10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์935) Turbidite sandstones faciesประกอบด้วยหินทราย เนื้อหยาบถึงละเอียดปานกลางเป็นชั้นหนาขนาดปานกลางถึงชั้นหนา หินทรายมีส่วนประกอบของแร่ควอตซ์สูง ในหินทรายมีโครงสร้างบางส่วนของ Bouma sequence (รูปที่ 5.3) เช่นgraded bed, planar lamination และ crossstratification บางกรณี Ta (graded bed) หนา 10 ซม.เปลี่ยนขึ้นไปหา Tb (planar lamination) หนา 10 ซม.แล้วเปลี่ยนกลับเป็น Ta หรืออีกกรณีวัฐจักรอาจเริ่มด้วยTa (graded bed) หนา 10 ซม. เปลี่ยนเป็น Tb (planarlamination) หนา 25 ซม. และปิดทับด้วย Tc (crossstratification) หนา 15 ซม. มักพบ Facies นี้วางตัวบนConglomerate facies การแผ่กระจายและเทียบเคียง: Turbiditesandstones facies พบในหมวดหินสปิลเวย์ เช่น ที่แหลมทาบ สุราษฎร์ธานี และที่ฝายน้ำล้น เขื่อนแก่งกระจานการแปลความหมาย: Bouma sequence เป็นโครงสร้างชั้นหินที่สะสมตัวจากตะกอนที่ถูกพัดพาภายใต้อิทธิพลของ Turbidity cur rent ซึ่งเกิดได้ทั้งในน้ำทะเลและน้ำจืด ทั้งในน้ำลึกและน้ำตื้น Bouma Ta เชื่อว่าเกิดสะสมตัวโดยกระบวนการ High concentrationflow ในขณะที่ Bouma Tb-e เกิดจากพวก Lowconcentration flow (Pickering <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1989, p 20)ในกรณีนี้ จากลักษณะของหิน ที่วางตัวอยู่ด้านบนและด้านล่างสนับสนุนว่าเป็นน้ำทะเล และจากการพบว่ามีMudstone with lenticular bedding facies วางตัวอยู่ด้านบน เช่น ที่แหลมทาบ ก็บ่งว่า Facies นี้เกิดในน้ำทะเลตื้น หลักฐานอีกประการที่สนับสนุนว่าเป็นน้ำทะเลตื้นคือหินทรายมี maturity ดี ในรายงานของกรมทรัพยากรธรณี (2544) ที่ระบุว่าบริเวณแหลมทาบมีโครงสร้าง Hummocky cross stratification ซึ่งเป็นturbidites ที่เกิดในน้ำตื้นจากลมพายุก็สนับสนุนการแปลความหมายในครั้งนี้ 6) Massive mudstones faciesประกอบด้วยหินโคลน สีเทาดำ เนื้อเป็นมวลหนา ไม่แสดงลักษณะการเรียงตัวของเนื้อหิน จะคล้ายกับหินโคลนปนกรวดต่างที่ไม่มีก้อนกรวด จึงมักพบสะสมตัวต่อเนื่องมาจาก Pebbly rocks facies และมักพบเกิดร่วมกับ Thin bedded sandstones and mudstonesfacies ในช่วงที่หินทรายเป็นชั้นบางๆ การแผ่กระจายและเทียบเคียง: Massivemudstones facies พบทั่วไปในบริเวณที่มีหิน Pebblyrocks เช่น ที่เกาะเฮ และที่แหลมพันวา การแปลความหมาย: การพบหินโคลนวางตัวต่อเนื่องอยู่บนหินโคลนปนกรวดที่เกิดจากกระบวนการGravity flow แสดงว่าหินโคลนก็เป็นผลจาก Gravityflow ด้วย เมื่อตะกอนของหินโคลนซึ่งประกอบด้วยตะกอนขนาดเม็ดโคลนถึงเม็ดทรายถูกพัดพาไปตามslope โดย turbidity current หินโคลนเนื้อเป็นมวลหนาจะเริ่มสะสมตัวก่อน ไกลออกไปทางปลายน้ำจะเกิดการแยกตัวของชั้นตะกอน ให้การสะสมตัวของหินโคลนสลับกับหินทรายแป้งหรือหินทราย ซึ่งหลักการนี้จะสอดคล้องกับหลักฐานที่พบในภาคสนาม ที่มักพบว่าMassive mudstones facies เกิดร่วมกับ Pebblyrocks facies และ Thin bedded sandstones andmudstones faciesลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!