02.04.2021 Views

ASA NEWSLETTER 01-02_64

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

์<br />

่<br />

ขอบคุณสำหรับความร่วมมือของสมาชิกทุกท่าน จดหมายเหตุฉบับนี ้ เป็น ฉบับที่ 4 ของคณะกรรมการบริหารฯ วาระปี 2563-2565 ซึ่ง<br />

ได้มีหลายกิจกรรมที่ดำเนินการมาในรอบ 2 เดือน เช่น การจัดนิทรรศการเวนิสเบียนนาเล่ ครั ้งที่ 17 ภายชื่อนิทรรศการ “elephant” ซึ่ง<br />

จะเป็นตัวแทนนิทรรศการจากประเทศไทย ที่สมาคมฯร่วมมือกับสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ตั ้งใจจะนำไปจัดแสดงที่นครเวนิส ประเทศ<br />

อิตาลี ได้มีการปรับเปลี่ยนแผนเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 เพื่อที่จะทำให้งานประสบผลสำเร็จดังตั ้งใจไว้ อีกทั ้งทำให้เกิดการสืบสาน<br />

วัฒนธรรมของชาวกุยและเกิดความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและสัตว์ โดยนิทรรศการดังกล่าวจะจัดแสดงขึ ้ นทั ้ง 2 แห่ง คือที<br />

นครเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี และ วัดป่ าอาเจียง จังหวัดสุรินทร์ ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม - 21 พฤศจิกายน 25<strong>64</strong> ขณะเดียวกันได้มีการ<br />

จัดประกวดแบบที่สมาคมฯได้ติดตามและมีส่วนร่วมกับมวลสมาชิกให้เกิดความเคลื่อนไหวและตื่นตัว และได้รับประโยชน์จากการประกวด<br />

ทั ้งเชิงวิชาชีพและวิชาการทั ้งกลุ่มสมาชิกสถาปนิกและนักศึกษา ในอีก 2 เดือนข้างหน้านี ้ จะนำไปสู่งานสถาปนิก’<strong>64</strong> ครั ้งที่ 34 ซึ่งเป็นงาน<br />

ใหญ่ประจำปีของสมาคมฯ จึงขอถือโอกาสนี ้ เชิญชวนเหล่าสมาชิกทุกท่านได้มาชมงานและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ ้ นต่างๆมากมาย<br />

ในปีนี ้ จะเป็นครั ้งพิเศษสุด จัดขึ ้ นภายใต้แนวคิด มองเก่า ให้ใหม่ ระหว่างวันที่ 22-27 มิถุนายน 25<strong>64</strong> ณ ศูนย์การแสดงสินค้า อิมแพค<br />

ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-3 เมืองทองธานี<br />

นายชนะ สัมพลัง<br />

นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2563-2565<br />

คณะกรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ วาระปี พ.ศ. 2563-2565<br />

นายกสมาคม<br />

นายชนะ สัมพลัง<br />

อุปนายก<br />

นายนิเวศน์ วะสีนนท์<br />

รศ.ดร.ต้นข้าว ปาณินท์<br />

ม.ล.วรุตม์ วรวรรณ<br />

นายจีรเวช หงสกุล<br />

ผศ.ดร.รัฐพงษ์ อังกสิทธิ<br />

นายรุ่งโรจน์ อ่วมแก้ว<br />

เลขาธิการ<br />

นายพิพัฒน์ รุจิราโสภณ<br />

เหรัญญิก<br />

นายไมเคิลปริพล ตั ้งตรงจิตร<br />

ปฏิคม<br />

นายเฉลิมพล สมบัติยานุชิต<br />

นายทะเบียน<br />

นายคมสัน สกุลอำนวยพงศา<br />

ประชาสัมพันธ์<br />

รศ.ดร.ม.ล.ปิยลดา ทวีปรังษีพร<br />

กรรมการกลาง<br />

ดร.วสุ โปษยะนันทน์<br />

นางสาวปฐมา หรุ่นรักวิทย์<br />

นายเฉลิมพงษ์ เนตรพฤษรัตน์<br />

นายอดุลย์ แก้วดี<br />

คณะกรรมการกองทุนสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ วาระปี พ.ศ. 2562-25<strong>64</strong><br />

ประธานกรรมการกองทุน<br />

นายวีระ ถนอมศักดิ ์ นายชนะ สัมพลัง<br />

กรรมการกองทุน<br />

นายไมเคิลปริพล ตั ้งตรงจิตร<br />

นายเจตกำจร พรหมโยธี<br />

นายสุริยา รัตนพฤกษ์<br />

นายพงศ์ ศิริปะชะนะ<br />

นายธานี คล่องณรงค์<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิก<br />

ล้านนา<br />

นายปราการ ชุณหพงษ์<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิก<br />

อีสาน<br />

นายวีรพล จงเจริญใจ<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิก<br />

ทักษิณ<br />

นายนิพนธ์ หัสดีวิจิตร


้<br />

กฎกระทรวงควบคุมอาคารกำหนดเรื่องการขอ<br />

อนุญาต<br />

19 มี.ค. 25<strong>64</strong><br />

กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงควบคุมอาคารฉบับใหม่<br />

สองฉบับซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ “กฎกระทรวง กำหนดแบบ<br />

คำขออนุญาต ใบอนุญาต ใบรับรอง คำสั่ง และแบบหนังสือ<br />

ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 25<strong>64</strong>” และ<br />

“กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอ<br />

อนุญาต การอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต<br />

การออกใบรับรอง และการออกใบแทนตามกฎหมายว่าด้วยการ<br />

ควบคุมอาคาร พ.ศ. 25<strong>64</strong>” โดยฉบับแรกเพื่อใช้บังคับแทน กฎ<br />

กระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2528) และอีกฉบับหนึ่งเพื่อใช้แทน<br />

กฎกระทรวง ฉบับที ่ 10 (พ.ศ. 2528) กฎกระทรวง ฉบับที่<br />

29 (พ.ศ. 2534) กฎกระทรวง ฉบับที่ 45 (พ.ศ. 2538) กฎ<br />

กระทรวง ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2543) และกฎกระทรวง ฉบับที่<br />

57 (พ.ศ. 2544) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19<br />

มีนาคม 25<strong>64</strong><br />

กฎกระทรวง กำหนดแบบคำขออนุญาตฯ พ.ศ. 25<strong>64</strong> เป็นการ<br />

กำหนดแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตตามกฎหมาย<br />

ควบคุมอาคาร ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับ กฎกระทรวง กำหนด<br />

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตฯ พ.ศ. 25<strong>64</strong><br />

ที่ออกใช้บังคับใหม่ ส่วน กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ<br />

และเงื่อนไขในการขออนุญาตฯ พ.ศ. 25<strong>64</strong> เป็นการปรับปรุง<br />

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการขอ<br />

อนุญาต ฯลฯ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน<br />

โดยสาระสำคัญของกฎกระทรวงฉบับนี ้ คือการกำหนดให้<br />

สามารถยื่นคำขอพร้อมเอกสารโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์<br />

ได้เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการติดต่อกับภาค<br />

รัฐ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้นำ<br />

เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มากยิ่งขึ ้ นในการให้บริการประชาชน<br />

เมื่อเปรียบเทียบกฎกระทรวงฉบับใหม่นี ้ กับกฎกระทรวง ฉบับที่<br />

10 เดิม จะมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ไม่ต่างจากเดิมเป็น<br />

ส่วนใหญ่ โดยมีข้อที่ได้ปรับปรุงหรือเพิ่มเติม โดยสังเขป ดังนี<br />

– กฎกระทรวงฉบับใหม่กำหนดให้การยื่นคำขอและ<br />

เอกสารต่างๆ ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็น<br />

หลัก ในระหว่างที่ยังไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทาง<br />

อิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามเดิมไปก่อน<br />

- สำหรับการขอรับใบอนุญาตรื ้ อถอนอาคารเกี่ยวกับ<br />

อาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัสดุ<br />

ถาวรและวัสดุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ จะต้องแนบมาตรการรื ้ อถอน<br />

อาคารจำนวนหนึ่งชุดพร้อมกับคำขอด้วย<br />

- ในการรับคำขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอ<br />

รวมทั ้งข้อมูล เอกสารและหลักฐานว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ใน<br />

กรณีไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนให้แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ<br />

ทันที ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ในขณะนั ้น ก็ให้แจ้ง<br />

ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติม แต่ถ้าเป็น<br />

กรณีที่ไม่อาจดำเนินการได้ในขณะนั ้น ให้บันทึกความบกพร่อง<br />

นั ้นไว้และแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องและ<br />

ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณี<br />

ที่มิใช่เป็นการยื่นโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้พนักงานเจ้า<br />

หน้าที่และผู้ขอรับใบอนุญาตลงนามไว้ในบันทึกนั ้นด้วย<br />

- ในกรณีข้างต้น หากผู้ขอรับใบอนุญาตไม่แก้ไขเพิ่ม<br />

เติมคำขอหรือไม่จัดส่งข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้อง<br />

และครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ขอรับใบ<br />

อนุญาตไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป และจำหน่ายเรื่องออก<br />

จากสารบบต่อไป<br />

- กำหนดให้ชัดเจนขึ ้ นสำหรับการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง<br />

แผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบ ให้ผิดไป<br />

จากที ่ได้รับอนุญาต ว่าให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้อง<br />

ถิ่น พร้อมด้วยเอกสาร เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอแล้ว<br />

ให้ดำเนินการไปตามขั ้นตอน และเมื่อตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูก<br />

ต้อง ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบ อ.๖<br />

- แบบคำขอและแบบใบอนุญาต มีการปรับเปลี่ยนชื่อ<br />

ไปจากเดิม ดังนี ้<br />

ในแบบคำขอที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม<br />

และผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม (ข.๑ ถึง ข.๗ ยกเว้น<br />

ข.๕) นอกจาก หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพฯซึ่งเป็นผู้รับ<br />

ผิดชอบงานออกแบบและคำนวณอาคาร (วิศวกร) และผู้รับผิด<br />

ชอบงานออกแบบอาคาร (สถาปนิก) (แบบ น.๒) และหนังสือ<br />

แสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน (แบบ น.๔) แล้ว ผู้ประกอบ


้<br />

วิชาชีพฯยังจะต้องแนบ “หนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้<br />

เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือผู้ประกอบวิชาชีพ<br />

สถาปัตยกรรมควบคุม ที่ออกโดยสภาวิศวกรหรือสภาสถาปนิก<br />

แล้วแต่กรณี” ด้วย<br />

สำหรับใบอนุญาตที ่ออกตามกฎกระทรวงฉบับเดิม ให้ใช้ได้<br />

ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั ้นจะสิ ้ นอายุ ส่วนบรรดาคำขอที่ยื่น<br />

ไว้แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงใหม่ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่าง<br />

การพิจารณา ให้ถือว่าเป็นคำขอที่ได้ยื่นตามกฎกระทรวงใหม่<br />

โดยอนุโลม<br />

ข้อกำหนดที่ให้มีการดำเนินการยื่นคำขอโดยวิธีการทาง<br />

อิเล็กทรอนิกส์ คงจะช่วยอำนวยความสะดวกและรวดเร็วแก่<br />

ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่เป็นคนรุ่นใหม่หรือบริษัทที่<br />

มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า<br />

วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์น่าจะยังไม่สามารถใช้ได้กับองค์กร<br />

ปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากยังขาด<br />

ความพร้อม<br />

ในการยื่นคำขออนุญาตออนไลน์ จะทำผ่านระบบกลางที่เรียก<br />

ว่า Biz Portal (ศูนย์กลางบริการภาครัฐสำหรับประชาชน) บน<br />

เว็บไซต์ biz.govchannel.go.th ที่จัดทำโดย สำนักงานพัฒนา<br />

รัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ<br />

ดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี โดยในช่วงแรกจะมีเพียงการขอ<br />

ใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื ้ อถอนอาคาร (ข.1) และการ<br />

ขอใบรับรองการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร (ข.<br />

6 เดิม) ก่อน<br />

การใช้งาน Biz Portal ครั ้งแรกผู้ใช้จะต้องสมัครสมาชิกเพื่อ<br />

เข้าสู่ระบบก่อน โดยคลิก เข้าสู่ระบบ > เข้าสู่ระบบด้วยบัญชี<br />

ประชาชน/เจ้าหน้าที่ > สมัครสมาชิก หรือหากมีบัญชีผู้ใช้อยู่<br />

แล้วก็ใส่ชื่อบัญชีผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน เพื่อเข้าสู่ระบบ ในการ<br />

ขออนุญาต คลิก ขออนุญาตออนไลน์ > ขอใบอนุญาต/งาน<br />

บริการใหม่ > ธุรกิจก่อสร้างและรับเหมาก่อสร้าง > ขอใบอนุญาต<br />

ก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื ้ อถอนอาคาร(ข.1) > เลือก<br />

กรณีของใบอนุญาต > ดำเนินการต่อ (ในขณะที่เขียนข่าว ยังไม่<br />

สามารถใช้งานจริงได้)<br />

ดาวน์โหลด : www.asa.or.th/laws/news2<strong>02</strong>10322-3/<br />

หลักเกณฑ์ของผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละระดับ ฯลฯ<br />

18 มี.ค. 25<strong>64</strong><br />

สภาสถาปนิกออกข้อบังคับสภาสถาปนิก 3 ฉบับที่ผ่านการ<br />

ประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2563 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา<br />

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 25<strong>64</strong> ได้แก่<br />

(1) ข้อบังคับสภาสถาปนิก ว่าด้วยโรคที่ต้องห้ามในการ<br />

เป็นสมาชิกสภาสถาปนิก พ.ศ. 25<strong>64</strong><br />

(2) ข้อบังคับสภาสถาปนิก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ของผู้<br />

ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมแต่ละระดับ พ.ศ. 25<strong>64</strong><br />

(3) ข้อบังคับสภาสถาปนิก ว่าด้วยการประพฤติผิด<br />

จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ ์แห่ง<br />

วิชาชีพ พ.ศ. 25<strong>64</strong><br />

ข้อบังคับสภาสถาปนิกทั ้งสามฉบับมีผลใช้บังคับนับแต่วัน<br />

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มีเนื ้ อหาพอสรุปได้ดังนี<br />

1. ข้อบังคับสภาสถาปนิก ว่าด้วยโรคที่ต้องห้ามใน<br />

การเป็นสมาชิกสภาสถาปนิก พ.ศ. 25<strong>64</strong> เป็นข้อบังคับที่ออก<br />

ตามมาตรา 12 ซึ่งบัญญัติให้สมาชิกสามัญของสภาสถาปนิก<br />

ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนด และ<br />

ใน (6) ของมาตรา 12 กำหนดว่าต้องไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือน<br />

ไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดในข้อบังคับสภา<br />

สถาปนิก ข้อบังคับสภาสถาปนิกฉบับนี ้ เป็นการปรับปรุงแก้ไข<br />

เพื่อใช้บังคับแทนข้อบังคับฉบับเดิม พ.ศ. 2544 โดยได้ตัด “โร<br />

คอื่นๆ ที่แพทย์เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการประกอบวิชาชีพ<br />

สถาปัตยกรรม” ออก และเพิ่ม “โรคพิษสุราเรื ้ อรัง” เข้ามาแทน<br />

ในส่วนของการตัดโรคอื่นๆ ที่แพทย์เห็นว่าจะเป็นอุปสรรคฯ<br />

ออกนั ้น เนื่องจากเห็นว่า กินความกว้างเกินไปและแพทย์อาจ<br />

ไม่สามารถระบุให้ได้ว่าโรคอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบ<br />

วิชาชีพสถาปัตยกรรม นอกจากนี ้ ยังมีผลให้การสมัครสมาชิก<br />

สามัญต่อไปมีความสะดวกรวดเร็วขึ ้ นเพราะไม่จำเป็นต้องใช้ใบ<br />

รับรองแพทย์ประกอบการสมัคร<br />

2. ข้อบังคับสภาสถาปนิก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ของผู้<br />

ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมแต่ละระดับ พ.ศ. 25<strong>64</strong><br />

เป็นข้อบังคับที่ออกตามความในมาตรา 46 แห่งพระราช<br />

บัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ประกอบวิชาชีพ<br />

สถาปัตยกรรมควบคุมแต่ละสาขามี 4 ระดับ คือ วุฒิสถาปนิก<br />

สามัญสถาปนิก ภาคีสถาปนิก และภาคีสถาปนิกพิเศษ โดยหลัก<br />

เกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม<br />

แต่ละระดับให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาสถาปนิก<br />

การออกข้อบังคับฉบับนี ้ จึงทำให้ กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ.


้<br />

2542) ที่ออกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ.<br />

2508 เป็นอันยกเลิกไปโดยปริยาย หลังจากที่ยังคงใช้บังคับโดย<br />

อนุโลมมาเป็นเวลา 20 ปี และใช้ข้อบังคับสภาสถาปนิกฉบับนี<br />

แทน<br />

การออกข้อบังคับสภาสถาปนิกฉบับนี ้ มีวัตถุประสงค์สำคัญสอง<br />

อย่าง อย่างแรกคือเพื่อให้มีข้อบังคับที่ออกตามพระราชบัญญัติ<br />

สถาปนิก พ.ศ. 2543 ใช้บังคับ และเนื่องจาก กฎกระทรวง<br />

ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2542) มีข้อกำหนดทั ้งในเรื่องของการกำหนด<br />

วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม และการกำหนดหลักเกณฑ์ของ<br />

ผู้ประกอบวิชาชีพฯแต่ละระดับ ซึ่งในส่วนแรกนั ้น ได้มีการออก<br />

กฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2549<br />

มาแล้ว กฎกระทรวงฉบับปี 2549 นี ้ ได้กำหนดชนิดงานใน<br />

วิชาชีพ ที่แม้จะใกล้เคียงกับที่กำหนดไว้เดิมตามกฎกระทรวง<br />

ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2542) แต่ก็มีรายละเอียดถ้อยคำและลำดับที่<br />

แตกต่างกัน ทำให้การนำเรื่องหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบวิชาชีพ<br />

ตามกฎกระทรวงเก่า พ.ศ. 2542 มาใช้ร่วมกับชนิดงานตาม<br />

กฎกระทรวง พ.ศ. 2549 เป็นไปด้วยความสับสน ในการออก<br />

ข้อบังคับฉบับนี ้ เป็นการนำเอาเนื ้ อหาสาระเดิมของข้อกำหนด<br />

ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2542) มาใส่ไว้ในข้อบังคับ<br />

ฉบับนี ้ เพื่อไม่ให้มีข้อความขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงกำหนด<br />

วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2549<br />

นอกจากนั ้น ข้อบังคับสภาสถาปนิกฉบับนี ้ ยังได้เพิ่มหลักเกณฑ์<br />

ในระดับสามัญสถาปนิกของทุกสาขายกเว้นสาขาสถาปัตยกรรม<br />

ผังเมือง โดยระดับสามัญสถาปนิกตามข้อบังคับสภาสถาปนิก<br />

ฉบับนี ้ มี 2 แบบ ดังแสดงอยู่ใน ข้อ 4 (1) (ข), (3) (ข) และ<br />

(4) (ข) คือแยกออกเป็น (ข/1) ระดับสามัญสถาปนิก และ<br />

(ข/2) ระดับสามัญสถาปนิกในชนิดงานบริหารและอำนวยการ<br />

ก่อสร้าง ซึ่ง (ข/1) หมายถึงระดับสามัญสถาปนิกตามปกติเดิม<br />

ซึ่งจะสามารถประกอบวิชาชีพได้ในทุกชนิดงาน/ขนาด ยกเว้น<br />

ชนิดงานให้คำปรึกษา ส่วน (ข/2) ซึ่งมีชื่อเรียกตามข้อบังคับฯ<br />

ว่า “ระดับสามัญสถาปนิกในชนิดงานบริหารและอำนวยการ<br />

ก่อสร้าง” ถูกเพิ่มขึ ้ นมาเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ ให้กับผู้ประกอบ<br />

วิชาชีพฯที่ประกอบวิชาชีพในด้านการบริหารและอำนวยการ<br />

ก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบางคนอาจประสบปัญหาในการเลื่อน<br />

ระดับจากภาคีสถาปนิกเป็นสามัญสถาปนิก เนื่องจาก ขาดผล<br />

งานด้านการออกแบบ ฯลฯ ก็สามารถใช้ช่องทาง (ข/2) นี ้ ใน<br />

การเลื่อนระดับได้ โดยระดับสามัญสถาปนิกในชนิดงานบริหาร<br />

และอำนวยการก่อสร้าง จะสามารถประกอบวิชาชีพได้ได้ในชนิด<br />

งาน (3) งานบริหารและอำนวยการก่อสร้าง ทุกขนาด ส่วนงาน<br />

ในชนิดงานออกแบบ งานตรวจสอบ งานศึกษาโครงการ จะมีข้อ<br />

จำกัดทำได้เท่ากับระดับภาคีสถาปนิก<br />

3. ข้อบังคับสภาสถาปนิก ว่าด้วยการประพฤติผิดจรรยา<br />

บรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ.<br />

25<strong>64</strong> ก็เป็นข้อบังคับที่เกี่ยวเนื่องกับคุณสมบัติและลักษณะต้อง<br />

ห้ามของสมาชิกสามัญเช่นกัน โดยที่มาตรา 12 (4) บัญญัติ<br />

ให้สมาชิกสามัญต้องไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะ<br />

นำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนด<br />

ในข้อบังคับสภาสถาปนิก และมาตรา 12 (5) บัญญัติว่าต้อง<br />

ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่<br />

เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย<br />

เกียรติศักดิ ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาสถาปนิก<br />

พระราชบัญญัติจึงให้สภาสถาปนิกมีอำนาจและหน้าที่ ตาม<br />

มาตรา 8 (6) (ซ) ในการออกข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วย<br />

จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรม และการประพฤติผิด<br />

จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ ์แห่ง<br />

วิชาชีพ ซึ่งในส่วนของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรมได้<br />

ออกข้อบังคับไปแล้ว<br />

ข้อบังคับสภาสถาปนิกฉบับนี ้ เป็นการกำหนดกรณี<br />

ต่างๆ ที่คณะกรรมการจรรยาบรรณอาจพิจารณาวินิจฉัยว่า<br />

เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย<br />

เกียรติศักดิ ์แห่งวิชาชีพได้ ซึ่งล้วนเป็นกรณีที่ร้ายแรงทั ้งสิ ้ น การ<br />

วินิจฉัยดังกล่าวอาจมีผลให้สมาชิกผู้ถูกวินิจฉัยนั ้นมีลักษณะต้อง<br />

ห้ามตามกฎหมายและถูกคณะกรรมการลงมติให้พ้นจากสมาชิก<br />

ภาพได้ การพ้นจากสมาชิกภาพของสภาสถาปนิกยังมีผลให้ใบ<br />

อนุญาตประกอบวิชาชีพฯของผู้นั ้นสิ ้ นสุดลงไปด้วยตามที่บัญญัติ<br />

ไว้ในมาตรา 49 วรรคสอง<br />

ดาวน์โหลด : www.asa.or.th/laws/news2<strong>02</strong>10322-2/<br />

พรบ.เวนคืน มาตรา 34 ขัดรัฐธรรมนูญ<br />

15 มี.ค. 25<strong>64</strong><br />

ศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่คำวินิจฉัยที่ 2/25<strong>64</strong> เรื่องพิจารณาที่<br />

17/2563 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 25<strong>64</strong> เรื่อง พระราชบัญญัติ<br />

ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 ขัด<br />

หรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่<br />

คำวินิจฉัยนี ้ เป็นกรณีที่ศาลปกครองกลางส่งคำโต้แย้งของผู้<br />

ฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย สืบเนื่องมา<br />

จากการที่ผู้ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกของบิดา ยื่นฟ้องการ<br />

ประปานครหลวง และผู้ว่าการประปานครหลวง ว่าบิดาของผู้<br />

ฟ้องคดีเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ ์ที่ดินซึ่งถูกเวนคืนตามพระราช


กฤษฎีกา ประกาศในปี พ.ศ. 2539 เพื่อสร้างคลองส่งน ้ำดิบ<br />

ซึ่งในปี พ.ศ. 2543 ผู้ถูกฟ้องคดีได้นำเงินค่าทดแทนจำนวน<br />

2,156,400 บาท ไปฝากไว้กับธนาคารในชื่อบัญชีของบิดาของผู้<br />

ฟ้องคดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ศาลได้ตั ้งผู้ฟ้องคดีเป็นผู้จัดการ<br />

มรดก ในขณะนั ้นผู้ฟ้องคดีพบว่าโฉนดที่ดินดังกล่าวสูญหาย จึง<br />

ให้กรมที่ดินออกใบแทนโฉนดให้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ.<br />

2558 เมื่อผู้ฟ้องคดีไปติดต่อขอรับเงินทดแทน ก็ได้รับแจ้งจาก<br />

เจ้าหน้าที่ว่า จะต้องทราบจำนวนเนื ้ อที่ดินที่ถูกเวนคืนที่แน่นอน<br />

ก่อนจึงจะกำหนดค่าทดแทนได้ จึงมีการรังวัดที่ดินในปี พ.ศ.<br />

2559 ซึ่งผลการรังวัดปรากฏว่าที่ดินถูกเวนคืนทั ้งแปลง ผู้ฟ้อง<br />

คดีพยายามติดต่อขอรับเงินค่าทดแทนที่ดินกับผู้ถูกฟ้องคดีอีก<br />

หลายครั ้ง จนในปี พ.ศ. 2560 ผู้ถูกฟ้องคดีมีหนังสือแจ้งแก่ผู้<br />

ฟ้องคดีว่า ได้นำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้กับธนาคารแล้วตั ้งแต่<br />

ปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเกินกว่าสิบปีนับแต่วันที่มีการวางเงิน เป็นผล<br />

ให้เงินค่าทดแทนตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติว่าด้วย<br />

การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 ซึ่งบัญญัติ<br />

ว่า การร้องขอรับเงินที่ว่างไว้ตามมาตรา 31 ให้ร้องขอรับภายใน<br />

สิบปีนับแต่วันที่มีการวางเงิน ถ้าไม่ร้องขอภายในกำหนดเวลา<br />

เช่นว่านั ้น ให้เงินตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องต่อศาล<br />

ปกครองกลางเพื่อขอให้สั่งผู้ถูกฟ้องคดีจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดิน<br />

แก่ผู้ฟ้องคดี<br />

ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลปกครองกลาง ผู้ฟ้องคดีโต้แย้ง<br />

ว่า พรบ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา<br />

34 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จึง<br />

ไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากศาลปกครองกลางจะใช้บทบัญญัติ<br />

แห่งกฎหมายดังกล่าวบังคับคดี และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาล<br />

รัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั ้น จึงส่งคำโต้แย้งดัง<br />

กล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย<br />

ในคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเห็นว่า หลักการตรา<br />

กฎหมายที่จำกัดสิทธิหรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 26<br />

มีว่า กฎหมายนั ้นต้องไม่จำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกิน<br />

สมควรแก่เหตุ กล่าวคือ ต้องมีความเหมาะสม มีความจำเป็น<br />

และได้สัดส่วนหรือมีความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะกับ<br />

สิทธิหรือเสรีภาพที่บุคคลจะต้องสูญเสียไปอันเนื่องจากกฎหมาย<br />

นั ้น บทบัญญัติตามมาตรา 34 ดังกล่าว เป็นบทบัญญัติที่ยึดถือ<br />

เพียงความสะดวกของรัฐแต่ฝ่ ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิทธิของ<br />

บุคคลซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนและยังไม่คำนึง<br />

ถึงกรณีที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน<br />

อาจมีเหตุขัดข้องในการแสดงสิทธิของตนหรือมีกรณีที่อาจทำให้<br />

ไม่สามารถใช้สิทธิของตนได้ตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวได้<br />

ในการเวนคืนรัฐย่อมมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนที่เป็นธรรมแก่<br />

เจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อชดเชยเยียวยาความเสียหายที่บุคคล<br />

ได้รับจากการที่รัฐได้พรากเอากรรมสิทธิ ์ในอสังหาริมทรัพย์ของ<br />

บุคคลเหล่านั ้นไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งเป็นการแบกรับ<br />

ภาระหน้าทีของบุคคลที่มีต่อสาธารณะเกินไปกว่าบุคคลที่อยู่ร่วม<br />

สังคมเดียวกันมากพออยู่แล้ว บทบัญญัติมาตรา 34 เป็นการ<br />

ลิดรอนสิทธิของบุคคลผู้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืน<br />

เพิ่มเติมไปอีก มีผลเป็นว่ารัฐใช้อำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์<br />

ซึ่งรัฐธรรมนูญได้รับรองและคุ้มครองไปโดยเจ้าของไม่ได้<br />

รับค่าทดแทนที่เป็นธรรมถือเป็นการล่วงล ้ำสาระสำคัญแห่ง<br />

สิทธิของบุคคลที่ต้องได้รับเงินค่าทดแทนจากการถูกเวนคืน<br />

อสังหาริมทรัพย์ จนถึงขั ้นทำลายหลักประกันที่ว่าทรัพย์สิน<br />

ของประชาชนจะไม่ถูกเวนคืนไปใช้เป็นประโยชน์สาธารณะ<br />

โดยปราศจากการจ่ายค่าทดแทนที่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ<br />

มาตรา 37 วรรคสาม ไปโดยปริยาย<br />

ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการ<br />

เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 34 ขัดหรือแย้งต่อ<br />

รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง<br />

ดาวน์โหลด : www.asa.or.th/laws/news2<strong>02</strong>10322/<br />

ปรับปรุงกฎกระทรวงสิ่งอำนวยความสะดวก<br />

สำหรับผู้พิการฯ<br />

4 มี.ค. 25<strong>64</strong><br />

กระทรวงมหาดไทยออก “กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความ<br />

สะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา<br />

(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25<strong>64</strong>” ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวัน<br />

ที่ 4 มีนาคม 25<strong>64</strong> เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดสิ่ง<br />

อำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ<br />

และคนชรา พ.ศ. 2548<br />

การแก้ไขเพิ่มเติมส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงข้อกำหนดเดิมให้<br />

เหมาะสม สอดคล้องกับมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับของ<br />

นานาประเทศมากขึ ้ น ที่น่าสนใจ เช่น<br />

– ปรับปรุงบทนิยามคำว่า “สิ่งอำนวยความสะดวก<br />

สำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา” โดยได้เพิ่มข้อความ<br />

ต่อท้ายว่า “และให้หมายความรวมถึงพื ้ นที่โดยรอบอาคารนั ้น<br />

ด้วย”<br />

– เพิ่มบทนิยามคำว่า “พื ้ นที่หลบภัย” และ “ที่จอดรถ<br />

สำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา”


– ปรับปรุงประเภทและลักษณะอาคารที่ต้องจัดให้มีสิ่ง<br />

อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา<br />

(ดูรายละเอียดในข้อ 3 ของกฎกระทรวง)<br />

– เพิ่มข้อ 3/1 กำหนดว่า รายละเอียดเกี่ยวกับป้าย<br />

สัญลักษณ์ รูปสัญลักษณ์ เครื่องหมาย โครงสร้าง ขนาด การจัด<br />

วาง และตำแหน่งที่ตั ้งของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ<br />

หรือทุพพลภาพ และคนชรา ที่กำหนดไว้ในหมวดต่างๆ ให้เป็น<br />

ไปตามมาตรฐานอื่นที่ได้รับการยอมรับทั่วไปและกรมโยธาธิการ<br />

และผังเมืองเห็นชอบ<br />

– ปรับปรุงข้อ 6 ของกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2548 ที่<br />

กำหนดให้ป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวกฯ ต้องมีความชัดเจน<br />

และมองเห็นได้ในเวลากลางวันและกลางคืน โดยระบุเพิ่มว่า<br />

“สัมผัสและรับรู้ได้”<br />

– ปรับปรุงเรื่องระดับพื ้ นที่มีความต่างระดับที่ต้องทาง<br />

ลาดหรือปาดมุม (ข้อ 7) จากเดิมที่กำหนดให้มีทางลาดเมื่อต่าง<br />

ระดับกันเกิน 20 มม. หรือปาดมุม 45 องศาหากต่างระดับกัน<br />

ไม่เกิน 20 มม. แก้ไขเป็น ให้มีทางลาดเมื่อต่างระดับกันเกิน 1.3<br />

ซม. หรือปาดมุม 1:2 หากต่างระดับกันตั ้งแต่ 6.4 มม. แต่ไม่<br />

เกิน 1.3 ซม.<br />

– ปรับปรุงลักษณะของทางลาด (ข้อ 8) เช่น ไม่บังคับ<br />

ว่าทางลาดที่มีความยาวตั ้งแต่ 6 เมตร จะต้องมีความกว้างสุทธิ<br />

ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร แต่ให้กรณีทางลาดแบบสองทางสวนกัน<br />

มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร, ทางลาดที่ไม่มีผนังกั ้น<br />

ให้ยกขอบสูง 10 ซม. และต้องมีราวจับและราวกันตก (เดิม 5<br />

ซม. และมีราวกันตก), ทางลาดที่มีความยาวตั ้งแต่ 1.80 เมตร<br />

ขึ ้ นไป ต้องมีราวจับทั ้งสองด้าน (เดิม 2.50 เมตรขึ ้ นไป) และทาง<br />

ลาดที่มีความกว้างตั ้งแต่ 3 เมตรขึ ้ นไป ต้องมีราวจับห่างไม่เกิน<br />

1.50 เมตร (เดิมไม่ได้กำหนด), ความสูงของราวจับ 75-90<br />

ซม. (เดิม 80-90 ซม.), ราวจับด้านที่อยู่ติดผนังให้มีระยะห่าง<br />

จากผนังไม่น้อยกว่า 4 ซม. (เดิม 5 ซม.) และมีความสูงจากจุด<br />

ยึดไม่น้อยกว่า 10 ซม. (เดิม 12 ซม.), ยอมให้ราวจับไม่ต้อง<br />

ยาวต่อเนื่องกันได้แต่ต้องมีระยะห่างไม่เกิน 5 ซม.<br />

– ปรับปรุงลักษณะของลิฟต์ที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ<br />

และคนชราใช้ได้ (ข้อ 10) เช่น ปรับขนาดของห้องลิฟต์เป็น<br />

1.40 x 1.60 ม. หรือ 1.60 x 1.40 ม. (เดิม 1.10 x 1.40 ม.)<br />

และเพิ่มกำหนดความสูงไม่น้อยกว่า 2.30 ม. และมีช่องกระจก<br />

ใสนิรภัยที่สามารถมองเห็นระหว่างภายนอกและภายในได้ขนาด<br />

ไม่น้อยกว่า 0.20 x 0.80 ซม. และสูงจากพื ้ นไม่เกิน 1.10 ม.,<br />

เพิ่มต้องมีระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและระบบพัดลมระบาย<br />

อากาศซึ่งสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง<br />

ในกรณีระบบไฟฟ้าปกติหยุดทำงาน<br />

– ปรับปรุงลักษณะของบันได (ข้อ 11) เช่น ไม่กำหนด<br />

เรื่องความกว้างสุทธิและชานพักบันได, ให้มีราวบันไดทั้งสองข้าง<br />

เมื่อมีความต่างระดับกันตั ้งแต่ 60 ซม.ขึ ้ นไป, ปรับปรุงขนาดลูก<br />

ตั ้งลูกนอนของขั ้นบันไดเป็น ลูกตั ้งสูงไม่เกิน 18 ซม. และผลรวม<br />

ของลูกตั ้งกับลูกนอนไม่น้อยกว่า 43 ซม. (เดิมไม่เกิน 15 x 28<br />

ซม.), ลูกตั ้งอาจเป็นช่องโล่งได้หากลูกนอนบันไดยกขอบด้านใน<br />

สูงไม่น้อยกว่า 5 ซม. (เดิมเป็นช่องโล่งไม่ได้)<br />

– ปรับปรุงอัตราส่วนจำนวนที่จอดรถสำหรับผู้พิการ<br />

หรือทุพพลภาพ และคนชราที่ต้องจัดให้มี (ข้อ 12)<br />

– ไม่บังคับว่าที่จอดรถสำหรับผู้พิการฯ จะต้องไม่ขนาน<br />

กับทางเดินรถ และป้ายแสดงที่จอดรถอาจติดตั ้งบนผนังของช่อง<br />

จอดรถก็ได้ โดยให้อยู่สูงจากพื ้ นไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร<br />

– ไม่กำหนดขนาดของที่จอดรถสำหรับผู้พิการฯ โดยให้<br />

เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2537)<br />

– ปรับปรุงลักษณะของประตู (ข้อ 18) ธรณีประตูหาก<br />

มีความสูงต้องไม่เกินกว่า 1.3 ซม. (เดิม 2 ซม.), ช่องประตูต้อง<br />

มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 86 ซม. (เดิม 90 ซม.)<br />

– ปรับปรุงลักษณะของห้องส้วม (ข้อ 21) ความสูงของ<br />

โถส้วมชนิดนั่งราบ สูงจากพื ้ น 40-45 ซม. (เดิม 45-50 ซม.)<br />

– ที่ถ่ายปัสสาวะสำหรับผู้ชายในห้องส้วมที่มิใช่ห้อง<br />

ส้วมสำหรับผู้พิการฯ (ข้อ 23) ให้มีระดับสูงจากพื ้ นไม่เกิน 40<br />

ซม. อย่างน้อย 1 ที่ และมีราวจับ (เดิมให้มีระดับเสมอพื ้ น และ<br />

กำหนดรายละเอียดของราวจับ)<br />

– ปรับปรุงเรื่องพื ้ นผิวต่างสัมผัส (ข้อ 25) โดยแบ่ง<br />

เป็น พื ้ นผิวต่างสัมผัสชนิดเตือนที่พื ้ น และ พ้นผิวต่างสัมผัสชนิด<br />

นำทาง<br />

– หมวด 9 ซึ่งเดิมเป็นข้อกำหนดสำหรับ โรงมหรสพ หอ<br />

ประชุม และโรงแรม เปลี่ยนชื่อหมวดเพื่อให้ครอบคลุมถึง ศาสน<br />

สถานหรือฌาปนสถาน และอาคารประเภทและลักษณะอื่น<br />

– ปรับปรุงอัตราส่วนพื ้ นที่สำหรับเก้าอี ้ ล้อต่อจำนวนที่<br />

นั่งในโรงมหรสพหรือหอประชุม (ข้อ 26)<br />

– ปรับปรุงอัตราส่วนจำนวนห้องพักที่มีสิ่งอำนวยความ<br />

สะดวกสำหรับผู้พิการฯต่อจำนวนห้องพักทั้งหมด ในโรงแรม (ข้อ<br />

27) และเพิ่มข้อ 27/1 กำหนดส่วนประกอบและลักษณะของ<br />

ห้องพักที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการฯ<br />

– เพิ่มเติมในหมวด 9 เป็นข้อ 28/1 ข้อ 28/2 และข้อ<br />

28/3 เพื่อเป็นข้อกำหนดสำหรับอาคารตามข้อ 3 ที่เป็น ศาสน<br />

สถานหรือฌาปนสถาน, อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด หรือ<br />

หอพัก, อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ตามลำดับ<br />

ดาวน์โหลด : www.asa.or.th/laws/news2<strong>02</strong>10305-2/


กฎกระทรวงกำหนดเรื ่องการต้านทานแรงสั่น<br />

สะเทือนของแผ่นดินไหวฉบับใหม่<br />

4 มี.ค. 25<strong>64</strong><br />

กระทรวงมหาดไทยออก “กฎกระทรวงกำหนดการรับน ้ำหนัก<br />

ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื ้ นดินที่รองรับ<br />

อาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.<br />

25<strong>64</strong>” ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 25<strong>64</strong><br />

เพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวงกำหนดการรับน ้ำหนักฯ ฉบับเดิม<br />

พ.ศ. 2550 โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วัน<br />

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป<br />

กฎกระทรวงฉบับใหม่นี ้ ได้ปรับปรุงบริเวณที่อาจได้รับ<br />

ผลกระทบจากแผ่นดินไหวให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน<br />

ที่พบว่ามีพื ้ นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศมากขึ ้ น จากเดิมมี<br />

บริเวณเฝ้าระวัง บริเวณที่ 1 และบริเวณที่ 2 โดยแบ่งใหม่เป็น 3<br />

บริเวณ ได้แก่<br />

– บริเวณที่ 1 (เดิมคือ บริเวณเฝ้าระวัง) มี 14 จังหวัด<br />

ได้แก่ กระบี่ ชุมพร สงขลา สุราษฎร์ธานี โดยมีหลายจังหวัดที่<br />

เพิ่มเติมขึ ้ นมา ได้แก่ ตรัง นครพนม นครศรีธรรมราช บึงกาฬ<br />

ประจวบคีรีขันธ์ พิษณุโลก เพชรบุรี เลย สตูล และหนองคาย และ<br />

มีบางจังหวัดที่ปรับย้ายไปเป็นบริเวณที่ 2 (พังงา ภูเก็ต ระนอง)<br />

– บริเวณที่ 2 (เทียบได้กับ บริเวณที่ 1 เดิม) เป็น<br />

บริเวณที่อาจได้รับผลกระทบในระดับปานกลาง มี 17 จังหวัด<br />

ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ<br />

สมุทรสาคร โดยมีจังหวัดที่ปรับย้ายมาจากบริเวณเฝ้าระวังเดิม<br />

คือ พังงา ภูเก็ต ระนอง และมีจังหวัดที่เพิ่มเติมขึ ้ นมา ได้แก่<br />

กำแพงเพชร ชัยนาท นครปฐม นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา<br />

ราชบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี และอุทัยธานี<br />

– บริเวณที่ 3 (เทียบได้กับ บริเวณที่ 2 เดิม) เป็นบริเวณ<br />

ที่อาจได้รับผลกระทบในระดับสูง มี 12 จังหวัด ได้แก่จังหวัดเดิม<br />

10 จังหวัด คือ กาญจนบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา<br />

แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน และเพิ่มขึ ้ น 2 จังหวัด คือ<br />

สุโขทัย และอุตรดิตถ์<br />

สำหรับประเภทอาคารที่ให้ใช้บังคับตามกฎกระทรวงฉบับนี ้ ได้<br />

ปรับปรุงและเพิ่มเติมมากขึ ้ นในทั ้งสามบริเวณ (ดูรายละเอียดใน<br />

ข้อ 4 ของกฎกระทรวง) ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับการออกแบบ<br />

และคำนวณโครงสร้างอาคารเพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนของ<br />

แผ่นดินไหว ไม่ได้บรรจุไว้ในกฎกระทรวงฉบับนี ้ แต่จะเป็นไป<br />

ตามที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคาร<br />

ประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา หรือหลักเกณฑ์บางสวน<br />

อาจเป็นไปตามที่มีการจัดทำขึ ้ นโดยส่วนราชการที่มีหน้าที่และ<br />

อำนาจในเรื่องนั ้น ซึ่งจะทำให้การปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆให้มี<br />

ความทันสมัยเป็นไปได้ง่ายขึ ้ น โดยคาดว่าจะมีการออกประกาศ<br />

กำหนดรายละเอียดเพื่อใช้ในการออกแบบและคำนวณภายใน<br />

ระยะเวลาก่อนการใช้บังคับกฎกระทรวงฉบับนี ้<br />

ดาวน์โหลด : www.asa.or.th/laws/news2<strong>02</strong>10305/<br />

ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส ำหรับปี ภาษี 25<strong>64</strong><br />

31 ม.ค. 25<strong>64</strong><br />

รัฐบาลรับสนองพระบรมราชโองการ ออก “พระราชกฤษฎีกา<br />

ลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 2)<br />

พ.ศ. 25<strong>64</strong>” ประกาศเมื่อวันที่ 31 มกราคม 25<strong>64</strong> และให้ใช้<br />

บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป<br />

พระราชกฤษฎีกาฉบับนี ้ ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน<br />

มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.<br />

2562 โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเกิดขึ ้ น<br />

ในปี พ.ศ. 2563 ยังคงส่งผลกระทบต่อรายได้และคุณภาพชีวิต<br />

ของประชาชนรวมทั ้งภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างต่อ<br />

เนื่อง สมควรลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะจัดเก็บ<br />

ในปีภาษี พ.ศ. 25<strong>64</strong> เพื่อเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระ<br />

ทบต่อประชาชนโดยรวมและเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความ<br />

จำเป็นทางเศรษฐกิจ จึงให้ลดจำนวนภาษีในอัตราร้อยละ 90<br />

ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ตามมาตรา 42 หรือมาตรา 95 แล้ว<br />

แต่กรณี สำหรับการจัดเก็บภาษีของปีภาษี พ.ศ. 25<strong>64</strong> สำหรับ<br />

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 4 ประเภท ได้แก่ (1) ที่ดินหรือสิ่งปลูก<br />

สร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม; (2) ที่ดินหรือ<br />

สิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย; (3) ที่ดินหรือสิ่งปลูก<br />

สร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากตาม (1) และ (2); (4) ที่ดิน<br />

หรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ ้ งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตาม<br />

ควรแก่สภาพ ทำให้ในกรณีที่ไม่ได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีจะ<br />

ต้องจ่ายภาษีเหลือเพียง 1 ใน 10 ของภาษีที่ต้องจ่ายเดิมเท่านั ้น


นิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติ เวนิสเบียนนาเล่ ครั ้งที่ 17<br />

เดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี ้ ประเทศไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติ เวนิสเบียนนาเล่ ครั ้งที่ 17 และ<br />

ร่วมตอบคำถามว่า “เราจะอยู่ร่วมกันในอนาคตอย่างไร” กับอีก 60 ประเทศทั่วโลก<br />

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม และสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญทุก<br />

ท่านติดตามชมส่วนหนึ่งของนิทรรศการ ที่เราจะนำไปจัดแสดงในไทยพาวิลเลียน ตั ้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์นี ้ ผ่าน https://www.<br />

labiennale.org/.../national-participations-0<br />

This coming May, Thailand will be among the 61 countries participating in the 17. Biennale Architettura, and joining in<br />

the discussion ‘How will we live together?’<br />

Office of Contemporary Art and Culture, Thailand’s Ministry of Culture and the Association of Siamese Architects<br />

under Royal Patronage invite you to check out a Sneak Peek of what we will be bringing to Venice from 8 February on<br />

https://www.labiennale.org/.../national-participations-0


การจัดนิทรรศการเวนิสเบียนนาเล่ ครั ้งที่ 17<br />

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 25<strong>64</strong> สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยนายกสมาคมฯ นายชนะ สัมพลัง ได้เข้าพบ<br />

ดร.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อสวัสดีปีใหม่ พร้อมเข้าร่วมประชุมคณะ<br />

กรรมการอำนวยการโครงการนิทรรศการสถาปัตยกรรมนานาชาติ เวนิสเบียนนาเล่ ครั ้งที่ 17 (The 17 International Architecture<br />

Exhibition, La Biennale di Venezia) เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินโครงการฯ ซึ่งงานนิทรรศการดังกล่าว จะจัดขึ ้ นระหว่าง<br />

วันที่ 22 พฤษภาคม - 21 พฤศจิกายน 25<strong>64</strong> ณ เมืองเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี โดยทางสมาคมฯ และ สศร. จะจัดงานแถลงข่าว<br />

นิทรรศการดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ 25<strong>64</strong>


สมาคมฯขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการฯ<br />

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 25<strong>64</strong> สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม<br />

ราชูปถัมภ์ นำโดย คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ ม.ล.วรุตม์<br />

วรวรรณ อุปนายก และ คุณจีรเวช หงสกุล อุปนายก ร่วมประชุม<br />

ปรึกษาหารือแนวทางความร่วมมือและการสนับสนุนโครงการฯ<br />

ร่วมกับ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG นำ<br />

โดย คุณกฤษณ์ ไทรงาม Client service designers - Manager<br />

คุณชยากรณ์ รัตนกุล CCS Manager คุณปืน นัยวิทิต Client<br />

servicesDesigner 1 - Manager และ คุณสุริยา เผือกเกษม<br />

Manager ทั ้งนี ้ บริษัทฯ ได้มอบของที่ระลึกเนื่องในโอกาสสวัสดี<br />

ปีใหม่ 25<strong>64</strong><br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอ<br />

ขอบพระคุณ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ที่ให้การ<br />

สนับสนุนสมาคมฯ ด้วยดีมาโดยตลอด<br />

สมาคมสถาปนิกสยามฯ ลงนามถวายพระพร ‘กรม<br />

สมเด็จพระเทพฯ’ ให้หายจากพระอาการประชวร<br />

วันที่ 15 มกราคม 25<strong>64</strong> สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม<br />

ราชูปถัมภ์ นำแจกันดอกไม้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายที่หน้า<br />

พระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ<br />

พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมลงนาม<br />

ถวายพระพร ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวรและมีพระ<br />

พลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรม<br />

มหาราชวัง<br />

จากที่สำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์เรื่องสมเด็จพระ<br />

กนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม<br />

ราชกุมารี ทรงพระประชวร เนื่องจากทรงประสบอุบัติเหตุ ทรง<br />

ล้มระหว่างทรงพระดำเนินออกกำลังพระวรกายตามปกติในเวลา<br />

เช้าเมื่อวันจันทร์ที่ 11 มกราคม 25<strong>64</strong> ทรงได้รับบาดเจ็บที่ข้อ<br />

พระบาททั ้งข้างซ้ายและข้างขวา เป็นเหตุให้ทรงพระดำเนินไม่<br />

สะดวก คณะแพทย์โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าได้ถวายการรักษา<br />

และถวายความเห็นว่า ควรจะทรงงดพระราชกรณียกิจต่างๆ เป็น<br />

เวลาประมาณ 2 เดือน<br />

สมาคมฯ แสดงความศิลปิ นแห่งชาติปี 2563<br />

วันที ่ 2 มีนาคม 25<strong>64</strong> สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม<br />

ราชูปถัมภ์ นำโดยคุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ พร้อมด้วย<br />

เจ้าหน้าที่ฯ เข้าพบ คุณประภากร วทานยกุล อดีตนายกสมาคม<br />

สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี 2545-2547<br />

และ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด เพื่อแสดง<br />

ความยินดี เนื่องในโอกาสที่ท่านได้รับคัดเลือกให้เป็นศิลปิน<br />

แห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) ประจำปี<br />

พุทธศักราช 2563 ณ บริษัท สถาปนิก 49 จำกัด


กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน<br />

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 25<strong>64</strong> กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน<br />

จัดกิจกรรม <strong>ASA</strong> ESAN FIELD TRIP ภายในกิจกรรมได้รับการ<br />

อนุเคราะห์จาก บจก. เจ ดับบลิว เอส คอนสตรัคชั่น หน่วยงาน<br />

J-157 พลัสคอนโด โคราช ให้เข้าชมภายในอาคาร<br />

ประชุมปรึกษาหารือโครงการ <strong>ASA</strong> CITY<br />

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 25<strong>64</strong> สมาคมสถาปนิกสยาม ใน<br />

พระบรมราชูปถัมภ์ นำโดย คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ<br />

และ คุณไพทยา บัญชากิติคุณ ประธานโครงการจัดกิจกรรม<br />

พิเศษ <strong>ASA</strong> CITY ร่วมประชุมปรึกษาหารือแนวทางความร่วมมือ<br />

และการสนับสนุนโครงการฯ ร่วมกับ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน<br />

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) นำโดย รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์<br />

สมพล รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและนวัตกรรม<br />

กำกับดูแล สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ และ รศ.ดร.จิตติ<br />

ศักดิ ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านการจัดการ<br />

ทรัพย์สินและกายภาพ สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอ<br />

ขอบพระคุณ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<br />

(PMCU) ที่จะให้ความร่วมมือและการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ<br />

ของสมาคมฯ ในวาระต่างๆต่อไป


MEMBER CORNER<br />

สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมกรรมการบริหาร<br />

ประจาเดือนมกราคม 25<strong>64</strong><br />

สมาชิกประเภท สามัญ ราย 5 ปี<br />

สมาชิกประเภท ภาคี รายปี<br />

สมาชิกประเภท สมทบ รายปี<br />

• บุคคลทั่วไป<br />

• นักศึกษา<br />

จำนวน 15 คน<br />

จำนวน 1 คน<br />

จำนวน 9 คน<br />

จำนวน 1 คน<br />

ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 25<strong>64</strong><br />

สมาชิกประเภท สามัญ ราย 5 ปี<br />

สมาชิกประเภท ภาคี รายปี<br />

สมาชิกประเภท สมทบ รายปี<br />

• บุคคลทั่วไป<br />

• นักศึกษา<br />

จำนวน 13 คน<br />

จำนวน 7 คน<br />

จำนวน 13 คน<br />

จำนวน 2 คน<br />

สมาชิกประเภท นิติบุคคล<br />

• ต่ออายุสมาชิก<br />

• ขึ ้ นทะเบียนใหม่<br />

จำนวน 1 บริษัท<br />

จำนวน - บริษัท<br />

สมาชิกประเภท นิติบุคคล<br />

• ต่ออายุสมาชิก<br />

• ขึ ้ นทะเบียนใหม่<br />

จำนวน 3 บริษัท<br />

จำนวน - บริษัท

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!