10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

22บทที่ 22.3 ด้านตะกอนวิทยาและสภาวะแวดล้อมการสะสมตัวของกลุ่มหินแก่งกระจานกลุ่มหินแก่งกระจาน มีผลงานที่ศึกษาทางด้านFacies ที่มีการอ้างถึงกันมากอยู่ 3 รายงานคือ Mitchell<strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970), Altermann (1987) และ Hills (1989) แต่ทั้ง 3 รายงานใช้ชื่อกลุ่มหินว่า กลุ่มหินภูเก็ต (Phuk<strong>et</strong>Group) ทั้งนี้เพราะชั้นหินโผล่เห็นได้ดีบริเวณจังหวัดภูเก็ต ทั้ง Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) และ Altermann (1987) สรุปว่าหินเกิดจากการสะสมตัวแบบ gravityflow deposits เพียงอย่างเดียว ในขณะที่ Hills (1989)สรุปว่าเกิดสะสมตัว gravity flow deposits ด้วยเช่นกันแต่ภายใต้อิทธิพลของ glaciation สำหรับส่วนบนของกลุ่มหินแก่งกระจานนั้น ทั้ง 3 รายงานเห็นพร้องกันว่าเกิดสะสมตัวในน้ำทะเลตื้นกลุ่มหินภูเก็ต ตั้งชื่อโดย Mitchell <strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) แต่ตอนนั้นหมายรวมถึงหินทรายของกลุ่มหินตะรุเตา และหินปูนของกลุ่มหินทุ่งสงเข้าไปด้วย และได้แบ่งกลุ่มหินภูเก็ตออกเป็น หมวดหินชุดล่าง (Lowerformation) และ หมวดหินชุดบน (Upper formation)และแยกออกได้เป็น 8 ลักษณะปรากฏ (Facies) ดังนี้ (กรมทรัพยากรธรณี, 2544)1) ชั้นหินโคลนที่มีลักษณะเป็นชั้นบางๆ (Laminated Mudstone) ประกอบด้วย หินโคลน หรือหินทรายแป้ง เป็นชั้นบางๆ สลับกับหินทราย ในส่วนล่างของชั้นหินทรายจะมีรอยสัมผัสแบบเด่นชัด (sharpcontact)บนหินโคลน แต่ในส่วนบนของชั้นหินทรายอาจมีลักษณะรอยสัมผัสแบบเรียงขนาด (gradation<strong>al</strong> contact)และแสดงลักษณะรอยริ้วคลื่น หินโคลนจะมีสีเทาดำเนื้อละเอียด มีการรบกวนจากสิ่งมีชีวิต (bioturbation) และร่องรอยของสัตว์ (trace fossil) ในหินทรายและหินโคลนแสดงถึงการสะสมตัวในน้ำทะเลตื้น 2) ชั้นหินโคลนปนกรวด (Pebbly Mudstone)หินโคลนปนกรวดนี้เป็นชนิดหินที่พบมากที่สุดในกลุ่มหินภูเก็ต โดยมีลักษณะเป็นหินที่มีเนื้อเป็นโคลนหรือทรายแป้ง ซึ่งเป็นชั้นหนาถึง 40 เมตร และมีกรวดขนาด1-15 เซนติเมตร ปะปนอยู่ด้วย ไม่มีการเรียงตัวของกรวดหินชนิดนี้วางตัวบนผิวที่มีการกัดกร่อนของชั้นหินลักษณะปรากฏชนิดอื่นของกลุ่มหินภูเก็ต ซึ่งแสดงถึงการกัดกร่อนเป็นร่องก่อนการสะสมตัวของหินโคลนปนกรวด หินโคลนปนกรวดนี้น่าจะเกิดจาก mass flowdeposit3) Turbidites ประกอบด้วยหินทรายเป็นชั้นบาง สลับกับหินโคลน ลักษณะชั้นบนและชั้นล่างขนานกัน ชั้นหินทรายแต่ละชั้นจะมีความหนาตั้งแต่ 2-15 เซนติเมตร และแสดงลักษณะเรียงขนาด ส่วนบนของชั้นมักแสดงชั้นเฉียงระดับ ในส่วนล่างลักษณะ loadstructure มักพบเห็นทั่วไปหินชนิดนี้ตกตะกอนภายใต้อิทธิพลของกระแสขุ่นข้น4) Slump Unit ประกอบด้วยหินทราย และหินโคลนสลับกัน ชั้นหินของหน่วยหินนี้จะมีลักษณะบิดเบี้ยวและคดโค้ง ความหนาของหินหน่วยนี้จะมากที่สุดประมาณ 5 เมตร ไม่เป็นรูปร่างแน่นอน เกิดจากการเลื่อนตัวของชั้นตะกอนขณะที่ยังไม่แข็งตัว 5) หินปูน (Limestone) หินคาร์บอเนต พบน้อยมากในกลุ่มหินภูเก็ต โดยพบหินปูนเนื้อดิน สีเทาเข้ม บริเวณริมถนนสายตะกั่วป่า-สุราษฎร์ธานี ห่างจากยอดสูงสุดไปทางตะวันตกประมาณ 200 เมตร ใกล้บ้านสก หินปูนที่พบมักเป็นกระเปาะอยู่กับหินโคลน ไม่พบซากดึกดำบรรพ์ในหินปูนนี้6) หินทรายและหินกรวดมน (Well-sortedSandstone and Conglomerate) ประกอบด้วยหินกรวดมน ซึ่งความหนาของชั้นหินมีการเปลี่ยนแปลงมาก วางตัวอยู่บนผิวที่มีการกัดกร่อน และวางตัวรองรับหินทราย เป็นกระเปาะอยู่ในหินทราย บางแห่ง ไม่พบหินกรวดมนและพบว่าหินทรายวางตัวบนผิวที่มีการกัดกร่อนโดยตรง ในช่วงบนเป็นหินทรายเนื้อไมกา จากการที่พบลักษณะผิวที่มีการกัดกร่อน ความหนาของชั้นหินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการเรียงขนาดจากหินกรวดมนเป็นหินทราย ซึ่งมีชั้นหินเฉียงระดับแสดงถึงการสะสมตัวแบบ channel deposits7) Bryozoan Beds หินหน่วยนี้พบหลายแห่งในบริเวณช่วง 100-200 เมตร จากชั้นล่างของหินปูนราชบุรี ซึ่งเป็นหินทรายแป้งและหินโคลนเนื้อปนปูนประกอบด้วยซากดึกดำบรรพ์ bryozoan, crinoid stem,Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!