10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

บทที่7สรุป และข้อเสนอแนะ1. ด้านลำดับชั้นหิน ได้ปรับปรุง (revised)การจำแนกลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน และของกลุ่มหินราชบุรี ให้มีความชัดเจนและเป็นตามมาตรฐานสากล โดยกลุ่มหินแก่งกระจาน ประกอบด้วย 5หมวดหิน เรียงลำดับจากล่างขึ้นบน คือ หมวดหินแหลมไม้ไผ่ พบมากบริเวณเกาะภูเก็ต เป็นหินทรายสลับกับหินโคลน เป็นชั้นดี มี Burrows พวก Cruziana ichnofaciesมาก และเปลี่ยนขึ้นไปเป็น Laminated mudstonesลักษณะเช่นนี้พบเกิดซ้ำอย่างน้อย 2 ครั้ง หมวดหินสปิลเวย์ พบบางบริเวณโดยเฉพาะด้านอ่าวไทย เป็นพวกหินทรายสลับหินโคลน ที่เกิดในทะเลตื้นจากกระแสน้ำขุ่นข้น (Turbidity current) หมวดหินเกาะเฮ พบอย่างกว้างขวาง ประกอบส่วนใหญ่ด้วยหินโคลนปนกรวด ที่เกิดจากกระบวนการ debris flows เป็นลักษณะเด่นของกลุ่มหินแก่งกระจาน หมวดหินเขาพระ พบอย่างกว้างขวาง เป็นหินโคลนสลับด้วยชั้นบางของหินทรายและมักพบชั้นของซากดึกดำบรรพ์พวก Bryozoa bedsและหมวดหินเขาเจ้า มีลักษณะเด่นเป็นหินทรายที่มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นแร่ควอตซ์ เกิดสะสมตัวในทะเลตื้น บางช่วงมีตะกอนที่เกิดจากลมพายุ2. ด้านซากดึกดำบรรพ์ ในภาพรวมซากดึกดำบรรพ์ ยุคเพอร์เมียนของพื้นที่วิจัยเป็นพวกLow diversity แต่บางชนิดอาจพบเป็นจำนวนมากด้าน Cor<strong>al</strong>s ได้เก็บตัวอย่างใน 8 พื้นที่ จำนวน 20ตัวอย่าง (ตารางที่ 6.2) พบว่าส่วนใหญ่เป็นพวกTabulata และ solitary cor<strong>al</strong>s ด้าน Brachiopods ได้เก็บตัวอย่างจาก 15 พื้นที่ พบ Brachiopods มากกว่า290 ตัวอย่าง จำแนกได้เป็น 37 สกุล แต่พบมากเป็นบางสกุล (ตารางที่ 6.3 และ 6.4) ด้าน Fusulinids ได้เก็บตัวอย่างในกลุ่มหินราชบุรีจาก 4 พื้นที่ จำนวน 13ตัวอย่าง (ตารางที่ 6.5) สรุปที่พบในกลุ่มหินแก่งกระจานมีอายุ Sakmarian to Artinskian ส่วนที่พบในกลุ่มหินราชบุรีมีอายุ Wordian (Murgabian) และบางส่วนอาจแก่ถึง Roadian เมื่อผสานกับการทบทวนผลงานที่มีมาก่อน สรุปได้ว่ากลุ่มหินแก่งกระจานมีอายุช่วงAsselian to Kungurian (Bolorian) หรือ EarlyPermian สำหรับกลุ่มหินราชบุรีมีอายุในช่วง Rodianto Wuchiapingian (Dzhulfian) หรือ Middle to LatePermianหลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ และผลวิเคราะห์ทางเคมี บ่งว่าช่วง Early Permian Shan-Thai terrane,Baoshan block และ Tengchong block มีสภาพอากาศที่หนาวเย็น (Cool climate) แสดงว่าอยู่ใกล้Gondwana และในช่วง Wordian แผ่นเปลือกโลกทั้งสามได้เคลื่อนตัวขึ้นมาทางทิศเหนืออยู่ในสภาพแวดล้อมแบบ Warm-Temperate area ระหว่างCathaysia กับ Gondwana และได้เคลื่อนที่มาอยู่ในบริเวณเส้นละติจูดต่ำในช่วง Early Wuchiapingian (จาก Shanita) ในขณะที่ Indochina terrane มีfusuline มากมายแต่ไม่พบ Shanita แสดงแผ่นเปลือกโลก Shan-Thai และ Indochina ยังอยู่ห่างกัน3. ด้านตะกอนวิทยา ได้แบ่งหินของกลุ่มหินแก่งกระจานออกเป็น 9 lithofacies คือ 1) Thinbedded sandstones and mudstones,

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!