10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

28บทที่ 3รอยแตกเปลี่ยนไปเป็นสีแดง (รูปที่ 3.2) แสดงว่าสีเดิมของหินดินดานคือสีเทา นอกจากนี้บางจุดยังพบมีผลึกของไพไรต์เกิดอยู่ด้วย ในส่วนบนมีชั้นหินทรายแทรกสลับ และพบซากดึกดำบรรพ์พวก Posidonomya sp.บนสุดของบริเวณนี้ เป็นหินดินดาน สีเทา เป็นชั้นบางถึงหนาปานกลาง แทรกสลับกับหินทราย เนื้อละเอียดบางช่วงเป็น Lenticular bed และพบ Burrows ทั่วไป (รูปที่ 3.3) ทั้งแบบ Vertic<strong>al</strong> และ subhorizont<strong>al</strong> typesในบริเวณนี้ไม่พบหินของกลุ่มหินแก่งกระจานและกลุ่มหินราชบุรี3.1.2 หมวดหินขนอมLumjuan (1993) รายงานว่าได้ศึกษาลำดับชั้นหิน 2 บริเวณ คือที่แหลมทาบ และที่เขาสีอิน อยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดนครศรีธรรมราช ระบุว่าชั้นหินที่เขาสีอินวางตัวอย่างต่อเนื่องอยู่บนหิน Devonian และประกอบด้วยการสลับกันของหินดินดานและหินทรายพบซากดึกดำบรรพ์อายุ Early Carboniferous หลายชนิด เช่น Posidonomya sp., Chon<strong>et</strong>es sp.,Bucanella sp., Pro<strong>et</strong>us sp., Pecten sp. โดยมีชั้นหินที่บริเวณแหลมทาบวางตัวต่อเนื่องขึ้นมา ประกอบด้วยหินโคลนปนกรวด (pebbly mudstone) (ซึ่งเลิศสินรักษาสกุลวงศ์ และ ธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) บอกว่าไม่ต่อเนื่อง และจากการตรวจสอบของรายงานฉบับนี้ก็ไม่พบว่ามีความต่อเนื่องกัน) และมีชั้นของหินทรายและหินดินดานแทรกสลับ พบซากดึกดำบรรพ์อายุ LateCarboniferous to Early Permian เช่นLinoproductus sp., Ruggiscostella sp.,Neochon<strong>et</strong>es sp., Kitakamithyris sp.,Rhynchonellacean sp., S<strong>et</strong>igenites sp. ลำดับ ชั้นหินส่วนบนนี้เทียบเคียงได้กับกลุ่มหินแก่งกระจานที่ภูเก็ต เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) รายงานพบซากดึกดำบรรพ์ในหมวดหินขนอม (Kanom formation) ที่บริเวณบ้านคลองวัง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพวก Styliolina sp.,Tentaculite sp., และ Pelecypod จำพวกPosidonomya sp., Nuculoidae sp., Trilobiteจำพวก Cyrtosymbolid sp. ให้อายุ Middle to LateDevonian ซึ่งในส่วนนี้คงเทียบได้กับลำดับชั้นหินของหมวดหินป่าเสม็ดถึงหมวดหินควนกลาง (ในข้อ 3.1)สำหรับกลุ่มหินแก่งกระจานจะวางตัวอย่างมีรอยชั้นไม่ต่อเนื่องอยู่บนหมวดหินขนอม จากการตรวจสอบของรายงานฉบับนี้ที่บริเวณเขาสีอิน อำเภอขนอม พิกัด 595924E 1017386Nลักษณะภูมิประเทศเป็นเนินเขาลูกเล็กๆ ในส่วนล่างเป็นหินดินดาน สีแดง เทาอ่อน เนื้อเนียน หนาประมาณ15 เมตร เป็นชั้นบางๆ วางตัวเอียงเทไปทางทิศใต้ (29/162) ในบางชั้นมีซากดึกดำบรรพ์หอยสองฝามากมายเป็นพวก Posidonomya sp. (รูปที่ 3.4) และAmmonoid บนขึ้นมาปิดทับด้วยหินทราย สีเทาอ่อนเนื้อแน่น หนาประมาณ 8 เมตร บริเวณนี้เทียบได้กับหมวดหินควนกลาง และไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน3.1.3 กลุ่มหินภูเก็ตชื่อ “กลุ่มหิน ภูเก็ต” ตามนิยามของ Mitchell<strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1970) และ Garson <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1975) นั้น หมายรวมถึงลำดับชั้นหินทั้งหมดที่อยู่ใต้หินปูนเพอร์เมียน ซึ่งรวมถึงหินทรายของกลุ่มหินตะรุเตาและหินปูนของกลุ่มหินทุ่งสงด้วย ซึ่งการใช้ชื่อกลุ่มหินภูเก็ตในระยะต่อมาจะมีความหมายที่เปลี่ยนไปโดยไม่รวมหินของสองกลุ่มหินข้างต้น (Altermann, 1987; และ Hills, 1989) Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!