10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์1095.2.2 ผลวิเคราะห์ Brachiopodsตัวอย่าง Brachiopods ของรายงานศึกษาวิจัยฉบับนี้ เก็บจากบริเวณกาญจนบุรีลงไปจรดภาคใต้จำนวน 18 แหล่ง ทำการตรวจวิจัยโดย Prof. Dr. ShenShuzhong จำแนกได้เป็น 23 สกุล จากตัวอย่างทั้งหมด241 ตัวอย่าง (ตารางที่ 5.3 และ 5.4, แผ่นภาพที่ 1 ถึงแผ่นภาพที่ 10) พบว่ากลุ่มหินแก่งกระจานมีอายุSakmarian to Artinskian (สำหรับกลุ่มหินราชบุรีมีอายุ Wordian) ซึ่งจะสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากผลวิเคราะห์จากปะการัง (ข้อ 5.3.1) สำหรับตัวอย่างของเขาพนม จังหวัดกระบี่ (ตารางที่ 5.4) ได้รับตัวอย่างจากคุณเฉิดฉันท์ โพธิฉายาจากผลวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้นของกลุ่มหินแก่งกระจาน พบว่า Brachiopods มีหลายสกุลแต่จะพบมากเป็นบางสกุลและพบเฉพาะแหล่ง เช่น ที่เขาถ่าน (TC29) ที่พบมากได้แก่ Cleiothyridina seriataGrant, Juresania juresanensis Tschernyschew,Chon<strong>et</strong>inella andamanensis Waterhouse,Spinomartinia prolifica Waterhouse และStereochia koyaoensis Waterhouse แต่ที่เขาปากกว้าง (TC18 และ TC19) จังหวัดราชบุรีซากดึกดำบรรพ์ที่พบมากเป็น Chon<strong>et</strong>inella cymatilisGrant และ Stereochia litostyla Grant แต่ผลวิเคราะห์ด้านอายุจะสอดคล้องกับการศึกษาของSektheera (1992) ที่ศึกษาบริเวณเขาคลองแหงจังหวัดกระบี่ ให้มีอายุ Sakmarian, และของWaterhouse (1982), Shi and Waterhouse (1991)และ Shi and Archbold (1995) ที่รายงานว่าหินโคลนปนกรวดในส่วนบนของกลุ่มหินแก่งกระจานที่เกาะมุกเกาะพีพี มีอายุ Late Asselian or Early Sakmarian ซึ่งเทียบเคียงได้กับของเกาะลังกาวี (Shi <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1997) ที่พบ Brachiopods หลายชนิดในส่วนบนของ SingaFormation มีอายุ Early Permian (Sakmarian)สำหรับข้อมูลของกลุ่มหินราชบุรี (ตารางที่ 5.3และ 5.4) ให้ไว้เพื่อการเปรียบเทียบ ซึ่งจะพบBrachiopods มากเป็นเฉพาะที่ เช่น ที่เขาพุเลียบจังหวัดกาญจนบุรีพบมากเป็น Derbyia regularisWaagen แต่ผลวิเคราะห์ด้านอายุของการวิจัยนี้ จะต่างกับของ Grant (1976) ที่ให้มีอายุ Late Artinskian, และต่างจาก Brachiopods ที่พบในหินปูนส่วนล่างของกลุ่มหินราชบุรี ที่เขาพริก จังหวัดราชบุรี ตรวจโดยYanagida (1970) และ Waterhouse (1982) ที่ให้มีอายุLate Artinskian และ Kungurian ตามลำดับจากผลการศึกษาแสดงว่า ซากดึกดำบรรพ์บางสกุล สามารถพบได้ในหลายหมวดหิน (ตารางที่5.3 และ 5.4) ดังนั้นแนวความคิดที่ว่าเมื่อพบซากดึกดำบรรพ์แล้วสามารถระบุว่าเป็นของหมวดหินใด จึงเป็นแนวคิดที่ผิดและคลาดเคลื่อน การจะระบุว่าชั้นหินบริเวณใดเป็นหมวดหินใดต้องดูจากลำดับชั้นหินและลักษณะของหินเท่านั้นลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!