10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน:ปรับปรุงใหม่โดย พล เชาว์ดำรงค์สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีบทคัดย่อรายงานฉบับนี้ ได้ปรับปรุงการจัดลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานขึ้นใหม่ เนื่องจากเดิมยังมีความสับสนทั้งด้านการเรียกชื่อหมวดหิน ด้านอายุของหมวดหิน และสภาวะแวดล้อมของการสะสมตัวว่าเป็นอย่างไรการจัดลำดับชั้นหินในครั้งนี้มีข้อมูลและเนื้อหาสอดคล้องกับเกณฑ์ของคณะกรรมาธิการลำดับชั้นหินนานาชาติ (Internation<strong>al</strong> Commission on Stratigraphy) กลุ่มหินแก่งกระจานโผล่ให้เห็นได้ดีบริเวณด้านตะวันตกของไทยตั้งแต่พื้นที่ของจังหวัดกาญจนบุรีลงไปตลอดคาบสมุทรไทย ถึงจังหวัดภูเก็ต เกิดสะสมตัวบนแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทย (Shan-Thai terrane) ได้คัดเลือกพื้นที่ทำการศึกษาจำนวน 20 แหล่ง ในจำนวนนี้ 2 แหล่งเป็นการศึกษาลำดับชั้นหินที่รองรับอยู่ใต้ชั้นหินยุคเพอร์เมียน ผลจากการศึกษาด้านลำดับชั้นหิน ด้านบรรพชีวินและด้านตะกอนวิทยา สรุปได้ว่ากลุ่มหินแก่งกระจาน มีอายุในช่วง Asselian ถึง Kungurian (Early Permian) ประกอบด้วย 5 หมวดหิน เรียงลำดับจากล่างขึ้นบนคือ หมวดหินแหลมไม้ไผ่ เป็นหินทรายสลับกับหินโคลน แสดงแนวชั้นหินเด่นชัด มีร่องรอยซากดึกดำบรรพ์พวก Cruziana ichnofacies มาก และแสดงหลักฐานของ Dropstones ที่ชัดเจนหมวดหินสปิลเวย์ พบเป็นบางบริเวณโดยเฉพาะด้านอ่าวไทย เป็นหินทรายสลับหินโคลน เกิดในทะเลตื้นจากกระแสน้ำขุ่นข้น หมวดหินเกาะเฮ พบอย่างกว้างขวาง ประกอบด้วย Pebbly rocks จากกระบวนการ debrisflows หมวดหินเขาพระ พบอย่างกว้างขวาง เป็นหินโคลนสลับด้วยชั้นบางของหินทราย และมักพบชั้นของBryozoa, Crinoid และหมวดหินเขาเจ้า มีลักษณะเด่นเป็นหินทรายที่มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นแร่ควอตซ์ ในบริเวณที่ไม่มีการสะสมตัวของหมวดหินสปิลเวย์ ชั้นหินของหมวดหินแหลมไม้ไผ่จะปิดทับด้วยของหมวดหินเกาะเฮ กลุ่มหินแก่งกระจานประกอบด้วยชุดลักษณะ (Facies) 9 ชนิด บ่งว่าชั้นหินส่วนล่างสะสมตัวในสภาวะแวดล้อมแบบ Glaciomarine จากตะกอนขุ่นข้นของ Submarine fans ในทะเลค่อนข้างลึกบริเวณ outer shelf ถึง basin plain และในส่วนบนเปลี่ยนเป็นชั้นหินที่สะสมตัวในทะเลตื้น ที่มีลมพายุเป็นครั้งคราวกลุ่มหินแก่งกระจานจะถูกปิดทับอย่างต่อเนื่องด้วยหินปูนของกลุ่มหินราชบุรี ในปัจจุบันพบลำดับชั้นหินเช่นนี้กระจายตัวเป็นแนวยาวในแนวประมาณเหนือ-ใต้ จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านตะวันตกเฉียงใต้ลงมาประเทศเมียนมาร์ ไทย และมาเลเซีย รายงานฉบับนี้ได้เสนอเหตุการณ์ Late Carboniferous Hiatus ไว้ในลำดับชั้นหินของคาบสมุทรไทย แสดงว่าในช่วงเวลาดังกล่าวแผ่นเปลือกโลกนี้มีการยกตัวและเกิดการสึกกร่อนแผ่นเปลือกโลกชาน-ไทยได้แยกตัวออกมาจาก Gondwana อย่างช้าในช่วง Early Permian มีลักษณะของแอ่งแยกตัว (Rifted basins) เป็นแบบ H<strong>al</strong>f graben โดยมีด้าน escarpment อยู่ทางด้าน Gondwana มีหลักฐานสนับสนุนการแปลความหมายคือทิศการไหลของกระแสน้ำโบราณ ลักษณะของ ตะกอนที่เกิดแบบ Gravity flowsและลักษณะของก้อนกรวด คำสำคัญ: กลุ่มหินแก่งกระจาน หมวดหินแหลมไม้ไผ่ หมวดหินสปิลเวย์ หมวดหินเกาะเฮ หมวดหินเขาพระ หมวดหินเขาเจ้า Late Carboniferous Hiatus, Shan-Thai terrane

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!