29.09.2020 Views

ก.ย. 63

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

มิติที่ ๒ การบริการการรักษาพยาบาลด้วยระบบเทเลเฮลท์

(Telehealth)

คือการให้บริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิด

จากความร่วมมือ ระหว่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและภาค

เอกชน โดยระบบดังกล่าวเป็นการให้คำปรึกษาทางการแพทย์แก่

ผู้ป่วยผ่านโทรศัพท์หรือการสื่อสารผ่าน Video Conference ซึ่ง

ผู้ป่วยและแพทย์สามารถเห็นหน้ากัน วิธีนี้ช่วยให้แพทย์สามารถ

ซักประวัติผู้ป่วย สั่งตรวจร่างกายและประเมินสภาวะจิตใจของผู้ป่วย

ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาล และยังสามารถติดตามการ

รักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ห่างไกลได้ ทั้งหน่วยงานทางการแพทย์ก็

สามารถรับส่งข้อมูลทางด้านการแพทย์ เช่น ภาพเอกซเรย์ ผลตรวจ

ทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนไปให้แพทย์

เพื่อวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาผ่านทาง E-mail ได้ รวมถึง

การดูแลผู้ป่วยทางไกล (Remote Patient Monitory

= RPM) ซึ่งการระบาดของโรคโควิด-๑๙ ได้

ทำให้วงการแพทย์เห็นความสำคัญของการบริการ

ดูแลผู้ป่วยทางไกล จึงนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ

เพื่อช่วยให้สามารถติดตามอาการผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด

เช่น กรณีผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะการใช้

เทคโนโลยีทำให้แพทย์สามารถติดตามอาการผู้ป่วย

จากระยะไกลได้ หากผู้ป่วยมีลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ที่เปลี่ยนแปลงไปทีมแพทย์ผู้รักษาก็สามารถให้คำ

แนะนำและดูแลได้อย่างทันท่วงที

มิติที่ ๓ การดูแลรักษาสุขภาพแบบรายย่อย

(Retaliszation Of Healthcare)

จากการเติบโตของโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีต่างๆ ล้วนเป็น

ตัวเร่งให้การดูแลสุขภาพแบบรายย่อยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้

ผู้ป่วยมีความคาดหวังต่อการให้บริการด้านการดูแลรักษาสุขภาพ

เหมือนกับที่คาดหวังต่อการบริการแบบอื่นๆ นั่นคือ ความ

สะดวกสบาย ความโปร่งใสและการเข้าถึงการบริการได้อย่างรวดเร็ว

การดูแลรักษาสุขภาพแบบรายย่อย มุ่งเน้นการให้บริการโดยยึด

ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient Centric) เช่น การมีศูนย์ฉุกเฉินเพื่อ

รองรับผู้ป่วยระหว่างการระบาดของโรคโควิด-๑๙ และช่วยคัดกรอง

ผู้ป่วยว่ามีอาการมากน้อยเพียงใด

มิติที่ ๔ การแพทย์แบบเฉพาะเจาะจง (Precision Health

Medicine)

กระทรวงสาธารณสุขได้วางเป้าหมายเรื่องการรักษาด้วย

แนวทางการแพทย์แบบเฉพาะเจาะจงไว้ในแผน

ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี การแพทย์แบบเฉพาะเจาะจง

ซึ่งจะเปลี ่ยนแปลงรูปแบบการรักษาในอดีตที่ใช้วิธี

การเดียวกันในการรักษาผู้ป่วยมาเป็นการรักษาแบบ

เฉพาะเจาะจง โดยอาศัยข้อมูลทางพันธุกรรม สภาพ

แวดล้อมและรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้ป่วยมา

พิจารณาหาสาเหตุหรือแนวทางป้องกัน รวมถึงวิธีการ

รักษาโรคที่เหมาะสม และเฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วย

แต่ละราย โดยมุ่งเป้าไปที่ความเสี่ยงและสถานการณ์

ของแต่ละบุคคลแทนที่จะใช้วิธีเดียวกันทั้งหมด

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การรักษาพยาบาลมี

ประสิทธิภาพมากที่สุด

ทั้งหมดนี้ก็คือ การแพทย์วิถีใหม่หรือ New

Normal Of Medical Service ที่จะเกิดขึ้นหลังจาก

นี้ไป เพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่หรือ New Normal

ในด้านต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการก้าวกระโดด

ของเทคโนโลยีในยุค Digital Disruption เพื่อเตรียม

พร้อมสำหรับประเทศไทย ๔.๐

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

71

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!