29.09.2020 Views

ก.ย. 63

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เครื่องบินขับไล่แบบเอฟ ๑๖ดี ชนิดสองที่นั่ง ทำการปรับปรุงใหม่แล้ว ฝูงบินขับไล่ที่ ๔๐๓ ฐานทัพอากาศตาคลี ติดตั้งระบบอาวุธรุ่นใหม่ภารกิจต่อสู้ทางอากาศ (AIM-120C)

และโจมตีภาคพื้นดินของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา เชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธีกับเครื่องบินเตือนภัยซ๊าบ-๓๔๐ (Saab-340 AEW&C)

สหรัฐอเมริกาประจำการ ๓๘ ประเทศ (กลุ่มประเทศเอเชียประจำ

การ ๑๖ ประเทศ) ประเทศที่ประจำการด้วยจรวดนำวิถีเอไอเอ็ม-

๑๒๐ (AIM-120) จำนวนมากคือ ปากีสถาน ๑,๐๐๐ ลูก (F-16AM/

BM/C/D รวม ๑๗๐ เครื่อง) กลุ่มประเทศอาเซียนประจำการ ๔

ประเทศ คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย

กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) รับมอบเครื่องบินขับไล่

เอฟ-๑๖ซี/ดี บล็อก ๒๕ (F-16C/D Blk 25) รวม ๒๔ เครื่อง (รุ่นซี

ที่นั่งเดี่ยว ๑๙ เครื่อง และรุ่นดี ชนิดสองที่นั่ง ๕ เครื่อง) จาก

ประเทศสหรัฐอเมริกา ในสมัยประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า

ต้องทำการปรับปรุงใหม่ก่อนที่จะนำเข้าประจำการ เป็นเงิน ๗๕๐

ล้านเหรียญสหรัฐ มีชื่อเรียกใหม่ว่าเอฟ-๑๖ซี/ดี ๕๒ไอดี (F-16C/D

52ID) รับมอบเครื่องบินชุดแรกปี พ.ศ.๒๕๖๑ ประจำการฝูงบิน

ขับไล่ที่ ๓ ฐานทัพอากาศอิสวาฮ์จูดี (Iswahjudi) มีสองทางวิ่งคือ

ทางวิ่งยาว ๒,๕๗๕ เมตร และ ๓,๐๕๐ เมตร จังหวัดชวาตะวันออก

และฝูงบินขับไล่ที่ ๑๖ ฐานทัพอากาศโรส์มิน นูร์จาดิน (Roesmin

Nurjadin) ทางวิ่งยาว ๒,๖๐๐ เมตร จังหวัดเรียว (Riau) เกาะสุมาตรา

นอกจากนี ้ ได้มีการจัดหาจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศเอไอเอ็ม-

๑๒๐ซี๗ (AIM-120C7) จำนวน ๓๖ ลูก เป็นเงิน ๙๕ ล้านเหรียญ

สหรัฐ จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๙

และจัดหาจรวดนำวิถีอากาศพิสัยกลางก้าวหน้าเอไอเอ็ม-๑๒๐

(AIM-120) ชุดใหม่ของการผลิตในล็อตที่ ๓๑ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นเงิน ๖๓๔.๒ ล้านเหรียญสหรัฐ จัดหารวม ๑๐

ประเทศ (เอเชียจัดหา ๕ ประเทศ ประกอบด้วย บาห์เรน กาต้าร์

เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย)

กองทัพอากาศไทย (RTAF) ปรับปรุงเครื่องบินขับไล่เอฟ-

๑๖เอ/บี บล็อก ๑๕ (F-16A/B Blk 15) ที่ประจำการมาเป็นเวลา

นาน ต้องทำการปรับปรุงใหม่ ฝูงบินขับไล่ที่ ๔๐๓ ฐานทัพอากาศ

ตาคลี จำนวน ๑๘ เครื่อง ดำเนินการเป็นสามเฟส (เฟสละหกเครื่อง)

ปรับปรุงใหม่ปลายปี พ.ศ.๒๕๕๓ โดยมีชื่อเรียกใหม่ว่าเอฟ-๑๖เอ

เอ็ม/บีเอ็ม (F-16AM/BM) ขีดความสามารถเทียบได้กับเอฟ-๑๖ซี/

ดี บล็อก ๕๒ (F-16C/D Blk 52) สามารถติดตั้งระบบอาวุธรุ่นใหม่

ในภารกิจต่อสู้ทางอากาศ (AIM-120C) และโจมตีภาคพื้นดิน

ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันโครงการได้สำเร็จแล้ว

นอกจากนี้สามารถเชื่อมต่อข้อมูลทางยุทธวิธีกับเครื่องบินเตือนภัย

แบบซ๊าบ-๓๔๐ (Saab-340 AEW&C) ของฝูงบินที่ ๗๐๒ ฐานทัพ

อากาศสุราษฎร์ธานี ทำการบินได้นานกว่า ๕ ชั่วโมง เรดาร์ตรวจจับ

เป้าหมายได้ไกล ๓๕๐ กิโลเมตร

บรรณานุกรม

๑. en.wikipedia.org/wiki/AIM-120_AMRAAM

๒. en.wikipedia.org/wiki/Indonesian_Air_Force

๓. en.wikipedia.org/wiki/Republic_of_Singapore_Air_Force

๔. en.wikipedia.org/wiki/General_Drymics_F-16_Fighting_Falcon

๕. en.wikipedia.org/wiki/Saab_340_AEW%26C

๖. The World Defence Almanac 2015. P.322-324, P.344-346, P.350-353.

69

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!