10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์89(1987), และ Laminated siltstone facies และ Slatefacies ของ Hills (1989)การแปลความหมาย: การแทรกสลับของหินโคลนกับชั้นบางๆ ของหินทรายแป้ง โดยเป็นแบบpar<strong>al</strong>lel bed ที่มีความหนาเกือบคงที่ แสดงว่าเกิดสะสมตัวในน้ำค่อนข้างนิ่ง สงบและลึก ลักษณะเช่นนี้นิยมแปลให้เกิดสะสมในส่วนของ basin plain ของsubmarine fan environment ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นท้องทะเลลึกและกว้าง จากการที่พบว่า Laminatedmudstones facies นี้มีความสัมพันธ์กับ Thin beddedsandstones and mudstones facies ก็สนับสนุนการแปลผลเช่นนี้ อีกทั้งลักษณะของ bioturbation ที่มีรูวางตัวในแนวราบ (horizont<strong>al</strong>) ก็สนับสนุนการเกิดในน้ำลึก การพบก้อนกรวดที่มีขนาดแตกต่างจากเนื้อหินมากบ่งถึงความผิดปกติ แสดงว่าไม่ได้ถูกพัดพามาจากแหล่งเดียวกับเนื้อหิน ลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะเด่นของตะกอนที่เกิดจากการละลายตกลงมาจากธารน้ำแข็ง หรือที่เรียกว่า Lonestone ดังนั้น Laminatedmudstones facies จึงเป็นพวกที่เกิดในน้ำทะเลลึกสงบ ไม่มีการรบกวนจากอิทธิพลของกระแสคลื่น ในสภาพภูมิอากาศหนาวที่มีธารน้ำแข็ง(iceberg)เกี่ยวข้องอยู่ด้วย 3) Pebbly rocks facies ประกอบด้วยหินโคลนเนื้อปนกรวด (Pebbly mudstone) และหินทรายเนื้อปนกรวด (Pebbly sandstone) สีเทา เนื้อแน่น (massive) ไม่มีการคัดขนาด (poor sorting) ไม่ค่อยเห็นแนวของชั้นหิน ก้อนกรวดมีปริมาณน้อยกว่า 10 %กระจัดกระจายแบบไม่เป็นระเบียบ (รูปที่ 5.1, 4.14-4.16, 4.34 และ 4.35) ส่วนใหญ่กรวดมีขนาดเล็กกว่า1 ซม. แต่บางก้อนอาจมีขนาด 15 ซม. หรือโตกว่า ถ้ากรวดมีปริมาณมาก (10%) มักพบว่าก้อนกรวดที่มีขนาดโตกว่า 1 ซม อยู่ทั่วไปและเนื้อหินหรือ matrix จะออกทาง sandy มากขึ้น กรวดเป็นพวก quartzite,แกรนิต หินปูน โดโลไมต์ vein-quartz, gneissหินทราย ส่วนใหญ่มีความมนแบบ subangular tosunround และมีความกลม (sphericity) ต่ำ นอกจากนี้บางบริเวณเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลน เนื้อแน่น ไม่แสดงแนวชั้นหินการแผ่กระจายและเทียบเคียง: Pebbly rocksfacies ส่วนใหญ่พบในหมวดหินเกาะเฮ บางส่วนพบในหมวดหินสปิวเวย์และหมวดหินเขาพระ เช่น ที่เกาะเฮเกาะโหลน แหลมพับผ้า อ่าวริมหาด และที่แหลมพันวาพบว่าวางตัวปิดทับอยู่บน Laminated mudstonesfacies เป็นที่น่าสังเกตว่า Clasts ที่พบที่เกาะเฮ (อยู่ไปทางทิศใต้ของเกาะภูเก็ต) จะมีขนาดใหญ่กว่าที่พบในบริเวณอื่น Facies นี้เทียบได้กับ Pebbly mudstonesfacies ของ Mitchell (1970), Structureless pebblymudstones to pebbly sandstones facies ของAltermann (1987), และ Pebbly mudstones faciesของ Hills (1989)การแปลความหมาย: การเกิดของหินโคลนที่มีกรวดปนอยู่ด้วยเกิดได้หลายแบบ เช่น season<strong>al</strong> influxของกรวดมาบนชั้นของโคลน (ในกรณีเช่นนี้จะได้กรวดเรียงตัวเป็นแนวของชั้นหิน (bed) ซึ่งกรณีนี้จะขัดแย้งกับลักษณะของ Pebbly mudstones ที่ไม่ค่อยแสดงแนวของชั้นหิน) หรือเกิดจากการพัดพาแบบ gravity flow (ซึ่งกรณีนี้ขนาดของก้อนกรวดจะมีขนาดเปลี่ยนไปตามระยะทางที่ห่างจากจุดกำเนิด และมักแสดงลักษณะของโครงสร้างแบบร่องน้ำ หรือ channel structure รวมทั้งมักแสดงลักษณะเป็นชั้น (stratification) ด้วย) หรือเกิดแบบ Glaciomarine ซึ่งจะได้ก้อนกรวดขนาดใหญ่/เล็กปนอยู่ด้วยเมื่อเทียบกับขนาดตะกอนของหินโคลน จากลักษณะของหินโคลนปนกรวดที่เป็นมวลหนาไม่แสดงชั้นแสดงว่าเกิดจากการสะสมตัวอย่างรวดเร็วจากกระบวนการ gravity flow หลักฐานที่พบว่าหินโคลนปนกรวดพบวางตัวบน laminated mudstones ซึ่งเกิดสะสมตัวในน้ำทะเลลึก แสดงว่าหินโคลนปนกรวดก็เกิดสะสมตัวในทะเลเช่นกัน แต่จะค่อนมาทางฝั่งหรือแหล่งต้นกำเนิด โดยปกติพวกที่มีกรวดขนาดโตกว่าและมีปริมาณของกรวดมากกว่า จะเกิดสะสมตัวอยู่ใกล้แหล่งต้นกำเนิดมากกว่า จากรายงานของ Tantiwanit <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1983) ก้อนกรวดส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. แต่ที่มีขนาดใหญ่สุดที่ภูเก็ตใหญ่กว่า 1 เมตร อาจแสดงว่าเป็นlonestone อันแสดงถึงการมีส่วนร่วมของธารน้ำแข็งลักษณะที่พบหินโคลนปนกรวดเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!