29.09.2020 Views

ก.ย. 63

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

๒๕๕๐ ของกองทัพบก และตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๘ เป็นต้นมา ได้รับ

พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รับราชการ ตามลำดับ

ดังนี้ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา สำนักงานผู้บังคับ

บัญชากองทัพบก (อัตรา พลตรี) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ สำนักงานปลัด

กระทรวงกลาโหม (อัตรา พลโท) หัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ

ประจำปลัดกระทรวงกลาโหม (อัตรา พลเอก) และปี พ.ศ.๒๕๖๒

รับราชการในตำแหน่ง “ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศและพลังงานทหาร” จนถึงปัจจุบัน

ราชการพิเศษ ปี ๒๕๒๒ – ๒๕๓๓ เป็นตุลาการศาลทหาร

กรุงเทพ ปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๙ เป็นตุลาการศาลทหารกลาง ปี ๒๕๔๕

– ๒๕๕๘ ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคง

ภายในราชอาณาจักรและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

ภาค ๔ ส่วนหน้า ปี ๒๕๔๗ เป็นคณะอนุกรรมการรักษาผลประโยชน์

แห่งชาติ ในคณะกรรมการความมั่นคง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

ปี ๒๕๕๑ - ๒๕๕๖ เป็นเจ้าหน้าที่ในคณะรักษาความสงบเรียบร้อย

แห่งชาติ ปี ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ เป็นผู้เชี ่ยวชาญประจำสมาชิกสภา

นิติบัญญัติแห่งชาติ ปี ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ ปฏิบัติหน้าที่ในคณะพูดคุย

เพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ ปี ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐

เป็น “เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน” (พลเอก ศิริชัย

ดิษฐกุล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน)

ด้วยความรู้ความสามารถ เป็นนักคิด นักพัฒนา และทุ่มเท

ให้กับงานราชการ พลเอก ธนิส จึงได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา

ให้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญๆ ซึ่งล้วนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

โดยยึดคติประจำใจที่ว่า “ซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามคำสั่ง ตรงต่อเวลา รักษา

หน้าที่” และเมื่อรับตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศและพลังงานทหาร ได้ขับเคลื่อนงานอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศตอบสนองนโยบายรัฐบาล “Thailand 4.0” ที่ต้องการให้

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็น “อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ ๑๑

(S-Curve 11)” ที่จะนำพาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

กับเป้าหมายอื่นๆ ด้วยการปรับปรุงแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนา

วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ.๒๕๖๓

- ๒๕๘๐) การพัฒนาเงินทุนหมุนเวียนที่รับผิดชอบทั้ง ๕ กองทุน

(เงินทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โรงงานแบตเตอรี่ทหาร

ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ โรงงานวัตถุระเบิดทหาร และโรงงาน

เภสัชกรรมทหาร) ให้เกิดประสิทธิภาพ การริเริ่มจัดตั้งศูนย์บูรณาการ

ด้านข้อมูลอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ การลงนามความร่วมมือด้าน

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศกับสาธารณรัฐประชาชนจีน การขาย

กระสุนปืนให้กับสาธารณรัฐสิงคโปร์ และการดำเนินการจัดตั้ง “นิคม

อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ” ซึ่งอยู่ระหว่างการบูรณาการกับ

ทุกภาคส่วนโดยร่วมกันพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินการ

เพื่อให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากงานภารกิจหลักที่ได้รับมอบหมายแล้ว พลเอก ธนิส

ยังได้ดำเนินงานด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและสังคม อาทิ

การบูรณาการส่งเสริมโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ผ่าน

แผนงานฟื้นฟูพัฒนาลำน้ำ คูคลอง (คลองบ้านเก่า) ปรับปรุงภูมิทัศน์

ในพื้นที่ “สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์” และถนนเฉลิมพระเกียรติ

(ถนนศรีสมาน) การสนับสนุนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ

เชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ การดำเนินกิจกรรม Corporate Social

Responsibility (CSR) และการพัฒนาด้านสวัสดิการกำลังพล เพื่อให้

กำลังพลมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีโดยยึดหลัก “กำลังพลทุกนาย

ต้องกินดี อยู่ดี มีความสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน”

จากเด็กบ้านนอก สู่ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรม

ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร พร้อมด้วยผลงานที่เป็นประโยชน์

ต่อกระทรวงกลาโหมและประเทศชาติมากมาย ดังที่กล่าวมาแล้ว

นับควรค่าแก่การจารึกให้อนุชนรุ่นหลังได้นำไปเป็นแบบฉบับต่อไป...

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

“หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน”...

19

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!