10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน63เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และ ธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) ได้เทียบลำดับชั้นหิน ดินดานและหินทรายที่พบในส่วนล่างเป็นหมวดหินสปิลเวย์ และในส่วนที่พบซากดึกดำบรรพ์เป็นหมวดหินเกาะยาวน้อย (เทียบได้กับหมวดหินเขาพระของรายงานนี้)4.10.6 ลำดับชั้นหินที่แหลมทาบ อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชที่ตั้ง: ชั้นหินบริเวณนี้โผล่ตามชายหาดของแหลมทาบ โดยรถยนต์เข้าเข้าถึงบ้านประทับ แท่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานที่แหลมทาบได้แสดงไว้ในรูปที่ 4.38ลำดับชั้นหิน: ชั้นหินล่างสุดของบริเวณนี้อยู่ที่ชายหาดของบ้านประทับ เป็นหมวดหินแหลมไม้ไผ่ มีความหนามากกว่า 15 เมตร (ส่วนล่างจมน้ำทะเล) ชั้นหินช่วงนี้มีแนว strike ขนานไปกับชายหาด วางตัวเอียงไปทางทิศตะวันตก (75/284) เป็นหินทรายแป้ง หินโคลน สีเทาดำ เทาอมเขียว แทรกสลับกับชั้นบาง ๆ ของหินทราย (1-2 ซม.) บางช่วงหนา 10-50 ซม. อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทราย ประมาณ 4:1 หรือมากกว่าในหินทรายมักพบเรียงตัวแบบ lamination และ crossstratification ชั้นหินทรายที่หนา (มากกว่า 5 ซม.) มักมีความต่อเนื่องทางด้านข้างไปได้ไกล ในขณะที่หินทรายที่บางกว่า 1 ซม. มักเป็นพวก lenticular bed รอยสัมผัสของหินทรายที่วางบนหินโคลนเป็นแบบerosion<strong>al</strong> or sharp contact ในขณะที่ upper contactเป็นแบบ sharp และ gradation<strong>al</strong> contact ในเนื้อของหินทรายชั้นหนาบางช่วงพบโครงสร้าง Boumasequence จาก graded sandstone (Ta) หนา 20 ซม.ขึ้นไปเป็น planar lamination (Tb) หนา 20 ซม. Crosslamination (Tc) หนา 16 ซม. และปิดทับด้วยหินโคลนบางบริเวณพบลักษณะของก้อนกรวดตัดแทรกในชั้นหินทรายแป้งบางก้อนมีขนาด 5x7 ซม. (รูปที่ 4.39)บางช่วงแทรกด้วยเล็นส์ของหินปูนหนา 2-3 ซม. พวกburrows หรือรูแสดงร่องรอยซากดึกดำบรรพ์ จะพบมากส่วนใหญ่วางตัวตั้งเฉียงถึงแนวดิ่งกับแนวชั้นหินและถูกแทนที่ด้วยทราย บางรูยาวมากกว่า 15 ซม. บนขึ้นมาบริเวณนี้เป็นหัวโค้งของชายหาด ชั้นหินช่วงนี้เป็นส่วนเดียวกับหินทรายที่พบใกล้บ้านประทับ หินเปลี่ยนเป็นหินทรายหนารวมประมาณ 30 เมตร สีเทา เนื้อหยาบถึงละเอียดปานกลาง เป็นชั้นหนาหนาปานกลางแต่ไม่สม่ำเสมอ (10-30 ซม.) ในหินทรายมักพบgraded bed, lamination และ cross lamination (รูปที่ 4.40) ชั้นหินวางตัวเอียงเทไปทางทิศตะวันตก (70/282) บริเวณนี้มีรอยเลื่อนตัดในแนวประมาณตะวันออก-ตะวันตก (44/190) ในส่วนนี้พบโครงสร้างลอนลูกฟูก (Mullion structure) มีชายหาดปกคลุมยาวประมาณ 25 เมตร บนขึ้นมาหนาประมาณ 22 เมตรของหมวดหินเกาะเฮ เป็นหินกรวดมนเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินทราย ส่วนล่างของหินกรวดมนบางครั้งเป็นchanneled structure พวกนี้พบซ้ำหลายครั้ง แต่ส่วนใหญ่เป็นหินทรายชั้นขนาดหนาปานกลางถึงหนา (10-50 ซม.) วางตัวในแนว 76/282 ในหินทรายมี Boumasequence มักพบ lamination, graded bed และcross lamination (70/290) ในหินทรายช่วงบนมีกรวดปนประมาณ 5% กรวดส่วนใหญ่เล็กกว่า 2 ซม. มีหลายชนิด เช่น quartzite, dolomite, gneiss หินทราย กรวดบางก้อนขนาด 10-20 ซม. ปิดทับด้วยหินโคลน เนื้อละเอียด หนาประมาณ 20 เมตร บนขึ้นมาปกคลุมด้วยชายหาดกว้างประมาณ 80 เมตร ชั้นหินเปลี่ยนเป็นหมวดหินเขาพระ ประกอบด้วยหินโคลน สีเทาดำ แทรกสลับด้วยหินทรายชั้นบางๆ หนาประมาณ 20 เมตร (รูปที่ 4.41) และเป็นชั้นไม่ต่อเนื่อง (ไม่ใช่แบบขนมชั้น)แล้วชั้นหินเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินทรายปนกรวด หนาประมาณ 15 เมตร ปิดทับด้วยหมวดหินเขาเจ้า เป็นหินทราย quartz arenite to subarkose สีขาว เนื้อหยาบ เป็นชั้นหนาปานกลาง หนารวมประมาณ 15เมตร ช่วงนี้ชั้นหินวางตัวเอียงเทไปทางตะวันตก (75/270) ก่อนถึงหินปูนชั้นหนาที่อยู่ไปทางทิศตะวันตกจะมีชายหาดปกคลุมกว้างประมาณ 60 เมตร จากลักษณะของหินปูนซึ่งเป็นของหมวดหินอุ้มลูก จึงประมาณว่ามีรอยเลื่อนคั่นในช่วงนี้ ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!