10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

บทที่1บทนำ และข้อมูลทั่วไป (Introduction and Gener<strong>al</strong> Information)ลำดับชั้นหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบนของพื้นที่ภาคใต้ เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว เพราะมีลักษณะเด่นประกอบด้วย หินดินดานเนื้อปนกรวด (pebblyrocks) หินดินดาน หินทรายเนื้อควอตซ์ และในหลายพื้นที่มีซากดึกดำบรรพ์ bryozoan และ brachiopod มากซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญในการอ้างเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันพบลำดับชั้นหินนี้แผ่กระจายเป็นแนวยาวมากกว่า1,000 กิโลเมตร จากมาเลเซีย ผ่านภาคใต้และด้านตะวันตกของไทย เข้าไปในด้านตะวันออกของเมียนมาร์ด้านตะวันตกของยูนนานและทิเบต แต่ลำดับชั้นหินดังกล่าวนี้ก็ยังมีความสับสนด้านการแบ่งลำดับชั้นหิน รวมทั้งด้านอายุและสภาวะแวดล้อมของการสะสมตัวของหน่วยหิน สำหรับประเทศไทยมีชื่อเรียกลำดับชั้นหินดังกล่าวนี้รวมอยู่ในหลายชื่อ แตกต่างกันไปตาม สถานที่และตามคณะผู้ศึกษาวิจัย เช่น กลุ่มหินแก่งกระจาน (Piyasin, 1975b) กลุ่มหินภูเก็ต (Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>., 1970) กลุ่มหินอันดามัน กลุ่มหินตะนาวศรี เป็นต้นกลุ่มหินเหล่านี้ยังแบ่งย่อยออกเป็นอีกหลายหมวดหินซึ่งทำให้เกิดความสับสนทางวิชาการและยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลของการตั้งชื่อลำดับชั้นหินที่แนะนำไว้ในรายงาน “Internation<strong>al</strong> Stratigraphic Guide” จัดทำโดย Internation<strong>al</strong> Commission on Stratigraphy (ICS) รวมทั้งในแผนที่ธรณีวิทยามาตรส่วน 1:50,000และ 1:250,000 ของกรมทรัพยา กรธรณีก่อนปี 2547 ก็ไม่ได้แบ่งย่อยลำดับชั้นหินดังกล่าวให้อยู่ในระดับหมวดหิน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากข้อมูลการแบ่งลำดับชั้นหินยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน จึงไม่สนับสนุนให้มีการนำไปใช้ในภาคปฏิบัติ อีกทั้งขาดการรวบรวมและประมวลข้อมูลเข้าด้วยกัน ทำให้การเทียบเคียงเพื่อหาความสัมพันธ์กับพื้นที่อื่นอันเป็นหัวใจสำคัญของการแปลความหมายมีความไม่แน่นอน ในหนังสือธรณีวิทยาประเทศไทย (กรมทรัพยากรธรณี, 2544) ให้ชื่อกลุ่มหินแก่งกระจาน (Kaeng KrachanGroup) เป็นชื่อแบบทางการ (Form<strong>al</strong> name) ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน ถูกนำไปเป็นหลักฐานที่สำคัญ ต่อการแปลความหมายทางธรณีเทคโทนิกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (มาเลเชีย ไทย เมียนมาร์ และจีน) และที่สำคัญต่อประวัติความเป็นมาของแผ่นเปลือกโลกของไทย ว่ามีความเป็นมาอย่างไร และรวมตัวเป็นประเทศไทยได้อย่างไร ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการรวบรวมและจัดลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานขึ้นมาใหม่ ให้มีรายละเอียดและเป็นไปตามข้อแนะนำตามมาตรฐานสากล รวมทั้งประเด็นเรื่องอายุว่ากลุ่มหินแก่งกระจานควรมีอายุในช่วงใด เกิดสะสมตัวในสภาพแวดล้อมแบบไหน มีสภาพทางธรณีเทคโทนิกเป็นแบบใด ทั้งนี้เพื่อให้การนำไปใช้มีความถูกต้องทางวิชาการมากยิ่งขึ้น ในรายงานฉบับนี้ เป็นการขยายผลงานของ พล เชาว์ดำรงค์ และคณะ (2547) ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น รวมทั้งนำข้อมูลที่ได้

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!