10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

72บทที่ 44.10.9 ลำดับชั้นหินที่อ่าวบ้านแหลมตุ๊กแกด้านตะวันออก เกาะสิเหร่ที่ตั้ง: บริเวณนี้เป็นชายหาดด้านตะวันออกของบ้านแหลมตุ๊กแก อยู่บนเกาะสิเหร่ อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต (รูปที่ 4.3) พิกัด UTM 437000E870200N ระวางแผนที่จังหวัดภูเก็ต (4624 I) ลำดับชั้นหิน: ลำดับชั้นหินทั้งหมดจัดอยู่ในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ส่วนล่างอยู่ใกล้หมู่บ้าน ชั้นหินเอียงไปทางทิศตะวันออก (30/082) โดยภาพรวมหินทั้งหมดเป็น Laminated mudstone (รูปที่ 4.49) สีเทาเป็นชั้นบาง (par<strong>al</strong>lel bed) แต่ต่างตรงที่ปริมาณของหินทรายแป้งที่แทรกสลับจะลดน้อยลงในส่วนบน แสดงลักษณะโครงสร้าง fining upward sequence กล่าวคือในส่วนล่างหนา 30 เมตร มีอัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายแป้งประมาณ 4:1 บนขึ้นไปหนา 21 เมตร เป็นLaminated mudstone ที่มีอัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายแป้งประมาณ 10:1 (รูปที่ 4.50) และบนขึ้นไปหนาประมาณ 10 เมตร เป็น Laminated mudstone ที่มีอัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายแป้งมากกว่า 10:1บนขึ้นไปหนา 7 เมตร อัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายประมาณ 1:1 โดยหินทรายหนาชั้นละประมาณ 1-2 ซม. พบ Burrows มาก และพบslumped bed ด้วย Burrows มักพบในบริเวณที่มีหินทรายสลับกับหินโคลน ในขณะที่ส่วนที่เป็นหินโคลนชั้นบางๆ หรือ Laminated mudstone มักไม่พบburrow เดินไปตามชายหาด (ไปทางด้านตะวันออก)เป็นเขาลูกกลาง บริเวณนี้มีรอยสัมผัสแบบรอยเลื่อนในแนว NE-SW และเป็นหินโคลนปนกรวด (pebblymudstone) สีเทา ของหมวดหินเกาะเฮ เป็นที่น่าสังเกตว่าบริเวณเกาะภูเก็ต รวมถึงอ่าวพังงา บริเวณนี้จะมีรอยเลื่อนเด่นในแนว NE-SW และ NW-SE รูปร่างของเกาะต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีแนวอยู่ในโครงสร้างดังกล่าวด้วย4.10.10 ลำดับชั้นหินบริเวณแหลมพับผ้าเกาะสิเหร่ที่ตั้ง: บริเวณนี้เป็นชายหาดด้านตะวันออกของแหลมพับผ้า (บางรายงานเรียกแหลมศิลาพันธ์ ชาวบ้านเรียกแหลมกลาง) อยู่บนเกาะสิเหร่ อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต (รูปที่ 4.3) พิกัด UTM 438000E869700N ระวางแผนที่จังหวัดภูเก็ต (4624 I) จุดนี้อยู่ต่อเนื่องจากข้อ 4.10.9 มาทางด้าน SE ซึ่งเป็นส่วนของปลายแหลม ลำดับชั้นหิน: ชั้นหินโผล่เห็นดีตามชายหาดรอบปลายแหลมพับผ้า บริเวณนี้มี 2 หมวดหิน (รูปที่4.51) ในส่วนล่างเป็นหินโคลนปนกรวดของหมวดหินเกาะเฮ หนามากกว่า 60 เมตร กรวดบางก้อนโต 20 ซม.เป็นหินควอตไซต์ ชั้นหินค่อยเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลนเนื้อแน่น หนาประมาณ 6 เมตร อาจพบกรวดบ้างเล็กน้อย และเปลี่ยนเป็นหินโคลนปนกรวด หนา 4 เมตรซึ่งเปลี่ยนขึ้นไปเป็นหินโคลน เนื้อแน่น หนา 5 เมตร บนขึ้นไปเป็นหมวดหินแหลมไม้ไผ่ หินเปลี่ยนเป็นlaminated mudstone สีเทา เป็นชั้นบาง มีความต่อเนื่องทางด้านข้างดี (par<strong>al</strong>lel bed) มีอัตราส่วนของหินโคลนต่อหินทรายประมาณ 1:1 ถึง 2:1 ชั้นหินวางตัวในทิศ 54/140 ในส่วนบนหนามากกว่า 60 เมตรเป็นพวก laminated mudstone (เหมือนส่วนล่าง) ในบางช่วงปริมาณของหินทรายที่แทรกสลับจะมากขึ้น ในหินทรายมักพบแร่ hematite เข้าไปแทนที่ในผลึกรูปเต๋าของแร่ไพไรต์ ซึ่งพบทั่วไปRevised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!