10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

36บทที่ 4(2536) ได้ศึกษาลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน ในพื้นที่กว้างตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีลงไปภาคใต้ ได้จัดให้กลุ่มหินแก่งกระจานประกอบด้วย 4 หมวดหิน เรียงลำดับจากอายุมากไปหาน้อย คือ หมวดหินเขาวังกระดาด หมวดหินสปิลเวย์ หมวดหินเกาะเฮ และหมวดหินเขาพระ โดยยกเลิกหมวดหินห้วยพุน้อย ของ Piyasin(1975b) พร้อมตั้งหมวดหินเขาวังกระดาด หมวดหินสปิลเวย์ หมวดหินเกาะเฮ ขึ้นมาแทน โดยจัดให้ชั้นหินทรายสลับหินโคลนอยู่ในหมวดหินหินสปิลเวย์ และหินเนื้อปนกรวด (pebbly rocks) อยู่ในหมวดหินเกาะเฮสำหรับหมวดหินบนสุดคือหมวดหินเขาพระ มีความหมายเท่ากับ “หมวดหินเขาพระ” บวก “หมวดหินเขาเจ้า” ของPiyasin (1975b) โดยให้เหตุผลว่า “หมวดหินเขาเจ้า” มีความหนาไม่มากและพบเฉพาะบางบริเวณ เช่น ราชบุรีเท่านั้น แต่จากการสำรวจในรายงานฉบับนี้พบว่าหินทรายของหมวดหินเขาเจ้าแผ่กระจายอย่างกว้างขวางในขณะที่ชั้นหินโคลนปนกรวด หินทรายสลับหินดินดาน และหินดินดาน ก็โผล่เห็นได้ดีบริเวณจังหวัดภูเก็ตและบริเวณใกล้เคียง จึงมีนักวิจัยหลายคณะมาทำการสำรวจในบริเวณนี้ (Mitchell, <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,1970; Garson <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1975, Pitakpaivan andMantajit, 1981; Altermann, 1987; Hills, 1989) ชื่อ“กลุ่มหินภูเก็ต” (Phuk<strong>et</strong> Group) เป็นอีกชื่อทีได้รับความนิยมใช้และอ้างถึงบ่อยครั้ง ตั้งขึ้นโดย Mitchell,<strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) ซึ่งตอนนั้นได้รวมหินทรายของกลุ่มหินตะรุเตาและหินปูนของกลุ่มหินทุ่งสงเข้าไปด้วย ทั้งMitchell, <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) และ Altermann (1987) ให้กลุ่มหินภูเก็ต ประกอบด้วยหมวดหินแบบไม่เป็นทางการ 2 หมวดหิน คือ Lower Formation และUpper Formation ในขณะที่ Hills (1989) แบ่งกลุ่มหินภูเก็ตออกเป็น 3 หมวดหิน เรียงจากล่างขึ้นบน คือหมวดหินแหลมไม้ไผ่ (Laem Mai Phai Formation)หมวดหินเกาะโหลน (Ko Lon Formation) และหมวดหินอ่าวโล๊ะดาลัม (Ao Lohd<strong>al</strong>um Formation) (ตารางที่ 4.1)สาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่ลงตัวระหว่างกลุ่มหินแก่งกระจานและกลุ่มหินภูเก็ต ก็เนื่องจากมีลำดับชันหินที่ไม่เหมือนกันระหว่างด้านทะเลอันดามันและด้านอ่าวไทยเพื่อทำให้ปัญหาข้างต้นกระจ่างขึ้น วัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งของการวิจัยครั้งนี้ ก็เพื่อบูรณาการข้อมูลการจัดลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานให้มีความสมบูรณ์ตามมาตรฐานสากล โดยยึดเกณฑ์ ตามคำแนะนำใน Internation<strong>al</strong> Stratigraphic Guide ของInternation<strong>al</strong> Union of Geologic<strong>al</strong> Sciences หรือIUGS (Hedberg, 1976; Murphy and S<strong>al</strong>vador, 1999)การเทียบเคียงการแบ่งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานของงานวิจัยครั้งนี้ เทียบกับคณะสำรวจต่าง ๆ ที่ผ่านมา ได้แสดงไว้ในตารางที่ 4.14.2ความสำคัญของหินทรายเนื้อควอตซ์ในกลุ่มหินแก่งกระจานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกันว่า กลุ่มหินแก่งกระจานถูกปิดทับอย่างต่อเนื่องด้วยหินปูนของกลุ่มหินราชบุรี(Ratburi Group) หรือที่สมัยก่อนเรียกกันว่าหินปูนราชบุรี (Ratburi Limestone) ดังนั้นขอบเขตของกลุ่มหินทั้งสองตามการจำแนกแบบ Lithostratigraphic unitsจึงแบ่งตรงส่วนล่างของหินปูนชั้นหนาในการสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:250,000 ของหลายบริเวณในภาคใต้ เช่น ระวางจังหวัดนครปฐม (พิสิทธิ์ ธีรดิลก และคณะ, 2528ก)ระวางอำเภอหัวหิน (พิสิทธิ์ ธีรดิลก และคณะ, 2528ข)ระวางจังหวัดชุมพร (จำรัส มหาวัจน์ และคณะ, 2528)ระวางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (มนตรี ศิลปาลิต และคณะ,2528) และระวางจังหวัดภูเก็ต (ชัยยันต์ หินทอง และคณะ, 2528) และแผนที่บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช(Lumjuan, 1993) พบว่าส่วนบนของกลุ่มหินแก่งกระจาน ประกอบด้วยหิน orthoquartzite หรือ quartzarenite แสดงว่าหินทรายดังกล่าวมีการแผ่กระจายอย่างกว้างขวาง ซึ่งสามารถใช้เป็น key bed ที่สำคัญได้ซึ่งสอดคล้องกับการแบ่งกลุ่มหินแก่งกระจานของแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1:1,000,000 ฉบับล่าสุด (2542)ที่ประกอบด้วยเพียง 2 หมวดหินคือ หมวดหินเขาพระและหมวดหินเขาเจ้า และสอดคล้องกับผลของการสำรวจของรายงานฉบับนี้ที่พบว่ามีหินทรายเนื้อควอตซ์แผ่กระจายอย่างกว้างขวางในส่วนบนของกลุ่มหินแก่งกระจานของพื้นที่สำรวจจากกาญจนบุรีลงไปภาคใต้ Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!