10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน574.10.2 ลำดับชั้นหินที่ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจานที่ตั้ง: ฝายน้ำล้น (Spillway) เขื่อนแก่งกระจาน ตั้งอยู่ที่อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จุดพิกัด 568625E 1426788N ของระวางแผนที่อำเภอแก่งกระจาน (4934 IV) ลำดับชั้นหิน: ลำดับชั้นหินบริเวณฝายน้ำล้นนี้เคยมีผู้ศึกษามาก่อนแล้วคือ Piyasin (1975b) และเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และ ธนิศร์ วงศ์วานิช (2536)ภาพแท่งลำดับชั้นหินแสดงไว้ในรูปที่ 4.11 แบ่งกลุ่มหินแก่งกระจานของบริเวณนี้ประกอบด้วย 5 หมวดหิน คือหมวดหินแหลมไม้ไผ่ หมวดหินสปิลเวย์ หมวดหินเกาะเฮ หมวดหินเขาพระ และหมวดหินเขาเจ้าชั้นหินส่วนล่างอยู่ทางด้านอ่างเก็บน้ำ โดยชั้นหินมีอายุน้อยลงไปทางทิศตะวันออก แต่บริเวณนี้มีโครงสร้างแบบ overturned beds ดังสังเกตได้จากLoad structure (รูปที่ 4.10) Norm<strong>al</strong> graded bed,cross stratification รวมทั้งการวางตัวของ cleavageกับ bedding (รูปที่ 4.28) ซึ่งเห็นได้ทั่วไป บริเวณนี้ชั้นหินวางตัวตั้งชันมีรอยเลื่อนตัดผ่านหลายแห่ง บางบริเวณชั้นหินคดโค้งนอนทับ (recumbent fold) ดังนั้นความหนาที่ได้ในที่นี้จึงเป็นการประมาณการ ล่างสุดเริ่มบริเวณถนนเป็นหมวดหินสปิลเวย์ โดยส่วนล่างหนาประมาณมากกว่า 25 เมตร เป็นหินโคลน (laminatedmudstone) สีเทา ชั้นบาง แทรกสลับด้วยชั้นบางๆขนานกันขนาด 1-2 มม ของหินทรายแป้ง อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายแป้ง ประมาณ 4:1 มี burrowsทั่วไป พบกรวดขนาดเล็กกว่า 1 ซม. ปนอยู่บ้าง ในส่วนบนพบมีกรวดของโดโลไมต์ ขนาด 10x15 ซม. 1 ก้อน (รูปที่ 4.29) ชั้นหินวางตัวมุมเทชันเอียงไปทางทิศตะวันตก (85/252 ส่วน cleavage 57/085) บนขึ้นมายังคงเป็นเป็นหมวดหินสปิลเวย์ หนาประมาณ 17 เมตร หินเปลี่ยนแบบกระทันหันเป็นหินทรายชนิดSubarkose ถึง quartz arenite สีเทาอ่อน มีเนื้อละเอียดปานกลางถึงหยาบ ในส่วนล่างเป็นชั้นหนามากและเป็นชั้นบางถึงหนาในส่วนบน มีโครงสร้างที่พบบ่อยคือ load cast, cross lamination และแทรกสลับด้วยชั้นของหินดินดาน สีเทา มักพบ burrows ด้วย Loadcast (รูปที่ 4.10) มีลักษณะ flat top ส่วนด้านล่างเป็นรูปนูนโค้งกดทับลงไปบนหินดินดานซึ่งแสดงลักษณะโค้งงอตามไปด้วย ในขณะที่แนวของชั้นหินที่วางขนาบอยู่ด้านบนและที่รองรับอยู่ด้านล่าง จะวางตัวขนานกันแบบปกติ (ไม่ได้โค้งงอตาม) บนขึ้นมาปิดทับด้วยหินโคลนปนกรวด (Pebbly rocks) ของหมวดหินเกาะเฮหนาประมาณ 4 เมตร มีก้อนกรวด ประมาณ 1-5% ส่วนใหญ่ขนาดเล็กกว่า 2 ซม. เปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลน เนื้อแน่น หนา 10 เมตร บางช่วงแสดงชั้นบางๆบนขึ้นมาเปลี่ยนเป็นหินโคลนปนกรวด หนา 22 เมตร มี erosion<strong>al</strong> base bed กรวดส่วนใหญ่เล็กกว่า 1 ซม.ประกอบด้วย กรวดของ quartzite, dolomite, veinquartz แกรนิต และหินดินดาน บนขึ้นมาหนาประมาณ3 เมตร เป็นชั้นบาง (2-5 ซม. บางชั้นหนา 20 ซม.) ของหินทรายเนื้อควอตซ์ (quartz-rich sandstone) สลับกับหินดินดาน/ หินโคลน โดยชั้นหินวางตัวเอียงเทไปทิศตะวันตก (66/250) ในหินทรายมักพบ lamination,ripple mark และ load cast และเปลี่ยนขึ้นไปหินโคลนปนกรวดเนื้อแน่น หนา 5 เมตร หินโคลนแทรกสลับกับหินทราย ชั้นบาง หนา 7 เมตร และหินโคลน ชั้นบางๆหนา 2 เมตร บนขึ้นมาอีกซึ่งบริเวณนี้พื้นเปลี่ยนระดับเป็นหน้าผาลงห้วย ประกอบด้วยหินโคลน/หินดินดานปนกรวด (ชั้นบนสุด) เนื้อแน่น มีความหนาประมาณ 15เมตร กรวดที่ปนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. และมีประมาณ 5% มีการคัดขนาดไม่ดี กรวดบางก้อนโตประมาณ 10 ซม. ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!