10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

รายงานวิชาการมาตรฐานลำดับชั้นหิน ฉบับที่ 1/2553ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Groupโดย พล เชาว์ดำรงค์กรมทรัพยากรธรณี 2553กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


รายงานวิชาการมาตรฐานลำดับชั้นหิน ฉบับที่ 1/2553ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Groupอธิบดีกรมทรัพยากรธรณีนางพรทิพย์ ปั่นเจริญผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยานายทศพร นุชอนงค์ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานธรณีวิทยานายพล เชาว์ดำรงค์พิมพ์ครั้งที่ 1 พุทธศักราช 2553 จำนวน 200 เล่มจัดพิมพ์โดยสำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400โทรศัพท์ 0-2621-9661 โทรสาร 0-2621-9651http://www.dmr.go.thสงวนลิขสิทธิ์ 2553 โดย กรมทรัพยากรธรณีข้อมูลลงรายการบรรณานุกรมพล เชาว์ดำรงค์ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่/ โดยพล เชาว์ดำรงค์.- กรุงเทพ:สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี, 2553. 172 หน้า: 30 ซม.รายงานวิชาการ มาตรฐานลำดับชั้นหิน ฉบับที่ 1/2553.ISBN : 978-974-226-450-5


คำนำงานจำแนกลำดับชั้นหินเป็นงานสำคัญของทุกประเทศที่ต้องดำเนินงานเนื่องจากจะเป็นประโยชน์ต่อการแสวงหาทรัพยากรธรณี เพราะชั้นหินเป็นแหล่งสะสมตัวของทรัพยากรแร่ ปิโตรเลียม และน้ำบาดาล อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่องานขุดเจาะสำรวจทุกประเภทที่สืบค้นหาข้อมูลธรณีวิทยาใต้ดิน รวมทั้งการศึกษาธรณีประวัติความเป็นมาของโลกและของแผ่นดินไทย การจำแนกลำดับชั้นหินจะทำให้สามารถแยกแยะและติดตามชั้นหินเป้าหมายได้ง่ายขึ้น นำไปใช้ในการเทียบสัมพันธ์กับชั้นหินในบริเวณอื่นหรือกับชั้นหินที่อยู่ในต่างประเทศได้ การจำแนกลำดับชั้นหินตามหลักวิชาทางธรณีวิทยาสามารถทำได้หลายวิธี แต่ที่ใช้มากในงานธรณีวิทยาโดยเฉพาะกับการสำรวจจัดทำแผนที่ธรณีวิทยาจะใช้เกณฑ์ทางลักษณะของหินและความสัมพันธ์ของชั้นหินที่คล้ายกัน แบ่งชั้นหินออกเป็นกลุ่มหิน หมวดหิน และหมู่หินหนังสือฉบับนี้ ได้ปรับปรุงงานจำแนกลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน ให้มีข้อมูลตามเกณฑ์มาตรฐานสากล มีข้อมูลรายละเอียดของทั้ง 5 หมวดหิน ที่ประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มหินแก่งกระจาน แสดงลักษณะเด่นของแต่ละหมวดหิน รวมทั้งข้อมูลการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมการสะสมตัวว่าหินเหล่านี้เกิดได้อย่างไร มีข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นตัวกำหนดอายุของหิน และการแปลความหมายด้านธรณีเทคโทนิกที่เป็นต้นกำเนิดของแผ่นดินในประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี หวังว่าหนังสือฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักวิชาการ นิสิตนักศึกษา นักเรียนและประชาชนทั่วไป สามารถนำไปใช้ประโยชน์และต่อยอดในงานสำรวจ ค้นคว้า และวิจัยได้ (นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ)อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีกรกฎาคม 2553


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน:ปรับปรุงใหม่โดย พล เชาว์ดำรงค์สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีบทคัดย่อรายงานฉบับนี้ ได้ปรับปรุงการจัดลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานขึ้นใหม่ เนื่องจากเดิมยังมีความสับสนทั้งด้านการเรียกชื่อหมวดหิน ด้านอายุของหมวดหิน และสภาวะแวดล้อมของการสะสมตัวว่าเป็นอย่างไรการจัดลำดับชั้นหินในครั้งนี้มีข้อมูลและเนื้อหาสอดคล้องกับเกณฑ์ของคณะกรรมาธิการลำดับชั้นหินนานาชาติ (Internation<strong>al</strong> Commission on Stratigraphy) กลุ่มหินแก่งกระจานโผล่ให้เห็นได้ดีบริเวณด้านตะวันตกของไทยตั้งแต่พื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรีลงไปตลอดคาบสมุทรไทย ถึงจังหวัดภูเก็ต เกิดสะสมตัวบนแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทย (Shan-Thai terrane) ได้คัดเลือกพื้นที่ทำการศึกษาจำนวน 20 แหล่ง ในจำนวนนี้ 2 แหล่งเป็นการศึกษาลำดับชั้นหินที่รองรับอยู่ใต้ชั้นหินยุคเพอร์เมียน ผลจากการศึกษาด้านลำดับชั้นหิน ด้านบรรพชีวินและด้านตะกอนวิทยา สรุปได้ว่ากลุ่มหินแก่งกระจาน มีอายุในช่วง Asselian ถึง Kungurian (Early Permian) ประกอบด้วย 5 หมวดหิน เรียงลำดับจากล่างขึ้นบนคือ หมวดหินแหลมไม้ไผ่ เป็นหินทรายสลับกับหินโคลน แสดงแนวชั้นหินเด่นชัด มีร่องรอยซากดึกดำบรรพ์พวก Cruziana ichnofacies มาก และแสดงหลักฐานของ Dropstones ที่ชัดเจนหมวดหินสปิลเวย์ พบเป็นบางบริเวณโดยเฉพาะด้านอ่าวไทย เป็นหินทรายสลับหินโคลน เกิดในทะเลตื้นจากกระแสน้ำขุ่นข้น หมวดหินเกาะเฮ พบอย่างกว้างขวาง ประกอบด้วย Pebbly rocks จากกระบวนการ debrisflows หมวดหินเขาพระ พบอย่างกว้างขวาง เป็นหินโคลนสลับด้วยชั้นบางของหินทราย และมักพบชั้นของBryozoa, Crinoid และหมวดหินเขาเจ้า มีลักษณะเด่นเป็นหินทรายที่มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นแร่ควอตซ์ ในบริเวณที่ไม่มีการสะสมตัวของหมวดหินสปิลเวย์ ชั้นหินของหมวดหินแหลมไม้ไผ่จะปิดทับด้วยของหมวดหินเกาะเฮ กลุ่มหินแก่งกระจานประกอบด้วยชุดลักษณะ (Facies) 9 ชนิด บ่งว่าชั้นหินส่วนล่างสะสมตัวในสภาวะแวดล้อมแบบ Glaciomarine จากตะกอนขุ่นข้นของ Submarine fans ในทะเลค่อนข้างลึกบริเวณ outer shelf ถึง basin plain และในส่วนบนเปลี่ยนเป็นชั้นหินที่สะสมตัวในทะเลตื้น ที่มีลมพายุเป็นครั้งคราวกลุ่มหินแก่งกระจานจะถูกปิดทับอย่างต่อเนื่องด้วยหินปูนของกลุ่มหินราชบุรี ในปัจจุบันพบลำดับชั้นหินเช่นนี้กระจายตัวเป็นแนวยาวในแนวประมาณเหนือ-ใต้ จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านตะวันตกเฉียงใต้ลงมาประเทศเมียนมาร์ ไทย และมาเลเซีย รายงานฉบับนี้ได้เสนอเหตุการณ์ Late Carboniferous Hiatus ไว้ในลำดับชั้นหินของคาบสมุทรไทย แสดงว่าในช่วงเวลาดังกล่าวแผ่นเปลือกโลกนี้มีการยกตัวและเกิดการสึกกร่อนแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทยได้แยกตัวออกมาจาก Gondwana อย่างช้าในช่วง Early Permian มีลักษณะของแอ่งแยกตัว (Rifted basins) เป็นแบบ H<strong>al</strong>f graben โดยมีด้าน escarpment อยู่ทางด้าน Gondwana มีหลักฐานสนับสนุนการแปลความหมายคือทิศการไหลของกระแสน้ำโบราณ ลักษณะของ ตะกอนที่เกิดแบบ Gravity flowsและลักษณะของก้อนกรวด คำสำคัญ: กลุ่มหินแก่งกระจาน หมวดหินแหลมไม้ไผ่ หมวดหินสปิลเวย์ หมวดหินเกาะเฮ หมวดหินเขาพระ หมวดหินเขาเจ้า Late Carboniferous Hiatus, Shan-Thai terrane


RevisedLithostratigraphy of the Kaeng Krachan GroupBy Pol ChaodumrongBureau of Geologic<strong>al</strong> Survey, Department of Miner<strong>al</strong> ResourcesABSTRACTLithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group is revised here, due to controversi<strong>al</strong> ontheir unit names, ages and their deposition<strong>al</strong> environments, including to conform guideline of theInternation<strong>al</strong> Commission on Stratigraphy. As a result, 18 of the Kaeng Krachan sections and 2sections from the underlying strata, from Kanchanaburi southward through peninsular Thailand,have been investigated in d<strong>et</strong>ail for their lithostratigraphy, p<strong>al</strong>eontology and sedimentology.Reviews of <strong>al</strong>l previous work are included. The revised Kaeng Krachan Group ranging in agefrom Asselian to Kungurian and consists of 5 formations, which are in ascending order the LaemMai Phai, Spillway, Ko He, Khao Phra and Khao Chao Formations. However, the SpillwayFormation occurs loc<strong>al</strong>ly. Nine clastic lithofacies have been designated. The lower part of theAsselian to Kungurian Kaeng Krachan Group was deposited by gravity flow sediments, possiblyin submarine fan environment, in outer shelf and basin plain areas under glaciomarine conditionsas indicated by abundant Cruziana ichnofacies and rare dropstones. The upper part wassh<strong>al</strong>low marine with occasion<strong>al</strong> storm deposits.The Kaeng Krachan Group is overlain conformably by carbonate sequence of the RatburiGroup. These two distinctive megasequences crop out widely from M<strong>al</strong>aysia, through peninsularThailand, Myanmar, West Yunnan, to Lhasa. A Late Carboniferous hiatus is proposed for theShan-Thai terrane. Neither Late Carboniferous fossils nor the relationship of the Kaeng KrachanGroup with underlying strata have been observed which probably indicates a Late Carboniferouserosion<strong>al</strong> phase. The Shan-Thai terrane rifted from Gondwana not later than the Early Permian.Evidences from p<strong>al</strong>eocurrent directions, provenance of clasts, and grain size distribution, <strong>al</strong>lsuggest a roughly eastward (modern-day) p<strong>al</strong>eoflow direction. These <strong>al</strong>so imply that the riftedbasin was a h<strong>al</strong>f graben in which the escarpment on the Gondwana side. Keywords: Kaeng Krachan Group, Laem Mai Phai Formation, Spillway Formation, Ko He Formation, Khao Phra Formation, Khao Chao Formation, Late Carboniferous hiatus, Shan-Thai terrane


สารบัญเรื่องคำนำ ...............................................................................................................................................บทคัดย่อภาษาไทย ..........................................................................................................................บทคัดย่อภาษาอังกฤษ .....................................................................................................................หน้ากคงบทที่ 1 บทนำและข้อมูลทั่วไป 11.1 วัตถุประสงค์ ................................................................................................................. 21.2 วิธีศึกษา ....................................................................................................................... 21.3 พื้นที่ปฏิบัติงาน ............................................................................................................. 21.4 อนุโมทนาคุณ ............................................................................................................... 4บทที่ 2 การศึกษาข้อมูลและผลงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อน 52.1 ด้านการลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน .................................................................. 5- กลุ่มหินแก่งกระจานและหน่วยหินที่เกี่ยวข้อง ................................................................ 62.2 ด้านบรรพชีวินวิทยา ของกลุ่มหินแก่งกระจาน ................................................................. 14- ตารางเทียบเคียงซากดึกดำบรรพ์ที่มีการศึกษาวิจัยมาก่อน ............................................. 172.3 ด้านตะกอนวิทยาและสภาวะแวดล้อมการสะสมตัวของกลุ่มหินแก่งกระจาน ...................... 222.4 ข้อมูลเกี่ยวกับ Hummocky cross stratification ............................................................. 24บทที่ 3 ลำดับชั้นหินที่อยู่ใต้กลุ่มหินแก่งกระจาน 273.1 หน่วยหินที่อยู่ใต้กลุ่มหินแก่งกระจาน .............................................................................. 273.1.1 หมวดหินควนกลาง .............................................................................................. 273.1.2 หมวดหินขนอม .................................................................................................... 283.1.3 กลุ่มหินภูเก็ต ....................................................................................................... 283.2 การใช้ข้อมูลทางตะกอนวิทยาหาชั้นหินที่อยู่ใต้กลุ่มหินแก่งกระจาน .................................. 303.3 Late Carboniferous hiatus in Peninsular Thailand ...................................................... 31- ประเด็นอายุเริ่มต้นของกลุ่มหินแก่งกระจาน .................................................................. 32


ฉหน้าบทที่ 4 ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน 354.1 การแบ่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานที่ผ่านมา ..................................................... 354.2 ความสำคัญของหินทรายเนื้อควอตซ์ ในกลุ่มหินแก่งกระจาน ........................................... 364.3 ความสำคัญของ Thin bedded sandstone and mudstone และ laminated .................... 39mudstone ในกลุ่มหินแก่งกระจาน4.4 ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานและอายุ ................................................................. 424.5 หมวดหินแหลมไม้ไผ่ ..................................................................................................... 424.6 หมวดหินสปิลเวย์ .......................................................................................................... 474.7 หมวดหินเกาะเฮ ........................................................................................................... 494.8 หมวดหินเขาพระ .......................................................................................................... 514.9 หมวดหินเขาเจ้า ............................................................................................................ 534.10 ลำดับชั้นหินบริเวณที่น่าสนใจของกลุ่มหินแก่งกระจาน ................................................... 544.10.1 ลำดับชั้นหินที่เขาปากกว้าง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ................................. 544.10.2 ลำดับชั้นหินที่ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ................................. 574.10.3 ลำดับชั้นหินที่เขาพระ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี .......................................... 594.10.4 ลำดับชั้นหินที่บ่อลูกรัง กม 6.2 ทางหลวง 3349 เพชรเกษม – หนองหญ้าปล้อง ....... 59จังหวัดเพชรบุรี 4.10.5 ลำดับชั้นหินที่เขาถ่าน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร .................................................... 624.10.6 ลำดับชั้นหินที่แหลมทาบ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ............................ 634.10.7 ลำดับชั้นหินที่บ้านแหลมไม้ไผ่ถึงหาดปลื้มสุข เกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต .................. 654.10.8 ลำดับชั้นหินที่แหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต ............................................. 684.10.9 ลำดับชั้นหินที่อ่าวบ้านแหลมตุ๊กแก ด้านตะวันออก จังหวัดภูเก็ต .......................... 724.10.10 ลำดับชั้นหินบริเวณแหลมพับผ้า เกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต ..................................... 724.10.11 ลำดับชั้นหินบริเวณเกาะเฮ จังหวัดภูเก็ต ............................................................ 744.10.12 ลำดับชั้นหินบริเวณแหลมพันวา สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทางทะเล ............ 764.10.13 ลำดับชั้นหินบริเวณอ่าวพันวา กองเรือยุทธการ จังหวัดภูเก็ต ................................ 764.10.14 ลำดับชั้นหินบริเวณอ่าวมะขาม จังหวัดภูเก็ต ...................................................... 804.10.15 ลำดับชั้นหินที่เขาตาม่องล่าย ประจวบคีรีขันธ์ .................................................... 814.10.16 ลำดับชั้นหินของหมวดหินเกาะเฮ ที่อำเภอละอุ่น ................................................. 86


ชหน้าบทที่ 5 การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์ 875.1 การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาภาวะแวดล้อมการสะสมตัวของกลุ่มหินแก่งกระจาน ........... 875.1.1 Facies ของกลุ่มหินแก่งกระจาน ....................................................................... 871) Thin bedded sandstones and mudstones facies ...................................... 872) Laminated mudstones facies .................................................................... 883) Pebbly rocks facies ................................................................................... 894) Conglomerates facies ............................................................................... 905) Turbidite sandstones facies ...................................................................... 936) Massive mudstones facies ........................................................................ 937) Mudstones with lenticular bedding facies ................................................ 948) Disturbed strata facies .............................................................................. 949) Mature sandstones facies ......................................................................... 945.1.2 ลักษณะของก้อนกรวดใน Pebbly rocks ............................................................ 985.1.3 Dropstones และ Lonestones ของกลุ่มหินแก่งกระจาน .................................... 995.1.4 P<strong>al</strong>eoflow ของกลุ่มหินแก่งกระจาน .................................................................. 1025.1.5 Trace fossils ของกลุ่มหินแก่งกระจาน .............................................................. 1025.1.6 สภาวะแวดล้อมการสะสมตัวของกลุ่มหินแก่งกระจาน ......................................... 1035.2 ผลวิเคราะห์ด้านซากดึกดำบรรพ์ .................................................................................... 1085.2.1 ผลวิเคราะห์ Cor<strong>al</strong>s ......................................................................................... 1085.2.2 ผลวิเคราะห์ Brachiopods ............................................................................... 109บทที่ 6 วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน 1356.1 การเปรียบเทียบกลุ่มหินแก่งกระจานกับชั้นหินที่ยูนนาน ................................................... 1356.2 สภาพภูมิศาสตร์บรรพกาลและสภาวะแวดล้อมการสะสมตัว ............................................ 1526.3 สรุป Geotectonic evolution ของประเทศไทย ................................................................ 156บทที่ 7 สรุปและข้อเสนอแนะ 161เอกสารอ้างอิง163


ซสารบัญรูป (List of Figures)รูปที่ หน้ารูปที่ 1.1 รูปแสดงตำแหน่งของพื้นที่ที่คัดเลือกเพื่อศึกษาวิจัยลำดับชั้นหิน ....................................... 3รูปที่ 2.1 แสดงการแบ่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานบริเวณภาคตะวันตกตอนล่าง ............... 10และภาคใต้ของไทยรูปที่ 2.2 แสดงการแบ่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินภูเก็ต บริเวณภูเก็ต-พังงา ....................................... 11รูปที่ 2.3 แสดงการแบ่งลำดับชั้นหินบริเวณเกาะยาวน้อย ............................................................... 12รูปที่ 2.4 แสดงการแบ่งลำดับชั้นหินของหมวดหินแหลมทาบ บริเวณแหลมทาบและเขาสีอิน ............ 13รูปที่ 2.5 แสดงชั้นหินของกลุ่มหินภูเก็ต ที่เกาะมุกและเกาะพีพี ....................................................... 16รูปที่ 2.6 ภาพจำลองแสดงโครงสร้างของ Hummocky cross-stratification .................................... 25รูปที่ 3.1 ซากดึกดำบรรพ์พวก Tentaculite sp. ในส่วนล่างของลำดับชั้นหินที่ควนกลาง ................... 29รูปที่ 3.2 หินดินดาน ของหมวดหินควนกลาง สีเดิมคือสีเทา สีของหินเปลี่ยนเป็นสีแดง ..................... 29รูปที่ 3.3 หินดินดาน (เทาดำ) สลับกับหินทราย เนื้อละเอียด (เทาขาว) ชั้นหินส่วนบน ......................... 29ของหมวดหินควนกลาง ที่ควนกลาง จังหวัดสตูลรูปที่ 3.4 หินดินดาน สีแดง มีซากดึกดำบรรพ์ Posidonomya sp. หมวดหินขนอม ที่เขาสีอิน ............ 29รูปที่ 4.1 ภาพถ่ายบริเวณพื้นที่แบบฉบับของหมวดหินวังกระดาด ................................................... 40รูปที่ 4.2 สัญญาลักษณ์ที่ใช้อธิบายความหมายของแท่งลำดับชั้นหิน .............................................. 41รูปที่ 4.3 แผนที่แสดงตำแหน่งของจุดสำรวจบริเวณจังหวัดภูเก็ต .................................................... 43รูปที่ 4.4 ภาพแสดง Trace fossil ในหินทรายของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมไม้ไผ่ ....................... 44รูปที่ 4.5 ภาพแสดงหินโคลนเป็นชั้นดีส่วนบนของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมไม้ไผ่ ....................... 44รูปที่ 4.6 ภาพแสดง Slumped bed ในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมตุ๊กแก จังหวัดภูเก็ต .................. 44รูปที่ 4.7 แท่งลำดับชั้นหินของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ จากชายหาดบ้านแหลมไม่ไผ่ไปอ่าวปลื้มสุข ......... 46จังหวัดภูเก็ตรูปที่ 4.8 ภาพแสดงพื้นที่บริเวณฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจาน ......................................................... 44รูปที่ 4.9 ภาพแสดงหินทรายสลับหินโคลนของหมวดหินสปิลเวย์ ที่ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจาน ....... 44รูปที่ 4.10 ภาพแสดง load cast บริเวณฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจาน ............................................... 44รูปที่ 4.11 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจาน ................................ 48รูปที่ 4.12 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่เกาะเฮ จังหวัดภูเก็ต ............................................. 49รูปที่ 4.13 ภาพแสดงหินกรวดมนขนาดใหญ่ในหินโคลนปนกรวดที่เกาะเฮ จังหวัดภูเก็ต ..................... 50รูปที่ 4.14 Pebbly sandstone หมวดหินเกาะเฮ ที่เกาะเฮ ................................................................ 50


ฌรูปที่ หน้ารูปที่ 4.15 ภาพหินทรายเนื้อปนกรวดของหมวดหินเกาะเฮ ที่ฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจาน ................... 50รูปที่ 4.16 ภาพหินทรายเนื้อปนกรวดของหมวดหินเกาะเฮ ที่ริมหาดบ้านแหลมไม้ไผ่ จังหวัดภูเก็ต ....... 50รูปที่ 4.17 แท่งลำดับชั้นหินของหมวดหินเขาพระ และกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่เขาพระ ......................... 51รูปที่ 4.18 ภาพแสดง Laminated mudstone หมวดหินเขาพระ ที่เขาพระ จังหวัดเพชรบุรี .................. 52รูปที่ 4.19 ภาพแสดงชั้นหินโคลนสลับหินทรายแป้งที่เขาพระ ของหมวดหินเขาพระ ........................... 52รูปที่ 4.20 ลำดับชั้นหินของหมวดหินเขาพระ ที่เขาตาม่องล่าย ประจวบคีรีขันธ์ ................................. 52รูปที่ 4.21 Bryozoa และ Crinoid จุดเดียวกับรูปที่ 4.14 ................................................................. 52รูปที่ 4.22 ภาพหินทรายเนื้อควอตซ์ถ่ายจากกล้องจุลทัศน์ มีการคัดขนาดดี เม็ดทรายขนาด ................ 53200-300 ไมครอน หมวดหินเขาเจ้า ที่เขาปากกว้างรูปที่ 4.23 Thinly shell beds ในหินทราย ส่วนบนของหมวดหินเขาเจ้า ที่เขาตาม่องล่าย ................... 53รูปที่ 4.24 ภาพหินดินดานสลับชั้นบางของหินทรายและหินปูน ตอนบนของหมวดหินเขาเจ้า .............. 53ที่เขาปากกว้าง จังหวัดราชบุรีรูปที่ 4.25 แผนที่ธรณีวิทยาของเขาปากกว้าง จังหวัดราชบุรี ............................................................. 55รูปที่ 4.26 ภาพเขาปากกว้าง จังหวัดราชบุรี มองเห็นถ้ำ ................................................................... 56รูปที่ 4.27 แท่งลำดับชั้นหิน ที่เขาปากกว้าง จังหวัดราชบุรี ............................................................... 56รูปที่ 4.28 Overturned structure แสดงโดยแนว cleavage ตัดกับ bedding plane .......................... 58รูปที่ 4.29 ภาพแสดงก้อนกรวดโดโลไมต์ Dropstone ในหมวดหินเกาะเฮ ที่เขื่อนแก่งกระจาน ............ 58รูปที่ 4.30 ภาพแสดงชั้นหินทรายของหมวดหินเขาเจ้า ที่ฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจาน ชั้นหินโค้งงอ ....... 58แบบ recumbent foldรูปที่ 4.31 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่บ่อลูกรัง กม. 6.2 ทางหลวงหมายเลข 3349 ........... 60รูปที่ 4.32 ภาพหินทรายเป็นชั้นบาง ของหมวดหินสปิลเวย์ ที่บ่อลูกรัง กม. 6.2 ................................... 61ทางหลวง หมายเลข 3349 รูปที่ 4.33 Burrows ในหมวดหินสปิลเวย์ ที่บ่อลูกรัง กม. 6.2 ........................................................... 61รูปที่ 4.34 ภาพแสดง Fining upward sequence จากหินกรวดมนขึ้นไปเป็นหินโคลน ....................... 61รูปที่ 4.35 ภาพหินโคลนปนกรวดที่บ่อลูกรัง กม. 6.2 ทางหลวงหมายเลข 3349 ................................. 61รูปที่ 4.36 ภูมิประเทศของชั้นหินที่ชายหาดเขาถ่าน จังหวัดชุมพร ..................................................... 61รูปที่ 4.37 ภาพแสดงซากดึกดำบรรพ์ที่ชายหาดเขาถ่าน จังหวัดชุมพร .............................................. 61รูปที่ 4.38 แท่งแสดงลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานที่แหลมทาบ จังหวัดนครศรีธรรมราช ........ 64รูปที่ 4.39 ภาพแสดงก้อนกรวดในหมวดหิน สปิลเวย์ ที่แหลมทาบ .................................................... 66รูปที่ 4.40 Laminated sandstone แทรกสลับกับหินดินดาน ที่แหลมทาบ ......................................... 66รูปที่ 4.41 ภาพแสดงหินโคลนแทรกสลับกับหินทรายชั้นบางของหมวดหินเขาพระ ที่แหลมทาบ .......... 66


ญรูปที่ หน้ารูปที่ 4.42 ภาพแสดงการแทรกสลับของหินทรายกับหินโคลนของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ....................... 66รูปที่ 4.43 Burrows (ลูกศร) ในหินโคลนแทรกสลับกับหินทรายของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ .................... 66รูปที่ 4.44 โครงสร้าง vafour structure ในหินโคลน ชั้นบางๆ ที่ชายหาดบ้านแหลมไม้ไผ่ .................... 66รูปที่ 4.45 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่แหลมตุ๊กแก จ. ภูเก็ต ........................................... 69รูปที่ 4.46 ภาพโครงสร้าง mullion structure หมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมตุ๊กแก จ. ภูเก็ต ................. 70รูปที่ 4.47 Laminated mudstone หมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมตุ๊กแก ............................................. 70รูปที่ 4.48 ภาพ slumped structure หมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมตุ๊กแก .......................................... 70รูปที่ 4.49 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่อ่าวบ้านแหลมตุ๊กแกด้านตะวันออก จ. ภูเก็ต ........ 70รูปที่ 4.50 ภาพ Laminated mudstone ที่อ่าวบ้านแหลมตุ๊กแกด้านตะวันออก จ. ภูเก็ต ..................... 70รูปที่ 4.51 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่แหลมพับผ้า จ. ภูเก็ต ........................................... 73รูปที่ 4.52 ภูมิประเทศของพื้นที่สำรวจบนเกาะเฮ ด้านตะวันตก ........................................................ 75รูปที่ 4.53 ในหิน Pebbly sandstone บางช่วงมี clasts มาก หมวดหินเกาะเฮ ที่เกาะเฮ ..................... 75รูปที่ 4.54 แสดง Channel structure (บนหัวฆ้อน) ในหมวดหินเกาะเฮ ............................................. 75รูปที่ 4.55 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่แหลมพันวา จ. ภูเก็ต ........................................... 77รูปที่ 4.56 ชั้นหินโคลนปนกรวด ของหมวดหินเกาะเฮ (ด้านหน้า) ที่หาดแหลมพันวา .......................... 78รูปที่ 4.57 แนวชั้นหิน (แนวด้ามฆ้อน) และแนว Cleavage ที่ปลายแหลมพันวา ................................. 78รูปที่ 4.58 โครงสร้าง Mullion ที่แหลมพันวา ................................................................................... 78รูปที่ 4.59 แท่งลำดับชั้นหินหมวดหินแหลมไม้ไผ่ บริเวณอ่าวพันวา กองเรือยุทธการ จังหวัดภูเก็ต ........ 79รูปที่ 4.60 แท่งลำดับชั้นหิน หมวดหินแหลมไม้ไผ่ บริเวณอ่าวมะขาม จังหวัดภูเก็ต ............................. 80รูปที่ 4.61 เขาตาม่องล่าย ช่วงน้ำทะเลลง ....................................................................................... 82รูปที่ 4.62 ชั้นบางๆ ของ crinoids ในหินทรายของหมวดหินเขาเจ้า ที่เขาตาม่องล่าย ......................... 83รูปที่ 4.63 Thinly shell beds ในส่วนบนของหมวดหินเขาเจ้า ที่เขาตาม่องล่าย ................................. 83รูปที่ 4.64 แท่งลำดับชั้นหินบริเวณเขาตาม่องล่าย ........................................................................... 84รูปที่ 4.65 แท่งลำดับชั้นหินของหมวดหินเกาะเฮ ที่อำเภอละอุ่น ....................................................... 85รูปที่ 5.1 ลักษณะของ Pebbly rocks ของหมวดหินเกาะเฮ ที่พบในบริเวณต่างๆ ............................. 92รูปที่ 5.2 Conglomerates facies วางตัวแบบ channel structure (ลูกศร) บนหินทราย ................... 95หมวดหินสปิลเวย์ ที่แหลมทาบ นครศรีธรรมราชรูปที่ 5.3 Turbidite sandstones ที่แหลมทาบ Laminated sandstone เปลี่ยนขึ้นไปเป็น mudstone 95รูปที่ 5.4 Ripple mark (ลูกศร) ส่วนบนของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมทาบ ................................. 95


ฎรูปที่ หน้ารูปที่ 5.5 ลักษณะของ Slumped structure ที่พบในบริเวณต่างๆ บนเกาะภูเก็ต ............................... 96ของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ รูปที่ 5.6 ภาพหินแผ่นบาง(Thin section) จากกล้องจุลทัศน์ของหินทรายหมวดหินสปิลเวย์ .............. 97และหมวดหินเขาเจ้า รูปที่ 5.7 ลักษณะของ Dropstone ที่อ่าวพันวา ด้านกองทัพเรือ ของกลุ่มหินแก่งกระจาน ................. 100รูปที่ 5.8 ลักษณะของ Lonestone ที่พบในบริเวณต่างๆ ของกลุ่มหินแก่งกระจาน ........................... 101รูปที่ 5.9 ลักษณะของ Cruziana ichnofacies ของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ กลุ่มหินแก่งกระจาน ........... 104ที่เกาะภูเก็ต รูปที่ 5.10 ลักษณะของ Burrows ของกลุ่มหินแก่งกระจาน .............................................................. 105รูปที่ 6.1 แผนที่แสดงตำแหน่งจุดสำรวจที่ยูนนาน .......................................................................... 137รูปที่ 6.2 ภาพลำดับชั้นหิน Dingjiazhai Formation ที่ Dongshanpo section อยู่ด้านใต้ของ ........... 138Baoshan รูปที่ 6.3 ภาพลำดับชั้นหินของ Yongde Formation และ Shazipo Formation ................................ 139ที่หมู่บ้าน aoxinzhai, Gengma Countyรูปที่ 6.4 ภาพลำดับชั้นหินของ Dadongchang และ Kongshuhe Formations, ที่ Tengchong block 141รูปที่ 6.5 ภาพจำลองรูปแบบ Multi-submarine fans แสดงการสะสมตัวของ Pebbly rocks ............. 154ของกลุ่มหินแก่งกระจาน รูปที่ 6.6 ภาพจำลองแสดงขั้นตอนการเกิดแอ่งสะสมตัวในยุคเพอร์เมียนของ ................................... 155Shan-Thai terrane, Baoshan block และ Tengchong block รูปที่ 6.7 แผนที่แสดงการกระจายตัวของแผ่นเปลือกโลกของประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง ............. 156รูปที่ 6.8 แสดงการเทียบเคียงลำดับชั้นหินของแผ่นเปลือกโลกในประเทศไทย .................................. 159


ฏสารบัญตาราง (List of Tables)ตารางที่ หน้าตารางที่ 2.1 แสดงการเปรียบเทียบลำดับชั้นหินของหมวดหินมหายุคพาลีโอโซอิก ตอนบนของ ............ 6ประเทศไทย ตารางที่ 2.2 เปรียบเทียบ Brachiopods ที่พบในพื้นที่ต่างๆ ของคาบสมุทรไทย .................................. 18ของกลุ่มหินแก่งกระจานตารางที่ 2.3 แสดงชื่อของซากดึกดำบรรพ์ของยุคเพอร์เมียนที่พบในประเทศไทย ................................. 19ตารางที่ 4.1 การแบ่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานของการวิจัยครั้งนี้ เทียบกับการศึกษา ......... 37ที่มีมาก่อนตารางที่ 5.1 แสดงเปรียบเทียบการแบ่ง Facies ของกลุ่มหินแก่งกระจาน และกลุ่มหินราชบุรี ............. 91ตารางที่ 5.2 แสดงผลการตรวจซากดึกดำบรรพ์ cor<strong>al</strong> จากกลุ่มหินแก่งกระจานและกลุ่มหินราชบุรี ...... 108ตารางที่ 5.3 ชนิดและปริมาณของ Brachiopods ที่พบจากการวิจัยครั้งนี้ .......................................... 110ตารางที่ 5.4 รายละเอียดผลตรวจซากดึกดำบรรพ์ของ Brachiopods ................................................ 112ตารางที่ 6.1 เปรียบเทียบการจำแนกลำดับชั้นหินเพอร์เมียนของคาบสมุทรไทย กับ Baoshan ............ 137block ด้านตะวันตกของยูนนานตารางที่ 6.2 แสดงการเทียบเคียง Permian Cor<strong>al</strong>s ระหว่างพื้นที่ภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้ ....... 145ของไทยกับของ Baoshan และ Tengchong blocks ตารางที่ 6.3 แสดงการเทียบเคียง Permian Brachiopods ระหว่างพื้นที่ภาคตะวันตกตอนล่าง ............ 147และ ภาคใต้ของไทยกับของ Baoshan block และ Tengchong block ตารางที่ 6.4 แสดงการเทียบเคียง Permian fusulinids ระหว่างพื้นที่ภาคตะวันตกตอนล่าง ................. 150และภาคใต้ของไทยกับของ Baoshan block และ Tengchong blockตารางที่ 6.5 แสดงการเทียบเคียง Permian foraminifers ระหว่างพื้นที่ภาคตะวันตกตอนล่าง .............และภาคใต้ของไทยกับของ Baoshan block และ Tengchong block 151


ฐสารบัญแผ่นภาพ (List of Plates)แผ่นภาพที่ หน้าแผ่นภาพที่ 1 ................................................................................................................................... 115แผ่นภาพที่ 2 ................................................................................................................................... 117แผ่นภาพที่ 3 ................................................................................................................................... 119แผ่นภาพที่ 4 ................................................................................................................................... 121แผ่นภาพที่ 5 ................................................................................................................................... 123แผ่นภาพที่ 6 ................................................................................................................................... 125แผ่นภาพที่ 7 ................................................................................................................................... 127แผ่นภาพที่ 8 ................................................................................................................................... 129แผ่นภาพที่ 9 ................................................................................................................................... 131แผ่นภาพที่ 10 .................................................................................................................................. 133


บทที่1บทนำ และข้อมูลทั่วไป (Introduction and Gener<strong>al</strong> Information)ลำดับชั้นหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบนของพื้นที่ภาคใต้ เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว เพราะมีลักษณะเด่นประกอบด้วย หินดินดานเนื้อปนกรวด (pebblyrocks) หินดินดาน หินทรายเนื้อควอตซ์ และในหลายพื้นที่มีซากดึกดำบรรพ์ bryozoan และ brachiopod มากซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญในการอ้างเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันพบลำดับชั้นหินนี้แผ่กระจายเป็นแนวยาวมากกว่า1,000 กิโลเมตร จากมาเลเซีย ผ่านภาคใต้และด้านตะวันตกของไทย เข้าไปในด้านตะวันออกของเมียนมาร์ด้านตะวันตกของยูนนานและทิเบต แต่ลำดับชั้นหินดังกล่าวนี้ก็ยังมีความสับสนด้านการแบ่งลำดับชั้นหิน รวมทั้งด้านอายุและสภาวะแวดล้อมของการสะสมตัวของหน่วยหิน สำหรับประเทศไทยมีชื่อเรียกลำดับชั้นหินดังกล่าวนี้รวมอยู่ในหลายชื่อ แตกต่างกันไปตาม สถานที่และตามคณะผู้ศึกษาวิจัย เช่น กลุ่มหินแก่งกระจาน (Piyasin, 1975b) กลุ่มหินภูเก็ต (Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1970) กลุ่มหินอันดามัน กลุ่มหินตะนาวศรี เป็นต้นกลุ่มหินเหล่านี้ยังแบ่งย่อยออกเป็นอีกหลายหมวดหินซึ่งทำให้เกิดความสับสนทางวิชาการและยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลของการตั้งชื่อลำดับชั้นหินที่แนะนำไว้ในรายงาน “Internation<strong>al</strong> Stratigraphic Guide” จัดทำโดย Internation<strong>al</strong> Commission on Stratigraphy (ICS) รวมทั้งในแผนที่ธรณีวิทยามาตรส่วน 1:50,000และ 1:250,000 ของกรมทรัพยา กรธรณีก่อนปี 2547 ก็ไม่ได้แบ่งย่อยลำดับชั้นหินดังกล่าวให้อยู่ในระดับหมวดหิน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากข้อมูลการแบ่งลำดับชั้นหินยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน จึงไม่สนับสนุนให้มีการนำไปใช้ในภาคปฏิบัติ อีกทั้งขาดการรวบรวมและประมวลข้อมูลเข้าด้วยกัน ทำให้การเทียบเคียงเพื่อหาความสัมพันธ์กับพื้นที่อื่นอันเป็นหัวใจสำคัญของการแปลความหมายมีความไม่แน่นอน ในหนังสือธรณีวิทยาประเทศไทย (กรมทรัพยากรธรณี, 2544) ให้ชื่อกลุ่มหินแก่งกระจาน (Kaeng KrachanGroup) เป็นชื่อแบบทางการ (Form<strong>al</strong> name) ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน ถูกนำไปเป็นหลักฐานที่สำคัญ ต่อการแปลความหมายทางธรณีเทคโทนิกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (มาเลเชีย ไทย เมียนมาร์ และจีน) และที่สำคัญต่อประวัติความเป็นมาของแผ่นเปลือกโลกของไทย ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และรวมตัวเป็นประเทศไทยได้อย่างไร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการรวบรวมและจัดลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานขึ้นมาใหม่ ให้มีรายละเอียดและเป็นไปตามข้อแนะนำตามมาตรฐานสากล รวมทั้งประเด็นเรื่องอายุว่ากลุ่มหินแก่งกระจานควรมีอายุในช่วงใด เกิดสะสมตัวในสภาพแวดล้อมแบบไหน มีสภาพทางธรณีเทคโทนิกเป็นแบบใด ทั้งนี้เพื่อให้การนำไปใช้มีความถูกต้องทางวิชาการมากยิ่งขึ้น ในรายงานฉบับนี้ เป็นการขยายผลงานของ พล เชาว์ดำรงค์ และคณะ (2547) ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น รวมทั้งนำข้อมูลที่ได้


2บทที่ 1จากการสำรวจใหม่มาบูรณาการเพิ่มขึ้น ปัจจุบันการสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยารายละเอียดมาตราส่วน 1:50,000 ของกรมทรัพยากรธรณี ก็ได้นำการจำแนกลำดับชั้นหินจากผลงานข้างต้น ไปใช้ทำให้แผนที่ธรณีวิทยามีข้อมูลที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น 1.1 วัตถุประสงค์1) เพื่อจัดแบ่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน ตามมาตรฐานสากล2) เพื่อศึกษาสภาวะแวดล้อมการสะสมตัว (deposition<strong>al</strong> environments) ของกลุ่มหินแก่งกระจาน3) เพื่ออธิบายวิวัฒนาการทางธรณีวิทยาในยุคเพอร์เมียนของแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทย1.2 วิธีศึกษา1.2.1 ขั้นตอนเตรียมข้อมูลก่อนออกสำรวจ 1) รวบรวมข้อมูลลำดับชั้นหินและผลวิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์ของกลุ่มหินแก่งกระจานและที่เกี่ยวข้องที่มีผู้ทำการสำรวจศึกษามาแล้วทั้งหมด2) ทำการประมวลข้อมูล สรุปองค์ความรู้ที่มีอยู่ โดยแยกเป็นด้านลำดับชั้นหิน ด้านบรรพชีวินวิทยา ด้านตะกอนวิทยาและสภาพแวดล้อมการสะสมตัว เพื่อดูว่ามีการศึกษาข้อมูลอะไรแล้วบ้าง ยังขาดข้อมูลอะไรบ้าง และข้อขัดแย้งทางวิชาการของหัวข้อที่ศึกษามีอะไรบ้าง3) คัดเลือกพื้นที่เพื่อศึกษาลำดับชั้นหินในรายละเอียด จากพื้นที่ด้านตะวันตกของประเทศบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียง1.2.2 ขั้นตอนสำรวจวิจัยในภาคสนาม1) ทำการศึกษารายละเอียดของลำดับชั้นหินในพื้นที่ที่กำหนด พร้อมวัดความหนาของชั้นหินและเก็บตัวอย่างหินและซากดึกดำบรรพ์ จำแนกลำดับชั้นหินโดยใช้ลักษณะของหินและความสัมพันธ์ของลำดับชั้นหินเป็นหลัก (lithostratigraphic classification)รวมทั้งการจำแนกด้าน lithofacies1.2.3 การศึกษาวิจัยในห้องปฏิบัติการ1) ศึกษาทางศิลาวรรณนา (p<strong>et</strong>ro-graphy)และวิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์2) แปลสภาวะแวดล้อมการสะสมตัวของชั้นหินในพื้นที่ศึกษา 1.3 พื้นที่ปฏิบัติงานพื้นที่ศึกษาวิจัยเน้นให้ครอบคลุมพื้นที่ของกลุ่มหินแก่งกระจาน ตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีลงไปตลอดคาบสมุทรไทยจนถึงจังหวัดภูเก็ต (รูปที่ 1.1) หรือที่เป็นส่วนหนึ่งของ Shan-Thai Terrane ได้คัดเลือกพื้นที่สำหรับการศึกษาลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานจำนวน 20 พื้นที่ ในจำนวนนี้มีหลายพื้นที่ที่ได้วัดลำดับชั้นหินของกลุ่มหินราชบุรีที่วางตัวต่อเนื่องขึ้นไปด้วยและสำหรับพื้นที่หมายเลข 19-20 เป็นพื้นที่สำรวจเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานกับหมวดหินที่รองรับอยู่ข้างใต้ มีรายละเอียด ดังนี้1) เขาแก้วน้อย อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี (KCG & RBG)2) เขาพระ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี (KCG)3) เขาปากกว้าง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (KCG & RBG)4) กม 6.2 ทางหลวง 3349 เพชรเกษม –หนองหญ้าปล้อง (KCG)5) เขื่อนแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจานจังหวัดเพชรบุรี (KCG)6) เขาตาม่องล่าย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (KCG & RBG)7) เขาถ่าน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร (KCG) 8) แหลมทาบ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช (KCG)9) อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง (KCG)Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


บทนำ และข้อมูลทั่วไป (Introduction and Gener<strong>al</strong> Information)3รูปที่ 1.1 รูปแสดงตำแหน่งของพื้นที่ที่คัดเลือกเพื่อศึกษาวิจัยลำดับชั้นหิน10) แหลมไม้ไผ่ถึงหาดปลื้มสุข เกาะสิเหร่อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (KCG)11) เกาะเฮ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (KCG)12) เกาะโหลน อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (KCG)13) แหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต (KCG)14) อ่าวบ้านแหลมตุ๊กแก ด้านตะวันออกเกาะสิเหร่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (KCG)15) แหลมพับผ้า หรือแหลมศิลาพันธ์ เกาะสิเหร่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (KCG)16) อ่าวมะขาม อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (KCG)17) แหลมพันวา สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมง ทางทะเล จังหวัดภูเก็ต (KCG)18) อ่าวพันวา กองเรือยุทธการ จังหวัดภูเก็ต (KCG)19) เขาสีอิน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช20) ควนกลาง อำเภอเมือง จังหวัดสตูลหมายเหตุ KCG = กลุ่มหินแก่งกระจาน RBG = กลุ่มหินราชบุรีลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


4บทที่ 11.4 อนุโมทนาคุณ(Acknowledgement)รายงานฉบับนี้ นำข้อมูลส่วนใหญ่มาจาก พลเชาว์ดำรงค์ และคณะ (2547) รวมกับการสำรวจเพิ่มเติมในภายหลัง มาจัดทำให้มีการเผยแพร่อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ผลงานดังกล่าวได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ตามโครงการ ความร่วมมือกับต่างประเทศ (ไทย-จีน) และกรมทรัพยากรธรณีให้การสนับสนุนด้านบุคลากร สถานที่วิจัย ตลอดจนอุปกรณ์การสำรวจและศึกษาวิจัย ซึ่งในครั้งนั้นได้รับการสนับสนุนจากบุคคลหลายท่าน จึงขอขอบคุณ นายสมศักดิ์ โพธิสัตย์ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ดร. ธนิศร์ วงศ์วานิช และนางเบ็ญจา เสกธีระ อดีตผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยา และที่สำคัญขอขอบคุณ คุณชูศรี กี่ดำรงกูล คุณชลธิดา พลัญชัย และคุณทิวา เงาวิจิตร เจ้าหน้าที่ กองแปลและวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ที่เอื้อเฟื้อมีน้ำใจอำนวยความสะดวกในงานธุรการ ขอขอบคุณคณะผู้ร่วมงานวิจัย Prof. Dr. Wang Xiangdong และ Prof. Dr. Shen Shuzhong แห่ง Nanjing Institute of Geologyand P<strong>al</strong>aeontology ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนคุณสันต์ อัศวพัชระ และคุณสุธี จงอัจฉริยกุล จากกรมทรัพยากรธรณี ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้งานวิจัยในครั้งนั้นประสบผลสำเร็จ และสุดท้ายขอขอบคุณ ดร.ทศพรนุชอนงค์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยา ที่สนับสนุนให้มีการเผยแพร่รายงานฉบับนี้ คณะกรรมการพิจารณารายงานวิชาการและแผนที่ธรณีวิทยาของสำนักธรณีวิทยาและคณะกรรมการประเมินรายงานประกอบด้วยนายวีระพงษ์ ตันสุวรรณ นายมานพ รักษาสกุลวงศ์ และนายสันติ ลีวงศ์เจริญ ที่ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่ทำให้รายงานฉบับนี้มีข้อผิดพลาดน้อยลงRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


บทที่ 2การศึกษาข้อมูลและผลงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อนในบทนี้เป็นการรวบรวมผลงานที่เคยมีผู้ทำการสำรวจ ศึกษาและวิจัยมาก่อนแล้วของกลุ่มหินแก่งกระจาน โดยแยกออกเป็นทางด้านการลำดับชั้นหินตามลักษณะหิน (Litho-stratigraphy) ด้านบรรพชีวินวิทยา (p<strong>al</strong>eontology) และด้านตะกอนวิทยา (sedimentology) รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลทางธรณีเทคโทนิก2.1ด้านลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานข้อมูลลำดับชั้นหิน เป็นงานรากฐานที่จำเป็นต้องมีก่อน เพื่อใช้เทียบเคียงและหาความสัมพันธ์ของชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ที่อยู่ต่างพื้นที่กัน ดังนั้นจึงเป็นงานที่ต้องทำก่อนงานใด เพื่องานวิจัยด้านอื่นๆ ที่ทำหรือวิจัยต่อมาจะได้นำไปต่อยอด ลำดับชั้นหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบนบริเวณด้านตะวันตกและภาคใต้ของไทย คือตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีลงไปตลอดภาคใต้แยกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนล่างเป็นหินทรายหินดินดาน หินดินดานเนื้อปนกรวด ในหลายพื้นที่พบซากดึกดำบรรพ์มาก ชั้นหินเหล่านี้ได้รับการอ้างถึงว่าสะสมตัวต่อเนื่องขึ้นมาจากชั้นหินของยุคคาร์บอนิเฟอรัสและมีอายุตั้งแต่ช่วง Upper Carboniferous จนถึงLower Permian (Lumjuan, 1993; กรมทรัพยากรธรณี,2544) แต่อย่างไรก็ดีข้อสรุปในประเด็นนี้ยังขาดหลักฐานมาสนับสนุน ส่วนลำดับชั้นหินก็มีการจัดให้อยู่ในหลายกลุ่มหิน เช่น กลุ่มหินแก่งกระจาน กลุ่มหินภูเก็ต กลุ่มหินอันดามัน กลุ่มหินตะนาวศรี เป็นต้น กลุ่มหินเหล่านี้ยังแบ่งย่อยเป็นอีกหลายหมวดหิน ทำให้เกิดความสับสนในการสื่อความหมาย อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณียอมรับให้ใช้ชื่อกลุ่มหินแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Group) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการ สำหรับ ลำดับชั้นหินส่วนบนจัดให้อยู่ในกลุ่มหินราชบุรี (Ratburi Group) ส่วนใหญ่เป็นหินปูน บางส่วนแทรกด้วยหินทราย หินทรายแป้ง หินดินดานหินโดโลไมต์ แม้ว่าลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานจะมีคณะสำรวจหลายคณะทำการศึกษา แต่ผลงานส่วนใหญ่ยังเป็นเฉพาะแหล่ง ลำดับชั้นหินในระดับหมวดหินที่มีอยู่ยังไม่ได้รับการยอมรับ ดังเห็นได้จากมีชื่อลำดับชั้นหินหลายแบบตั้งโดยผู้สำรวจแต่ละคณะทั้งนี้อาจเนื่องจากชื่อลำดับชั้นหินที่มีอยู่ยังไม่ได้มาตรฐานของการตั้งชื่อ หรืออาจเนื่องมาจากไม่ค่อยมีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน ดังนั้นจึงยังไม่มีการนำข้อมูลไปเทียบสัมพันธ์หรือบูรณาการใช้ในการทำแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:50,000 หรือมาตราส่วน 1:250,000 ในตารางที่ 2.1 แสดงการเปรียบเทียบลำดับชั้นหินของหมวดหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบนของประเทศไทย ซึ่งนำการแบ่งลำดับชั้นหินของ พล เชาว์ดำรงค์ และคณะ (2547) มาใช้ด้วย


6บทที่ 2 ตารางที่ 5.12.1 แสดงการเปรียบเทียบลำดับชั้นหินของหมวดหินมหายุคพาลีโอโซอิก ()251299359416 - ( , ) ()(,),() ()() ()()()() ()()()C3C2C1() / กลุ่มหินแก่งกระจานและหน่วยหินที่เกี่ยวข้องการเทียบเคียงการแบ่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานของคณะสำรวจต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยฉบับนี้ได้แสดงไว้ในตารางที่ 2.4 และ 4.1กลุ่มหินแก่งกระจาน (Kaeng KrachanGroup) ตั้งโดย Piyasin (1975b) โดยยกฐานะขึ้นมาจากหมวดหินแก่งกระจานซึ่งเคยเป็นส่วนบนของกลุ่มหินตะนาวศรี (ปัจจุบันยกเลิกใช้ชื่อกลุ่มหินตะนาวศรี) มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่เขื่อนแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และแบ่งกลุ่มหินนี้ออกเป็น 3หมวดหินจากล่างไปบน (ตารางที่ 4.1) คือ1) หมวดหินห้วยพุน้อย (Huai Phu NoiFormation) ตั้งชื่อจากชื่อของห้วยพุน้อย อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี มีความหนาประมาณ 205-480 เมตร ส่วนล่างสุดมีแนวสัมผัสแบบรอยเลื่อนกับหินควอร์ตไซต์ของกลุ่มหินกาญจนบุรี (Kanchanaburi Group) ชั้นหินส่วนล่างหนา 160 เมตร ประกอบด้วยหินดินดาน สีเทาถึง สีดำเป็นชั้นบาง และพบซากดึกดำบรรพ์แบรคิโอพอดChon<strong>et</strong>es sp., ส่วนบนหนา 320 เมตร ประกอบด้วยRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การศึกษาข้อมูลและผลงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อน 7หินดินดาน สีเทา เป็นชั้นหนา มีกรวดของหินแกรนิตและหินควอร์ตไซต์ปนอยู่ในเนื้อหินดินดานบ้างเล็กน้อยและพบซากดึกดำบรรพ์แบรคิโอพอดพวก Spirifer sp.Piyasin (1975b) กำหนดให้หมวดหินห้วยพุน้อยมีอายุอยู่ในช่วงยุคดีโวเนียนตอนบน แต่จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่าซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวน่าจะมีอายุเพอร์เมียน2) หมวดหินเขาพระ (Khao PhraFormation) ตั้งชื่อจากชื่อของเขาพระ ที่อยู่ห่างจากบ้านดอนทราย ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 5กิโลเมตร มีความหนาประมาณ 344-520 เมตรประกอบด้วยหินดินดาน สีเทาดำ หินทรายสีดำ เนื้อละเอียดถึงหยาบ การคัดขนาดไม่ดี เม็ดทรายมีลักษณะเม็ดเหลี่ยม ถึงเม็ดเหลี่ยมปานกลาง และหินดินดานเนื้อปนกรวด สีเทาดำ เม็ดกรวดมีลักษณะกลม เป็นพวกหินแกรนิต หินควอร์ตไซต์ หินทราย หินดินดาน และหินปูนในบริเวณส่วนล่างพบ Posidonomya sp. และส่วนบนของหมวดหินพบซากดึกดำบรรพ์แบรคิโอพอด Spirifer sp. และ bryozoa ซึ่งมีทั้ง Fenestella sp. และ Polyporasp. ให้อายุ Upper Carboniferous (Piyasin, 1975b) การสำรวจของรายงานฉบับนี้ไม่พบPosidonomya sp. ในพื้นที่เขาพระ ซึ่งซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวพบมากในภาคใต้และมีอายุ Early Carboniferousสำหรับ Spirifer sp. และ bryozoa นั้นอายุควรเป็น Early Permian ดังนั้นอายุของหมวดหินเขาพระจึงควรเปลี่ยนเป็น Early Permian ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Sawata <strong>et</strong>. <strong>al</strong>. (1975) ที่ได้ทำการศึกษารายละเอียดของชั้นหินบริเวณเขาพระ และสรุปว่าชั้นหินบริเวณนี้จาก Brachiopod และ bryozoa ให้มีอายุEarly Permian มีความหนาประมาณ 100 เมตร มีลักษณะปรากฏ (Facies) เหมือนกับส่วนบนของ “Upper formation” ของกลุ่มหินภูเก็ต (Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,1970) ที่เกิดจาก การตกตะกอนภายใต้อิทธิพลของกระแสน้ำขุ่นข้น (turbidity current) 3) หมวดหินเขาเจ้า (Khao ChaoFormation) ตั้งชื่อจากชื่อเขาเจ้า ที่อยู่ทางทิศเหนือของเขื่อนแก่งกระจาน ความหนาของหมวดหินนี้ประมาณ270-760 เมตร ในส่วนล่างประกอบด้วยหินทรายเนื้อควอตซ์ (orthoquartzite) สีเทา ถึงเทาอ่อน เป็นชั้นหนาเนื้อละเอียดถึงปานกลาง มีการคัดขนาดดี เม็ดทรายมีลักษณะเม็ดเหลี่ยมปานกลาง ถึงเม็ดกลมปานกลาง ในส่วนกลางเนื้อหินมีขนาดละเอียดขึ้น ประกอบด้วยหินดินดาน หินทรายแป้ง และหินโคลน สีเทาอ่อน ถึงเทาเข้ม เกิดเป็นชั้นบาง ในส่วนบนเป็นหินทรายสีขาวถึงน้ำตาลแดง เนื้อละเอียด ถึงปานกลาง มีการคัดขนาดดี เม็ดทรายมีลักษณะเม็ดกลมปานกลาง พิสิทธิ์ ธีรดิลก และคณะ (2528ก) ได้ให้กลุ่มหินแก่งกระจานของแผนที่ธรณีวิทยาระวางจังหวัดนครปฐม ประกอบขึ้นด้วย 3 หมวดหิน (ตารางที่ 4.1)เรียงจากอายุมากไปหาน้อยคือ หมวดหินห้วยพุร้อนประกอบด้วยหินควอร์ตไซต์ เนื้อแน่น เม็ดละเอียดหินดินดาน สีเทาดำ และหินแปรพวก หินชิสต์ หินฮอร์นเฟลส์ หินชนวน หมวดหินเขาพระ ประกอบด้วยหินโคลนและหินทรายเนื้อปนกรวด สลับด้วยชั้นของหินโคลนและหินทราย บนสุดเป็นหมวดหินเขาวังสะดึงประกอบด้วยหินทรายและหิน orthoquartzite สีขาวเทาขาว เนื้อแน่น เป็นชั้น และหินดินดานต่อมา พิสิทธิ์ ธีรดิลก และคณะ (2528ข) ได้ให้กลุ่มหินแก่งกระจานจากการทำแผนที่ธรณีวิทยาระวางอำเภอหัวหิน ประกอบด้วย 2 หมวดหินเรียงจากอายุมากไปหาน้อยคือ หมวดหินเขาพระ ประกอบด้วยpebbly rocks สลับด้วยหินดินดานและหินทราย มีซากดึกดำบรรพ์พวก Brachiopods, Bryozoan,Cor<strong>al</strong>s หมวดหินเขาเจ้า ประกอบด้วย orthoquartzite สีขาว และหินดินดานเนื้อปนแร่เฟลด์สปาร์และเนื้อปนปูนจำรัส มหาวัจน์ และคณะ (2528) ได้จัดให้หินยุคคาร์บอนิเฟอรัสของแผนที่ระวางจังหวัดชุมพรอำเภอกระบุรีอยู่ในหมวดหินมัทรี ประกอบด้วย orthoquartziteหินทรายแป้งและหินดินดาน ส่วนหินเนื้อปนกรวดทั้งหลายจัดให้อยู่ในหมวดหินกระบุรีและให้มีอายุSilurian-Devonianชัยยันต์ หินทอง และคณะ (2528) จัดให้หินเนื้อปนกรวด หินทราย หินทรายแป้งและ orthoquartziteของแผนที่ระวางจังหวัดภูเก็ตอยู่ในชุด CP ยุค Permian-Carboniferousลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


8บทที่ 2นภดล มัณฑะจิตรและคณะ (2528) จัดให้หินเนื้อปนกรวด หินทรายแป้งสลับหินโคลน หินโคลนและหินดินดานของแผนที่ระวางจังหวัดภูเก็ตอยู่ในชุด CPยุค Permian-Carboniferousวีรศักดิ์ นคินทร์บดีและคณะ (2528) จัดให้หินเนื้อปนกรวด หินทราย หินดินดาน และหินปูน มีซากดึกดำบรรพ์พวก Brachiopods, Cor<strong>al</strong>s, bryozoan,pelecypods และ crinoids อยู่ในหมวดหินแหลมทาบกลุ่มหินตะนาวศรี อายุ Carboniferous-Silurianเสถียร สนั่นเสียงและคณะ (2528) จัดให้หินเนื้อปนกรวด หินทราย หินดินดาน อยู่ในกลุ่มหินราชบุรีอายุ Permian-Carboniferousมนตรี ศิลปาลิตและคณะ (2528) จัดให้หินเนื้อปนกรวด หินทราย หินดินดาน อยู่ในหมวดหินแก่งกระจาน กลุ่มหินตะนาวศรี อายุ Carboniferousเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) ได้ศึกษาลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานในหลายบริเวณตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีลงไปภาคใต้ (รูปที่ 2.1) โดยใช้ลักษณะของเนื้อหิน โครงสร้างภายในของชั้นหินและการกำเนิด ผลการศึกษาพบว่าการแผ่กระจายของกลุ่มหินทางด้านเหนือถูกกั้นโดยรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ส่วนทางด้านใต้พบแผ่กระจายลงไปจนสิ้นคาบสมุทรไทยและเลยต่อเข้าไปในประเทศมาเลเซียและได้แบ่งกลุ่มหินแก่งกระจานออกเป็น 4 หมวดหิน (โดยมีการจัดเรียงลำดับใหม่ และยกเลิกชื่อหมวดหินห้วยพุน้อย หมวดหินเขาพระและหมวดหินเขาเจ้า) เรียงลำดับจากล่างขึ้นบนดังนี้ 1) หมวดหินเขาวังกระดาด (Khao WangKadat Formation) ตั้งจากชื่อเขาวังกระดาด อยู่ที่หลักกม. ที่ 4 ทางหลวงหมายเลข 3459 ถนนเพชรเกษม-บ้านราชกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีความหนาประมาณ 104 เมตร ในส่วนล่างเป็นหินทรายเกรย์แวค สีเทาเขียว ชั้นหนาปานกลาง โดยส่วนล่างนี้มีหินทรายอาร์โคสและหินทรายควอตซิติกแทรกสลับ ส่วนบนปริมาณหินโคลนจะเพิ่มมากขึ้นและเป็นหินโคลนชั้นหนา (massive mudstone) มีโครงสร้างชั้นหินแบบ Bouma sequence ที่พบมี graded bed,plane par<strong>al</strong>lel laminae เปลี่ยนขึ้นไปเป็น ripplelamination และ par<strong>al</strong>lel lamination ที่เกิดภายใต้อิทธิพลของกระแสน้ำขุ่นข้น (turbidity current) เป็นหลัก โดยพบลักษณะเช่นนี้เกิดซ้ำหลายครั้ง หมวดหินเขาวังกระดาด พบโผล่ดีอีกหลายบริเวณ เช่น ที่ฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจาน ที่บ้านห้วยผึ้งอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี และที่ระหว่าง กม. 4-10ตามถนนเพชรเกษม-หนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี2) หมวดหินสปิลเวย์ (Spillway Formation)มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่ฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจานมีความหนาประมาณ 120 เมตร ประกอบไปด้วย หินโคลนและหินทรายแป้งเป็นชั้นดี โดยมีหินทรายเกรย์แวคเนื้อละเอียดแทรกสลับและปริมาณการแทรกสลับจะเพิ่มมากขึ้นในส่วนบน พบโครงสร้างแบบ wormburrow และ bioturbation มากมาย พบ lone-stoneหรือ dropstone-like structure เป็นหินพวก ควอร์ตไซต์ควอตซ์ หินปูน หินแกรนิต หินไนส์ หินไมก้าชีสต์ โดยทั่วไปมักมีชั้นหินทรายควอร์ต ซิติก ขนาดเม็ดปานกลางถึงหยาบ ชั้นหนาประมาณ 10-70 เซนติเมตร แทรกสลับเป็นช่วงๆ ซึ่งแสดงโครงสร้างของชั้นเฉียงระดับแบบ hummocky cross bedding ด้วย ซึ่งแสดงถึงการสะสมตัวภายใต้อิทธิพลของลมพายุ หมวดหินสปิลเวย์ พบโผล่ดีอีกหลายบริเวณเช่น ที่แหลมไม่ไผ่ จังหวัดภูเก็ต 3) หมวดหินเกาะเฮ (Ko He Formation) มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่เกาะเฮ จังหวัดภูเก็ต มีความหนาไม่น้อยกว่า 120 เมตร ประกอบไปด้วยหินโคลนปนกรวด (pebbly rock) หรือ diamictite มี matrix เป็น silty mudมี clasts ประมาณ 5-10% ประกอบด้วย ควอร์ตไซต์ควอตซ์ หินทราย หินปูน หินแกรนิต หินไนส์ บางช่วงแทรกสลับด้วยหินทรายชั้นหนาประมาณ 30 เซนติเมตรโดยหินทรายแสดงโครงสร้าง hummocky crossbedding ด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง pebbly rocksและหินทรายสลับหินโคลนเป็นแบบ sharp contact (Mantajit, 1978; Pitakpaivan and Mantajit 1981;Bunopas, 1981; Tantiwanit <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1983) สามารถพบลักษณะของ channel-filled structure ได้ หมวดหินเกาะเฮ พบโผล่ดีอีกที่ บริเวณฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจาน บริเวณเกาะพยาม จังหวัดระนอง บริเวณคลองกะแม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพรRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การศึกษาข้อมูลและผลงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อน 94) หมวดหินเขาพระ (Khao PhraFormation) มีชั้นหินแบบฉบับที่เขาพระ อำเภอเขาย้อยจังหวัดเพชรบุรี เป็นชั้นหินที่วางตัวอยู่ใต้หินปูนของกลุ่มหินราชบุรี มีความหนาประมาณ 120 เมตร ส่วนล่างประกอบไปด้วยหินโคลน สีเทาเป็นชั้นหนา ถัดขึ้นไปเป็นหินโคลนสลับหินทราย มี cross bedding บนขึ้นไปเป็นหินโคลนเนื้อปูน มีซาก ดึกดำบรรพ์เป็นจำนวนมากซึ่งประกอบไปด้วย bryozoa เป็นหลัก จนอาจเรียกได้ว่าเป็น ชั้น bryozoan beds ถัดขึ้นไปเป็นหินทรายอาร์โคส สีน้ำตาลแดง ขนาดเม็ดปานกลาง เปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินกรวดมนขนาดเล็ก และบนสุดเป็นหินทราย สีขาว ขนาดเม็ดปานกลางถึงหยาบ ส่วนบนนี้อาจพบซากดึกดำบรรพ์พวก brachiopod, bryozoa, fusulinidหมวดหินเขาพระ ยังพบอีกที่ ตามเส้นทาง ร.พ.ช. บ้านธรรมรัตน์ อำเภอบางสะพาน (พิกัด 454303)ที่ กม. 109-116 ทางหลวงหมายเลข 401 พูนหิน-ตะกั่วป่าบริเวณเขาสก จังหวัดสุราษฏร์ธานี และที่บริเวณเขานางหงส์ กม. 180-187 ถนนเพชรเกษม อำเภอเมืองจังหวัดพังงาอย่างไรก็ดี ในแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:1,000,000 ฉบับล่าสุด (2542) ได้แบ่งกลุ่มหินแก่งกระจานออกเป็นเพียง 2 หมวดหินคือ หมวดหิน เขาพระ (Khao Phra Formation) ซึ่งอยู่ในตอนล่างประกอบด้วย หินดินดาน หินทราย และหินโคลนปนกรวดสีเทาเข้ม และหมวดหินเขาเจ้า (Khao ChaoFormation) ซึ่งอยู่ในช่วงบนประกอบด้วยหินโคลน หินทรายเนื้อทัฟฟ์ และหินทรายเนื้อโปรโตควอร์ตไซต์ (ตารางที่ 4.1)กลุ่มหินภูเก็ต เป็นอีกชื่อที่ได้รับการอ้างอิงมาก โดย Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) และ Altermann (1987) แบ่งให้ประกอบด้วย 2 หมวดหินมีชื่อแบบไม่ทางการคือ Lower Formation และ Upper Formationแต่ชื่อกลุ่มหินภูเก็ตของ Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) ได้รวมหินทรายของกลุ่มหินตะรุเตา และหินปูนของกลุ่มหินทุ่งสงเข้าไปด้วย ในขณะที่ Hills (1989) ให้กลุ่มหินภูเก็ตประกอบด้วย 3 หมวดหิน จากแก่ไปอ่อนคือ Laem Mai Phai Formation, Ko Lon Formation และ Ao Lohd<strong>al</strong>um Formationหมวดหินเกาะยาวน้อย (Ko Yao NoiFormation) ตั้งโดย Pitakpaivan and Mantajit (1981)เพื่อใช้เรียกลำดับชั้นหินที่พบที่เกาะยาวน้อย เกาะพีพีเกาะมุก โดยวางอยู่บนหินโคลนเนื้อปนกรวดและอยู่ใต้หินปูนของกลุ่มหินราชบุรี มีชั้นหินแบบฉบับที่บริเวณเกาะยาวน้อยมีความหนาประมาณ 400 เมตร (รูปที่2.2 และ 2.3ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


10บทที่ 2รูปที่ 2.1 แสดงการแบ่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานบริเวณภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้ของไทย (กรมทรัพยากรธรณี, 2544)Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การศึกษาข้อมูลและผลงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อน 11ในส่วนล่างของหมวดหินซึ่งพบบริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะยาวน้อย ประกอบด้วยหินโคลน เกิดเป็นชั้นบางๆ สีเทาเข้ม สลับกับหินทรายเนื้อขนาดปานกลาง ไม่พบซากดึกดำบรรพ์ พบลักษณะ load castsและ flute casts ลักษณะเด่นของหินหน่วยนี้คือ พบหินปูนเนื้อดินเป็นกระเปาะและไม่มีหินโคลนเนื้อปนกรวด สำหรับส่วนบนเป็นหินทรายสลับกับหินโคลนเกิดเป็นชั้นบาง บริเวณแหลมไทรใต้สุดของเกาะยาวน้อย หินที่อยู่บนสุดของหมวดหิน เป็นหินทรายเนื้อทัฟฟ์สลับกับหินทัฟฟ์ ซึ่งเปลี่ยนเป็นหินเชิร์ตในตอนบน หินทรายเนื้อทัฟฟ์ประกอบด้วย เม็ดทรายขนาดเม็ดละเอียดถึงปานกลาง และมีแร่เฟลด์สปาร์ เป็นส่วนประกอบร้อยละ50 ในชั้นหินทรายเนื้อทัฟฟ์นี้พบซากดึกดำบรรพ์brachiopod มากมาย เป็นพวก Spinomartiniaprolifica ซาก ดึกดำบรรพ์พวกนี้จะพบน้อยลงในช่วงล่างของหมวดหิน ความหนาของหินทรายเนื้อทัฟฟ์หนาประมาณ 80-100 เมตร ชั้นหินพวกนี้เทียบเคียงได้ กับที่อ่าวนาง เขาพนมเบญจา จังหวัดกระบี่ เขาถ่าน อำเภอสวี จังหวัดชุมพรรูปที่ 2.2 แสดงการแบ่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินภูเก็ต บริเวณภูเก็ต-พังงา (Pitakpaivan and Mantajit, 1981)ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


12บทที่ 2รูปที่ 2.3 แสดงการแบ่งลำดับชั้นหินบริเวณเกาะยาวน้อย (Pitakpaivan and Mantajit, 1981)อายุของหมวดหินเกาะยาวน้อย จากการศึกษารายละเอียดของซากดึกดำบรรพ์ brachiopod ที่พบบริเวณเกาะยาวน้อย และบริเวณอ่าวนาง จังหวัดกระบี่จะอยู่ในช่วงสมัย Sakmarian หรือเพอร์เมียน ตอนล่าง (Waterhouse, 1981)Hills (1989) ได้ศึกษาชั้นหินบริเวณเกาะภูเก็ตเพื่อหาสภาวะแวดล้อมสะสมตัวและได้แบ่ง กลุ่มหินภูเก็ตออกเป็น 3 หมวดหิน (ตารางที่ 4.1) เรียงจากล่างขึ้นบน คือ หมวดหินแหลมไม้ไผ่ (Laem Mai PhaiFormation) หมวดหินเกาะโหลน (Ko Lon Formation)และหมวดหินอ่าวโล๊ะดาลัม (Ao Lohd<strong>al</strong>um Formation)หมวดหินแหลมทาบ (Laem Thap Fromation)ตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการโดย วีรศักดิ์ นาคินทร์บดีและคณะ (2528) มีชั้นหินแบบฉบับที่บริเวณแหลมทาบอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฏร์ธานี ประกอบด้วยหินทรายเนื้อปนกรวด หินโคลนเนื้อปนกรวด หินดินดานRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การศึกษาข้อมูลและผลงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อน 13หินโคลน โดยในชั้นหินทรายและหินโคลนมี crosslamination และซากดึกดำบรรพ์มาก ในตอนนั้นให้อายุช่วง Devonian-Carboniferous ต่อมา Lumjuan (1993)ได้ศึกษาเพิมเติมในบริเวณอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฏร์ธานี ได้แบ่งหมวดหินแหลมทาบออกเป็น Lower unit และUpper unit (รูปที่ 2.4) โดย Lower unit หนาประมาณ350 เมตร ประกอบด้วย coarsening upwardsequence ประกอบด้วยการสลับกันของหินทรายแป้งและหินทราย มีซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด เช่นPosidonomya sp., Chon<strong>et</strong>es sp., Bucanella sp.,Pro<strong>et</strong>us sp., Pecten sp.ให้อายุ Early Carboniferousในตอนบนชั้นหินค่อยๆ เปลี่ยนเป็นหินทรายสลับหินดินดาน สีดำ ยิปซัม และ anhydrite ชั้นหินโผล่ชัดเจนบริเวณเขาสีอินและเขาหลวง ส่วน Upper unit มีความหนา 520 เมตร ประกอบด้วยการแทรกสลับของหินโคลนสีเทาเข้มเป็นชั้นขนาดบางมากถึงหนา กับหินทรายขนาดเม็ดละเอียดถึงปานกลาง มี cross bedding, load cast,flute cast และมี thin bedded limestone andconglomerate lenses ถัดขึ้นไปเป็นหินโคลนเนื้อปนกรวด มีกรวดเป็นพวก หินปูน หินทราย หินเชิร์ต หินแกรนิตที่มีการเรียงตัว (foliated granite) พบซากดึกดำบรรพ์พวก Linoproductus sp., Ruggiscostellasp., Neochon<strong>et</strong>es sp., Kitakamithyris sp.,S<strong>et</strong>igenites sp. ให้อายุ Late Carboniferous to EarlyPermian บนสุดเป็นหินดินดานสีเทาเขียวสลับกับหินโคลนและหินทรายแป้ง ซึ่งมี ripple mark และ crossbeddingรูปที่ 2.4 แสดงการแบ่งลำดับชั้นหินของหมวดหินแหลมทาบ บริเวณแหลมทาบ และเขาสีอิน (Lumjuan, 1993)ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


14บทที่ 22.2 ด้านบรรพชีวินวิทยาของกลุ่มหินแก่งกระจานก า ร เ ป รี ย บ เ ที ย บ โ ด ย ใ ช้ ช นิ ด ข อ งซากดึกดำบรรพ์ เป็นงานวิจัยมาตรฐานที่ใช้หาความสัมพันธ์ด้านสภาพภูมิศาสตร์บรรพกาลและความสัมพันธ์ของแผ่นเปลือกโลก จากหลักการที่ว่าสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวกันจะมีสภาพแวดล้อมของการเจริญเติบโตที่คล้ายกัน ดังนั้นพื้นที่ในปัจจุบันที่พบซากดึกดำบรรพ์ชนิดเดียวกัน ในช่วงการสะสมตัวของชั้นหินก็ควรจะมีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกัน เช่น Archboldand Singh (1993) พบว่าแบรคิโอพอดของยุคเพอร์เมียนตอนต้นของบริเวณภูเขาหิมาลัยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับของภาคตะวันตกของออสเตรเลีย ซึ่งแสดงว่าพื้นที่ทั้งสองบริเวณในช่วงเวลาดังกล่าวเคยอยู่ใกล้กันมาก่อน Dickin <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1993) ใช้ซากดึกดำบรรพ์ยุคเพอร์เมียนตอนต้นของบริเวณคาบสมุทรอินเดีย ภูเขาหิมาลัยและทิเบต เพื่อศึกษาการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศจากน้ำทะเลเย็นไปเป็นน้ำทะเลอบอุ่น ซึ่งทั้งสามบริเวณเคยเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปกอนด์วานาลักษณะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เปลี่ยนจากหินที่สะสมตัวในน้ำทะเลเย็นเปลี่ยนขึ้นไปเป็นน้ำทะเลอบอุ่นจะพบในประเทศไทยด้วย โดยพบในกลุ่มหินแก่งกระจานและกลุ่มหินราชบุรี ปัญหาที่น่าสนใจประการหนึ่งคือกลุ่มหินแก่งกระจานควรมีอายุเริ่มต้นที่ใด Upper Carboniferousหรือ Lower Permian หรืออย่างอื่น และความถูกต้องของการตรวจซากดึกดำบรรพ์มีเพียงใดกลุ่มหินแก่งกระจานเดิม Piyasin (1975b) ให้มีอายุ Upper Devonian to Upper Carboniferousจากการพบซากดึกดำบรรพ์ที่ไม่สมบูรณ์พวก Chon<strong>et</strong>essp. ในหมวดหินห้วยพุน้อยซึ่งให้อายุ Upper Devonianและในหมวดหินเขาพระที่เขาพระและเขากอก พบFenestella cf. triseri<strong>al</strong>is Ulrich และ Polypora cf.gracilis Prout ให้อายุ Upper Carboniferous ต่อมาพบซากดึกดำบรรพ์มากมายในหลายพื้นที่ จากส่วนบนของกลุ่มหินมีอายุ เพอร์เมียนตอนต้น เช่นที่ เกาะมุก เกาะพีพี เกาะยาวน้อย เขาพระ (Waterhouse, 1982;Pitakpaivan and Mantajit, 1981; Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001) แต่อายุของ Bryozoa ที่ได้จะขัดแย้งกับของ Sakagami (1968a, 1968b, 1968c) ที่ให้เป็น Lower Permian โดยทำการศึกษา bryozoa บริเวณเขาตาม่องไร่ เขาช่องกระจก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขาพริก จังหวัดราชบุรีพบว่า bryozoa เกิดร่วมในหินทราย สีน้ำตาล และหินปูนสีเทา และได้แบ่ง bryozoa ออกเป็น 18 speciesเช่น Fistulipora timorensis Bassler, Fistulipora cf. labratula Bassler, Fistulipora cf. grandisvolongensis Nikiforova, Coscinotrypa orient<strong>al</strong>isSakagami (n. sp.), Dyscritella grossa Sakagami (n. sp.), Fenestella cf. subrudis Condra, Fenestellapulchradors<strong>al</strong>is Bassler, Polypora cf. repens Trizna,Polypora cf. tripliseriata Bassler และในปี 2513Sakagami (1970, 1973) ได้ศึกษา bryozoa ที่เกาะมุกและที่เขาเรือน จังหวัดราชบุรี พบ bryozoa พวกDyscritella sp. หลายชนิด เทียบเคียงได้กับทางด้านตะวันตกของออสเตรเลีย และให้อายุเป็น LateArkinskian อีกทั้งอายุของซากดึกดำบรรพ์พวก cor<strong>al</strong>และ brachiopod ที่พบในกลุ่มหินแก่งกระจานต่างบ่งอายุ Lower Permian ดังนั้นอายุของกลุ่มหินที่ให้เป็นคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน จึงมีความไม่แน่นอนว่าอายุส่วนล่างของกลุ่มหินจะแก่เพียงใดSektheera (1992) จากการตรวจพิสูจน์brachiopods ในหินทรายแป้งและหินโคลนจากเขาคลองแหง จังหวัดกระบี่ และแหลมทาบ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบมีหลายชนิด เช่น Cleiothyridina,Hustedia, Spiriferella และ Tornquistia ได้ให้อายุตัวอย่างจากเขาคลองแหงเป็น Sakmarian Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การศึกษาข้อมูลและผลงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อน 15Brown <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1951) พบซากดึกดำบรรพ์พวกEophyton ที่บริเวณอ่าวทุ่งคา ให้อายุแคมเบรียน แต่ต่อมาเป็นที่ยอมรับว่าสิ่งที่เรียกว่า Eophyton นั้น เป็นเพียงรอยของสาหร่ายทำให้การวิเคราะห์ผิดพลาดYanagida (1970) ศึกษา brachiopods ที่เขาพริก จังหวัดราชบุรี พบว่ามีซากดึกดำบรรพ์มากมายหลายชนิด เช่น Brachiopods, bryozoans, cor<strong>al</strong>s,fusulininans, pelecypods, gastropods และได้ศึกษาbrachiopods พบว่ามีหลายชนิดที่สำคัญ เช่นSpiriferellina cristata (Schlotheim), Spiriferellinamultiplicata (Sowerby), Hemiptychina him<strong>al</strong>ayensis(Davidson), Notothyris nucleola (Kutorga) ซึ่งพบทั่วไปในยุโรบและเอเซีย และมีความสัมพันธ์เทียบเคียงได้กับ Productus limestone ของ S<strong>al</strong>t Range สรุปให้อายุเป็น Late ArtinskianMitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) พบ Trilobite พวกCyrtosymbol sp. ที่บริเวณบ้านทุ่งคาโงก ตามทางหลวงสายตะกั่วป่า-พังงา บ่งอายุดีโวเนียนตอนปลายWaterhouse (1982) รายงานว่าหิน pebblymudstone ในส่วนบนของกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่เกาะมุกเกาะพีพี (รูปที่ 2.5) พบ brachiopods หลายชนิดที่สะสมตัวในอุณหภูมิหนาวเย็นแบบ temperate แถบใกล้ขั้วโลกเช่น Arctitr<strong>et</strong>a percostata, Komukia solita,Cancrinelloides monticulus, Rhynchopora sp.,Arionthia sapa, Elasmata r<strong>et</strong>usus ต่อมา Shi andWaterhouse (1991), Shi and Archbold (1995) ศึกษาเพิ่มเติมได้ให้อายุเป็น Late Asselian or EarlySakmarian ส่วนชั้นหินที่วางตัวบน pebbly mudstone ที่เกาะยาวน้อย ในภาคใต้ ก็พบ Brachiopods (Waterhouse, 1981) ได้อายุ early Permian (Sakmarian) โดยพบ species ใหม่ด้วย เช่น Orthot<strong>et</strong>esperplexus, Tornquistia tricorporum, Costachon<strong>et</strong>inakrotowi, Chon<strong>et</strong>inella andamanensis, Chon<strong>et</strong>inellagranti เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) รายงานพบซากดึกดำบรรพ์ในหมวดหินขนอม (Kanom formation) ที่บริเวณบ้านคลองวัง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพวก Styliolina sp.,Tentaculite sp., และ Pelecypod จำพวกPosidonomya sp., Nuculoidae sp., Trilobiteจำพวก Cyrtosymbolid sp. ให้อายุ Middle to LateDevonian สำหรับกลุ่มหินแก่งกระจานจะวางตัวอย่างมีรอยชั้นไม่ต่อเนื่องอยู่บนหมวดหินขนอม พร้อมรายงานการพบ brachiopod พวก Spirifer และ spiromartinia แต่รูปร่างไม่สมบูรณ์ ในหมวดหินสปิลเวย์ที่แหลมไม่ไผ่จังหวัดภูเก็ต (พิกัด 439871) คาดว่ามีอายุ EarlyCarboniferous- Early PermianLumjuan (1993) ศึกษาลำดับชั้นหินCarboniferous-Permian บริเวณแหลมทาบ และเขาสีอินทางตอนเหนือของจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าวางตัวอย่างต่อเนื่องอยู่บนหิน Devonian และ เปลี่ยนขึ้นไปหาหิน Permian ชั้นหินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนล่างที่เขาสีอินเป็นการสลับกันของหิน ดินดานและหินทรายพบซากดึกดำบรรพ์อายุ Early Carboniferous หลายชนิด เช่น Posidonomya sp., Chon<strong>et</strong>es sp.,Bucanella sp., Pro<strong>et</strong>us sp., Pecten sp. และบนขึ้นไปมีชั้นของ gypsum และ anhydrite สลับอยู่ ชั้นหินในส่วนบนที่แหลมทาบวางตัวต่อเนื่องขึ้นมาประกอบด้วยหินโคลนปนกรวด (pebbly mudstone) (ซึ่งเลิศสินรักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) บอกว่าไม่ต่อเนื่อง และจากการตรวจสอบของรายงานฉบับนี้พบว่าทั้ง 2 บริเวณอยู่ห่างกันหลายกิโลเมตร และไม่พบความต่อเนื่องของลำดับชั้นหินดังกล่าว) และมีชั้นของหินทรายและหินดินดานแทรกสลับ พบซากดึกดำบรรพ์ อายุ LateCarboniferous to Early Permian เช่น Linoproductussp., Ruggiscostella sp., Neochon<strong>et</strong>es sp.,Kitakamithyris sp., Rhynchonellacean sp.,S<strong>et</strong>igenites sp. ลำดับชั้นหินส่วนบนนี้เทียบเคียงได้กับกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่ภูเก็ต ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


16บทที่ 2รูปที่ 2.5 แสดงชั้นหินของกลุ่มหินภูเก็ตที่เกาะมุก และเกาะพีพี (Waterhouse, 1982)Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การศึกษาข้อมูลและผลงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อน 17Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1997) ศึกษาตัวอย่าง brachiopodจำนวน 2 ตัวอย่างจากส่วนบนของ Singa Formationของเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเทียบได้กับส่วนบนของกลุ่มหินแก่งกระจาน พบซากดึกดำบรรพ์ หลายชนิดคือ Kas<strong>et</strong>ia cf. kas<strong>et</strong>i Waterhouse, Bandoproductusn. sp., Stenoscisma sp., Rhynchopora cultaWaterhouse, Sulciplica sp., Spirelytha p<strong>et</strong><strong>al</strong>iformis(Pavlova), Spinomartinia prolifica Waterhouse, ?Martiniopsis sp., Arionthia sapa Waterhouse, and ?Elasmata sp. ซึ่งเทียบเคียงได้กับ Early Permian (Sakmarian) ของ peri-Gondwanan terranes และพบใน Cimmerian continent ด้วย โดยกล่าวว่าSpinomartinia prolifica Assemblage เทียบได้กับที่พบที่เกาะยาวน้อย ของไทย, Lhasa terrane ของทิเบต,upper Dingjiazhai Formation ของ Baoshan block ที่ยูนนานด้านตะวันตก และสรุปว่าซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้แสดงถึงการเริ่มต้นเปลี่ยนไปเป็น CimmerianProvinceShi <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (2001) ศึกษาซากดึกดำบรรพ์พวกBrachiopod รายงานว่าเป็นส่วนบนของหมวดหินเขาพระ (เทียบได้กับหมวดหินเขาเจ้าของรายงานฉบับนี้)ที่บริเวณบ่อหินทรายร้าง อยู่ห่างไปทางทิศเหนือของตัวเมืองชุมพรประมาณ 21 กม. หรืออยู่ห่างจากทางหลวงหมายเลข 3201 ไปทางทิศตะวันตกประมาณ50 เมตร ห่างจากสี่แยกที่ตัดกับทางหลวงหมายเลข 4ประมาณ 450 เมตร ตัวอย่างเก็บจากหินทรายสีขาวเป็นชั้นถึงชั้นหนา เม็ดขนาดปานกลาง มีการคัดขนาดดีมีความหนาอย่างน้อย 10 เมตร ชั้น ซากดึกดำบรรพ์Brachiopod หนาประมาณ 1.5-2 เมตร ส่วนใหญ่เป็นพวก Meekella bisculpta Grant ส่วนน้อยเป็นพวกCostatumulus sp. ให้อายุ Early Permian และสรุปจากหลักฐาน Brachiopod assemblage ที่พบว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนสภาพทางภูมิศาสตร์บรรพกาลจาก temperate Gondwana Re<strong>al</strong>m ไปเป็นwarm-water Cathaysian faunasตารางเทียบเคียงซากดึกดำบรรพ์ที่มีการศึกษาวิจัยมาก่อนได้รวบรวมรายชื่อของซากดึกดำบรรพ์พวกBrachiopod, Cor<strong>al</strong>, Fusulinid, Foraminifera และBryozoa ของกลุ่มหินแก่งกระจานและกลุ่มหินราชบุรี ที่มีผู้ทำการศึกษามาก่อนแล้ว จัดใส่ตารางเพื่อทำการเทียบเคียงดังแสดงไว้ในตารางที่ 2.2 และตารางที่ 2.3ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Groupตารางที่ 2.2 เปรียบเทียบ Brachiopods ที่พบในพื้นที่ต่างๆ ของคาบสมุทรไทย ของกลุ่มหินแก่งกระจาน (ตัวหนา หมายถึงรายงานระบุว่าพบมาก) Ko Yao Noi Ko Yao NoiWaterhouse, 1981SakmarianCancrinella yanagidae,Chon<strong>et</strong>inella andamanensis,Chon<strong>et</strong>inella granti,Costachon<strong>et</strong>ina krotowi,Juresania dissimilis, Kas<strong>et</strong>ia kas<strong>et</strong>i,Kutorginella fraterculus,Kutorginella paucispinosa,Orthot<strong>et</strong>es perplexus,R<strong>et</strong>imarginifera <strong>al</strong>ata,Rhamnariabunopasi,Spinifrons planoconvexa,Spiriferella modesta, Stenoscisma quasimutabilis,Stereochia koyaoensis,Tornquistia tricorporum,Ko Phi Phi, Ko MukWaterhouse, 1982; Shi and Waterhouse, 1991; Shi and Archbold, 1995Late Asselian or Early SakmarianArctitr<strong>et</strong>a percostata,Arionthia sapa, Cancrinelloides monticulus,Elasmata r<strong>et</strong>ususKomukia solita,Rhynchopora sp., Sulciplica sp.,ChumponShi <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001Laem ThapLumjuan, 1993Ko Muk NWGrant, 1976Langkawi IslandShi <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1997Early Permian L. Carb- E Permian Late Artinskian Early Permian (Sakmarian)Costatumulus sp.Meekella bisculpta GrantKitakamithyris sp.Linoproductus sp.Neochon<strong>et</strong>es sp.Rhynchonellacean sp.Ruggiscostella sp.S<strong>et</strong>igenites sp.Adriana ? sp., Anom<strong>al</strong>oria glomerosaBibatiola costata, C<strong>al</strong>lispirina austrinaCancrinella sp., Ceocypea sp.Chon<strong>et</strong>ina sp., Chon<strong>et</strong>inella cymatilisCleiothyridina tribulosa, Composita advenaComuquia modesta, Cooperina polytr<strong>et</strong>aCruricella couria, Demonedys fastigiataDerbyia scobina, Dyschrestia spodiaEolyttonia ? sp., Gefonia ? sp.Goleomixa acymata, Gratiosina insculptaHemiptychina murritaH<strong>et</strong>er<strong>al</strong>osia haerens, Hustedia funariaHustedia ratburiensis, Incisius concisusKozlowskia cornuta, Kutorginella apricaLeptodus ? sp., Linoproductus sp.Martiniide sp., Martiniopsis sp.Meekella addicta, Nematocrania crassaNotothyris triplax, Orthotichia species BPar<strong>al</strong>yttonia tenax, Paraspiriferina gentilisPerigeyerella tricosa, Pontisia exoriaR<strong>et</strong>imarginifera cel<strong>et</strong>eriaRhipidomella cordi<strong>al</strong>is, Rigbyella crassaRugaria molengraaffi, Schuchertella cooperiSpiriferella sp., Spiriferellina yanagidaiStenoscisma species AStenoscisma t<strong>et</strong>ricum, Stereochia litostylaStictozoster leptusStreptorhynchus sulculatumTipispirifer oppilatus, Tornquistia tropic<strong>al</strong>isUncinunellina sp., Urushtenia argutaArionthia sapa Waterhouse, Bandoproductus n. sp., ?Elasmata sp.Kas<strong>et</strong>ia cf. kas<strong>et</strong>i Waterhouse,?Martiniopsis sp., Rhynchopora culta Waterhouse,Spinomartinia prolifica Waterhouse, Spirelytha p<strong>et</strong><strong>al</strong>iformis (Pavlova),Stenoscisma sp.,Sulciplica sp., 18บทที่ 2


การศึกษาข้อมูลและผลงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อน 19ตารางที่ 2.3 แสดงชื่อของซากดึกดำบรรพ์ของยุคเพอร์เมียนที่พบในประเทศไทย (Mantajit, 1993)Shan-ThaiIndochinaPERMIANTaxaWest & SukhothaiPeninsulaLoei FBNorthFBU Ammonite: P Paratirolites X P Pseudogastrioceras X E Trilobite: R Pseudophillipsia X Bryozoa: Fenestella X Fistulipora X Pseudobatosmella X Radiolaria: Albaillella X Copiellintra X Follicucullus X Conodont Neogondolella bitteri X Hindeodus X Cor<strong>al</strong>: Sinopora X Waagenophyllum X Iranophyllum X Pavastehphyllum X Paraipciphyllum X Ipciphyllum X Boultoniidae: G<strong>al</strong>lowayinella guidingensis X P<strong>al</strong>aeofusulina sinensis X X X Colaniellidae: Colaniella parva X X X Family Uncertain Paraglobiv<strong>al</strong>vulina piyasini X Hemigordiopsidae: Shanita amosi X Shanita interc<strong>al</strong>aria X Verbeekinidae: Lepidolina multiseptata X Verbeekina verbeeki Xลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


20บทที่ 2ตารางที่ 2.3 (ต่อ)Shan-ThaiIndochinaPERMIANTaxaWest & SukhothaiPeninsulaLoei FBNorthFBM Ammonite: I Agathiceras XD Bryozoa: D Ascopora X X L Fistulipora X X E Pennir<strong>et</strong>epora X X Polypora X X Rhabdomeson X X Fenestella X X Hexagonella X Cor<strong>al</strong>: Sinopora X X X Wentzelloides X X X Ipciphyllum X X Lopophyllidium X X Paraipciphyllum X X Pseudohuangia X Schubertellidae: Neofusulinella praecursor X Neofusulinella lantenoisi X Yangchienia haydeni X Schwagerinidae: Parafusulina japonica X Parafusulina gigantea X Pseudofusulina parumvoluta X Verbeekinidae: Misellina otai X Misellina confragaspira X Maklaya saraburiensis X Verbeekina verbeeki X Pseudodoliolina saraburiensis X Pseudodoliolina primigena X Pseudodoliolina gracilis X Pseudodoliolina ozawai ozawai X Pseudodoliolina pseudolepida X Neosclwagerina simplex simplex X Neoschwagerina megaspherica X Colania douvillei X Lepidolina multiseptata X Cancellina neoschwagerinoides X Presumatrina schellwieni X Sumatrina annae annae X Staffellidae: Nankinella hunanensis X Thailandinidae: Neothailandina pitakpaivani X Neothailandina kom<strong>al</strong>arjuni X Chat<strong>et</strong>es X Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การศึกษาข้อมูลและผลงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อน 21ตารางที่ 2.3 (ต่อ)Shan-ThaiIndochinaPERMIANTaxaWest & SukhothaiPeninsulaLoei FBNorthFB Ammonite: L Artinskia XO Properrinites XW Bryozoa: E Dyscritella X R Fenestella X Fistulipora X Rhabdomeson X Polypora X Sulcor<strong>et</strong>epora X Pennir<strong>et</strong>epora X Radiolaria: Pseudo<strong>al</strong>baillella X Cor<strong>al</strong>: Protomechelinia X Multimurinus X Conodont: Hindeodella X Ozarkodina X Streptognathodus X Boultonidae: Boultonia truncata X Fusulinidae: Quasifusulina tenuissima X Schwagerinidae: Parafusulina m<strong>et</strong>hikuli m<strong>et</strong>hikuli X Parafusulina loeyensis X Parafusulina parva X Parafusulina granumavenae X Schwagerina tschenkiangensis X Schwagerina incisa X Paraschwagerina yanagidai X Pamirina (Pamirina) darvasica X Chusenella crassa padangensis X Darvasites ingavati X Pseudofusulina regularis X Pseudofusulina p<strong>et</strong>chabunensis X Pseudofusulina siamensis X Verbeekinidae: Misellina subelliptica X Misellina claudiae X Thailandinidae: Thailandina buravasi Xลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


22บทที่ 22.3 ด้านตะกอนวิทยาและสภาวะแวดล้อมการสะสมตัวของกลุ่มหินแก่งกระจานกลุ่มหินแก่งกระจาน มีผลงานที่ศึกษาทางด้านFacies ที่มีการอ้างถึงกันมากอยู่ 3 รายงานคือ Mitchell<strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970), Altermann (1987) และ Hills (1989) แต่ทั้ง 3 รายงานใช้ชื่อกลุ่มหินว่า กลุ่มหินภูเก็ต (Phuk<strong>et</strong>Group) ทั้งนี้เพราะชั้นหินโผล่เห็นได้ดีบริเวณจังหวัดภูเก็ต ทั้ง Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) และ Altermann (1987) สรุปว่าหินเกิดจากการสะสมตัวแบบ gravityflow deposits เพียงอย่างเดียว ในขณะที่ Hills (1989)สรุปว่าเกิดสะสมตัว gravity flow deposits ด้วยเช่นกันแต่ภายใต้อิทธิพลของ glaciation สำหรับส่วนบนของกลุ่มหินแก่งกระจานนั้น ทั้ง 3 รายงานเห็นพร้องกันว่าเกิดสะสมตัวในน้ำทะเลตื้นกลุ่มหินภูเก็ต ตั้งชื่อโดย Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) แต่ตอนนั้นหมายรวมถึงหินทรายของกลุ่มหินตะรุเตา และหินปูนของกลุ่มหินทุ่งสงเข้าไปด้วย และได้แบ่งกลุ่มหินภูเก็ตออกเป็น หมวดหินชุดล่าง (Lowerformation) และ หมวดหินชุดบน (Upper formation)และแยกออกได้เป็น 8 ลักษณะปรากฏ (Facies) ดังนี้ (กรมทรัพยากรธรณี, 2544)1) ชั้นหินโคลนที่มีลักษณะเป็นชั้นบางๆ (Laminated Mudstone) ประกอบด้วย หินโคลน หรือหินทรายแป้ง เป็นชั้นบางๆ สลับกับหินทราย ในส่วนล่างของชั้นหินทรายจะมีรอยสัมผัสแบบเด่นชัด (sharpcontact)บนหินโคลน แต่ในส่วนบนของชั้นหินทรายอาจมีลักษณะรอยสัมผัสแบบเรียงขนาด (gradation<strong>al</strong> contact)และแสดงลักษณะรอยริ้วคลื่น หินโคลนจะมีสีเทาดำเนื้อละเอียด มีการรบกวนจากสิ่งมีชีวิต (bioturbation) และร่องรอยของสัตว์ (trace fossil) ในหินทรายและหินโคลนแสดงถึงการสะสมตัวในน้ำทะเลตื้น 2) ชั้นหินโคลนปนกรวด (Pebbly Mudstone)หินโคลนปนกรวดนี้เป็นชนิดหินที่พบมากที่สุดในกลุ่มหินภูเก็ต โดยมีลักษณะเป็นหินที่มีเนื้อเป็นโคลนหรือทรายแป้ง ซึ่งเป็นชั้นหนาถึง 40 เมตร และมีกรวดขนาด1-15 เซนติเมตร ปะปนอยู่ด้วย ไม่มีการเรียงตัวของกรวดหินชนิดนี้วางตัวบนผิวที่มีการกัดกร่อนของชั้นหินลักษณะปรากฏชนิดอื่นของกลุ่มหินภูเก็ต ซึ่งแสดงถึงการกัดกร่อนเป็นร่องก่อนการสะสมตัวของหินโคลนปนกรวด หินโคลนปนกรวดนี้น่าจะเกิดจาก mass flowdeposit3) Turbidites ประกอบด้วยหินทรายเป็นชั้นบาง สลับกับหินโคลน ลักษณะชั้นบนและชั้นล่างขนานกัน ชั้นหินทรายแต่ละชั้นจะมีความหนาตั้งแต่ 2-15 เซนติเมตร และแสดงลักษณะเรียงขนาด ส่วนบนของชั้นมักแสดงชั้นเฉียงระดับ ในส่วนล่างลักษณะ loadstructure มักพบเห็นทั่วไปหินชนิดนี้ตกตะกอนภายใต้อิทธิพลของกระแสขุ่นข้น4) Slump Unit ประกอบด้วยหินทราย และหินโคลนสลับกัน ชั้นหินของหน่วยหินนี้จะมีลักษณะบิดเบี้ยวและคดโค้ง ความหนาของหินหน่วยนี้จะมากที่สุดประมาณ 5 เมตร ไม่เป็นรูปร่างแน่นอน เกิดจากการเลื่อนตัวของชั้นตะกอนขณะที่ยังไม่แข็งตัว 5) หินปูน (Limestone) หินคาร์บอเนต พบน้อยมากในกลุ่มหินภูเก็ต โดยพบหินปูนเนื้อดิน สีเทาเข้ม บริเวณริมถนนสายตะกั่วป่า-สุราษฎร์ธานี ห่างจากยอดสูงสุดไปทางตะวันตกประมาณ 200 เมตร ใกล้บ้านสก หินปูนที่พบมักเป็นกระเปาะอยู่กับหินโคลน ไม่พบซากดึกดำบรรพ์ในหินปูนนี้6) หินทรายและหินกรวดมน (Well-sortedSandstone and Conglomerate) ประกอบด้วยหินกรวดมน ซึ่งความหนาของชั้นหินมีการเปลี่ยนแปลงมาก วางตัวอยู่บนผิวที่มีการกัดกร่อน และวางตัวรองรับหินทราย เป็นกระเปาะอยู่ในหินทราย บางแห่ง ไม่พบหินกรวดมนและพบว่าหินทรายวางตัวบนผิวที่มีการกัดกร่อนโดยตรง ในช่วงบนเป็นหินทรายเนื้อไมกา จากการที่พบลักษณะผิวที่มีการกัดกร่อน ความหนาของชั้นหินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการเรียงขนาดจากหินกรวดมนเป็นหินทราย ซึ่งมีชั้นหินเฉียงระดับแสดงถึงการสะสมตัวแบบ channel deposits7) Bryozoan Beds หินหน่วยนี้พบหลายแห่งในบริเวณช่วง 100-200 เมตร จากชั้นล่างของหินปูนราชบุรี ซึ่งเป็นหินทรายแป้งและหินโคลนเนื้อปนปูนประกอบด้วยซากดึกดำบรรพ์ bryozoan, crinoid stem,Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การศึกษาข้อมูลและผลงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อน 23brachiopod และ solitary cor<strong>al</strong> ซากดึกดำบรรพ์ที่พบแสดงถึงสภาวะการสะสมตัวในทะเลตื้นและอากาศอบอุ่น ชั้น bryozoan bed นี้ใช้เป็น marker horizonของกลุ่มหินภูเก็ต เพราะเป็นการแสดงถึงการเปลี่ยนสภาพของการตกตะกอนของชั้นหินระหว่างหินที่อยู่บนและล่างของชั้นนี้ โดยให้ bryozoan bed เป็นชั้นล่างสุดของ Upper formation8) ชั้นหินทรายและหินดินดาน (ThickbeddedSandstone and Sh<strong>al</strong>e) ประกอบด้วยหินทรายสลับหินดินดาน และหินทรายแป้ง หินทราย มีการคัดขนาดดี และส่วนมากเป็นหินทรายเนื้อควอตซ์ ในบางแห่งพบว่าเป็นเนื้อไมกาบ้าง ชั้นหินทรายหนาประมาณ 20 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร แสดงถึงอิทธิพลของกระแสน้ำค่อนข้างแรง ลักษณะของ clay drapes ในหินทรายแป้งเป็นผลจากการกระทำของกระแสน้ำขึ้น-น้ำลง หินชุดนี้เกิดในบริเวณส่วนบนของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ต่อมา Altermann (1987) ได้ทำการศึกษาหินpebbly mudstone ทั้งในมาเลเซีย ที่ เกาะลังกาวี(Singha Formation) และในภาคใต้ของไทยที่เกาะพีพีเกาะภูเก็ต และบริเวณแก่งกระจาน (Phuk<strong>et</strong> Formationหรือที่เรียกว่า Kaeng Krachan Group ในปัจจุบัน)รายงานว่ามีความเห็นสอดคล้องกับการแปลความหมายของ Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) โดยกล่าวว่าไม่พบหลักฐานการทางด้าน glaciomarine origin รวมทั้งไม่พบซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นของ Gondwan<strong>al</strong>and แต่พบหลักฐานของการสะสมตัวแบบ continent<strong>al</strong> slopedeposits รวมทั้งซาก ดึกดำบรรพ์ของ Cathaysian และEurasian แทน จึงสรุปว่าชั้นหินเหล่านี้สะสมตัวแบบcontinent<strong>al</strong> slope deposits บน the former southern(present western) slope ของ P<strong>al</strong>eoeurasiancontinent และได้แบ่งหินเหล่านี้ออกเป็น Upper และLower Formations ประกอบด้วย 9 Facies ดังนี้Lower Formation ประกอบด้วย 7 facies คือ1) Thin-bedded or laminated mudstonesมีชั้นหินเป็นแบบ flat and sharp แต่ละชั้นมีความหนาทางด้านข้างค่อนข้างคงที่ มี flaser bedding และsm<strong>al</strong>l-sc<strong>al</strong>e cross bedding บ้าง และแปลให้เกิดสะสมตัวใน shelf to continent<strong>al</strong> slope2) Thin-bedded or laminated siltstones andsandstones เป็นชั้นหินพบที่เกาะลังกาวี ประกอบด้วยชั้นของหินทรายล้วนๆ มี bioturbation, convolute structureและ slump structure มาก มีความหนาของชั้นหินหนึ่งๆไม่คงที่ และพบ flaser และ lenticular beddings บ้าง ได้แปลให้เกิดสะสมตัวใน น้ำตื้น3) Thin-bedded mudstones tosandstones with scattered pebbles ก้อนกรวดส่วนใหญ่ขนาด pebble มีบ้างขนาด gravel ส่วนใหญ่มีความมนดี แปลให้สะสมตัวในน้ำตื้น โดยกรวดเกิดจากseason<strong>al</strong> influx พร้อมกับแสดงเหตุผลคัดค้านการแปลให้เกิดแบบ drop stone4) Structureless pebbly mudstones topebbly sandstones เป็น facies ที่พบมากที่สุดของLower Formation แต่ละช่วงอาจหนาหลายสิบเมตรส่วนล่างของชั้นหินจะเป็น erosion<strong>al</strong> contact กรวดส่วนใหญ่ขนาดเล็กกว่า gravel แปลให้เป็นพวกresedimented facies เนื่องจากกระบวนการ gravityflow5) Conglomeratic layers มี 2 ลักษณะ คือพบเป็นชั้นกรวดมนในหินโคลน อีกพวกหนึ่งมักมีerosion<strong>al</strong> base และเกิดร่วมกับชั้นของหินทราย แปลให้เป็นพวก upper fan6) Sharp based, graded sandstones มักแทรกสลับด้วยหินโคลน มีความหนาของชั้นหินชั้นหนึ่งๆค่อนข้างคงที่ ส่วนบนของหินทรายมักมี cross/ planarlamination แปลให้เกิดเนื่องจาก turbidity current7) Slumped units ชั้นหินคดโค้งทั้งส่วนบนและส่วนล่างส่วนใหญ่คงสภาพไม่ถูกตัดขาด มี clasticdike, sm<strong>al</strong>l injection structure, dish structure บ้างแปลให้เกิดเนื่องจาก gravity flowUpper Formation ประกอบด้วย 2 facies คือ8) Bryozoan bed (ไม่มีการศึกษาในส่วนนี้)9) Thick-bedded sandstones and sh<strong>al</strong>esหินทรายส่วนใหญ่เป็น well-sorted quartzose ความหนาทางด้านข้างของชั้นหินเปลี่ยนไม่แน่นอน แปลให้เป็น delta top depositsลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


24บทที่ 2Sawata <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1975) ศึกษาลำดับชั้นหินที่เขาพระ จังหวัดราชบุรี รวมทั้งศึกษาลักษณะโครงสร้างของชั้นหิน (sedimentary structure) ได้แบ่งชั้นหินออกเป็น10 facies สรุปว่าชั้นหินมีการสะสมตัวจาก turbiditycurrent ซึ่งเทียบลักษณะได้กับ Upper Formation ของMitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970)Tantiwanit <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1983) รายงานว่า UpperP<strong>al</strong>eozoic pebbly rocks หรือที่เรียกในปัจจุบันคือกลุ่มหินแก่งกระจาน ประกอบด้วยหินโคลนปนกรวด หินโคลนเป็นชั้นดีและหิน Turbidites มีโครงสร้างชั้นหินแบบ load cast, slump structure, graded bed และdropstone–like structure ขนาดของเม็ดกรวดส่วนใหญ่เล็กกว่า 1 เซนติเมตร มีรูปร่างเป็นกึ่งเหลี่ยมถึงมีความมนดีปานกลาง (subangular to subround)ประกอบด้วย quartzite, limestone, granite และgneissic granite และสรุปว่าชั้นหินเหล่านี้มีโอกาสเกิดจาก 3 กระบวนการ คือ Turbidity current and slumpdeposits, Ice rafted deposits, และ Tillite depositsFontaine and Sute<strong>et</strong>horn (1988) ศึกษาปริมาณของ boron ในหินโคลนปนกรวดและหินดินดานจำนวนหลายตัวอย่างที่เก็บจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเชีย และจากในประเทศไทย โดยแนวคิดที่ว่าปริมาณของ boron ในตะกอนที่สะสมตัวจาก iceberg จะมีความเข้มข้นน้อยกว่าที่สะสมตัวในน้ำทะเลธรรมดา ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณน้ำจืดในiceberg ทำให้ boron มีความเข้มข้นน้อยลง พบว่าปริมาณของ boron ในหินดินดานจะพบมากกว่าในหินโคลนปนกรวด แสดงว่าหินโคลนปนกรวดมีการสะสมตัวจาก glaciomarine ในลักษณะที่ตะกอนมีการเคลื่อนที่และสะสมตัวในน้ำทะเลลึก (qui<strong>et</strong> shelf depositbelow wave influence with a few sho<strong>al</strong>s)2.4 ข้อมูลเกี่ยวกับ Hummockycross stratificationHummocky cross-stratification (HCS) เป็นโครงสร้างของหินชั้นที่ได้รับความสนใจมากในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากมีรูปลักษณะพิเศษแตกต่างจากชั้นหินเฉียงระดับชนิดอื่น เป็นชื่อที่ตั้งโดยHarms <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1975) ใช้เรียกชั้นหินเฉียงระดับที่มีรูปร่างลาดเอียงนูน (hummock) และเว้า (sw<strong>al</strong>e) มี spacingขนาดประมาณ 1 เมตรหรือมากกว่า ที่พบในหินทรายเนื้อละเอียดและในหินทรายแป้ง (รูปที่ 2.6) ในปัจจุบันขนาดของ spacing จะคลุมถึงพวกที่มีขนาดเล็กกว่า 1 เมตรด้วย โดยจะเรียกว่า sm<strong>al</strong>l sc<strong>al</strong>e hummockycross-stratification นอกจากนี้ Harms <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1975)ได้บอกคุณลักษณะเด่น 4 ประการของ HCS คือ 1) lowangle (ปกติน้อยกว่า 10 องศา แต่อาจถึง 15 องศา)และมี erosion bounding surface 2) มีแนวของชั้นหิน(laminae) ที่เกือบขนานกับ lower bounding surface 3)มีความยาวและมุมเอียงเทของแนวชั้นหินเปลี่ยนไปแบบมีระเบียบ 4) มีมุมเอียงเทของชั้นหินในหลายทิศทางการกำเนิดของ HCS ในช่วงแรกๆ เชื่อว่าเป็นผลจาก storm deposits ซึ่งมักพบในน้ำทะเลตื้นใกล้ชายฝั่ง (เช่น Harms <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1975; Hunter and Clifton,1982) แต่เมื่อมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้น พบว่า HCS เกิดร่วมได้ทั้งในตะกอนของน้ำจืด และน้ำทะเลตื้นจนถึงท้องทะเลลึก (Prave and Duke, 1990) นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการบางส่วนอธิบาย HCS ว่ามีการกำเนิดแบบantidune (Rust and Gibling, 1990; Yagishita, 1994)Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การศึกษาข้อมูลและผลงานศึกษาวิจัยที่มีมาก่อน 25Prave and Duke (1990) กล่าวว่าพบ HCS ที่มี spacing ระหว่าง 0.2-0.7 ม. ที่แสดง fine upwardเกิดร่วมในหินเนื้อละเอียดที่มีซากดึกดำบรรพ์ระบุสะสมตัวใน slope to base of slope (bathy<strong>al</strong>) deposition<strong>al</strong>environment ที่มีการกำเนิดแบบ antidune ลักษณะของ HCS จะพบต่อเนื่องไปทางด้านข้างได้หลายเมตรส่วนลักษณะเนื้อหินจะเปลี่ยนไปเป็น flat laminationทั้งทางด้านข้างและด้านบน และสรุปว่า sm<strong>al</strong>l- sc<strong>al</strong>eHCS เป็นพวก multigen<strong>et</strong>ic และเกิดได้ในหลายสภาวะแวดล้อมรูปที่ 2.6 ภาพจำลองแสดงโครงสร้างของ Hummocky cross-stratification (Harms <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1975)ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


บทที่3ลำดับชั้นหินที่อยู่ใต้กลุ่มหินแก่งกระจานการจัดลำดับชั้นหินของหมวดหินหรือของกลุ่มหินใดๆ จำต้องรู้ขอบเขตบนและล่างของหน่วยหินนั้นๆในบทนี้จึงเป็นการประมวลข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าลำดับชั้นหินล่างสุดของกลุ่มหินแก่งกระจานนั้น วางตัวอยู่บนหมวดหินอะไร และมีความสัมพันธ์อย่างไรกับชั้นหินที่แก่กว่า รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลของผลงานแต่ละเรื่องว่าน่าจะมีความสัมพันธ์และเทียบสัมพันธ์กับพื้นที่อื่นได้อย่างไร3.1หน่วยหินที่อยู่ใต้กลุ่มหินแก่งกระจาน3.1.1 หมวดหินควนกลางวีระพงษ์ ตันสุวรรณ และคณะ (2528) ทำการสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:250,000ระวางจังหวัดสตูล ได้แบ่งหินคาร์บอนิเฟอรัสออกเป็น 2 หมวดหิน คือ หมวดหินควนกลาง วางตัวในส่วนล่างมีตำแหน่งแบบฉบับอยู่ที่ควนกลาง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล มีความหนาประมาณ 120 เมตร ในส่วนล่างประกอบด้วยหินเชิร์ต หนาประมาณ 15 เมตร บนขึ้นไปเป็นหินดินดาน สีเทา เทาขาวและแดง สลับกับชั้นหินทราย ในหินดินดานพบหอยสองฝา Posidonomyasp. และส่วนหาง (pygidium) ของ Trilobite ให้อายุคาร์บอนิเฟอรัสตอนล่าง โดยให้หมวดหินพรุชะบาวางตัวในส่วนบน ประกอบด้วยหินโคลนปนกรวด สีเทาเทาดำ มี slumped structure และ load structureส่วนบนเป็นหินโคลนที่สลับด้วยหินทรายสีเทาดำ มีตำแหน่งแบบฉบับอยู่บริเวณบ้านพรุชะบา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ไม่พบซากดึกดำบรรพ์ในหมวดหินพรุชะบา และไม่พบความสัมพันธ์โดยตรงว่าวางตัวแบบไหนกับหมวดหินควนกลาง แต่หมวดหินพรุชะบาวางตัวแ บ บ ต่ อ เ นื่ อ ง อ ยู่ ใ ต้ หิ น ปู น ข อ ง ก ลุ่ ม หิ น ร า ช บุ รี ที่ปัจจุบันมีข้อมูลซากดึกดำบรรพ์ยืนยันว่าหินปูนของกลุ่มหินราชบุรีมีอายุเริ่มต้นที่ Middle Permian ดังนั้นอายุของหมวดหินพรุชะบาจึงน่าจะอยู่ในช่วงเพอร์เมียนตอนล่างมากกว่าที่จะมีอายุคาร์บอนิเฟอรัสตอนบน และเทียบเคียงได้กับหมวดหินเขาพระรายงานฉบับนี้ได้สำรวจเพิ่มเติมที่บริเวณควนกลาง จังหวัดสตูล จุดพิกัด 615973E และ 731478Nบริเวณนี้เป็นบ่อดิน ตักขุดเอาหินและดินไปถมถนน พบว่าหมวดหินควนกลาง มีความหนามากกว่า 140 เมตรวางตัวอย่างต่อเนื่องขึ้นมาจากหมวดหินป่าเสม็ด ซึ่งประกอบด้วยหินดินดาน สีน้ำตาล สีเทา แทรกสลับด้วยชั้นของหินดินดาน (well laminated black sh<strong>al</strong>e)สีดำ เป็นชั้นบางๆ ขนานกัน ที่มีซากดึกดำบรรพ์พวกTentaculite sp. อยู่มากมาย (รูปที่ 3.1) ช่วงที่แทรกสลับกันนี้หนามากกว่า 10 เมตร และมีชั้นหินวางตัวเอียงเทไปทางตะวันตก (22/258) บนขึ้นมาเป็นหินดินดาน สีเทา เนื้อเนียน เป็นชั้นบางๆ บางช่วงหินดินดาน เปลี่ยนเป็นสีแดง บางบริเวณพบว่าตามแนวรอยแตกของหินดินดานสีเทา สีของหินตามแนว


28บทที่ 3รอยแตกเปลี่ยนไปเป็นสีแดง (รูปที่ 3.2) แสดงว่าสีเดิมของหินดินดานคือสีเทา นอกจากนี้บางจุดยังพบมีผลึกของไพไรต์เกิดอยู่ด้วย ในส่วนบนมีชั้นหินทรายแทรกสลับ และพบซากดึกดำบรรพ์พวก Posidonomya sp.บนสุดของบริเวณนี้ เป็นหินดินดาน สีเทา เป็นชั้นบางถึงหนาปานกลาง แทรกสลับกับหินทราย เนื้อละเอียดบางช่วงเป็น Lenticular bed และพบ Burrows ทั่วไป (รูปที่ 3.3) ทั้งแบบ Vertic<strong>al</strong> และ subhorizont<strong>al</strong> typesในบริเวณนี้ไม่พบหินของกลุ่มหินแก่งกระจานและกลุ่มหินราชบุรี3.1.2 หมวดหินขนอมLumjuan (1993) รายงานว่าได้ศึกษาลำดับชั้นหิน 2 บริเวณ คือที่แหลมทาบ และที่เขาสีอิน อยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดนครศรีธรรมราช ระบุว่าชั้นหินที่เขาสีอินวางตัวอย่างต่อเนื่องอยู่บนหิน Devonian และประกอบด้วยการสลับกันของหินดินดานและหินทรายพบซากดึกดำบรรพ์อายุ Early Carboniferous หลายชนิด เช่น Posidonomya sp., Chon<strong>et</strong>es sp.,Bucanella sp., Pro<strong>et</strong>us sp., Pecten sp. โดยมีชั้นหินที่บริเวณแหลมทาบวางตัวต่อเนื่องขึ้นมา ประกอบด้วยหินโคลนปนกรวด (pebbly mudstone) (ซึ่งเลิศสินรักษาสกุลวงศ์ และ ธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) บอกว่าไม่ต่อเนื่อง และจากการตรวจสอบของรายงานฉบับนี้ก็ไม่พบว่ามีความต่อเนื่องกัน) และมีชั้นของหินทรายและหินดินดานแทรกสลับ พบซากดึกดำบรรพ์อายุ LateCarboniferous to Early Permian เช่นLinoproductus sp., Ruggiscostella sp.,Neochon<strong>et</strong>es sp., Kitakamithyris sp.,Rhynchonellacean sp., S<strong>et</strong>igenites sp. ลำดับ ชั้นหินส่วนบนนี้เทียบเคียงได้กับกลุ่มหินแก่งกระจานที่ภูเก็ต เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) รายงานพบซากดึกดำบรรพ์ในหมวดหินขนอม (Kanom formation) ที่บริเวณบ้านคลองวัง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพวก Styliolina sp.,Tentaculite sp., และ Pelecypod จำพวกPosidonomya sp., Nuculoidae sp., Trilobiteจำพวก Cyrtosymbolid sp. ให้อายุ Middle to LateDevonian ซึ่งในส่วนนี้คงเทียบได้กับลำดับชั้นหินของหมวดหินป่าเสม็ดถึงหมวดหินควนกลาง (ในข้อ 3.1)สำหรับกลุ่มหินแก่งกระจานจะวางตัวอย่างมีรอยชั้นไม่ต่อเนื่องอยู่บนหมวดหินขนอม จากการตรวจสอบของรายงานฉบับนี้ที่บริเวณเขาสีอิน อำเภอขนอม พิกัด 595924E 1017386Nลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินเขาลูกเล็กๆ ในส่วนล่างเป็นหินดินดาน สีแดง เทาอ่อน เนื้อเนียน หนาประมาณ15 เมตร เป็นชั้นบางๆ วางตัวเอียงเทไปทางทิศใต้ (29/162) ในบางชั้นมีซากดึกดำบรรพ์หอยสองฝามากมายเป็นพวก Posidonomya sp. (รูปที่ 3.4) และAmmonoid บนขึ้นมาปิดทับด้วยหินทราย สีเทาอ่อนเนื้อแน่น หนาประมาณ 8 เมตร บริเวณนี้เทียบได้กับหมวดหินควนกลาง และไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน3.1.3 กลุ่มหินภูเก็ตชื่อ “กลุ่มหิน ภูเก็ต” ตามนิยามของ Mitchell<strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1970) และ Garson <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1975) นั้น หมายรวมถึงลำดับชั้นหินทั้งหมดที่อยู่ใต้หินปูนเพอร์เมียน ซึ่งรวมถึงหินทรายของกลุ่มหินตะรุเตาและหินปูนของกลุ่มหินทุ่งสงด้วย ซึ่งการใช้ชื่อกลุ่มหินภูเก็ตในระยะต่อมาจะมีความหมายที่เปลี่ยนไปโดยไม่รวมหินของสองกลุ่มหินข้างต้น (Altermann, 1987; และ Hills, 1989) Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินที่อยู่ใต้กลุ่มหินแก่งกระจาน29รูปที่ 3.1 ซากดึกดำบรรพ์พวก Tentacul ite sp.ในส่วนล่างของลำดับชั้นหินที่ควนกลางจังหวัดสตูลรูปที่ 3.2 หินดินดาน ของหมวดหินควนกลาง สีเดิมคือสีเทา สีของหินเปลี่ยนเป็นสีแดงรูปที่ 3.3 หินดินดาน (เทาดำ) สลับกับหินทรายเนื้อละเอียด (เทาขาว) ชั้นหินส่วนบนของหมวดหินควนกลาง ที่ควนกลางจังหวัดสตูลรูปที่ 3.4 หินดินดาน สีแดง มีซากดึกดำบรรพ์Posidonomya sp. หมวดหินขนอม ที่เขาสีอินลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


30บทที่ 33.2 การใช้ข้อมูลทางตะกอนวิทยาหาชั้นหินที่อยู่ใต้กลุ่มหินแก่งกระจานวัตถุประสงค์ของหัวข้อนี้เพื่อวิเคราะห์ว่า ส่วนล่างของกลุ่มหินแก่งกระจานควรจะเป็นหินอะไร โดยที่ในประเทศไทยยังไม่เคยพบหลักฐานว่าล่างสุดของกลุ่มหินแก่งกระจานซึ่งเป็นหิน Laminated mudstones นั้นวางตัวอยู่บนหินอะไร วิธีนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมในระดับนานาชาติ วิธีการคือสืบค้นจากรายงานว่าลำดับชั้นหิน Gondwana glaci<strong>al</strong> deposits ที่พบในประเทศอื่นที่สะสมตัวในช่วงเดียวกับกลุ่มหินแก่งกระจานว่ามีลำดับชั้นหินเป็นอย่างไร ทั้งนี้เพราะการเกิดของ Gondwana glaci<strong>al</strong> deposits ในอดีตนั้นกว้างขวางมาก ดั่งที่ปัจจุบันพบว่าชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานพบเป็นแนวยาวมากกว่า 1000 กิโลเมตรจากเกาะสุมาตรา มาเลเชีย ไทยขึ้นไปทางเหนือจนถึงยูนนานและทิเบต วิธีการดังกล่าวนี้ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น ก็จะเหมือนกับเรานำลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานที่พบที่ภูเก็ตมาใช้กับบริเวณกาญจนบุรี ในที่นี้ได้เทียบเคียงกับลำดับชั้นหินใน 5 ประเทศ คือ อินเดีย แอฟริกาใต้ ออสเตรเลียมาเลเซีย และจีนที่ประเทศแอฟริกาใต้ (Visser, 1989) ได้จัดให้Dwyka Formation เป็นส่วนล่างสุดของ KarooSequence และประกอบด้วยตะกอนขนาดใหญ่ของRudaceous rocks ได้แก่ Diamictites, varved sh<strong>al</strong>e,mudstone, fluvioglaci<strong>al</strong> gravel and conglomerateซึ่งในก้อนกรวดมีรอยขูดหรือ Striation อันเป็นหลักฐานสำคัญว่าเกิดจาก Continent<strong>al</strong> glaci<strong>al</strong> origin (ซึ่งเป็นส่วนที่เกิดทางต้นน้ำและบนบก ซึ่งจะต่างกับของกลุ่มหินแก่งกระจานที่ส่วนใหญ่แปลให้เกิดแบบ glaciomarineenvironment หรือเกิดในทะเล) Dwyka Formationมีอายุช่วง Late Carboniferous to Early Permianอย่างไรก็ตาม Visser (1989) ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าชั้นหินที่สะสมตัวแบบ End moraine และ glaciomarine (ซึ่งเป็นส่วนที่เกิดแบบปลายน้ำและเกิดในทะเล) ที่พบไปทางด้านใต้นั้นเป็นหินอะไรที่ประเทศอินเดีย Singh (1993) กล่าวว่าที่บริเวณ Arunach<strong>al</strong> Him<strong>al</strong>aya ลำดับชั้นหินของ LowerGondwana Supergroup ประกอบด้วย 3 หมวดหินจากล่างขึ้นบน คือ Rangit Formation (สะสมตัวแบบpolymictic tillite), Garu Formation (blackcarbonaceous and brown ferruginous sh<strong>al</strong>e withconcr<strong>et</strong>ions containing marine fossils) และ BhareliFormation (arkosic and quartzitic sandstone,associated with sh<strong>al</strong>e and thin co<strong>al</strong> bands) ซึ่งพบซากดึกดำบรรพ์หลายชนิดในหมวดหินเหล่านี้ระบุอายุPermian ในส่วนของ Rangit Formation นั้น clastsของ paraconglomerate มีขนาดตั้งแต่ granule ถึงboulder ส่วนใหญ่เป็นพวก Quartzite (ซึ่งเหมือนกับที่พบในไทย) นอกจากนั้นยังพบ limestone, sandstone,sh<strong>al</strong>e, slate, phyllite, schist, gneiss, chert, และส่วนน้อยเป็นแกรนิต และพบ Striation ในกรวดพวกนี้ด้วยลำดับชั้นหินบนขึ้นไปประกอบด้วย sh<strong>al</strong>e withinterc<strong>al</strong>ated, thin band of fine grained siltstoneและมักพบ Burrows และพบหินโคลนปนกรวด ที่กรวดมีขนาดเล็กด้วย ซึ่งในส่วนนี้อาจเทียบได้กับลำดับชั้นหินของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่พบในประเทศไทยDomack <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1993) รายงานว่าที่Tasmania ประเทศออสเตรเลีย ส่วนล่างของ glaci<strong>al</strong>marine pebbly mudstones ยุค late P<strong>al</strong>eozoicประกอบด้วย Tillites หรือ Structureless diamictitesบนขึ้นไปวางปิดทับด้วยชั้นของ Stratified diamictitesที่มี dropstone สลับกับชั้นของหินโคลนปนกรวด (Pebbly mudstone) กรวดจะลดปริมาณลงในส่วนบนและเนื้อหินเปลี่ยนเป็นหินโคลน เนื้อแน่น (massivemudstone) ซึ่งลักษณะการเปลี่ยนของเนื้อหินจากPebbly mudstone ขึ้นไปเป็น Massive mudstone ก็พบในหลายบริเวณในประเทศไทย เช่น ที่แหลมพันวาแหลมพับผ้า เกาะเฮ และที่เพชรบุรีที่เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย Altermann (1987) รายงานว่า Upper P<strong>al</strong>eozoic SinghaFormation วางตัวแบบไม่ต่อเนื่องบน LowerRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินที่อยู่ใต้กลุ่มหินแก่งกระจาน31P<strong>al</strong>eozoic rocks แต่จะถูกปิดทับอย่างต่อเนื่องด้วยChuping Limestone ได้ทำการศึกษาชั้นหินของSingha Formation ใน 3 บริเวณ คือ Pulau Ular,Pulau Singha และ Pulau Tepor ซึ่งลำดับชั้นหินจะคล้ายกับที่พบในประเทศไทย ชั้นหินวางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในส่วนล่างเป็น Thinbedded siltstones ที่มี lenticular bed และมีBurrows มากเป็นพวก horizont<strong>al</strong> holes (ซึ่งคงเทียบได้กับ Thin bedded sandstones and mudstonesของหมวดหินแหลมไม้ไผ่) และปิดทับด้วย Pebblyrocks(เทียบกับหมวดหินเกาะเฮ) และในส่วนบนเปลี่ยนเป็น Siltstone and mudstone layer ที่มีlenticular bed และ vertic<strong>al</strong> burrows และปิดทับด้วยChuping Limestoneที่ Lhasa block ในประเทศจีน ซึ่งอยู่ทางเหนือของเทือกเขาหิมาลัย หิน Pebbly rocks บริเวณนี้จัดอยู่ใน Poindo Group (Jin, 2002) โดยวางตัวไม่ต่อเนื่อง (unconformable) บน Lower Carboniferous clasticsand limestone ในส่วนล่างของ Poindo Groupประกอบด้วย Diamictite ปิดทับด้วย Pebblymudstone และ dark-colored fine clastics ตามลำดับ ซึ่งแปลให้เกิดจาก Glaciomarine depositsลักษณะของชั้นหินที่เปลี่ยนจาก Diamictite ขึ้นไปเป็นPebbly mudstone นี้ยังพบที่ Tengchong block และBaoshan block โดยเฉพาะที่ Tengchong block นั้นพบเกิดเป็นวัฐจักร(cycle) อยู่หลายครั้ง ซึ่งการสะสมตัวเช่นนี้เป็นไปตามหลักของ Deposition<strong>al</strong> sequenceสรุป จากหลักฐานลำดับชั้นหินที่พบในประเทศอินเดีย ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ และจีน ได้ว่าหินพวกนี้สะสมตัวเป็นส่วนหนึ่งของ deposition<strong>al</strong>sequence ที่เกิดสะสมตัวหลาย cycles ชั้นหินล่างสุดของวัฐจักรเป็นหินกรวดมน (conglomerate) บนขึ้นไปปริมาณของกรวดลดน้อยลงกลายเป็น Diamictite หรือPebbly rocks ซึ่งเปลี่ยนขึ้นไปเป็น massivemudstone (เช่น ที่ Tasmania, Lhasa block และที่แหลมพันวา เกาะเฮ จังหวัดภูเก็ต และที่เพชรบุรี) และเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลนสลับกับหินทราย/หินทรายแป้ง (เช่น ที่อินเดียและที่เกาะโหลน อ่าวมะขาม แหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต) และบนสุดของ deposition<strong>al</strong>sequence จะเปลี่ยนโดยมีขนาดของตะกอนละเอียดขึ้นเป็น Laminated mudstone ดังเช่นที่พบบริเวนแหลมไม้ไผ่และแหลมตุ๊กแกของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งลักษณะลำดับชั้นหินเช่นนี้คล้ายกับที่ Eyles and Eyles(1992) อธิบายไว้ในหนังสือ Facies Models3.3Late Carboniferous hiatusin Peninsular Thailandปัจจุบันยังมีความเข้าใจที่สับสนเกี่ยวกับชั้นหินช่วงอายุ Carboniferous-Permian ของคาบสมุทรไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Shan-Thai terrane ใน 2 ประเด็นหลัก คือกลุ่มหินแก่งกระจานมีอายุอยู่ในช่วงใด และอีกประเด็นคือลำดับชั้นหินตั้งแต่ LowerCarboniferous ถึง Permian มีความต่อเนื่องกันหรือไม่หรือมีช่วงที่ขาดหายไปของชั้นหินคั่นอยู่ (hiatus) เหตการณ์ของการเกิด Late Carboniferous hiatus บนแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทยของประเทศไทย ได้ถูกนำเสนอไว้ใน พล เชาว์ดำรงค์ (2546), พล เชาว์ดำรงค์ และคณะ (2547), Chaodumrong (2007, 2008)วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของหัวข้อนี้ ก็เพื่อกระตุ้นให้มีการรวบรวม/ทบทวนข้อมูลที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่มาก่อนแล้ว ว่ามีข้อมูลใดที่ยังมีความน่าเชื่อถือและข้อมูลใดที่ล้าสมัยไปแล้ว ทั้งนี้เพื่อความรุดหน้าทางวิชาการที่จะนำไปต่อยอดได้ถูกต้อง มิได้มีความประสงค์ที่จะมาตำหนิว่าข้อมูลของใครถูกหรือผิด ผู้อ่านพึงเข้าใจในหลักสัจธรรมที่ว่า สิ่งที่วันนี้คิดว่าถูกต้อง เมื่อมีการค้นคว้ามากขึ้น มีหลักฐานใหม่เพิ่มมากขึ้น สิ่งที่สมัยหนึ่งเคยคิดว่าถูกต้องอาจผิดพลาดได้ข้อมูลทางธรณีวิทยาก็เช่นกัน ดังนั้นถ้าไม่มีการสังคายนา อาจทำให้ผู้อ่าน (ที่ไม่นิยมอ่านหลายๆ เล่ม)นำเอาข้อมูลที่ล้าสมัยหรือคลาดเคลื่อนไปอ้างต่อต่อกันไป อันเป็นผลทำให้การแปลความหมายผิดพลาดในที่สุดลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


32บทที่ 3รายงานนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่าได้เกิด Hiatusหรือมีช่วงที่ชั้นหินขาดหายไปเกิดขึ้นในช่วงยุค UpperCarboniferous ของพื้นที่บริเวณคาบสมุทรไทย หรือShan-Thai terrane และมีแนวโน้มต่อเนื่องไปในประเทศมาเลเซียด้วย ซึ่ง Hiatus ดังกล่าวนี้เทียบเคียงได้กับที่พบใน Baoshan block ที่อยู่ทางด้านตะวันตกของยูนนาน ประเทศจีนประเด็นอายุเริ่มต้นของกลุ่มหินแก่งกระจานจุดที่น่าสนใจอยู่ที่อายุเริ่มต้นของกลุ่มหินแก่งกระจาน ในทางธรณีเทคโทนิคจะมีความสำคัญเพราะเกี่ยวข้องกับอายุของการแยกตัวของแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทย (Shan-Thai terrane) ออกมาจากGondwan<strong>al</strong>and จากการรวบรวมและทบทวนข้อมูลจากรายงานที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว พบว่ามีความเชื่อใน2 กลุ่มคือ 1) มีอายุเริ่มต้นที่ Upper Carboniferous orolder และ 2) มีอายุเริ่มต้นที่ Lower Permian กลุ่มที่เชื่อว่ามีอายุ Upper Carboniferous orolder เป็นความเชื่อส่วนใหญ่ของนักธรณีวิทยาไทย ดังเช่นที่ปรากฏในแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:250,000 ของภาคใต้ในเกือบทุกระวางแผนที่ และในหนังสือธรณีวิทยาประเทศไทย (มนตรี ศิลปาลิต และคณะ, 2528; วีรศักดิ์ นคินทร์บดี และคณะ, 2528; พิสิทธิ์ ธีรดิลก และคณะ, 2528ก, 2528ข; จำรัส มหาวัจน์และคณะ, 2528; เสถียร สนั่นเสียง และคณะ, 2528;นภดล มัณฑะจิตร และคณะ, 2528; Piyasin, 1975b;Hills, 1989; Lumjuan, 1993; เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และธนิศร์ วงศ์วานิช, 2536; กรมทรัพยากรธรณี, 2544;Raksaskulwong, 2002) หลักฐานที่กลุ่มนี้นำมาสนับสนุนมี เช่น 1) ข้อมูลของ Piyasin (1975a, 1975b) ที่ในรายงานเขียนไว้ว่าพบซากดึกดำบรรพ์ “สภาพไม่สมบูรณ์” ของ Chon<strong>et</strong>es sp. ในหมวดหินห้วยพุน้อยและได้ให้มีอายุ Upper Devonian และพบ Fenestellasp. และ Polypora sp. อายุ Upper Carboniferous ในหมวดหินเขาเจ้า อย่างไรก็ดีในปัจจุบันเชื่อว่าการตรวจวิเคราะห์ “Chon<strong>et</strong>es sp” น่ามีความคลาดเคลื่อนรวมทั้งอายุของ “Fenestella sp. และ Polypora sp” ก็ควรเป็น Early Permian (หรืออาจมีอายุอ่อนถึงMiddle Permian เมื่อยึดตามผลการตรวจ brachiopodsที่เกิดร่วมด้วย) ซึ่ง Sakagami (1966b, 1968a, 1968b,1968c, 1971, 1973) ได้ทำการศึกษาและพบ bryozoaจำนวนมากในหลายบริเวณ เช่น ที่เขาตาม่องล่าย เขาช่องกระจก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขาพริก เขาเรือน จังหวัดราชบุรี เกาะมุก จังหวัดตรัง และที่ชุมพร ก็ให้มีอายุ Early Permian 2) ข้อมูลอีกชิ้นหนึ่งที่นำมาอ้างกันมากคือข้อมูลการพบ brachiopod พวก Spirifer และSpiromartinia ในหมวดหินสปิลเวย์ ที่แหลมไม้ไผ่จังหวัดภูเก็ต (ในรายงานของ เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และ ธนิศร์ วงศ์วานิช, 2536 ที่จุดพิกัด 439871) ซึ่งในรายงานกล่าวว่ามีรูปร่างบิดเบี้ยว พร้อมระบุว่าตัวอย่าง“ไม่เพียงพอต่อการระบุอายุที่ชัดเจนได้” จึงได้ให้อายุกว้างๆ เป็น Early Carboniferous- Early Permian ซึ่งปัจจุบันมีรายงานวิชาการระบุว่าทั้ง Spirifer sp. และSpiromartinia sp. มีอายุ Early Permian (Grant,1976; Waterhouse, 1981; Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1997) 3) เหตุผลอีกประการที่นำมาอ้างกันมากคือการพบซากดึกดำบรรพ์อายุ Early Permian ในตอนบนของกลุ่มหินแก่งกระจาน (หมวดหินเขาพระ) เลยทำให้สันนิฐานว่าชั้นหินส่วนล่างของกลุ่มหินซึ่งยังมีความหนามากพอสมควร น่าจะมีอายุถึง Upper Carboniferousข้อควรระวังสำหรับแนวคิดเช่นนี้ก็คือ ต้องทราบว่าหินแต่ละสภาวะแวดล้อมจะมีอัตราการสะสมตัวที่แตกต่างกันมาก เช่น thin bedded chert ที่เกิดในมหาสมุทรลึกจะเกิดช้ามาก ช่วงอายุหลายสิบล้านปีอาจมีความหนาไม่กี่เมตร แต่ถ้าเป็นการสะสมตัวแบบ debris flowdeposits (เช่น submarine fan, <strong>al</strong>luvi<strong>al</strong> fan) ช่วงเวลาร้อยปีอาจมีตะกอนหนาเป็นร้อยเมตรRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินที่อยู่ใต้กลุ่มหินแก่งกระจาน33ในชั้นนี้ สรุปได้ว่าซากดึกดำบรรพ์ที่เคยพบมาทั้งหมดในภาคใต้ ไม่เคยมีอายุ Upper Carboniferousหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่ากลุ่มหินแก่งกระจานมีอายุเริ่มต้นที่ Lower Permian ได้รับข้อมูลสนับสนุนจากการตรวจวิจัยซากดึกดำบรรพ์ ในรายงานเผยแพร่หลังปี 2523 เช่น Waterhouse (1982), Shi andWaterhouse (1991) และ Shi and Archbold (1995) ที่พบ cold-water brachiopods อายุ Late Asselian orEarly Sakmarian ในหิน pebbly mudstone ในส่วนบนของกลุ่มหินแก่งกระจานที่เกาะมุก เกาะพีพี ส่วนชั้นหินที่วางตัวบน pebbly mudstone ที่เกาะยาวน้อย ก็พบBrachiopods (Waterhouse, 1981) ได้อายุ earlyPermian(Sakmarian) ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Shi<strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1997) ที่พบ brachiopod จากส่วนบนของ SingaFormation ที่เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเทียบได้กับเกาะยาวน้อย และให้อายุ Early Permian เช่นเดียวกัน Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (2001) พบ Brachiopod ในหินทรายสีขาวของหมวดหินเขาพระ ที่ชุมพร ส่วนใหญ่เป็นพวกMeekella bisculpta Grant ส่วนน้อยเป็นพวกCostatumulus sp. ให้อายุ Early Permian (Sakmarian)จึงสรุปได้ว่ากลุ่มหินแก่งกระจานควรมีอายุเริ่มต้นที่Early Permian คำถามที่ตามมา คือ เกิดอะไรขึ้นในช่วง UpperCarboniferous ทำไมถึงไม่เคยพบซากดึกดำบรรพ์อายุดังกล่าวในประเทศไทย ทั้งๆ ที่มีการสำรวจในรายละเอียดกันอย่างกว้างขวางในพื้นที่ดังกล่าวและลำดับชั้นหินช่วง Lower carboniferous และ Permian มีความต่อเนื่องหรือไม่คำถามของหัวข้อนี้มีความหมายต่อการแปลธรณีประวัติของประเทศไทย ข้อมูลในปัจจุบันส่วนใหญ่ให้ลำดับชั้นหินมีความต่อเนื่องกันขึ้นไป (Lumjuan,1993; กรมทรัพยากรธรณี, 2544) แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทำการตรวจสอบในภาคสนามแล้ว ยังไม่เคยพบว่ามีบริเวณใดที่มีลำดับชั้นหินของ Lower Carboniferousต่อเนื่องขึ้นไปหาชั้นหินของ Lower Permian รวมทั้งพื้นที่ท้องที่อำเภอขนอม (อภิชาต ลำจวน- สอบถามส่วนตัว)ทั้งๆ ที่ในภาคใต้มีการพบซากดึกดำบรรพ์มากมายหลายบริเวณที่มีอายุ Lower Carboniferous, Lower Permianจนถึง Upper Permian แต่ยังไม่เคยพบซากดึกดำบรรพ์ของ Upper Carboniferous สำหรับซากดึกดำบรรพ์ อายุLower Carboniferous พบอยู่หลายบริเวณส่วนใหญ่เป็นหอยพวก Posidonomya sp. เช่นพบในหมวดหินควนกลาง ของจังหวัดสตูล และพบอีกที่ขนอม และบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ส่วนซากดึกดำบรรพ์อายุLower Permian นั้นพบอยู่มากมายหลายบริเวณในภาคตะวันตกและภาคใต้ โดยพบทั้ง Cor<strong>al</strong>s, Brachiopods,Bryozoa มีหลายบริเวณที่ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้รับการร้องขอให้สนับสนุนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น การพบ Brachiopods และ bryozoa ที่เขาวังกระแจะจังหวัดกาญจนบุรี และที่เขาพนม จังหวัดกระบี่ข้อมูลที่สนับสนุนการเกิด Late Carboniferoushiatus หรือช่วงที่ขาดหายไปของชั้นหินในบริเวณ Shan-Thai terrane ของคาบสมุทรไทยประกอบด้วย เช่น1) ไม่มีหลักฐานว่ากลุ่มหินแก่งกระจานซึ่งมีอายุเริ่มต้นที่ Lower Permian ว่าวางตัวอยู่บนหินอะไร (รวมทั้งที่เกาะลังกาวี และที่ Baoshan block)2) ไม่มีลำดับชั้นหินในคาบสมุทรไทยที่แสดงความต่อเนื่องจาก Lower carboniferous ถึง LowerPermian3) ไม่พบซากดึกดำบรรพ์อายุ UpperCarboniferous ใน Shan-Thai terrane ของคาบสมุทรไทย4) ธรณีวิทยาของคาบสมุทรไทย (Shan-Thai terrane) เทียบเคียงได้กับของ Baoshan block ที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมณฑลยูนนานประเทศจีนซึ่งพบว่าเกิด Late Carboniferous hiatus ด้วยลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


บทที่4ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน4.1 การแบ่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานที่ผ่านมาการจำแนกลำดับชั้นหินตามมาตรฐานสากลมีหลายแบบ แต่ที่นิยมและถือเป็นแนวปฏิบัติสำหรับการทำแผนที่ธรณีวิทยา คือจำแนกโดยใช้เกณฑ์ของลักษณะของหินและความสัมพันธ์ของลำดับชั้นหินเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า Lithostratigraphic unit (หน่วยหิน)ภายใต้คำนิยามนี้ หินทุกชนิด คือ หินอัคนี หินชั้น และหินแปร จะถูกจำแนกเป็นหน่วยหินต่างๆ Murphy andS<strong>al</strong>vador (1999) กล่าวไว้ในรายงาน “Internation<strong>al</strong>Stratigraphic Guide” จัดทำโดย Internation<strong>al</strong>Commission on Stratigraphy (ICS) ว่าหน่วยหินหรือLithostratigraphic unit ให้แบ่งโดยใช้ลักษณะทางกายภาพที่สังเกตเห็นได้ ไม่ใช้อายุหรือธรณีประวัติมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ลำดับชั้นหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบนสามารถแยกได้เป็น 2 ส่วน คือส่วนล่างเป็นหินทรายหินดินดาน หินโคลนเนื้อปนกรวด ในหลายพื้นที่พบซากดึกดำบรรพ์มากหลายชนิด และส่วนบนเป็นหินปูนลักษณะเช่นนี้พบแผ่กระจายอย่างกว้างขวางเป็นแนวยาวตั้งแต่มาเลเซีย ผ่านขึ้นมาตลอดคาบสมุทรไทยเข้าไปในพม่าจนถึงประเทศจีนบริเวณยูนนานด้านตะวันตก สำหรับประเทศไทยชั้นหินในส่วนล่างพบตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรี บริเวณด้านใต้ของรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ลงไปตลอดภาคใต้ ชั้นหินเหล่านี้มีการเรียกชื่อกันหลายแบบขึ้นอยู่กับคณะสำรวจแต่ละคณะเช่น กลุ่มหินแก่งกระจาน กลุ่มหินภูเก็ต กลุ่มหินอันดามันกลุ่มหินตะนาวศรี เป็นต้น และแต่ละกลุ่มหินยังประกอบขึ้นด้วยหลายหมวดหินที่มีชื่อแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดความยุ่งยากและสับสนของการเรียกชื่อลำดับชั้นหิน แม้ว่าปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณียอมรับให้ใช้ชื่อกลุ่มหินแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Group) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการ แต่ชื่อขององค์ประกอบในระดับของหมวดหินก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ว่าควรจะประกอบขึ้นด้วยหมวดหินใดบ้าง และมีลักษณะหินเป็นอย่างไร กลุ่มหินแก่งกระจาน (Kaeng KrachanGroup) ตั้งโดย Piyasin (1975b) โดยยกฐานะขึ้นมาจากหมวดหินแก่งกระจานซึ่งเป็นส่วนบนของกลุ่มหินตะนาวศรี ปัจจุบันหมายถึงลำดับชั้นหินที่ประกอบส่วนใหญ่ด้วยหินโคลนปนกรวด หินทราย และหินดินดานพบแผ่ครอบคลุมตั้งแต่ใต้ของรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ลงไปจนตลอดภาคใต้ และมีรอยสัมผัสแบบต่อเนื่องอยู่ใต้หินปูนของกลุ่มหินราชบุรี สำหรับขอบเขตด้านล่างของกลุ่มหินแก่งกระจานนั้น ไม่พบว่าวางบนชั้นหินใด และจากการสำรวจ ตรวจสอบของงานวิจัยครั้งนี้ที่เขาสีอิน และที่ควนกลาง (หมวดหินควนกลาง) ก็ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับหมวดหินใด (ดูรายละเอียดในบทที่ 3)Piyasin (1975b) ให้กลุ่มหินแก่งกระจานประกอบด้วย 3 หมวดหิน จากอายุมากไปหาน้อย คือหมวดหินห้วยพุน้อย หมวดหินเขาพระ และ หมวดหินเขาเจ้า ต่อมา เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และ ธนิศร์ วงศ์วานิช


36บทที่ 4(2536) ได้ศึกษาลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน ในพื้นที่กว้างตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีลงไปภาคใต้ ได้จัดให้กลุ่มหินแก่งกระจานประกอบด้วย 4 หมวดหิน เรียงลำดับจากอายุมากไปหาน้อย คือ หมวดหินเขาวังกระดาด หมวดหินสปิลเวย์ หมวดหินเกาะเฮ และหมวดหินเขาพระ โดยยกเลิกหมวดหินห้วยพุน้อย ของ Piyasin(1975b) พร้อมตั้งหมวดหินเขาวังกระดาด หมวดหินสปิลเวย์ หมวดหินเกาะเฮ ขึ้นมาแทน โดยจัดให้ชั้นหินทรายสลับหินโคลนอยู่ในหมวดหินหินสปิลเวย์ และหินเนื้อปนกรวด (pebbly rocks) อยู่ในหมวดหินเกาะเฮสำหรับหมวดหินบนสุดคือหมวดหินเขาพระ มีความหมายเท่ากับ “หมวดหินเขาพระ” บวก “หมวดหินเขาเจ้า” ของPiyasin (1975b) โดยให้เหตุผลว่า “หมวดหินเขาเจ้า” มีความหนาไม่มากและพบเฉพาะบางบริเวณ เช่น ราชบุรีเท่านั้น แต่จากการสำรวจในรายงานฉบับนี้พบว่าหินทรายของหมวดหินเขาเจ้าแผ่กระจายอย่างกว้างขวางในขณะที่ชั้นหินโคลนปนกรวด หินทรายสลับหินดินดาน และหินดินดาน ก็โผล่เห็นได้ดีบริเวณจังหวัดภูเก็ตและบริเวณใกล้เคียง จึงมีนักวิจัยหลายคณะมาทำการสำรวจในบริเวณนี้ (Mitchell, <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,1970; Garson <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1975, Pitakpaivan andMantajit, 1981; Altermann, 1987; Hills, 1989) ชื่อ“กลุ่มหินภูเก็ต” (Phuk<strong>et</strong> Group) เป็นอีกชื่อทีได้รับความนิยมใช้และอ้างถึงบ่อยครั้ง ตั้งขึ้นโดย Mitchell,<strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) ซึ่งตอนนั้นได้รวมหินทรายของกลุ่มหินตะรุเตาและหินปูนของกลุ่มหินทุ่งสงเข้าไปด้วย ทั้งMitchell, <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) และ Altermann (1987) ให้กลุ่มหินภูเก็ต ประกอบด้วยหมวดหินแบบไม่เป็นทางการ 2 หมวดหิน คือ Lower Formation และUpper Formation ในขณะที่ Hills (1989) แบ่งกลุ่มหินภูเก็ตออกเป็น 3 หมวดหิน เรียงจากล่างขึ้นบน คือหมวดหินแหลมไม้ไผ่ (Laem Mai Phai Formation)หมวดหินเกาะโหลน (Ko Lon Formation) และหมวดหินอ่าวโล๊ะดาลัม (Ao Lohd<strong>al</strong>um Formation) (ตารางที่ 4.1)สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่ลงตัวระหว่างกลุ่มหินแก่งกระจานและกลุ่มหินภูเก็ต ก็เนื่องจากมีลำดับชันหินที่ไม่เหมือนกันระหว่างด้านทะเลอันดามันและด้านอ่าวไทยเพื่อทำให้ปัญหาข้างต้นกระจ่างขึ้น วัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งของการวิจัยครั้งนี้ ก็เพื่อบูรณาการข้อมูลการจัดลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานให้มีความสมบูรณ์ตามมาตรฐานสากล โดยยึดเกณฑ์ ตามคำแนะนำใน Internation<strong>al</strong> Stratigraphic Guide ของInternation<strong>al</strong> Union of Geologic<strong>al</strong> Sciences หรือIUGS (Hedberg, 1976; Murphy and S<strong>al</strong>vador, 1999)การเทียบเคียงการแบ่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานของงานวิจัยครั้งนี้ เทียบกับคณะสำรวจต่าง ๆ ที่ผ่านมา ได้แสดงไว้ในตารางที่ 4.14.2ความสำคัญของหินทรายเนื้อควอตซ์ในกลุ่มหินแก่งกระจานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่า กลุ่มหินแก่งกระจานถูกปิดทับอย่างต่อเนื่องด้วยหินปูนของกลุ่มหินราชบุรี(Ratburi Group) หรือที่สมัยก่อนเรียกกันว่าหินปูนราชบุรี (Ratburi Limestone) ดังนั้นขอบเขตของกลุ่มหินทั้งสองตามการจำแนกแบบ Lithostratigraphic unitsจึงแบ่งตรงส่วนล่างของหินปูนชั้นหนาในการสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:250,000 ของหลายบริเวณในภาคใต้ เช่น ระวางจังหวัดนครปฐม (พิสิทธิ์ ธีรดิลก และคณะ, 2528ก)ระวางอำเภอหัวหิน (พิสิทธิ์ ธีรดิลก และคณะ, 2528ข)ระวางจังหวัดชุมพร (จำรัส มหาวัจน์ และคณะ, 2528)ระวางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (มนตรี ศิลปาลิต และคณะ,2528) และระวางจังหวัดภูเก็ต (ชัยยันต์ หินทอง และคณะ, 2528) และแผนที่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช(Lumjuan, 1993) พบว่าส่วนบนของกลุ่มหินแก่งกระจาน ประกอบด้วยหิน orthoquartzite หรือ quartzarenite แสดงว่าหินทรายดังกล่าวมีการแผ่กระจายอย่างกว้างขวาง ซึ่งสามารถใช้เป็น key bed ที่สำคัญได้ซึ่งสอดคล้องกับการแบ่งกลุ่มหินแก่งกระจานของแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:1,000,000 ฉบับล่าสุด (2542)ที่ประกอบด้วยเพียง 2 หมวดหินคือ หมวดหินเขาพระและหมวดหินเขาเจ้า และสอดคล้องกับผลของการสำรวจของรายงานฉบับนี้ที่พบว่ามีหินทรายเนื้อควอตซ์แผ่กระจายอย่างกว้างขวางในส่วนบนของกลุ่มหินแก่งกระจานของพื้นที่สำรวจจากกาญจนบุรีลงไปภาคใต้ Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


40ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่ตารางที่ 4.1 การแบ่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานของการวิจัยครั้งนี้เทียบกับการศึกษาที่มีมาก่อน 4.1 Mitchell, <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1970) andAltermann (1987)Phuk<strong>et</strong>UpperRidd(1971)Phuk<strong>et</strong>Kaeng KrachanPiyasin(1975b)Pitakpaivan andMantajit (1981)Hills(1989) , (2536)(2544)(2542) Group Formation Group Formation Formation Group Formation Group Formation Group Formation Group FormationKhao Chao Ko Yao NoiKhaoAo Loh D<strong>al</strong>um270-760 m 330-410 mChaoKhao ChaoLowerKhao Phra344-520 mHuai Phu Noi205-480 mPhuk<strong>et</strong>Ko LonLaem Mai PhaiKaeng KrachanKhao Phra120 mKo He120 mSpillway120 mKhao WangKradat104 mKaeng KrachanKhao Phra (kaeng Krachan)Khao Phra Ko HeLaem Mai PhaiSpillwayลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน 4.1 ()37


4138Group FormationKhao ChaoKhao PhraKo HeSpillway (kaeng Krachan)Laem MaiPhaiบทที่ 4ตารางที่ 4.1 (ต่อ)Tantiwanit <strong>et</strong> a.(1983)GrouppLumjuan(1993) (2528) (2528) (2528) (2528) (2528) (2528)Formation Formation Group Formation Group Fm Group Fm Group Fm Group FormationUpper unit AndamanKaeng KrachanPhuk<strong>et</strong>Ko Yao NoiLower unitRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน39แก่งกระจาน ที่วางตัวอยู่ใต้หินปูนนั้นมีหินทราย quartzarenite to subarkose อยู่ด้วย ซึ่งมีลักษณะเด่น สังเกตได้ง่าย เช่นที่ เขาแก้วน้อย จังหวัดกาญจนบุรี ที่เขาปากกว้าง จังหวัดราชบุรี ที่แหลมทาบ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพบที่ยูนนานด้านตะวันตก ของประเทศจีนด้วย ซึ่งแสดงว่าหินทรายนี้มีความสำคัญจากการสำรวจในครั้งนี้ พบว่าลักษณะของชั้นหินที่อยู่ใต้กลุ่มหินราชบุรีบริเวณเขาปากกว้าง และเขาล้าน จังหวัดราชบุรี ที่ด้านตะวันตกของ เขาพุเลียบจังหวัดกาญจนบุรี และที่เขาตาม่องล่าย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่าในส่วนล่างชั้นหินเปลี่ยนจากหินดินดานและหินโคลน สีเทาสลับสีแดง ในบางช่วงมีชั้นหินปูนสลับ สูงขึ้นไปเป็นหินทรายเนื้อควอตซ์ หรือquartz arenite to subarkose เป็นชั้นบางถึงชั้นหนาบางช่วงแสดงชั้นเฉียงระดับ แล้วเปลี่ยนไปเป็นการสลับกันเป็นชั้นขนาดบาง ของหินโคลน หินทรายและหินปูนซึ่งช่วงนี้หนาประมาณ 5-10 เมตร พบมีซากดึกดำบรรพ์มากทั้ง brachiopods, pelecypods และ crinoidstems มักพบลักษณะเด่นอีกประการคือซากดึกดำบรรพ์พวกหอยจะเรียงตัวเป็นชั้นบางๆ (Thinly shell beds) จากนั้นจะเปลี่ยนไปเป็นหินปูนของกลุ่มหินราชบุรี ลักษณะของลำดับชั้นหินที่มีหินปูนมาแทรกสลับเป็นระยะก่อนเปลี่ยนไปเป็นหินปูนล้วนๆของกลุ่มหินราชบุรีนั้น แสดงถึงการค่อยเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องจาก clastic environment ไปเป็น carbonateenvironmentในการทำแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:50,000 เส้นดินสอหรือปากกามีความหนาประมาณ 0.5 มม. หรือกว้างบนผิวดินประมาณ 50 เมตร ดังนั้น Mapable unit ที่ลงบนแผนที่ได้ จึงควรพบแผ่กระจายกว้างมากว่า 150 เมตรขึ้นไป ซึ่งจะให้ polygon มีขนาดกว้างตั้งแต่ 3 มม. ขึ้นไป (พล เชาว์ดำรงค์, 2544)ด้วยหินทรายเนื้อควอตซ์ ที่มีส่วนประกอบเป็นquartz arenite ถึง subarkose เป็น stratigraphic keybed ที่มีความสำคัญดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ประกอบกับหมวดหินเขาเจ้า ของ Piyasin (1975b) ก็ระบุว่ามีquartz arenite หรือ protoquartzitic sandstone เป็นลักษณะเด่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แยกจากหมวดหินอื่นได้ อีกทั้งจากการสำรวจชั้นหินที่เขาพระ จังหวัดเพชรบุรี อันเป็น Type location ของหมวดหินเขาพระ ก็ไม่พบว่าส่วนบนของชั้นหินที่เขาพระมีหินทรายเนื้อควอตซ์แต่อย่างใด ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของSawata <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1975) ที่ได้ทำการวัดลำดับชั้นหินอย่างละเอียด พบว่าส่วนใหญ่เป็นการสลับกันของหินโคลนที่เป็นชั้นดีกับที่ไม่แสดงชั้น ดังนั้นในรายงานฉบับนี้จึงเสนอให้คงชื่อ หมวดหินเขาเจ้า ไว้เป็นหมวดหินบนสุดของกลุ่มหินแก่งกระจาน (ตารางที่ 4.1)4.3 ความสำคัญของ Thin beddedsandstone and mudstone และlaminated mudstone ในกลุ่มหินแก่งกระจานชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานบริเวณเกาะภูเก็ตที่พบมากและพบทั่วไปมี 3 ประเภทซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันคือ Pebbly rocks, Thin beddedsandstone and mudstone และ Laminatedmudstone โดยเฉพาะหินสองประเภทหลังนั้นเป็นลักษณะเด่นของเกาะภูเก็ต ซึ่งจะต่างจากพื้นที่ด้านตะวันออกของคาบสมุทรไทยหรือด้านที่ติดอ่าวไทยที่พบว่ามี Thin bedded sandstone and mudstoneและ Laminated mudstone เพียงเล็กน้อย มีความหนาไม่มากและพบเฉพาะแห่ง ลักษณะเช่นนี้สนับสนุนข้อคิดที่ว่าลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานของฝั่งทะเลอันดามันกับด้านอ่าวไทยนั้นมีความต่างกันPiyasin (1975b) รายงานว่าหมวดหินห้วยพุน้อย (ที่ห้วยพุน้อย จังหวัดเพชรบุรี) ซึ่งเป็นหมวดหินล่างสุดของกลุ่มหินแก่งกระจานประกอบด้วย “Darkgrey to black well bedded sh<strong>al</strong>e…” ซึ่งเข้าใจว่าเทียบได้กับ Laminated mudstone และจากการสำรวจของรายงานฉบับนี้ที่บริเวณห้วยพุน้อย ซึ่งเป็น Typearea ของหมวดหินห้วยพุน้อย ก็พบว่ามี laminatedmudstone อยู่ด้วยที่เกาะภูเก็ต มีผู้ทำการสำรวจหลายคณะ แต่รายงานผลตรงกันว่าลำดับชั้นหินของ Laminatedmudstone นั้นวางตัวอยู่ในส่วนล่างของกลุ่มหินภูเก็ตลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


40บทที่ 4หรือกลุ่มหินแก่งกระจาน (เช่น Mitchell, <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1970;Garson <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1975; Pitakpaivan and Mantajit, 1981;Altermann, 1987; Hills, 1989; เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และธนิศร์ วงศ์วานิช, 2536) ซึ่งสอดคล้องกับลำดับชั้นหินที่ห้วยพุน้อย จังหวัดเพชรบุรี และสอดคล้องกับการสำรวจที่เกาะภูเก็ตของรายงานฉบับนี้ แต่ต่างกันตรงที่พบว่า Laminated mudstone เป็นส่วนบนของdeposition<strong>al</strong> sequence ที่เปลี่ยนจาก Pebblymudstone ขึ้นไปเป็น mudstone, Thin beddedsandstone and mudstone และบนสุดเป็น Laminatedmudstone ซึ่งการสะสมตัว เช่นนี้มีหลายครั้งหรือหลายวัฎจักร (cycles) ลำดับชั้นหินของวัฎจักรล่างสุดที่พบบริเวณเกาะภูเก็ต เช่น ที่แหลมไม้ไผ่ แหลมตุ๊กแกเป็นThin bedded sandstone and mudstone วางปิดทับด้วย Laminated mudstone ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ลำดับชั้นหินที่วางตัวในส่วนล่างของกลุ่มหินแก่งกระจาน เป็นการสลับกันของ Thin bedded sandstone and mudstoneอย่างไรก็ดีปัญหาที่ยังไม่ลงตัวคือจะจัดให้กลุ่มหิน Thinbedded sandstone and mudstone และ Laminatedmudstone อยู่ในหมวดหินอะไร ระหว่างหมวดหินเขาวังกระดาด หมวดหินสปิลเวย์ (เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และ ธนิศร์ วงศ์วานิช, 2536; กรมทรัพยากรธรณี, 2544)และหมวดหินแหลมไม้ไผ่ (Hills, 1989)กรมทรัพยากรธรณี (2544) กล่าวว่าหมวดหินเขาวังกระดาดมีชั้นหินต้นฉบับอยู่ที่เขาวังกระดาดอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหมวดหินล่างสุดของกลุ่มหินแก่งกระจาน มีส่วนล่างเป็นหินทรายเกรย์แวค สีเทาเขียว ชั้นหนาปานกลาง แทรกสลับกั บ หิ น ท ร า ย อ า ร์ โ ก ส แ ล ะ หิ น ท ร า ย ค ว อ ซิ ติ ก รูปที่ 4.1 ภาพถ่ายบริเวณพื้นที่แบบฉบับของหมวดหินวังกระดาดRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน41มีโครงสร้างชั้นหินแบบ Bouma sequence ส่วนบนปริมาณหินโคลนจะเพิ่มมากขึ้นและเป็นหินโคลนชั้นหนา จากการสำรวจในครั้งนี้พบว่าลำดับชั้นหินที่เขาวังกระดาดนั้น ผุและมีต้นไม้ต้นหญ้าขึ้นปกคลุม (รูปที่4.1) จึงหมดสภาพของการเป็น Type area ที่ดี หมวดหินสปิลเวย์ (กรมทรัพยากรธรณี, 2544)ประกอบด้วยหินโคลนและหินทรายแป้งเป็นชั้นดี มีหินทรายเกรย์แวคเนื้อละเอียดแทรกสลับมากขึ้นในส่วนบนมีลักษณะเด่นเป็นโครงสร้างแบบ hummocky crossbedding ซึ่งบ่งว่าเกิดสะสมตัวในทะเลตื้น นอกจากนี้ยังมี worm burrow และ bioturbation มากมาย และพบlonestone เกิดร่วมด้วย และได้รวมลำดับชั้นหินที่แหลมไม้ไผ่รวมอยู่ในหมวดหินสปิลเวย์ด้วย ซึ่งขัดแย้งกับ Hills(1989) ที่ได้ตั้งลำดับชั้นหินที่แหลมไม้ไผ่ว่าหมวดหินแหลมไม้ไผ่ (Laem Mai Phai Formation) และแปลให้เกิดสะสมตัวในทะเลลึกบริเวณ continent<strong>al</strong> slopeจากการวิจัยในครั้งนี้ พบว่าลำดับชั้นหินที่แหลมไม้ไผ่มีลักษณะแสดงว่าสะสมตัวค่อนไปทางทะเลลึก (หลักฐาน เช่น มีการสะสมตัวโดย turbidity currentมีโครงสร้างแบบ slumped structures ซึ่งแสดงว่ามีslope ของพื้นผิวค่อนข้างชัน รวมทั้งมีลักษณะชั้นหินแบบ even and par<strong>al</strong>lel beds แต่ลักษณะของBioturbation บ่งว่ามีความลึกไม่มาก) ดังนั้นในรายงานฉบับนี้จึงจัดให้ Thin bedded sandstone andmudstone และ Laminated mudstone อยู่ในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ และให้เป็นหมวดหินล่างสุดของกลุ่มหินแก่งกระจาน ซึ่งประกอบด้วย 5 หมวดหิน เรียงลำดับจากล่างไปบน คือ หมวดหินแหลมไม้ไผ่ หมวดหินสปิลเวย์หมวดหินเกาะเฮ หมวดหินเขาพระ และหมวดหินเขาเจ้า(ตารางที่ 4.1)รูปที่ 4.2 สัญญาลักษณ์ที่ใช้อธิบายความหมายของแท่งลำดับชั้นหินลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


42สัญญาลักษณ์ที่ใช้อธิบายความหมายของแท่งลำดับชั้นหินของรายงานฉบับนี้แสดงไว้ในรูปที่ 4.24.4ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน และอายุจากเหตุผลที่กล่าวข้างต้นในหัวข้อ 4.1-4.3 ถึงความเด่น เป็นเอกลักษณ์ของลำดับชั้นหินของหินทรายเนื้อควอตซ์ และ Thin bedded sandstone และmudstone และ Laminated mudstone รวมทั้งLater<strong>al</strong> facies change ทำให้ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานบริเวณฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทยมีลักษณะไม่เหมือนกัน แม้ว่าทั้งสองบริเวณ พบชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานต่อเนื่องขึ้นไปหาหินปูนของกลุ่มหินราชบุรี ในรายงานฉบับนี้ให้ กลุ่มหินแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Group) ประกอบด้วย 5หมวดหิน เรียงตามลำดับจากอายุมากไปหาน้อย คือหมวดหินแหลมไม้ไผ่ (Laem Mai Phai Formation)หมวดหินสปิลเวย์ (Spillway Formation) หมวดหินเกาะเฮ (Ko He Formation) หมวดหินเขาพระ (KhaoPhra Formation) และหมวดหินเขาเจ้า (Khao ChaoFormation) โดยหมวดหินสปิลเวย์พบสะสมตัวเฉพาะบางบริเวณ ดังนั้นในบางพื้นที่กลุ่มหินแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Group) จะประกอบด้วย 4 หมวดหิน เรียงตามลำดับจากอายุมากไปหาน้อย คือ หมวดหินแหลมไม้ไผ่ หมวดหินเกาะเฮ หมวดหินเขาพระ และหมวดหินเขาเจ้า ดังแสดงในตารางที่ 4.1อายุของกลุ่มหินแก่งกระจานจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ตีพิมพ์เผยแพร่เกี่ยวกับอายุเริ่มต้นของกลุ่มหินแก่งกระจาน ดังได้นำเสนอในรายละเอียดแล้วในหัวข้อ 3.4 สรุปได้ว่าในคาบสมุทรไทย หรือThai Peninsula ยังไม่เคยมีการพบซากดึกดำบรรพ์ของยุค Upper Carboniferous มาก่อน ซากดึกดำบรรพ์ที่พบมีอายุมากสุดคือ Lower Permian (Late Asselian / EarlySakmarian) ดังนั้น อายุของกลุ่มหินแก่งกระจานจึงเริ่มต้นที่ Lower Permianบทที่ 44.5 หมวดหินแหลมไม้ไผ่ชื่อและการเทียบเคียงกับหน่วยหินอื่น: หมวดหินแหลมไม้ไผ่ (Laem Mai Phai Formation) ตั้งโดย Hills(1989) มีตำแหน่งหินแบบฉบับอยู่ที่แหลมไม้ไผ่ จังหวัดภูเก็ต (รูปที่ 4.3) เทียบเคียงได้กับหมวดหินเขาวังกระดาด และหมวดหินสปิลเวย์ ของเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) และกรมทรัพยากรธรณี (2544), Lower Formation ของ Mitchell<strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) หมวดหินห้วยพุน้อย (Huai Phu NoiFormation) ของ Piyasin (1975b), Khlong Kaphonformation ของ Burton (1986)ลักษณะหินและลำดับชั้นหิน: ในส่วนล่างเป็นการสลับกันของหินทรายกับหินโคลน (Thinbedded sandstone and mudstone) อัตราส่วนของหินทรายต่อหินโคลนประมาณ 2:1 ถึง 1:1 หินทราย สีเทาเขียว เนื้อละเอียดปานกลาง เป็นชั้นบาง ส่วนใหญ่หนาน้อยกว่า 10 ซม. แต่บางชั้นอาจหนา 20 ซม. และมักมี Burrows ทั่วไปทั้งพวกมีแนวรูวางตัวในแนวราบ (horizont<strong>al</strong>) และเฉียงกับแนวราบ (รูปที่ 4.4) ส่วนใหญ่ความหนาของชั้นหินของหินทรายจะน้อยลง (บางขึ้น)ในส่วนบน หินโคลน มีสีเทา เป็นชั้นบาง บางช่วงแสดงlamination เช่นที่แหลมไม้ไผ่ ในส่วนบนของหมวดหินชั้นหินเปลี่ยนไปเป็นหินโคลน (laminated mudstone)มีการเรียงตัวอย่างดีแบบ lamination (รูปที่ 4.5) ชั้นหินแสดงลักษณะของ Bouma sequence ที่พบมี sharpbased and par<strong>al</strong>lel bed, graded bed เปลี่ยนขึ้นไปเป็น ripple lamination และ par<strong>al</strong>lel lamination ที่เกิดภายใต้อิทธิพลของกระแสน้ำขุ่นข้น (turbidity current)เป็นหลัก โดยพบลักษณะเช่นนี้เกิดซ้ำหลายครั้ง บางช่วงอาจมี slumped bed เกิดร่วม (รูปที่ 4.6) ชั้นหินบางช่วงเป็นหินโคลนชั้นหนา (massive mudstone)แท่งลำดับชั้นหินของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ จากชายหาดบ้านแหลมไม้ไผ่ไปอ่าวปลื้มสุข จังหวัดภูเก็ต ได้แสดงไว้ในรูปที่ 4.7Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน43อายุและซากดึกดำบรรพ์: ไม่มีรายงานว่ามีการพบซากดึกดำบรรพ์ในหมวดหินนี้ ประมาณจากการพบ sm<strong>al</strong>l brachiopod พวก Arctitr<strong>et</strong>apercostata sp. Nov., Komukia solita gen. Nov.,Cancrinelloides monticulus sp. Nov.,Rhynchopora culta sp. Nov., Kitakamithyrisburavasi, Arionthia sapa sp. Nov. และ Elasmatar<strong>et</strong>usus gen. Nov. อายุ Early Permian ในหินโคลนปนกรวดและหินทรายปนกรวด (pebbly mudstoneand sandstone) ที่เกาะมุกและเกาะพีพี (Waterhouse,1982) และจากการที่ยังไม่เคยพบซากดึกดำบรรพ์อายุคาร์บอนิเฟอรัสตอนกลางและตอนปลายในภาคใต้ (ส่วนของ Shan-Thai terrane) จึงประมาณได้ว่า หมวดหินแหลมไม้ไผ่ควรมีอายุในช่วงเพอร์เมียนตอนต้นการแผ่กระจายและความหนา: หมวดหินแหลมไม้ไผ่โผล่ชัดเจนตามชายหาดจากบ้านแหลมไม้ไผ่ไปหาดปลื้มสุข จังหวัดภูเก็ต มีความหนาประมาณ120 เมตร และพบโผล่เห็นชัดเจนในอีกหลายบริเวณของเกาะภูเก็ต เช่น ที่แหลมพับผ้า แหลมตุ๊กแก แหลมพันวา อ่าวพันวา และอ่าวมะขาม นอกจากนี้ยังพบบริเวณระหว่าง กม. 4-10 ตามถนนเพชรเกษม-หนองหญ้าปล้อง และที่ห้วยพุน้อย จังหวัดเพชรบุรี ชั้นหินแบบฉบับ: อยู่ที่ชายหาดจากบ้านแหลมไม้ไผ่ไปหาดปลื้มสุข และเสนอให้ลำดับชั้นหินบริเวณแหลมพับผ้า แหลมตุ๊กแก และแหลมพันวาเป็นReference sectionsรูปที่ 4.3 แผนที่แสดงตำแหน่งของจุดสำรวจบริเวณจังหวัดภูเก็ตลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


44บทที่ 4รูปที่ 4.4รูปที่ 4.8รูปที่ 4.5รูปที่ 4.9รูปที่ 4.6รูปที่ 4.10Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน45รูปที่ 4.4 ภาพแสดง Trace fossil ในหินทรายของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมไม้ไผ่ จังหวัดภูเก็ตรูปที่ 4.5 ภาพแสดงหินโคลนเป็นชั้นดีส่วนบนของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมไม้ไผ่ จังหวัดภูเก็ตรูปที่ 4.6 ภาพแสดง Slumped bed ในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมตุ๊กแก จังหวัดภูเก็ตรูปที่ 4.8 ภาพแสดงพื้นที่บริเวณฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจานรูปที่ 4.9 ภาพแสดงหินทรายสลับหินโคลนของหมวดหินสปิลเวย์ ที่ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจานรูปที่ 4.10 ภาพแสดง load cast บริเวณฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจาน โปรดสังเกตชั้นหินมีโครงสร้าง Overturnลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


46บทที่ 4รูปที่ 4.7 แท่งลำดับชั้นหินของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ จากชายหาดบ้านแหลมไม้ไผ่ไปอ่าวปลื้มสุข จังหวัดภูเก็ตRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน474.6 หมวดหินสปิลเวย์ (SpillwayFormation)ชื่อและความสัมพันธ์กับหน่วยหินอื่น: หมวดหินสปิลเวย์ ตั้งขึ้นโดย เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) จากชื่อของฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจาน (รูปที่ 4.8) ซึ่งในภาษาอังกฤษเขียนว่าspillway หมวดหินสปิลเวย์วางตัวอย่างต่อเนื่องอยู่บนหินโคลนของหมวดหินเขาวังกระดาด และเทียบเคียงได้กับ Lower Formation ของ Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970),Huai Phu Noi formation ของ Piyasin (1975b) และKlong Kaphon formation ของ Burton (1986) ลักษณะหินและลำดับชั้นหิน: ลำดับชั้นหินในส่วนล่างที่ type loc<strong>al</strong>ity หมวดหินสปิลเวย์ จะวางตัวอย่างต่อเนื่องบน massive mudstone ของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ โดยหินจะค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็น laminatedmudstone มีชั้นบางๆ ของหินทรายเกรย์แวคเนื้อละเอียดแทรกสลับอยู่ (เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช, 2536) ปริมาณการแทรกสลับจะเพิ่มมากขึ้นในส่วนบน ถึงแม้ชั้นหินเหล่านี้จะเป็นชั้นดี แต่ไม่เหมือนของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ที่เป็นแบบขนมชั้น จะสามารถสังเกตเห็นความไม่ต่อเนื่องของชั้นหินได้ (รูปที่ 4.9) พบโครงสร้างแบบ load cast (รูปที่ 4.10)worm burrow และ bioturbation มากมาย พวกSlump structure พบได้ในชั้นหินที่มีหินโคลนสลับกับหินทรายแป้งหรือหินทรายเนื้อละเอียด สำหรับlonestone หรือ dropstone-like structure เริ่มพบหลังจากที่พบ slump structure แล้ว โดยขนาดยังไม่เกิน pebble แต่จะมีขนาดโตขึ้นในส่วนบนและเป็นหินพวก ควอร์ตไซต์ ควอตซ์ หินปูน หินแกรนิต หินไนส์ หินไมกาชีสต์ โดยทั่วไปมักมีชั้นหินทรายเนื้อควอตซ์ ขนาดเม็ดปานกลางถึงหยาบ ชั้นหนาประมาณ 10-70เซนติเมตร แทรกสลับเป็นช่วงๆ มีมากในช่วงกลางของลำดับชั้นหิน ซึ่งแสดงโครงสร้างของชั้นเฉียงระดับหลายแบบ โดยเฉพาะของการสะสมตัวภายใต้อิทธิพลของลมพายุแบบ hummocky cross bedding ด้วย แท่งลำดับชั้นหินที่ฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจาน ได้แสดงไว้ในรูปที่4.11อายุและซากดึกดำบรรพ์: เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) พบ brachiopod พวกSpirifer และ Spiromartinia แต่รูปร่างบิดเบี้ยว พร้อมระบุว่าตัวอย่าง “ไม่เพียงพอต่อการระบุอายุที่ชัดเจนได้”ในหมวดหินสปิลเวย์ที่แหลมไม้ไผ่ด้านตะวันออก ของเกาะภูเก็ต (พิกัด 439871) แต่ได้ให้อายุกว้างเป็น EarlyCarboniferous- Early Permian อย่างไรก็ดีทั้ง Spirifersp. และ Spiromartinia sp. ก็พบในอีกหลายบริเวณในภาคใต้ แต่มีอายุ Early Permian เท่านั้น (Grant, 1976; Waterhouse, 1981; Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1997) การแผ่กระจายและความหนา: หมวดหินสปิลเวย์ พบโผล่ดีที่ฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจานมีความหนาประมาณ 120 เมตรชั้นหินแบบฉบับ: มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่ฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจาน ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


48บทที่ 4รูปที่ 4.11 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจานRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน494.7 หมวดหินเกาะเฮ (Ko HeFormation)ชื่อและความสัมพันธ์กับหน่วยหินอื่น: หมวดหินเกะเฮ ตั้งขึ้นโดย เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และ ธนิศร์วงศ์วานิช (2536) จากชื่อของเกาะเฮ (รูปที่ 4.3) จังหวัดภูเก็ต (ในแผนที่เขียนเกาะฮี) และเทียบเคียงได้กับLower Formation ของ Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970), HuaiPhu Noi formation ของ Piyasin (1975b), KlongKaphon formation ของ Burton (1986) และ Ko LonFormation ของ Hills (1989)ลักษณะหินและลำดับชั้นหิน: ประกอบส่วนใหญ่ด้วยหินโคลนปนกรวด (pebbly rock) หรือdiamictite มีการคัดขนาดไม่ดี (รูปที่ 4.12 และ 4.16) มีmatrix เป็น silty mud ถึง muddy sand มี clasts มีประมาณ 5-10% ถึงมากกว่า 10% มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึง boulder size แต่ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่า2 ซม. ประกอบด้วย ควอร์ตไซต์ ควอตซ์ หินทราย หินปูนหินอ่อน หินแกรนิต หินไนส์ บางช่วงแทรกสลับด้วยหินทรายสลับหินโคลน ชั้นหนาประมาณ 30 เซนติเมตรความสัมพันธ์ระหว่าง pebbly rocks และหินทรายสลับหินโคลนเป็นแบบ sharp contact บางบริเวณพบchannel-filled structure ได้อายุและซากดึกดำบรรพ์: เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) รายงานว่าที่แผนที่ระวางบ้านเนินทอง พิกัด 187065 พบ bryozoan,brachiopods พวก Spirifer และ Productus จึงประมาณให้มีอายุช่วง Lower Permianการแผ่กระจายและความหนา: ที่เกาะเฮ พบว่าหินโคลนปนกรวดของหมวดหินเกาะเฮวางตัวต่อเนื่องบนหินทรายสลับหินโคลนของหมวดหินสปิลเวย์ (เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และ ธนิศร์ วงศ์วานิช, 2536) ที่เกาะเฮมีความหนาไม่น้อยกว่า 120 เมตร ที่ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจานจากการสำรวจครั้งนี้ มีความหนาประมาณ 125 เมตรชั้นหินแบบฉบับ: มีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่เกาะเฮอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะภูเก็ต ห่างจากหาดราไวย์ ประมาณ 6 กิโลเมตร ตามแผนที่ระวางจังหวัดภูเก็ต (4624 I) ตามชายหาดทั้งด้านตะวันตกและตะวันออกของเกาะ บริเวณนี้พบ lower boundary แต่ไม่พบ upper boundary พบโผล่ดีอีกที่เป็น referencesection ที่บริเวณฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจาน บริเวณเกาะพยาม จังหวัดระนอง บริเวณคลองกะแม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพรรูปที่ 4.12 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจานที่เกาะเฮ จ. ภูเก็ตลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


50บทที่ 4รูปที่ 4.13 ภาพแสดงหินกรวดมนขนาดใหญ่ในหินโคลนปนกรวดที่เกาะเฮ จ. ภูเก็ต รูปที่ 4.14 Pebbly sandstone หมวดหินเกาะเฮ ที่เกาะเฮรูปที่ 4.15 ภาพหินทรายเนื้อปนกรวดของหมวดหินเกาะเฮ ที่ฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจานรูปที่ 4.16 ภาพหินทรายเนื้อปนกรวดของหมวดหินเกาะเฮ ที่ริมหาดบ้านแหลมไม้ไผ่ จังหวัดภูเก็ต Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน514.8หมวดหินเขาพระ (Khao PhraFormation)ชื่อและความสัมพันธ์กับหน่วยหินอื่น: หมวดหินเขาพระ ตั้งโดย Piyasin (1975b) จากชื่อของเขาพระ ที่อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษม หลักกิโลเมตรที่140.1 หรือบ้านดอนทรายไปทางทิศตะวันตกประมาณ5 กิโลเมตร หมวดหินเขาพระเทียบได้กับส่วนบนของ “Upper formation” ของกลุ่มหินภูเก็ต (Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,1970) ส่วนล่างของ “หมวดหินเขาพระ” ของเลิศสินรักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536)ลักษณะหินและลำดับชั้นหิน: ประกอบด้วยหินดินดาน หินโคลน สีเทาดำ เนื้อแน่น แตกเป็นแท่งยาวบางช่วงแทรกสลับด้วยชั้นบางๆ ของหินทราย สีเทา เนื้อละเอียดถึงหยาบ และหินทรายแป้ง (รูปที่ 4.17-4.19) ในบ า ง บ ริ เ ว ณ แ ท ร ก ส ลั บ ด้ ว ย ชั้ น บ า ง ข อ ง หิ นดินดาน/หินโคลนเนื้อปนกรวด สีเทาดำ เม็ดกรวดมีลักษณะกลม เป็นพวกหินแกรนิต หินควอร์ตไซต์หินทราย หินดินดาน และหินปูน ซากดึกดำบรรพ์ที่พบบ่อยคือ bryozoa, crinoid และพบแบรคิโอพอด บ้าง (รูปที่ 4.20 และ 4.21) อายุและซากดึกดำบรรพ์: Sakagami (1966a,1968b, 1969, 1973) ที่ได้ทำการศึกษา Bryozoan ในหลายบริเวณของจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ พบว่ามีพวก Fenestella sp.,Polypora sp. และกำหนดให้มีอายุ Sakmar ian-Artinskianการแผ่กระจายและความหนา: Piyasin (1975b) ให้หมวดหินเขาพระที่เขาพระหนา 344 เมตรและที่ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจาน มีความหนา 520เมตร นอกจากนี้ยังพบโผล่ดีที่ถนน ร.พ.ช. บ้านธรรมรัตน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (พิกัด 454303 ระวางแผนที่อำเภอบางสะพาน 4831 II)ที่ระหว่างหลักกิโลเมตร 109-116 ทางหลวงหมายเลข401 พูนพิน-ตะกั่วป่า บริเวณเขาสก อำเภอพนมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และที่เขานางหงส์ อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา ระหว่างกิโลเมตรที่ 180-187 ถนนเพชรเกษมชั้นหินแบบฉบับ: อยู่ที่เขาพระ อำเภอเขาย้อยจังหวัดเพชรบุรี จุดพิกัด 585211E 1459735N ระวางแผนที่จังหวัดเพชรบุรี (4935 II) มีถนนจาก ตีนเขาขึ้นสู่เจดีย์บนยอดเขา และ Reference section ที่ฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจานรูปที่ 4.17 แท่งลำดับชั้นหินของหมวดหินเขาพระและกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่เขาพระจังหวัดเพชรบุรีลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


52บทที่ 4รูปที่ 4.18 ภาพแสดง Laminated mudstoneหมวดหินเขาพระ ที่เขาพระ จังหวัดเพชรบุรีรูปที่ 4.19 ภาพแสดงชั้นหินโคลนสลับหินทรายแป้งที่เขาพระ ของหมวดหินเขาพระ จังหวัดเพชรบุรีรูปที่ 4.20 ลำดับชั้นหินของ หมวดหินเขาพระ ที่เขาตาม่องล่าย ประจวบคีรีขันธ์รูปที่ 4.21 Bryozoa และ Crinoid จุดเดียวกับรูปที่4.20Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน534.94.9หมวดหินเขาเจ้า (Khao ChaoFormation)ชื่อและความสัมพันธ์กับหน่วยหินอื่น: หมวดหินเขาเจ้า ตั้งโดย Piyasin (1975b) จากชื่อเขาเจ้า ที่อยู่ทางทิศเหนือของเขื่อนแก่งกระจาน เป็นหมวดหินบนสุดของกลุ่มหินแก่งกระจานลักษณะหินและลำดับชั้นหิน: ส่วนล่างประกอบด้วยหินทรายเนื้อควอตซ์ (quartz arenite to subarkose) สีเทา ถึงเทาอ่อน เนื้อละเอียดถึงปานกลาง มีการคัดขนาดดี (รูปที่ 4.22) เม็ดทรายมีลักษณะเม็ดเหลี่ยมปานกลางถึงเม็ดกลม เป็นชั้นหนาอาจมีชั้นเฉียงระดับด้วย ในเนื้อหินมีบางส่วนเป็นแร่เฟลด์สปาร์ หรือที่เรียกว่า tuffaceous sandstone เนื้อละเอียด และ Rhyolitic tuff ในส่วนกลางเนื้อหินมีขนาดละเอียดขึ้น ประกอบด้วยหินดินดาน หินทรายแป้ง และหินโคลน สีเทาอ่อน ถึงเทาเข้ม เกิดเป็นชั้นบาง ในส่วนบนเป็นหินทรายสีขาวถึงน้ำตาลแดง เนื้อละเอียด ถึงปานกลาง มีการคัดขนาดดี เม็ดทรายมีลักษณะเม็ดกลมปานกลาง และอาจมี Crinoid stems และ Thinshell beds (รูปที่ 4.23) สะสมตัวด้วย บนสุดเป็นชั้นสลับระหว่างหินโคลน/ หินดินดาน สีเทา เทาดำ กับชั้นบางของหินทราย เนื้อละเอียด และมีหินปูนสลับด้วย (รูปที่ 4.24)อายุและซากดึกดำบรรพ์: Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (2001)พบ Brachiopod ในหินทรายสีขาว ที่ชุมพร ส่วนใหญ่เป็นพวก Meekella bisculpta Grant ส่วนน้อยเป็นพวกCostatumulus sp. ให้อายุ Early Permian (Sakmarian)การแผ่กระจายและความหนา: ที่ฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจาน มีความหนา 270 เมตร และที่เขาพริกจังหวัดราชบุรีหนา 760 เมตร (Piyasin, 1975b) ชั้นหินส่วนบนโผล่ที่เขาหินกลิ้ง (3 กิโลเมตร ไปทางตะวันตกของหลักกิโลเมตรที่ 131.8 ถนนเพชรเกษม)ชั้นหินแบบฉบับ: อยู่ที่เขาเจ้า เขื่อนแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีรูปที่ 4.22 ภาพหินทรายเนื้อควอตซ์ถ่ายจากกล้องจุลทัศน์ มีการคัดขนาดดี เม็ดทรายขนาด 200-300 ไมครอน หมวดหินเขาเจ้า ที่เขาปากกว้างรูปที่ 4.23 Thinly shell beds ในหินทราย ส่วนบนของหมวดหินเขาเจ้า ที่เขาตาม่องล่ายรูปที่ 4.24 ภาพหินดินดานสลับชั้นบางของหินทรายและหินปูน ตอนบนของหมวดหินเขาเจ้าที่เขาปากกว้าง จังหวัดราชบุรีลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


54บทที่ 44.10 ลำดับชั้นหินบริเวณที่น่าสนใจของกลุ่มหินแก่งกระจาน4.10.1 ลำดับชั้นหินที่เขาปากกว้างอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีเขาปากกว้าง อยู่ที่ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นภูเขาลูกโดดขนาดปานกลางได้ชื่อจากถ้ำที่มีปากถ้ำกว้าง อยู่ทางด้านใต้ของภูเขา ที่พิกัด 572600E 1413400N ระวางแผนที่อำเภอจอมบึง (4936 III) จากแผนที่ธรณีวิทยาของเขาปากกว้างดังแสดงไว้ในรูปที่ 4.25 เขาปากกว้างประกอบด้วยหิน 3 หมวดหิน คือ หมวดหินเขาเจ้า โผล่ทางด้านใต้และเป็นฐานของภูเขา ชั้นหินวางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (25/335) ยอดเขาและด้านเหนือของภูเขา เป็นหินปูนของหมวดหินพับผ้าและหมวดหินอุ้มลูก (รูปที่ 4.26) ตามลำดับ ส่วนล่างของเขาปากกว้างเป็นหินทรายหินดินดาน หินโคลน ชั้นหินจึงผุโผล่เห็นไม่ดี แต่ที่หัวเขาด้านตะวันออกมีอ่างน้ำที่ขุดขึ้น ที่พิกัด 573670E1513521N ชั้นหินวางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในส่วนล่างเป็นการสลับกันของหินดินดานและหินทรายแป้ง สีเทากับสีแดง ของหมวดหินเขาเจ้าช่วงนี้หนาประมาณ 10 เมตร บนขึ้นไปซึ่งหนาประมาณ20 เมตร หินยังเหมือนเดิม แต่เป็นสีเทาและมีหินทรายสลับมากขึ้น ถัดขึ้นมาอีกประมาณ 20 เมตร เป็นหินทราย เนื้อควอตซ์ เป็นชั้นหนาปานกลาง ลำดับชั้นหินของเขาปากกว้างที่ได้วัดหาความหนาของชั้นหิน ดังแสดงตามแท่งลำดับชั้นหินตามรูปที่4.27 ทำการวัดจากด้านใต้ของภูเขาตามทางเดินขึ้นถ้ำโดยเริ่มจากด้านเหนือของถนนร้าง ซึ่งมีทางเดินขึ้นตรงบริเวณแท้งค์เก็บน้ำ ขึ้นไปหาปากถ้ำ ชั้นหินเริ่มโผล่ให้เห็นเมื่อเดินขึ้นไปเกือบถึงปากถ้ำ เป็นหินทรายเนื้อควอตซ์ เนื้อหยาบ สีน้ำตาลอ่อนถึงขาว เป็นชั้นหนาปานกลางถึงหนา วางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยมุมประมาณ 20 องศา (20/330) ชั้นหินเฉียงระดับพบบ่อย (TC 18) ชั้นซากดึกดำบรรพ์พบบ้าง ส่วนใหญ่วางตัวมีแกนยาวขนานกันชั้นหิน และซากหอยมักเอาส่วนเว้าหงายขึ้น (concave up) แสดงถึงการสะสมตัวในสภาวะ low energy ชั้นหินช่วงนี้หนา 12 เมตรบนขึ้นไปหินเปลี่ยน (grade) เป็นหิน ดินดาน สีเทาดำแทรกสลับด้วยชั้นบาง (5-10 ซม.) ของหินทราย โดยพบหินดินดานมากกว่าหินทราย ความหนาทางด้านข้างของชั้นหินทรายไม่สม่ำเสมอ ในช่วงนี้หนารวมประมาณ8 เมตร มีซากดึกดำบรรพ์มาก (TC 19) แต่ทั้งหมดถูกแทนที่ด้วยสารซิลิกา (Silicified fossils) เป็นพวกBrachiopod, crinoid stem, pelecypod พบโดโลไมต์เป็นชั้นบางสลับในส่วนบนและหินค่อยเปลี่ยนไปเป็นหินปูนของหมวดหินพับผ้า หนาประมาณ 20 เมตร เป็นหินปูนชั้นหนาปานกลางถึงชั้นหนา ซึ่งส่วนนี้เป็นหนาผาบริเวณนี้พบฝาหอยวางแบบคว่ำ (concave down)แล้วเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินปูนไม่แสดงชั้น (massive) ของหมวดหินอุ้มลูก หนาไม่น้อยกว่า 30 เมตร เป็นชั้นหินบนสุดของเขาปากกว้าง โพรงของปากถ้ำเกิดเนื่องจากรอยเลื่อนปกติในแนวเหนือ-ใต้ ปากถ้ำด้านตะวันตกมีรอยเลื่อนวางตัวเอียงชันไปทางทิศตะวันตก (70/275)ส่วนปากถ้ำด้านตะวันออกมีรอยเลื่อนในแนว 80/262 ที่เขาปากกว้างนี้ Fontaine and S<strong>al</strong>yapongse (in press) รายงานว่าพบ Sinipora, solitary rugosa Iranophyllum and massive rugosaParaipciphyllym thailandicum และ bryozoans ให้อายุอยู่ในช่วง Murgabian to Dzhulfian Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน55รูปที่ 4.25 แผนที่ธรณีวิทยาของเขาปากกว้าง จังหวัดราชบุรีลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


56บทที่ 4รูปที่ 4.26 ภาพเขาปากกว้าง จังหวัดราชบุรี มองเห็นถ้ำปากกว้างรูปที่ 4.27 แท่งลำดับชั้นหิน ที่เขาปากกว้าง จังหวัดราชบุรีRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน574.10.2 ลำดับชั้นหินที่ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจานที่ตั้ง: ฝายน้ำล้น (Spillway) เขื่อนแก่งกระจาน ตั้งอยู่ที่อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จุดพิกัด 568625E 1426788N ของระวางแผนที่อำเภอแก่งกระจาน (4934 IV) ลำดับชั้นหิน: ลำดับชั้นหินบริเวณฝายน้ำล้นนี้เคยมีผู้ศึกษามาก่อนแล้วคือ Piyasin (1975b) และเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และ ธนิศร์ วงศ์วานิช (2536)ภาพแท่งลำดับชั้นหินแสดงไว้ในรูปที่ 4.11 แบ่งกลุ่มหินแก่งกระจานของบริเวณนี้ประกอบด้วย 5 หมวดหิน คือหมวดหินแหลมไม้ไผ่ หมวดหินสปิลเวย์ หมวดหินเกาะเฮ หมวดหินเขาพระ และหมวดหินเขาเจ้าชั้นหินส่วนล่างอยู่ทางด้านอ่างเก็บน้ำ โดยชั้นหินมีอายุน้อยลงไปทางทิศตะวันออก แต่บริเวณนี้มีโครงสร้างแบบ overturned beds ดังสังเกตได้จากLoad structure (รูปที่ 4.10) Norm<strong>al</strong> graded bed,cross stratification รวมทั้งการวางตัวของ cleavageกับ bedding (รูปที่ 4.28) ซึ่งเห็นได้ทั่วไป บริเวณนี้ชั้นหินวางตัวตั้งชันมีรอยเลื่อนตัดผ่านหลายแห่ง บางบริเวณชั้นหินคดโค้งนอนทับ (recumbent fold) ดังนั้นความหนาที่ได้ในที่นี้จึงเป็นการประมาณการ ล่างสุดเริ่มบริเวณถนนเป็นหมวดหินสปิลเวย์ โดยส่วนล่างหนาประมาณมากกว่า 25 เมตร เป็นหินโคลน (laminatedmudstone) สีเทา ชั้นบาง แทรกสลับด้วยชั้นบางๆขนานกันขนาด 1-2 มม ของหินทรายแป้ง อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายแป้ง ประมาณ 4:1 มี burrowsทั่วไป พบกรวดขนาดเล็กกว่า 1 ซม. ปนอยู่บ้าง ในส่วนบนพบมีกรวดของโดโลไมต์ ขนาด 10x15 ซม. 1 ก้อน (รูปที่ 4.29) ชั้นหินวางตัวมุมเทชันเอียงไปทางทิศตะวันตก (85/252 ส่วน cleavage 57/085) บนขึ้นมายังคงเป็นเป็นหมวดหินสปิลเวย์ หนาประมาณ 17 เมตร หินเปลี่ยนแบบกระทันหันเป็นหินทรายชนิดSubarkose ถึง quartz arenite สีเทาอ่อน มีเนื้อละเอียดปานกลางถึงหยาบ ในส่วนล่างเป็นชั้นหนามากและเป็นชั้นบางถึงหนาในส่วนบน มีโครงสร้างที่พบบ่อยคือ load cast, cross lamination และแทรกสลับด้วยชั้นของหินดินดาน สีเทา มักพบ burrows ด้วย Loadcast (รูปที่ 4.10) มีลักษณะ flat top ส่วนด้านล่างเป็นรูปนูนโค้งกดทับลงไปบนหินดินดานซึ่งแสดงลักษณะโค้งงอตามไปด้วย ในขณะที่แนวของชั้นหินที่วางขนาบอยู่ด้านบนและที่รองรับอยู่ด้านล่าง จะวางตัวขนานกันแบบปกติ (ไม่ได้โค้งงอตาม) บนขึ้นมาปิดทับด้วยหินโคลนปนกรวด (Pebbly rocks) ของหมวดหินเกาะเฮหนาประมาณ 4 เมตร มีก้อนกรวด ประมาณ 1-5% ส่วนใหญ่ขนาดเล็กกว่า 2 ซม. เปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลน เนื้อแน่น หนา 10 เมตร บางช่วงแสดงชั้นบางๆบนขึ้นมาเปลี่ยนเป็นหินโคลนปนกรวด หนา 22 เมตร มี erosion<strong>al</strong> base bed กรวดส่วนใหญ่เล็กกว่า 1 ซม.ประกอบด้วย กรวดของ quartzite, dolomite, veinquartz แกรนิต และหินดินดาน บนขึ้นมาหนาประมาณ3 เมตร เป็นชั้นบาง (2-5 ซม. บางชั้นหนา 20 ซม.) ของหินทรายเนื้อควอตซ์ (quartz-rich sandstone) สลับกับหินดินดาน/ หินโคลน โดยชั้นหินวางตัวเอียงเทไปทิศตะวันตก (66/250) ในหินทรายมักพบ lamination,ripple mark และ load cast และเปลี่ยนขึ้นไปหินโคลนปนกรวดเนื้อแน่น หนา 5 เมตร หินโคลนแทรกสลับกับหินทราย ชั้นบาง หนา 7 เมตร และหินโคลน ชั้นบางๆหนา 2 เมตร บนขึ้นมาอีกซึ่งบริเวณนี้พื้นเปลี่ยนระดับเป็นหน้าผาลงห้วย ประกอบด้วยหินโคลน/หินดินดานปนกรวด (ชั้นบนสุด) เนื้อแน่น มีความหนาประมาณ 15เมตร กรวดที่ปนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. และมีประมาณ 5% มีการคัดขนาดไม่ดี กรวดบางก้อนโตประมาณ 10 ซม. ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


58บทที่ 4รูปที่ 4.28 Overturnedstructure แสดงโดยแนว cleavage(แนวเอียงนอน) ตัดกับbeddingplane (แนวตั้ง)รูปที่ 4.29 ภาพแสดงก้อนกรวดโดโลไมต์Dropstone ในหมวดหินเกาะเฮ ที่เขื่อนแก่งกระจานรูปที่ 4.30 ภาพแสดงชั้นหินทรายของหมวดหินเขาเจ้า ที่ฝายน้ำล้นเขื่อนแก่งกระจาน ชั้นหินโค้งงอแบบrecumbent foldRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน59หมวดหินเขาพระวางตัวอยู่บนหินโคลนปนกรวด ประกอบด้วยหินโคลน สีเทา บางส่วน weatheredให้สีน้ำตาลแดง หนาประมาณ 30 เมตร บางช่วงแสดงเป็นชั้นบางๆ บนขึ้นไปบริเวณนี้อยู่ในร่องห้วย เป็นหมวดหินเขาเจ้า หนาประมาณ 30 เมตร ประกอบด้วยหินทราย เป็นชั้นบางถึงหนา สลับด้วยหินดินดาน มีความหนาประมาณ 40 เมตร จุดนี้มีโครงสร้างแบบRecumbent fold (รูปที่ 4.30) หินทรายมักแสดง crosslamination บางจุดมี load cast และมีรอยสัมผัสแบบsharp contact กับหินดินดาน บนขึ้นไปเปลี่ยนเป็นหินโคลน เนื้อแน่น ผุออกสีน้ำตาลแดง หนาประมาณ 15เมตร และเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลน ชั้นบาง (laminated mudstone) สลับกับหินทราย ชั้นบาง (thinpar<strong>al</strong>lel bed) พบ Burrows มาก หนามากกว่า 35 เมตร บนขึ้นมาปิดทับด้วยหินทราย ชั้นบางถึงชั้นหนา (เหมือนช่วงล่าง) วางตัวเอียงไปทางทิศตะวันตก (50/268) หนามากกว่า 30 เมตร4.10.3 ลำดับชั้นหินที่เขาพระ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรีที่ตั้ง: เขาพระเป็นภูเขาลูกเล็ก เป็นที่ตั้งของวัดเขาพระ จุดพิกัด 585211E 1459735N ของระวางแผนที่ระวางจังหวัดเพชรบุรี (4935 II) อยู่ห่างจากถนนเพชรเกษม หลักกิโลเมตรที่ 140.1 ไปทางด้านตะวันตกประมาณ 5 กม. มีปากทางเข้าอยู่ข้างวัดดอนทราย ลำดับชั้นหิน: การสำรวจลำดับชั้นหินในครั้งนี้ได้ใช้ผลงานของ Sawata <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1975) ซึ่งเคยสำรวจในรายละเอียดจากตีนเขาขึ้นไปตามถนนจนถึงยอดเขาเป็นฐานในการสำรวจ บริเวณนี้เป็น type section ของหมวดหินเขาพระ (Piyasin, 1975b)บริเวณนี้มี 2 หมวดหิน (รูปที่ 4.17) ลำดับชั้นหินล่างสุดอยู่บริเวณตีนเขา เป็นหมวดหินเกาะเฮประกอบด้วยหินโคลนปนกรวด (Pebbly rock) สีเทาเนื้อแน่น หนาประมาณ 45 เมตร เนื้อหินมีกรวดปนประมาณ 1-5 % ส่วนใหญ่มีความมนดีและขนาดเล็กกว่า 1 ซม. และส่วนใหญ่เป็นพวกหินทราย แกรนิตควอตซ์ หินชีสต์ บนขึ้นไปเป็นหมวดหิน เขาพระประกอบด้วยหินโคลน สีเทา เนื้อแน่น มีการแตกแบบเป็นกาบ (ellipsoid<strong>al</strong> fracture) แต่ไม่มีกรวด มีความหนาประมาณ 11 เมตร ชั้นหินเอียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (41/050) พบ Bryozoa ด้วย และชั้นหินเปลี่ยนไปเป็นหินโคลน ชั้นบางสลับกับหินทรายแป้งเป็นชั้นบางๆ อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายแป้งมากกว่า 4:1 และแนว lamination ไม่เด่น มีความหนาประมาณ 4 เมตร และชั้นหินเอียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (37/057) ลำดับชั้นหินที่เปลี่ยนจากหินโคลนปนกรวดขึ้นไปหาหินโคลนและหินโคลนที่เป็นชั้นบาง ๆนั้นเป็น Deposition<strong>al</strong> sequence ซึ่งสามารถพบได้ในบริเวณอื่นด้วย บนขึ้นไป sequence ของหินโคลน หนาประมาณ 5 เมตร เปลี่ยนขึ้นไปเป็น Laminatedmudstone หนาประมาณ 1.5 เมตร และปิดทับ ด้วยชั้นของหินโคลนสลับหินทราย หนาประมาณ 7.5 เมตรบางช่วงมีชั้นเฉียงระดับสลับอยู่ แล้วเปลี่ยนเป็นLaminated mudstone หนาประมาณ 10 เมตร (รูปที่4.18-4.19) ชั้นหินปิดทับด้วย หินทราย เนื้อสกปรก และมี Brachiopods, Bryozoa ชั้นหินวางตัวเอียงไปทางทิศNEE (40/070) บนสุดเป็นหินโคลน สีเทา เนื้อแน่น หนาประมาณ 16 เมตร ในส่วนล่างพบBrachiopods และ trace fossils ด้วย4.10.4 ลำดับชั้นหินที่บ่อลูกรัง กม 6.2ทางหลวง 3349 เพชรเกษม - หนองหญ้าปล้องที่ตั้ง: เป็นบ่อลูกรังอยู่ห่างจาก กม 6.2ทางหลวงสาย 3349 ไปทางด้านใต้ประมาณ 100 เมตรมีจุดพิกัด UTM 587082E 1451105N ของระวางแผนที่ระวางจังหวัดเพชรบุรี (4935 II) ลำดับชั้นหิน: ชั้นหินบริเวณนี้ประกอบด้วย 2 หมวดหิน (รูปที่ 4.31) ในส่วนล่างเป็นหมวดหินสปิลเวย์ประกอบด้วยหินโคลน สีเทา มีความหนามากกว่า 20 เมตร พบ Burrows เกิดร่วมด้วย เป็นแท่งกลมขนาด 0.7-1.5 ซม. มีทั้ง subhorizont<strong>al</strong> และvertic<strong>al</strong> holes ชั้นหินเปลี่ยนขึ้นไปเป็น Pebblysandstone สีเทาอมเขียว หนาประมาณ 3 เมตร ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


60บทที่ 4การคัดขนาดไม่ดี มีกรวดประมาณ 5-10% ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. และพบกรวดของควอตไซต์ขนาด6x8 ซม. ด้วย ชั้นหินถูกปิดทับด้วยหินทรายหนา 4 เมตรเนื้อละเอียดปานกลางถึงหยาบ เป็นชั้นหนาปานกลางถึงหนา และเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลน เนื้อแน่น (massive) หนาประมาณ 3 เมตร บนขึ้นไปปริมาณหินทรายที่แทรกสลับจะเพิ่มขึ้น โดยในส่วนล่างหนาประมาณ 10 เมตร เป็นหินทราย เนื้อละเอียด เป็นชั้นบาง (5-10 ซม.) (รูปที่ 4.32) เอียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (67/032) พบโครงสร้าง cross laminationส่วนในหินโคลนที่แทรกสลับมักพบ burrows (รูปที่ 4.33)ในส่วนบนเป็นหินทราย ชั้นหนาปานกลางถึงหนา มีความหนา 7 เมตร บนขึ้นไปพบ deposition<strong>al</strong>sequence ของหินกรวดมนเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินทรายและหินโคลน จำนวน 3 ช่วง (รูปที่ 4.34) ด้วยกัน มีความหนา ช่วงละ 60 ซม. 30 ซม. และ มากกว่า 60 ซม.ตามลำดับ โดยช่วงบนสุดจะเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลนเนื้อแน่นหนา 8 เมตร และพบ burrows ทั่วไป บนขึ้นไปเป็นหินทราย สีเทาอมเขียว หนา 3 เมตร เป็นชั้นหนาปานกลาง เปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลนหนา 4 เมตร และยังพบ burrows ได้ทั่วไป บนขึ้นไปหินเปลี่ยนเป็นหินโคลนปนกรวด หนาประมาณ 20 เมตร มีสีเทาอมเขียวผิวแตกเป็นกาบ เป็นหินโคลนปนกรวดหรือ Pebblyrock (รูปที่ 4.35) ที่เหมือนกับต้นฉบับที่ภูเก็ต มีแนวcleavage เด่นในแนว 49/240 มีกรวดปนประมาณ 5-10 % ส่วนใหญ่มีความมนดี มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม.แต่บางก้อนโตกว่า 3 ซม. กรวดที่พบมากเป็นพวกควอตไซต์ แกรนิต และหินทราย รูปที่ 4.31 แท่งลำดับชั้นหิน กลุ่มหินแก่งกระจาน ที่บ่อลูกรัง กม. 6.2 ทางหลวงหมายเลข3349Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน61รูปที่ 4.32 ภาพหินทรายเป็นชั้นบาง ของหมวดหินสปิลเวย์ ที่บ่อลูกรัง กม. 6.2 ทางหลวงหมายเลข 3349รูปที่ 4.33 Burrows ในหมวดหินสปิลเวย์ ที่บ่อลูกรัง กม. 6.2รูปที่ 4.34 ภาพแสดง Fining upward sequenceจากหินกรวดมนขึ้นไปเป็นหินโคลนรูปที่ 4.35 ภาพหินโคลนปนกรวดที่บ่อลูกรัง กม.6.2 ทางหลวงหมายเลข 3349รูปที่ 4.36 ภูมิประเทศของชุ้นหินที่ชายหาดเขาถ่านจังหวัดชุมพรรูปที่ 4.37 ภาพหินโคลนปนกรวดที่บ่อลูกรัง กม. 6.2 ทางหลวงหมายเลข 3349ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


62บทที่ 44.10.5 ลำดับชั้นหินที่เขาถ่าน อำเภอสวีจังหวัดชุมพรที่ตั้ง: เขาถ่าน เป็นชื่อภูเขาริมชายหาดและเป็นสถานที่ตั้งของชุมชนชาวประมงบ้านเขาถ่าน ท้องที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพร อยู่บริเวณจุดพิกัด 519919E1124472N ของระวางแผนที่อำเภอสวี (4829 III) ลำดับชั้นหิน: ชั้นหินโผล่ตามชายหาดกรวด (รูปที่ 4.36) อยู่ทางด้านใต้ของบ้านเขาถ่าน แม้ว่าโผล่ให้เห็นไม่หนามากนัก แต่เป็นบริเวณที่พบซากดึกดำบรรพ์ได้ง่ายและพบมาก เช่น Brachiopods, Bryozoan,Crinoids (รูปที่ 4.37) ชั้นหินในส่วนล่างหนาประมาณ40 เมตร ประกอบด้วย thin bedded, gray sh<strong>al</strong>e ชั้นหินมีความหนาทางด้านข้างไม่สม่ำเสมอ วางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันตก (60/275) บนขึ้นมาเริ่มมีชั้นทรายเป็นชั้นบางๆ แทรกสลับ พบ Burrows และbrachiopods ด้วย ช่วงนี้หนาประมาณ 10 เมตร ถัดขึ้นมาหินทรายพบมากขึ้น สีเทาถึงน้ำตาลอ่อน เนื้อละเอียดเป็นชั้นบางถึงหนาปานกลาง ชั้นหินช่วงนี้หนาประมาณ40 เมตร และยังคงเอียงเทไปทางทิศตะวันตก (60/256)บนขึ้นมาพบซากดึกดำบรรพ์มากมาย ในหินที่หล่นลงมาเข้าใจว่าวางตัวอยู่ในส่วนบน จากการตรวจสอบโดยProfessor Dr. Wang Xiangdong พบ Cor<strong>al</strong> (TC30)เป็นพวก Bradyphyllum? อายุ Sakmarian toArtinskian และ Professor Dr. Shen Shuzhong ทำการตรวจ Brachiopod จำนวน 118 ชิ้น (ตัวอย่างหมายเลขTC29) เป็นพวก ? C<strong>al</strong>lispirina sp., Cleiothyridinaseriata Grant, Hustedia sp., Juresania juresanensisTschernyschew, Linoproductus sp., Neospirifer sp., Orthot<strong>et</strong>oidea gen. <strong>et</strong> sp. Ind<strong>et</strong>, ?Orthotichia sp.,Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse,Cimmeriella thai sp. nov., Demonedys sp.,Demonedystricorporum (Waterhouse), Spinomartinia prolifica Waterhouse,Spiriferella modesa Waterhouse, Stereochiakoyaoensis Waterhouse, Sulciplica sp. พบว่าในจำนวนนี้ที่พบมากคือ Cleiothyridina seriata Grant,Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse,Spinomartinia prolifica Waterhouse, Stereochiakoyaoensis Waterhouse มีอายุ เป็นพวก Sakmarianto Artinskian นอกจากนี้ Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (2002) รายงานการพบLate Sakmarian brachiopods ที่พบมากคือStreptorhynchus sp., Neochon<strong>et</strong>es (Sommeriella)pratti Davidson, Stereochia koyaonensis ตามด้วยSpiriferella modesta Waterhouse และ Neospiriferhardmani Ford ส่วนในหินทรายแป้งพบมากเป็นSpinomartinia prolifica Waterhouse Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (2002) กล่าวว่าพวกนี้เทียบได้กับของเกาะยาวน้อยและเกาะลังกาวี โดยเฉพาะ Neochon<strong>et</strong>es (Sommeriella) pratti Davidson และ Neospiriferhardmani Ford เทียบเคียงได้ดีกับ Late Sakmarianของ C<strong>al</strong>lytharra Formation, Western Austr<strong>al</strong>ia Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน63เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และ ธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) ได้เทียบลำดับชั้นหิน ดินดานและหินทรายที่พบในส่วนล่างเป็นหมวดหินสปิลเวย์ และในส่วนที่พบซากดึกดำบรรพ์เป็นหมวดหินเกาะยาวน้อย (เทียบได้กับหมวดหินเขาพระของรายงานนี้)4.10.6 ลำดับชั้นหินที่แหลมทาบ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชที่ตั้ง: ชั้นหินบริเวณนี้โผล่ตามชายหาดของแหลมทาบ โดยรถยนต์เข้าเข้าถึงบ้านประทับ แท่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานที่แหลมทาบได้แสดงไว้ในรูปที่ 4.38ลำดับชั้นหิน: ชั้นหินล่างสุดของบริเวณนี้อยู่ที่ชายหาดของบ้านประทับ เป็นหมวดหินแหลมไม้ไผ่ มีความหนามากกว่า 15 เมตร (ส่วนล่างจมน้ำทะเล) ชั้นหินช่วงนี้มีแนว strike ขนานไปกับชายหาด วางตัวเอียงไปทางทิศตะวันตก (75/284) เป็นหินทรายแป้ง หินโคลน สีเทาดำ เทาอมเขียว แทรกสลับกับชั้นบาง ๆ ของหินทราย (1-2 ซม.) บางช่วงหนา 10-50 ซม. อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทราย ประมาณ 4:1 หรือมากกว่าในหินทรายมักพบเรียงตัวแบบ lamination และ crossstratification ชั้นหินทรายที่หนา (มากกว่า 5 ซม.) มักมีความต่อเนื่องทางด้านข้างไปได้ไกล ในขณะที่หินทรายที่บางกว่า 1 ซม. มักเป็นพวก lenticular bed รอยสัมผัสของหินทรายที่วางบนหินโคลนเป็นแบบerosion<strong>al</strong> or sharp contact ในขณะที่ upper contactเป็นแบบ sharp และ gradation<strong>al</strong> contact ในเนื้อของหินทรายชั้นหนาบางช่วงพบโครงสร้าง Boumasequence จาก graded sandstone (Ta) หนา 20 ซม.ขึ้นไปเป็น planar lamination (Tb) หนา 20 ซม. Crosslamination (Tc) หนา 16 ซม. และปิดทับด้วยหินโคลนบางบริเวณพบลักษณะของก้อนกรวดตัดแทรกในชั้นหินทรายแป้งบางก้อนมีขนาด 5x7 ซม. (รูปที่ 4.39)บางช่วงแทรกด้วยเล็นส์ของหินปูนหนา 2-3 ซม. พวกburrows หรือรูแสดงร่องรอยซากดึกดำบรรพ์ จะพบมากส่วนใหญ่วางตัวตั้งเฉียงถึงแนวดิ่งกับแนวชั้นหินและถูกแทนที่ด้วยทราย บางรูยาวมากกว่า 15 ซม. บนขึ้นมาบริเวณนี้เป็นหัวโค้งของชายหาด ชั้นหินช่วงนี้เป็นส่วนเดียวกับหินทรายที่พบใกล้บ้านประทับ หินเปลี่ยนเป็นหินทรายหนารวมประมาณ 30 เมตร สีเทา เนื้อหยาบถึงละเอียดปานกลาง เป็นชั้นหนาหนาปานกลางแต่ไม่สม่ำเสมอ (10-30 ซม.) ในหินทรายมักพบgraded bed, lamination และ cross lamination (รูปที่ 4.40) ชั้นหินวางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันตก (70/282) บริเวณนี้มีรอยเลื่อนตัดในแนวประมาณตะวันออก-ตะวันตก (44/190) ในส่วนนี้พบโครงสร้างลอนลูกฟูก (Mullion structure) มีชายหาดปกคลุมยาวประมาณ 25 เมตร บนขึ้นมาหนาประมาณ 22 เมตรของหมวดหินเกาะเฮ เป็นหินกรวดมนเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินทราย ส่วนล่างของหินกรวดมนบางครั้งเป็นchanneled structure พวกนี้พบซ้ำหลายครั้ง แต่ส่วนใหญ่เป็นหินทรายชั้นขนาดหนาปานกลางถึงหนา (10-50 ซม.) วางตัวในแนว 76/282 ในหินทรายมี Boumasequence มักพบ lamination, graded bed และcross lamination (70/290) ในหินทรายช่วงบนมีกรวดปนประมาณ 5% กรวดส่วนใหญ่เล็กกว่า 2 ซม. มีหลายชนิด เช่น quartzite, dolomite, gneiss หินทราย กรวดบางก้อนขนาด 10-20 ซม. ปิดทับด้วยหินโคลน เนื้อละเอียด หนาประมาณ 20 เมตร บนขึ้นมาปกคลุมด้วยชายหาดกว้างประมาณ 80 เมตร ชั้นหินเปลี่ยนเป็นหมวดหินเขาพระ ประกอบด้วยหินโคลน สีเทาดำ แทรกสลับด้วยหินทรายชั้นบางๆ หนาประมาณ 20 เมตร (รูปที่ 4.41) และเป็นชั้นไม่ต่อเนื่อง (ไม่ใช่แบบขนมชั้น)แล้วชั้นหินเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินทรายปนกรวด หนาประมาณ 15 เมตร ปิดทับด้วยหมวดหินเขาเจ้า เป็นหินทราย quartz arenite to subarkose สีขาว เนื้อหยาบ เป็นชั้นหนาปานกลาง หนารวมประมาณ 15เมตร ช่วงนี้ชั้นหินวางตัวเอียงเทไปทางตะวันตก (75/270) ก่อนถึงหินปูนชั้นหนาที่อยู่ไปทางทิศตะวันตกจะมีชายหาดปกคลุมกว้างประมาณ 60 เมตร จากลักษณะของหินปูนซึ่งเป็นของหมวดหินอุ้มลูก จึงประมาณว่ามีรอยเลื่อนคั่นในช่วงนี้ ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


64บทที่ 4รูปที่ 4.38 แท่งแสดงลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานที่แหลมทาบ จังหวัดนครศรีธรรมราชRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน654.10.7 ลำดับชั้นหินที่บ้านแหลมไม้ไผ่ถึงหาดปลื้มสุข เกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ตที่เกาะภูเก็ต Laminated mudstone โผล่เห็นชัดเจนในหลายบริเวณ เช่น ที่แหลมไม้ไผ่ แหลมพับผ้าแหลมตุ๊กแก แหลมพันวา อ่าวพันวา และอ่าวมะขาม (รูปที่ 4.3) เป็นต้น ประกอบด้วยหินโคลนสีเทา เรียงตัวเป็นชั้นดี แทรกสลับด้วยชั้นบางๆ (ปกติหนาน้อยกว่า 1 ซม. แต่บางบริเวณอาจหนาถึง 10 ซม. ก็ได้) ของหินทรายแป้งและหินทราย สีเทา (ผุออกสีน้ำตาล) เป็นพวก par<strong>al</strong>lel bed คือความหนาของชั้นหินทางด้านข้างเปลี่ยนแปลงน้อย บางบริเวณมี Bioturbation มากโดยเฉพาะบริเวณที่มีหินทรายแทรกสลับมาก (Thinbedded sandstone and mudstone) อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายแป้งหรือหินทราย ประมาณ 1:1ถึงมากกว่า 4:1 มีการสะสมตัวเป็นแบบวัฐจักร (Cycle)โดยหินทรายที่แทรกสลับจะพบมากในส่วนล่างของcycle และหินทรายจะลดน้อยลงในส่วนบน (ทั้งความหนาและปริมาณ) รอยสัมผัสของหินทรายกับหินโคลนในส่วนล่างเป็น sharp contact สำหรับด้านบนส่วนใหญ่เป็น sharp contact มีบางส่วนเป็น gradation<strong>al</strong>contact ลักษณะโครงสร้างแบบ slumped beds พบเกิดร่วมด้วยในหลายบริเวณ เช่น ที่แหลมไม้ไผ่ แหลมตุ๊กแก และอ่าวพันวา ในบางแห่งพบโครงสร้างchannel structure ตัดเข้ามาในชั้นของ laminatedmudstone ด้วย เช่น ที่แหลมตุ๊กแก จากลักษณะดังกล่าวข้างต้นแสดงว่า Laminated mudstone เกิดสะสมตัวในทะเล (ลึก) โดยกระบวนการ Turbiditycurrent ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการสำรวจลำดับชั้นหินตามชายหาดของเกาะภูเก็ต คือช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน เพราะระดับน้ำทะเลจะต่ำ (ตอนกลางวัน) ช่วงประมาณเดือนสิงหาคมระดับน้ำทะเลในช่วงกลางวันจะสูง ทำให้ชั้นหินจมใต้น้ำ ซึ่งจะตรงข้ามกับระดับน้ำทะเลของทางฝั่งอ่าวไทยที่ตั้ง: บริเวณนี้ชั้นหินโผล่ตามแนวชายหาดของบ้านแหลมไม้ไผ่ (รูปที่ 4.3) ที่พิกัด UTM 438686Eและ 0871010N เป็นระยะทางมากกว่า 2 กิโลเมตร ชั้นหินในส่วนล่างเทียบได้กับหมวดหิน Laem Mai PhaiFormation ของ Hills (1989) และ Spillway Formationของ เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) แท่งลำดับชั้นหินตั้งแต่บ้านแหลมไม้ไผ่ถึงอ่าวปลื้มสุขแสดงไว้ในรูปที่ 4.7ลำดับชั้นหิน: ชั้นหินบริเวณนี้จัดอยู่ในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ทั้งหมด (รูปที่ 4.42) มีการสะสมตัวแบบวัฐจักร ซึ่งจะพบซ้ำหลายครั้ง หินทรายจะพบมากในส่วนล่างของวัฐจักร บนขึ้นไปหินทรายพบน้อยลงและกลายเป็นหินโคลน ล่างสุดหนาประมาณ 30 เมตร ชั้นหินวางตัวในทิศทาง 32/062 (dip direction)ประกอบด้วยการแทรกสลับกับของหินทรายและหินโคลน สีเทา ที่เป็นชั้นขนาดบาง เป็น par<strong>al</strong>lel bedsส่วนใหญ่หนาน้อยกว่า 10 ซม. และมีก้อนกรวดขนาด 1-2 ซม. ปนเล็กน้อย พวก Burrows พบทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 ซม. .วางตัวเอียงและตั้งฉากกับแนวของชั้นหิน (รูปที่ 4.43) ความหนาของชั้นหินทรายจะหนาน้อยลงในส่วนบน ในส่วนนี้มักพบโครงสร้างแบบ Thinning and fining upwardsequence (รูปที่ 4.42) และชั้นหินจะเปลี่ยนขึ้นไปเป็นlaminated mudstones สีเทา ซึ่งเป็นการแทรกสลับกันระหว่างหินโคลนกับหินทรายแป้ง ลักษณะของชั้นหินเรียงตัวสวยงามเหมือนขนมชั้น (รูปที่ 4.5) ช่วงนี้มีความหนาประมาณ 35 เมตร ในส่วนนี้จะพบโครงสร้างที่เรียกชื่อใหม่ว่า “vafour structure” (รูปที่ 4.44)เหมือนขนมเวเฟอร์ มีการเกิดที่สัมพันธ์กับชนิดของหินความหนาของชั้นหิน crack or joint ที่ถูกการกัดเซาะจากกระแสน้ำและลม และส่วนใหญ่ไม่พบโครงสร้างจาก Bioturbation ชั้นหินส่วนบน (จุดนี้เป็นโขดหินปลายแหลม) เป็น fault contact ในทิศทาง NNE-SSW(65/100) ปิดทับด้วยหินทรายที่มีสายควอตซ์ตัดผ่านมาก ถัดขึ้นไปเป็นการแทรกสลับกับของหินทรายและหินโคลน สีเทา ที่เป็นชั้นขนาดบาง หนาประมาณ 15 เมตร แล้วเปลี่ยนขึ้นไปเป็น laminated mudstonesเหมือนกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และมีรอยเลื่อนแบบปกติตัดผ่าน ส่วนนี้อยู่ทางด้านใต้ของแหลม มีความลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


66บทที่ 4รูปที่ 4.39รูปที่ 4.42รูปที่ 4.40รูปที่ 4.43รูปที่ 4.41รูปที่ 4.44Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน67รูปที่ 4.39 ภาพแสดงก้อนกรวดในหมวดหินสปิวเวย์ ที่แหลมทาบรูปที่ 4.40 Laminated sandstone แทรกสลับกับหินดินดาน ที่แหลมทาบรูปที่ 4.41 ภาพแสดงหินโคลนแทรกสลับกับหินทรายชั้นบางของหมวดหินเขาพระ ที่แหลมทาบรูปที่ 4.42 ภาพแสดงการแทรกสลับของหินทรายกับหินโคลนของหมวดหินแหลมไม้ไผ่รูปที่ 4.43 Burrows (ลูกศร) ในหินโคลนแทรกสลับกับหินทรายของหมวดหินแหลมไม้ไผ่รูปที่ 4.44 โครงสร้าง vafour structure ในหินโคลน ชั้นบางๆ ที่ชายหาดบ้านแหลมไม้ไผ่ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


68บทที่ 4หนาประมาณ 40 เมตร ชั้นหินวางตัวเอียงเทไปในทิศทาง NE (30/072) บนขึ้นไปเป็นชั้นของหินโคลนปนกรวด 4 ชั้น ปริมาณของกรวดประมาณ 5% บางชั้นเนื้อเป็นหินทราย แต่ละชั้นมีความหนาประมาณ 1-4 เมตรและชั้นหินโคลนปนกรวดจะเนื้อละเอียดขึ้นในส่วนบนความหนาทั้งหมดของส่วนนี้ประมาณ 10 เมตร บนขึ้นไปชั้นหินเปลี่ยนเป็น laminated mudstones ลักษณะเนื้อหินเหมือนที่กล่าวมาแล้ว มีความหนาประมาณ 40 เมตร (ถึงจุดที่เรียกว่าแหลมไม้ไผ่ มีเสาหินปูนของกรมศุลกากร และ bench mark ของกรมทรัพยากรธรณีปักอยู่ พิกัด 439195E 0871086N แนวการวางตัวของชั้นหิน 25/060) บนสุดของชั้นหินบริเวณนี้เป็น Pebbly mudstones มีกรวดประมาณ 10% ก้อนโตขนาด 10-20 ซม. พบทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิตบางส่วนเป็นหิน โดโลไมต์ ลำดับชั้นหินจากจุดนี้ไปทางอ่าวปลื้มสุขจะ down sequence และมีรอยเลื่อนมากเป็นหินทราย และ laminated mudstones (เช่น ที่หาดปลื้มสุข ชั้นหินวางตัว 32/038) บางช่วงพบก้อนกรวดบ้าง 4.10.8 ลำดับชั้นหินที่แหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ที่ตั้ง: แหลมตุ๊กแก อยู่ปลายหมู่บ้านแหลมตุ๊กแก บนเกาะสิเหร่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เป็นลำดับชั้นหินตามชายหาด (รูปที่ 4.3) พิกัด UTM436018E 870131N ระวางแผนที่จังหวัดภูเก็ต (4624 I)ลำดับชั้นหิน: หินบริเวณนี้ทั้งหมดจัดอยู่ในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ (รูปที่ 4.45) ซึ่งมีชั้นหินต้นฉบับอยู่ที่แหลมไม้ไผ่ (Hills, 1989) ชั้นหินส่วนล่างอยู่บริเวณปลายแหลม ซึ่งมีหอประภาคารอยู่ด้วย บริเวณนี้ชั้นหินเอียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (25/040)ประกอบด้วยหินโคลน (laminated mudstone) สีเทาชั้นบาง หนาประมาณ 20 เมตร แทรกสลับด้วยหินทราย เนื้อละเอียด ชั้นบาง (ส่วนใหญ่หนาน้อยกว่า1 ซม. แต่บางชั้นหนา 2-3 ซม.) อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทราย ประมาณ 2:1 โครงสร้าง mullion พบทั่วไป(รูปที่ 4.46) เกิดจากการตัดกันของ bedding planeกับ cleavage ทำให้ความหนาทางด้านข้างของหินทรายไม่คงที่ มีลอนคล้ายลูกคลื่น ในส่วนบนหนา90 เมตร เป็น laminated mudstone สีเทา เป็นชั้นบาง(par<strong>al</strong>lel bed) (รูปที่ 4.47) อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายมากกว่า 4:1 หินทราย/หินทรายแป้งที่แทรกสลับหนาชั้นละประมาณ 1-2 มม บางช่วงพบโครงสร้างchannel structure ในส่วนกลางของช่วงนี้หนาประมาณ 3 เมตร หินทรายที่แทรกสลับจะมีปริมาณมากขึ้น และพบ burrows ชั้นหินช่วงนี้วางตัว 19/022ส่วน cleavage 52/100 บนขึ้นมาชั้นหินยังคงเหมือนเดิมแต่มีปริมาณของชั้นทรายที่แทรกสลับมากขึ้น หนารวม 21 เมตร และส่วนนี้พบ slumped bed (รูปที่ 4.48)หนาประมาณ 90 ซม. และมี burrows ทั่วไป บนสุดหนาประมาณ 25 เมตร เป็น laminated mudstone สีเทา เป็นชั้นบาง (par<strong>al</strong>lel bed) อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายมากกว่า 4:1 ถึง 2:1Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน69รูปที่ 4.45 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่แหลมตุ๊กแก จ. ภูเก็ตลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


70บทที่ 4รูปที่ 4.46รูปที่ 4.49รูปที่ 4.47รูปที่ 4.48 รูปที่ 4.50Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน71รูปที่ 4.46 ภาพโครงสร้าง mullion structure หมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมตุ๊กแก จ. ภูเก็ตรูปที่ 4.47 Laminated mudstone หมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมตุ๊กแกรูปที่ 4.48 ภาพ slumped structure หมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมตุ๊กแก รูปที่ 4.49 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่อ่าวบ้านแหลมตุ๊กแกด้านตะวันออก จ. ภูเก็ตรูปที่ 4.50 ภาพ Laminated mudstone ที่อ่าวบ้านแหลมตุ๊กแกด้านตะวันออก จ. ภูเก็ตลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


72บทที่ 44.10.9 ลำดับชั้นหินที่อ่าวบ้านแหลมตุ๊กแกด้านตะวันออก เกาะสิเหร่ที่ตั้ง: บริเวณนี้เป็นชายหาดด้านตะวันออกของบ้านแหลมตุ๊กแก อยู่บนเกาะสิเหร่ อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต (รูปที่ 4.3) พิกัด UTM 437000E870200N ระวางแผนที่จังหวัดภูเก็ต (4624 I) ลำดับชั้นหิน: ลำดับชั้นหินทั้งหมดจัดอยู่ในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ส่วนล่างอยู่ใกล้หมู่บ้าน ชั้นหินเอียงไปทางทิศตะวันออก (30/082) โดยภาพรวมหินทั้งหมดเป็น Laminated mudstone (รูปที่ 4.49) สีเทาเป็นชั้นบาง (par<strong>al</strong>lel bed) แต่ต่างตรงที่ปริมาณของหินทรายแป้งที่แทรกสลับจะลดน้อยลงในส่วนบน แสดงลักษณะโครงสร้าง fining upward sequence กล่าวคือในส่วนล่างหนา 30 เมตร มีอัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายแป้งประมาณ 4:1 บนขึ้นไปหนา 21 เมตร เป็นLaminated mudstone ที่มีอัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายแป้งประมาณ 10:1 (รูปที่ 4.50) และบนขึ้นไปหนาประมาณ 10 เมตร เป็น Laminated mudstone ที่มีอัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายแป้งมากกว่า 10:1บนขึ้นไปหนา 7 เมตร อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายประมาณ 1:1 โดยหินทรายหนาชั้นละประมาณ 1-2 ซม. พบ Burrows มาก และพบslumped bed ด้วย Burrows มักพบในบริเวณที่มีหินทรายสลับกับหินโคลน ในขณะที่ส่วนที่เป็นหินโคลนชั้นบางๆ หรือ Laminated mudstone มักไม่พบburrow เดินไปตามชายหาด (ไปทางด้านตะวันออก)เป็นเขาลูกกลาง บริเวณนี้มีรอยสัมผัสแบบรอยเลื่อนในแนว NE-SW และเป็นหินโคลนปนกรวด (pebblymudstone) สีเทา ของหมวดหินเกาะเฮ เป็นที่น่าสังเกตว่าบริเวณเกาะภูเก็ต รวมถึงอ่าวพังงา บริเวณนี้จะมีรอยเลื่อนเด่นในแนว NE-SW และ NW-SE รูปร่างของเกาะต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีแนวอยู่ในโครงสร้างดังกล่าวด้วย4.10.10 ลำดับชั้นหินบริเวณแหลมพับผ้าเกาะสิเหร่ที่ตั้ง: บริเวณนี้เป็นชายหาดด้านตะวันออกของแหลมพับผ้า (บางรายงานเรียกแหลมศิลาพันธ์ ชาวบ้านเรียกแหลมกลาง) อยู่บนเกาะสิเหร่ อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต (รูปที่ 4.3) พิกัด UTM 438000E869700N ระวางแผนที่จังหวัดภูเก็ต (4624 I) จุดนี้อยู่ต่อเนื่องจากข้อ 4.10.9 มาทางด้าน SE ซึ่งเป็นส่วนของปลายแหลม ลำดับชั้นหิน: ชั้นหินโผล่เห็นดีตามชายหาดรอบปลายแหลมพับผ้า บริเวณนี้มี 2 หมวดหิน (รูปที่4.51) ในส่วนล่างเป็นหินโคลนปนกรวดของหมวดหินเกาะเฮ หนามากกว่า 60 เมตร กรวดบางก้อนโต 20 ซม.เป็นหินควอตไซต์ ชั้นหินค่อยเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลนเนื้อแน่น หนาประมาณ 6 เมตร อาจพบกรวดบ้างเล็กน้อย และเปลี่ยนเป็นหินโคลนปนกรวด หนา 4 เมตรซึ่งเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลน เนื้อแน่น หนา 5 เมตร บนขึ้นไปเป็นหมวดหินแหลมไม้ไผ่ หินเปลี่ยนเป็นlaminated mudstone สีเทา เป็นชั้นบาง มีความต่อเนื่องทางด้านข้างดี (par<strong>al</strong>lel bed) มีอัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายประมาณ 1:1 ถึง 2:1 ชั้นหินวางตัวในทิศ 54/140 ในส่วนบนหนามากกว่า 60 เมตรเป็นพวก laminated mudstone (เหมือนส่วนล่าง) ในบางช่วงปริมาณของหินทรายที่แทรกสลับจะมากขึ้น ในหินทรายมักพบแร่ hematite เข้าไปแทนที่ในผลึกรูปเต๋าของแร่ไพไรต์ ซึ่งพบทั่วไปRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน73รูปที่ 4.51 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่แหลมพับผ้า จ. ภูเก็ตลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


74บทที่ 44.10.11 ลำดับชั้นหินบริเวณเกาะเฮจังหวัดภูเก็ตที่ตั้ง: เกาะเฮ (แผนที่เขียนเกาะฮี ชาวบ้านเรียกเกาะเฮ) อยู่ทางด้านใต้ของเกาะภูเก็ต (รูปที่ 4.3)ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเพราะมีปะการังที่สวยงาม และได้เปลี่ยนชื่อเป็น Cor<strong>al</strong> Island มีพิกัดUTM 430700E 856300N ระวางแผนที่จังหวัดภูเก็ต (4624 I)ลำดับชั้นหิน: ลำดับชั้นหินที่ทำการศึกษาอยู่ด้านเหนือของเกาะ ทางฝั่งตะวันตกของชายหาด (รูปที่4.52) ชั้นหินบริเวณนี้เป็นหินต้นฉบับ (Type section)ของหมวดหินเกาะเฮ (เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช, 2536) บริเวณนี้ทั้งหมดเป็นหมวดหินเกาะเฮ (รูปที่4.12) มีความหนามากกว่า 67 เมตร ลำดับชั้นหินล่างสุดเริ่มต้นบริเวณหน้าผาที่เป็นโหนกหินทางด้านตะวันตกของชายหาด โดยชั้นหินเอียงเทไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จุดนี้เป็นหน้าผา ยังมีลำดับชั้นหินรองรับอย่างต่อเนื่องอยู่ด้านล่าง แต่เนื่องจากเป็นหน้าผาจึงไม่ได้ทำการสำรวจ ล่างสุดเป็นหินทรายปนกรวด (Pebbly sandstone) สีเทา เนื้อแน่น ไม่แสดงแนวชั้นหิน มีกรวดปนมาก 10-15% ก้อนโตๆ พบทั่วไป(รูปที่ 4.53) บางก้อนโต 45X60 ซม. (รูปที่ 4.13) เป็นพวกหินกรวดมน หินทราย หินควอตไซต์ หินอ่อนแกรนิต บางบริเวณพบมีกรวดปนมาก บางบริเวณปนน้อย ไม่พบลักษณะของ erosion<strong>al</strong> base bed อาจเนื่องจากหินมีเนื้อเป็นพวก massive และมี matrix เป็นชนิดเดียวกัน ในส่วนบนขนาดของกรวดจะเม็ดเล็กลงและหินเปลี่ยนไปเป็นหินโคลน สีเทา เป็นชั้นบางและแทรกสลับด้วยชั้นบางๆ ของหินทราย เนื้อละเอียด ชั้นหินส่วนนี้เอียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (50/138)และมี Cleavage เด่นในแนว 80/118 บนขึ้นมาก่อนถึงชายหาดทราย เป็นหินทรายปนกรวดหนาประมาณ 20เมตร (TC 83) พบหลักฐานเป็น channel structure ตัดลงไปบน Laminated mudstone (รูปที่ 4.54) แสดงว่าPebbly rocks นั้นมีการเกิดหลายช่วงและเป็นผลจากการสะสมตัวแบบ Gravity flow บริเวณโขดหินด้านตะวันออกของชายหาดเป็นหินโคลนเนื้อแน่น (massive) ในขณะที่บริเวณนี้จะปกคลุมไปด้วยก้อนหินขนาด boulder ของหินทรายปนกรวด/หินโคลนปนกรวด ซึ่งคาดว่าวางตัวอยู่ด้านบนที่เกาะโหลน ด้านใต้ของชายหาด พบลักษณะของหินโคลน เนื้อแน่น เปลี่ยนขึ้นไปเป็น laminatedmudstone และปิดทับแบบ sharp contact ด้วยหินโคลนเนื้อปนกรวด (pebbly mudstone) มีกรวดประมาณ 1% หรือน้อยกว่า จุดนี้เป็นหลักฐานอีกจุดหนึ่งที่แสดงถึงการเปลี่ยนไปตามวัฐจักรของการสะสมตัว (Deposition<strong>al</strong> cycle) Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน75รูปที่ 4.52 ภูมิประเทศของพื้นที่สำรวจบนเกาะเฮ ด้านตะวันตกรูปที่ 4.53 ในหิน Pebblysandstone บางช่วงมี clasts มาก หมวดหินเกาะเฮ ที่เกาะเฮรูปที่ 4.54 แสดง Channelstructure (บนหัวฆ้อน) ในหมวดหินเกาะเฮลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


76บทที่ 44.10.12 ลำดับชั้นหินบริเวณแหลมพันวาสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทางทะเลจังหวัดภูเก็ตที่ตั้ง: แหลมพันวา อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเกาะภูเก็ต (รูปที่ 4.3) พื้นที่ศึกษาเป็นลำดับชั้นหินตามชายหาด อยู่ในเขตของสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทางทะเล มีพิกัด UTM 435086E 862104Nระวางแผนที่จังหวัดภูเก็ต (4624 I)ลำดับชั้นหิน: บริเวณนี้มี 2 หมวดหิน (รูปที่4.55) ในส่วนล่างเป็นหมวดหินเกาะเฮ (รูปที่ 4.56)หนามากกว่า 23 เมตร ประกอบด้วยหินโคลนปนกรวดหนามากกว่า 7 เมตร วางตัวในส่วนล่าง กรวดมีประมาณ 1-5% ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. เป็นพวกหินทราย ควอตไซต์ แร่ควอตซ์ แกรนิต หินเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลน สีเทา เนื้อแน่น หนา 16 เมตร บางช่วงมีชั้นบางๆ ของหินทรายแทรก มีการแตกแบบ “กองขี้ควาย” ทั่วไป บนขึ้นไป บริเวณนี้เป็นปลายแหลม เป็นหมวดหินแหลมไม้ไผ่ หนามากกว่า 100 เมตรประกอบด้วย Laminated mudstone สีเทา เป็นชั้นบางๆวางตัวขนานกันอย่างดี (par<strong>al</strong>lel bed) แทรกสลับด้วยชั้นบางๆ (0.2-0.4 ซม.) ของหินทราย เนื้อละเอียดหรือหินทรายแป้ง ชั้นหินช่วงนี้วางตัวเอียงเทเล็กน้อยไปทางทิศใต้ (20/182) ในขณะที่แนวของ Cleavage จะเด่นกว่า (รูปที่ 4.57) วางตัวด้วยมุมที่ชันกว่าเอียงไปทางทิศตะวันออก (40/112) ถ้าสังเกตไม่ดีอาจเข้าใจว่าเป็นแนวของชั้นหิน บางช่วงหินทรายที่แทรกสลับอาจหนาประมาณ 1 ซม. (อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายประมาณ 1:1 ถึง 2:1) ในส่วนนี้อาจพบslumped bed และปกติหินทรายที่แทรกสลับจะลดน้อยลงในส่วนบน (อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายมากกว่า 4:1) ลักษณะโครงสร้างแบบ Mullion มักพบในส่วนที่มีหินทรายสลับมาก (รูปที่ 4.58) Lonestoneพบบ้างในส่วนบนส่วนใหญ่เป็นหินควอตไซต์ บางก้อนโต 10X8 ซม. (ดูรายละเอียดในหัวข้อ lonestone)4.10.13 ลำดับชั้นหินบริเวณอ่าวพันวากองเรือยุทธการ จังหวัดภูเก็ตที่ตั้ง: อยู่บริเวณชายหาดด้านทิศเหนือของอ่าวพันวา โดยเป็นชายหาดด้านข้างของที่ตั้งกองเรือยุทธการ กองทัพเรือ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเกาะภูเก็ต (รูปที่ 4.3) มีพิกัด UTM 434436E862658N ระวางแผนที่จังหวัดภูเก็ต (4624 I)ลำดับชั้นหิน: บริเวณนี้ทั้งหมดเป็นของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ (รูปที่ 4.59) มีความหนามากกว่า 125เมตร หินทั้งหมดเป็น Laminated mudstone สีเทาเป็นชั้นบางๆ ขนานกันอย่างดี โดยปกติอัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายจะประมาณ 4:1 หรือมากกว่า โดยlamination เกิดจากการมีชั้นบางๆ ขนานกันของหินทรายหรือหินทรายแป้ง มาแทรกสลับ ในส่วนล่างพบ Slumped bed หนา 1.2 เมตร ลำดับชั้นหินบริเวณนี้เป็นที่พบ lonestone ได้ดีและมากที่สุด บางก้อนโตขนาด 45X45X60 ซม. (ดูรายละเอียดในหัวข้อlonestone) บางก้อนตัดลงไปในชั้น Laminatedmudstone อันเป็นคุณลักษณะเด่นของ Dropstone (ดูรายละเอียดในหัวข้อ dropstone) ในส่วนบนปริมาณของหินทรายที่แทรกสลับพบมากขึ้น ส่วน Burrows พบทั่วไปโดยเฉพาะในส่วนบนและส่วนใหญ่เป็นพวกhorizont<strong>al</strong> holesRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน77รูปที่ 4.55 แท่งลำดับชั้นหินกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่แหลมพันวา จ. ภูเก็ตลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


78บทที่ 4รูปที่ 4.56 ชั้นหินโคลนปนกรวด ของหมวดหินเกาะเฮ (ด้านหน้า) ที่หาดแหลมพันวารูปที่ 4.57 แนวชั้นหิน (แนวด้ามฆ้อน) และแนวCleavage ที่ปลายแหลมพันวารูปที่ 4.58 โครงสร้าง Mullionที่แหลมพันวาRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน79รูปที่ 4.59 แท่งลำดับชั้นหินหมวดหินแหลมไม้ไผ่ บริเวณอ่าวพันวา กองเรือยุทธการ จังหวัดภูเก็ตลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


80บทที่ 44.10.14 ลำดับชั้นหินบริเวณอ่าวมะขามจังหวัดภูเก็ตที่ตั้ง: อ่าวมะขาม อยู่ด้านเหนือของแหลมพันวา ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเกาะภูเก็ต มีพิกัด UTM 434600E 865100N ระวางแผนที่จังหวัดภูเก็ต (4624 I)ลำดับชั้นหิน: บริเวณนี้เป็นหมวดหินแหลมไม้ไผ่ทั้งหมด มีความหนามากกว่า 130 เมตร (รูปที่ 4.60)ชั้นหินวางตัวเอียงไปทางทิศตะวันออก (15/072)ทั้งหมดเป็น Laminated mudstone ในส่วนล่างหินทรายที่แทรกสลับในหินโคลนจะพบมาก มีความหนาประมาณ 1 ซม. บางชั้นหนาถึง 2 ซม. มีอัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายประมาณ 2:1 – 1:1 และพบBurrows ทั่วไปทั้งแบบ Vertic<strong>al</strong> holes และ horizont<strong>al</strong>holes รอยสัมผัสระหว่างหินทรายกับหินโคลนเป็นแบบsharp contacts ทั้งด้านบนและด้านล่าง ปริมาณของหินทรายที่แทรกสลับจะน้อยลง ในส่วนบน ในตอนกลางจะเปลี่ยนไปเป็นหินโคลน เนื้อแน่น หนาประมาณ12 เมตร มีกรวดปนประมาณ 1% และปิดทับด้วยLaminated mudstone หนามากกว่า 50 เมตร รูปที่ 4.60 แท่งลำดับชั้นหิน หมวดหินแหลมไม้ไผ่บริเวณอ่าวมะขาม จังหวัดภูเก็ตRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน814.10.15 ลำดับชั้นหินที่เขาตาม่องล่ายประจวบคีรีขันธ์ที่ตั้ง: เขาตาม่องล่าย อยู่ริมทะเลทางด้านตะวันออกของตัวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลำดับชั้นหินโผล่ชัดเจนตามชายหาด อยู่ในเขตวนอุทยานเขาตาม่องล่าย เริ่มบริเวณพิกัด 590604E 1307920N ไปตามปลายแหลมหรือหัวเขา (รูปที่ 4.61) การไปศึกษาในภาคสนามต้องคำนึงถึงช่วงเวลาน้ำขึ้น-น้ำลงด้วยลำดับชั้นหิน: ลำดับชั้นหินส่วนล่างจะสังเกตได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับน้ำทะเลลดลงมากแค่ไหน ล่างสุดเป็นหมวดหินเขาพระ หนาประมาณ 93 เมตร ประกอบด้วยหินโคลน สีเทา ผุออกสีเทาอมเขียวสลับด้วยชั้นบางๆ (ส่วนใหญ่หนาน้อยกว่า 1 ซม.)ของหินทรายเนื้อละเอียด (ผุออกสีเหลือง) ชั้นหินเอียงเทไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ (30/158) ปริมาณของหินทรายที่แทรกสลับจะมากขึ้นในส่วนบน รวมทั้งความหนาของชั้นทรายก็มากขึ้นด้วย บางชั้นเป็นหินทรายประเภท quartz-rich sandstone หนาถึง 60 ซม.หินทรายแต่ละชั้นมีความหนา ไม่สม่ำเสมอ บ่อยครั้งที่ตีบหายไปทางด้านข้าง Burrows หรือรูหนอน พบทั่วไปวางตัวทำมุมเอียง กับชั้นหิน (subhorizont<strong>al</strong> holes)ส่วนบนของหมวดหินเขาพระจะเริ่มพบชั้นบางๆ ของcrinoid<strong>al</strong> beds แทรก (รูปที่ 4.62) และเริ่มพบซากดึกดำบรรพ์พวก Bryozoa และ crinoid แทรกสลับหลายช่วง Sakagami (1968c) ได้วิเคราะห์ Bryozoaบริเวณนี้เป็นพวก Coscinotrypa crient<strong>al</strong>is Sakagami,Dyscritella grossa Sakagami, Fenestella cf.dispersa (Crockford), Fenestella cf. subrudisCondra, Fenestella pulchradors<strong>al</strong>is Bassler,Fenestella r<strong>et</strong>iformis (Schlotheim), Fenestella sp.ind<strong>et</strong>., Fistulipora cf. grandis volongensisNikiforova, Fistulipora cf. labratula Bassler,Fistulipora timorensis Bassler, Leioclemamongraiensis Sakagami, Polypora cf. repensTrizna, Polypora cf. tripliseriata Bassler, Polyporasp. ind<strong>et</strong>., Protor<strong>et</strong>epora lamellata Sakagami อายุArtinskian (Lower Permian)บนขึ้นไปเป็นหมวดหินเขาเจ้า หนาประมาณ57 เมตร หินทรายประเภท quartz-rich sandstone สีขาว ผุออกสีเทาอมเหลือง เป็นชั้นหนา พบชั้นเฉียงระดับและรูหนอน (Burrow) เกิดร่วมด้วยทั่วไป บางแห่งพบมาก ในส่วนบนมีหินเชิร์ตแทรกสลับเป็นเล็นส์ (หนาประมาณ 2-5 ซม.) ยาวขนานไปกับแนวชั้นหินหินเชิร์ตนี้เข้าใจว่ามีการเกิดแบบทุติยภูมิ เกิดแทนที่ในหินทราย โดยมีหลักฐานคือมีแนวของ Lamination อยู่ในหินเชิร์ต ในช่วงนี้จะพบ thinly shell beds (รูปที่4.63) แทรกในหินทรายด้วย บนขึ้นไปเป็นหมวดหินพับผ้า ประกอบด้วยหินโดโลไมต์ หินปูน เป็นชั้นบางถึงหนาปานกลาง สีเทา สีน้ำตาลแดง บางส่วนมี chertnodules แทรก บนขึ้นไปซึ่งเป็นส่วนของยอดเขาจากการสำรวจด้วยกล้องส่องทางไกลพบเป็นหินปูน เป็นชั้นหนาถึงหนามาก เข้าใจว่าเป็นของหมวดหินอุ้มลูก แท่งลำดับชั้นหินแสดงไว้ในรูปที่ 4.64ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


82บทที่ 4รูปที่ 4.61 เขาตาม่องล่าย ช่วงน้ำทะเลลงRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน83รูปที่ 4.62 ชั้นบางๆ ของ crinoids ในหินทรายของหมวดหินเขาเจ้า ที่เขาตาม่องล่ายรูปที่ 4.63 Thinly shell beds ในส่วนบนของหมวดหินเขาเจ้า ที่เขาตาม่องล่ายลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


84บทที่ 4รูปที่ 4.64 แท่งลำดับชั้นหินบริเวณเขาตาม่องล่ายRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน85รูปที่ 4.65 แท่งลำดับชั้นหินของหมวดหินเกาะเฮ ที่อำเภอละอุ่นลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


86บทที่ 44.10.16 ลำดับชั้นหินที่อำเภอละอุ่นจังหวัดระนอง บริเวณ Road cut outcrop บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 5 ถนนสาย 4191ที่ตั้ง: บริเวณนี้ชั้นหินโผล่เห็นได้เด่นชัด 2 ข้างถนน หมายเลขสำรวจ TS 387 พิกัด UTM 472067E,1118440N เป็นของหมวดหินเกาะเฮ กลุ่มหินแก่งกระจาน ชั้นหินวางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันออก การอธิบายลำดับชั้นหินเริ่มจากส่วนที่วางตัวอยู่ด้านล่างขึ้นไปด้านบน (รูปที่ 4.65 )ลำดับชั้นหิน: ลำดับชั้นหินที่วางตัวอยู่ส่วนล่าง (เริ่มบริเวณหัวโค้งของถนน) เป็นหิน matrixsupported, pebbly-sandy mudstone สี (ผุ)น้ำตาลแดง มีความหนาประมาณ 67 ม. ในเนื้อหินพบเม็ดทรายพวกควอตซ์อยู่ทั่วไป clasts ขนาด 2-3 ซม. พบประมาณ 1-5% ส่วนใหญ่เป็นพวก quartzite สีเทาขาวหินทราย หินแกรนิต กรวดบางก้อนมีขนาด 10 ซม. ชั้นหินเปลี่ยนแบบกระทันหัน (sharp contact) ขึ้นไปเป็นหินกรวดมน หนาประมาณ 30 ม. มีทั้งที่เป็นmatrix-supported conglomerate (มักพบในตอนล่าง)และที่เป็น clast-supported conglomerate (พบในตอนบน) มีชั้นหินวางตัวเอียงไปทางทิศตะวันออกด้วยมุม 82 องศา (82/110 วัดแบบ dip direction) มี clastsส่วนใหญ่เป็น quartzite, vein quartz, หินทราย หินแกรนิต หินโคลน กรวดบางก้อนโต 40 ซม. ส่วนใหญ่มีความมนอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีความกลมไม่อยู่ในเกณฑ์ดีในส่วนนี้บางช่วงแสดงโครงสร้าง channel structure (พบในส่วนล่างของชั้นหินกรวดมน) โครงสร้างพวกfining upward sequences พบอย่างน้อย 6 ช่วง หนาช่วงละประมาณ 1-2 ม. เป็นการเปลี่ยนขนาดจากหินกรวดมน (ที่วางตัวอยู่ส่วนล่าง) ขึ้นไปเป็นหินทรายเนื้อหยาบ ในช่วงบนหนาประมาณ 7.6 ม. ชั้นหินเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินทราย และหินทรายแป้ง แล้วเปลี่ยนขึ้นไปเป็น pebbly sandy mudstone สีเทา หนาประมาณ15 ม. (อยู่บริเวณศาลพ่อตาขุนบางลำพู) ในเนื้อหินมีเม็ดควอตซ์ มีก้อนกรวดส่วนใหญ่ขนาดเล็กกว่า 1 ซม.ประมาณ 10 % บนขึ้นไปเป็นหินทราย หนาประมาณ 9ม. แล้วเปลี่ยนขึ้นไปเป็น pebbly-sandy mudstoneแทรกสลับบางช่วงด้วยชั้นของหินกรวดมน (matrixsupported) หนารวมประมาณ 61 เมตร ชั้นบนสุดของลำดับชั้นหินนี้หนาประมาณ 60 ม. เป็นหินโคลนและหินทรายแป้ง สีน้ำตาลแดง มีบางช่วงแทรกสลับด้วยชั้นของหินทรายRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


บทที่5การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์5.1 การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาภาวะแวดล้อมการสะสมตัวของกลุ่มหินแก่งกระจานตะกอนวิทยา(Sedimentology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับหินชั้นและกระบวนการสะสมตัวของหิน ที่ผ่านมามีการศึกษาทางตะกอนวิทยาของกลุ่มหินแก่งกระจานที่เป็นระบบกันน้อย ทั้งๆ ที่การแปลความหมายทางด้านการสะสมตัวของหินจำต้องอาศัยการศึกษาทาง Facies ของหิน จึงเป็นที่มาของความไม่ลงตัวในการแปลความหมายของผลงานที่ทำมาก่อน5.1.1 Facies ของกลุ่มหินแก่งกระจานFacies ตามพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยาหมายถึงรูปร่าง สภาพ หรือลักษณะที่เด่นซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาวะการกำเนิด หรือส่วนประกอบจำเพาะของหินนั้นๆคำนิยาม: Diamictite ตาม Glossary ofGeology (Bates and Jackson, 1987) เป็นชื่อหินเสนอโดย Flint <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1960) เป็นชื่อในเชิงอธิบาย (descriptive name หรือ nongen<strong>et</strong>ic term) ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับการกำเนิด หมายรวมถึงหินตะกอนที่ไม่มีการคัดขนาด (poorly sorted) ประกอบด้วยเม็ดตะกอนขนาดแตกต่างกันมาก เช่น หินโคลนที่มีตะกอนขนาดเม็ดกรวดขนาดใหญ่และเม็ดทรายปนอยู่ด้วย ส่วนPebbly mudstone (เสนอชื่อโดย Crowell, 1957) เป็นชื่อ descriptive name เช่นเดียวกัน หมายถึงหินโคลนปนกรวดที่ไม่มีการคัดขนาด และกรวดส่วนใหญ่มีขนาดPebble (4-64 มม.) สำหรับ pebbly sandstone เป็นชื่อdescriptive name หมายถึงหินทรายที่มีกรวดขนาดpebble ประมาณ 10-20% ส่วนคำว่า Tillite นั้นเป็นgen<strong>et</strong>ic name หมายถึงตะกอนที่เกิดจากธารน้ำแข็งเป็นชื่อที่บ่งถึงการกำเนิดจึงไม่เป็นชื่อที่นิยมใช้ตามมาตรฐานสากล ส่วนคำว่า pebbly mudstone, pebblysandstone และ pebbly rock นั้นเป็นชื่อในเชิงอธิบายได้ใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในประเทศไทยและจีน และสอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหินที่ปรากฏอยู่ ดังนั้นในรายงานฉบับนี้จึงใช้คำ pebblymudstone, pebbly sandstone และ pebbly rockรายงานฉบับนี้ ได้แบ่ง Lithofacies ของกลุ่มหินแก่งกระจานออกเป็น 9 facies และได้ทำการเทียบเคียงกับการแบ่งที่มีการศึกษามาก่อนด้วย โดยได้ใช้การแบ่ง Facies ของทั้ง Mitchell (1970), Grason<strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1975), Altermann (1987) และ Hills (1989) เป็นแนวทางด้วย ดังแสดงไว้ในตารางที่ 5.1 Lithofaciesของกลุ่มหินแก่งกระจานมีดังนี้ 1) Thin bedded sandstones andmudstones facies ประกอบด้วยหินทราย เนื้อละเอียดถึงปานกลาง เป็นชั้นบาง ส่วนใหญ่แต่ละชั้นมีความหนาน้อยกว่า 10 ซม. บางชั้นอาจหนา 30 ซม. หรือมากว่า


88บทที่ 5(ความหนาของชั้นหินทรายจะลดลงในส่วนบน อาจหนา1-3 ซม.) แทรกสลับแบบชั้นต่อชั้น (even bed) กับหินโคลน สีเทา (รูปที่ 4.42 และ 4.43) ชั้นหินทรายสามารถติดตามทางด้านข้างได้ไกล (par<strong>al</strong>lel bed, goodlater<strong>al</strong> continuity) แม้ว่าจะเป็นชั้นบางๆ เมื่อสังเกตใกล้ๆ พบว่าชั้นหินทรายแต่ละชั้นมีความหนาทางด้านข้างเปลี่ยนแปลงบ้าง บางบริเวณอาจมีผลึกของแร่ไพไรต์และบางบริเวณแสดงแนวชั้นเฉียงระดับ (Crosslamination) รอยสัมผัสระหว่างหินทรายกับหินโคลนที่อยู่ข้างล่างเป็นแบบ erosion<strong>al</strong> contact ส่วน uppercontact ของหินทรายเปลี่ยนไปเป็นหินโคลนมีทั้ง sharpand gradation<strong>al</strong> contacts อัตราส่วนของหินทรายต่อหินโคลน ประมาณมากกว่า 2:1 ถึง 1:2 มักแสดงโครงสร้าง Thinning and fining upward sequenceคือมีทั้งขนาดของเม็ดตะกอนและความหนาของชั้นหินน้อยลงในส่วนบน (รูปที่ 4.42) พวก Bioturbation พบทั่วไปโดยเฉพาะในชั้นของหินโคลนสลับหินทราย ปกติเป็นแท่งกลมยาวเดี่ยว วางตัวเอียงกับแนวชั้นหินถึงขนานกับแนวชั้นหิน (รูปที่ 4.4 และ 4.43) Thin beddedsandstones and mudstones facies มักพบมีSlumped structure (Disturbed strata facies) เกิดร่วมด้วย และมักพบเปลี่ยนขึ้นไปเป็น Laminatedmudstone faciesการแผ่กระจายและเทียบเคียง: Thin beddedsandstones and mudstones facies นี้พบในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ โผล่เห็นชัดเจนที่ชายหาดบ้านแหลมไม้ไผ่Facies นี้เทียบได้กับ Sharp based sandstones andmudstones facies ของ Mitchell (1970), Thin-beddedor laminated siltstones and sandstones facies ของAltermann (1987), และ Alternating Sandstones andsiltstones facies ของ Hills (1989)การแปลความหมาย: ลักษณะการแทรกสลับของหินทรายกับหินโคลนที่มีความหนาของชั้นหินแต่ละชั้นค่อนข้างคงที่และมีผิวด้านล่างของหินทรายเป็นแบบerosion<strong>al</strong> surface นี้ เป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัวของหินที่สะสมตัวในน้ำที่ค่อนข้างสงบนิ่งหรือลึก ในกรณีนี้หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์บ่งเป็นน้ำทะเล แต่จากการพบชั้นเฉียงระดับบ้างในหินทรายรวมทั้งการมีBurrows พวก Cruziana ichnofacies เกิดร่วมด้วยแสดงว่าคงไม่ใช่ทะเลลึกมาก และจากการที่มักพบมีโครงสร้าง Slumped structure เกิดร่วมด้วยแสดงว่าต้องเป็นส่วนที่ท้องทะเลมีความลาดชัน โครงสร้างThinning and fining upward sequence มักพบในส่วนของ channel and levee ถึง interchanneldeposits ของ middle submarine fan (Mutti andRicci Lucchi, 1972; W<strong>al</strong>ker, 1985) ซึ่งในที่นี้น่าจะเกิดในส่วนของ shelf ถึง continent<strong>al</strong> slope 2) Laminated mudstones faciesประกอบด้วยหินโคลน สีเทา ที่แสดงแนวของชั้นหินชัดเจน แต่ละชั้นมีความหนาน้อยกว่า 1 ซม. และสามารถติดตามแนวของชั้นหินทางด้านข้างได้ไกล (par<strong>al</strong>lel bedand good later<strong>al</strong> continuity) หรือ ที่เรียกว่าชั้นหินแบบขนมชั้น (รูปที่ 4.5, 4.44, 4.50 และ 4.57) แนวชั้นหินเกิดเนื่องจากหินโคลนมีชั้นหินทรายแป้งแทรกสลับ โดยหินทรายแป้งมีความหนาชั้นละประมาณ 0.1–0.5 ซม. มีรอยสัมผัสระหว่างหินโคลนกับหินทรายแป้งทั้งบนและล่างเป็นแบบ sharp contacts มีอัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายแป้งประมาณ 2:1 หรือมากกว่า พวกร่องรอยของซากดึกดำบรรพ์ หรือ Bioturbation พบบ้างในบางบริเวณเป็นรูกลมวางตัวในแนวราบ เป็นพวก Planolitesในบางจุดอาจพบก้อนกรวดหรือ Lonestone ที่มีขนาดต่างจากเนื้อหินมากแทรก ปนด้วย เช่น ที่แหลมพับผ้ามีกรวดขนาด 30x45x15 ซม.(กxยxส) Laminatedmudstones facies มักพบวางต่อเนื่องอยู่บน Thinbedded sandstones and mudstones facies เช่น ที่โผล่เห็นได้ดีที่ชายหาดบ้านแหลมไม้ไผ่ แหลมตุ๊กแก และที่แหลมพับผ้าการแผ่กระจายและเทียบเคียง: Laminatedmudstones facies นี้พบในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ โผล่เห็นชัดเจนที่ชายหาดบ้านแหลมไม้ไผ่ นอกจากนี้ยังพบได้ดีที่อ่าวปลื้มสุข บ้านแหลมตุ๊กแก แหลมพันวา และแหลมพับผ้า Facies นี้เทียบได้กับ Laminated mudstonesfacies ของ Mitchell (1970), Thin-bedded orlaminated mudstones facies ของ Altermann Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์89(1987), และ Laminated siltstone facies และ Slatefacies ของ Hills (1989)การแปลความหมาย: การแทรกสลับของหินโคลนกับชั้นบางๆ ของหินทรายแป้ง โดยเป็นแบบpar<strong>al</strong>lel bed ที่มีความหนาเกือบคงที่ แสดงว่าเกิดสะสมตัวในน้ำค่อนข้างนิ่ง สงบและลึก ลักษณะเช่นนี้นิยมแปลให้เกิดสะสมในส่วนของ basin plain ของsubmarine fan environment ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นท้องทะเลลึกและกว้าง จากการที่พบว่า Laminatedmudstones facies นี้มีความสัมพันธ์กับ Thin beddedsandstones and mudstones facies ก็สนับสนุนการแปลผลเช่นนี้ อีกทั้งลักษณะของ bioturbation ที่มีรูวางตัวในแนวราบ (horizont<strong>al</strong>) ก็สนับสนุนการเกิดในน้ำลึก การพบก้อนกรวดที่มีขนาดแตกต่างจากเนื้อหินมากบ่งถึงความผิดปกติ แสดงว่าไม่ได้ถูกพัดพามาจากแหล่งเดียวกับเนื้อหิน ลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะเด่นของตะกอนที่เกิดจากการละลายตกลงมาจากธารน้ำแข็ง หรือที่เรียกว่า Lonestone ดังนั้น Laminatedmudstones facies จึงเป็นพวกที่เกิดในน้ำทะเลลึกสงบ ไม่มีการรบกวนจากอิทธิพลของกระแสคลื่น ในสภาพภูมิอากาศหนาวที่มีธารน้ำแข็ง(iceberg)เกี่ยวข้องอยู่ด้วย 3) Pebbly rocks facies ประกอบด้วยหินโคลนเนื้อปนกรวด (Pebbly mudstone) และหินทรายเนื้อปนกรวด (Pebbly sandstone) สีเทา เนื้อแน่น (massive) ไม่มีการคัดขนาด (poor sorting) ไม่ค่อยเห็นแนวของชั้นหิน ก้อนกรวดมีปริมาณน้อยกว่า 10 %กระจัดกระจายแบบไม่เป็นระเบียบ (รูปที่ 5.1, 4.14-4.16, 4.34 และ 4.35) ส่วนใหญ่กรวดมีขนาดเล็กกว่า1 ซม. แต่บางก้อนอาจมีขนาด 15 ซม. หรือโตกว่า ถ้ากรวดมีปริมาณมาก (10%) มักพบว่าก้อนกรวดที่มีขนาดโตกว่า 1 ซม อยู่ทั่วไปและเนื้อหินหรือ matrix จะออกทาง sandy มากขึ้น กรวดเป็นพวก quartzite,แกรนิต หินปูน โดโลไมต์ vein-quartz, gneissหินทราย ส่วนใหญ่มีความมนแบบ subangular tosunround และมีความกลม (sphericity) ต่ำ นอกจากนี้บางบริเวณเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลน เนื้อแน่น ไม่แสดงแนวชั้นหินการแผ่กระจายและเทียบเคียง: Pebbly rocksfacies ส่วนใหญ่พบในหมวดหินเกาะเฮ บางส่วนพบในหมวดหินสปิวเวย์และหมวดหินเขาพระ เช่น ที่เกาะเฮเกาะโหลน แหลมพับผ้า อ่าวริมหาด และที่แหลมพันวาพบว่าวางตัวปิดทับอยู่บน Laminated mudstonesfacies เป็นที่น่าสังเกตว่า Clasts ที่พบที่เกาะเฮ (อยู่ไปทางทิศใต้ของเกาะภูเก็ต) จะมีขนาดใหญ่กว่าที่พบในบริเวณอื่น Facies นี้เทียบได้กับ Pebbly mudstonesfacies ของ Mitchell (1970), Structureless pebblymudstones to pebbly sandstones facies ของAltermann (1987), และ Pebbly mudstones faciesของ Hills (1989)การแปลความหมาย: การเกิดของหินโคลนที่มีกรวดปนอยู่ด้วยเกิดได้หลายแบบ เช่น season<strong>al</strong> influxของกรวดมาบนชั้นของโคลน (ในกรณีเช่นนี้จะได้กรวดเรียงตัวเป็นแนวของชั้นหิน (bed) ซึ่งกรณีนี้จะขัดแย้งกับลักษณะของ Pebbly mudstones ที่ไม่ค่อยแสดงแนวของชั้นหิน) หรือเกิดจากการพัดพาแบบ gravity flow (ซึ่งกรณีนี้ขนาดของก้อนกรวดจะมีขนาดเปลี่ยนไปตามระยะทางที่ห่างจากจุดกำเนิด และมักแสดงลักษณะของโครงสร้างแบบร่องน้ำ หรือ channel structure รวมทั้งมักแสดงลักษณะเป็นชั้น (stratification) ด้วย) หรือเกิดแบบ Glaciomarine ซึ่งจะได้ก้อนกรวดขนาดใหญ่/เล็กปนอยู่ด้วยเมื่อเทียบกับขนาดตะกอนของหินโคลน จากลักษณะของหินโคลนปนกรวดที่เป็นมวลหนาไม่แสดงชั้นแสดงว่าเกิดจากการสะสมตัวอย่างรวดเร็วจากกระบวนการ gravity flow หลักฐานที่พบว่าหินโคลนปนกรวดพบวางตัวบน laminated mudstones ซึ่งเกิดสะสมตัวในน้ำทะเลลึก แสดงว่าหินโคลนปนกรวดก็เกิดสะสมตัวในทะเลเช่นกัน แต่จะค่อนมาทางฝั่งหรือแหล่งต้นกำเนิด โดยปกติพวกที่มีกรวดขนาดโตกว่าและมีปริมาณของกรวดมากกว่า จะเกิดสะสมตัวอยู่ใกล้แหล่งต้นกำเนิดมากกว่า จากรายงานของ Tantiwanit <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1983) ก้อนกรวดส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. แต่ที่มีขนาดใหญ่สุดที่ภูเก็ตใหญ่กว่า 1 เมตร อาจแสดงว่าเป็นlonestone อันแสดงถึงการมีส่วนร่วมของธารน้ำแข็งลักษณะที่พบหินโคลนปนกรวดเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


90บทที่ 5โคลน เนื้อแน่น ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงตามหลักของLater<strong>al</strong> facies change ซึ่งในส่วนของหินโคลนจะเกิดสะสมตัวไปทางปลายน้ำ4) Conglomerates facies ประกอบด้วยหินกรวดมน เป็นพวก clast-supported และมี matrix เป็นหินทราย (รูปที่ 5.2) โดยด้านล่างของชั้นหินกรวดมนมักเป็น erosion<strong>al</strong> surface ส่วนด้านบนจะเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินทรายที่แสดงโครงสร้าง Bouma sequence ของTurbidite sandstones faciesการแผ่กระจายและเทียบเคียง: Conglomeratesfacies พบในหมวดหินสปิลเวย์ เช่น ที่แหลมทาบ Facies นี้เทียบได้กับ Conglomeratic layersfacies ของ Altermann (1987) และ Conglomeratefacies ของ Hills (1989)การแปลความหมาย: การสะสมตัวของหินกรวดมนเกิดได้ในหลายสภาพแวดล้อม หินกรวดมนต้องการกระแสน้ำที่รุนแรง ซึ่งหมายถึงต้องมีความเอียงเทของพื้นผิวที่ค่อนข้างชันและเกี่ยวข้องกับกระบวนการGravity flows ในขณะที่ Stow (1986) กล่าวว่าการเกิดdebris flow สภาพพื้นผิวต้องมีความลาดเอียงอย่างน้อย 0.5 ° ขึ้นไป ถ้าตะกอนมีการสะสมตัวที่ค่อนข้างรวดเร็วจะให้หินกรวดมนที่ไม่แสดงการเรียงตัวของก้อนกรวด (Unstratified conglomerate) พวกนี้ส่วนใหญ่จะเกิดใกล้กับแหล่งกำเนิด ไกลออกไปทางปลายน้ำหินกรวดมนจะมีการเรียงตัวและการคัดขนาดดีขึ้น เช่น ให้โครงสร้างแบบ Graded bed เปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินทรายหรือในทางด้านข้าง (Later<strong>al</strong> facies change) อาจให้ลักษณะเป็นชั้นกรวดบางๆ เรียงตัวในหินทรายลักษณะของ grading แสดงว่าสะสมตัวในน้ำ ซึ่งเป็นตัวกลางทำให้เกิดการคัดขนาด จากตัวของหินกรวดมนเองบอกไม่ได้ว่าเกิดในทะเลหรือน้ำจืด (ต้องดูจากซากดึกดำบรรพ์) น้ำลึกหรือตื้น (ต้องอาศัยหลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์และโครงสร้างของชั้นหิน) แต่จากชั้นหินที่ปิดทับและรองรับอยู่แสดงว่าเกิดในน้ำทะเลและความลึกไม่มากRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์91ตารางที่ 5.1 แสดงเปรียบเทียบการแบ่ง Facies ของกลุ่มหินแก่งกระจาน99 5.1 Facies Mitchell(1970)Garson <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1975)Upper Formation:Facies H: Thick-beddedsandstones and sh<strong>al</strong>es.Facies G: Bryozoan bed.Lower Formation:Facies F: Well-sorted sandstoneand conglomerateFacies E: Limestone.Facies D: Pebbly mudstones.Facies C: Slumped units.Facies B: Sharp basedsandstones and mudstonesFacies A: Laminatedmudstones.Altermann(1987) Hills(1989) Baird(1992) This ReportUpper Formation:9) Thick-bedded sandstones andsh<strong>al</strong>es8) Bryozoan bed.Lower Formation:7) Slumped units.6) Sharp based, graded sandstones.5) Conglomeratic layers.4) Structureless pebbly mudstonesto pebbly sandstones.3) Thin-bedded mudstones tosandstones with scatteredpebbles.2) Thin-bedded or laminatedsiltstones and sandstones.1) Thin-bedded or laminatedmudstones.Ao Lohd<strong>al</strong>um Formation- quartz arenite Member- Lower black siltstone Member- massive sandstone Member- Upper siltstone Member- Upper sandstone MemberKo Lon Formation- Pebbly mudstones- laminated siltstones- ConglomerateLaem Mai Phai Formation- Alternating Sandstones andsiltstones- laminated siltstones and sandymudstones- slates- thickly bedded sandstones andmudstones- Laminated siltstones- Pebble- cobble diamictitesFacies A: Well sorted quartziteA2: Massive quartziteA1: Cross-bedded quartzitesFacies B: Pebbly mudstoneLithofacies in clastics9) Mature sandstones8) Disturbed strata7) Mudstone with lenticularbedding6) Massive mudstone5) Turbidite sandstones4) Conglomerates3) Pebbly rocks2) Laminated mudstones1) Thin bedded sandstones andmudstonesKaeng Krachan Groupลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


92บทที่ 5123456รูปที่ 5.1 ลักษณะของ Pebbly rocks ของหมวดหินเกาะเฮ ที่พบในบริเวณต่างๆ 1) เกาะเฮ ภูเก็ต 2) แหลมเขาขาดภูเก็ต 3) อ่าวบ้านแหลมตุ๊ก แกด้านตะวันออก ภูเก็ต 4) ริมหาด บ้านแหลมไม้ไผ่ ภูเก็ต 5) บ่อลูกรัง กม. 6.2เพชรเกษม-หนองหญ้าปล้อง 6) ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจานRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์935) Turbidite sandstones faciesประกอบด้วยหินทราย เนื้อหยาบถึงละเอียดปานกลางเป็นชั้นหนาขนาดปานกลางถึงชั้นหนา หินทรายมีส่วนประกอบของแร่ควอตซ์สูง ในหินทรายมีโครงสร้างบางส่วนของ Bouma sequence (รูปที่ 5.3) เช่นgraded bed, planar lamination และ crossstratification บางกรณี Ta (graded bed) หนา 10 ซม.เปลี่ยนขึ้นไปหา Tb (planar lamination) หนา 10 ซม.แล้วเปลี่ยนกลับเป็น Ta หรืออีกกรณีวัฐจักรอาจเริ่มด้วยTa (graded bed) หนา 10 ซม. เปลี่ยนเป็น Tb (planarlamination) หนา 25 ซม. และปิดทับด้วย Tc (crossstratification) หนา 15 ซม. มักพบ Facies นี้วางตัวบนConglomerate facies การแผ่กระจายและเทียบเคียง: Turbiditesandstones facies พบในหมวดหินสปิลเวย์ เช่น ที่แหลมทาบ สุราษฎร์ธานี และที่ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจานการแปลความหมาย: Bouma sequence เป็นโครงสร้างชั้นหินที่สะสมตัวจากตะกอนที่ถูกพัดพาภายใต้อิทธิพลของ Turbidity cur rent ซึ่งเกิดได้ทั้งในน้ำทะเลและน้ำจืด ทั้งในน้ำลึกและน้ำตื้น Bouma Ta เชื่อว่าเกิดสะสมตัวโดยกระบวนการ High concentrationflow ในขณะที่ Bouma Tb-e เกิดจากพวก Lowconcentration flow (Pickering <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1989, p 20)ในกรณีนี้ จากลักษณะของหิน ที่วางตัวอยู่ด้านบนและด้านล่างสนับสนุนว่าเป็นน้ำทะเล และจากการพบว่ามีMudstone with lenticular bedding facies วางตัวอยู่ด้านบน เช่น ที่แหลมทาบ ก็บ่งว่า Facies นี้เกิดในน้ำทะเลตื้น หลักฐานอีกประการที่สนับสนุนว่าเป็นน้ำทะเลตื้นคือหินทรายมี maturity ดี ในรายงานของกรมทรัพยากรธรณี (2544) ที่ระบุว่าบริเวณแหลมทาบมีโครงสร้าง Hummocky cross stratification ซึ่งเป็นturbidites ที่เกิดในน้ำตื้นจากลมพายุก็สนับสนุนการแปลความหมายในครั้งนี้ 6) Massive mudstones faciesประกอบด้วยหินโคลน สีเทาดำ เนื้อเป็นมวลหนา ไม่แสดงลักษณะการเรียงตัวของเนื้อหิน จะคล้ายกับหินโคลนปนกรวดต่างที่ไม่มีก้อนกรวด จึงมักพบสะสมตัวต่อเนื่องมาจาก Pebbly rocks facies และมักพบเกิดร่วมกับ Thin bedded sandstones and mudstonesfacies ในช่วงที่หินทรายเป็นชั้นบางๆ การแผ่กระจายและเทียบเคียง: Massivemudstones facies พบทั่วไปในบริเวณที่มีหิน Pebblyrocks เช่น ที่เกาะเฮ และที่แหลมพันวา การแปลความหมาย: การพบหินโคลนวางตัวต่อเนื่องอยู่บนหินโคลนปนกรวดที่เกิดจากกระบวนการGravity flow แสดงว่าหินโคลนก็เป็นผลจาก Gravityflow ด้วย เมื่อตะกอนของหินโคลนซึ่งประกอบด้วยตะกอนขนาดเม็ดโคลนถึงเม็ดทรายถูกพัดพาไปตามslope โดย turbidity current หินโคลนเนื้อเป็นมวลหนาจะเริ่มสะสมตัวก่อน ไกลออกไปทางปลายน้ำจะเกิดการแยกตัวของชั้นตะกอน ให้การสะสมตัวของหินโคลนสลับกับหินทรายแป้งหรือหินทราย ซึ่งหลักการนี้จะสอดคล้องกับหลักฐานที่พบในภาคสนาม ที่มักพบว่าMassive mudstones facies เกิดร่วมกับ Pebblyrocks facies และ Thin bedded sandstones andmudstones faciesลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


94บทที่ 57) Mudstones with lenticular bedding faciesประกอบด้วยหินโคลน สีเทาดำ แทรกสลับด้วยหินทราย/หินทรายแป้ง สีเทาอ่อน ชั้นหินทรายหนาประมาณ 0.1-0.5 ซม.มีลักษณะเป็นเล็นส์ตีบหายไปทางด้านข้าง บางชั้นแสดงชั้นเฉียงระดับ (cross stratification) มีamplitude สูงประมาณ 1.5 ซม. (รูปที่ 4.41) ในชั้นของหินทรายที่หนาจะแสดงลักษณะเป็น Ripple mark (รูปที่5.4) อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายมากกว่า 2:1หินทรายบางชั้นหนา 15-20 ซม. และมักแสดงแนวlamination พวกรูชอนไช (bioturbation) ส่วนใหญ่เกือบแนวตั้ง การแผ่กระจายและเทียบเคียง: Mudstoneswith lenticular bedding facies พบในหมวดหินเขาพระและส่วนบนของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ เช่น ที่แหลมทาบการแปลความหมาย: Lenticular beddingเป็นโครงสร้างชั้นหินที่หินทรายหรือหินทรายแป้งมีรูปร่างคล้ายเล็นส์เกิดแทรกเป็นแนวอยู่ในหินโคลนลักษณะเช่นนี้มักพบเกิดใน tid<strong>al</strong> flat การพบ Ripplemark ในชั้นของหินทรายรวมทั้งการพบ Vertic<strong>al</strong>burrows ก็สนับสนุนการเกิดในน้ำตื้นในบริเวณที่มีกระแสน้ำค่อนข้างรุนแรง8) Disturbed strata facies เป็นลักษณะของชั้นหินที่คดโค้ง เกิดในขณะที่สะสมตัว โดยมีชั้นหินที่ขนาบอยู่ด้านบนและด้านล่างไม่แสดงลักษณะคดโค้งและจะวางตัวขนานกัน (รูปที่ 5.5) ความหนาของชั้นหินที่คดโค้งอาจหนาหลายสิบเมตรก็ได้ แต่ที่สำรวจพบที่เกาะภูเก็ตหนาประมาณ 0.5-2 เมตร และมักพบเกิดในหิน Thin bedded sandstones and mudstones ซึ่งมีลักษณะเป็นชั้น จึงสังเกตการโค้งงอได้ง่าย การแผ่กระจายและเทียบเคียง: Disturbedstrata facies พบในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ Facies นี้เทียบได้กับ Slumped unit ของMitchell (1970) และของ Altermann(1987) การแปลความหมาย: โดยปกติ Disturbedstrata จะเกิดในบริเวณที่ไม่ค่อยมีความเสถียร เช่นตลิ่งข้างแม่น้ำ และพื้นที่ลาดชัน และโดยที่ Thinbedded sandstones and mudstones facies เป็นหินที่เกิดในทะเลที่ค่อนข้างลึก ปัจจุบันนิยมอธิบายการเกิดของหินในทะเลลึกด้วย submarine fan model บริเวณที่เหมาะสมตามรูปแบบนี้คือบริเวณ slope และchannel levee จะเป็นบริเวณที่มีความชัน จึงง่ายต่อการพังทลาย ทำให้แนวของชั้นหินเกิดการบิดเบี้ยว โค้งงอ และเกิดพร้อมกับการสะสมตัว ของหิน ซึ่งชั้นหินโค้งงอที่เกิดร่วมกับ slope และ channel levee ก็จะมีลักษณะและขนาดที่ต่างกัน รวมทั้ง associated faciesที่เกิดร่วมด้วย9) Mature sandstones facies ประกอบด้วยหินทราย สีขาว เทาขาว เนื้อแน่น เป็นพวก quartzarenite และ subarkose มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นquartz บางส่วนเป็น feldspar มีขนาดเม็ดตะกอนขนาดหยาบถึงละเอียดปานกลาง มีการคัดขนาด (sorting) ดี มีความมน (roundness) ดี มีความกลม(sphericity) ปานกลาง มี maturity สูง แร่ quartz ส่วนใหญ่เป็นเม็ดเดี่ยว (monocryst<strong>al</strong>line quartz) และภายใต้กล้องจุลทัศน์หินแผ่นบาง (Thin section) แสดงslightly undulose to unique extinction (รูปที่ 5.6)ชั้นหิน มีขนาดตั้งแต่บางถึงหนา บางส่วนมีชั้นเฉียงระดับ (รูปที่ 5.5ก) มักพบแทรกสลับด้วยชั้นของ Thinlyshell beds (รูปที่ 4.23 และ 5.5ข) และ bioturbationบางส่วนเนื้อหินเปลี่ยนขึ้นมาจากหินทรายที่มีกรวดปนและเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลน Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์95รูปที่ 5.2 Conglomeratesfacies วางตัวแบบchannelstructure (ลูกศร)บนหินทราย หมวดหินสปิลเวย์ ที่แหลมทาบนครศรีธรรมราชรูปที่ 5.3 Turbiditesandstones ที่แหลมทาบLaminatedsandstoneเปลี่ยนขึ้นไปเป็นmudstoneรูปที่ 5.4 Ripple mark (ลูกศร) ส่วนบนของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมทาบ ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


96บทที่ 5กขคงรูปที่ 5.5 ลักษณะของ Slumped structure ที่พบในบริเวณต่างๆ บนเกาะภูเก็ต ของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ กลุ่มหินแก่งกระจาน ก) ที่หาดแหลมไม้ไผ่ เกาะสิเหร่ ข) แหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่ ค) ที่อ่าวพันวา ด้านกองทัพเรือง) ที่อ่าวบ้านแหลมตุ๊กแกด้านตะวันออกRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์97กขคงจฉรูปที่ 5.6 ภาพหินแผ่นบาง (Thin section) จากกล้องจุลทัศน์ ของหินทรายหมวดหินสปิลเวย์ และหมวดหินเขาเจ้า หมายเหต ภาพจาก XP จะหนากว่ามาตรฐานก) PL และ ข) XP หินทราย subarkose หมวดหินเขาเจ้า ที่แหลมทาบ, TC35, รูปยาว 3 มมค) PL และ ง) XP หินทราย subarkose หมวดหินสปิลเวย์ ที่แหลมทาบ, TC24, รูปยาว 3 มมจ) PL และ ฉ) XP หินทราย subarkose หมวดหินเขาเจ้า ที่เขาปากกว้าง, TC18, รูปยาว 3 มมลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


98บทที่ 5การแผ่กระจายและเทียบเคียง: Maturesandstones facies พบในหมวดหินเขาเจ้า พบแผ่กระจายอย่างกว้างขวางในคาบสมุทร์ไทยรวมทั้งพื้นที่ศึกษาในยูนนานด้านตะวันตก เช่น ที่เขาแก้วน้อย เขาปากกว้าง เขาพริก เขื่อนแก่งกระจาน และแหลมทาบFacies นี้เทียบได้กับ Thick bedded sandstonesand sh<strong>al</strong>es ของ Mitchell (1970) และของ Altermann(1987), Quartz arenite member ของ Hills (1989)และ Well sorted quartzite ของ Baird (1992)การแปลความหมาย: Mature sandstonesfacies ที่มีส่วนประกอบในช่วง Quartz arenite tosubarkose และ Sublitharenite แสดงถึงความมีmaturity สูง แสดงว่าตะกอนผ่านการพัดพาหรือชะล้างมายาวนานและอยู่ห่างไกลจากหินต้นกำเนิด ทำให้แร่ที่ผุพังง่าย เช่น feldspar, mica ถูกทำลายพัดพาหนีไปหมดหรือเหลือน้อย โดยแร่ quartz จะเป็นผลลัพธ์สุดท้ายของการผุกร่อน ทำลาย ลักษณะเช่นนี้บ่งอีกนัยหนึ่งว่าแหล่งสะสมตัวค่อนข้างเป็น stable area หรือpassive margin การพบ Unique extinction ในแร่quartz และเป็น monocryst<strong>al</strong>line quartz แสดงว่ามีต้นกำเนิดมาจากหินอัคนีหรือหินชั้น แต่ไม่ใช่หินแปรและจากการพบว่ามี fusulinid และ bryozoa เกิดร่วมด้วยแสดงว่าเกิดในทะเล และต้องเป็นบริเวณที่กระแสน้ำมีอิทธิพลสูงหรือชายฝั่ง จึงให้เกิดการคัดขนาดที่ดี มีความมนดี และมี maturity ที่ดี การพบซากดึกดำบรรพ์หรือ Thinly shell beds เรียงตัวเป็นชั้นขนานกับแนวชั้นหินบ่งถึงการสะสมตัวจากลมพายุ หรือ Stormdeposits(Johnson and B<strong>al</strong>dwin, 1986)5.1.2 ลักษณะของก้อนกรวดใน Pebblyrocksก้อนกรวดที่เกิดจากธารน้ำแข็งที่บนผิวจะมีstriation หรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าเกิดในส่วนไหนของกระบวนการ พวก till sediments เมื่อเกิดการสะสมตัวจะมีการขัดสี ครูดไปตามพื้นผิว ดังนั้นจึงมักพบว่าผิวของก้อนกรวดชนิดนี้มีรอย striation เกิดร่วมด้วย ในขณะที่ก้อนกรวดที่เกิดจากกระบวนการ glaciomarineหรือ ice rafting จะถูกอมอยู่ในก้อนน้ำแข็ง เมื่อน้ำแข็งละลาย ก็จะหล่นลงไปสะสมตัว จึงมักไม่ค่อยพบstriation เกิดร่วมจากกระบวนการนี้ อย่างไรก็ดีstriation ก็เกิดได้จากกระบวนการ debris flow ด้วย แต่จะให้ทิศทางที่ไม่แน่นอน (random multiple striation)ในขณะที่พวกที่เกิดจาก tectonic มักให้ทิศทางเดียว (single par<strong>al</strong>lel series) ส่วนพวกที่เกิดจาก glaci<strong>al</strong>deposits มักมีอย่างน้อย 2 ทิศทาง จากการศึกษาclasts มากกว่า 500 ก้อน ของ “Phuk<strong>et</strong> Group” Hills (1989) พบว่ามีเพียงก้อนเดียวที่มี striation ที่บ่งว่าเกิดจาก glaci<strong>al</strong> origin ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแบบ debris flow มากกว่า ice rafting โดยมีทิศการไหลของกระแสน้ำโบราณ (P<strong>al</strong>eoflow) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (114 ํE) แต่ชนิดของหินที่เป็นก้อนกรวดจะมีความคล้ายกับที่พบใน Till deposits ของnorth-west Austr<strong>al</strong>iaนอกจากนี้ Clasts หรือกรวดของ till depositsจะมีความมนมากกว่าของ glaciomarine depositsทั้งนี้เพราะ bas<strong>al</strong> till จะผ่านกระบวนการบด ครูดไปตามพื้นผิว(glaci<strong>al</strong> abrasion) และก้อนกรวดที่เกิดจากglaciomarine น่าจะให้ก้อนกรวดที่มีส่วนประกอบแตกต่างจากเนื้อของหินที่กรวดนั้นเกิดร่วมด้วยRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์99จากการสำรวจในครั้งนี้ พบว่าก้อนกรวด (clast) ใน pebbly rocks ของกลุ่มหินแก่งกระจานส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Garson <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1975) และ Tantiwanit <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1983) แต่ถ้าในเนื้อหินมีกรวดมากกว่า 10% ก็จะพบกรวดมีขนาดโตกว่า 3-5 ซม. อยู่ทั่วไป บางก้อนโตประมาณ 20 ซม. Tantiwanit <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1983) รายงานว่าที่เกาะภูเก็ตและที่เกาะพยาม จังหวัดระนองพบกรวดของแกรนิตมีขนาดโตกว่า 1 เมตร กรวดส่วนใหญ่ประกอบด้วย quartzite, sandstone, white-veinquartz, biotite granite, siltstone, dolomite,limestone, conglomerate และ schist กรวดส่วนใหญ่มีความมนแบบ subangular to subround (Tantiwanit <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,1983; Hills, 1989) โดยพวกgranite, chert, siltstone และ gneiss จะมีความมนดีกว่าเมื่อเทียบกับหินปูน Quartzite, beddedsandstone และ schist (Hills, 1989) ในขณะที่Altermann (1986) กล่าวว่าพวกก้อนเล็กจะมีความมนดีกว่าพวกก้อนขนาดใหญ่ ส่วนความกลม (sphericity)พบว่าส่วนใหญ่มีความกลมต่ำ (moderate to lowsphericity) โดยพวก granite, limestone และquartzite จะมีความกลมมากกว่าพวกอื่น โดยทั้งความมนและความกลมจะขึ้นอยู่กับชนิดของหินด้วย 5.1.3 Dropstones และ Lonestones ของกลุ่มหินแก่งกระจานDropstones หมายถึงก้อนกรวดที่พบอยู่ในหินโคลนเนื้อละเอียด โดยก้อนกรวดจะมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อหินที่มันฝังตัวอยู่มาก มีการกำเนิดเนื่องจากก้อนกรวดที่เคยอยู่บริเวณผิวน้ำร่วงลงไปสู่ก้นท้องน้ำ และเนื่องจากน้ำหนักของก้อนกรวดและความเร็ว จึงทำให้ก้อนกรวดตัดแทรกลงไปในชั้นตะกอน หลักฐานที่ใช้ในกรณีนี้จึงต้องดูว่ามีชั้นของหินโคลนถูกก้อนกรวดตัดขาดหรือไม่ นักวิจัยส่วนใหญ่ (Edwards, 1989;Eyles and Eyles, 1992; Tucker, 2003) เชื่อว่าDropstones ส่วนใหญ่เกิดจากก้อนกรวดที่เคยถูกอมอยู่ในธารน้ำแข็ง (Ice rafting) เมื่อธารน้ำแข็งลอยไปในทะเลสาบน้ำจืด/น้ำเค็มหรือในมหาสมุทร เกิดการละลายของธารน้ำแข็ง ทำให้ก้อนกรวดร่วง (Drop)ตกลงไปตัดชั้นตะกอนบนพื้นท้องน้ำ แต่นักวิจัยอีกส่วนหนึ่ง(Ojakangas, 1985) ก็เชื่อว่า Dropstones ก็เกิดจากก้อนกรวดที่ถูกพา/อุ้มไป โดยรากไม้ที่ลอยไปกลางน้ำได้ด้วย สำหรับ Lonestones หมายถึงก้อนกรวดที่มีขนาดต่างกันมากกับขนาดของเนื้อหินโคลนที่มันฝังตัวอยู่ มีลักษณะเหมือนกับ Dropstones แต่ต่างกันที่จะมีหรือไม่มีหลักฐานว่าร่วงลงมาจากบริเวณผิวน้ำหรือไม่ก็ได้ (Ojakangas, 1985)Dropstones ของกลุ่มหินแก่งกระจานพบมากบริเวณอ่าวพันวา ด้านกองเรือภาคที่ 3 กองเรือยุทธการบริเวณนี้เป็นของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ประกอบด้วยหินLaminated mudstone และ mudstones ที่แทรกด้วยชั้นบางๆ ของหินทราย ก้อนกรวดที่พบมีขนาดตั้งแต่ประมาณ 8 ซม. จนถึงขนาดประมาณ 60 ซม. เป็นกรวดของหินหลายชนิด ได้แก่ หินควอตไซต์ (พบมาก)หินทราย หินกรวดมน และหินควอตซ์ชีสต์ (รูปที่ 5.7) มีหลักฐานที่แสดงว่าก้อนกรวดเหล่านี้กดและตัดลงไปในเนื้อของหินโคลน หลักฐานอีกประการที่ก้อนกรวดประกอบด้วยหินหลากชนิดก็สนับสนุนการเกิดจากธารน้ำแข็งมากกว่าที่จะเกิดจากการพามาโดยรากไม้ ในรูปที่ 5.8 แสดงลักษณะของ Lonestones ที่พบในกลุ่มหินแก่งกระจาน มีก้อนกรวดส่วนใหญ่เป็นหินควอตไซต์ (พบมาก) และหินโดโลไมต์ ซึ่ง Lonestones ก็เป็นหลักฐานอีกอันหนึ่งที่นักวิจัยส่วนใหญ่ใช้สนับสนุนว่าเกิดจากธารน้ำแข็งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


100บทที่ 5123456รูปที่ 5.7 ลักษณะของ Dropstone ที่อ่าวพันวา ด้านกองทัพเรือ บนเกาะภูเก็ต ของกลุ่มหินแก่งกระจาน โปรดสังเกต ชั้นของหินโคลนถูกกดให้โค้งงอและถูกตัดด้วยก้อนกรวด1) หินควอตไซต์ ขนาด 14x15 ซม. 2) หินกรวดมน (มีกรวดของหินทราย หินควอตไซต์และหินแกรนิต) ขนาด 8x18 ซม. 3) หินควอตซ์ชีสต์ ขนาด 5x8 ซม. 4) หินทราย ขนาด 10x20 ซม. 5) หินทราย, quartz arenite ขนาด 45x45x60 ซม. และ 6) หินควอตไซต์ สีขาว ขนาด 13x20 ซม.Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์101123456รูปที่ 5.8 ลักษณะของ Lonestone ที่พบในบริเวณต่างๆ ของกลุ่มหินแก่งกระจาน 1) หินควอตไซต์ ขนาด 5x7 ซม. ที่แหลมพันวา สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทางทะเล ภูเก็ต2) หินควอตไซต์ ขนาด 4x11 ซม. ที่แหลมพันวา สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทางทะเล ภูเก็ต3) หินควอตไซต์ ขนาด 8x10 ซม. ที่แหลมพันวา สถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทางทะเล ภูเก็ต4) หินโดโลไมต์ ขนาด10x15 ซม. ที่ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจาน เพชรบุรี5) หินทราย ขนาด 30x45x12 ซม. ที่แหลมพับผ้า ภูเก็ต 6) หินโดโลไมต์ ที่แหลมทาบ นครศรีธรรมราชลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


102บทที่ 55.1.4 P<strong>al</strong>eoflow ของกลุ่มหินแก่งกระจานที่ผ่านมา มีการแปลทิศทางการไหลของP<strong>al</strong>eoflow ของกลุ่มหินแก่งกระจานที่ยังขัดแย้งกันแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เชื่อว่ามีการเกิดแบบ debrisflow อย่างเดียว ให้กระแสน้ำโบราณไปทางด้านตะวันตก(ทิศปัจจุบัน) เช่น Garson <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1975) เชื่อว่าฝั่งทะเลตื้นอยู่ทางด้านตะวันออกและทะเลลึกไปทางด้านตะวันตก และ Altermann(1986) จากการวัดค่าCurrent ripple, Slumps และ Imbrication (ทั้งหมด16 ค่า) บริเวณเกาะภูเก็ตให้กระแสน้ำโบราณหลักไหลจาก SE ไป NW และกลุ่มที่เชื่อว่าเกิดแบบGlaciomarine ให้กระแสน้ำโบราณไปทางด้านตะวันออก (ทิศปัจจุบัน) เช่น Hills(1989) ศึกษาจากcross bedding, slumped structure, flute cast,imbrication structure, intraformation<strong>al</strong> folding,rafted sediments ให้กระแสน้ำไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (114 ํE) และ Ampaiwan <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(2004) ให้ผลที่สอดคล้องกันคือกระแสน้ำในส่วนล่างของกลุ่มหินแก่งกระจาน (Pebbly rocks) ไหลไปทางทิศตะวันออก แต่ส่วนบนของกลุ่มหินมีฝั่งทะเลอยู่ทางด้านตะวันออก จากการตรวจสอบในครั้งนี้ พบว่ากลุ่มหินแก่งกระจานมีโครงสร้างชั้นหินที่ใช้สำหรับแปลการไหลของกระแสน้ำโบราณน้อย ที่พบบ้างได้แก่ Crossstratification ส่วนการแปลผลโดยใช้ slumpedstructure, flute cast, Fabric orientation,intraformation<strong>al</strong> folding, rafted sediments นั้น พึงใช้ด้วยความระมัดระวัง การศึกษาครั้งนี้ไม่พบโครงสร้างflute cast แต่พบโครงสร้างแบบ Mullion structureหลายแห่ง (รูปที่ 4.46 และ 4.58) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกันและการใช้ Fabric orientation ของก้อนกรวดนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ในหินกรวดมนที่มีการคัดขนาดและกรวดมีรูปร่างแบนยาวและใหญ่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวไม่พบในกลุ่มหินแก่งกระจาน การศึกษาครั้งนี้ข้อมูลที่ได้ให้ค่ากระจายไม่เพียงพอต่อการสรุปผล ในเบื้องต้นนี้ดูเหมือนว่าภาพรวมไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ/เหนือ จากการวัด Cross stratification ซึ่งพบบ้างในบางบริเวณ พบว่าในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมตุ๊กแกและอ่าวพันวา ให้ทิศทางกระแสน้ำโบราณไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (133 ํ) และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (330 ํ) ตามลำดับ หมวดหินสปิลเวย์ที่แหลมทาบให้ทิศทางกระแสน้ำโบราณ 2 แนวคือ ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ (328 ํ) และตะวันออกเฉียงเหนือ (046 ํ) ซึ่งก็สอดคล้องกับที่พบในหมวดหินเขาพระที่วางตัวอยู่ด้านบน ซึ่งให้ทิศกระแสน้ำโบราณไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ (046 ํ) สำหรับหมวดหินเขาเจ้า ที่แหลมทาบให้ทิศทางที่สอดคล้องกับหมวดหินสปิลเวย์ คือไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ (330 ํ) และหมวดหินเขาเจ้าที่เขาตาม่องล่าย ให้ทิศกระแสน้ำโบราณเป็นมุมกว้าง จากตะวันออกเฉียงเหนือถึงทิศใต้5.1.5 Trace fossils ของกลุ่มหินแก่งกระจานTrace fossils เป็นร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในหินตะกอน ใช้เป็นหลักฐานที่สำคัญด้านสภาพแวดล้อมของการสะสมตัว โดยปกติเมื่อสัตว์ชอนไชลงไปในตะกอนก็มักจะขับสารมาสมานผนังให้คงรูป ซึ่งทำให้รูคงรูปร่างอยู่ได้ ชนิดของ trace fossils ไม่ได้แปรเปลี่ยนโดยตรงกับความลึกของน้ำ แต่ขึ้นกับความแรงของคลื่นและกระแสน้ำ ในสภาวะ high energy environmentเช่น above fair-weather wave base ส่วนใหญ่จะพบvertic<strong>al</strong> และ U-shaped burrows ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลแรงจะทำให้สัตว์คลานตามพื้นได้ลำบาก หินที่พบก็มักเป็นพวกทรายเนื้อสะอาดหรือมีโคลนน้อย พวกนี้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า Skolithosichnofacies (Pemberton <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1992) ในช่วงของNeritic zone ซึ่งอยู่ใต้ fair-weather wave base แต่อยู่เหนือ Storm wave base หรือใน Protectedenvironment เช่น subtid<strong>al</strong> environment จะพบ tracefossil แบบที่มีแนวขนานชั้นหินมากกว่าพวกที่มีแนวตั้งตรง พวกนี้หาอาหารพวกสาหร่ายเขียวที่อยู่ตามพื้นพวกนี้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า Cruziana ichnofacies Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์103ในกลุ่มหินแก่งกระจาน พบร่องรอยของซากดึกดำบรรพ์หรือ Burrows มากในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ เช่นที่หาดบ้านแหลมไม้ไผ่ แหลมพับผ้า แหลมตุ๊กแกพบมากในส่วนของ Thin-bedded sandstones andmudstones facies เป็นพวก Cruziana ichnofaciesเช่น Planolites, Teichichnus และ Phycodes (รูปที่5.9 และ 5.10) พวก Planolites ที่พบในส่วนนี้มีลักษณะเป็นแท่งรูปกระบอกกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.5 ซม.วางตัวทั้งขนานและเอียงทำมุมกับแนวชั้นหินส่วน Planolites ที่พบใน laminated mudstone faciesนั้น จะวางตัวขนานกับแนวชั้นหินและมีขนาดเล็กว่า คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. หรือเล็กกว่า (รูปที่5.9ค และ 5.10ก) นอกจากนี้ Ampaiwan <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (2004)ก็รายงานว่าร่องรอยของซากดึกดำบรรพ์พวก Cruzianaichnofacies ในกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่เกาะภูเก็ตด้วยและข้อมูลจากการสอบถาม นายวัฒนา ตันเสถียร ก็พบTeichichnus ที่ชายหาดเขาตาม่องล่าย สำหรับSkolithos นั้นพบในส่วนบนของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมทาบ นครศรีธรรมราช เป็นแท่งกระบอกทรงกลมยาวประมาณ 15 ซม. วางเกือบตั้งฉากกับชั้นหิน แสดงถึงกระแสน้ำที่ไม่สงบนิ่ง5.1.6 สภาวะแวดล้อมการสะสมตัวของกลุ่มหินแก่งกระจานผลการศึกษาที่ทำมาก่อนสำหรับกลุ่มหินแก่งกระจาน (หรือบางรายงานเรียกกลุ่มหินภูเก็ต) มีการแปลผลงานศึกษาทางด้านตะกอนวิทยาออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่เชื่อว่าเกิดสะสมตัวในน้ำทะเลตื้นและมีกระบวนการ Gravityflow เกิดร่วมด้วย แต่ไม่เกี่ยวข้องกับ Glaciomarineenvironment (Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,1970; Grason <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,1975; Sawata <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1975; Altermann, 1987) อีกกลุ่มเชื่อว่าเกิด การสะสมตัวภายใต้อิทธิพลของGlaciomarine environment และมี Gravity flow เกิดร่วมด้วย (Ridd, 1971; Stauffer and Mantajit, 1981;Bunopas, 1981; Hills, 1989; เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และ ธนิศร์ วงศ์วานิช, 2536; Ampaiwan <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2004)อย่างไรก็ตามความคิดเห็นประการหลังค่อนข้างได้รับการยอมรับมากในปัจจุบัน รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากการศึกษาด้านซากดึกดำบรรพ์และทางธรณี เคมีด้วย (Rao, 1988; Fontaine and Sute<strong>et</strong>horn, 1988)โดย Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) และ Grason <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1975) ทำการศึกษาชั้นหินบริเวณคาบสมุทร์ไทยโดยเฉพาะที่เกาะภูเก็ตและพังงา แบ่งหิน “กลุ่มหินภูเก็ต” (ซึ่งหมายรวมถึงหินทุกชนิดที่อยู่ใต้หินปูนเพอร์เมียน)ออกเป็น 8 facies และแปลจากลักษณะของหินและซากดึกดำบรรพ์ ว่าสะสมตัวในทะเลน้ำตื้นถึง Slopedeposits และให้เป็น Geosynclin<strong>al</strong> deposits ซึ่งสนับสนุนโดย Sawata <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1975) ที่ทำการศึกษาลำดับชั้นหินที่เขาพระ จังหวัดราชบุรี สรุปว่าชั้นหินมีการสะสมตัวจาก turbidity current ซึ่งเทียบลักษณะได้กับUpper Formation ของ Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970)ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


104บทที่ 5กขคงจฉรูปที่ 5.9 ลักษณะของ Cruziana ichnofacies ของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ กลุ่มหินแก่งกระจาน ที่เกาะภูเก็ตก) ถึง ค) Planolites ที่หาดแหลมไม้ไผ่ เกาะสิเหร่ ง) Teichichnus ที่หาดแหลมไม้ไผ่ เกาะสิเหร่, เหรียญ 1 บาทเป็นมาตราส่วนจ) Phycodes ที่หาดแหลมไม้ไผ่ เกาะสิเหร่ ฉ) Planolites ที่แหลมตุ๊กแก เกาะสิเหร่Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์105กขคงจชรูปที่ 5.10 ลักษณะของ Burrows ของกลุ่มหินแก่งกระจาน ก) Planolites หมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่อ่าวพันวา ด้านกองทัพเรือ ภูเก็ต ข) Planolites ในหินทรายของหมวดหินเขาเจ้า ที่เขาตาม่องล่าย ประจวบคีรีขันธ์ ค) Skolithos ส่วนบนของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมทาบ นครศรีธรรมราช ง) Phycodes หมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมตุ๊กแก ภูเก็ต จ) Phycodes หมวดหินเขาพระ ที่เขาตาม่องล่าย ประจวบคีรีขันธ์ ฉ) Teichichnus หมวดหินสปิลเวย์ ที่บ่อลูกรัง กม. 6.2 เพชรเกษม-หนองหญ้าปล้องลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


106บทที่ 5สำหรับ Altermann (1987) ได้ทำการศึกษาหิน pebbly mudstone ทั้งที่เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย และในภาคใต้ของไทยที่เกาะพีพี เกาะภูเก็ตและบริเวณแก่งกระจาน มีความเห็นสอดคล้องกับการแปลความหมายของ Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) ได้แบ่งหินของ “กลุ่มหินภูเก็ต” ออกเป็น 9 Facies โดยกล่าวว่าไม่พบหลักฐานของ glaciomarine origin แต่พบหลักฐานของการสะสมตัวแบบ continent<strong>al</strong> slope depositsรวมทั้งซากดึกดำบรรพ์ของ Cathaysian และ Eurasianแทน จึงสรุปว่าชั้นหินเหล่านี้สะสมตัวในน้ำทะเลตื้นจนถึง continent<strong>al</strong> slope โดยมีกระบวนการ gravityflow ร่วมด้วย และบางส่วนแปลให้เป็นตะกอนของsubmarine fanส่วน Hills (1989) จากการศึกษาลำดับชั้นหินและลักษณะของ clasts บริเวณเกาะภูเก็ต ได้แบ่ง “กลุ่มหินภูเก็ต” บริเวณเกาะภูเก็ตออกเป็น 3 หมวดหิน และแปลลำดับชั้นหินส่วนล่างสะสมตัวแบบ Glaciomarinedeposits บนขึ้นมาหินสะสมตัวจากผลของ Multipledebris flows และบนสุดเป็นตะกอนน้ำทะเลตื้น เช่นเดียวกันกับ Ampaiwan <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(2004) ได้ทำการศึกษาลำดับชั้นหิน รวมทั้งลักษณะของ dropstone และdump structures ที่เกาะภูเก็ต และสรุปว่ากลุ่มหินแก่งกระจานเกิดสะสมตัวแบบ Glaciomarine origin โดยมีหินโคลนปนกรวดเกิดแบบ debris flow สรุปได้ว่า ประเด็นปัญหาข้อขัดแย้งอยู่ตรงที่มีสภาพแวดล้อมแบบธารน้ำแข็งมาเกี่ยวข้องกับการสะสมตัวของกลุ่มหินแก่งกระจานหรือไม่ และทุกฝ่ายเห็นพร้องกันว่าหินเกิดสะสมตัวทั้งในทะเลลึกและตื้นและมี Gravity flow deposits รวมทั้ง Turbiditesเกี่ยวข้องด้วยการเกิดของหินโคลนปนกรวดEyles and Eyles (1992) กล่าวว่าหินโคลนปนกรวด (diamictite หรือ pebbly rock และ tillite) นั้นสามารถเกิดได้ในหลายสภาวะแวดล้อม ดังนั้นการศึกษาหินลักษณะดังกล่าวจึงต้องศึกษาหินที่วางตัวอยู่ด้านบนและด้านล่างของหินโคลนปนกรวดด้วยเนื่องด้วย glaci<strong>al</strong> facies พบเกิดร่วมกับอีกหลายสภาวะแวดล้อม เช่น river, lake, continent<strong>al</strong> shelfและ slope ดังนั้น ใน glaci<strong>al</strong> environments จึงอาจมีตะกอนของ gravity flow, turbidite และอื่นๆ เกิดร่วมได้ ในภาพรวม Glaci<strong>al</strong> environments แบ่งออกได้เป็น2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ glacioterrestri<strong>al</strong> และ glaciomarineสำหรับ glaciomarine นั้น อาจแบ่งได้โดยอาศัยความใกล้ไกลจากแหล่งหิมะน้ำแข็ง (ice margin) แบ่งเป็นProxim<strong>al</strong> (ice margin to sever<strong>al</strong> km) และ Dist<strong>al</strong> (sever<strong>al</strong> km to ‘000 km) อิทธิพลของตะกอนที่สะสมตัวใน continent<strong>al</strong> shelf, continent<strong>al</strong> slope และabyss<strong>al</strong> plain จะมีผลมากใน Dist<strong>al</strong> glaciomarineenvironmentสรุปสภาวะแวดล้อมการสะสมตัวของกลุ่มหินแก่งกระจานเป็นที่เชื่อโดยทั่วกันว่า Shan-Thai terraneแยกตัวออกมาจาก Gondwan<strong>al</strong>and ที่อยู่บริเวณขั้วโลกใต้ และ Pebbly rocks ก็นิยมใช้เป็นหลักฐานบอกการเริ่มแยกตัวของ Shan-Thai terrane จากการพบ Brachiopods ในหิน Pebbly mudstones ที่เกาะพีพีเกาะมุก ระบุว่าเป็นพวก Temperate fauna อายุ LateAsselian or Early Sakmarian (Lower Permian)แสดงว่าการแยกตัวของ Shan-Thai terrane ออกจากGondwan<strong>al</strong>and เริ่มในช่วง Lower Permianหลักฐานที่เกาะภูเก็ต พบว่ามีการเปลี่ยนของชั้นหินจาก Pebbly rocks ปิดทับด้วยหินโคลน เนื้อ (Massive mudstones) และเปลี่ยนขึ้นไปเป็น Thinbedded sandstones and mudstones และLaminated mudstones ลักษณะเช่นนี้เป็นdeposition<strong>al</strong> sequence เกิดจากกระบวนการ Gravityflow (Mass flow and turbidity current) ซึ่งในปัจจุบันการสะสมตัวในทะเลลึกโดยกระบวนการ Gravity flowนิยมใช้รูปแบบ Submarine fan model ช่วยในการRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์107อธิบาย โดยพวก Pebbly rocks จะเกิดสะสมตัวอยู่ใกล้แหล่งต้นกำเนิดและไกลออกไปทางทะเลในส่วนของdist<strong>al</strong> shelf to continent<strong>al</strong> slope จะได้การสะสมตัวของ Thin bedded sandstones and mudstonesfacies และ Laminated mudstones facies ลักษณะเช่นนี้จะพบมีหลาย cycles ดังจะพบว่ามีชั้นของหินโคลนปนกรวดอยู่หลายชั้น และในด้านแนวระนาบก็มีLater<strong>al</strong> facies change ระหว่าง Pebbly rocks faciesกับ Thin bedded sandstones and mudstonesfacies และ Laminated mudstones facies ด้วย จากการที่พบหิน Diamictites และ pebblyrocks มีการแผ่กระจายเป็นแนวยาวเกือบ 2000กิโลเมตร จากสุมาตราขึ้นไปถึงประเทศจีน มีลักษณะเนื้อหินของ clasts ที่คล้ายกัน รวมทั้งขนาดของ clastsมีแนวโน้มว่าด้านตะวันตกมีขนาดใหญ่กว่าทางด้านตะวันออก แสดงว่า Submarine fans เป็นแบบMultiple point sources โดยแหล่งต้นกำเนิดของตะกอนอยู่ไปทางด้านตะวันตก ก้อนกรวดของกลุ่มหินแก่งกระจานส่วนใหญ่ไม่มี Striation ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญทำให้ Garson <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1975) และ Altermann (1986) เชื่อว่ากลุ่มหินภูเก็ต(เทียบได้กับกลุ่มหินแก่งกระจานของรายงานนี้) ไม่มีอิทธิพลของธารน้ำแข็งเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจากการศึกษาของ Hills (1989) ก็ยืนยันว่าพบก้อนกรวดเพียงก้อนเดียวที่มี striation ที่บ่งว่าเกิดจาก glaci<strong>al</strong> origin อย่างไรก็ดีจากที่ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า ก้อนกรวดของ Glaci<strong>al</strong>environments ไม่จำเป็นต้องมี Striation ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าก้อนกรวดนั้นสะสมตัวใน subenvironment แบบไหนเช่น กรวดของ Tills มักแสดง Striation ในขณะที่กรวดของ Glaciomarine มักไม่มี Striation หลักฐานสำคัญที่บ่งว่ากลุ่มหินแก่งกระจานเกี่ยวข้องกับ Glaciomarineenvironment คือการพบ Dropstones และ Lonestonesในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ซึ่งเกิดสะสมตัวในทะเลค่อนข้างลึก ลึก นอกจากนี้ผลการวิจัยซากดึกดำบรรพ์ทั้งที่พบจากการวิจัยนี้ เช่น พบ cool water cor<strong>al</strong>: Euryphyllumที่กาญจนบุรี และ Temperate to cool brachiopod:Sulciplica ที่เขาถ่าน จังหวัดชุมพร และรายงานวิจัยอื่น (Waterhouse, 1982; Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001) ก็สนับสนุนการสะสมตัวใน cool climate รวมทั้ง ผลวิเคราะห์ทางเคมีด้าน Oxygen isotope (Rao, 1988; Hills, 1989) และด้าน Boron content (Fontaine and Sute<strong>et</strong>horn, 1988)ก็สนับสนุนการแปลผลดังกล่าวจากหลักฐานที่พบว่าส่วนล่างสุดของกลุ่มหินแก่งกระจาน (หมวดหินแหลมไม้ไผ่) ประกอบด้วย Thinbedded sandstones and mudstones และ Laminatedmudstones รวมทั้งการพบ Dropstones และ Cruzianaichnofacies (ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ Shelfenvironments) ในหินเหล่านี้ แสดงว่าหมวด หินแหลมไม้ไผ่เกิดสะสมตัวใน Glaciomarine environmentsอย่างไรก็ดีแหล่งต้นกำเนิดของตะกอนเหล่านี้เมื่อพิจารณาจากขนาดของกรวดและการหาทิศการไหลของกระแสน้ำโบราณ บ่งว่าอยู่ไกลไปทางด้านตะวันตก/ตะวันตกเฉียงใต้ เนื่องจากไม่พบตะกอนของ canyonenvironments ในบริเวณนี้ หลักฐานจากการพบ Pebbly rocks ของหมวดหินเกาะเฮวางปิดทับบน Laminated mudstones ของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ แสดงว่าแหล่งต้นกำเนิดของตะกอนเขยิบเข้ามาใกล้บริเวณนี้ ซึ่งใน Rift basin<strong>al</strong>model มักจะแปลให้เกี่ยวข้องกับการ กระบวนการของNorm<strong>al</strong> fault ทำให้เกิดตะกอนแบบ Debris flow ที่ให้การสะสมตัวของ Pebbly rocks หรือแปลอีกนัยหนึ่งได้ว่ายังเป็นผลที่เกิด จากการแยกตัวของ Shan-Thaiterrane ออกจาก Gondwan<strong>al</strong>and การพบหินโคลนสลับด้วย rippled sandstone/ lenticular bedding รวมทั้งพบ Trace fossil พวกSkolithos ในส่วนบนของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมทาบ นครศรีธรรมราช (รูปที่ 4.38, 5.4, 5.10ค) แสดงว่าบริเวณดังกล่าวเป็นทะเลตื้น ซึ่งสภาพแวดล้อมแบบทะเลตื้นนี้พบต่อเนื่องขึ้นไปในหมวดหิน สปิลเวย์ หมวดหินเขาพระ จนถึงหมวดหินเขาเจ้า และปิดทับด้วยหินปูนของกลุ่มหินราชบุรี ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


108บทที่ 55.2 ผลวิเคราะห์ด้านซากดึกดำบรรพ์ได้เก็บตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์โดยเฉพาะCor<strong>al</strong>s และ Brachiopods จากกลุ่มหินแก่งกระจานจากหลายบริเวณของพื้นที่วิจัย รายละเอียดของผลการตรวจแสดงไว้ในตารางที่ 5.2-5.4 5.2.1 ผลวิเคราะห์ Cor<strong>al</strong>sProf. Dr. Wang Xiangdong แจ้งผลการตรวจซากดึกดำบรรพ์ประเภท cor<strong>al</strong> ของกลุ่มหินแก่งกระจานและกลุ่มหินราชบุรี (ดังแสดงในตารางที่ 5.2)Cor<strong>al</strong>s เป็นพวก low diversity ส่วนใหญ่เป็นพวกtabulata และ solitary cor<strong>al</strong>s ที่พบในกลุ่มหินแก่งกระจานมีอายุ Sakmarian to Artinskian ส่วนที่พบในกลุ่มหินราชบุรีมีอายุ Wordian และบางส่วนอาจแก่ถึงRoadian โปรดสังเกต ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดพบได้ในหลายหมวดหินตารางที่ 5.2 แสดงผลการตรวจซากดึกดำบรรพ์ cor<strong>al</strong> จากกลุ่มหินแก่งกระจานและกลุ่มหินราชบุรีSample No Fossils Location Formation GroupKB166-2- Paracaninia sp. Khao Pu Liab, Kanchanaburi Phap Pha Ratburi6,7TC13b3,4 Lophophyllidium sp. 2 Khao Pu Liap, Kanchanaburi Phap Pha RatburiTC5-1 Euryphyllum sp. 4 Khao Kaeo Noi, Kanchanaburi Phap Pha RatburiTC5-1 Euryphyllum sp. 3 Khao Kaeo Noi, Kanchanaburi Phap Pha RatburiTC5-3 Ufimia? Sp. Khao Kaeo Noi, Kanchanaburi Phap Pha RatburiTC5g Ufimia sp. 1 Khao Kaeo Noi, Kanchanaburi Phap Pha RatburiTC7a Ufimia sp. 2 Wat Tham Keere<strong>et</strong>arn Phap Pha RatburiKanchanaburiTC7b-1 Euryphyllum sp. Wat Tham Keere<strong>et</strong>arn Phap Pha RatburiKanchanaburiTC19a-2,3 Sinopora sp. Khao Pak Kwang, Ratchaburi Phap Pha RatburiTC3-1 Verbeekiella sp. Khao Kaeo Noi, Kanchanaburi Khao Muang Khrut RatburiSandstoneTC3-1-3 Lophophyllidium sp. 1 Khao Kaeo Noi, Kanchanaburi Khao Muang Khrut RatburiSandstoneTC3-2-3 Pentaphyllum? sp. Khao Kaeo Noi, Kanchanaburi Khao Muang Khrut RatburiSandstoneKB139-1,2 Euryphyllum sp.Khao Kaeo Yai Thung Nang Ling RatburiKanchanaburiKB140-1 Euryphyllum sp. 1 Khao Kaeo Yai, Kanchanaburi Thung Nang Ling RatburiTC30 Bradyphyllum? Khao ThanChumphonKhao Phra KaengKrachanRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์1095.2.2 ผลวิเคราะห์ Brachiopodsตัวอย่าง Brachiopods ของรายงานศึกษาวิจัยฉบับนี้ เก็บจากบริเวณกาญจนบุรีลงไปจรดภาคใต้จำนวน 18 แหล่ง ทำการตรวจวิจัยโดย Prof. Dr. ShenShuzhong จำแนกได้เป็น 23 สกุล จากตัวอย่างทั้งหมด241 ตัวอย่าง (ตารางที่ 5.3 และ 5.4, แผ่นภาพที่ 1 ถึงแผ่นภาพที่ 10) พบว่ากลุ่มหินแก่งกระจานมีอายุSakmarian to Artinskian (สำหรับกลุ่มหินราชบุรีมีอายุ Wordian) ซึ่งจะสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากผลวิเคราะห์จากปะการัง (ข้อ 5.3.1) สำหรับตัวอย่างของเขาพนม จังหวัดกระบี่ (ตารางที่ 5.4) ได้รับตัวอย่างจากคุณเฉิดฉันท์ โพธิฉายาจากผลวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้นของกลุ่มหินแก่งกระจาน พบว่า Brachiopods มีหลายสกุลแต่จะพบมากเป็นบางสกุลและพบเฉพาะแหล่ง เช่น ที่เขาถ่าน (TC29) ที่พบมากได้แก่ Cleiothyridina seriataGrant, Juresania juresanensis Tschernyschew,Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse,Spinomartinia prolifica Waterhouse และStereochia koyaoensis Waterhouse แต่ที่เขาปากกว้าง (TC18 และ TC19) จังหวัดราชบุรีซากดึกดำบรรพ์ที่พบมากเป็น Chon<strong>et</strong>inella cymatilisGrant และ Stereochia litostyla Grant แต่ผลวิเคราะห์ด้านอายุจะสอดคล้องกับการศึกษาของSektheera (1992) ที่ศึกษาบริเวณเขาคลองแหงจังหวัดกระบี่ ให้มีอายุ Sakmarian, และของWaterhouse (1982), Shi and Waterhouse (1991)และ Shi and Archbold (1995) ที่รายงานว่าหินโคลนปนกรวดในส่วนบนของกลุ่มหินแก่งกระจานที่เกาะมุกเกาะพีพี มีอายุ Late Asselian or Early Sakmarian ซึ่งเทียบเคียงได้กับของเกาะลังกาวี (Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1997) ที่พบ Brachiopods หลายชนิดในส่วนบนของ SingaFormation มีอายุ Early Permian (Sakmarian)สำหรับข้อมูลของกลุ่มหินราชบุรี (ตารางที่ 5.3และ 5.4) ให้ไว้เพื่อการเปรียบเทียบ ซึ่งจะพบBrachiopods มากเป็นเฉพาะที่ เช่น ที่เขาพุเลียบจังหวัดกาญจนบุรีพบมากเป็น Derbyia regularisWaagen แต่ผลวิเคราะห์ด้านอายุของการวิจัยนี้ จะต่างกับของ Grant (1976) ที่ให้มีอายุ Late Artinskian, และต่างจาก Brachiopods ที่พบในหินปูนส่วนล่างของกลุ่มหินราชบุรี ที่เขาพริก จังหวัดราชบุรี ตรวจโดยYanagida (1970) และ Waterhouse (1982) ที่ให้มีอายุLate Artinskian และ Kungurian ตามลำดับจากผลการศึกษาแสดงว่า ซากดึกดำบรรพ์บางสกุล สามารถพบได้ในหลายหมวดหิน (ตารางที่5.3 และ 5.4) ดังนั้นแนวความคิดที่ว่าเมื่อพบซากดึกดำบรรพ์แล้วสามารถระบุว่าเป็นของหมวดหินใด จึงเป็นแนวคิดที่ผิดและคลาดเคลื่อน การจะระบุว่าชั้นหินบริเวณใดเป็นหมวดหินใดต้องดูจากลำดับชั้นหินและลักษณะของหินเท่านั้นลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


110บทที่ 5119 ตารางที่ 5.3 ชนิดและปริมาณของ Brachiopods ที่พบจากการวิจัยครั้งนี้ ( (ข้อมูลวิเคราะห์โดย Prof. Dr. Shen Shuzhong)Species name TC29 TC19 TC18 TC17 TC16 TC14 TC13 TC11 TC7 TC5(f) TC5 TC4 TC3 TC2 TC1(f)?C<strong>al</strong>lispirina sp. 3 2 1 6 Ratburi/Kaeng KrachanChon<strong>et</strong>inella cymatilis Grant 23 10 33 Ratburi/Kaeng KrachanKB109-10-7 TC5?KB109-10-6 TC5?KB157-5Tot<strong>al</strong>specimensGroupCleiothyridina seriata Grant 29 1 1 31 Ratburi/Kaeng KrachanCostatumulus sp. 2 2 4 Ratburi/Kaeng KrachanHustedia sp. 1 1 2 Ratburi/Kaeng KrachanJuresania juresanensis10 1 11 Ratburi/Kaeng KrachanTschernyschewLinoproductus sp. 1 1 2 Ratburi/Kaeng KrachanMarginifera sp. 8 3 1 12 Ratburi/Kaeng KrachanNeospirifer sp. 2 2 5 1 3 1 14 Ratburi/Kaeng KrachanOrthot<strong>et</strong>oidea gen. <strong>et</strong> sp.1 4 8 1 1 3 18 Ratburi/Kaeng Krachanind<strong>et</strong>Stereochia litostyla Grant 11 4 2 3 9 1 2 1 1 34 Ratburi/Kaeng Krachan?Orthotichia sp. 1 1 Kaeng KrachanChon<strong>et</strong>inella andamanensisWaterhouse19 19 Kaeng KrachanCimmeriella thai sp. nov. 5 5 Kaeng KrachanDemonedys sp. 1 1 Kaeng KrachanDemonedys tricorporum(Waterhouse)1 1 Kaeng KrachanDerbyia scobina Grant 1 1 Kaeng KrachanRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์111ตารางที่ 5.3 (ต่อ)Species name TC29 TC19 TC18 TC17 TC16 TC14 TC13 TC11 TC7 TC5(f) TC5 TC4 TC3 TC2 TC1(f)Derbyia sp. 1 1 Kaeng KrachanSpinomartinia prolificaWaterhouse19 19 Kaeng KrachanSpiriferella modesaWaterhouse2 2 Kaeng KrachanStereochia koyaoensisWaterhouse22 22 Kaeng KrachanSulciplica sp. 1 1 Kaeng KrachanTornquistia sp. 1 1 Kaeng krachanTot<strong>al</strong> specimens 118 16 39 9 7 1 2 3 21 1 10 1 4 5 1 1 1 1 241KB109-10-7 TC5?KB109-10-6 TC5?KB157-5Tot<strong>al</strong>specimensGroupลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


112121บทที่ 5ตารางที่ 5.4 รายละเอียดผลตรวจซากดึกดำบรรพ์ของ Brachiopods (ตัวอักษรหนา พบมาก ข้อมูลวิเคราะห์( โดย Prof. Dr. Shen Shuzhong) Prof. Dr. Shen Shuzhong) 5.4 BrachiopodsSampleNoTC11TC5TC7Neospirifer sp.Cleiothyridina seriataDerbyia scobina GrantDerbyia regularis WaagenFossils Location Formation Group AgeCompressoprodus sp.Stereochia litostyla GrantNeospirifer sp.Uncinella sp.Spiriferellina adunctata Waterhouse& PiyasinHustedia sp.Spiriferella granti sp. novChon<strong>et</strong>inella cymatilis GrantLinoproductus sp.Neospirifer sp.Anom<strong>al</strong>oria sp.Costatumulus sp.? Spiriferellina sp.Derbyia sp.? Stenoscisma sp.Khao Phu LiapKanchanaburiKhao Kaeo NoiKanchanaburiWat ThamKeere<strong>et</strong>arnKanchanaburiTC13 Costatumulus sp. Khao Phu LiapKanchanaburiTC14 Hustedia sp. Khao Phu LiapKanchanaburiTC16 Spiriferellina sp. 1Khao Phu LiapSpiriferellina sp. 2KanchanaburiStereochia litostyla GrantCostatumulus sp.Transennatia gratiosa (Waagen)Paraspiriferina sp.Compressoproductus sp.? C<strong>al</strong>lispirina sp.Paraspiriferina sp.Bilotina sp.Marginifera sp.Waterhouseilla speciosa Waterhouse& PiyasinKutorginella sp.Transennatia rasulpta Grant,TC19TC2Stereochia litostyla GrantOrthot<strong>et</strong>oidea gen. sp. ind<strong>et</strong>Stereochia litostyla GrantDerbyia scobina GrantTC3 Stenoscisma sp.Neospirifer sp.? Composita sp.Derbyia sp.Spiriferellina sp.TC1(F) Notothyris sp.Khao Pak KwangRatchaburiKhao Kaeo NoiKanchanaburiKhao Kaeo NoiKanchanaburiKhao Kaeo NoiKanchanaburiTC1 Marginiferid gen. <strong>et</strong> sp. ind<strong>et</strong>. Khao Kaeo NoiKanchanaburiUm Luk Ratburi WordianPhap Pha Ratburi WordianPhap Pha Ratburi WordianPhap Pha Ratburi WordianPhap Pha Ratburi WordianPhap Pha Ratburi WordianPhap Pha Ratburi WordianKhao MuangKhrutSandstoneKhao MuangKhrutSandstoneRatburiRatburiWordianWordianFloated rocks Ratburi WordianThung NangLingRatburiWordianRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์113ตารางที่ 5.4 (ต่อ)SampleNo122Fossils Location Formation Group AgeTC18Stereochia litostyla GrantChon<strong>et</strong>inella cymatilis GrantDerbyia sp.Compressoproductus sp.Coztatumulus sp.Tornquistia sp.Orthot<strong>et</strong>oidea gen. sp. ind<strong>et</strong>Khao Pak KwangRatchaburiTC17 Marginifera sp. Opposite Khao PhuLiap, KanchanaburiKB157 Stereochia litostyla GrantKhao KongKanchanaburiTC29 Stereochia koyaonensis Waterhouse Khao ThanSpiriferellina mod<strong>et</strong>a Waterhouse. ChumphonSpinomartinia prolifera WaterhouseChon<strong>et</strong>inella andamanensisWaterhouseCleiothyridian seriata GrantCimmeriella thai sp. nov.Neospirifer sp.Demonedys fastigata GrantDemonedys fricorporum WaterhouseHustedia sp.Linoproductus sp.Jurasania juresanensisTschernyschew? C<strong>al</strong>lispirina sp.? Orthotichia sp.Sulciplica sp.Spinomartinia prolifera WaterhouseDemonedys tricorporum WaterhouseCostatumulus sp?Neospirifer spLinoproductus spKhao Phanom,Krabi(Mrs Cherdchun’ssamples)TC99 Costatumulus sp Khao Nang HongPhangngaFloated rocks Ratburi WordianKhao ChaoKhao PhraKhao Phra?Khao PhraKo HeKaengKrachanKaengKrachanKaengKrachanKaengKrachanKaengKrachanSakmarian -ArtinskianSakmarian -ArtinskianSakmarian -ArtinskianSakmarian -ArtinskianSakmarian -Artinskianลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


114บทที่ 5คำอธิบายแผ่นภาพที่ 1 (Explanation for Plate 1)1. Spinomartinia prolifica Waterhouse, x1, TC29-87, 2. Spinomartinia prolifica Waterhouse, x1, TC29-813. Spinomartinia prolifica Waterhouse, x1.5, TC29-864. Spinomartinia prolifica Waterhouse, x1, TC29-1015. Spinomartinia prolifica Waterhouse, x1, TC29-606. C<strong>al</strong>lispirina sp., x1.5, TC16-1057. ? C<strong>al</strong>lispirina sp., x1.5, TC16-858. ? C<strong>al</strong>lispirina sp., x1.5, TC29-1079. ? C<strong>al</strong>lispirina sp., x2, TC29-11210. ? C<strong>al</strong>lispirina sp., x2, TC29-116Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์115แผ่นภาพที่ 112345678910ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


116บทที่ 5คำอธิบายแผ่นภาพที่ 2 (Explanation for Plate 2)1. Hustedia sp., x6, TC29-272. Neospirifer sp., x1, TC29-463. Neospirifer sp., x2, TC3-24. Neospirifer sp., x1, KB109-10-75. Neospirifer sp., x2, TC11-1136. Linoproductus sp., x1, TC7-1027. Linoproductus sp., x1, TC29-848. Sulciplica sp., x1, TC29-39Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์117แผ่นภาพที่ 212345678ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


118บทที่ 5คำอธิบายแผ่นภาพที่ 3 (Explanation for Plate 3)1. Demonedys fricorporum Waterhouse, x8, TC29-782. Demonedys sp., x10, TC29-793. Cimmeriella thai sp. nov., x1.5, TC29-1094. Cimmeriella thai sp. nov., x1.5, TC29-885. Cimmeriella thai sp. nov., x1.5, TC29-296. Cimmeriella thai sp. nov., x2, TC29-617. ? Orthotichia sp., x1, TC29-104Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์119แผ่นภาพที่ 31234567ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


120บทที่ 5คำอธิบายแผ่นภาพที่ 4 (Explanation for Plate 4)1. Stereochia koyaonensis Waterhouse, x1, TC29-412. Stereochia koyaonensis Waterhouse, x1, TC29-403. Stereochia koyaonensis Waterhouse, x1, TC29-504. Stereochia koyaonensis Waterhouse, x1, TC29-515. Stereochia koyaonensis Waterhouse, x1, TC29-526. Stereochia koyaonensis Waterhouse, x1, TC29-497. Stereochia koyaonensis Waterhouse, x1, TC29-42Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์121แผ่นภาพที่ 41234567ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


122บทที่ 5คำอธิบายแผ่นภาพที่ 5 (Explanation for Plate 5)1. Stereochia litostyla Grant, x1, TC19-382. Stereochia litostyla Grant, x1, TC16-373. Stereochia litostyla Grant, x1, KB157-5-824. Stereochia litostyla Grant, x1, TC5-45 (KB109)5. Stereochia litostyla Grant, x1, KB157-5-836. Compressoproductus sp., x1, TC16-537. Compressoproductus sp., x1, TC5-43Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์123แผ่นภาพที่ 51234567ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


124บทที่ 5คำอธิบายแผ่นภาพที่ 6 (Explanation for Plate 6)1. Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse, x3, TC29-152. Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse, x6, TC29-263. Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse, x4, TC29-944. Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse, x3, TC29-135. Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse, x3, TC29-66. Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse, x4, TC29-217. Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse, x3, TC29-58. Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse, x4, TC29-66Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์125แผ่นภาพที่ 612345678ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


126บทที่ 5คำอธิบายแผ่นภาพที่ 7 (Explanation for Plate 7)1. Spiriferella granti sp. nov, x2, TC5-682. Spiriferella granti sp. nov, x2, TC5-303. Spiriferella granti sp. nov, x2, TC5-314. ? Spirifellina sp., x2, TC7-1155. Spiriferellina mod<strong>et</strong>a Waterhouse., x2, TC29-636. Spiriferellina mod<strong>et</strong>a Waterhouse., x2, TC29-367. Uncinella sp., x2, TC5-1188. Stenoscisma sp., x1.5, TC3-1119. Stenoscisma sp., x3, TC7-4Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์127แผ่นภาพที่ 71234567ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่89


128บทที่ 5คำอธิบายแผ่นภาพที่ 8 (Explanation for Plate 8)1. Marginifera sp., x3, TC17-972. Marginifera sp., x3, TC17-913. Marginifera sp., x3, TC16-774. Marginifera sp., x3, TC16-95. Marginifera sp., x3, TC16-76. Orthot<strong>et</strong>oidea gen. sp. ind<strong>et</strong>, x1, TC19-547. Orthot<strong>et</strong>oidea gen. sp. ind<strong>et</strong>, x1, TC18-558. Orthot<strong>et</strong>oidea gen. sp. ind<strong>et</strong>, x1, TC19-33Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์129แผ่นภาพที่ 812345678ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


130บทที่ 5คำอธิบายแผ่นภาพที่ 9 (Explanation for Plate 9)1. Derbyia regularis Waagen, x1, TC11-992. Derbyia regularis Waagen, x1, TC11-573. Derbyia regularis Waagen, x1, TC11-1004. Tornquistia sp., x6, TC18-285. Cleiothyridina seriata Grant, x2, TC11-1176. Cleiothyridina seriata Grant, x2, TC29-1147. Coztatumulus sp., x1, TC18-448. Coztatumulus sp., x3, TC13-93Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์131แผ่นภาพที่ 912345678ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


132บทที่ 5คำอธิบายแผ่นภาพที่ 10 (Explanation for Plate 10)1. Jurasania juresanensis Tschernyschew , x1, TC29-592. Jurasania juresanensis Tschernyschew , x1, TC29-583. Jurasania juresanensis Tschernyschew , x1, TC29-894. Spinomartinia prolifica Waterhouse,1981, x1, TC29-805. Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse, x5, TC29-256. Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse, x3, TC29-10Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์133แผ่นภาพที่ 10123456ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


บทที่6วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจานในบทนี้จะวิเคราะห์ใน 3 ประเด็น คือ 1) การเปรียบเทียบกลุ่มหินแก่งกระจานกับชั้นหินที่ยูนนานประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน 2) สภาพภูมิศาสตร์บรรพกาลและสภาวะแวดล้อมการสะสมตัว และ 3) สรุปGeotectonic evolution ของกลุ่มหินแก่งกระจาน6.1การเปรียบเทียบกลุ่มหินแก่งกระจานกับชั้นหินที่ยูนนานในหัวข้อนี้ เป็นการเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง ของชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานที่พบบริเวณด้านตะวันตกของไทย (หรือที่พบบน shan-Thait e r r a n e ) กั บ ชั้ น หิ น ด้ า น ต ะ วั น ต ก ข อ ง ยู น น า น (ซึ่งประกอบด้วย Baoshan block และ Tengchongblock) ใน 3 ด้าน คือ ด้านลำดับชั้นหิน ด้านซากดึกดำบรรพ์ และด้านสภาพภูมิศาสตร์บรรพกาล6.1.1 การเปรียบเทียบด้านลำดับชั้นหินในภาพรวม ลำดับชั้นหินยุคเพอร์เมียนบริเวณพื้นที่วิจัยของไทยและพื้นที่ยูนนานด้านตะวันตกคือBaoshan block และ Tengchong block (รูปที่ 6.1)สามารถเทียบเคียงกันได้ ทั้งสามพื้นที่มีลำดับชั้นหินที่คล้ายกัน คือ มี Pebbly rocks วางตัวอยู่ด้านล่างและเปลี่ยนแปลงฃอย่างต่อเนื่องขึ้นไปเป็นหินปูน ในจำนวนนี้ลำดับชั้นหินของไทยจะมีการจำแนกที่ละเอียดกว่าประกอบด้วยหลายหมวดหินทั้งในส่วนของ Pebblyrocks และในส่วนของหินปูน (ตารางที่ 6.1) และของTengchong block มีข้อมูลน้อยกว่าเพื่อน อาจเนื่องจากมีลักษณะภูมิประเทศที่ทุรกันดารและการคมนาคมไม่สะดวก กลุ่มหินแก่งกระจาน เทียบเคียงได้กับDingjiazhai Formation + Bingma/Yongde Formationsของ Baoshan block และ Kongshuhe Formation ของTengchong block โดยพวก Diamictites มักพบทางด้านตะวันตกของ “Pebbly rock belt” (ที่อยู่ในแนวประมาณเหนือใต้จากสุมาตราขึ้นไปถึงจีน) ซึ่งจากขนาดของClasts พอประมาณได้ว่าก้อนขนาดใหญ่กว่าจะพบทางด้านตะวันตกและขนาดเล็กกว่าจะพบทางด้านตะวันออกสำหรับในประเทศไทย Pebbly rocks ของกลุ่มหินแก่งกระจานด้านฝั่งอันดามัน(ภูเก็ต-พังงา) ซึ่งเทียบเคียงได้ดีทั้งด้านชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์กับของเกาะลังกาวีประเทศมาเลเซีย จะคล้ายกับของ KongshuheFormation ในขณะที่ทางด้านฝั่งอ่าวไทยก็จะคล้ายกับของ Dingjiazhai Formation ซึ่งอยู่มาทางด้านตะวันออกส่วน Bryozoa beds ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของหมวดหินเขาพระ ก็พบมากใน Dingjiazhai Formation และ YongdeFormations สำหรับหินปูน/โดโลไมต์ของกลุ่มหินราชบุรี ก็เทียบได้กับของ Daaozi และ Shazipo Formations (Baoshan block) และ Dadongchang Formation (Tengchong block) มีที่ต่างก็คือลำดับชั้นหินเพอร์เมียนของ Baoshan block มีหินภูเขาไฟพวกบะซอลต์(Woniusi Formation) เกิดร่วมด้วย แต่ในประเทศไทยและ Tengchong block ไม่มี


136ลำดับชั้นหิน Dingjiazhai Formation ที่ typesection ที่หมู่บ้านตุงซังพัว (Dongshanpo) อยู่ห่างจากBaoshan มาทางใต้ประมาณ 40 กม. (หมายเลข 4 และ5 ในรูปที่ 6.1) ลำดับชั้นหินในส่วนล่างเอียงเทไปทางทิศเหนือ (32/008, dip direction) ประกอบด้วยชั้นบางของหินโคลนสลับกับหินทราย เนื้อละเอียด (รูปที่ 6.2ก) บางช่วงสลับด้วย well sorted sandstone บนขึ้นมาปิดทับด้วยหินโคลนปนกรวด (รูปที่ 6.2ข) มี Clasts ส่วนใหญ่เป็นพวก quartzite, limestone และส่วนใหญ่จะขนาดเล็กกว่า 1 ซม. ซึ่งส่วนนี้เข้าใจว่าเป็นพวกที่เกิดจากdebris flow เพราะชั้นหินเปลี่ยนขึ้นไปเป็น turbidites (รูปที่ 6.2ค) เป็นหินทราย เนื้อละเอียด เป็นชั้นดี หนาชั้นละประมาณ 3-30 ซม. ชั้นหินมีความยาวต่อเนื่องทางด้านข้างค่อนข้างดี และแทรกสลับด้วยหินโคลน บนขึ้นมาพบซากดึกดำบรรพ์มาก เช่น Bryozoa, crinoid และbrachiopod (รูปที่ 6.2ค, ส่วนนี้เทียบได้กับหมวดหินเขาพระ) บนขึ้นมาอีกเป็นส่วนบนของ DingjiazhaiFormation พบชั้นหินปูนแทรกสลับในหินโคลน สีเทาน้ำตาลแดงประมาณ 3 ช่วง (รูปที่ 6.2ง-จ) ในหินปูนมีซากดึกดำบรรพ์มากมายทั้ง fusulinid (Pseudofusulinasp., Eoparafusulina spp. บ่งอายุ Sakmarian orLower Permian, Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001a), crinoid และbrachiopod บนสุดก่อนที่ชั้นหินจะเปลี่ยนไปเป็นหินบะซอลต์ของ Woniusi Formation เป็นหินโคลนสีแดงแต่ไม่พบลักษณะ baked zone มีการนำเอาหินบะซอลต์ไปหา P<strong>al</strong>eom<strong>al</strong>atitudian<strong>al</strong> s<strong>et</strong>ting ให้ผลว่าเกิดอยู่ซีกโลกใต้ (42 ํS) ใกล้กับ Gondwana (Huangand Opdyke, 1991 in Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1997)ที่หมู่บ้าน Xiaoxinzhai, Gengma County (หมายเลข 9 ในรูปที่ 6.1) อยู่ด้านใต้ของ Boashanบทที่ 6block บริเวณชายแดนกับพม่า มีลักษณะภูมิประเทศเป็นหุบในเทือกเขาสูง (รูปที่ 6.3ก) บริเวณนี้เป็นส่วนบนของ Yongde (หยงเตอ) Formation หนาประมาณ 380เมตร (Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001a) จากลักษณะเนื้อหินที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินปูนจึงน่าเทียบได้กับส่วนล่างของกลุ่มหินราชบุรี ชั้นหินบริเวณ roadcut outcrop ข้างหมู่บ้าน (รูปที่ 6.3ข และ 6.3ค) ประกอบด้วยชั้นของหินปูนแทรกสลับด้วยหินดินดานวางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันตก (35/254) มีซากดึกดำบรรพ์มากเป็นพวกBrachiopods ตรวจสอบในเบื้องต้นเป็น Eolyttonia sp.,Neoplicatifera sp., Vediproductus sp. บ่งอายุRoadian to Wordian นอกจากนี้ยังพบ Bryozoa และCrinoid stems มาก (รูปที่ 6.3ง และ 6.3จ) และปะการังพวก Lophophy llidium proliferum, Lophophyllidiumsp., Verbeekiella sp., Ufimia sp. ให้อายุ LateKungurian to Roadian (Wang and Sugiyama, 2002)ชั้นหินปิดทับอย่างต่อเนื่องด้วยหินปูนของ ShazipoFormation ซึ่งแยกได้เป็น 2 ส่วน (รูปที่ 6.3ฉ) ส่วนล่างเป็น thin to medium bedded limestones (เทียบได้กับหมวดหินพุเลียบ) และปิดทับด้วย Massive limestones (เทียบได้กับหมวดหินอุ้มลูก) ในส่วนล่างของ Shazipo Formation พบปะการัง Sinopora sp.,Thomasiphyllum sp. และส่วนบนของ thin to mediumbedded limestones พบ Eopoly-diexodina sp. เป็นจำนวนมาก ทั้ง Sinopora sp. และ Eopolydiexodinasp. ก็พบในประเทศไทย เช่น ที่เขาพุเลียบ เขาพริก เขาอีโก้ ให้อายุ WordianRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน139139137 6.1 1) Dadongchang section, 2) Leilishan section, รูปที่ 6.1 6.1 3) Woniusi แผนที่แสดงตำแหน่งจุดสำรวจที่ยูนนาน section, 4) Dongshanpo 1) section, Dadongchang 1) Dadongchang 5) Dingjiazhai section, section, 2) Leilishan section, 2) Leilishan section, 6) Yudong 3) section, Woniusi3) section, Woniusi 7) section, Anpaitie 4) section, Dongshanpo 8) Kongsongzhai section, 5) section, Dingjiazhai 10) section, Xiaoxinzhai 6) Yudong sectionsection, ( 8) Kongsongzhai 7) Anpaitie Wang section, <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 10) 2001a) 8) Xiaoxinzhai Kongsongzhai section section, (ดัดแปลงจาก 10) Xiaoxinzhai Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001a) section( Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001a)section, 4) Dongshanpo section, 5) Dingjiazhai section, 6) Yudong section, 7) Anpaitie section, 6.1 6.1 ตารางที่ 6.1 เปรียบเทียบการจำแนกลำดับชั้นหินเพอร์เมียนของคาบสมุทรไทยกับ Baoshan block และTengchong Baoshan block block Tengchong block Baoshan block Tengchong blockWest & Peninsular ThailandWest & Peninsular ThailandUm Luk FmUm Phanom Luk Fm Wang FmPhanom Phap Pha Wang FmRatburiFmPhap Khao Pha Muang Fm KrutRatburi GroupKhao Sandstone Muang KrutGroupSandstone Thung Nang Ling FmThung Khao Nang Chao Ling Fm FmKaeng Khao Khao Chao Phra Fm FmKaeng KrachanKhao Ko He Phra Fm FmKrachan Group Ko Spillway He Fm FmGroup Spillway Laem Mai Fm Phai FmLaem Mai Phai Fmลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่West YunnanWest YunnanBaoshan blockNorthern Baoshan block SouthernNorthern SouthernDaaozi Fm Shazipo FmDaaozi Fm Shazipo FmBingma Fm Yongde FmBingma Fm Yongde FmWoniusi FmWoniusi FmDingjiazhai FmDingjiazhai FmTengchong blockTengchong blockDadongchangDadongchang FmFmKongshuhe FmKongshuhe Fm


138บทที่ 6กขคงจฉรูปที่ 6.2 ภาพลำดับชั้นหิน Dingjiazhai Formation ที่ Dongshanpo section อยู่ด้านใต้ของ Baoshanก) หินโคลนสลับด้วยหินทราย เนื้อละเอียด ส่วนล่างของ Dingjiazhai Formationข) หินโคลนปนกรวดของ Dingjiazhai Formation กรวดส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม.ค) turbidite sequence ของหินทรายสลับกับหินโคลน แสดงเป็นชั้นดีง) ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ Brachiopods ส่วนบนของ Dingjiazhai Formation จ) ชั้นหินปูนสลับกับหินโคลนส่วนบนของ Dingjiazhai Formationฉ) ทัศนียภาพของรูปที่ 6.2จRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน139กขคงจฉรูปที่ 6.3 ภาพลำดับชั้นหินของ Yongde Formation และ Shazipo Formation ที่หมู่บ้าน Xiaoxinzhai, GengmaCountyก) ลักษณะภูมิประเทศและเส้นทางเข้าสู่ หมู่บ้าน Xiaoxinzhaiข) และ ค) จุดที่พบซากดึกดำบรรพ์ของ Yongde Formationจ) และ ง) ซากดึกดำบรรพ์พวก Brachiopods, Crinoids, Bryozoa ใน Yongde Formationฉ) ภูมิประเทศของ Shazipo Formation มี หินปูนแสดงชั้นดีวางตัวอยู่ด้านล่าง และ Massive limestone อยู่ด้านบนลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


140บทที่ 6ที่ Dadongchang section, Tengchongblock พิกัด N25 ํ 29 ํ 01 ํ E098 ํ 34 ํ 52 ํ (หมายเลข 1 รูปที่ 6.1) บริเวณนี้มีเหมืองตะกั่ว สังกะสี เป็น Typesection ของ Dadongchang Formation (รูปที่ 6.4ก-ข) ในส่วนล่างเป็นหินปูน (ส่วนใหญ่เป็น skel<strong>et</strong><strong>al</strong>wackestone) หนามากกว่า 50 เมตร เป็นชั้นหนาถึงมวลหนา บางช่วงมี Bryozoa, solitary cor<strong>al</strong>s, Sinopora sp.(รูปที่ 6.4ค) บนขึ้นมาบางช่วงแทรกสลับด้วยโดโลไมต์ สีเทา ชั้นหนาประมาณ 20 เมตร มีลักษณะผิวแบบหนังช้างเห็นได้บ้าง และเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินปูนwackestone และ lime-mudstone หนามากกว่า 20เมตร เป็นชั้นหนาปานกลางถึงหนา ลำดับชั้นหินยังมีหินปูนต่อเนื่องขึ้นไปอีกแต่ในครั้งนี้ไม่ได้ทำการสำรวจ มีหินก้อนใหญ่หล่นอยู่ข้างทางลูกรังพบมี Fusulinids ซึ่งProf. Wang บอกว่าอาจเป็น Eopolydiexodina sp.,Yangchienia sp. อายุ middle Permian ซึ่งก็พบที่เขาพุเลียบ กาญจนบุรีด้วยที่ Leilishan section, Tengchong block พิกัดN24 ํ 55 ํ 12.1 ํ E098 ํ 17 ํ 06.7 ํ (หมายเลข 2 รูปที่ 6.1)บริเวณนี้เป็นเหมืองดีบุก ทำแบบเหมืองอุโมงค์และเหมืองเปิด ที่บริเวณลำห้วยข้างเหมือง (รูปที่ 6.4ง) เป็นลำดับชั้นหินของ Kongshuhe Formation หนามากกว่า 30 เมตรชั้นหินถูก m<strong>et</strong>amorphosed ด้วย ส่วนล่างบริเวณลำห้วยเป็นพวก pebbly mudstone สีเทา เนื้อแน่น มีกรวดประมาณ 2-3% ส่วนใหญ่ขนาดเล็กกว่า 1 ซม. แต่บางก้อน 2-3 ซม. (รูปที่ 6.4จ) ในส่วนบนเป็นพวกหินทรายสลับหินโคลน (รูปที่ 6.4ฉ) เทียบเคียงความเหมือน1. ลำดับชั้นหินมี Hiatus ขนาบอยู่ทั้งด้านล่างและด้านบนเหมือนกัน โดยที่ Baoshan block มีรอยชั้นไม่ต่อเนื่อง(hiatus) คั่นระหว่างชั้นหินยุค lowerCarboniferous กับชั้นหินยุคเพอร์เมียน และที่Tengchong block มี hiatus อยู่ระหว่าง lowerCarboniferous กับ Upper Carboniferous (Shen <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,2000; Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001b; Jin, 2002) สำหรับในประเทศไทย ผลจากงานวิจัยครั้งนี้พบในลักษณะที่คล้ายกัน จึงได้เสนอ Late Carboniferous hiatus ไว้ในลำดับชั้นหินของคาบสมุทรไทย (พล เชาว์ดำรงค์, 2546, รายละเอียดดูในบทที่ 3) สำหรับ Upper contact ของชั้นหินเพอร์เมียนที่ประเทศไทย กลุ่มหินราชบุรี (อายุ Middle Permian tomiddle Upper Permian) ถูกปิดทับแบบมีรอยชั้นไม่ต่อเนื่องด้วยหินทรายมหายุคมีโซโซอิก และหินปูนยุคไทรแอสซิกตอนต้น (กรมทรัพยากรธรณี, 2544 หน้า 152) ในทำนองเดียวกันชั้นหินเพอร์เมียนที่ Baoshan และTengchong blocks ก็ถูกปิดทับแบบมีรอยชั้นไม่ต่อเนื่องด้วยหินปูนยุคไทรแอสซิก (Jin, 2002) หลักฐานดังกล่าวบ่งถึงการเกิด Region<strong>al</strong> uplift และ Erosion ของภูมิภาคนี้ในอดีตในช่วงประมาณ Middle to LateCarboniferous และ Late PermianRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน141กขคงจฉรูปที่ 6.4 ภาพลำดับชั้นหินของ Dadongchang และ Kongshuhe Formations, ที่ Tengchong blockก) ทัศนียภาพของบริเวณหินแบบฉบับของ Dadongchang Formation(กลางภาพ)ข) หินปูนชั้นหนาในส่วนล่างของ Dadongchang Formationค) Sinopora sp. ในหินปูนของ Dadongchang Formationง) Kongshuhe Formation ที่ Leilishan sectionจ) Pebbly mudstone มี clasts บางก้อนโต 2-3 ซม. ที่ Leilishan sectionฉ) หินทรายและหินโคลน วางตัวบน Pebbly mudstone ที่ Leilishan sectionลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


142บทที่ 62. กลุ่มหินแก่งกระจาน ซึ่งมีลักษณะเด่นเป็นpebbly rocks เทียบเคียงได้กับ Dingjiazhai Formation+ Bingma/Yongde Formations ของ Baoshan blockและ Kongshuhe Formation ของ Tengchong blockโดยพวก Diamictites มักพบทางด้านตะวันตกของ “Pebbly rock belt” (ที่อยู่ในแนวประมาณเหนือใต้จากสุมาตราขึ้นไปถึงจีน) ซึ่งจากขนาดของ Clastsพอประมาณได้ว่าก้อนขนาดใหญ่กว่าจะพบทางด้านตะวันตกและขนาดเล็กกว่าจะพบทางด้านตะวันออกสำหรับในประเทศไทย Pebbly rocks ของกลุ่มหินแก่งกระจานด้านฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต-พังงา) ซึ่งเทียบเคียงได้ดีทั้งด้านชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์กับของเกาะลังกาวีประเทศมาเลเซีย จะคล้ายกับของ KongshuheFormation ในขณะที่ทางด้านฝั่งอ่าวไทยก็จะคล้ายกับของ Dingjiazhai Formation ซึ่งอยู่มาทางด้านตะวันออก 3. Clasts ใน Diamictites/Pebbly rocks ของกลุ่มหินแก่งกระจาน Dingjiazhai Formation (Baoshan block) และ Kongshuhe Formation (Tengchong block) มีความคล้ายกัน ประกอบด้วยquartzite, limestone, dolomite, quartz, chert,granite, m<strong>et</strong>amorphic rocks, sandstone, siltstoneและ mudstone 4. Dropstones พบทั้งในกลุ่มหินแก่งกระจาน (ที่ภูเก็ต) และใน Dingjiazhai Formation (ที่ Liuku)5. Bryozoa beds ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของหมวดหินเขาพระ ก็พบมากในส่วนบนของ DingjiazhaiFormation และใน Yongde Formations (Baoshanblock) และในส่วนบนของ Kongshuhe Formation (Tengchong block)6. พื้นที่ Baoshan มี well sorted sandstonesอยู่ใน Dingjiazhai Formation ซึ่งเทียบเคียงได้กับหมวดหินเขาเจ้า และหมวดหินสปิลเวย์ของกลุ่มหินแก่งกระจาน สำหรับ well sorted sandstones มีการเรียกในชื่ออื่นอีก เช่น quartzite, quartzose sandstone และquartz arenite แต่ส่วนประกอบเป็น Subarkose toquartz arenite7. หินปูน/โดโลไมต์ของกลุ่มหินราชบุรี ก็เทียบได้กับของ Daaozi และ Shazipo Formations (Baoshan block) และ Dadongchang Formation (Tengchong block) รวมทั้งเทียบได้กับหินปูน ChupingFormation ในมาเลเซีย แสดงว่าในช่วง Middle Permianto middle Upper Permian มี carbonate platform แผ่กระจายปกคลุมพื้นที่กว้างขวางมาก อย่างน้อยจากมาเลเชีย ขึ้นมาไทย พม่า และยูนนานของประเทศจีน มีที่ต่างก็คือลำดับชั้นหินเพอร์เมียนของ Baoshan block มีหินภูเขาไฟพวกบะซอลต์ (Woniusi Formation) เกิดร่วมด้วยแต่ในประเทศไทยและใน Tengchong block ไม่มี8. ลำดับชั้นหินของหินปูนที่เริ่มจาก Thin tomedium bedded limestones (หมวดหินพุเลียบ) และปิดทับด้วย Massive limestones (หมวดหินอุ้มลูก) ซึ่งพบอย่างกว้างขวางในกลุ่มหินราชบุรี ก็พบที่ยูนนานด้วย เช่นในหมวดหิน Shazipo ที่ Xiaoxin-zhai section,Gengma Countyเทียบเคียงความต่าง1. หินปูนของ Daaozi Formation และShazipo Formation (รูปที่ 6.3) มีซากดึกดำบรรพ์มากกว่าของกลุ่มหินราชบุรี (แต่ทั้งหมดเป็น lowdiversity เหมือนกัน) 2. ลำดับชั้นหินเพอร์เมียนของ Baoshanblock มีหินบะซอลต์ แต่ของ Tengchong block และของไทยไม่มี3. Dolomite พบมากในส่วนบนของ Daaozi/Shazipo Formations ส่วนกลางของ DadongchangFormation แต่ในกลุ่มหินราชบุรีส่วนใหญ่พบในส่วนล่าง(เช่น ที่เขาวังหีบ เขาพนมมาร จังหวัดกาญจนบุรี) และส่วนบน (เช่น ที่เขาถ้ำพระ เขากลอย จังหวัดราชบุรี) ของลำดับชั้นหิน4. หินปูนของ Daaozi/ Shazipo Formations มีChert ทั้งในรูปของเล็นส์และ nodule น้อยกว่าของกลุ่มหินราชบุรี และ Dadongchang FormationRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน1436.1.2การเปรียบเทียบด้านซากดึกดำบรรพ์ในหัวข้อนี้ เป็นการเปรียบเทียบซากดึกดำบรรพ์พวกCor<strong>al</strong>s, Brachiopods, Fusulinids และ Foraminifer ที่พบในพื้นที่ศึกษาระหว่าง คาบสมุทรไทย (หรือ Shan-Thaiterrane) กับ Baoshan block และ Tengchong blockการเปรียบเทียบแยกเป็น 2 ส่วน ในช่วงแรกเป็น LowerPermian เช่น ที่พบใน Dingjiazhai Formation และในกลุ่มหินแก่งกระจาน ในช่วงหลังเป็น Middle to LatePermian เช่น ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในกลุ่มหินราชบุรีDaaozi Formation, Shazipo Formation และDadongchang Formation การเทียบเคียงซากดึกดำบรรพ์ระหว่างพื้นที่วิจัยในประเทศไทยกับด้านตะวันตกของยูนนานของ Cor<strong>al</strong>s, Brachiopods,Foraminifers และ Fusulinids ได้แสดงไว้ในตารางที่ 6.2,6.3, 6.4 และ 6.5 ตามลำดับโดยภาพรวม จากข้อมูลที่มีการศึกษามาก่อนแล้ว พบว่าพื้นที่คาบสมุทรไทย และ Baoshan block มีการศึกษาด้านซากดึกดำบรรพ์มามากพอสมควร แต่ในTengchong block จะมีข้อมูลน้อย มีสิ่งที่ต้องพึงคำนึงคือในบางครั้งอายุของซากดึกดำบรรพ์ที่ระบุจากรายงานก็มีความขัดแย้งกันเอง ทั้งจากซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นชนิดเดียวกันแต่ผู้ตรวจต่างคนกัน หรือซากดึกดำบรรพ์ต่างชนิดกันที่เก็บจากบริเวณเดียวกันแต่ให้อายุต่างกัน ถ้าผู้อ่านพบเหตุการณ์ในกรณีเช่นนี้และไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาดังกล่าว ผู้เขียนขอแนะนำให้ยึดถือบทความฉบับที่ตีพิมพ์เผยแพร่ล่าสุดทั้งนี้เพราะวารสารแต่ละฉบับจะมี Reviewers หรือReaders ช่วยตรวจสอบความถูกต้องให้ชั้นหนึ่งก่อนแล้ว กรณีเช่นนี้อาจจะเกิดขึ้นได้มากในประเทศไทยทั้งนี้เพราะกรมทรัพยากรธรณีในปัจจุบันอยู่ในขั้นวิกฤติขาดผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ในหลายสาขา การเปรียบเทียบ Cor<strong>al</strong>sWaterhouse (1982) ได้รายงานการพบnon-dissepimented solitary cor<strong>al</strong>, Euryphyllum sp.อายุ Lower Permian จากกลุ่มหินภูเก็ต (หรือกลุ่มหินแก่งกระจาน ของรายงานฉบับนี้) ในภาคใต้ ส่วนในBaoshan block (Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001b) พบปะการังอายุSakmarian to Artinskian พวก Cyathaxonia sp. A,Claviphyllum? sp., Duplophyllum sp., andParacaninia? sp. จากส่วนบนของ DingjiazhaiFormation. (ตารางที่ 6.2) หลักฐานของอายุได้รับการสนับสนุนจากการพบ conodonts Swe<strong>et</strong>ognathusbucaramangus Rabe and Swe<strong>et</strong>ognathusinornatus Ritter (Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001b; Ueno <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,2002) ซึ่งปะการังเหล่านี้เทียบเคียงได้กับของ QudiFormation ใน Rutog County, west Xizang (He andWeng, 1982), Anji Formation, Xainza, centr<strong>al</strong>Xizang (Yang and Fan, 1982; Zhao and Wu, 1986;Fan, 1988), และ an unnamed Sakmarian bed inSouth Afghanistan ซึ่งพบ Paracaninia sp.,Bradyphyllum sp., Amplexus sp., and Caninia sp. (Leven, 1997, p.21) พวก Cyathaxonia sp. และEuryphyllum sp. คงเกี่ยวข้องกับการเกิดใน Cold water(Waterhouse, 1982; Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001b) จากการวิจัยครั้งนี้ก็พบ Paracaninia sp. (ที่เขาพุเลียบกาญจนบุรี), Bradyphyllum sp. (ที่เขาถ่าน ชุมพร), และEuryphyllum sp.(ที่เขาแก้วน้อย และเขาแก้วใหญ่กาญจนบุรี) ด้วยเช่นกัน (ตารางที่ 5.2)ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


144บทที่ 6ในส่วนล่างของกลุ่มหินราชบุรี Fontaine <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1994a, 1994b) รายงานการพบ solitary cor<strong>al</strong>sประกอบด้วย non-dissepimented cor<strong>al</strong> จำนวน 5species คือ Amplexocarinia sp., Paracaninia sp.,Lophophyllidium pendulum Grabau,Pleramplexus sp., and Ufimia sp. ซึ่งพบมีซากดึกดำบรรพ์จำนวนมากของ bryozoans andbrachiopods เกิดร่วมด้วย ลักษณะของกลุ่มซากดึกดำบรรพ์ดังกล่าวจะคล้ายกับที่พบใน YongdeFormation ของ Baoshan block ซึ่งพบLophophyllidium sp., Verbeekiella sp., และ Ufimiasp. นอกจากนี้ non-dissepimented solitary cor<strong>al</strong>:Lophophyllidium orient<strong>al</strong>e ก็พบใน PlateauLimestone ของ Southern Shan States ในประเทศพม่า (Smith, 1941).Tabulata cor<strong>al</strong>s พบทั่วไปในหินปูนกลุ่มหินราชบุรีของคาบสมุทรไทยเป็นพวก Sinopora sp. (Sinopora asiatica) ให้อายุ Murgabian to Dzhulfian (Fontaine and Sute<strong>et</strong>horn, 1988, p. 114-115) เช่นที่ เขาแหลม อำเภอทองผาภูมิ บ้านพุพลู จังหวัดกาญจนบุรี ที่เขาล้าน เขาแขก และ เขาปากกว้าง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เขาถ้ำเสือจังหวัดเพชรบุรี ส่วน Rugosa cor<strong>al</strong>s พบน้อยชนิด (low diversity) และไม่ก่อตัวเป็น reef แม้ว่าจะพบเป็นจ ำ น ว น ม า ก ใ น ส่ ว น บ น ข อ ง หิ น ปู น เ พ อ ร์ เ มี ย น ซึ่งแตกต่างจากปะการังที่พบในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือไม่มีพวก Ipciphyllum และ Pseudohuangia ซึ่งพบมากในภาคดังกล่าว แต่จะพบพวก Paraipciphyllum โดยทั่วไปในคาบสมุทรไทย (ซึ่งจะไม่ค่อยพบในภาคอื่นๆ ของประเทศ) เช่น ที่เขาแหลม อำเภอทองผาภูมิ ที่เขาล้าน เขาแขก และ เขาปากกว้าง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี เขาถ้ำเสือจังหวัดเพชรบุรี เขาตาม่องล่าย และเขาคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (Fontaine and S<strong>al</strong>yapongse, inpress)ใน Baoshan block ยังพบ Massive cor<strong>al</strong> ในส่วนล่างของ Shazipo Formation เป็นพวก Wentzellophylum, Sinopora asiatica,Thomasiphyllum sp. บ่งอายุ Kubergandian to early Dzhulfian สำหรับ Wentzellophyllum นั้น ไม่พบในประเทศไทย แต่ Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (2001b) กล่าวว่ามีลักษณะคล้ายกับ Paraipciphyllum kulvanichiปะการังตัวใหม่ของ Fontaine and Sute<strong>et</strong>horn (1988)ซึ่งมีอายุ Wordian to Capitian age สำหรับ Sinoporaasiatica พบอย่างกว้างขวางใน Cimmerian continentโดยพบในส่วนล่างของกลุ่มหินราชบุรี (ตัวอย่าง TC19a-2,3 ในตารางที่ 5.2) และพบใน DadongchangFormation ของ Tengchong block ด้วย ส่วนThomasiphyllum ก็พบอย่างกว้างขวางทั้งใน WestSumatra, Shan state และคาบสมุทรไทย (Wang andSugiyama, 2002) ที่ Tengchong block พบปะการังในDadongchang Formation เป็นพวก Iranophyllum sp.,Lonsd<strong>al</strong>eiastraea sp.A, Lonsd<strong>al</strong>eiastraea sp.B,Paraipciphyllum sp. , Praewentzelella sp., Sinoporaxainzaensis, Waagenophyllum kueichowense,Wannerophyllum sp. มีอายุช่วง Middle to lowerUpper Permian ที่พบมากเป็นพวก Waagenophyllumkueichowense ในขณะที่ Paraipciphyllum sp. ก็คล้ายParaipciphyllum thailandicum ซึ่งพบในหินปูนของกลุ่มหินราชบุรีของคาบสมุทรไทย (Fontaine andSute<strong>et</strong>horn, 1988).Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน148145 6.2 Permian Cor<strong>al</strong>s Baoshan Tengchong Blocks ( Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001b;Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2002; Wang and Sugiyama, 2002; )( )ตารางที่ 6.2 แสดงการเทียบเคียง Permian Cor<strong>al</strong>s ระหว่างพื้นที่ภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้ ของไทยกับของ Baoshan และ Tengchong Blocks (ข้อมูลบางส่วนจาก Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001b; Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,2002; Wang and Sugiyama, 2002; ) (ตัวหนาหมายถึงพบมากหรือเหมือนกัน ดอกจันหมายถึงการวิจัยครั้งนี้) TengchongWest YunnanBaoshanWest & Peninsular ThailandDadongchang Fm Shazipo/ Daaozi Fm Ratburi GroupIranophyllum sp. .Lonsd<strong>al</strong>eiastraea sp.ALonsd<strong>al</strong>eiastraea sp.BParaipciphyllum sp.Praewentzelella sp.Sinopora xainzaensisWaagenophyllumkueichowenseWannerophyllum sp.Sinopora asiaticaWentzellophylum persicum(massive cor<strong>al</strong>)Wentzellophylum shidianense(massive cor<strong>al</strong>)Yongde Fm / Bingma FmLophophyllidium proliferumLophophyllidium sp.Sinopora asiaticaThomasiphyllum sp.Ufimia sp.Verbeekiella sp.Wannerophyllum exquisitumAmplexocariniaEuryphyllum sp.(four or five species)*Iranophyllum sp.Lophophyllidium sp. (two species) *Paracaninia sp. *Paraipciphyllum kulvanichi FontaineParaipciphyllum thailandicum FontainePavastehphyllum (Pseudocarniaphyllum) sp.Pavastehphyllum (Sakamotosawanella)meesooki FontainePavastehphyllum sp.Pentaphyllum? *PleramplexusPolythec<strong>al</strong>is sp.ProtomicheliniaPseudofavositesSinopora *Sinopora asiatica MansuySakamotosawanellaThomasiphyllum sp.Ufimia sp. (two species) *Verbeekiella sp. *WaagenophyllumWentzellophylumKongshuhe Formation Dingjiazhai Formation Kaeng Krachan GroupCyathaxonia?LophophyllidiumPseudobradyphyllumUfimaClaviphyllum ? sp. Nov. DCyathaxonia sp. ADuplophyllum sp. AParacaninia ? sp. Ind<strong>et</strong>Bradyphyllum?*Euryphyllum sp.ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


146บทที่ 6การเปรียบเทียบ BrachiopodsBandoproductus qingshuigouensis n sp. (ตารางที่ 6.3) พบใน Pebbly mudstones ในส่วนบนของDingjiazhai Formation (Baoshan block) ให้อายุ Asselian(Fang, 1994 ใน Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2002) ซึ่งเทียบได้กับBandoproductus monticulus Waterhouse พบมากในชั้นที่มี Bryozoa มากมายของหมวดหินเขาพระ(ส่วนบนของกลุ่มหินแก่งกระจาน) ที่เขาแดงน้อย ด้านใต้อำเภอบางสะพานและที่เกาะยาวน้อย และใน Pebbly mudstones ส่วนบนของSinga Formation ที่เกาะลังกาวี และกับของทิเบต (Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,1997, 2002) พวกนี้เทียบเคียงได้กับ Early Permian (Sakmarian) ของ peri-Gondwanan ซึ่งพบใน Cimmeriancontinent ด้วย สำหรับ Spinomartinia prolifica ซึ่งพบมากที่เขาถ่าน (TC29) จังหวัดชุมพร และที่เกาะยาวน้อย ที่เกาะลังกาวีก็พบมากเช่นกัน (ซึ่งเกิดร่วมกับ Bandoproductus)และเทียบได้กับที่พบในส่วนบนของ Dingjiazhai Formationด้วยเช่นกัน Waterhouse (1982) รายงานพบ sm<strong>al</strong>lbrachiopods อายุ Late Asselian ในหินโคลนปนกรวดที่เกาะมุก เกาะพีพีเป็นพวก Rhynchopora culta Waterhouse,Kitakamithyris buravasi, Komukia solita,Cancrinelloides monticulus ซึ่งบ่งถึงการสะสมตัวใน Coolwater ส่วน Costatumulus sp. ที่พบที่ Xiaoxinzhai sectionอายุ Kungurian- Roadian ก็พบที่จังหวัดชุมพร (Shen <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,2002; Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001) และ Linoproductus sp. ซึ่งเป็นพวกwide-ranging genera พบในหมวดหินเขาพระที่เขาถ่านจังหวัดชุมพร และที่เขาพนม จังหวัดกระบี่ ให้อายุSakmarian-Artinskian ก็พบที่ Baoshan block (ตารางที่ 6.3)และ Kas<strong>et</strong>ia sp. ก็พบทั้งในหมวดหินเขาพระ ที่เกาะยาวน้อย จังหวัดกระบี่(Waterhouse, 1982) และใน YongdeFormation ที่ Anpaitian section (Shen <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2002)นอกจากนี้ Spiriferellina aduncata ซึ่งพบครั้งแรกจากส่วนล่างของกลุ่มหินราชบุรี ที่เขาพริก (Grant,1976) ก็พบใน Tengchong block และที่ Xiaoxinzhaisection และ Anpaitian section ใน Baoshan blockด้วยและให้มีอายุ Kungurian- Wordian (Shen <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,2002)Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน150147 6.3 Permian Brachiopods ตารางที่ 6.3 แสดงการเทียบเคียง Permian Brachiopods ระหว่างพื้นที่ภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้ของ Baoshan Tengchong Blocks (ไทยกับของ Baoshan และ Tengchong Blocks (ตัวหนาหมายถึงพบมากหรือเหมือนกัน ดอกจัน )หมายถึงการวิจัยนี้) (ข้อมูลบางส่วนจาก Shen <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2000; Shen <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2002; Shi and Shen,( Shen <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2000; Shen <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2002; Shi and Shen, 2001;2001; Jin, 2002)Jin, 2002)Tengchong block Baoshan block West & Peninsular ThailandDadongchang Fm Shazipo/ Daaozi Fms Ratburi GroupCleoiothiridinaLeptodus nobilis WaagenMarginiferaWaagenitesAlatoproductus? sp.Cryptospirifer omeishanensis HuangCryptospirifer sp.Linoproductus lineatus WaagenOgbinia sp.Phyricodothyris asiatica ChaoPseudoantiquntonia mutabilis Zhan andWuSpinomarginifera sp.Squamularia sp.Yongde Fm/ Bingma FmCeleb<strong>et</strong>es yunnanensisDictyoclustinae gen. Et sp. Ind<strong>et</strong>Juresanilnae gen. Et sp. Ind<strong>et</strong>Kas<strong>et</strong>ia sp.Linoproductus sp.Loxophragmus sp.Neochon<strong>et</strong>es (Huangochon<strong>et</strong>es) inflatusNeoplicatifera huangiPhricodothyris sp.Spiriferellina aduncataVediproductus punctatiformisCostatumulus minorNeochon<strong>et</strong>es (Neochon<strong>et</strong>es) sp.Tenuichon<strong>et</strong>es tengchongensisWaagenites-CostiferinaCostatumulus minorCrurithyris sp.Liosotella subcylindricaMartiniopsis sp.Bilotina sp.*?C<strong>al</strong>lispirina sp.*Chon<strong>et</strong>inella cymatilis Grant*Cleiothyridina seriata Grant*Composita sp.*Compressoproductus sp.*Costatumulus sp.*Derbyia regularis Waagen*Hustedia sp.*Juresania juresanensis Tschernyschew*Kutorginella sp.*Linoproductus sp.*?Lepidospirifer sp.*Marginiferid gen. <strong>et</strong> sp. ind<strong>et</strong>.Marginifera sp.*Neospirifer sp.*Notothyris sp.*Orthot<strong>et</strong>oidea gen. <strong>et</strong> sp. Ind<strong>et</strong>*Paraspiriferina sp.*Spiriferellina aduncataSpiriferella granti sp. nov.*? Spirifellina sp.*Stenoscisma sp.*Stereochia litostyla Grant*Transennatia insculpta Grant*Uncinella sp.*Waterhousiella speciosa Waterhouse &Piyasin*Kongshuhe Formation Dingjiazhai Formation Kaeng Krachan GroupChon<strong>et</strong>es sp.GlobiellaLinoproductus sp.Neospirifer sp.Punctospirifer sp.Acrititr<strong>et</strong>a sp.Bandoproductus qingshuigouensisShen <strong>et</strong> <strong>al</strong>.Brachythyrina peregrina ReedC<strong>al</strong>lytharrella dongshanpoensisShen <strong>et</strong> <strong>al</strong>.Cimmeriella mucronata FangCleiothyridina laminosa FangArctitr<strong>et</strong>a percostata,Arionthia sapa Waterhouse,Bandoproductus monticulusWaterhouse?C<strong>al</strong>lispirina sp.*Cancrinelloides monticulus,Chon<strong>et</strong>inella andamanensisWaterhouse*ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


148บทที่ 6ตารางที่ 6.3 (ต่อ)151Tengchong block Baoshan block West & Peninsular ThailandCostatumulus sp.Crurithyris sp.Cyrtella ? sp.Dielasma ? cf. glabrum TongDielasma ?sp.ElivinaElivina yunnanensis Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>.Eolissochon<strong>et</strong>es ? sp.Fusispirifer sp.Hustedia sp.Levipustula ? sp.Linoproductus sp.Marginifera semigratiosa ReedMartinia decoraNantanella elegantula GrabauNeospirifer cf. orient<strong>al</strong>is ChaoOrthotichia magnifica GrabauPhricodothyris sp.Punctocyrtella ? yunnanensis Shen <strong>et</strong> <strong>al</strong>.Punctocyrtella austr<strong>al</strong>is ThomasPunctospirifer afghanus Termier <strong>et</strong> <strong>al</strong>.Pyramidthyris ? sp.Rugoconcha sp.Rugosochon<strong>et</strong>inae gen. <strong>et</strong> sp. Ind<strong>et</strong>Spirelytha p<strong>et</strong><strong>al</strong>iformis PavlovaStenoscismaSyringothyrididae gen. <strong>et</strong> sp. Ind<strong>et</strong>Tivertonia ? sp.Transennatia sp.Trigonotr<strong>et</strong>a semicircularis Shen <strong>et</strong> <strong>al</strong>.Uncinunellina ? sp.Cimmeriellathai sp. nov.*Cleiothyridina seriata Grant*Costatumulus sp.Demonedys sp.*Demonedys tricorporum Waterhouse*Derbyia scobina Grant*Derbyia sp.*Elasmata r<strong>et</strong>ususJuresania juresanensis Tschernyschew*Kas<strong>et</strong>ia cf. kas<strong>et</strong>i Waterhouse,Kitakamithyris buravasiKomukia solita,Linoproductus sp.*Meekella bisculpta GrantNeochon<strong>et</strong>es (Sommeriella) prattiDavidson,Neospirifer hardmani Ford?Orthotichia sp.*Rhynchopora culta Waterhouse,Spinomartinia prolifica Waterhouse*Spirelytha p<strong>et</strong><strong>al</strong>iformis PavlovaSpiriferella modesta Waterhouse *Stenoscisma sp.,Stereochia koyaoensis Waterhouse*Streptorhynchus sp.,Sulciplica sp.*Sulciplica thailandica HamadaTornquistia sp.*Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน149การเปรียบเทียบ Fusulinids และForaminiferaสวนบนของ Dingjiazhai Formation มีหินปูนสลับอยู่พบ Fusulinid พวก Pseudofusulina ovata และEoparafusulina pusilla ให้อายุ Sakmarian toArtinskian age (Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001b) ซึ่งในภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทยยังไม่มีรายงานการพบ และในช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีหินปูนสะสมตัวในคาบสมุทรไทย สำหรับ Fusulinaceans ในกลุ่มหินราชบุรีพบมากเป็นบางบริเวณและเป็นพวก low diversity ที่พบมากเป็น Pseudofusulina, Eopolydiexodina, Yangchienia(ตารางที่ 6.4) และไม่พบพวก Misellina, Cancellina,Verbeekina, Sumatrina, Afghanella, Yabeina, และLepidolina (ตารางที่ 2.9) ซึ่งพบทั่วไปในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ในกลุ่มหินสระบุรี, Indochinaterrane) การวิจัยครั้งนี้ส่วนใหญ่พบ Eopolydiexodinasp และ Yangchienia ให้อายุช่วง Murghabian ส่วนในShazipo Formation ของ Baoshan block จะพบซากดึกดำบรรพ์มากกว่าและเป็นพวก low diversity ด้วยเช่นกัน ที่พบมากเป็น Eopolydiexodina sp. ของ MiddlePermian และพบ Shanita ในส่วนบนของ ShazipoFormation ด้วย (Ueno, 1999) (ตารางที่ 5.5)ในกลุ่มหินราชบุรี Sm<strong>al</strong>ler foraminifera พบมากกว่า Fusulinaceans พวกนี้เป็นตัวบ่งอายุและสภาวะแวดล้อมการสะสมตัวที่ดี เช่น Hemigordiopsis, Dagmarita,Colaniella, Abadehella, Bais<strong>al</strong>ina, Shanita,Rectostipulina และ Sphairionia เป็นตัวบ่งอายุที่ดีอยู่ในช่วง Murgabian to Dzhulfian และโดยเฉพาะพวก Shanitaและ Rectostipulina นั้นพบมากในคาบสมุทรไทย เช่น ที่เขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เขาตาม่องล่าย และเขาคลองวาฬจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในขณะที่ Sphairionia,Hemigordiopsis, Dagmarita, Colaniella และ Bais<strong>al</strong>inaพบมากในภาคอื่นของประเทศด้วย (Dawson <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1994;Fontaine and S<strong>al</strong>yapongse, in press) ส่วนของBaoshan block นั้นใน Daaozi Formation พบ Nankinellasp., Staffellidae n. gen., n. sp., Tuberitina spp.,Glomospira spp., Globiv<strong>al</strong>vulina spp., Hemigordius sp.และ Pachyphloia sp. (ตารางที่ 6.5)Ueno (2003) ได้เปรียบเทียบ Permian fusulinidและ sm<strong>al</strong>l foraminifera ระหว่าง Sibumasu block กับBaoshan block ซึ่งทั้งสองพื้นที่เป็นส่วนหนึ่งของ easternCimmerian Continent โดยพบว่าทั้งสองพื้นที่มีFusulinids อยู่ใน 4 stratigraphic levels ใหญ่ๆ จากอายุแก่ไปหาอ่อน คือ 1) Pseudofusulina, Eoparafusulinaอายุ Yakhtashian หรือ Artinskian พบในส่วนบนของDingjiazhai Formation, 2) Monodiexodina อายุBolorian หรือ Kungurian พบในส่วนล่างสุด (bas<strong>al</strong> part)ของ Ratburi Limestone พบที่จังหวัดตาก, 3)Eopolydiexodina, Rugososchwagerina, Yangchienia,Chusenella, Jinzhangia อายุ Murgabian หรือ Wordianพบในส่วนล่างของ Shazipo Formation และ DaaoziFormation และส่วนกลางของ Ratburi Limestone พบในหลายบริเวณของกาญจนบุรี, 4) ซึ่งมีอายุน้อยสุดเป็นพวกNanlingella, Reichelina, Codonofusiella? อายุDzhulfian หรือ Wuchiapingian พบในส่วนบนของRatburi Limestone นอกจากนี้ยังพบ Shanita (ให้มีอายุประมาณ Midian-Dzhulfian) ในส่วนบนของRatburi Limestone และ Shazipo Formation ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


150 153บทที่ 6ตารางที่ 6.4 แสดงการเทียบเคียง Permian fusulinids ระหว่างพื้นที่ภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้ของไทย (กลุ่มหินราชบุรี) กับของ Baoshan และ Tengchong Blocks (ตัวหนาหมายถึงพบมากหรือเหมือนกัน ดอกจันหมายถึงการวิจัยครั้งนี้) (ข้อมูลบางส่วนจาก Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2002; Jin, 2002) 6.4 Permian fusulinids Baoshan Tengchong Blocks ( ) ( Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2002; Jin, 2002)Tengchong block Baoshan block West & Peninsular ThailandDadongchang Fm Shazipo Formation Ratburi GroupSchwagerina sp.Nankinella sp.*Yangchienia sp.*Eopolydiexodina sp.Rugososchwagerina?Neoschwagerina craticuliferaPolydiexodina sp.Yongde Fm / Bingma FmEopolydiexodina sp. *Nankinella sp. *Chusenella sp.Chusenella cambodgensis GublerEoparafusulina sp.Eopolydiexodina sp.*Nankinella sp.*Ozawainella sp.Parafusulina sp.Pseudofusulina sp.*Polydiexodina sp *Pseudoschwagerina sp.Schwagerina cf. padangensis LangeSphaerulina sp.Staffella sp.Yangchienia sp.*Kongshuihe Fm Dingjiazhai Kaeng Krachan GroupPseudofusulina sp.Eoparafusulina sppHemigordiopsis sp.*Pachyphloia sp.Pseudofusulina sp.*Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน154151 6.5 Permian foraminifers ตารางที่ 6.5 แสดงการเทียบเคียง Permian foraminifers ระหว่างพื้นที่ภาคตะวันตกตอนล่างและภาคใต้ของไทย (กลุ่มหินราชบุรี)BaoshanกับของBaoshanTengchongและ TengchongBlocksBlocks((ข้อมูลบางส่วนจาก WangWang <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,2002; Jin, 2002 ) ( )<strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2002; Jin, 2002 ) (ตัวหนาหมายถึงพบมากหรือเหมือนกัน ดอกจันหมายถึงการวิจัยครั้งนี้)Tengchong blockWest YunnanBaoshan blockWest & PeninsularThailandDadongchang Fm Shazipo/ Daaozi Fms Ratburi GroupShanita amosi,Hemigordius biconcavusGlobiv<strong>al</strong>vulina spp.Glomospira spp.Hemigordiopsis sp.*Hemigordius sp.Nankinella sp.Pachyphloia sp.ShanitaStaffellidae n. gen., n. sp.,Turberitina spp.Abadahella,Agathammina,Bais<strong>al</strong>ina pulchra,Bais<strong>al</strong>ina,BisphaeraClimacammina,Dagmarita,Colaniella,Globiv<strong>al</strong>vulina,Hemigordiopsis renzi,Hemigordiopsis,Hemigordius,Lasiodiscus,Nankinella,Nodosaria,Pachyphloia,P<strong>al</strong>aeotextularia,Paraglobiv<strong>al</strong>vulinaPseudotristix,ShanitaShanita amosi,SphaerioniaStaffella,Tuberitina,ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


152บทที่ 66.2 สภาพภูมิศาสตร์บรรพกาลและสภาวะแวดล้อมการสะสมตัวในหัวข้อนี้ เป็นการลำดับเหตุการณ์ของการสะสมตัวของชั้นหินยุคเพอร์เมียนของพื้นที่วิจัยในคาบสมุทรไทยและที่ยูนนาน (Shan-Thai terrane,Baoshan block และ Tengchong block) โดยแบบจำลองที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่อิงข้อมูลลำดับชั้นหินของไทยเป็นหลัก1) ช่วง Early Permian สภาพภูมิอากาศของพื้นที่วิจัยเป็นแบบหนาวเย็น แสดงว่าวางตัวอยู่ใกล้ Gondwanaโดยที่เกาะมุก เกาะพีพี พบ Temperate to coolbrachiopod: Sulciplica, Kitakamithyris, Vacunella,Cancrinelloides และ cool water cor<strong>al</strong>: Euryphyllum บ่งอายุ Late Asselian ใน pebbly mudstones ของกลุ่มหินแก่งกระจาน (Waterhouse, 1982) ส่วนที่ Baoshan blockพบ Lower Permian cool water cor<strong>al</strong>: Cyathaxonia ในส่วนบนของ Dingjiazhai Formation รวมทั้งพบ typic<strong>al</strong>Gondwana biv<strong>al</strong>ve พวก Eurydesma และพบBrachiopod: Bandoproductus, Punctorcyrtella,Cimmeriella, Elivina ซึ่งเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มักพบในGondwana (Shen <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2002) และที่ Tengchongblock ก็พบซากดึกดำบรรพ์ยุค Asselian และ Sakmarianเช่น cool-water brachiopod: Globiella, fusulinids:Pseudofusulina ใน Kongshuhe Formation หลักฐานจาก P<strong>al</strong>eomagn<strong>et</strong>ic จากหินบะซอลต์ของ Wonuisi Formation บ่งว่าเกิดอยู่ซีกโลกใต้(42 ํS) สนับสนุนการอยู่ใกล้กับ Gondwana (Huang andOpdyke, 1991 in Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1997) 2) Eyles and Eyles(1992) กล่าวว่า Glaci<strong>al</strong>environments มีการเกิดเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมการสะสมตัวอื่นๆ หลายประเภท เช่น Rivers, Lakes,Continent<strong>al</strong> shelfs และ Slopes ดังนั้นจึงเกิดได้ตั้งแต่บนบกจนถึงในทะเลลึก ซึ่งในแต่ละ subenvironment ก็จะให้lithofacies ที่ต่างกัน โดยภาพรวม Glaci<strong>al</strong> environmentsแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ Glacioterrestri<strong>al</strong> และGlaciomarine Diamictites/ Pebbly rocks ของพื้นที่วิจัยเกิดสะสมตัวจากกระบวนการ Debris flows ที่เกิดในทะเล (หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์) ลักษณะเช่นนี้มักอธิบายโดยใช้รูปแบบ submarine fan โดยในส่วนของ dist<strong>al</strong> fanพบพวก laminated mudstones (รูปที่ 6.5) และคงเป็นแบบ multiple point sources จากการพบ Dropstonesทั้งที่ภูเก็ตและที่ Tengchong แสดงว่าเกิดสะสมตัวในGlaciomarine environments การไม่พบตะกอนพวกTillites และ Canyon sediments ในหินพวกนี้ก็สนันสนุนการเกิดแบบ Glaciomarineการพบ Diamictites/ Pebbly rocks แผ่เป็นแนวยาวมากกว่า 2000 กิโลเมตร จากสุมาตราขึ้นไปถึงทิเบตโดยมีลำดับชั้นหิน เนื้อหินและขนาดของตะกอนที่คล้ายกันซึ่งลักษณะเช่นนี้พบได้ใน Rifted basin โดยมีMulti-submarine fans เกิดเป็นแนวบริเวณ escarpments(รูปที่ 6.5)3) ข้อมูลด้าน P<strong>al</strong>eocurrent directions ของบริเวณภูเก็ตประมาณว่าจากด้านตะวันตกเฉียงใต้/ใต้ไหลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ/เหนือ สอดคล้องกับการพบกรวดใน Pebbly rocks ของบริเวณเกาะเฮ มีขนาดเฉลี่ยโตกว่าที่พบบนเกาะภูเก็ตซึ่งอยู่ไปทางทิศเหนือ แสดงว่าRifted basins เป็นแบบ H<strong>al</strong>f grabens (รูปที่ 6.6) ตะกอนส่วนใหญ่เป็นพวก reworked sediments และถูกพัดพามาจาก Mainland Gondwana ซึ่งตรงกับ Hills(1989) ที่พบว่าชนิดของหินที่เป็น Clasts ของ Pebbly rocks ที่ภูเก็ตมีความคล้ายกับที่พบใน Tillites ของ North-west Austr<strong>al</strong>iaแสดงว่ามีต้นกำเนิดมาจากแหล่งบน Gondwana ที่ใกล้เคียงกัน (ต่างตรงที่เกือบทั้งหมดของที่ภูเก็ตไม่มีStriation ดังนั้นจึงไม่ใช่มาจาก Tillites) 4) ช่วง late Early Permian มีการสะสมตัวของDiamictites/ Pebbly rocks อย่างต่อเนื่องและมีซ้ำหลายครั้ง (รูปที่ 6.6) Late Asselian brachiopods พบในpebbly mudstones ที่ภาคใต้ (Waterhouse, 1982) Jin(2002) รายงานว่าที่ Baoshan block, Tengchong blockและ Lhasa block พบ sequences ของ Diamictitesเปลี่ยนขึ้นไปเป็น pebbly mudstone และdark-colored sh<strong>al</strong>e and laminites จำนวน 3 cyclesสำหรับที่ภูเก็ตพบอย่างน้อย 2 cycles จากการพบRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน153Cruziana ichnofacies มากมายรวมทั้งลักษณะเป็นชั้นดีของ Laminated mudstones แสดงว่าสะสมตัวในส่วน Outer shelf 5) Bas<strong>al</strong>t นอกจากพบแทรกสลับที่ Baoshanblock ยังพบที่ Him<strong>al</strong>ayan region และที่ Lhasablock (Jin, 2002) Bas<strong>al</strong>t ที่ Baoshan วางตัวบนDingjiazhai Formation ซึ่งพบ Fusulinids:Pseudofusulina sp., Eoparafusulina sp. และConodonts: Swe<strong>et</strong>ognathus bucaramangus เป็นindex fossil ของ Early Sakmarian แสดงว่า eruptionคงเกิดประมาณช่วง Sakmarian (Lower Permian)6) ช่วง Sakmarian-Artinskian มีการยกตัวของแผ่นดินของ Shan-Thai terrane, Baoshan blockและ Tengchong block กลายเป็นทะเลตื้นให้การสะสมตัวของหมวดหินสปิลเวย์ หมวดหินเขาพระDingjiazhai Formation และ Kongshuhe Formation7) ช่วง Late Artinskian to Kungurian ยังคงสภาพเป็นทะเลตื้น พบ Brachiopods ตัวเล็กพวกMeekella bisculpta ในหมวดหินเขาพระ ที่จังหวัดชุมพร8) ช่วง Wordian (Middle Permian) ทั้งShan-Thai terrane และ baoshan block ยังอยู่ในสภาพแวดล้อมของ warm-temperate area ระหว่างCathaysia กับ Gondwana (Shi and Shen, 2001;Wang <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2001a) มีข้อมูลสนับสนุนการแปลผลดังกล่าวคือพบ massive cor<strong>al</strong> เช่น Wentzellophylumและ brachiopod Cryptospirifer omeishanensisHuang, Pseudoantiquatonia mutabilis ในส่วนล่างของ Shazipo Formation และพบ Brachiopods ในส่วนล่างของ Daaozi Formation เช่น Spinomarginifera sp.,Squamularia sp. และ Cryptospirifer sp. ซึ่งเป็น indexfossils ที่แสดงถึงการเปลี่ยนสภาพจาก warm-waterCathaysia ไปหา temperate Peri-GondwanaenvironmentsStereochia และ Waagenites ซึ่งเป็นหลักฐานที่ดีถึงสภาพอากาศแบบ Peri-Gondwanaสำหรับ Stereochia (Grant (1976) ให้อายุ LateArtinskian แต่ Prof. Dr. Shuzhong Shen แย้งว่าปัจจุบันอายุเปลี่ยนเป็น Wordian) พบในกลุ่มหินราชบุรีที่บ้านเก่า เขาแก้วน้อย กาญจนบุรี ที่เกาะมุก และพบที่Irian Jaya อินโดนีเซีย ส่วน Waagenites พบในYongde Formation ที่ Xiaoxinzhai section (หมายเลข10 รูปที่ 6.1) West Yunnan และ the S<strong>al</strong>t Range(Grant, 1976; Shen <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2002) 9) ช่วง Middle Permian (Wordian) - LatePermian (Dzhulfian) ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทะเลตื้นที่กว้างใหญ่ (Epeiric carbonate platform) ครอบคลุมShan-Thai terrane, Baoshan block และ Tengchongblock และให้การสะสมตัวของหินปูนในช่วงดังกล่าว Shan-Thai terrane ยังอยู่ห่างจาก Indochina terrane เพราะบริเวณคาบสมุทรไทยไม่พบปะการังพวก Ipciphyllum, Pseudohuangia,Chihsiaphyllum, Crassipari<strong>et</strong>iphyllum, Yatsengiaและ Kepingophyllum ส่วน Fusulinids ก็พบน้อยชนิด (low diversity) และไม่พบพวก Neoschwagerina,Verbeekina, Sumatrina, Afghanella, P<strong>al</strong>aeofusulinaซึ่งทั้งปะการังและ Fusulinids ดังกล่าวพบมากในIndochina terrane (Fontaine and Sute<strong>et</strong>horn,1988และ Fontaine <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1994b)10) ในช่วง late Middle Permian to middleLate Permian (Late Murgabian- Early Dzhulfian) จากการพบ tropic<strong>al</strong> foraminifer<strong>al</strong> fauna มากในหินปูนตอนบนของกลุ่มหินราชบุรี เช่น Shanita amosi (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหัวข้อ 6.1.2) รวมทั้ง Shanita ก็พบในส่วนบนของ Daaozi Formation ของ Baoshan blockแสดงว่า Shan-Thai terrane และ Baoshan block ได้เคลื่อนตัวเข้ามาอยู่ในบริเวณเส้นละติจูดต่ำ แต่ในช่วงเวลาเดียวกันกลับพบว่าที่ Indochina terrane มี fusulineมากมายแต่ไม่พบ Shanita แสดงแผ่นเปลือกโลกShan-Thai และ Indochina ยังอยู่ห่างกัน (Dawson <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,1993a) หรืออีกนัยหนึ่งแสดงว่า P<strong>al</strong>eot<strong>et</strong>hys ที่กั้นระหว่าง Shan-Thai และ Indochina terranes ยังคงสภาพอยู่ และสนับสนุนการปิดของ P<strong>al</strong>eot<strong>et</strong>hys ในช่วงLate Triassic (Chaodumrong, 1992)ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


154บทที่ 6รูปที่ 6.5 ภาพจำลองรูปแบบ Multi-submarine fans แสดงการสะสมตัวของ Pebbly rocks ของกลุ่มหินแก่งกระจานRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน155รูปที่ 6.6 ภาพจำลองแสดงขั้นตอนการเกิดแอ่งสะสมตัวในยุคเพอร์เมียน ของ Shan-Thai terrane, Baoshanblock และ Tengchong blockลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


156บทที่ 66.3 สรุป Geotectonic evolutionของประเทศไทยทวีปเอเซียประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่น ที่มีแหล่งกำเนิดมาจาก Gondwana เหมือนกันซึ่งอยู่ทางซีกโลกใต้ แต่จะต่างกันตรงที่แยกตัวออกมาจากGondwana ต่างเวลากัน ทำให้แต่ละแผ่นเปลือกโลกมีธรณีประวัติที่แตกต่างกันไป ในรายงานฉบับนี้ แบ่งให้ประเทศไทยประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก 3 แผ่น คือแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทย (Shan-Thai terrane: ST)แผ่นเปลือกโลกไทยด้านเหนือ (North Thailand: NTเป็นชื่อใหม่ที่เสนอในรายงานฉบับนี้) และแผ่นเปลือกโลกอินโดไชนา (Indochina terrane: IC) (รูปที่6.7 และ 6.8)รูปที่ 6.7 แผนที่แสดงการกระจายตัวของแผ่นเปลือกโลกของประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียงRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน157วิวัฒนาการทางธรณีเทคโทนิกของประเทศ ไทยในยุคแรกๆ เริ่มโดย Bunopas and Vella (1978) ได้เสนอวิวัฒนาการ Plate tectonic อธิบายธรณีประวัติของประเทศไทยประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น คือ Shan-ThaiCraton (อยู่ทางด้านตะวันตก) และ Indosinian Craton (อยู่ทางด้านตะวันออก) ต่อมา Bunopas (1981) และ Bunopasand Vella (1983, 1992) ได้เรียกชื่อใหม่เป็น Shan-Thaimicrocontinent (มีขอบเขตปกคลุมด้านตะวันตกของไทยด้านตะวันออกของพม่าและด้านตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมาเลย์) และ Indochina microcontinent (มีขอบเขตปกคลุมด้านตะวันออกของไทย ลาว กัมพูชาเวียตนาม และด้านตะวันออกของคาบสมุทรมาเลย์) โดยได้ให้ส่วนของ active margins คือส่วนตะวันออกของShan-Thai micro-continent และส่วนตะวันตกของIndochina microcontinent มีชื่อเรียกเฉพาะคือ SukhothaiFold-belt และ Loei Fold-belt ตามลำดับ โดยมีแนวเชื่อมของแผ่นเปลือกโลกทั้งสองคือ Nan Suture (มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น Nan Geosuture, Nan-Uttaradit-Sra KaeoSuture) เป็นแนวจากน่านผ่านมาทางอุตรดิตถ์ลงมาทางจันทบุรีลงไปผ่านเบตงถึงมาเลเซีย แผ่นเปลือกโลกทั้งสองมีการชนกันแบบ Westward polarity การชนกันสิ้นสุดลงในช่วง Late Triassic คำว่าแผ่นเปลือกโลกในภาษาอังกฤษนั้น ที่ผ่านมามีการใช้ชื่อสลับกันไปมาหลายชื่อ เช่น craton,microcontinent, block, terrane (Bunopas and Vella,1992) แต่คำว่า terrane (Chaodumrong, 1992) นิยมใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันและใช้ในรายงานฉบับนี้ ซึ่งChaodumrong (1992) ได้แสดงหลักฐานด้านลำดับชั้นหิน ด้านตะกอนวิทยา ด้านซากดึกดำบรรพ์และด้านProvenance ของตะกอน ชี้ให้เห็นว่าชั้นหินของกลุ่มหินลำปางเกิดสะสมตัวใน Forearc basins และการชนกันของแผ่นเปลือกโลกดังกล่าวสิ้นสุดในช่วง Late Triassicตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทะเลได้แห้งเหือดไปจากแผ่นดินไทยยกเว้นบริเวณด้านตะวันตกของประเทศ เช่น อุ้มผางกาญจนบุรี ที่ในช่วง Jurassic มีการสะสมตัวของตะกอนทะเลตื้นเป็นแนวแคบๆ หลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีการสะสมตัวแบบ Continent<strong>al</strong> deposits เกือบทั้งหมด (ยกเว้นส่วนที่เป็นทะเลในปัจจุบัน)วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของรายงานฉบับนี้ก็เพื่อหาความสัมพันธ์เปรียบเทียบลักษณะธรณีวิทยาของชั้นหินในช่วงยุคเพอร์เมียนในประเทศไทยคือบริเวณจากกาญจนบุรีลงไปถึงภูเก็ต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทย (Shan-Thai terrane) กับพื้นที่ในยูนนานด้านตะวันตก ผลการศึกษาแสดงว่า Shan-Thaiterrane แยกตัวจาก Gondwana อย่างช้าในช่วง EarlyPermian (ส่วน Indochina terrane แยกตัวออกมาก่อนแล้ว)และจากหลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์แสดงว่าในช่วง LatePermian (Early Dzhulfian) แผ่นเปลือกโลก Shan-Thaiterrane และ Indochina terrane ยังอยู่ห่างกัน (เพราะมีซากดึกดำบรรพ์ต่างกัน โดยเฉพาะพวก Shanita และFusulinids) หลักฐานดังกล่าวรวมทั้งการพบ MiddleTriassic ribbon chert ในหลายบริเวณของประเทศไทย ซึ่งแสดงว่าในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีมหาสมุทร ซึ่งจะสนับสนุนการเกิด Late Triassic collision ระหว่าง Shan-Thaiterrane และ Indochina terrane ซึ่งตรงกับผลงานของนักวิจัยส่วนใหญ่ (เช่น Bunopas, 1981; Chaodumrong,1992)ในรายงานฉบับนี้ เรียกพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ว่าแผ่นเปลือกโลกไทยด้านเหนือ (North Thailand: NT) มีขอบเขตด้านตะวันออกติดNan-Uttraradit suture ขอบเขตด้านตะวันตกอยู่เข้าไปใน Shan state ส่วนขอบเขตด้านเหนืออาจต่อเนื่องขึ้นไปในยูนนาน ซึ่งเดิมพื้นที่ส่วนนี้เคยจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทย แต่ปัจจุบันพบ LateP<strong>al</strong>eozoic Foraminifer<strong>al</strong> faunas (late Visean, earlySerpukhovian, Moscovian, late Yakhtashian, lateBolorian or early Kubergandian, lateKubergandian, late Murgabian, และ Murgabianหรือ Midian) ซึ่งเป็นของพวก T<strong>et</strong>hyan affinity ในหินปูนบริเวณอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และบริเวณจังหวัดน่าน (Vachard <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1992; Fontaine <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1993, Uenoand Igo, 1997) ซึ่งแสดงว่าหินปูนเหล่านี้สะสมตัวในบริเวณ tropic<strong>al</strong> area ดังนั้น ในรายงานฉบับนี้ จึงเสนอให้พื้นที่บริเวณนี้ออกจาก Shan-Thai terrane หรือSibumasu terrane เหตุผลว่าทำไมไม่จัดรวมพื้นที่นี้เข้าลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


158บทที่ 6กับแผ่นเปลือกโลกอินโดไชนา ก็เนื่องจากลำดับชั้นหินของ North Thailand terrane (NT) กับ Indochinaterrane นั้นไม่เหมือนกัน แสดงว่ามีธรณีประวัติที่ต่างกันจึงต้องแยกเป็นคนละแผ่นเปลือกโลกตามมาตรฐานสากล (รูปที่ 6.8) Ueno and Igo (1997) ได้เสนอให้หินปูนเหล่านี้มีการกำเนิดแบบ seamount limestonesที่เกิดสะสมตัวอยู่บนหินบะซอลต์ กลางมหาสมุทร โดยไม่มีอิทธิพลของ terrigenous sediments เข้ามาเกี่ยวข้อง และได้เทียบเคียงว่าเป็นแนวเดียวกันกับChangning-Menglian belt (อยู่ติดไปทางด้านตะวันออกของ Baoshan block ดูรูปที่ 6.7) ของยูนนานด้านตะวันตกซึ่งมีผู้เสนอว่าพบ seamountlimestones เช่นกัน(Ueno <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2003) อย่างไรก็ตามข้อสมมุติฐานดังกล่าวนี้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น ยังต้องการหลักฐานและข้อมูลอีกหลายด้านถึงจะทำให้ปัญหาเหล่านี้กระจ่างได้ เช่น ด้านลำดับชั้นหินด้านตะกอนวิทยา ด้านซากดึกดำบรรพ์ และด้านธรณีวิทยาโครงสร้าง ในรูปที่ 6.8 โปรดสังเกตว่าหินปูนที่เกิดมีอายุเริ่มต้นที่ไม่เหมือนกัน รวมทั้งการเกิดเหตการณ์ hiatus (หรือ unconformity) ในช่วงเวลาต่างๆของประเทศไทยRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


วิวัฒนาการของกลุ่มหินแก่งกระจาน159รูปที่ 6.8 แสดงการเทียบเคียงลำดับชั้นหินของแผ่นเปลือกโลกในประเทศไทยลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


บทที่7สรุป และข้อเสนอแนะ1. ด้านลำดับชั้นหิน ได้ปรับปรุง (revised)การจำแนกลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน และของกลุ่มหินราชบุรี ให้มีความชัดเจนและเป็นตามมาตรฐานสากล โดยกลุ่มหินแก่งกระจาน ประกอบด้วย 5หมวดหิน เรียงลำดับจากล่างขึ้นบน คือ หมวดหินแหลมไม้ไผ่ พบมากบริเวณเกาะภูเก็ต เป็นหินทรายสลับกับหินโคลน เป็นชั้นดี มี Burrows พวก Cruziana ichnofaciesมาก และเปลี่ยนขึ้นไปเป็น Laminated mudstonesลักษณะเช่นนี้พบเกิดซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้ง หมวดหินสปิลเวย์ พบบางบริเวณโดยเฉพาะด้านอ่าวไทย เป็นพวกหินทรายสลับหินโคลน ที่เกิดในทะเลตื้นจากกระแสน้ำขุ่นข้น (Turbidity current) หมวดหินเกาะเฮ พบอย่างกว้างขวาง ประกอบส่วนใหญ่ด้วยหินโคลนปนกรวด ที่เกิดจากกระบวนการ debris flows เป็นลักษณะเด่นของกลุ่มหินแก่งกระจาน หมวดหินเขาพระ พบอย่างกว้างขวาง เป็นหินโคลนสลับด้วยชั้นบางของหินทรายและมักพบชั้นของซากดึกดำบรรพ์พวก Bryozoa bedsและหมวดหินเขาเจ้า มีลักษณะเด่นเป็นหินทรายที่มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นแร่ควอตซ์ เกิดสะสมตัวในทะเลตื้น บางช่วงมีตะกอนที่เกิดจากลมพายุ2. ด้านซากดึกดำบรรพ์ ในภาพรวมซากดึกดำบรรพ์ ยุคเพอร์เมียนของพื้นที่วิจัยเป็นพวกLow diversity แต่บางชนิดอาจพบเป็นจำนวนมากด้าน Cor<strong>al</strong>s ได้เก็บตัวอย่างใน 8 พื้นที่ จำนวน 20ตัวอย่าง (ตารางที่ 6.2) พบว่าส่วนใหญ่เป็นพวกTabulata และ solitary cor<strong>al</strong>s ด้าน Brachiopods ได้เก็บตัวอย่างจาก 15 พื้นที่ พบ Brachiopods มากกว่า290 ตัวอย่าง จำแนกได้เป็น 37 สกุล แต่พบมากเป็นบางสกุล (ตารางที่ 6.3 และ 6.4) ด้าน Fusulinids ได้เก็บตัวอย่างในกลุ่มหินราชบุรีจาก 4 พื้นที่ จำนวน 13ตัวอย่าง (ตารางที่ 6.5) สรุปที่พบในกลุ่มหินแก่งกระจานมีอายุ Sakmarian to Artinskian ส่วนที่พบในกลุ่มหินราชบุรีมีอายุ Wordian (Murgabian) และบางส่วนอาจแก่ถึง Roadian เมื่อผสานกับการทบทวนผลงานที่มีมาก่อน สรุปได้ว่ากลุ่มหินแก่งกระจานมีอายุช่วงAsselian to Kungurian (Bolorian) หรือ EarlyPermian สำหรับกลุ่มหินราชบุรีมีอายุในช่วง Rodianto Wuchiapingian (Dzhulfian) หรือ Middle to LatePermianหลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ และผลวิเคราะห์ทางเคมี บ่งว่าช่วง Early Permian Shan-Thai terrane,Baoshan block และ Tengchong block มีสภาพอากาศที่หนาวเย็น (Cool climate) แสดงว่าอยู่ใกล้Gondwana และในช่วง Wordian แผ่นเปลือกโลกทั้งสามได้เคลื่อนตัวขึ้นมาทางทิศเหนืออยู่ในสภาพแวดล้อมแบบ Warm-Temperate area ระหว่างCathaysia กับ Gondwana และได้เคลื่อนที่มาอยู่ในบริเวณเส้นละติจูดต่ำในช่วง Early Wuchiapingian (จาก Shanita) ในขณะที่ Indochina terrane มีfusuline มากมายแต่ไม่พบ Shanita แสดงแผ่นเปลือกโลก Shan-Thai และ Indochina ยังอยู่ห่างกัน3. ด้านตะกอนวิทยา ได้แบ่งหินของกลุ่มหินแก่งกระจานออกเป็น 9 lithofacies คือ 1) Thinbedded sandstones and mudstones,


162บทที่ 72) Laminated mudstones, 3) Pebbly rocks, 4) Conglomerates, 5) Turbidite sandstones, 6) Massive mudstone, 7) Mudstone with lenticularbedding, 8) Disturbed strata, 9) Maturesandstones โดยในส่วนล่างของกลุ่มหินมีการสะสมตัวของตะกอนแบบ Multi-submarine fans environmentโดยกระบวนการ gravity flows ให้การสะสมตัวของThin bedded sandstones and mudstones และLaminated mudstones ของหมวดหินแหลมไม้ไผ่และหินโคลนปนกรวดหรือ Pebbly rocks ของหมวดหินเกาะเฮ จาก Cruziana ichnofacies ซึ่งพบมากแสดงว่าเป็นส่วนของ shelf environment และบางส่วนของdist<strong>al</strong> fans จะมีความลึกมากให้ลักษณะชั้นหินแบบขนมชั้น (par<strong>al</strong>lel and even beds) สำหรับส่วนกลางและส่วนบนของกลุ่มหิน สภาพภูมิประเทศเปลี่ยนเป็นทะเลตื้น มีลมพายุเป็นครั้งคราว ให้การสะสมตัวของหินทรายของหมวดหินสปิลเวย์ หินโคลนและ Bryozoabeds ของหมวดหินเขาพระ และหินทรายของหมวดหินเขาเจ้า 4. การแยกตัวออกมาจาก Gondwana ที่อยู่ทางแถบขั้วโลกใต้ของ Shan-Thai terrane อย่างช้าในช่วง Early Permian และเมื่อพิจารณาจากข้อมูลด้านP<strong>al</strong>eocurrent directions, grain size distributionและชนิดของก้อนกรวด บ่งชี้ว่าตะกอนถูกพัดพามาจากด้าน Gondwana แสดงว่า Rifted basins เป็นพวกH<strong>al</strong>f graben basins ที่มี escarpment อยู่ทางด้านGondwana5. ได้เสนอ Late Carboniferous hiatus อยู่ในลำดับชั้นหินของคาบสมุทรไทย เหตุผลคือไม่พบUpper Carboniferous fossils ในพื้นที่ดังกล่าว และไม่พบความสัมพันธ์ของกลุ่มหินแก่งกระจานกับชั้นหินที่รองรับ เหตุการณ์ Late Carboniferous hiatus ดังกล่าวมีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติของโลก ควรมีการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งจากพื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันตก6. กลุ่มหินแก่งกระจาน เทียบเคียงได้กับDingjiazhai Formation + Bingma/YongdeFormations ของ Baoshan block และ KongshuheFormation ของ Tengchong block ซึ่งต่างก็มี Pebblyrocks วางตัวอยู่ส่วนล่าง มีลักษณะของ clasts ที่คล้ายกัน และมี Bryozoa bed และ Mature sandstones อยู่ด้านบน (ยกเว้น Tengchong block) ส่วนหินปูน/โดโลไมต์ของกลุ่มหินราชบุรี ก็เทียบได้กับของ Daaoziและ Shazipo Formations (Baoshan block) และDadongchang Formation (Tengchong block) มีลำดับชั้นหินที่ต่างกันก็คือเฉพาะของ Baoshan blockที่มีหินภูเขาไฟพวกบะซอลต์ (Woniusi Formation) เกิดร่วมด้วย ในขณะที่หินโดโลไมต์พบมากในส่วนบนของDaaozi/ Shazipo Formations ส่วนกลางของDadongchang Formation แต่ในกลุ่มหินราชบุรีส่วนใหญ่พบในส่วนล่างและส่วนบนของกลุ่มหิน7. ประเทศไทยมีแหล่ง Gypsum ใหญ่ 2 แหล่ง คือแหล่งพิจิตร-นครสวรรค์ พบบน Indochinaterrane และแหล่งสุราษฎร์ธานี–นครศรีธรรมราช พบบน Shan-Thai terrane ทั้ง 2 แหล่งนี้สัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศบรรพกาลในยุคเพอร์เมียนอย่างไร8. ปัจจุบันนักวิจัยต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น จีนกำลังสนใจพิสูจน์ขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือ ซึ่งรวมถึงการพิสูจน์ Seamount limestones จึงควรที่นักวิจัยไทยร่วมให้ความสนใจด้วย9. ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณี และสถาบันการศึกษาในประเทศขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ในหลายสาขา จึงควรที่ผู้บริหารและรัฐบาลจะให้การสนับสนุนทุนการศึกษาในด้านนี้โครงการความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรทางด้านนี้Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


เอกสารอ้างอิงกรมทรัพยากรธรณี, 2542, แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย มาตราส่วน 1:1,000,000. กรมทรัพยากรธรณีกรมทรัพยากรธรณี, 2544, ธรณีวิทยาประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ กรมทรัพยากรธรณี 556 หน้ากรมทรัพยากรธรณี, 2550, ธรณีวิทยาประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง): กรมทรัพยากรธรณี 628 หน้าจำรัส มหาวัจน์ อำนาจ ตันติธรรมโสภณ วรกุล แก้วยานะ นิติ กิติสาร และเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์, 2528, แผนที่ธรณีวิทยา มาตราส่วน 1:250,000 ระวางจังหวัดชุมพร และอำเภอกระบุรี, กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีชัยยันต์ หินทอง สิน สินสกุล และชัยวัฒน์ ผลประสิทธิ์, 2528, แผนที่ธรณีวิทยา มาตราส่วน 1:250,000 ระวางจังหวัดภูเก็ต, กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีนภดล มัณฑะจิตร วรวุฒิ ตันติวนิช เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และยงยุทธ อุคคกิมาพันธุ์, 2528, แผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:250,000 ระวางจังหวัดพังงา, กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีพล เชาว์ดำรงค์, 2544, การสำรวจเพื่อทำแผนที่ธรณีวิทยา ทำอย่างไร เอกสารประกอบการฝึกอบรมเทคนิคการสำรวจธรณีวิทยาแหล่งแร่กองเศรษฐธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี 6 หน้าพล เชาว์ดำรงค์, 2546, Upper Carboniferous hiatus in Peninsular Thailand: the first discovery. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ สำนักธรณีวิทยาประจำปี 2546 เมื่อวันที่ 22-23 กันยายน 2546 หน้า 159-162.พล เชาว์ดำรงค์, สันต์ อัศวพัชระ และสุธี จงอัจฉริยกุล, 2547, การวิจัยเปรียบเทียบลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ในยุคเพอร์เมียนของบริเวณด้านตะวันตกของยูนนานกับด้านตะวันตกของประเทศไทย (Comparative research on Permian strata and fauna b<strong>et</strong>ween West Yunnan and West Thailand):สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการความร่วมมือกับต่างประเทศ (ไทย–จีน), 235 หน้า.พิสิทธิ์ ธีรดิลก ทวีสิน อุดมศรีสุข วีระพงษ์ ตันสุวรรณ และนิคม จึงอยู่สุข, 2528ก, แผนที่ธรณีวิทยา มาตราส่วน 1:250,000 ระวางจังหวัดนครปฐม, กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีพิสิทธิ์ ธีรดิลก พิศิษฎ์ สุขวัฒนานันท์ สมชาติ บริพัตรโกศล วีระพงษ์ ตันสุวรรณ และอภิชาติ ลำจวน, 2528ข,แผนที่ธรณีวิทยา มาตราส่วน 1:250,000 ระวางอำเภอหัวหิน, กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีมนตรี ศิลปาลิต อัศนี มีสุข สมชาย ล้อวัชระสุภาภรณ์ และ พล เชาว์ดำรงค์, 2528, แผนที่ธรณีวิทยา มาตราส่วน 1:250,000 ระวางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี


164บทที่ 8เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช , 2536, การลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานในบริเวณคาบสมุทรและภาคตะวันตกของประเทศไทย รายงานฝ่ายวิจัยธรณีวิทยา กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี 66 หน้าวีรศักดิ์ นคินทร์บดี ธนิศร์ วงศ์วานิช และอภิชาติ ลำจวน, 2528, แผนที่ธรณีวิทยา มาตราส่วน 1:250,000 ระวางจังหวัดสุราษฎร์ธานี, กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีวีระพงษ์ ตันสุวรรณ พล เชาว์ดำรงค์ และประวัติ เทียนศิริ, 2528, แผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:250,000 ระวางจังหวัดสตูล. กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีสันติ ลีวงศ์เจริญ และ สมาน จาตุรงควนิชย์, 2540, รายงานธรณีวิทยาระวางจังหวัดกาญจนบุรีและระวางบ้านลาดหญ้า มาตราส่วน 1:50,000 กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีสันติ ลีวงศ์เจริญ, 2540, แผนที่ธรณีวิทยาระวางบ้านลาดหญ้า มาตราส่วน 1:50,000 กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีเสถียร สนั่นเสียง นิติ กิติสาร และพงศักดิ์ ศรีพงษ์พันธ์, 2528, แผนที่ธรณีวิทยา มาตราส่วน 1:250,000 ระวางจังหวัดนครศรีธรรมราช, กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีAltermann, W., 1986, The Upper P<strong>al</strong>eozoic pebbly mudstone facies of peninsular Thailand and WesternM<strong>al</strong>aysia-continent<strong>al</strong> margin deposits of P<strong>al</strong>aeoeurasia, Geologische Rundschau, v.75, no.2, p.79-89Altermann, W., 1987, The pebbly mudstone facies in peninsular Thailand and western M<strong>al</strong>aysia, Part II.PhD thesis, Freie Universitat Berlin, p. 105-222.Ampaiwan, T., Charusiri, P. and Hisada, K., 2004, Early Permian Gondwana sequence in Phuk<strong>et</strong>,peninsular Thailand. in the Field excursion guidebook of Symposium on the Geology Evolution ofEast and Southeast Asia- Microcontinent<strong>al</strong> accr<strong>et</strong>ion and formation of margin<strong>al</strong> sea, February 8-9and 12-14, 2004, Department of Geology, Chul<strong>al</strong>ongkorn University.Archbold, N.W. and Singh, T., 1993, Early Permian brachiopods from eastern Him<strong>al</strong>aya: Their provinci<strong>al</strong>relationship with Austr<strong>al</strong>ia. Gondwana eight: Assembly, evolution and dispers<strong>al</strong>. in Proceedingsof the eight Gondwana symposium, Hobart, Tasmania, Austr<strong>al</strong>ia, 21-24 June 1991, ed. by R.H.Findlay, R. Unrug, M.R. banks and Veevers, J.J., A.A B<strong>al</strong>kema, Rotterdam, p. 307-312.Baird, A., 1992, The sedimentology and diagenesis of the Ratburi Limestone, northern peninsularThailand. Unpublished PhD thesis, Roy<strong>al</strong> Holloway and Bedford New College, University ofLondon, 318 p.Bates, R.L. and Jackson, J.A., 1987, glossary of geology, 3rd. American Geologic<strong>al</strong> Institute, Virginia,788 p.Brown, G. F., Buravas, S., Char<strong>al</strong>javanaph<strong>et</strong>, J., J<strong>al</strong>ichandra, N., Johnston, W.D., Sresthaputra, V. andTaylor, G.C., 1951, Geologic reconnaissance of the miner<strong>al</strong> deposits of Thailand, USGS Bull<strong>et</strong>in984, 183 p, <strong>al</strong>so as Roy<strong>al</strong> Department of Mines Geologic<strong>al</strong> Survey, Memoir 1 (1953).Bunopas, S., and Vella, P., 1978, Late P<strong>al</strong>eozoic and Mesozoic structur<strong>al</strong> evolution of northern Thailand: a plate tectonic model. in Proceedings of the Third region<strong>al</strong> Conference on Geology and Miner<strong>al</strong>Resources of Southeast Asia, ed. by P. Nut<strong>al</strong>aya, Bangkok, 133-140.Bunopas, S., and Vella, P., 1992, Geotectonic and geologic evolution of Thailand. In Proceedings ofNation<strong>al</strong> conference on Geologic Resources of Thailand: Potenti<strong>al</strong> for Future Development, ed.by C. Piancharoen, Department of Miner<strong>al</strong> Resources, Bangkok, 209-228.Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


เอกสารอ้างอิง165Bunopas, S., 1981, P<strong>al</strong>eogeographic history of western Thailand and adjacent parts of SoutheastAsia-A plate tectonics interpr<strong>et</strong>ation. Ph.D Thesis, Victoria University of Wellington, New Ze<strong>al</strong>and.Reprinted as Geol. Surv. 5, Geol. Surv. Div., DMR., Bangkok, 810 p.Bunopas, S., 1992, Region<strong>al</strong> stratigraphic correlation in Thailand. in Proceedings of the Nation<strong>al</strong>Conference on Geologic Resources of Thailand: Potenti<strong>al</strong> for Future Development, ed. by C.Piancharoen, Department of Miner<strong>al</strong> Resources, Bangkok, Thailand, November 17-24,Supplementary volume, p.189-208.Bunopas, S., Fontaine, H., S<strong>al</strong>yapongse, S., and Vachard, D., 1983, Permian p<strong>al</strong>eogeography inSoutheast Thailand evidenced by new discoveries, Journ<strong>al</strong> of Geologic<strong>al</strong> Soci<strong>et</strong>y of Thailand, v.6, no.1, p.17–21.Burton, C. K., 1986, The Kanchanaburi supergroup of peninsular & Western Thailand, Proccedings ofGEOSEA V, v.II, Geologic<strong>al</strong> Soci<strong>et</strong>y of M<strong>al</strong>aysia, Bull<strong>et</strong>in no.20, p 311-361.Chaodumrong, P., 1992, Stratigraphy, sedimentology and tectonic implications of the Lampang Group,centr<strong>al</strong> north Thailand. Unpublished Ph.D Thesis, University of Tasmania, 230 p Chaodumrong, P., 2007, Stratigraphy and tectonic evolution of Thailand, in Tantiwanit, W., ed. in chief,Proceedings of the internation<strong>al</strong> conference on geology of Thailand: Towards sustainabledevelopment and sufficiency economy, Bangkok, Thailand: Bangkok, 2007, Department ofMiner<strong>al</strong> Resources, p. 319-321.Chaodumrong, P., 2008, Southeast Asia [abs], Southeast Asia [abs], in Proceedings of the 33 rd Internation<strong>al</strong> Geologic<strong>al</strong> Congress, Oslo, Norway.Chaodumrong, P., Bamrungsong, P., and Jungyusuk, N., 1998, Limestone and dolomite resources mapof Ban Pak Nam Tha Thong She<strong>et</strong> 4927 III, 1:50,000 sc<strong>al</strong>e. Department of Miner<strong>al</strong> Resources,Bangkok, Thailand.Chaodumrong, P., Xiangdong, W., and Shuzhong, S., 2007, Permian lithostratigraphy of the Shan-ThaiTerrane in Thailand: Reservoir of the Kaeng Krachan and Ratburi Groups, in Tantiwanit, W., ed.in chief, Proceedings of the internation<strong>al</strong> conference on geology of Thailand: Towardssustainable development and sufficiency economy, Bangkok, Thailand: Bangkok, 2007,Department of Miner<strong>al</strong> Resources, p. 229-236.Chinoroje, O., 1993, P<strong>et</strong>rographic studies of Permian carbonates in southern Thailand. Journ<strong>al</strong> ofSoutheast Asian Earth Sciences, v. 8, no. 1-4, 161-171.Crowell, J.C., 1957, Origin of pebbly mudstones. Geologic<strong>al</strong> Soci<strong>et</strong>y of America Bull<strong>et</strong>in, v. 68, p. 993-1009.Dawson, O., Racey, A. and Whittaker, J.E., 1993a, The p<strong>al</strong>aeontologic<strong>al</strong> and p<strong>al</strong>aeobiogeographicsignificance of Shanita (foraminifera) and associated foraminifera/<strong>al</strong>gae from the Permian ofpeninsular Thailand. in Proceedings of Internation<strong>al</strong> Symposium on Biostratgraphy of mainlandSoutheast Asia: Facies & P<strong>al</strong>eontology, ed. by T. Thanasuthipitak, Chiang Mai, Thailand, 283-298.Dickin, J.M., Yugan, J., Shah, S.C., Dingyi, L., Benpei, L., and Archbold, N.W., 1993, Some climatic andtectonic implications of the Permian marine faunas of Peninsular India, Him<strong>al</strong>ayas and Tib<strong>et</strong>.Gondwana eight: Assembly, evolution and dispers<strong>al</strong>. in Proceedings of the eight Gondwanasymposium, Hobart, Tasmania, Austr<strong>al</strong>ia, 21-24 June 1991, ed. by R.H. Findlay, R. Unrug, M.R.banks and Veevers, J.J., A.A B<strong>al</strong>kema, Rotterdam, p. 333-343.ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


166บทที่ 8Domack, E.W., Burkley, L.A., Domack, C.R., and Banks, M.R., 1993, Facies an<strong>al</strong>ysis of glaci<strong>al</strong> marinepebbly mudstone in the Tasmania Basin: Implications for region<strong>al</strong> p<strong>al</strong>eoclimates during the lateP<strong>al</strong>eozoic. Proceedings of the Eighth Gondwana Symposium, Hobart, Tasmania, Austr<strong>al</strong>ia, 21-24June 1991, ed. by R.H. Findlay, R. Unrug, M.R. Banks and J.J. Veevers, Rotterdam, p 471-484.Edwards, M., 1989, Glaci<strong>al</strong> environments. In Sedimentary Environments and Facies, 2 nd., (ed. by H.G.Reading) Blackwell Scientific Publications, p. 445-470.Eyles, N., and Eyles, C.H., 1992, Glaci<strong>al</strong> deposition<strong>al</strong> systems. in Facies Models, ed. by R.G. W<strong>al</strong>kerand N.P. James, Geologic<strong>al</strong> Association of Canada, p. 73-100.Fan, Y.N., 1988, The Carboniferous System in Xizang (Tib<strong>et</strong>). Chongqing Publishing House, Chongqing, China, pp.1-128. (in Chinese and English)Fang, Z. J., 1994, Biogeographic constraints on the rift-drift-accr<strong>et</strong>ion history of the Sibumasu Block.Journ. SE Asian Earth Sci., 9(4): 375-385Flint, R.F. <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1960, Diamictite, a substitute term for symmictite. Geologic<strong>al</strong> Survey of AmericaBuu<strong>et</strong>in,v. 71, p. 1809.Fontaine, H., and Sute<strong>et</strong>horn, V., 1988, Late P<strong>al</strong>eozoic and Mesozoic fossils of the west Thailand andtheir environments. CCOP Tech. Bull., 20: 217 pp. Fontaine, H., Chonglakmani, C., Ibrahim bin Amnan, and Piyasin, S., 1994, A well-defined Permianbiogeographic unit: Peninsular Thailand and northwest Peninsular M<strong>al</strong>aysia. Journ<strong>al</strong> of SoutheastAsian Earth Science 9, 129-151.Fontaine, H., Chonglakmani, C., Piyasin, G., Ibrahim, B.A., and Khoo, H.P., 1993, Triassic limestoneswithin and around the Gulf of Thailand. Journ<strong>al</strong> of Southeast Asian Earth Sciences, v. 8, nos. 1-4,p. 83-95.Fontaine, H., Sattayarak, N., Sute<strong>et</strong>horn, V., 1994b. Permian cor<strong>al</strong>s of Thailand. CCOP Technic<strong>al</strong>Bull<strong>et</strong>in 24, 1-170.Garson, M.S., Young, B., Mitchell, A.H.G., and Tait, B.A.R., 1975, The geology of the tin belt inPeninsular Thailand around Phuk<strong>et</strong>, Phangnga and Takua Pa, institute of Geologic<strong>al</strong> Sciences,Overseas Memoir no.1, 112 p.Grant, E.R., 1976, Permian brachiopods from Southern Thailand, Journ<strong>al</strong> of P<strong>al</strong>eontology, v.50 (Supplement to no. 3), P<strong>al</strong>eontologic<strong>al</strong> Soci<strong>et</strong>y Memoir 9, 269 p.Hada, S., Bunopas, S., Ishii, K., and Yoshikura, S, 1997, Rift-drift history and the am<strong>al</strong>gamation ofShan-Thai and Indochina/East M<strong>al</strong>aya Blocks, in Proceedings of the Internation<strong>al</strong> Conference onStatigraphy and Tectonic Evolution of Southeast Asia and the South Pacific (Geothai’97), ed. byP. Dheeradilok, C. Hinthong, P. Chaodumrong, P. Putthaphiban, W. Tansathien, C. Utha-aroon, N. Sattarak, T. Nuchanong, and S. Techawan, Bangkok, Thailand, August 19-24, v.1, p. 273-286.Hagen, D., and Kemper, D., 1976, Geology of the Thong Pha Phum area (Kanchanaburi Province,Western Thailand), Geologisches Jahrbuch, Reihe B, Hannover, v.21, p. 53-91.Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


เอกสารอ้างอิง167Harland, W.B., Armstrong, R.L., Cox, A.V., Craig, L.E., Smith, A.G., and Smith, D.G., 1990, A geologictime sc<strong>al</strong>e 1989. Cambridge University Press, Cambridge.He, X.Y., and Weng, F., 1982, Early Permian rugose cor<strong>al</strong>s from Ali (Ngari), northern Xizang (Tib<strong>et</strong>).Earth Science-Journ<strong>al</strong> of Wuhan college of Geology 3, p. 131-142. (in Chinese with Englishabstract)Hedberg, H.D., 1976, internation<strong>al</strong> stratigraphic guide- A guide to the stratigraphic classification,terminology and procedure, internation<strong>al</strong> subcommission on stratigraphic classification of IUGS,Commission on Stratigraphy, Wiley- Interscience, New York.Hills, J.W., 1989, The geology of Phuk<strong>et</strong> district of Thailand and its tectonic relationship toGondwan<strong>al</strong>and. Honor Thesis, Geology Department, University of Tasmania, 144 p.Hunter, R.E., and Clifton, H.E., 1982, Cyclic deposits and hummocky cross-stratification of probablestorm origin in Upper Cr<strong>et</strong>aceous rocks of the Cape Sebastian area, southwestern Oregon.Journ<strong>al</strong> of Sedimentary P<strong>et</strong>rology, v. 52, p. 127-143.Jin, X., 2002, Permo-Carboniferous sequences of Gondwana affinity in southwest China and theirp<strong>al</strong>eogeographic implications. Journ<strong>al</strong> of Asian Earth Sciences, v. 20, p. 633-646.Johnson, H.D., and B<strong>al</strong>dwin, C.T., 1986. Sh<strong>al</strong>low siliciclastic seas. In: Sedimentary Environments andFacies , ed. by H.G. Reading, Blackwell Scientific Publications, Oxford, p. 229-282.Leven, E. J., 1997, Permian stratigraphy and Fusulinida of Afghanistan with their p<strong>al</strong>eogeographic andp<strong>al</strong>eotectonic implications. Geologic<strong>al</strong> Soci<strong>et</strong>y of America, Speci<strong>al</strong> Paper 316, p. 1-134.Lumjuan, A., 1993, Permo-Carboniferous of northern Nakhon Si Thammarat. in Proceedings ofInternation<strong>al</strong> Symposium on Biostratgraphy of mainland Southeast Asia: Facies & P<strong>al</strong>eontology,ed. by T. Thanasuthipitak, Chiang Mai, Thailand, p. 219-223.Mantajit, N., 1978, A note on the Permo-Carboniferous stratigraphic succession in Thailand. Proc. 3dReg. Conf. Geol. Min. Res. Southeast Asia , Bangkok 1978, p. 851Mantajit, N., 1979, Report on geology of Phuk<strong>et</strong> and Phang Nga areas. Intern<strong>al</strong> report of Geologic<strong>al</strong>Survey Division, Department of Miner<strong>al</strong> Resources.Mantajit, N., 1999, Thailand and T<strong>et</strong>hys sea. in B. Ratanasthien and S.L. Rieb, eds., internation<strong>al</strong>Symposium on Sh<strong>al</strong>low T<strong>et</strong>hys (ST) 5, 1-5 February 1999, Chiang Mai, Thailand, p. IX-XXVII.M<strong>et</strong>c<strong>al</strong>fe, I., 1997, The P<strong>al</strong>eo-T<strong>et</strong>hys and P<strong>al</strong>aeozoic-Mesozoic tectonic evolution of Southeast Asia. inProceedings Internation<strong>al</strong> Conference on Stratigraphy and Tectonic Evolution of Southeast Asiaand the South Pacific, ed. by P. Dheeradilok and others, Bangkok, p. 260-272.M<strong>et</strong>c<strong>al</strong>fe, I., 2002, Permian tectonic framework and p<strong>al</strong>aeogeography of SE Asia. Journ<strong>al</strong> of Asian EarthSciences, v. 20, p. 551-566.Mitchell, A.H.G., Young, B., and Jautaranipa, W., 1970, The Phuk<strong>et</strong> Group, peninsular Thailand: ap<strong>al</strong>aeozoic geosynclin<strong>al</strong> deposit, Geologic<strong>al</strong> Magazine, v.107, p.411-428.Murphy, M.A., and S<strong>al</strong>lvador, A., 1999, internation<strong>al</strong> stratigraphic guide- An abridged version.Internation<strong>al</strong> Subcommission on Stratigraphic Classification of IUGS, internation<strong>al</strong> Commissionon Stratigraphy, Episodes, vol. 22, no. 4, p. 255-271.ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


168บทที่ 8Mutti, E. and Ricci Lucchi, F., 1972, Turbidites of the northern Apennines: Introduction to facies an<strong>al</strong>ysis(English translation by T. H. Nilsen, 1978). Inter. Geol. Rev., 20, p. 125-166.Ojakangas, R.W., 1985, Evidence for Early Proterozoic glaciation: the dropstone unit-diamictiteassociation. Geologic<strong>al</strong> Survey of Finland. Bull<strong>et</strong>in 331, p. 51-72.Pemberton, S.G., MacEachern, J.A., and Frey, R.W., 1992, Trace fossil facies models: Environment<strong>al</strong>and <strong>al</strong>lostratigraphic significance. in Facies Models, ed. by R.G. W<strong>al</strong>ker and N.P. James,Geologic<strong>al</strong> Association of Canada, p. 47-72.Pickering, K. T., Hiscott, R. N., and Hein, F. J., 1989, Deep marine environments : Clastic sedimentationand tectonics. Unwin Hyman, London, 416 p.Pitakpaivan, K., and Mantajit, N., 1981, Early Permian brachiopods from Ko Yao Noi and near Krabi,southern Thailand. in The Permian stratigraphy and p<strong>al</strong>aeontology of southern Thailand,Geologic<strong>al</strong> Survey memoir No 4, Department of Miner<strong>al</strong> Resources, Bangkok, p. 51-55.Piyasin, S., 1975a, Review of the Ratburi Group. in Proceedings of the Conference on Geology ofThailand, ed. by R.B. Stoke and C. Tantisukrit, Department of Geologic<strong>al</strong> Sciences, Chiang MaiUniversity, Speci<strong>al</strong> publication no.1, v.1, p.65-100.Piyasin, S., 1975b, Stratigraphy and sedimentology of the Kaeng Krachan Group (Carboniferous). inProceedings of the Conference on Geology of Thailand, ed. by R.B. Stoke and C. Tantisukrit,Department of Geologic<strong>al</strong> Sciences, Chiang Mai University, Speci<strong>al</strong> publication no.1, v.2, p.25-36.Prave, A.R. and Duke, W.L., 1990, Sm<strong>al</strong>l-sc<strong>al</strong>e hummocky cross-stratification in turbidites: a formofantidune stratification?. Sedimentology, 37, p. 531-539.Raksaskulwong, R., 2002, Upper P<strong>al</strong>eozoic rocks of Thailand. Proceedings on the Symposium onGeology of Thailand, 26-31 August 2002, Department of Miner<strong>al</strong> Resources, Thailand, p. 29-34.Rao, C. P., 1988, P<strong>al</strong>eoclimate of some Permo-Triassic carbonates of M<strong>al</strong>aysia. Sediment. Geol., 60, p.163-171.Ridd, M.F., 1971, The Phuk<strong>et</strong> Group of peninsular Thailand. Geol. Magazine, 108: 445-446.Sakagami, S., 1966a, Carboniferous ? Bryozoa collected by Mr K. Pitakpaivan at Khao kok, ChangwatRatburi, Thailand. in Geology and P<strong>al</strong>aeontology of Southeast Asia, v. 2, University of Tokyopress, p. 297-300.Sakagami, S., 1966b, Permian bryozoa fauna of Ko Muk, peninsular Thailand with a description of thecyclostomata. in Geology and P<strong>al</strong>aeontology of Southeast Asia, v. 2, University of Tokyo press, p. 255-284. Sakagami, S., 1968, Permian bryozoa from Khao Phrik, near Rat Buri, Thailand. in Geology andP<strong>al</strong>aeontology of Southeast Asia, v. 4, ed. by T. Kobayashi and R. Toriyama, University of Tokyopress, p. 45-66. Sakagami, S., 1968a, Permian bryozoa from Khao Chong Krachoke, peninsular Thailand. in Geologyand P<strong>al</strong>aeontology of Southeast Asia, v. 4, ed. by T. Kobayashi and R. Toriyama, University ofTokyo press, p. 67-81. Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


เอกสารอ้างอิง169Sakagami, S., 1968b, Permian bryozoa from Khao Phrik, near Rat Buri, Thailand. in Geology andP<strong>al</strong>aeontology of Southeast Asia, v. 4, ed. by T. Kobayashi and R. Toriyama, University of Tokyopress, p. 45-66. Sakagami, S., 1968c, Permian bryozoa from Khao Ta mong Rai, peninsular Thailand. in Geology andP<strong>al</strong>aeontology of Southeast Asia, v. 5, ed. by T. Kobayashi and R. Toriyama, University of Tokyopress, p. 47-67. Sakagami, S., 1969, Fusulinacean fossils from Thailand, Part IV, On some Permian fusulinaceans frompeninsular Thailand. Contrib. Geol. P<strong>al</strong>aeont. Southeast Asia, v. 70, no. 6, p. 265-275.Sakagami, S., 1970, Adddition<strong>al</strong> to Permian bryozoa from Ko Muk, peninsular Thailand. in Geology andP<strong>al</strong>aeontology of Southeast Asia, v. 8, ed. by T. Kobayashi and R. Toriyama, University of Tokyopress, p. 43-68. Sakagami, S., 1971, On the P<strong>al</strong>eozoic bryozoa collected by Mr. C.K. Burton from Chumpon, peninsularThailand. in Geology and P<strong>al</strong>aeontology of Southeast Asia, v. 9, University of Tokyo press, p. 135-146.Sakagami, S., 1973, Permian bryozoa from Khao Raen, near Rat Buri, Thailand. in Geology andP<strong>al</strong>aeontology of Southeast Asia, v. 12, ed. by T. Kobayashi and R. Toriyama, University of Tokyopress, p. 75-90. Sawata, H., Arpornsuwan, S., and Pisutha-Anond, V., 1975, Note on geology of Khao Phra, Ratchaburi,West Thailand, Journ<strong>al</strong> of the Geologic<strong>al</strong> Soci<strong>et</strong>y of Thailand, v.1, p.31-49.Sektheera, B., 1992, P<strong>al</strong>eontology report. Geologic<strong>al</strong> Survey Division, Department of Miner<strong>al</strong> Resource,33-68.Ingavat-Helmcke, R., 1994, P<strong>al</strong>eozoic p<strong>al</strong>eontologic<strong>al</strong> evidence of Thailand. inProceedings Stratigraphic correlation of Southeast Asia, ed. by P. Angsuwathana and others.,Bangkok, p. 43-54.Shen, S., Shi, G.R., and Zhu, K., 2000, Early Permian brachiopods of Gondwana affinity from theDingjiazhai Formation of the Baoshan Block, Western Yunnan, China. Rivista It<strong>al</strong>iana diP<strong>al</strong>eontologia e Stratigrafia, v. 106, no 3, p. 263-282.Shen, S., Shi, G.R., and Zongjie, 2002, Permian brachiopods from Baoshan and Simao blocks inWestern Yunnan, China. Journ<strong>al</strong> of Asian Earth Science, v. 20, no. 6, p. 665-682.Shi, G. R., and Waterhouse, J. B., 1991, Early Permian brachiopods from Perak, West M<strong>al</strong>aysia. Jour.SE Asian Earth Sciences. , 6(1): p. 25-39Shi, G.R., and Archbold, N.W., 1995, Permian brachiopod faun<strong>al</strong> sequence of the Shan-Thai terrane:biostratigraphy, p<strong>al</strong>aeobiogeographic<strong>al</strong> affinities and plate tectonic/ p<strong>al</strong>aeoclimatic implication.Journ<strong>al</strong> of Southeast Asian Earth Sciences, vol. 11, no. 3, p. 177-187.Shi, G.R., and Shen, S., 2001, A biogeographic<strong>al</strong>ly mixed, Middle Permian brachiopod fauna from theBaoshan block, Western Yunnan, China. P<strong>al</strong>aeontology, v. 44, part 2, p. 237-258.Shi, G.R., Mohd Shafeea Leman, M.S., and Tan, B.K., 1997, Early Permian brachiopods from the SingaFormation of Langkawi Island, northwestern Peninsular M<strong>al</strong>aysia: biostratigraphic<strong>al</strong> andbiogeographic<strong>al</strong> implications. in Proceedings of the Internation<strong>al</strong> Conference on Statigraphy ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


170บทที่ 8 and Tectonic Evolution of Southeast Asia and the South Pacific (Geothai 97), ed. by P.Dheeradilok, C. Hinthong, P. Chaodumrong, P. Putthaphiban, W. Tansathien, C. Utha-aroon, N.Sattarak, T. Nuchanong, and S. Techawan, August 19-24, Bangkok, Thailand, v.1, p. 62-72.Shi, G.R., Raksaskulwong, L., and Campbell, H.J., 2002, Early Permian brachiopods from northern andcentr<strong>al</strong> peninsular Thailand. in: Carboniferous and Permian of the World, ed. by L.V. Hills, C.M.Henderson and E.W. Bamber, Canadian Soci<strong>et</strong>y of P<strong>et</strong>roleum Geologists, Memmoir 19, p. 596-608.Shi, G.R., Shen, S., Campbell, H.J., and Raksaskulwong, L., 2001, A Meekella-dominated Early Permianbrachiopod assemblage from centr<strong>al</strong> Peninsular Thailand. Contributions to Geology andP<strong>al</strong>eontology of Gonwana in honour of Helmut Wopfner, Cologne, p. 441-451.Singh, T., 1993, Gondwana sediments (Permian) of Arunach<strong>al</strong> Him<strong>al</strong>aya: Stratigraphic status anddeposition<strong>al</strong> environment. Proceedings of the Eighth Gondwana Symposium, Hobart, Tasmania,Austr<strong>al</strong>ia, 21-24 June 1991. ed. by R.H. Findlay, R. Unrug, M.R. Banks and J.J. Veevers,Rotterdam, p 345-355.Stauffer, P. and Mantajit, N., 1981, Late P<strong>al</strong>eozoic tilloids of M<strong>al</strong>aysia, Thailand and Burma, in Earth’sPre Pleistocene Glaci<strong>al</strong> Record, ed. by Humbrey and Harland, p.331-337.Stow, D. A. V., 1986, Deep clastic seas. In: Sedimentary environments and facies, ed. by H. G.Reading, Blackwell Scientific Publications, 399-444.Tantiwanit, W., Raksaskulwong, L., and Mantajit, N., 1983, The Upper P<strong>al</strong>eozoic pebbly rocks insouthern Thailand. in Proceedings of the Stratigraphic correlation of Thailand and M<strong>al</strong>aysia, ed.by P. Nut<strong>al</strong>aya, Had Yai, Thailand, p. 96-104.Tucker, M.E., 2003, Sedimentary rocks in the field, 3 rd. Wiley, 234 p.Ueno, K, Mizuno, Y., Wang, X.D., and Mei, S.L., 2002, Artinskian conodonts from the DingjiazhaiFormation of the Baoshan block, West Yunnan, Southwest China. Journ<strong>al</strong> of P<strong>al</strong>eontology 76, p.741-750.Ueno, K., and Igo, H., 1997, Late P<strong>al</strong>eozoic foraminifers from the Chiang Dao area, northern Thailand:Geologic age, faun<strong>al</strong> affinity, and p<strong>al</strong>eobiogeographic implications. in Proceedings of the XIIIInternation<strong>al</strong> Congress on the Carboniferous and Permian, p. 339-358.Ueno, K., 1999, Gondwana/T<strong>et</strong>hys divide in East Asia: solution from Late P<strong>al</strong>eozoic foraminifer<strong>al</strong>p<strong>al</strong>eobiogeography. in B. Rathanasthien and S.L. Rieb eds., Proceedings of the internation<strong>al</strong>symposium on Sh<strong>al</strong>low T<strong>et</strong>hys 5, Chiang Mai Univ., Thailand, p. 45-54.Ueno, K., 2003, The Permian fusulinoidean faunas of the Sibumasu and Baoshan blocks: theirimplications for the p<strong>al</strong>eogeographic and p<strong>al</strong>eoclimatologic reconstruction of the CimmerianContinent. PALAEO 193, p. 1-24.Ueno, K., Wang, Y., and Wang, X.D., 2003, Fusulinoidean faun<strong>al</strong> succession of a P<strong>al</strong>eo-T<strong>et</strong>hyanoceanic seamount in the Changning-Menglian belt, West Yunnan, Southwest China. The IslandArc, 12, p. 145-161.Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


เอกสารอ้างอิง171Vachard, D., Fontaine, H., and Caridroit, M., 1992, Foraminifera, <strong>al</strong>gae and pseudo-<strong>al</strong>gae fromCarboniferous and Permian limestones of north-west Thailand. Rev. P<strong>al</strong>eobiol., 11(1), p. 137-147. Visser, D.J.L., 1989, Explanation: Geologic<strong>al</strong> map (1:1,000,000): The geology of the Republics of SouthAfrica, Transkei, Bophuthatswana, Venda and Ciskei and the Kingdom of Lesotho and Swaziland. Geologic<strong>al</strong> Survey, Department of Miner<strong>al</strong> and Energy Affairs, Republic of South Africa, 491 p.lker, R. G., 1985, Mudstones and thin-bedded turbidites associated with the Upper Cr<strong>et</strong>aceousWheeler Gorge conglomerates, C<strong>al</strong>ifornia: A possible channel-levee complex. J. sedim. P<strong>et</strong>rol.,55, p. 279-290.Wang X.D., Ueno, K., Mizuno, Y., Sugiyama, T., 2001a. Late P<strong>al</strong>eozoic faun<strong>al</strong>, climatic, and geographicchanges in the Baoshan block as a Gondwana-derived continent<strong>al</strong> fragment in southwest China.P<strong>al</strong>aeogeography, P<strong>al</strong>aeoclimatology, P<strong>al</strong>aeoecology 170(3-4): p. 197-223. Wang, X. D., Sugiyama, T., and Fang, R. S., 2001b, Carboniferous and Permian cor<strong>al</strong> faunas of WestYunnan, Southwest China: implication for the Gondwana/ Cathaysia divide. Bull. Tohoku univ.Museum, No. 1, p. 265-278.Wang, X.D. and Sugiyama, T., 2002, Permian cor<strong>al</strong> faunas of the eastern Cimmerian Continent and theirbiogeographic implications. Journ<strong>al</strong> of Asian Earth Sciences, v. 20, no. 6, p. 589-597.Wang, X.D., Ueno, K., Mizuno, Y., and Sugiyama, T., 2001, Late P<strong>al</strong>eozoic faun<strong>al</strong>, climatic, andgeographic changes in the Baoshan block as a Gondwana-derived continent<strong>al</strong> fragment insouthewest China. P<strong>al</strong>aeogeography, P<strong>al</strong>aeoclimatology, P<strong>al</strong>aeoecology 170, p. 197-218.Waterhouse, J.B., 1981, Early Permian brachiopods from Ko Yao Noi and near Krabi, southern Thailand. in The Permian stratigraphy and p<strong>al</strong>aeontology of Southern Thailand, ed. by J.B. Waterhouse, K.Pitakpaivan, and N. Mantajit, Department of Miner<strong>al</strong> Resources, Geologic<strong>al</strong> Survey Memoir, no.4,p. 43-213Waterhouse, J.B., 1982, An Early Permian cool-water fauna from pebbly mudstones in south Thailand.Geologic<strong>al</strong> Magazine 119, p. 337-354.Waterhouse, J.B., Pitakpaivan, K., and Mantajit, N., eds., 1981, The Permian stratigraphy andp<strong>al</strong>aeontology of Southern Thailand, Department of Miner<strong>al</strong> Resources, Geologic<strong>al</strong> SurveyMemoir, no.4, 213 p.Wopfner, H., 1996, Gondwana origin of the Baoshan and Tengchong terranes of west Yunnan. inTectonic evolution of Southeast Asia, ed. by R. H<strong>al</strong>l, and D. Blundell, Geologic<strong>al</strong> Soci<strong>et</strong>y Speci<strong>al</strong>publication 106, p. 539-547.Yanagida, J., 1970, Permian brachiopods from Khao Phrik, near Rat Buri, Thailand. in Geology andP<strong>al</strong>aeontology of Southeast Asia, v. 8, ed. by T. Kobayashi and R. Toriyama, University of Tokyopress, p. 69-96. Yang, S.P., and Fan, Y.N., 1982, Carboniferous strata and fauna in Shenzha district, Northern Xizang(Tib<strong>et</strong>). Contribution to the Geology of the Qinghai-Xizang (Tib<strong>et</strong>) Plateau 10, 65-76. Geologic<strong>al</strong>Publishing House, Beijing. (in Chinese with English abstract)ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่


172บทที่ 8Zhao, J. M., and Wu, W. S., 1986, Upper P<strong>al</strong>eozoic cor<strong>al</strong>s from Xainza, Xizang. Bull<strong>et</strong>in of NanjingInstitute of Geology and P<strong>al</strong>aeontology, Academia Sinica 10, p. 169-194. (in Chinese withEnglish abstract)สถานที่พิมพ์ บริษัทยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต จำกัด66/180 ซอยลาดพร้าว 80 แยก 22 เขตวังทองหลาง แขวงวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310โทร : 0 2932 7877, 0 2935 5331 โทรสาร : 0 2932 7877email : union4print@hotmail.comRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group


Êӹѡ¸Ã³ÕÇÔ·ÂÒ ¡ÃÁ·ÃѾÂҡøóÕถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400โทรศัพท 0-2621-9843 โทรสาร 0-2621-9651http://www.dmr.go.thÊӹѡ¸Ã³ÕÇÔ·ÂÒ ¡ÃÁ·ÃѾÂҡøóչ¹¾ÃÐÃÒÁ 6 à¢μÃÒªà·ÇÕ ¡ÃØ§à·¾Ï 10400ISBN 978-974-226-450-5â·ÃÈѾ· 0-2621-9843 â·ÃÊÒà 0-2621-9651 http://www.dmr.go.th

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!