29.09.2020 Views

ก.ย. 63

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

กลาโหม รวมทั้งแสวงหากระบวนการผลิตน้ำมันดิบ ซึ่งแต่เดิม

จะทำการผลิตน้ำมันดิบขั้นปฐมภูมิ (Primary Recovery) เป็นหลัก

มาเป็นการผลิตน้ำมันในขั้นทุติยภูมิ (Secondary Recovery)

และขั้นตติยภูมิ (Tertiary Recovery) โดยใช้เทคนิคและเทคโนโลยี

ที่ทันสมัย เช่น เทคนิคการอัดน้ำ (Waterflood) ลงสู่ชั้นหินกักเก็บ

ปิโตรเลียม เพื่อเป็นแรงดันและกวาดน้ำมันดิบที่หลงเหลืออยู่ภายใน

ชั้นหินกักเก็บ การผลิตน้ำมันโดยใช้จุลินทรีย์(Microbial Enhanced

Oil Recovery, MEOR) เพื่อลดความหนืด และแรงตึงผิวของน้ำมัน

ในชั้นหินกักเก็บให้สามารถนำน้ำมันที่ติดค้างขึ้นมาใช้ประโยชน์

ให้มากที่สุด

ภาพเทคนิคการอัดน้ำ (Waterflood)

นอกเหนือจากภารกิจด้านการสำรวจ ขุด เจาะ และผลิต

ปิโตรเลียม ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ยังมีภารกิจ

สำคัญอีกประการหนึ่งคือการกลั่นปิโตรเลียม และการเพิ่มมาตรฐาน

รวมถึงเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม โดยต่อยอดจากองค์ความรู้

ที่ได้จากการสั่งสมในอดีตที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาคุณภาพให้มีมาตรฐาน

สามารถแข่งขันในเชิงพาณิชย์และตอบสนองความต้องการในตลาด

ปัจจุบันได้ดี อาทิ การนำน้ำมันดีเซลผ่านการลดกำมะถัน การนำ

น้ำมันเตาใสเบา (Light Distillate, LD) และน้ำมันเตาใสหนัก

(Heavy Distillate, HD)

ผ่านกระบวนการแยกขจัด

น้ำมันปิโตรเลียมออกจาก

ปิโตรเลียมแว็กซ์ ด้วยตัวทำ

ละลายทำให้ได้ผลิตภัณฑ์

พาราฟินแว็กซ์ (Parafin Wax)

ที่มีความบริสุทธิ์สูงและเพิ่ม

มูลค่าสูงขึ้น สามารถนำไปใช้

ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม

เช่น ทำกระดาษเคลือบไข

เทียนไข และสารตั้งต้นใน

อุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น

ตลอดระยะกว่า ๖๐ ปี

พาราฟินแว็กซ์ (Parafin Wax)

ที่ผ่านมา ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ กรมการพลังงานทหาร

ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารได้มุ่งมั่น ทุ่มเท

เสียสละ ทั้งด้านบุคลากร การพัฒนาองค์ความรู้และประสบการณ์

ตลอดจนนำวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มและพัฒนาศักยภาพ

ของหน่วยงาน องค์กร ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยรวมถึงตอบสนองต่อนโยบายการ

พัฒนาประเทศและระบบราชการ ๔.๐ ภายใต้การบังคับบัญชาของ

พลตรี ประจวบ จันต๊ะมีผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ

กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและ

พลังงานทหาร เพื่อให้บรรลุภารกิจ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของ

ทางราชการ และดำรงรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของประเทศชาติตลอดไป

เพื่อตรงกับเจตนารมณ์ของหน่วยที่ว่า

“พลังงานทหาร พลังการทัพไทย”

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

35

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!