานชีวิตวิถีใหม่

(New Normal) เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการปฏิบัติ

ของเหล่าทัพและนโยบายของรัฐบาล โดยสามารถนำไปปฏิบัติได้

อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความ

มั่นคงทางไซเบอร์กระทรวงกลาโหมได้วางแนวทางปฏิบัติไว้โดยส่งเสริม

และสนับสนุนการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีอยู่

อาทิ สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ อีเมล G-Chat และระบบงานต่างๆ

และพัฒนาต่อยอดให้มีประสิทธิภาพและความมั่นคงปลอดภัย

ที่เพิ่มมากขึ้น

พัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งระบบงาน

และฐานข้อมูลที่มีความมั่นคง ปลอดภัย เพื่อรองรับการปฏิบัติงาน

รูปแบบผสมระหว่างการปฏิบัติงานนอกสถานที่และการปฏิบัติงาน

ที่ทำงานปกติ ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร

ให้กำลังพลทุกคน (Everyone) สามารถปฏิบัติงานได้จากทุกที่

(Everywhere) ทุกอุปกรณ์(Everything) ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย

ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งาน

พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้กำลังพลสามารถใช้งานระบบ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับการปฏิบัติงานทั่วไป

และการประชุมทางไกลอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบการรักษา

ความปลอดภัยระบบเครือข่ายสารสนเทศให้เป็นไปตามมาตรฐาน

ISO27001 : 2013 ที่มีการกำหนดตามพระราชบัญญัติการรักษาความ

มั่นคงปลอดภัยไซเบอร์พุทธศักราช ๒๕๖๒ จัดหาอุปกรณ์และช่องทาง

การสื่อสารข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของกำลังพลอย่าง

เหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งาน

พัฒนาระบบการประชุมทางไกลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (VTC)

ให้มีมาตรฐานเป็นไปตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ

สังคม เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุม

ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์พุทธศักราช ๒๕๖๓ สนับสนุนการใช้งานระบบ

คลาวด์ให้กำลังพลสามารถใช้งานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติ

งานได้จากทุกที่ ทุกเวลา พร้อมทั้งมุ่งเน้นให้ส่วนราชการใช้บริการ

คลาวด์ตามโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government

Data Center and Cloud Service : GDCC) ของรัฐบาล

พัฒนาระบบติดตามงานให้ผู้บังคับบัญชาสามารถตรวจสอบและ

ประเมินการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้ง

พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อลดการใช้

กระดาษ ลดระยะเวลาขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงาน โดยใช้

Digital Form และ Digital Signature ปรับปรุง กฎ ระเบียบ คำสั่ง

ให้มีความสอดคล้องกับการประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลในการปฏิบัติงาน

มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบ

พึ่งพาตนเอง โดยส่งเสริมนักพัฒนาและผู้ประกอบการภายในประเทศ

บูรณาการการทำงานร่วมกับฝ่ายอำนวยการด้านต่างๆ ในการจัด

ระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และการดูแลความปลอดภัย

ข้อมูล

ในภาพรวมของการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด- ๑๙

ของประเทศไทยนั้นสหประชาชาติ (UN) ได้ชื่นชมประเทศไทย

ที่สามารถรับมือโควิด-๑๙ ได้เป็นอย่างดีและชี้ว่าเป็นตัวอย่างของ

ความแข็งแกร่งและความสามัคคีของคนในชาติ ซึ่งความสำเร็จนี้

มาจาก ๓ ปัจจัยหลักคือ ๑. การดำเนินการตามมาตรการของรัฐบาล

๒. ความรับผิดชอบต่อสังคมของจิตอาสา และ ๓. ความสามัคคีเป็น

อันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนในการช่วยกันป้องกันโรค ซึ่งปัจจัย

ความสำเร็จเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกๆ ภาคส่วนของ

สังคม

ข้อมูลจาก สำนักนโยบายและแผนกลาโหม

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

49


ข้อคิดในการพัฒนาประเทศจีน

ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง

(ตอนที ่ ๘ แนวทางของจีนต่ออินโด - แปซิฟิก)

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล

ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ารเกิดขึ้นของแนวคิดอินโด - แปซิฟิก ย่อมจะทำให้จีนมองว่า

สหรัฐฯ กำลังร่วมมือกับญี่ปุ่น อินเดียและออสเตรเลียเพื่อ

ต้องการปิดล้อมและสกัดกั้นอิทธิพลของจีน ในขณะที่จีนกำลังเดินหน้า

โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง หรือ BRI” ซึ่งจะทำให้จีนสามารถ

เชื่อมโยงทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา รวมทั้งเชื่อมมหาสมุทรอินเดีย

กับมหาสมุทรแปซิฟิกด้วยเช่นกัน โดยจีนนำเสนอว่าทุกประเทศใน

ภูมิภาคนี้ควรจะมีเป้าหมายร่วมกันทางยุทธศาสตร์ในการมุ่งส่งเสริม

สันติภาพ การแสวงหาเสถียรภาพและการพัฒนา รวมทั้งมีความไว้เนื้อ

เชื่อใจซึ่งกันและกัน ในทางการเมืองระหว่างประเทศแม้ว่าจะมีข้อกรณี

พิพาทที่เป็นจุดประเด็นร้อนในภูมิภาค เช่นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจ

อธิปไตยทั้งทางบกและทางทะเล เป็นต้น โดยให้ความสำคัญกับการมี

ส่วนร่วมในกลไกหลักเพื่อความร่วมมือแบบพหุภาคีของภูมิภาค

แนวทางการดำเนินการของจีน

การมีส่วนร่วมของจีนในกลไกหลักเพื่อความร่วมมือแบบ

พหุภาคีของภูมิภาค โดยอาจแบ่งออกตามกรอบความร่วมมือต่างๆ ที่

ระบุไว้ในเอกสารสมุดปกขาวด้านการป้องกันประเทศของจีนเรื่อง

50

“China’s Policies on Asia-Pacific Security Cooperation”

อันได้แก่

๑. กรอบความร่วมมือจีน – อาเซียน ซึ่งจีนคำนึงถึงอาเซียนเป็น

เพื่อนบ้านในลำดับแรกและสนับสนุนการรวมตัวกันของอาเซียนเป็น

ประชาคมเดียวกัน เพื่อเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือในภูมิภาค ทั้งนี้

ด้วยหลักการพื้นฐานของการเคารพซึ่งกันและกัน ความเสมอภาคกัน

การเป็นเพื่อนบ้านที่ดีและมีความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

๒. กรอบความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

(๑๐+๓) ซึ่งความร่วมมือ ๑๐+๓ เป็นความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ

กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออก อันเป็นความก้าวหน้ามาจากความ

ริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ซึ่งเป็นกระบวนการแบบ

พหุภาคีที่จะเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจซึ่งจีนมุ่งผลักดันการเจรจา

ต่อรองทางการค้า การลงทุน และการบริการให้ยกระดับไปสู่รูปแบบ

ความร่วมมือในการขยายการค้าและการลงทุนภายใต้กรอบ

ความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค (the

Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP)

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


๓. กรอบความร่วมมือจีน - ญี่ปุ่น - เกาหลีใต้ ซึ่งเมื่อวันที่ ๑

พฤศจิกายน ค.ศ.๒๐๑๕ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ได้จัดให้มีการประชุม

ความร่วมมือสามฝ่ายขึ้นที่กรุงโซลประเทศเกาหลีใต้เพื่อพัฒนาความ

สัมพันธ์สามฝ่ายและแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านต่างๆ ในอนาคต

๔. กรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (East Asia Summit

: EAS) การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก เป็นการประชุมระดับ

ผู้นำประเทศเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและความ

ร่วมมือด้านความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งเป็น ๒

จักรกลที่มีแรงขับ ก่อให้เกิดความร่วมมืออย่าง

ประสานสอดคล้องกันของทุกฝ่าย

๕. กรอบการประชุมอาเซียนว่าด้วยความ

ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค

เอเชีย - แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum : ARF)

เป็นเวทีปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ

ด้านการเมืองและความมั่นคงระดับพหุภาคี

ในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก และพัฒนาแนวทาง

การดำเนินการทางการทูตเชิงป้องกัน (Preventive

Diplomacy) ที่มุ่งป้องกันการเกิดและขยายตัว

ของความขัดแย้งโดยใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อ

เชื่อใจ (Confidence Building Measures -

CBMs) ระหว่างกัน โดยเฉพาะเพื่อความร่วมมือ

ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงในรูปแบบใหม่ (Non - Traditional

Security)

๖. กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่

เจรจา (ASEAN Defence Ministers’ Meeting Plus : ADMM - Plus)

เป็นกลไกในระดับสูงที่จะสนับสนุนต่อความร่วมมือในการสร้างความ

ไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านกลาโหม

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

51


๗. กรอบการประชุมกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง - แม่น้ำ

โขง (Lancang - Mekong Cooperation : LMC) ซึ่งเป็นข้อริเริ่มของ

ไทยที่ต้องการส่งเสริมให้อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีการเจริญเติบโตอย่าง

ต่อเนื่องและพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยครอบคลุมความร่วมมือระหว่าง

กันอย่างรอบด้าน

๘. กรอบองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้(Shanghai Cooperation

Organization : SCO) เป็นองค์การที่รวมตัวกันเพื่อความร่วมมือ

ทางการเมือง ความมั่นคงเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ประกอบด้วย

52

สมาชิก ๘ ประเทศคือ จีน รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน

อุซเบกิสถาน อินเดีย และปากีสถาน

๙. กรอบการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และ

มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย

(Conference on Interaction and Confidence - Building

Measures in Asia : CICA) เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับ

สถานการณ์ด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ

และการพัฒนา ตลอดจนการรับมือกับภัยคุกคามและความท้าทาย

รูปแบบใหม่ของภูมิภาค

รูปแบบที่จีนใช้เป็นเครื่องมือ

สำหรับกิจกรรมสำหรับความร่วมมือด้านความมั่นคงโดยเฉพาะ

ความมั่นคงในรูปแบบใหม่ของภูมิภาคซึ่งจีนได้เข้ามีส่วนร่วม เช่น

(๑) การบรรเทาภัยพิบัติ (๒) ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้าย

(๓) ความร่วมมือในการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ(๔) ความมั่นคง

ทางไซเบอร์ (๕) ความร่วมมือเกี่ยวกับความมั่นคงทางทะเล (๖) ความ

ร่วมมือในการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธ เป็นต้น

แนวโน้มของสถานการณ์ด้านความมั่นคงในภูมิภาค

การปรับเปลี่ยนแนวทางการต่อสู้ในทางยุทธศาสตร์ครั้งใหม่ของ

สหรัฐฯ เกิดจากการที่สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดียรวมทั้งออสเตรเลีย ที่กำลัง

เปลี่ยนการเรียกขานภูมิภาคแถบนี้จากที่เคยใช้ว่า “เอเชีย - แปซิฟิก”

ไปเป็น “อินเดีย - แปซิฟิก” โดยระบุว่าศูนย์กลางแรงดึงดูดของโลก

กำลังเคลื่อนย้ายไปสู่ดินแดนหัวใจของอินเดีย – แปซิฟิก ทำให้

นักวิเคราะห์สถานการณ์ความมั่นคงมองว่านี่คือยุทธศาสตร์“ปักหมุด

หวนคืนสู่เอเชีย” ของสหรัฐฯ ที่ขยายให้ครอบคลุมถึงอินเดียด้วย ทั้งนี้

ในบริบทของการต่อสู้ช่วงชิงผลประโยชน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ครั้งใหม่ใน

อาณาบริเวณยูเรเชีย โครงการเส้นทางสายไหมใหม่(New Silk Roads)

ซึ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแถบเศรษฐกิจ (Economic Belt) หรือ

ระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridor) ที่จีนเสนอขึ้นมาและเป็นที่

รู้จักเรียกขานกันในชื่อว่าแผนการริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” หรือ

BRI คือการบูรณาการเครื่องมือของอำนาจแห่งชาติ (ทั้งทางการเมือง

เศรษฐกิจ การทูต การเงิน ทางปัญญาและวัฒนธรรม) ของจีนมาจัด

ทำเป็นวาระทางภูมิรัฐศาสตร์/ภูมิเศรษฐกิจแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ขึ้น

โดย BRI ถือเป็นแนวความคิดเพื่อการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ

ของจีนในอนาคตช่วงต่อไปข้างหน้า และเป็นหัวใจของกรอบความคิด

เกี่ยวกับ “การก้าวผงาดขึ้นมาอย่างสันติของจีน” (China’s Peaceful

Rise)

ดังนั้น นัยสำคัญของการใช้คำว่า “อินเดีย - แปซิฟิก” นั้นทำให้

มีความหมายครอบคลุมรวมเอาเอเชียใต้และมหาสมุทรอินเดียเข้ามาด้วย

และเมื่อพิจารณาจากทัศนะมุมมองของสหรัฐฯ แล้ว นี่คือการ

บ่งบอกเป็นนัยถึงการยกระดับอินเดียให้ขึ้นสู่สถานะของการเป็น

อภิมหาอำนาจระดับโลก ผู้กำลังก้าวผงาดขึ้นมาใหม่ซึ่งสามารถที่จะ

“ปิดล้อมจำกัดวง” จีนได้ ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน

ของสหรัฐฯ ได้เคยกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ว่าศูนย์กลางแห่งแรงดึงดูด

ของโลกกำลังเคลื่อนย้ายไปยังหัวใจของภูมิภาคอินเดีย - แปซิฟิก ทั้งนี้

พลตรี ดร.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล


สหรัฐฯ และอินเดียมีเป้าหมายต่างๆ ร่วมกัน ทั้งในเรื่องสันติภาพ ความ

มั่นคง เสรีภาพในการเดินเรือและสถาปัตยกรรมแห่งความเสรี และ

การเปิดกว้างโดยจะต้องทำหน้าที่ในฐานะเป็นสัญญาณไฟบอก

ตำแหน่งและเตือนภัยอยู่ทางด้านตะวันออกและทางด้านตะวันตกของ

ภูมิภาคอินเดีย - แปซิฟิก ความพยายามที่จะวาดภาพข้อเสนอนี้ว่า

เป็นแนวทางเข้าถึงปัญหาแบบมองภาพองค์รวมเหมือนกับการทบทวน

ยุทธศาสตร์ “การหวนกลับคืนสู่เอเชีย” (pivot to Asia) ในยุค

ประธานาธิบดี บารัค โอบามา เพียงแต่ขยายขอบเขตให้ครอบคลุม

รวมถึงอินเดียด้วย

สำหรับในส่วนของอินเดียแล้วการขานรับต่อแนวความคิดว่า

ด้วยอินเดีย - แปซิฟิก ทำให้อินเดียต้องแสดงบทบาทเสมือนเป็น

นักกายกรรมที่กำลังไต่เส้นลวดด้วยความระมัดระวังอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น

ทั้งนี้เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ ทั้งอินเดียและปากีสถานต่างกลายเป็น

สมาชิกอย่างเป็นทางการขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้(Shanghai

Cooperation Organization หรือ SCO) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญ

อย่างหนึ่งของความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างรัสเซียกับจีน

นอกจากนี้ทั้งอินเดีย จีนและรัสเซียยังต่างเป็นสมาชิกของกลุ่มบริกส์

(BRICS กลุ่มประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ ๕ ประเทศ

ได้แก่บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้) โดยที่ประธานบริหาร

ของธนาคารการพัฒนาใหม่ (New Development Bank หรือ NDB)

ของกลุ่มบริกส์ซึ่งตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ในนครเซี่ยงไฮ้นั้นก็เป็นชาว

อินเดีย ไม่เพียงเท่านั้นอินเดียยังเป็นสมาชิกรายหนึ่งของธนาคารเพื่อ

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย (Asia Infrastructure Investment

Bank หรือ AIIB) ซึ่งนำโดยจีนและเมื่อเร็วๆ นี้ อินเดียยังเข้าร่วม

กิจกรรมใน BRI อีกด้วย

แต่ความพลิกผันเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐ เมื่อนายก

รัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ของอินเดียปฏิเสธไม่ยอมเข้าร่วมการประชุม

ซัมมิตของ BRI ที่กรุงปักกิ่ง เนื่องจากไม่พอใจโครงการระเบียง

เศรษฐกิจจีน - ปากีสถาน (China - Pakistan Economic Corridor

หรือ CPEC) ส่วนเชื่อมโยงหลักส่วนหนึ่งของ BRI ซึ่งตัดผ่านทั้งกิลกิต

- บัลติสถาน (Gilgit – Baltistan ดินแดนตอนเหนือสุดที่อยู่ใต้การ

บริหารของรัฐบาลส่วนกลางปากีสถาน) และภูมิภาคแสนอ่อนไหวซึ่ง

ปากีสถานเรียกว่าอาซัดแคชเมียร์ (Azad Kashmir) ส่วนอินเดียเรียก

ว่าแคว้นแคชเมียร์ ส่วนที่ปากีสถานยึดครองอยู่ทำให้อินเดียได้

โครงการที่เสมือนเป็นคู่แข่งของ BRI โดยเรียกชื ่อว่าระเบียงแห่งการ

เติบโตเอเชีย - แอฟริกา (Asia - Africa Growth Corridor หรือ AAGC)

และมีญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนสำคัญอีกรายหนึ่งโครงการ AAGC ซึ่งได้เงิน

ทุนอุดหนุนจากญี่ปุ่นและใช้โนว-ฮาวเกี่ยวกับแอฟริกาของอินเดีย

ในขณะที่ระเบียงแห่งการเติบโตเอเชีย – แอฟริกา หรือ AAGC

ยังเป็นเพียงเอกสารแสดงวิสัยทัศน์ซึ่งประกาศรับรองโดยอินเดียและ

ญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพและการติดต่อเชื่อมโยง

ในระบบดิจิทัลคล้ายๆ กับความริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” หรือ

BRI ของจีน รวมทั้งความเคลื่อนไหวของกลุ่มจตุรภาคี (Quadrilateral)

ที่ประกอบด้วยสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย รวมทั้งออสเตรเลียซึ่งมี

การเน้นย้ำเรื่องการสร้าง “เสถียรภาพของภูมิภาคอินเดีย - แปซิฟิก”

เพื่อต่อต้านคัดค้านนโยบายการต่างประเทศแบบก้าวร้าวของจีน

โดยเฉพาะปัญหาในทะเลจีนใต้ที่กระทบต่อกองทัพเรือสหรัฐฯ ในขณะที่

ญี่ปุ่นกำลังหวาดระแวงภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ รวมทั้งการที่จีน

เร่งปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยอย่างรวดเร็วทำให้ญี่ปุ่นเตรียมการซื้ออาวุธ

จากสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น ในเวลาเดียวกันอินเดียกับออสเตรเลียก็กำลัง

แสดงความกังวลเกี่ยวกับการรุกโจมตีทางเศรษฐกิจและการทหารของ

จีนจึงทำให้เนื้อหาสาระของ AAGC กับ Quadrilateral เป็นการเชื่อม

โยง “นโยบายลงมือทำเพื่อมุ่งตะวันออก” (Act East Policy) ของ

อินเดียเข้ากับ “ยุทธศาสตร์ภูมิภาคอินเดีย - แปซิฟิกที่เสรีและ

เปิดกว้าง” (Free and Open Indo - Pacific strategy) ของญี่ปุ่น

จนอาจระบุได้ว่ายุทธศาสตร์ของอินเดีย - ญี่ปุ่นนี้มีจุดมุ่งหมาย

ที่จะครอบคลุมภูมิภาค “ยูราซิฟริกา” (Eurasifrica นั่นคือ

ยุโรป+เอเชีย+แอฟริกา) อันทำให้ท้าทายต่อยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบ

หนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Initiative : BRI) ของจีน

เอกสารอ้างอิง

ไชยสิทธิ์ตันตยกุล, พลตรี ดร. (๒๕๖๑). ยุทธศาสตร์จีนบนเวทีโลก เล่ม ๒. กรุงเทพฯ :

อรุณการพิมพ์.

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. ๒๕๖๑. เอกสารประกอบ

การประชุมเชิงสัมมนาทางวิชาการศูนย์อาเซียนศึกษาครั้งที่๑ เรื่อง “สถานการณ์

ความมั่นคงในภูมิภาคอาเซียนและอินโด-แปซิฟิก : ผลกระทบต่อไทยและอาเซียน

ระหว่างวันที่๑๗ - ๑๙ ธันวาคม ๒๕๖๑ ณ โรงแรมอิงธารรีสอร์ต จังหวัดนครนายก.

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

53


ภาษาอังกฤษง่ายๆ สไตล์ครูวันดี

แบบฝึกหัดภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน

(American Language Course Placement Test: ALCPT)

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ

นักวิจัยพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

เราห่างหายจากการทำแบบฝึกหัดภาษาอังกฤษกันมานานแล้วนะคะ ทั้งๆ

ที่ปัจจุบันนี้ การวัดความรู้ภาษาอังกฤษของข้าราชการทหารในการ

สอบวัดระดับเพื่อเข้าเรียนหลักสูตรทางทหาร หรือจัดอันดับผู้สมัคร

รับทุนไปศึกษาในต่างประเทศ การเข้าเรียนโรงเรียนเสนาธิการเหล่าทัพ

หรือการสอบคัดเลือกการดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในต่างประเทศเช่น

เสมียนทูตทหาร ผู้ช่วยทูตทหาร หรือภารกิจขององค์การสหประชาชาติ

(United Nations) การทดสอบส่วนใหญ่อาจจะเป็นการทดสอบแบบ

ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน American Language Course Placement

Test (ALCPT) การทดสอบแบบภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย

AUSTRALIAN DEFENCE FORCE ENGLISH LANGUAGE PROFILING

SYSTEM (ADFELPS) หรือบางหน่วยให้นายทหารระดับผู้บังคับหน่วย

ต้องผ่านเกณฑ์การสอบ TOEIC (Test of English for International

Communication) ซึ่งเป็นการสอบภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารในระดับ

นานาชาติ ดังนั้น เราต้องเตรียมพร้อมพัฒนาภาษาอังกฤษอย่าง

สม่ำเสมอเพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจร่วมกับมิตรประเทศ รวมทั ้งการ

เตรียมสอบเพื่อความก้าวหน้าในชีวิตรับราชการค่ะ วารสารหลักเมือง

ฉบับนี้เป็นการทำแบบฝึกหัดจากเนื ้อหาในตำรา American

Language Course มาให้ผู้อ่านประเมินความรู้ด้านภาษาอังกฤษ

แบบง่ายๆ เพียง ๑๕ ข้อเท่านั้น พร้อมกันนี้ ได้นำเสนอบทสนทนา

กับสำนวนที่นิยมใช้ในชีวิตประจำวันมาให้อ่านด้วยค่ะ

54

Test 1: Which word is different?

1. library classroom barracks mess hall

2. drive pencil consider instruct

3. breakfast salad dinner lunch

4. taxi plane truck car

5. soldier sailor civilian airman

Test 2: Read the title. Choose the information that might

be found in a paragraph with that title. There may be more

than one answer for each one.

1. Medical career fields.

a. the name of the career fields

b. where to find a good doctor

c. the most expensive clinic

d. what to study to become a nurse

2. The cost of hunting weapons.

a. why they are expensive

b. what color they are

c. where to keep them

d. the best place to buy them

พันเอกหญิง ดร.วันดี โตสุวรรณ


3. Dangerous sports in the U.S

a. how many players are on each them

b. why some sports are dangerous

c. how many players are hurt each year

d. why countries play these sports

4. Our team loses its last game.

a. how big the stadium is

b. which players were hurt.

c. the score at the end of the game.

d. the weather that day

5. The Office of Permanent Secretary for Defence

a. the military headquarters

b. Why people prefer to make a merit

c. disciplined personnel

d. how many singers applied for this contest.

Test 3: Read this conversation. Circle T if the statement is

true. Circle F if it’s false.

Wanchai: Wandee, are you sleeping? Time to wake up!

It’s already 05.40.

Wandee: Come on in. I woke up thirty minutes ago. I’m

working on my homework.

Wanchai: Are you finished yet?

Wandee: I just need to do one exercise over. I didn’t read

the instructions the first time, so I did it wrong.

Wanchai: I came to see the books you what to throw out.

Wandee: They’re over there on the floor. I already threw

some of them away. I don’t think anybody

wanted them.

Wanchai: Oh! You have some on sports.

Wandee: Yes, I’m really fond of sports. I didn’t want to

throw them away, but I can’t get them in my

suitcase.

Wanchai: Throw me that ashtray, please. I need to put out

my cigarette.

Wandee: Here, catch! And keep that cigarette away from

me. You know I don’t like the smoke.

Wanchai: When are you leaving?

Wandee: Well, I wanted to leave Sunday, but they won’t

allow me to leave until Wednesday.

Wandee: Do you mind if I take these?

Wanchai: Of course not. Let me help you them into

your bag.

Wandee: Thanks, I appreciate the books and the help.

Wanchai: Well, I’m glad you wanted them.

Wandee: See you in class tomorrow.

Circle T if the statement is true. Circle F if it’s false.

1. Wandee was working on her homework. T F

2. Wandee had three exercises to do over. T F

3. Wanchai came to throw away some books. T F

4. Wandee already threw some of the books away. T F

5. Wanchai needs an astray because he T F

wants to put out his cigarette.

เฉลยคำตอบ

Test 1: 1. classroom 2. Pencil 3. salad 4. plane 5. civilian

Test 2: 1. a, b 2. a, d 3. b, c 4. b, c 5. a, c

Test 3: 1. T 2. F 3. F 4. T 5. T

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

55


การก่อการร้าย :

จากโทรศัพท์มือถือสู่โทรศัพท์อัจฉริยะ

Terrorism: From Mobile Phones to Smart Phones

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ

ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองข่าวความมั่นคง สำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร

“มาตรา ๑๔ (๒) : นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูล…อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะ

เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย

สาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็น

ประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน”

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปี ๒๕๖๐

ทเรียนแห่งความทรงจำเรื่องที่ ๑ ที่ควรได้รับการทบทวน

(Physical) : “การก่อการร้ายเปรียบเสมือนการขยายช่องทาง

ของคลื่นสัญญาณที่ถูกส่งออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด” โดยเมื่อปลาย

ศตวรรษที่ ๒๐ ที่เป็นยุคเริ่มต้นของการใช้โทรศัพท์มือถือแบบ

เคลื่อนที่ (Mobile Phone) ได้เกิดเหตุการณ์ ๙/๑๑ (Nine One

One) (๑๑ กันยายน ๒๐๐๑) ซึ่งก่อนที่จะเกิดปฏิบัติการก่อเหตุ

วินาศกรรมในอีกไม่กี่วันข้างหน้า กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์

(Al-Qaeda) จำนวน ๑๙ คน กำลังนั่งจิบกาแฟอเมริกาโน่เย็นๆ

พร้อมทั้งสายตาที่จับจ้องมองพื้นที่รอบตัว เพื่อสำรวจเป้าหมาย/

พื้นที่ และจากนั้นได้ประสานการก่อเหตุผ่านอีเมล โดยผลลัพธ์ที่

ต้องการคือการเขย่าวงการความมั่นคงของโลกซึ่งแผนการก่อเหตุ

เป็นวิธีการก่อการร้ายด้วยอาวุธแบบใหม่โดยที่เป็นการผสมผสาน

ยุทธวิธีเดิมกับความคิดริเริ่มใหม่ด้วยการใช้เครื่องมือของฝ่ายตรงข้าม

ซึ่งได้แก่ การปล้นเครื่องบินพาณิชย์ของสหรัฐฯ ๔ ลำ ที่เป็นยุทธวิธี

ดั้งเดิมของการก่อการร้าย ผสมผสานกับการออกแบบยุทธวิธี

56

รูปแบบใหม่จากความคิดริเริ่ม กล่าวคือบังคับเครื่องบินให้พุ่งเข้าชน

สถานที่สำคัญ/ที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ของสหรัฐฯ ที่อาคารเพนตากอน

ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางทหาร (Pentagon) และตึกเวิลด์เทรด

เซ็นเตอร์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางเศรษฐกิจ (World Trade Center)

ต่อมาในยุคศตวรรษที่ ๒๑ (ปี ๒๐๑๗) คลื่นแห่งความรุนแรงได้

เคลื่อนตัวมาจากสหรัฐฯ จนมากระทบฝั่งในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งกลุ่ม

ติดอาวุธประจำถิ่นมาอูเต้ (Maute) ได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Facebook

Live) เพื่อสาบานตนสวามิภักดิ์ (Bayat) กับกลุ่มรัฐอิสลาม

(IS : ไอเอส) อีกทั้งได้ทำการใช้เพื่อเชิญชวนสมาชิกกลุ่มไอเอส จาก

ทั่วโลก (Foreign Terrorist Fighters) เพื่อร่วมปฏิบัติการยึดเมือง

มาราวี ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ โดยจะสถาปนาเป็นรัฐอิสลาม

สาขาเอเชียจากการศึกษาพบว่าทั้ง ๒ กลุ่มต่างก็มีความเหมือนใน

ด้านวัตถุประสงค์ในการก่อเหตุรุนแรง นั่นก็คือ “การเอาชนะใน

สงครามจิตวิทยา โดยหวังให้เกิดความหวาดกลัว/ตื่นตระหนก ใน

หมู่ประชาชนทั่วโลก” อีกทั ้งแสดงให้กลุ่มก่อการร้ายในต่างพื้นที่

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ


ตระหนักว่า “แนวความคิด/อุดมการณ์ได้ถูกส่งออกไปแล้ว” (ผ่าน

ความรุนแรง) สิ่งที่น่าสังเกตคือ วิวัฒนาการของการผสมผสาน

ยุทธวิธีในการก่อเหตุทั้งการจี้เครื่องบินเพื่อพุ่งชนจนถึงการสาบานตน

และระดมสรรพกำลังผ่านสื่อสังคมออนไลน์

บทเรียนแห่งความทรงจำที่ควรได้รับการทบทวนเรื่องที่ ๒

(Virtual) : “กลุ่มก่อการร้ายมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและไซเบอร์

อย่างต่อเนื่อง” ในการก่อสงครามในแต่ละครั้งวัตถุประสงค์ของ

ตัวแสดงที่เป็นรัฐ - ไม่ใช่รัฐ - กลุ่มการก่อการร้าย มีร่วมกันคือ การ

เปลี่ยนแปลงทางการเมือง/การปกครองแต่ทั้งนี้อาจมีความแตกต่าง

กันบ้างในเรื่องของการใช้กำลังอันเนื่องมาจากการต่อสู้ระหว่าง

ประเทศที่มีอำนาจกำลังรบเปรียบเทียบที่แตกต่างกัน ที่ทางทหาร

เรียกสงครามลักษณะนี้ว่าสงครามอสมมาตร (Asymmetric Warfare)

โดยคู่สงครามคือประเทศ/กลุ่มที่มีอำนาจทางทหารที่เหนือ

กว่ากับกลุ่มที่มีขีดความสามารถที่ด้อยกว่า โดยฝ่ายหลังจะทำการรบ

แบบกองโจรที่มุ่งเน้นในการทำลายพื้นที่ส่วนหลังของข้าศึก จึง

จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือ (Means) ซึ่งได้แก่อาวุธที่มีประสิทธิภาพ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

ที่รุนแรงและสร้างผลกระทบในทันทีซึ่งในศตวรรษที่ ๒๐ การกระทำ

ลักษณะนี้เป็นการมุ่งเน้นการทำลายทางกายภาพ และนิยมใช้

อย่างต่อเนื่อง อาทิ กลุ่มก่อการร้ายเฮซบุลเลาะห์ใช้รถยนต์ติดระเบิด

สังหารอดีตนายกรัฐมนตรี นายราฟิก ฮาริรี (๒๐๐๕) จนถึงกลุ่ม

อัลกออิดะห์ทำการจี้เครื่องบินพุ่งชนในเหตุการณ์ ๙/๑๑ โดยในยุค

ศตวรรษที่ ๒๑ (ปัจจุบัน) ที่โทรศัพท์มือถือมีการพัฒนาไปเสมือน

เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (Smart Phone) ซึ่งมากับความเร็ว

ของ 5G และวิวัฒนาการของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลให้คู่

ขัดแย้งในสนามรบเริ่มมีความเท่าเทียมกันในการต่อสู้ซึ่งกลุ่มก่อการร้าย

ได้มีความเข้าใจว่าการทำลายทางกายภาพนั้นอาจส่งผลกระทบต่อ

การสร้างมวลชนจึงได้ปรับกระบวนทัพมุ่งสู่สงครามทางไซเบอร์

(Virtual) ซึ่งจากการศึกษาพบว่า รูปแบบของการก่อการร้ายได้มี

การพัฒนาขีดความสามารถทั้งรูปแบบและวิธีการให้ทันสมัยต่อ

สถานการณ์ที่ประชากรโลกกำลังยืนบนแพลตฟอร์ม (Platform)

แห่งโลกดิจิทัล ดังจะเห็นได้จากการที่กลุ ่มก่อการร้ายเฮซบุลเลาะห์

(Kata’ ib Hezbollah) ที่ได้ตั้งศูนย์ฝึกอบรมนักรบไซเบอร์จำนวน

กว่า ๔๐๐ นาย (Electronic Armies) เพื่อใช้ในการต่อต้าน

ข่าวกรอง การปล่อยข่าวลวงบนสื่อสังคมออนไลน์และการโจมตีทาง

ไซเบอร์ โดยกลุ่มฯ ได้ทำการส่งกำลังพลที่ได้รับการฝึกเข้าไปให้

สนับสนุนกิจการทางการเมืองในเลบานอน กลุ่มก่อการร้ายไอเอส

(IS) ที่กองบัญชาการไซเบอร์กองทัพสหรัฐฯ (U.S. Cyber Command)

ยอมรับว่าเป็นกลุ่มที่มีความทันสมัย และความสามารถ

ประยุกต์และแสวงประโยชน์เทคโนโลยีของฝ่ายตรงข้ามในการโจมตี

อาทิ ระดมพล/สอนวิธีการก่อเหตุด้วย แอปพลิเคชันแบบการเข้า

รหัส และรวมไปถึงการใช้เพื่อโฆษณาชวนเชื่อบนสื่อสังคมออนไลน์

สิ่งที่น่าสังเกตคือ เป็นอีกยุคที่วิวัฒนาการของฝ่ายตรงข้ามถูกนำมา

ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงประโยชน์ให้ฝ่ายตนเอง

บทเรียนแห่งความทรงจำที่ควรได้รับการทบทวนสุดท้าย :

ข้อแรก : “การครองอำนาจนำในสนามรบคือความได้เปรียบ”

การเตรียมการรับมือของฝ่ายความมั่นคงย่อมจะต้องปรับ

ยุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงแค่สอดคล้องต่อสถานการณ์แต่จะต้องล้ำหน้า

กว่าฝ่ายตรงข้ามอย่างต่อเนื่อง ข้อสอง : “หัวใจคือการปรับเปลี่ยน

รูปแบบ” โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้สั่งการได้ถูกเปลี่ยนมาหลายยุค

(Generations) ผู้ก่อการร้าย/ฝ่ายตั้งรับสามารถเปลี่ยนแนวคิด

ให้ทันสมัยตามเทคโนโลยีแล้วหรือยัง

References

- Bruggeman U 2017, The Asymmetric War of ISIL: Implications

for Counter-Terrorism, Federal Academy for Security Policy, Security

Policy Working Paper, No 13/2017, viewed 3 rd Sept 2020 <https://

www.jstor.org/stable/resrep22187?seq=1#metadata_info_tab_contents>.

- Crisp, W&Salhy, S 2020, Exclusive: Inside Hizbollah’s fake

news training camps sowing instability across the Middle East, The

Telegraph, 2 nd Aug, viewed 3 rd Sept 2020 <https://www.telegraph.

co.uk/news/2020/08/02/exclusive-inside-hezbollahs-fake-newstraining-camps-sowing/>.

57


ศูนย์ความร่วมมือด้านเทคโนโลยี

ปัญญาประดิษฐ์เพื ่อการป้องกันประเทศ

(Defence Artificial Intelligence Collaboration Center)

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม

ากใครเป็นแฟนพันธุ์แท้ของภาพยนตร์สไตล์หุ่นยนต์ อาทิ

คนเหล็ก ๒๐๒๙ (Terminator) ที่พัฒนาหุ่นยนต์จนคล้าย

มนุษย์ The Matrix เพาะพันธุ์มนุษย์เหนือโลก (๑๙๙๙) AI จักรกล

อัจฉริยะ (๒๐๐๑) Surrogates (ซักโรเลต) iRobot (ไอโรบอท)

หรือ Minority Report (มิโลนิตี้ รีพอร์ต) ก็คงจะคุ้นตากับการนำ

ระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence หรือ เอไอ ที่

เห็นการทำงานของหุ่นยนต์ ที่มีปัญญาที่มาใช้แทนมนุษย์ได้ทั้งดีหรือ

ไม่ดี จนในปี พ.ศ.๒๕๖๓ นี้ สิ่งที่เราเคยคิดฝันจากภาพยนตร์ก็กลาย

เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในปัจจุบันที่ทุกหน่วยงานโดยเฉพาะทางด้าน

ความมั่นคงจะต้องจับตาหรือติดตาม หรือพัฒนาองค์การให้สามารถ

นำเทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์มาใช้ในภารกิจให้มีประสิทธิภาพและ

สามารถโต้ตอบกับฝ่ายตรงข้ามได้อย่างฉับพลัน

สารานุกรมวิกิพีเดีย ได้ให้ความหมายปัญญาประดิษฐ์(อังกฤษ

Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) ไว้ว่า “ความฉลาดเทียมที่

สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้าน

58

วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์

ในด้านอื่นๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญา

ประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ

การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง”

ในห้วง ๒ - ๓ ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(Artificial

Intelligence) หรือ เอไอ (AI) นั้นมีการตื่นตัวกันทั่วโลก โดยเฉพาะ

ประเทศยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา

ได้ประกาศกลยุทธ์ที่ยิ่งใหญ่ในการควบคุมเทคโนโลยีปัญญา

ประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในหลายๆ ด้าน อาทิ การ

วิเคราะห์ข่าวกรอง (Intelligence Analysis) ระบบการตัดสินใจ

(Decision-making) เทคโนโลยียานพาหนะไร้คนขับ (Autonomous

Vehicles) หรือการส่งกำลังบำรุงและอาวุธ (Logistics, and

Weaponry) เป็นต้น ว่ากันไปแล้วเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และ

หุ่นยนต์จึงไม่ได้เป็นสิ่งใหม่แต่มีความสำคัญที่จะต้องนำมาประยุกต์

ใช้ให้เหมาะกับภารกิจมากกว่า อย่างเช่น การใช้ปัญญาประดิษฐ์

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางทหาร กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม


ทางการทหารหรือการป้องกันประเทศนั้น คาวิต้า แน็กพาว (Kavita

Nagpal : 2020) นักวิชาการจากเว็บไซต์ด้านการป้องกันประเทศ

Defproac.com กล่าวถึงการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้กับการป้องกัน

ประเทศไว้ว่า “หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) คือ การผสมผสาน

ระหว่างเทคโนโลยีและปัญญาสำหรับการจำลองการประมวลผล

ข้อมูลและความรับรู้ เพื่อสร้างขีดความสามารถให้ทำเครื่องจักร

สามารถเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ได้ ดังนั้นปัญญาประดิษฐ์

(AI) จึงเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อและสามารถนำมาประยุกต์ในการ

ใช้งานได้อย่างหลากหลายทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจและการทหาร”

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางทหาร กรมวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีกลาโหม ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการวิจัย

และพัฒนางานวิจัยทางด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ จึงได้มี

การกำหนดเป้าหมายในการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือทางเทคโนโลยี

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ (Robotics) ด้านความมั่นคงของ

กระทรวงกลาโหม ในห้วงระยะเวลา ๓ ปี (พ.ศ.๒๕๖๓ - ๒๕๖๕)

เพื่อผลิตผลงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม สนับสนุนภารกิจ

ของกองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง และอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเป็นศูนย์

ประสานความร่วมมือด้านบุคลากร ห้องปฏิบัติการ และโครงสร้าง

พื้นฐานทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์(AI & Robotics)

ด้านความมั่นคง ระหว่างกระทรวงกลาโหมกับเครือข่ายการวิจัย

ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อพัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยี

ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ของกระทรวงกลาโหม และเพื่อ

เป็นศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์

AI & Robotics ของกระทรวงกลาโหมที่เป็นศูนย์ข้อมูลหลัก

ที่สำคัญให้แก่กระทรวงกลาโหมต่อไป

กรอบการดำเนินงานของศูนย์ความร่วมมือ AI & Robotics

ได้แบ่งออกเป็นแผนงาน เช่น การสำรวจความต้องการงานวิจัยร่วม

กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมยุทธการเหล่าทัพ กรมส่งกำลัง

บำรุงเหล่าทัพ หน่วยประสานการวิจัยเหล่าทัพ โรงเรียนทหารเหล่าทัพ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และหน่วยใช้ผลงานวิจัยและ

พัฒนาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นการพัฒนาและร่วมมือ

เครือข่ายการวิจัยการติดตามเทคโนโลยีด้าน AI & Robotics

การจัดการความรู้ (KM) และบริการข้อมูลด้าน AI & Robotics

การพัฒนาโครงการวิจัยและพัฒนาสนับสนุนภารกิจของกระทรวง

กลาโหม การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน AI & Robotics การพัฒนา

ต้นแบบวิศวกรรม หรือต้นแบบอุตสาหกรรมเพื่อการผลิต

แผนที่นำทางการดำเนินงานของศูนย์ความร่วมมือ AI &

Robotics มีการดำเนินงานในขั้นต้นของศูนย์ความร่วมมือ AI &

Robotics โดยขั้นการนำร่องเริ่มจากปี พ.ศ.๒๕๖๓ ระยะกลางขั้น

การพัฒนาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๖๔ และระยะยาวคือขั้นการต่อยอดและ

มุ่งเป้า (พ.ศ.๒๕๖๕)

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางทหาร กรมวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีกลาโหมคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นการจัดตั้งศูนย์กลาง

ความร่วมมือ AI & Robotics ด้านความมั่นคงแห่งแรกของกระทรวง

กลาโหมที่ส่งเสริมให้บุคลากรของกระทรวงกลาโหม มีความรู ้ความ

สามารถด้าน AI & Robotics สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้

งานได้จริง นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนา

เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology) ที่สามารถนำมาใช้

ประโยชน์แก่กองทัพ และสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ต่อไป

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

59


เปิดประตูสู่เทคโนโลยี

ป้องกันประเทศ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

แสดงศักยภาพความพร้อมจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม

ระบบอากาศยานไร้คนขับ

ตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศและภูมิภาคอาเซียน

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

ปั

จจุบันเทคโนโลยีระบบอากาศยานไร้คนขับถูกนำไปประยุกต์

ใช้งานด้านการพัฒนาประเทศ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน

ภาคพลเรือน และเพื่อการพาณิชย์ อีกทั้งมีแนวโน้มในการนำระบบ

อากาศยานไร้คนขับมาประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ อาทิ การบินสำรวจ

ถ่ายภาพ จัดทำแผนที่ ๓ มิติ งานด้านการเกษตรกรรม การตรวจ

สภาวะแวดล้อม เพื่อการช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย การปราบ

ปรามอาชญากรรม ภารกิจด้านการรักษากฎหมาย และภารกิจด้าน

มนุษยธรรม ฯลฯ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. แสดง

ศักยภาพความพร้อมจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ

ตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศและภูมิภาคอาเซียน พร้อม

พัฒนาบุคลากรผู้ใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับในประเทศไทยที่

เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว

60

พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการสถาบัน

เทคโนโลยีป้องกันประเทศและผู้อำนวยการศูนย์ฝึกอบรมระบบ

อากาศยานไร้คนขับ เปิดเผยว่าการนำระบบอากาศยานไร้คนขับ

มาปฏิบัติภารกิจทั้งทางทหารและพลเรือนนั้น บุคลากรด้านการบิน

ระบบอากาศยานไร้คนขับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เนื่องจากการ

ปฏิบัติงานของระบบอากาศยานไร้คนขับต้องอาศัยบุคลากรที่

เกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมและวางแผนการปฏิบัติ

ภารกิจ เจ้าหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ Payload เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักบินผู้บังคับอากาศยานไร้คนขับ ซึ่งมีความ

จำเป็นในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับ ทั้งการนำเครื่องบินขึ้น - ลง

การกำหนดเส้นทางการบิน และควบคุมอากาศยานในกรณีฉุกเฉิน

โดยบุคลากรต้องได้รับการฝึกอบรมพัฒนาให้เป็นไปตามกฎ

ระเบียบ ข้อบังคับตามมาตรฐานสากลเพื่อให้มีขีดความสามารถ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


ในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งความ

ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญเพราะในปี ๒๕๕๘ ประเทศไทยมีบทเรียนที่

สำคัญ คือได้รับธงแดงจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

(ICAO) สาเหตุมาจากมาตรฐานด้านการบินของไทยมีความเสี่ยงสูง

และไม่ปลอดภัย ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินของ

ประเทศไทยภายใน ๒ ปีที่โดนธงแดงทำให้เกิดการสูญเสียในเชิง

เศรษฐกิจเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท ซึ่งในขณะนั้น “ผมได้รับมอบ

หมายให้เป็นเลขานุการคณะทำงานในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและ

เมื่อช่วงต้นปี ๒๕๖๑ ผมได้มีโอกาสเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศจึงได้นำประสบการณ์การทำงาน

ในครั้งนั้นมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์และนโยบายการจัดตั้งศูนย์ฝึก

อบรมระบบอากาศยานไร้คนขับตามมาตรฐานสากลแห่งแรกใน

ประเทศและภูมิภาคอาเซียนขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการ

พัฒนาบุคลากรของกระทรวงกลาโหม หน่วยงานด้านความมั่นคง

บุคคลทั่วไป และสามารถรองรับการขยายตัวของการใช้งานภายใน

ประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อให้การฝึกอบรมหลักสูตรนักบิน

อากาศยานไร้คนขับให้แก่หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนมีความ

ปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่สำนักงานการบินพลเรือน

แห่งประเทศไทย (CAAT) เป็นผู้กำหนด”

สทป. มีขีดความสามารถในการประสานความร่วมมือกับ

ทุกเหล่าทัพรวมถึงหน่วยงานภายนอกกระทรวงกลาโหมทั้งภาครัฐ

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

และเอกชนภายในประเทศ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของเหล่าทัพ

รวมทั้งหน่วยงานพลเรือนตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลให้ได้ผล

อย่างเป็นรูปธรรม สทป. จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลาง

บูรณาการด้านการฝึกอบรมบุคลากรผู้ใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับ

ที่เป็นมาตรฐานสากล ดังนั้น ศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ

(Defence Technology Institute Unmanned Aircraft Systems

Training Centre : DTI-UTC) จึงมีความพร้อมในทุกด้านทั้งนโยบาย

โครงสร้างองค์กร งบประมาณและบุคลากรที่มีความรู้และ

ประสบการณ์ด้านการฝึกอบรมการใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับ

ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสองทาง (Dual Use) ที่สามารถนำไปใช้งานทั้งทาง

ทหารและพลเรือน ในการนำไปประยุกต์ใช้งานด้านการพัฒนาแผนที่

๓ มิติ สร้างแบบจำลองพยากรณ์สถานการณ์เป็น Solution ในการ

ป้องกันปัญหา รวมถึงการนำไปวิจัยและพัฒนาประยุกต์ใช้แก้ไข

ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมด้านเศรษฐกิจและสร้างรายได้ในเชิง

ธุรกิจเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ ด้วยกลยุทธ์ที่สำคัญ

คือ เน้นการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานหรือลูกค้าด้วยการ

สร้างความแตกต่าง ไม่ใช่เพียงแค่การฝึกให้บุคลากรใช้งานอากาศยาน

ไร้คนขับเพื่อถ่ายภาพทั่วไป แต่จะเน้นการพัฒนาผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ด้วยกระบวนการ Competency Based Training ให้มีความรู้

(Head) ความชำนาญ (Hand) และทัศนคติที่ถูกต้อง (Heart) เพื่อให้

มีขีดความสามารถในการใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับที่เหมาะสม

ตามภารกิจและวัตถุประสงค์ในการใช้งานการบินอากาศยานไร้คนขับ

ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงต่ออุบัติภัยที่อาจ

เกิดขึ้นได้ซึ่ง สทป. มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน Safety Management

System และ Quality Assurance ด้านมาตรฐานการบินจาก

ทั้งภายในและภายนอก สทป.

การฝึกอบรมการบินระบบอากาศยานไร้คนขับของ DTI-UTC

หลักสูตรแรก ได้แก่ หลักสูตร Remote Pilot Licence (RPL) ที่ฝึก

อบรมทั้งภาคทฤษฎีภาคการฝึกจำลอง (Simulator) และภาคอากาศ

ทั้งแบบ Aeroplane และแบบ Multi Rotor เป็นไปตามหลักสูตรที่

ได้รับการรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

ในการฝึกอบรมให้แก่กำลังพลของเหล่าทัพ หน่วยงานพลเรือน

ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป หลักสูตร

ที่สอง คือ หลักสูตรครูการบินระบบ

อากาศยานไร้คนขับ รวมถึงการ

ดำเนินการภารกิจด้านการศึกษา

รวบรวมข้อมูล สร้างเครือข่ายการ

วิจัยและพัฒนาด้านการฝึกอบรม

และการใช้งาน พร้อมทั้งให้ความรู้

บริการ ส่งเสริม สนับสนุน ทดสอบ

ซ่อมบำรุง และบูรณาการความร่วม

มือในด้านวิจัยและพัฒนา และการ

ประยุกต์ใช้งานร่วมกับหน่วยงานที่

เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอก

61


ประเทศ มีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานด้านการบินระบบ

อากาศยานไร้คนขับให้กับประเทศไทย และมิตรประเทศในภูมิภาค

อาเซียน โดยบุคลากรของ สทป.มีความพร้อมและมีศักยภาพใน

ทุกด้าน เช่น มีพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ในการสอนนักบินให้กับ

เหล่าทัพและหน่วยงานความมั่นคงมาแล้วมากกว่า ๕ ปี และได้เปิด

การฝึกอบรมนักบินโดรนมาแล้วกว่า ๖ รุ่นด้วยกัน

ทั้งนี้ สทป. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) เพื่อร่วมมือใน

การพัฒนาด้านมาตรฐานการบินโดรนภายในประเทศ ร่วมกับหน่วย

งานด้านการบินที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศอีกด้วยโดย สทป. ได้ส่ง

เจ้าหน้าที่ในคณะทำงานร่างหลักสูตรไปศึกษาดูงานยังหน่วยงาน

ต่างประเทศเพื่อเทียบเคียง และสืบค้นมาตรฐานจาก Authority ทั้ง

ICAO, FAA, EASA, CASA และ JARUS เพื่อนำมาบูรณาการแสวงหา

ความร่วมมือ จัดทำร่างหลักสูตรขึ้นใหม่ปรับเข้าสู่มาตรฐานนำเข้า

ขั้นตอนขอรับรองให้เป็นสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (Approved

Training Organization) จาก CAAT Regulator ด้านมาตรฐานการ

บินของประเทศไทย ให้อนุมัติและรับรองหลักสูตร ทำให้ DTI-UTC

สามารถเปิดสอนนักบินอากาศยานไร้คนขับได้อย่างถูกต้องตาม

กฎหมาย มีศักดิ์และสิทธิ์ในการให้ใบประกาศนียบัตร (Certificate)

แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมเพื่อไปสอบใบอนุญาตจาก CAAT ได้ โดย

ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีการพัฒนากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

ด้านการบินอากาศยานไร้คนขับ ให้เป็นไปตามกฎหมายสากลโดย

เฉพาะอย่างยิ่ง ในปี ๒๕๖๕ ตามวงรอบ ICAO ก็จะกลับมาตรวจสอบ

มาตรฐานการบินของประเทศไทย หากเราไม่พัฒนาและเตรียมการ

ในเรื่องนี้ไว้แต่เนิ่นๆ ลองจินตนาการว่าอีกไม่นานจะเห็นอากาศยาน

ไร้คนขับ หรือ โดรนบินในบ้านเราเต็มไปหมด และหากโดรนเหล่านั้น

บินโดยไม่มีมาตรการใดๆ มาควบคุม หรือบินโดยที่ไม่มีความตระหนักรู้

จะเป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยสร้างความเสียหาย

หรือหากมีการนำโดรนไปแสวงประโยชน์ในทางที่ผิด จะกลายเป็น

ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในชีวิตและ

ทรัพย์สินต่อไป

DTI-UTC ขอเชิญชวนให้ท่านที่ใช้งานโดรน โดยตระหนักถึงการ

สร้างมาตรฐานการบินโดรนอย่างปลอดภัยและร่วมกันรับผิดชอบต่อ

สังคมและประเทศชาติ เข้ารับการฝึกอบรมนักบินโดรนตามหลักสูตร

ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลซึ ่งคาดว่าจะเปิด

รับสมัครในช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้ และเริ่มเปิด

การฝึกอบรมได้ภายในต้นปี๒๕๖๔ ดูรายละเอียด

ได้ที่เว็บไซต์ www.dti.or.th และ facebook

fanpage : Defence Technology Institute

โดยการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระบบ

อากาศยานไร้คนขับที่กล่าวมาข้างต้นนั้น

สอดคล้องและบรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ของ สทป. คือ

“เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

ในภูมิภาค ตอบสนองความต้องการของ

กองทัพไทย และพันธมิตรอาเซียน”

62

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จเยี่ยมโรงงานเภสัชกรรมทหาร เมื่อ ๑๑ เมษายน ๒๕๑๒

“ยาและเวชภัณฑ์

กับหลักประกันความมั ่นคงแห่งชาติ”

โรงงานเภสัชกรรมทหาร

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

ระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช

มหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำรัสอธิบายความหมาย

ของ “ความมั่นคงแห่งชาติ” ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนาม

ของทหารรักษาพระองค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒

ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ณ พระลานพระราชวัง

ดุสิต ความตอนหนึ ่งว่า “…ประเทศชาตินั้น

ประกอบด้วย ผืนแผ่นดินกับประชาชน และ

ผืนแผ่นดินนั้นเป็นที ่เกิด ที่อาศัย ที่อำนวย

ประโยชน์สุข ความมั่นคงร่มเย็นแก่ประชาชน

ให้สามารถรวมกันอยู่เป็นปึกแผ่นเป็นชาติได้

ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ จึงมิได้

อยู่ที่การปกป้องรักษาผืนแผ่นดินไว้ ด้วย

แสนยานุภาพแต่เพียงอย่างเดียว หากจำเป็น

ที่ประชาชนจะต้องมีความวัฒนาผาสุก

ปราศจากทุกข์ยากเข็ญด้วย...”

จากพระราชดำรัสนี้ จะเห็นได้ว่า

“ความมั่นคงแห่งชาติ” มิได้หมายความ

เพียงความเข้มแข็งของกำลังทหารแต่เพียง

ประการเดียว

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

ยาและเวชภัณฑ์ เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความจำเป็นต่อการ

ดำรงชีวิตของมนุษย์ ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความมั่นคง

แห่งชาติ รัฐเห็นความจำเป็นของความมั่นคงด้านยามานานตั้งแต่

63


ช่วงสงครามโลก โดยเห็นว่าประเทศต้องมีโรงงานผลิตยาที่มีกำลังการ

ผลิตเพียงพอเพื่อลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ จึงได้ก่อตั้ง

“โรงงานเภสัชกรรมของรัฐบาล” ขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๘๒ และขยายตัว

เรื่อยมาจนเป็น องค์การเภสัชกรรม ในปัจจุบัน นอกจากนี้กองทัพได้

เล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องผลิตยาใช้ในภาวะสงคราม จึงได้ก่อตั ้ง

“โรงงานเภสัชกรรมทหาร” ขึ้นในปลายปี พ.ศ.๒๕๐๖

คำว่า “ความมั่นคงด้านยา” หมายถึง การที่ประชาชนไทยมียา

จำเป็นอย่างเพียงพอกับความต้องการ มีเสถียรภาพและสามารถเข้า

ถึงยาได้ทั่วถึง ทั้งในสภาวะปกติหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน และยาควรมีราคา

เหมาะสมตามฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนทั่วไป การได้มาซึ่ง

ยาจำเป็นนั้นมี ๒ ช่องทาง คือ การผลิตขึ้นใช้เอง หรือการนำเข้าจาก

ต่างประเทศ เมื่อพิจารณาจากบัญชียาหลักแห่งชาติพบว่าร้อยละ ๖๓

เป็นยาที่ผลิตได้ในประเทศ อย่างไรก็ตามยาที่ผลิตในประเทศมี

มูลค่าเพียงร้อยละ ๔๐ ของมูลค่ายาทั้งหมดที่มีการใช้ภายในประเทศ

เท่านั้น และมีแนวโน้มว่าสัดส่วนของยาที่ผลิตในประเทศจะลดลงอีก

ด้วยหลายเหตุปัจจัย เช่น การต้องใช้เงิน

ลงทุนสูงเพื่อให้ได้รับมาตรฐานสากลใน

อุตสาหกรรมยาส่งผลให้แทบจะไม่มีการตั้ง

โรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันขึ้นใหม่ใน

ประเทศ

ถึงแม้ว่าภาครัฐให้ความสำคัญ

ต่อการผลิตยาในประเทศ จะเห็นได้จาก

อุตสาหกรรมการผลิตยาเป็นหนึ่งใน

อุตสาหกรรมอนาคต ในแผนแม่บทภายใต้

ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ

ยาแห่งชาติมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมผลิตยาในประเทศ”

แต่หากวิเคราะห์ไปยังโครงสร้างของอุตสาหกรรมการผลิตยาแผน

ปัจจุบันตามขั้นตอนการผลิต ซึ่งมี ๓ ระดับ คือ ระดับต้นน้ำ เป็นการ

วิจัยค้นคว้าพัฒนายาหรือสารสังเคราะห์ยาใหม่ ระดับกลางน้ำ

เป็นการผลิตวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยา และระดับปลายน้ำ ซึ่งเป็นการ

ผลิตยาสำเร็จรูป อุตสาหกรรมการผลิตยาแผนปัจจุบันของไทยในภาพรวม

เป็นอุตสาหกรรมระดับปลายน้ำที่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้

ในการผลิตยาสำเร็จรูปเป็นส่วนใหญ่

เพื่อให้เกิด “ความมั่นคงด้านยา” ประเทศจำเป็นต้องพึ่งพาตัวเอง

ด้านยาให้มากขึ้น ทำให้เกิดการวางกรอบแนวความคิดมุ่งไปสู่

“ยาสมุนไพร” ซึ่งมีวัตถุดิบหลักในการผลิตส่วนใหญ่อยู่ภายในประเทศ

จึงได้ก่อกำเนิด “แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย

ฉบับที่ ๑ พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔” ขึ้น ที่นอกจากจะมีเป้าหมายให้

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพแล้ว

64

โรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงงานทหาร


ยังต้องการให้เกิดการใช้ยาสมุนไพรให้มากขึ้น โดยมีเป้าหมายให้มูลค่า

ของวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศเพิ่มขึ้น

อย่างน้อย ๑ เท่าตัว ซึ่ง

หนทางนี้ต้องเผชิญกับ

ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ

อาทิ งานวิจัยและพัฒนา

ยาสมุนไพรยังมีจำนวนน้อย

ไม่ครบวงจร โดยเฉพาะการ

วิจัยทางคลินิก การเพาะ

ปลูกของเกษตรกรไม่ตอบ

สนองความต้องการของ

ตลาด ผู้บริโภคใช้ยาสมุนไพร

ตามกระแสมากกว่ามีความรู้

เกี่ยวกับสมุนไพรนั้น ๆ อย่างแท้จริง

จากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา ๒๐๑๙ แสดงให้เห็นความ

จำเป็นที่ต้องมีสถานผลิตยาของภาครัฐ

เช่น โรงงานเภสัชกรรมทหาร หรือสถาน

ผลิตยาที่รัฐเป็นหุ้นส่วน ดังเช่น องค์การ

เภสัชกรรม เป็นต้น ที่ยังคงผลิตยา

จำหน่ายในราคาปกติอย่างเต็มกำลัง

ตราบเท่าที่ยังสามารถตรึงต้นทุนการ

ผลิตไว้ได้ และในสถานการณ์ฉุกเฉิน

เช่นนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนใน

ระบบยา กล่าวคือ ถึงแม้ประเทศไทยจะมี

ระบบการบริการสาธารณสุขที่ค่อนข้าง

เข้มแข็ง แต่เนื่องจากประเทศไทยเรา

ยังต้องการการพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ

จากต่างประเทศอยู่มาก จึงเกิดภาวะ

การขาดแคลนวัตถุดิบ ยาสำเร็จรูป หรือเวชภัณฑ์นำเข้าบางรายการ

เนื่องจากการขนส่งต้องหยุดชะงักโดยเฉพาะจากประเทศต้นทาง

อาทิ สาธารณรัฐประชาชนจีน

สาธารณรัฐอินเดีย และประเทศญี่ปุ่น

เป็นต้น นอกจากนี้ เมื่อเกิดภาวะโรค

ระบาดทุกประเทศย่อมทุ่มเทศักยภาพ

ทุกด้านที่มีทั้งหมดเพื่อประชาชนใน

ประเทศก่อน สำหรับประเทศไทยซึ่งยัง

ไม่ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีด้านการผลิต

ยาโดยเฉพาะยาชีววัตถุเท่าที่ควร จึงไม่

สามารถเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์จำเป็น

เหล่านี้ก่อนประเทศอื่นได้

โรคระบาดที่ประเทศไทยและ

ทั่วทั้งโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ บ่งชี้

ให้เห็นว่า “ถึงเวลาแล้วที่รัฐควรจะ

ลงทุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมยา

อย่างจริงจัง” เพื่อให้เกิดศักยภาพ

ในการผลิตและวิจัยพัฒนาให้

ประเทศไทยได้มียาใหม่ใช้ได้ทันต่อ

สถานการณ์ และจำเป็นอย่างยิ่งในการ

ส่งเสริมเพิ่มขีดความสามารถในการ

ผลิต เพื่อใช้ในประเทศพร้อมไปกับการ

ส่งออกไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย

ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทาง

ด้านเศรษฐกิจและเพื่อ “ความมั่นคง

แห่งชาติ” ทางด้านยาและเวชภัณฑ์

อย่างยั่งยืนในประเทศไทยต่อไป...

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

65


แนะนำอาวุธเพื ่อนบ้าน

เครื่องบินเตือนภัยแบบจี-๕๕๐ (G-550 CAEW) สังกัดฝูงบินที่ ๑๑๑ ฐานทัพอากาศเตงกาฮ์ ขณะทำการฝึก

ทางอากาศเมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย (Exercise Pitch Black 2014) น้ำหนักบินขึ้น ๔๑,๒๗๗ กิโลกรัม

ความเร็ว ๐.๘ มัค และพิสัยบินไกล ๑๒,๕๐๐ กิโลเมตร ประจำการ ๔ เครื่อง (พ.ศ.๒๕๕๑)

66

เครื ่องบินขับไล่

เอฟ-๑๖

กับจรวดนำวิถีแบบเอไอเอ็ม-๑๒๐

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

ข้าราชการบำนาญ

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ประจำการต่างประเทศคือฝูงบินที่ ๔๒๕ รัฐอริโซนา (ฐานทัพอากาศ

ลุคซ์) ประเทศสหรัฐอเมริการวม ๑๔ เครื่อง ภารกิจฝึกบิน (สิงคโปร์

มีน่านฟ้าอย่างจำกัดไม่สามารถทำการฝึกดำเนินกลยุทธ์ได้) ประจำ

การปลายปี พ.ศ.๒๕๖๔ สิงคโปร์ประจำการด้วยจรวดนำวิถีพิสัย

กลางก้าวหน้าเอไอเอ็ม-๑๒๐ซี๗ (AIM-120C7) อากาศสู่อากาศ รวม

๑๐๐ ลูก เป็นเงิน ๒๑๐ ล้านเหรียญสหรัฐ จัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๖

จัดหาจรวดนำวิถีอากาศพิสัยกลางก้าวหน้าเอไอเอ็ม-๑๒๐ (AIM-

120) ชุดใหม่ การผลิตในล็อตที่ ๓๓ เป็นเงิน ๗๖๘.๒ ล้านเหรียญ

สหรัฐ มิตรประเทศจัดหา ๒๒ ประเทศ (อาเซียนจัดหา ๓ ประเทศ

คือ อินโดนีเซีย ไทย และสิงคโปร์) รับมอบในปี พ.ศ.๒๕๖๖ (ปัจจุบัน

มีจรวดนำวิถีแบบ AIM-120C5/C7 ประจำการทั้งสิ้นรวม ๒๕๐ ลูก)

เพิ่มขีดความสามารถในการตรวจการณ์ทางอากาศด้วยการเชื่อมต่อ

ข้อมูลทางยุทธวิธี (data link) กับเครื่องบินเตือนภัยแบบจี-๕๕๐

(G-550 CAEW) ด้วยเรดาร์ (IAI EL/R-2085) สามารถจะตรวจจับ

เป้าหมายได้ไกล ๓๗๐ กิโลเมตร (ติดตามเป้าหมาย

ในอากาศได้กว่า ๑๒ เป้า) เครื่องบินมีน้ำหนักบินขึ้น ๔๑,๒๗๗

กิโลกรัม ความเร็ว ๐.๘ มัค และพิสัยบินไกล ๑๒,๕๐๐ กิโลเมตร

ประจำการจำนวน ๔ เครื่อง (พ.ศ.๒๕๕๑) สังกัดฝูงบินที ่ ๑๑๑

ฐานทัพอากาศเตงกาฮ์

จรวดนำวิถีพิสัยกลางก้าวหน้าแบบเอไอเอ็ม-๑๒๐ (AIM-120

AMRAAM) ข้อมูลที่สำคัญคือ น้ำหนัก ๑๕๒ กิโลกรัม หัวรบ

ดินระเบิดแรงสูงหนัก ๑๘.๑ กิโลกรัม ยาว ๓.๗ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง

๑๘๐ มิลลิเมตร ช่วงปีก ๕๓๐ มิลลิเมตร ความเร็ว ๔.๐ มัค ระยะ

ยิงกว่า ๑๐๕ กิโลเมตร และนำวิถีด้วยระบบเรดาร์ รุ่นเอไอเอ็ม-

๑๒๐เอ (AIM-120A) ประจำการ พ.ศ.๒๕๓๔ รุ่นเอไอเอ็ม-๑๒๐บี

(AIM-120B) ประจำการ พ.ศ.๒๕๓๗ และเอไอเอ็ม-ซี (AIM-120C)

ประจำการ พ.ศ.๒๕๓๙ กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (USAF)

กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) ปรับปรุงเครื่องบินขับไล่เอฟ-

๑๖ซี/ดี บล็อก ๕๒ (F-16C/D Blk 52) จำนวน ๖๐ เครื่อง

(F-16C จำนวน ๔๐ เครื่อง และ F-16D จำนวน ๒๐ เครื่อง) เป็นเงิน

๒.๔๓ พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗

ให้เป็นรุ่นใหม่แบบเอฟ-๑๖วี (F-16V) รุ่นใหม่ล่าสุด เปลี่ยนเรดาร์

รุ่นใหม่แบบเอเอ็น/เอพีจี-๘๓ (รุ่นเก่าแบบ AN/APG-68(V9) เครื่องบิน

เอฟ-๑๖ซี/ดี ประจำการมานานกว่า ๑๕ ปี สิงคโปร์ประจำการ

รวม ๓ ฝูงบิน ประกอบด้วย ฝูงบินที่ ๑๔๐ ฐานทัพอากาศเตงกาฮ์

ฝูงบินที่ ๑๔๓ ฐานทัพอากาศเตงกาฮ์ ทางวิ่งยาว ๒,๗๔๓ เมตร และ

ฝูงบินที่ ๑๔๕ ฐานทัพอากาศชางฮี (ตะวันออก) ทางวิ่งยาว ๔,๐๐๐ เมตร

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

จรวดนำวิถีพิสัยกลางก้าวหน้าเอไอเอ็ม-๑๒๐ (AIM-120) น้ำหนัก ๑๕๒ กิโลกรัม

ยาว ๓.๗ เมตร ช่วงปีก ๕๓๐ มิลลิเมตร ความเร็ว ๔.๐ มัค ระยะยิงกว่า ๑๐๕

กิโลเมตร และนำวิถีด้วยระบบเรดาร์ (ในภาพเป็นรุ่น เอไอเอ็ม-๑๒๐ซี๗) ประเทศ

อาเซียนประจำการ ๔ ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย

67


เครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-๑๖ซี/ดี บล็อก ๕๒ไอดี (F-16C/D Blk 52ID) ประจำการฝูงบินขับไล่ที่ ๓ ฐานทัพอากาศอิสวาฮ์จูดี (Iswahjudi) กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU)

ประจำการด้วยจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-๑๒๐ซี๗ (AIM-120C7) จำนวน ๓๖ ลูก

นำออกปฏิบัติการทางทหารโดยเครื่องบินขับไล่เอฟ-๑๖ดี (F-16D)

ชนิดสองที่นั่ง ใช้จรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-๑๒๐

(AIM-120) ยิงเครื่องบินขับไล่กองทัพอากาศอิรักแบบมิก-๒๕ (MiG-25)

ตกทางตอนใต้ของเขตห้ามบิน เป็นครั้งแรกของจรวดเอไอเอ็ม-๑๒๐

ยิงเครื่องบินฝ่ายข้าศึกหรืออิรักตก เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.

๒๕๕๓ และครั้งที่สอง เครื่องบินขับไล่ที ่นั่งเดี่ยวแบบเอฟ-๑๖ซี

(F-16C) ได้ยิงเครื่องบินขับไล่กองทัพอากาศอิรักแบบมิก-๒๓

(MiG-23) ตกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ มิตรประเทศ

เครื ่องบินขับไล่แบบเอฟ-๑๖ดี บล็อก ๕๒ กองทัพอากาศสิงคโปร์ ติดตั้งจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-๑๒๐ (AIM-120 AMRAAM) น้ำหนัก ๑๕๒ กิโลกรัม

ยาว ๓.๗ เมตร ความเร็ว ๔.๐ มัค ระยะยิงกว่า ๑๐๕ กิโลเมตร และนำวิถีด้วยระบบเรดาร์

68

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


เครื่องบินขับไล่แบบเอฟ ๑๖ดี ชนิดสองที่นั่ง ทำการปรับปรุงใหม่แล้ว ฝูงบินขับไล่ที่ ๔๐๓ ฐานทัพอากาศตาคลี ติดตั้งระบบอาวุธรุ่นใหม่ภารกิจต่อสู้ทางอากาศ (AIM-120C)

และโจมตีภาคพื้นดินของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธีกับเครื่องบินเตือนภัยซ๊าบ-๓๔๐ (Saab-340 AEW&C)

สหรัฐอเมริกาประจำการ ๓๘ ประเทศ (กลุ่มประเทศเอเชียประจำ

การ ๑๖ ประเทศ) ประเทศที่ประจำการด้วยจรวดนำวิถีเอไอเอ็ม-

๑๒๐ (AIM-120) จำนวนมากคือ ปากีสถาน ๑,๐๐๐ ลูก (F-16AM/

BM/C/D รวม ๑๗๐ เครื่อง) กลุ่มประเทศอาเซียนประจำการ ๔

ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย

กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) รับมอบเครื่องบินขับไล่

เอฟ-๑๖ซี/ดี บล็อก ๒๕ (F-16C/D Blk 25) รวม ๒๔ เครื่อง (รุ่นซี

ที่นั่งเดี่ยว ๑๙ เครื่อง และรุ่นดี ชนิดสองที่นั่ง ๕ เครื่อง) จาก

ประเทศสหรัฐอเมริกา ในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า

ต้องทำการปรับปรุงใหม่ก่อนที่จะนำเข้าประจำการ เป็นเงิน ๗๕๐

ล้านเหรียญสหรัฐ มีชื่อเรียกใหม่ว่าเอฟ-๑๖ซี/ดี ๕๒ไอดี (F-16C/D

52ID) รับมอบเครื่องบินชุดแรกปี พ.ศ.๒๕๖๑ ประจำการฝูงบิน

ขับไล่ที่ ๓ ฐานทัพอากาศอิสวาฮ์จูดี (Iswahjudi) มีสองทางวิ่งคือ

ทางวิ่งยาว ๒,๕๗๕ เมตร และ ๓,๐๕๐ เมตร จังหวัดชวาตะวันออก

และฝูงบินขับไล่ที่ ๑๖ ฐานทัพอากาศโรส์มิน นูร์จาดิน (Roesmin

Nurjadin) ทางวิ่งยาว ๒,๖๐๐ เมตร จังหวัดเรียว (Riau) เกาะสุมาตรา

นอกจากนี ้ ได้มีการจัดหาจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศเอไอเอ็ม-

๑๒๐ซี๗ (AIM-120C7) จำนวน ๓๖ ลูก เป็นเงิน ๙๕ ล้านเหรียญ

สหรัฐ จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙

และจัดหาจรวดนำวิถีอากาศพิสัยกลางก้าวหน้าเอไอเอ็ม-๑๒๐

(AIM-120) ชุดใหม่ของการผลิตในล็อตที่ ๓๑ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นเงิน ๖๓๔.๒ ล้านเหรียญสหรัฐ จัดหารวม ๑๐

ประเทศ (เอเชียจัดหา ๕ ประเทศ ประกอบด้วย บาห์เรน กาต้าร์

เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย)

กองทัพอากาศไทย (RTAF) ปรับปรุงเครื่องบินขับไล่เอฟ-

๑๖เอ/บี บล็อก ๑๕ (F-16A/B Blk 15) ที่ประจำการมาเป็นเวลา

นาน ต้องทำการปรับปรุงใหม่ ฝูงบินขับไล่ที่ ๔๐๓ ฐานทัพอากาศ

ตาคลี จำนวน ๑๘ เครื่อง ดำเนินการเป็นสามเฟส (เฟสละหกเครื่อง)

ปรับปรุงใหม่ปลายปี พ.ศ.๒๕๕๓ โดยมีชื่อเรียกใหม่ว่าเอฟ-๑๖เอ

เอ็ม/บีเอ็ม (F-16AM/BM) ขีดความสามารถเทียบได้กับเอฟ-๑๖ซี/

ดี บล็อก ๕๒ (F-16C/D Blk 52) สามารถติดตั้งระบบอาวุธรุ่นใหม่

ในภารกิจต่อสู้ทางอากาศ (AIM-120C) และโจมตีภาคพื้นดิน

ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันโครงการได้สำเร็จแล้ว

นอกจากนี้สามารถเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธีกับเครื่องบินเตือนภัย

แบบซ๊าบ-๓๔๐ (Saab-340 AEW&C) ของฝูงบินที่ ๗๐๒ ฐานทัพ

อากาศสุราษฎร์ธานี ทำการบินได้นานกว่า ๕ ชั่วโมง เรดาร์ตรวจจับ

เป้าหมายได้ไกล ๓๕๐ กิโลเมตร

บรรณานุกรม

๑. en.wikipedia.org/wiki/AIM-120_AMRAAM

๒. en.wikipedia.org/wiki/Indonesian_Air_Force

๓. en.wikipedia.org/wiki/Republic_of_Singapore_Air_Force

๔. en.wikipedia.org/wiki/General_Drymics_F-16_Fighting_Falcon

๕. en.wikipedia.org/wiki/Saab_340_AEW%26C

๖. The World Defence Almanac 2015. P.322-324, P.344-346, P.350-353.

69


สาระน่ารู้ทางการแพทย์

แนวโน้มมิติใหม่

ของวงการแพทย์หลังโควิด-๑๙

นาวาเอก แพทย์หญิงฐิติมา พรหมศิริ

นายทหารปฏิบัติการประจำโรงงานเภสัชกรรมทหาร

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

ช่วยราชการสำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุนสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ที่เกิดจากไวรัส

ตัวเล็กๆ ที่มองไม่เห็น แต่สามารถเขย่าโลกให้สั่นสะเทือนได้

มากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ทำให้เกิดการ

เปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านจนเกิดวิถีใหม่ที่เรียกว่า New Normal

ของมิติต่างๆ รวมถึงวงการแพทย์ที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบ

การเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพที่เราเรียกว่า การแพทย์วิถีใหม่

ที่ได้กล่าวไว้ในฉบับที่ผ่านมา และนอกจากนี้ยังพบว่าโรคโควิด-๑๙

ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการแพทย์ใหม่ๆ มากมาย ซึ่งนับเป็นความ

สำเร็จอย่างยิ่งในการพัฒนาของวงการแพทย์ และด้วยความร่วมมือ

กันทั้งทางภาครัฐและภาคเอกชนในการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม

ใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Big Data Internet of Things (IOT)

มาใช้ในวงการแพทย์ ทำให้แนวโน้มการดูแลรักษาสุขภาพในอนาคต

เปลี่ยนแปลงไปและทำให้เกิดมิติใหม่ของวิธีการรักษาพยาบาลผู้ป่วย

ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความสะดวกรวดเร็วปลอดภัยมากขึ้น

เพื่อให้สอดคล้องกับ New Normal หรือวิถีใหม่ที่เกิดขึ้นและในวันนี้

70

จะมานำเสนอถึงแนวโน้มหรือมิติใหม่ทางการแพทย์ ที่จะเกิดขึ้น

หลังการระบาดของโรคโควิด-๑๙

มิติที่ ๑ การนำศักยภาพของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

มาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น

- การตรวจวัดอุณหภูมิของร่างกายว่ามีไข้หรือไม่ โดยการ

สแกนใบหน้าผู้ป่วยแทนการสัมผัสตัวผู้ป่วยโดยตรง

- การตรวจจับโรคอุบัติใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ตรวจพบและป้องกัน

โรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น การใช้ซอฟต์แวร์

บลูด๊อท (Blue Dot) ที่พัฒนาจากประเทศแคนาดาที่สามารถแจ้ง

เตือนว่ามีกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบจากโรคโควิด-๑๙ ทำให้

หน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถเตรียมการในการรับมือ

สถานการณ์โรคระบาดได้อย่างทันท่วงที ทั้งยังสามารถพยากรณ์การ

ระบาดของโรคทำให้สามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่

อาจเกิดขึ้นได้

นาวาเอก แพทย์หญิงฐิติมา พรหมศิริ


มิติที่ ๒ การบริการการรักษาพยาบาลด้วยระบบเทเลเฮลท์

(Telehealth)

คือการให้บริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิด

จากความร่วมมือ ระหว่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและภาค

เอกชน โดยระบบดังกล่าวเป็นการให้คำปรึกษาทางการแพทย์แก่

ผู้ป่วยผ่านโทรศัพท์หรือการสื่อสารผ่าน Video Conference ซึ่ง

ผู้ป่วยและแพทย์สามารถเห็นหน้ากัน วิธีนี้ช่วยให้แพทย์สามารถ

ซักประวัติผู้ป่วย สั่งตรวจร่างกายและประเมินสภาวะจิตใจของผู้ป่วย

ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาล และยังสามารถติดตามการ

รักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ห่างไกลได้ ทั้งหน่วยงานทางการแพทย์ก็

สามารถรับส่งข้อมูลทางด้านการแพทย์ เช่น ภาพเอกซเรย์ ผลตรวจ

ทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนไปให้แพทย์

เพื่อวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาผ่านทาง E-mail ได้ รวมถึง

การดูแลผู้ป่วยทางไกล (Remote Patient Monitory

= RPM) ซึ่งการระบาดของโรคโควิด-๑๙ ได้

ทำให้วงการแพทย์เห็นความสำคัญของการบริการ

ดูแลผู้ป่วยทางไกล จึงนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ

เพื่อช่วยให้สามารถติดตามอาการผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด

เช่น กรณีผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะการใช้

เทคโนโลยีทำให้แพทย์สามารถติดตามอาการผู้ป่วย

จากระยะไกลได้ หากผู้ป่วยมีลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ที่เปลี่ยนแปลงไปทีมแพทย์ผู้รักษาก็สามารถให้คำ

แนะนำและดูแลได้อย่างทันท่วงที

มิติที่ ๓ การดูแลรักษาสุขภาพแบบรายย่อย

(Retaliszation Of Healthcare)

จากการเติบโตของโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีต่างๆ ล้วนเป็น

ตัวเร่งให้การดูแลสุขภาพแบบรายย่อยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้

ผู้ป่วยมีความคาดหวังต่อการให้บริการด้านการดูแลรักษาสุขภาพ

เหมือนกับที่คาดหวังต่อการบริการแบบอื่นๆ นั่นคือ ความ

สะดวกสบาย ความโปร่งใสและการเข้าถึงการบริการได้อย่างรวดเร็ว

การดูแลรักษาสุขภาพแบบรายย่อย มุ่งเน้นการให้บริการโดยยึด

ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient Centric) เช่น การมีศูนย์ฉุกเฉินเพื่อ

รองรับผู้ป่วยระหว่างการระบาดของโรคโควิด-๑๙ และช่วยคัดกรอง

ผู้ป่วยว่ามีอาการมากน้อยเพียงใด

มิติที่ ๔ การแพทย์แบบเฉพาะเจาะจง (Precision Health

Medicine)

กระทรวงสาธารณสุขได้วางเป้าหมายเรื่องการรักษาด้วย

แนวทางการแพทย์แบบเฉพาะเจาะจงไว้ในแผน

ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี การแพทย์แบบเฉพาะเจาะจง

ซึ่งจะเปลี ่ยนแปลงรูปแบบการรักษาในอดีตที่ใช้วิธี

การเดียวกันในการรักษาผู้ป่วยมาเป็นการรักษาแบบ

เฉพาะเจาะจง โดยอาศัยข้อมูลทางพันธุกรรม สภาพ

แวดล้อมและรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ป่วยมา

พิจารณาหาสาเหตุหรือแนวทางป้องกัน รวมถึงวิธีการ

รักษาโรคที่เหมาะสม และเฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วย

แต่ละราย โดยมุ่งเป้าไปที่ความเสี่ยงและสถานการณ์

ของแต่ละบุคคลแทนที่จะใช้วิธีเดียวกันทั้งหมด

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การรักษาพยาบาลมี

ประสิทธิภาพมากที่สุด

ทั้งหมดนี้ก็คือ การแพทย์วิถีใหม่หรือ New

Normal Of Medical Service ที่จะเกิดขึ้นหลังจาก

นี้ไป เพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่หรือ New Normal

ในด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการก้าวกระโดด

ของเทคโนโลยีในยุค Digital Disruption เพื่อเตรียม

พร้อมสำหรับประเทศไทย ๔.๐

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

71


พลเอก ประยุุทธ์์ จัันทร์โอชา นายุกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่่าการกระทรว่งกลาโหม ร่ว่มบัันทึกเทปกล่าว่อาเศีียุรว่าท

ถว่ายุพระพรชัยุมงคล สมเด็็จัพระนางเจ้้าสิริกิติ พระบัรมราชินีนาถ พระบัรมราชชนนีพันปีหลว่ง เน่องในโอกาสวัันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒

สิงหาคม ๒๕๖๓ โด็ยุมี พลเอก ชัยุชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่ว่ยุว่่าการกระทรว่งกลาโหม พลเอก ณััฐ อินทรเจริิญ ปลัด็กระทรว่งกลาโหม

ผู้้ ้บััญชาการทหารส้งสุด็ ผู้้ ้บััญชาการเหล่าทัพ ร่ว่มบัันทึกเทป ณั สถานีวิิทยุุโทรทัศน ์แห่งประเทศีไทยุ (NBT) ถนนวิิภาว่ด็ีรังสิต

เม่อ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๓

พลเอก ณััฐ อินทรเจร ิญ ปลัด็กระทรว่งกลาโหม

ร่ว่มบัันทึกเทปกล่าว่อาเศีียุรว่าทถว่ายุพระพรชัยุมงคล

สมเด็็จัพระนางเจ้้าสิริกิติ พระบัรมราชินีนาถ พระบัรมราชชนนี

พันปีหลว่ง เน่องในโอกาสวัันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม

๒๕๖๓ โด็ยุมี รองปลัด็กระทรว่งกลาโหมและนายุทหารชันผู้้ ้ใหญ่

ของสำน ักงานปลัด็กระทรว่งกลาโหม ร่ว่มบัันทึกเทป ณั สถานี

วิิทยุุโทรทัศน ์แห่งประเทศีไทยุ (NBT) ถนนวิิภาว่ด็ีรังสิต

เม่อ ๔ สิงหาคม ๒๕๖๓

72activities


พลเอก ณััฐ อินทรเจร ิญ ปลัด็กระทรว่งกลาโหม อัญเชิญ

เคร่ องราชสักการะและพานพุ ่ม ท้ลเกล้าฯ ถว่ายุสมเด็็จั

พระนางเจ้้าสิริกิติพระบัรมราชินีนาถ พระบัรมราชชนนีพันปีหลว่ง

โด็ยุมี ท่านผู้้ ้หญิงจรุุงจิิตต์ ทีขะระ ออกรับัเคร่องราชสักการะถว่ายุ

พระพรชัยุมงคล เน่ องในโอกาสวัันเฉลิมพระชนมพรรษา

๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ ณั พระตำาหนักจิิตรลด็ารโหฐาน

เม่อ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๓

หลัักเมืือง กันยายน ๒๕๖๓

73


74


พลเอก ณััฐ อินทรเจริิญ ปลัด็กระทรว่งกลาโหม เป็นประธ์านการจััดกิิจักรรมเฉลิมพระเกียุรติ เน่องในวัันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็็จัพระนางเจ้้าสิริกิติ พระบัรมราชินีนาถ พระบัรมราชชนนีพันปีหลว่ง ๘๘ พรรษา (๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓) โด็ยุมีพิธีีเจร ิญ

พระพุทธ์มนต์ถว่ายุพระพรชัยุมงคล พระสงฆ์์ จำำานว่น ๑๐ ร้ป ณห ้องพินิตประชานาถ พิธีีทำาบัุญตักบัาตรพระสงฆ์์ สามเณัร

จำำานว่น ๘๙ ร้ป และพิธีีลงนามถว่ายุพระพร ณั บัริเว่ณัหน้าห้องยุุทธ์นาธิิการ ภายุในศีาลาว่่าการกลาโหม โด็ยุมี นางรมิด็า อินทรเจริิญ

นายุกสมาคมภริยุาข้าราชการสำน ักงานปลัด็กระทรว่งกลาโหม รองปลัด็กระทรว่งกลาโหม และนายุทหารชั นผู้้้ใหญ่ของสำน ักงาน

ปลัด็กระทรว่งกลาโหม ร่ว่มกิจักรรม เม่อ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๓

หลัักเมืือง กันยายน ๒๕๖๓

75


พลเอก ณััฐ อินทรเจร ิญ ปลัด็กระทรว่งกลาโหม ลงนามถว่ายุพระพรสมเด็็จัพระนางเจ้้าสิริกิติ พระบัรมราชินีนาถ

พระบัรมราชชนนีพันปีหลว่ง เน่องในโอกาสวัันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ โด็ยุมีนางรมิด็า อินทรเจริิญ นายุกสมาคม

ภริยุาข้าราชการสำน ักงานปลัด็กระทรว่งกลาโหม รองปลัด็กระทรว่งกลาโหม และนายุทหารชันผู้้้ใหญ่ของสำน ักงาน

ปลัด็กระทรว่งกลาโหม ร่ว่มลงนาม ณั ศีาลาสหทัยุสมาคม ภายุในพระบัรมมหาราชวััง เม่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓

76


พลเอก ณััฐ อินทรเจริิญ ปลัด็กระทรว่งกลาโหม เป็นประธ์านในพิธีีอัญเชิญพระพุทธรููปประจำำากองพันระวัังป้องกัน สำนัักงานปลัด็

กระทรว่งกลาโหม โด็ยุมี รองปลัด็กระทรว่งกลาโหมและนายุทหารชันผู้้ ้ใหญ่ของสำนัักงานปลัด็กระทรว่งกลาโหม ร่ว่มพิธีี ณั กองพันระวััง

ป้องกัน สำนัักงานปลัด็กระทรว่งกลาโหม เขตด็อนเม่อง เม่อ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๓

หลัักเมืือง กันยายน ๒๕๖๓

77


พลเอก ณััฐ อินทรเจร ิญ

ปลัด็กระทรว่งกลาโหม และ

นางรมิด็า อินทรเจร ิญ นายุก

สมาคมภริยุาข้าราชการสำนัักงาน

ปลัด็กระทรว่งกลาโหม ร่ว่มพิธีี

ทำาบัุญตักบัาตรเพ่ อถว่ายุเป็น

พระราชกุศีล สมเด็็จัพระ

นางเจ้้าสิริกิติ พระบัรมราชินีนาถ

พระบัรมราชชนนีพันปีหลว่ง

เน่ องในโอกาสมหามงคล

เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา

ณั มณัฑลพิธีีท้องสนามหลว่ง

หลังจัากนั นนายุทหารชั นผู้้ ้ใหญ่

และภริยุา ร่ว่มถว่ายุแจก ัน

ด็อกไม้สด็และลงนามถว่ายุ

พระพรชัยุมงคลเพ่ อน้อมสำน ึก

ในพระมหากรุณัาธิิคุณั และ

แสด็งคว่ามจังรักภักดีี ณั ศีาลา

สหทัยุสมาคม ภายุในพระบัรม

มหาราชวััง เม่ อ ๑๒ สิงหาคม

๒๕๖๓

นางรมิด็า อินทรเจริิญ นายุกสมาคมภริยุาข้าราชการสำนัักงานปลัด็กระทรว่งกลาโหม พร้อมด้้ว่ยุคณัะกรรมการสมาคมฯ ร่ว่มพิธีีถว่ายุพระพร

ชัยุมงคล และพิธีีลงนามถว่ายุพระพร เน่องในโอกาสวัันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็็จัพระนางเจ้้าสิริกิติ พระบัรมราชินีนาถ พระบัรมราชชนนี

พันปีหลว่ง ๘๘ พรรษา (๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓) ณั บัริเว่ณัหน้าห้องยุุทธ์นาธิิการ ภายุในศีาลาว่่าการกลาโหม เม่อ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๓

กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการ

สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

78


นางนว่ลจัันทร์พ้นสวััสด็ิเป็นผู้้ ้แทนนายุกสมาคมภริยุาข้าราชการสำนัักงานปลัด็กระทรว่งกลาโหม พร้อมด้้ว่ยุคณัะกรรมการสมาคมฯ

ร่ว่มถว่ายุแจก ันด็อกไม้สด็และลงนามถว่ายุพระพรชัยุมงคล สมเด็็จัพระนางเจ้้าสิริกิติ พระบัรมราชินีนาถ พระบัรมราชชนนีพันปีหลว่ง

เน่องในโอกาสวัันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา ณั ศีาลาสหทัยุสมาคม ภายุในพระบัรมมหาราชวััง เม่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓

นาว่าอากาศีหญิง เบัญจัว่รรณั บัุนนาค เป็นผู้้ ้แทนนายุกสมาคม

ภริยุาข้าราชการสำน ักงานปลัด็กระทรว่งกลาโหม พร้อมด้้ว่ยุคณัะ

กรรมการสมาคมฯ ร่ว่มกิจักรรมว่างพานพุ่มถว่ายุเคร่องราชสักการะ

และพิธีีเปิด็งานการจััดก ิจักรรมสัปด็าห์วัันแม่แห่งชาติ ประจำำป ี

๒๕๖๓ ซึ่่งจััด็โด็ยุ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศีไทยุ ในพระบัรม

ราช้ปถัมภ์ เพ่อเป็นการน้อมรำล ึกในพระมหากรุณัาธิิคุณัทีมีต่อ

พสกนิกร ณห้้องประชุม ชัน ๓ ตึกนว่มหาราช สภาสังคมสงเคราะห์

กรุงเทพมหานคร เม่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓

พันเอกหญิง ทักษด็า สังขจัันทร์ เป็นผู้้้แทนนายุกสมาคม

ภริยุาข้าราชการสำนัักงานปลัด็กระทรว่งกลาโหม พร้อมด้้ว่ยุคณัะ

กรรมการสมาคมฯ ร่ว่มพิธีีถว่ายุเคร่องราชสักการะและจุุด็เทียุน

ถว่ายุพระพรชัยุมงคล เน่องในโอกาสวัันเฉลิมพระชนมพรรษา

สมเด็็จัพระนางเจ้้าสิริกิติ พระบัรมราชินีนาถ พระบัรมราชชนนี

พันปีหลว่ง ณั มณัฑลพิธีีท้องสนามหลว่ง เม่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓

หลัักเมืือง กันยายน ๒๕๖๓

79


นางรมิด็า อินทรเจร ิญ นายุกสมาคมภริยุาข้าราชการสำน ักงานปลัด็กระทรว่งกลาโหม พร้อมด้้ว่ยุคณัะกรรมการสมาคมฯ

เยุี ยุมชมกิจักรรมจิิตอาสา “วัันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓ รักเอยร ักล้ก” โด็ยุสำน ักงานปลัด็กระทรว่งกลาโหม จััด็สาธิิตการทำา

สลัด็โรล พว่งกุญแจัผู้้าและหนัง นอกจัากนี ยัังได้้แจักจ่่ายุสิ งของและอาหารแก่ประชาชนที มาร่ว่มงาน ณั มณัฑลพิธีีท้องสนามหลว่ง

เม่อ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๓

กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการ

สำำนัักงนัปลััดกระทรวงกลัโหม

80



กระทรวงกลาโหม กำาหนดนำาผ้าพระกฐินพระราชทาน

ไปถวายแด่พระสงฆ์ที่จำาพรรษา ณ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร

ถนนอิสรภาพ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น.

โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธี

ในการนี้ จึงขอเชิญชวนข้าราชการ พนักงานราชการ พร้อมด้วยครอบครัวและประชาชนทั่วไป ร่วมบริจาค

ทุนทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศล ดังนี้

เงินสด บริจาคได้ที่ สำานักงานการเงิน กรมเสมียนตรา ในศาลาว่าการกลาโหม ถนนสนามไชย กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐

หมายเลขโทรศัพท์ ๐ ๒๒๒๒ ๕๘๓๑, ๐ ๒๒๒๒ ๘๘๓๘

โอนเงินทางธนาคาร บัญชีออมทรัพย์ของธนาคารทหารไทย จำากัด (มหาชน) สาขากระทรวงกลาโหม

เลขที่บัญชี ๐๓๙ - ๒ - ๘๒๓๔๙ - ๘ ชื่อบัญชี “การถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน กห. ประจำาปี ๒๕๖๓”

กรณีโอนเงินเข้าบัญชีฯ กรุณาส่งสำาเนาเอกสารการโอนเงินให้ กรมเสมียนตรา

ทางหมายเลขโทรสาร ๐ ๒๒๒๒ ๕๘๓๑ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!