10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน814.10.15 ลำดับชั้นหินที่เขาตาม่องล่ายประจวบคีรีขันธ์ที่ตั้ง: เขาตาม่องล่าย อยู่ริมทะเลทางด้านตะวันออกของตัวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลำดับชั้นหินโผล่ชัดเจนตามชายหาด อยู่ในเขตวนอุทยานเขาตาม่องล่าย เริ่มบริเวณพิกัด 590604E 1307920N ไปตามปลายแหลมหรือหัวเขา (รูปที่ 4.61) การไปศึกษาในภาคสนามต้องคำนึงถึงช่วงเวลาน้ำขึ้น-น้ำลงด้วยลำดับชั้นหิน: ลำดับชั้นหินส่วนล่างจะสังเกตได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับน้ำทะเลลดลงมากแค่ไหน ล่างสุดเป็นหมวดหินเขาพระ หนาประมาณ 93 เมตร ประกอบด้วยหินโคลน สีเทา ผุออกสีเทาอมเขียวสลับด้วยชั้นบางๆ (ส่วนใหญ่หนาน้อยกว่า 1 ซม.)ของหินทรายเนื้อละเอียด (ผุออกสีเหลือง) ชั้นหินเอียงเทไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ (30/158) ปริมาณของหินทรายที่แทรกสลับจะมากขึ้นในส่วนบน รวมทั้งความหนาของชั้นทรายก็มากขึ้นด้วย บางชั้นเป็นหินทรายประเภท quartz-rich sandstone หนาถึง 60 ซม.หินทรายแต่ละชั้นมีความหนา ไม่สม่ำเสมอ บ่อยครั้งที่ตีบหายไปทางด้านข้าง Burrows หรือรูหนอน พบทั่วไปวางตัวทำมุมเอียง กับชั้นหิน (subhorizont<strong>al</strong> holes)ส่วนบนของหมวดหินเขาพระจะเริ่มพบชั้นบางๆ ของcrinoid<strong>al</strong> beds แทรก (รูปที่ 4.62) และเริ่มพบซากดึกดำบรรพ์พวก Bryozoa และ crinoid แทรกสลับหลายช่วง Sakagami (1968c) ได้วิเคราะห์ Bryozoaบริเวณนี้เป็นพวก Coscinotrypa crient<strong>al</strong>is Sakagami,Dyscritella grossa Sakagami, Fenestella cf.dispersa (Crockford), Fenestella cf. subrudisCondra, Fenestella pulchradors<strong>al</strong>is Bassler,Fenestella r<strong>et</strong>iformis (Schlotheim), Fenestella sp.ind<strong>et</strong>., Fistulipora cf. grandis volongensisNikiforova, Fistulipora cf. labratula Bassler,Fistulipora timorensis Bassler, Leioclemamongraiensis Sakagami, Polypora cf. repensTrizna, Polypora cf. tripliseriata Bassler, Polyporasp. ind<strong>et</strong>., Protor<strong>et</strong>epora lamellata Sakagami อายุArtinskian (Lower Permian)บนขึ้นไปเป็นหมวดหินเขาเจ้า หนาประมาณ57 เมตร หินทรายประเภท quartz-rich sandstone สีขาว ผุออกสีเทาอมเหลือง เป็นชั้นหนา พบชั้นเฉียงระดับและรูหนอน (Burrow) เกิดร่วมด้วยทั่วไป บางแห่งพบมาก ในส่วนบนมีหินเชิร์ตแทรกสลับเป็นเล็นส์ (หนาประมาณ 2-5 ซม.) ยาวขนานไปกับแนวชั้นหินหินเชิร์ตนี้เข้าใจว่ามีการเกิดแบบทุติยภูมิ เกิดแทนที่ในหินทราย โดยมีหลักฐานคือมีแนวของ Lamination อยู่ในหินเชิร์ต ในช่วงนี้จะพบ thinly shell beds (รูปที่4.63) แทรกในหินทรายด้วย บนขึ้นไปเป็นหมวดหินพับผ้า ประกอบด้วยหินโดโลไมต์ หินปูน เป็นชั้นบางถึงหนาปานกลาง สีเทา สีน้ำตาลแดง บางส่วนมี chertnodules แทรก บนขึ้นไปซึ่งเป็นส่วนของยอดเขาจากการสำรวจด้วยกล้องส่องทางไกลพบเป็นหินปูน เป็นชั้นหนาถึงหนามาก เข้าใจว่าเป็นของหมวดหินอุ้มลูก แท่งลำดับชั้นหินแสดงไว้ในรูปที่ 4.64ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!