10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

การวิเคราะห์ด้านตะกอนวิทยาและซากดึกดำบรรพ์103ในกลุ่มหินแก่งกระจาน พบร่องรอยของซากดึกดำบรรพ์หรือ Burrows มากในหมวดหินแหลมไม้ไผ่ เช่นที่หาดบ้านแหลมไม้ไผ่ แหลมพับผ้า แหลมตุ๊กแกพบมากในส่วนของ Thin-bedded sandstones andmudstones facies เป็นพวก Cruziana ichnofaciesเช่น Planolites, Teichichnus และ Phycodes (รูปที่5.9 และ 5.10) พวก Planolites ที่พบในส่วนนี้มีลักษณะเป็นแท่งรูปกระบอกกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.5 ซม.วางตัวทั้งขนานและเอียงทำมุมกับแนวชั้นหินส่วน Planolites ที่พบใน laminated mudstone faciesนั้น จะวางตัวขนานกับแนวชั้นหินและมีขนาดเล็กว่า คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. หรือเล็กกว่า (รูปที่5.9ค และ 5.10ก) นอกจากนี้ Ampaiwan <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (2004)ก็รายงานว่าร่องรอยของซากดึกดำบรรพ์พวก Cruzianaichnofacies ในกลุ่มหินแก่งกระจาน ที่เกาะภูเก็ตด้วยและข้อมูลจากการสอบถาม นายวัฒนา ตันเสถียร ก็พบTeichichnus ที่ชายหาดเขาตาม่องล่าย สำหรับSkolithos นั้นพบในส่วนบนของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ ที่แหลมทาบ นครศรีธรรมราช เป็นแท่งกระบอกทรงกลมยาวประมาณ 15 ซม. วางเกือบตั้งฉากกับชั้นหิน แสดงถึงกระแสน้ำที่ไม่สงบนิ่ง5.1.6 สภาวะแวดล้อมการสะสมตัวของกลุ่มหินแก่งกระจานผลการศึกษาที่ทำมาก่อนสำหรับกลุ่มหินแก่งกระจาน (หรือบางรายงานเรียกกลุ่มหินภูเก็ต) มีการแปลผลงานศึกษาทางด้านตะกอนวิทยาออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือกลุ่มที่เชื่อว่าเกิดสะสมตัวในน้ำทะเลตื้นและมีกระบวนการ Gravityflow เกิดร่วมด้วย แต่ไม่เกี่ยวข้องกับ Glaciomarineenvironment (Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,1970; Grason <strong>et</strong> <strong>al</strong>.,1975; Sawata <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1975; Altermann, 1987) อีกกลุ่มเชื่อว่าเกิด การสะสมตัวภายใต้อิทธิพลของGlaciomarine environment และมี Gravity flow เกิดร่วมด้วย (Ridd, 1971; Stauffer and Mantajit, 1981;Bunopas, 1981; Hills, 1989; เลิศสิน รักษาสกุลวงศ์และ ธนิศร์ วงศ์วานิช, 2536; Ampaiwan <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 2004)อย่างไรก็ตามความคิดเห็นประการหลังค่อนข้างได้รับการยอมรับมากในปัจจุบัน รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากการศึกษาด้านซากดึกดำบรรพ์และทางธรณี เคมีด้วย (Rao, 1988; Fontaine and Sute<strong>et</strong>horn, 1988)โดย Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) และ Grason <strong>et</strong> <strong>al</strong>.(1975) ทำการศึกษาชั้นหินบริเวณคาบสมุทร์ไทยโดยเฉพาะที่เกาะภูเก็ตและพังงา แบ่งหิน “กลุ่มหินภูเก็ต” (ซึ่งหมายรวมถึงหินทุกชนิดที่อยู่ใต้หินปูนเพอร์เมียน)ออกเป็น 8 facies และแปลจากลักษณะของหินและซากดึกดำบรรพ์ ว่าสะสมตัวในทะเลน้ำตื้นถึง Slopedeposits และให้เป็น Geosynclin<strong>al</strong> deposits ซึ่งสนับสนุนโดย Sawata <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1975) ที่ทำการศึกษาลำดับชั้นหินที่เขาพระ จังหวัดราชบุรี สรุปว่าชั้นหินมีการสะสมตัวจาก turbidity current ซึ่งเทียบลักษณะได้กับUpper Formation ของ Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970)ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน: ปรับปรุงใหม่

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!