29.09.2020 Views

ก.ย. 63

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

เข้าประจําการแล้ว ๔ ลํา ประเทศอินโดนีเซียมีเรือดําน้ำประจําการ

๒ ลํา กําลังต่อเพิ่มจากเกาหลีใต้อีก ๓ ลํา และประเทศมาเลเซีย

มีเรือดําน้ำประจําการ ๒ ลํา เป็นต้น

เรือดํานํ้ำกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

ประเทศไทยมีการนําเข้า - ส่งออก สินค้าทางทะเลสูงถึงร้อยละ

๙๕ และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรานี้ถือว่าเป็น

เส้นทางคมนาคมทางทะเลเชื่อมทวีปยุโรป เอเชีย และอเมริกา

ผ่านช่องแคบมะละกา จึงนับว่ามีความสําคัญระดับโลกทีเดียว ซึ่งหาก

เกิดปัญหาการปิดล้อมพื้นที่หรือข้อพิพาททางทะเลไม่ว่าที่ใดย่อม

ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมทางทะเลโดยตรง ทําให้เกิดความ

เสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก

เมื่อมองพื้นที่บริเวณอ่าวไทยซึ่งมีเรือสินค้าผ่านเข้าออกปีละ

ประมาณ ๑๕,๐๐๐ ลํา แต่ด้วยพื้นที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงทางด้าน

ภูมิศาสตร์ในการที่จะถูกปิดอ่าวหรือขัดขวางการใช้เส้นทางเดินเรือ

เนื่องจากปากอ่าวมีความกว้าง ประมาณ ๒๐๐ ไมล์ทะเล หรือ

๔๐๐ กิโลเมตรเท่านั้น หากเกิดกรณีพิพาทหรือความขัดแย้งกับ

ต่างประเทศขึ้น การถูกปิดอ่าวจะทําให้การขนส่งทางทะเลสายนี้

หยุดชะงักทันที ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดความเสียหาย ดังเช่นที่เรา

เคยประสบมาแล้วในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่อ่าวไทยถูกปิดทําให้

เกิดความเดือดร้อนแสนสาหัส

ปัจจุบันประเทศไทยมีผลประโยชน์ทางทะเลคิดเป็นมูลค่า

ประมาณ ๒๔ ล้านล้านบาทต่อปี แบ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติทาง

ทะเล การขนส่งทางทะเล อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการท่องเที่ยว

การที่กองทัพเรือเสนอโครงการจัดหาเรือดําน้ำจํานวน ๓ ลํา ใช้

งบประมาณ ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท หากมองระยะยาวเมื่อนับ

อายุการใช้งานของเรือดําน้ำท่ี่มีอย่างน้อย ๓๐ ปี

รวมกับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ

ต่อปีแล้ว คิดเป็นเพียงร้อยละ ๐.๐๐๖ ของผลประโยชน์ของชาติ

ทางทะเล การจัดซื้อเรือดําน้ำจึงมีความคุ้มค่าอย่างแน่นอน

เรือดํานํ้ำกับความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์

ประเทศไทยมีแผ่นดินติดกับทะเล ๒ ด้าน คือ ด้านตะวันตก

เป็นทะเลอันดามันและช่องแคบมะละกา ส่วนด้านตะวันออกเป็น

อ่าวไทย มีพื้นที่ทางทะเลประมาณ ๓๒๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มี

ความลึกเฉลี่ยที่ประมาณ ๕๐ เมตร ความลึกที่สุดอยู่บริเวณกลางอ่าว

ประมาณ ๘๕ เมตร ความใสของน้ำสามารถเห็นได้ลึกสุดไม่เกิน

๑๖ เมตร จากพื้นที่ที่มีบริเวณกว้างและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุน

การซ่อนพรางของเรือดําน้ำ ทําให้การค้นหาเรือดําน้ำด้วยสายตาจาก

บริเวณผิวน้ำหรืออากาศยาน เป็นไปด้วยความยากลําบาก เรือดําน้ำ

จึงสามารถเข้ามาปฏิบัติการในอ่าวไทยได้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายที่

จําเป็นต่อการพิทักษ์ปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทาง

ทะเล อีกทั้งเรือดําน้ำสมัยใหม่มีอุปกรณ์การเดินเรือที่ทันสมัยมาก

มีระบบรักษาความลึก ขณะดําน้ำโดยอัตโนมัติที่มีความเที่ยงตรงสูง

ดังนั้นการปฏิบัติการในเขตน้ำตื้นถือเป็นเรื่องปกติของเรือดําน้ำ

เพราะในบางภารกิจเรือดําน้ำจําเป็นต้องเข้าใกล้ฝั่งมาก ในอ่าวไทย

มีน้ำลึกเฉลี่ย ๕๐ เมตร จึงไม่ใช่อุปสรรคในการปฏิบัติการของเรือดําน้ำ

ปัจจุบัน และการมองเห็นจากเครื่องบินเมื่อเรือดําน้ำดําลึกกว่า

๒๐ เมตร ก็ไม่สามารถมองเห็นได้

คุณลักษณะและขีดสมรรถนะที่สําคัญ

เรือดำน้ำ S-26T เป็นรุ่นพิเศษที่จีนต่อขึ้นสำหรับประเทศไทย

โดยเฉพาะ ซึ่งพัฒนาจากเรือดำน้ำคลาส Yuan Class S26 มีความ

ยาว ๗๙.๕ เมตร กว้าง ๘.๖ เมตร สูง ๙.๒ เมตร เปลือกลำตัวแบบ

๒ ชั้น ระวางขับเหนือนํ้า ๑,๘๕๐ ตัน ระวางขับขณะดำ ๒,๖๐๐ ตัน

S-26T ความเร็วสูงสุด ๑๘ นอต ระยะทำการ

๘,๐๐๐ ไมล์ทะเล ดำลึกสูงสุด ๓๐๐ เมตร

ลูกเรือประจำการ ๕๐ นาย ระยะเวลาปฏิบัติ

การต่อการออกทะเล ๑ ครั้ง นาน ๒ เดือน

เครื่องยนต์ประสิทธิภาพสูงในการปฏิบัติการ

รบใต้น้ำและผิวน้ำ ความลึกปฏิบัติการ

40

สำนักงานเลขานุการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!