10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์99จากการสำรวจในครั้งนี้ พบว่าก้อนกรวด (clast) ใน pebbly rocks ของกลุ่มหินแก่งกระจานส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Garson <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1975) และ Tantiwanit <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1983) แต่ถ้าในเนื้อหินมีกรวดมากกว่า 10% ก็จะพบกรวดมีขนาดโตกว่า 3-5 ซม. อยู่ทั่วไป บางก้อนโตประมาณ 20 ซม. Tantiwanit <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1983) รายงานว่าที่เกาะภูเก็ตและที่เกาะพยาม จังหวัดระนองพบกรวดของแกรนิตมีขนาดโตกว่า 1 เมตร กรวดส่วนใหญ่ประกอบด้วย quartzite, sandstone, white-veinquartz, biotite granite, siltstone, dolomite,limestone, conglomerate และ schist กรวดส่วนใหญ่มีความมนแบบ subangular to subround (Tantiwanit <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,1983; Hills, 1989) โดยพวกgranite, chert, siltstone และ gneiss จะมีความมนดีกว่าเมื่อเทียบกับหินปูน Quartzite, beddedsandstone และ schist (Hills, 1989) ในขณะที่Altermann (1986) กล่าวว่าพวกก้อนเล็กจะมีความมนดีกว่าพวกก้อนขนาดใหญ่ ส่วนความกลม (sphericity)พบว่าส่วนใหญ่มีความกลมต่ำ (moderate to lowsphericity) โดยพวก granite, limestone และquartzite จะมีความกลมมากกว่าพวกอื่น โดยทั้งความมนและความกลมจะขึ้นอยู่กับชนิดของหินด้วย 5.1.3 Dropstones และ Lonestones ของกลุ่มหินแก่งกระจานDropstones หมายถึงก้อนกรวดที่พบอยู่ในหินโคลนเนื้อละเอียด โดยก้อนกรวดจะมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อหินที่มันฝังตัวอยู่มาก มีการกำเนิดเนื่องจากก้อนกรวดที่เคยอยู่บริเวณผิวน้ำร่วงลงไปสู่ก้นท้องน้ำ และเนื่องจากน้ำหนักของก้อนกรวดและความเร็ว จึงทำให้ก้อนกรวดตัดแทรกลงไปในชั้นตะกอน หลักฐานที่ใช้ในกรณีนี้จึงต้องดูว่ามีชั้นของหินโคลนถูกก้อนกรวดตัดขาดหรือไม่ นักวิจัยส่วนใหญ่ (Edwards, 1989;Eyles and Eyles, 1992; Tucker, 2003) เชื่อว่าDropstones ส่วนใหญ่เกิดจากก้อนกรวดที่เคยถูกอมอยู่ในธารน้ำแข็ง (Ice rafting) เมื่อธารน้ำแข็งลอยไปในทะเลสาบน้ำจืด/น้ำเค็มหรือในมหาสมุทร เกิดการละลายของธารน้ำแข็ง ทำให้ก้อนกรวดร่วง (Drop)ตกลงไปตัดชั้นตะกอนบนพื้นท้องน้ำ แต่นักวิจัยอีกส่วนหนึ่ง(Ojakangas, 1985) ก็เชื่อว่า Dropstones ก็เกิดจากก้อนกรวดที่ถูกพา/อุ้มไป โดยรากไม้ที่ลอยไปกลางน้ำได้ด้วย สำหรับ Lonestones หมายถึงก้อนกรวดที่มีขนาดต่างกันมากกับขนาดของเนื้อหินโคลนที่มันฝังตัวอยู่ มีลักษณะเหมือนกับ Dropstones แต่ต่างกันที่จะมีหรือไม่มีหลักฐานว่าร่วงลงมาจากบริเวณผิวน้ำหรือไม่ก็ได้ (Ojakangas, 1985)Dropstones ของกลุ่มหินแก่งกระจานพบมากบริเวณอ่าวพันวา ด้านกองเรือภาคที่ 3 กองเรือยุทธการบริเวณนี้เป็นของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ประกอบด้วยหินLaminated mudstone และ mudstones ที่แทรกด้วยชั้นบางๆ ของหินทราย ก้อนกรวดที่พบมีขนาดตั้งแต่ประมาณ 8 ซม. จนถึงขนาดประมาณ 60 ซม. เป็นกรวดของหินหลายชนิด ได้แก่ หินควอตไซต์ (พบมาก)หินทราย หินกรวดมน และหินควอตซ์ชีสต์ (รูปที่ 5.7) มีหลักฐานที่แสดงว่าก้อนกรวดเหล่านี้กดและตัดลงไปในเนื้อของหินโคลน หลักฐานอีกประการที่ก้อนกรวดประกอบด้วยหินหลากชนิดก็สนับสนุนการเกิดจากธารน้ำแข็งมากกว่าที่จะเกิดจากการพามาโดยรากไม้ ในรูปที่ 5.8 แสดงลักษณะของ Lonestones ที่พบในกลุ่มหินแก่งกระจาน มีก้อนกรวดส่วนใหญ่เป็นหินควอตไซต์ (พบมาก) และหินโดโลไมต์ ซึ่ง Lonestones ก็เป็นหลักฐานอีกอันหนึ่งที่นักวิจัยส่วนใหญ่ใช้สนับสนุนว่าเกิดจากธารน้ำแข็งลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!