29.09.2020 Views

ก.ย. 63

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ทางการทหารหรือการป้องกันประเทศนั้น คาวิต้า แน็กพาว (Kavita

Nagpal : 2020) นักวิชาการจากเว็บไซต์ด้านการป้องกันประเทศ

Defproac.com กล่าวถึงการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้กับการป้องกัน

ประเทศไว้ว่า “หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) คือ การผสมผสาน

ระหว่างเทคโนโลยีและปัญญาสำหรับการจำลองการประมวลผล

ข้อมูลและความรับรู้ เพื่อสร้างขีดความสามารถให้ทำเครื่องจักร

สามารถเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ได้ ดังนั้นปัญญาประดิษฐ์

(AI) จึงเป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อและสามารถนำมาประยุกต์ในการ

ใช้งานได้อย่างหลากหลายทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจและการทหาร”

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางทหาร กรมวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีกลาโหม ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการวิจัย

และพัฒนางานวิจัยทางด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ จึงได้มี

การกำหนดเป้าหมายในการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือทางเทคโนโลยี

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ (Robotics) ด้านความมั่นคงของ

กระทรวงกลาโหม ในห้วงระยะเวลา ๓ ปี (พ.ศ.๒๕๖๓ - ๒๕๖๕)

เพื่อผลิตผลงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม สนับสนุนภารกิจ

ของกองทัพ หน่วยงานด้านความมั่นคง และอุตสาหกรรมป้องกัน

ประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเป็นศูนย์

ประสานความร่วมมือด้านบุคลากร ห้องปฏิบัติการ และโครงสร้าง

พื้นฐานทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์(AI & Robotics)

ด้านความมั่นคง ระหว่างกระทรวงกลาโหมกับเครือข่ายการวิจัย

ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อพัฒนาบุคลากรทางเทคโนโลยี

ปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ของกระทรวงกลาโหม และเพื่อ

เป็นศูนย์ข้อมูลทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์

AI & Robotics ของกระทรวงกลาโหมที่เป็นศูนย์ข้อมูลหลัก

ที่สำคัญให้แก่กระทรวงกลาโหมต่อไป

กรอบการดำเนินงานของศูนย์ความร่วมมือ AI & Robotics

ได้แบ่งออกเป็นแผนงาน เช่น การสำรวจความต้องการงานวิจัยร่วม

กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมยุทธการเหล่าทัพ กรมส่งกำลัง

บำรุงเหล่าทัพ หน่วยประสานการวิจัยเหล่าทัพ โรงเรียนทหารเหล่าทัพ

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และหน่วยใช้ผลงานวิจัยและ

พัฒนาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นการพัฒนาและร่วมมือ

เครือข่ายการวิจัยการติดตามเทคโนโลยีด้าน AI & Robotics

การจัดการความรู้ (KM) และบริการข้อมูลด้าน AI & Robotics

การพัฒนาโครงการวิจัยและพัฒนาสนับสนุนภารกิจของกระทรวง

กลาโหม การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน AI & Robotics การพัฒนา

ต้นแบบวิศวกรรม หรือต้นแบบอุตสาหกรรมเพื่อการผลิต

แผนที่นำทางการดำเนินงานของศูนย์ความร่วมมือ AI &

Robotics มีการดำเนินงานในขั้นต้นของศูนย์ความร่วมมือ AI &

Robotics โดยขั้นการนำร่องเริ่มจากปี พ.ศ.๒๕๖๓ ระยะกลางขั้น

การพัฒนาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๖๔ และระยะยาวคือขั้นการต่อยอดและ

มุ่งเป้า (พ.ศ.๒๕๖๕)

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางทหาร กรมวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยีกลาโหมคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นการจัดตั้งศูนย์กลาง

ความร่วมมือ AI & Robotics ด้านความมั่นคงแห่งแรกของกระทรวง

กลาโหมที่ส่งเสริมให้บุคลากรของกระทรวงกลาโหม มีความรู ้ความ

สามารถด้าน AI & Robotics สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้

งานได้จริง นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนา

เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology) ที่สามารถนำมาใช้

ประโยชน์แก่กองทัพ และสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ต่อไป

หลักเมือง กันยายน ๒๕๖๓

59

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!