10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน654.10.7 ลำดับชั้นหินที่บ้านแหลมไม้ไผ่ถึงหาดปลื้มสุข เกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ตที่เกาะภูเก็ต Laminated mudstone โผล่เห็นชัดเจนในหลายบริเวณ เช่น ที่แหลมไม้ไผ่ แหลมพับผ้าแหลมตุ๊กแก แหลมพันวา อ่าวพันวา และอ่าวมะขาม (รูปที่ 4.3) เป็นต้น ประกอบด้วยหินโคลนสีเทา เรียงตัวเป็นชั้นดี แทรกสลับด้วยชั้นบางๆ (ปกติหนาน้อยกว่า 1 ซม. แต่บางบริเวณอาจหนาถึง 10 ซม. ก็ได้) ของหินทรายแป้งและหินทราย สีเทา (ผุออกสีน้ำตาล) เป็นพวก par<strong>al</strong>lel bed คือความหนาของชั้นหินทางด้านข้างเปลี่ยนแปลงน้อย บางบริเวณมี Bioturbation มากโดยเฉพาะบริเวณที่มีหินทรายแทรกสลับมาก (Thinbedded sandstone and mudstone) อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายแป้งหรือหินทราย ประมาณ 1:1ถึงมากกว่า 4:1 มีการสะสมตัวเป็นแบบวัฐจักร (Cycle)โดยหินทรายที่แทรกสลับจะพบมากในส่วนล่างของcycle และหินทรายจะลดน้อยลงในส่วนบน (ทั้งความหนาและปริมาณ) รอยสัมผัสของหินทรายกับหินโคลนในส่วนล่างเป็น sharp contact สำหรับด้านบนส่วนใหญ่เป็น sharp contact มีบางส่วนเป็น gradation<strong>al</strong>contact ลักษณะโครงสร้างแบบ slumped beds พบเกิดร่วมด้วยในหลายบริเวณ เช่น ที่แหลมไม้ไผ่ แหลมตุ๊กแก และอ่าวพันวา ในบางแห่งพบโครงสร้างchannel structure ตัดเข้ามาในชั้นของ laminatedmudstone ด้วย เช่น ที่แหลมตุ๊กแก จากลักษณะดังกล่าวข้างต้นแสดงว่า Laminated mudstone เกิดสะสมตัวในทะเล (ลึก) โดยกระบวนการ Turbiditycurrent ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการสำรวจลำดับชั้นหินตามชายหาดของเกาะภูเก็ต คือช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน เพราะระดับน้ำทะเลจะต่ำ (ตอนกลางวัน) ช่วงประมาณเดือนสิงหาคมระดับน้ำทะเลในช่วงกลางวันจะสูง ทำให้ชั้นหินจมใต้น้ำ ซึ่งจะตรงข้ามกับระดับน้ำทะเลของทางฝั่งอ่าวไทยที่ตั้ง: บริเวณนี้ชั้นหินโผล่ตามแนวชายหาดของบ้านแหลมไม้ไผ่ (รูปที่ 4.3) ที่พิกัด UTM 438686Eและ 0871010N เป็นระยะทางมากกว่า 2 กิโลเมตร ชั้นหินในส่วนล่างเทียบได้กับหมวดหิน Laem Mai PhaiFormation ของ Hills (1989) และ Spillway Formationของ เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) แท่งลำดับชั้นหินตั้งแต่บ้านแหลมไม้ไผ่ถึงอ่าวปลื้มสุขแสดงไว้ในรูปที่ 4.7ลำดับชั้นหิน: ชั้นหินบริเวณนี้จัดอยู่ในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ทั้งหมด (รูปที่ 4.42) มีการสะสมตัวแบบวัฐจักร ซึ่งจะพบซ้ำหลายครั้ง หินทรายจะพบมากในส่วนล่างของวัฐจักร บนขึ้นไปหินทรายพบน้อยลงและกลายเป็นหินโคลน ล่างสุดหนาประมาณ 30 เมตร ชั้นหินวางตัวในทิศทาง 32/062 (dip direction)ประกอบด้วยการแทรกสลับกับของหินทรายและหินโคลน สีเทา ที่เป็นชั้นขนาดบาง เป็น par<strong>al</strong>lel bedsส่วนใหญ่หนาน้อยกว่า 10 ซม. และมีก้อนกรวดขนาด 1-2 ซม. ปนเล็กน้อย พวก Burrows พบทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 ซม. .วางตัวเอียงและตั้งฉากกับแนวของชั้นหิน (รูปที่ 4.43) ความหนาของชั้นหินทรายจะหนาน้อยลงในส่วนบน ในส่วนนี้มักพบโครงสร้างแบบ Thinning and fining upwardsequence (รูปที่ 4.42) และชั้นหินจะเปลี่ยนขึ้นไปเป็นlaminated mudstones สีเทา ซึ่งเป็นการแทรกสลับกันระหว่างหินโคลนกับหินทรายแป้ง ลักษณะของชั้นหินเรียงตัวสวยงามเหมือนขนมชั้น (รูปที่ 4.5) ช่วงนี้มีความหนาประมาณ 35 เมตร ในส่วนนี้จะพบโครงสร้างที่เรียกชื่อใหม่ว่า “vafour structure” (รูปที่ 4.44)เหมือนขนมเวเฟอร์ มีการเกิดที่สัมพันธ์กับชนิดของหินความหนาของชั้นหิน crack or joint ที่ถูกการกัดเซาะจากกระแสน้ำและลม และส่วนใหญ่ไม่พบโครงสร้างจาก Bioturbation ชั้นหินส่วนบน (จุดนี้เป็นโขดหินปลายแหลม) เป็น fault contact ในทิศทาง NNE-SSW(65/100) ปิดทับด้วยหินทรายที่มีสายควอตซ์ตัดผ่านมาก ถัดขึ้นไปเป็นการแทรกสลับกับของหินทรายและหินโคลน สีเทา ที่เป็นชั้นขนาดบาง หนาประมาณ 15 เมตร แล้วเปลี่ยนขึ้นไปเป็น laminated mudstonesเหมือนกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และมีรอยเลื่อนแบบปกติตัดผ่าน ส่วนนี้อยู่ทางด้านใต้ของแหลม มีความลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!