29.09.2020 Views

ก.ย. 63

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

การก่อการร้าย :

จากโทรศัพท์มือถือสู่โทรศัพท์อัจฉริยะ

Terrorism: From Mobile Phones to Smart Phones

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ

ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองข่าวความมั่นคง สำนักข่าวกรอง กรมข่าวทหาร

“มาตรา ๑๔ (๒) : นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูล…อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะ

เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย

สาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็น

ประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน”

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ปี ๒๕๖๐

ทเรียนแห่งความทรงจำเรื่องที่ ๑ ที่ควรได้รับการทบทวน

(Physical) : “การก่อการร้ายเปรียบเสมือนการขยายช่องทาง

ของคลื่นสัญญาณที่ถูกส่งออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด” โดยเมื่อปลาย

ศตวรรษที่ ๒๐ ที่เป็นยุคเริ่มต้นของการใช้โทรศัพท์มือถือแบบ

เคลื่อนที่ (Mobile Phone) ได้เกิดเหตุการณ์ ๙/๑๑ (Nine One

One) (๑๑ กันยายน ๒๐๐๑) ซึ่งก่อนที่จะเกิดปฏิบัติการก่อเหตุ

วินาศกรรมในอีกไม่กี่วันข้างหน้า กลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะห์

(Al-Qaeda) จำนวน ๑๙ คน กำลังนั่งจิบกาแฟอเมริกาโน่เย็นๆ

พร้อมทั้งสายตาที่จับจ้องมองพื้นที่รอบตัว เพื่อสำรวจเป้าหมาย/

พื้นที่ และจากนั้นได้ประสานการก่อเหตุผ่านอีเมล โดยผลลัพธ์ที่

ต้องการคือการเขย่าวงการความมั่นคงของโลกซึ่งแผนการก่อเหตุ

เป็นวิธีการก่อการร้ายด้วยอาวุธแบบใหม่โดยที่เป็นการผสมผสาน

ยุทธวิธีเดิมกับความคิดริเริ่มใหม่ด้วยการใช้เครื่องมือของฝ่ายตรงข้าม

ซึ่งได้แก่ การปล้นเครื่องบินพาณิชย์ของสหรัฐฯ ๔ ลำ ที่เป็นยุทธวิธี

ดั้งเดิมของการก่อการร้าย ผสมผสานกับการออกแบบยุทธวิธี

56

รูปแบบใหม่จากความคิดริเริ่ม กล่าวคือบังคับเครื่องบินให้พุ่งเข้าชน

สถานที่สำคัญ/ที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ของสหรัฐฯ ที่อาคารเพนตากอน

ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางทหาร (Pentagon) และตึกเวิลด์เทรด

เซ็นเตอร์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางเศรษฐกิจ (World Trade Center)

ต่อมาในยุคศตวรรษที่ ๒๑ (ปี ๒๐๑๗) คลื่นแห่งความรุนแรงได้

เคลื่อนตัวมาจากสหรัฐฯ จนมากระทบฝั่งในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งกลุ่ม

ติดอาวุธประจำถิ่นมาอูเต้ (Maute) ได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Facebook

Live) เพื่อสาบานตนสวามิภักดิ์ (Bayat) กับกลุ่มรัฐอิสลาม

(IS : ไอเอส) อีกทั้งได้ทำการใช้เพื่อเชิญชวนสมาชิกกลุ่มไอเอส จาก

ทั่วโลก (Foreign Terrorist Fighters) เพื่อร่วมปฏิบัติการยึดเมือง

มาราวี ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ โดยจะสถาปนาเป็นรัฐอิสลาม

สาขาเอเชียจากการศึกษาพบว่าทั้ง ๒ กลุ่มต่างก็มีความเหมือนใน

ด้านวัตถุประสงค์ในการก่อเหตุรุนแรง นั่นก็คือ “การเอาชนะใน

สงครามจิตวิทยา โดยหวังให้เกิดความหวาดกลัว/ตื่นตระหนก ใน

หมู่ประชาชนทั่วโลก” อีกทั ้งแสดงให้กลุ่มก่อการร้ายในต่างพื้นที่

พันเอก พิศาล อมรรัตนานุภาพ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!