10.07.2015 Views

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

et al. - สืบค้น แบบ ไล่ เรียง - กรมทรัพยากรธรณี

SHOW MORE
SHOW LESS
  • No tags were found...

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

42สัญญาลักษณ์ที่ใช้อธิบายความหมายของแท่งลำดับชั้นหินของรายงานฉบับนี้แสดงไว้ในรูปที่ 4.24.4ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจาน และอายุจากเหตุผลที่กล่าวข้างต้นในหัวข้อ 4.1-4.3 ถึงความเด่น เป็นเอกลักษณ์ของลำดับชั้นหินของหินทรายเนื้อควอตซ์ และ Thin bedded sandstone และmudstone และ Laminated mudstone รวมทั้งLater<strong>al</strong> facies change ทำให้ลำดับชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานบริเวณฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งอ่าวไทยมีลักษณะไม่เหมือนกัน แม้ว่าทั้งสองบริเวณ พบชั้นหินของกลุ่มหินแก่งกระจานต่อเนื่องขึ้นไปหาหินปูนของกลุ่มหินราชบุรี ในรายงานฉบับนี้ให้ กลุ่มหินแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Group) ประกอบด้วย 5หมวดหิน เรียงตามลำดับจากอายุมากไปหาน้อย คือหมวดหินแหลมไม้ไผ่ (Laem Mai Phai Formation)หมวดหินสปิลเวย์ (Spillway Formation) หมวดหินเกาะเฮ (Ko He Formation) หมวดหินเขาพระ (KhaoPhra Formation) และหมวดหินเขาเจ้า (Khao ChaoFormation) โดยหมวดหินสปิลเวย์พบสะสมตัวเฉพาะบางบริเวณ ดังนั้นในบางพื้นที่กลุ่มหินแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Group) จะประกอบด้วย 4 หมวดหิน เรียงตามลำดับจากอายุมากไปหาน้อย คือ หมวดหินแหลมไม้ไผ่ หมวดหินเกาะเฮ หมวดหินเขาพระ และหมวดหินเขาเจ้า ดังแสดงในตารางที่ 4.1อายุของกลุ่มหินแก่งกระจานจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ตีพิมพ์เผยแพร่เกี่ยวกับอายุเริ่มต้นของกลุ่มหินแก่งกระจาน ดังได้นำเสนอในรายละเอียดแล้วในหัวข้อ 3.4 สรุปได้ว่าในคาบสมุทรไทย หรือThai Peninsula ยังไม่เคยมีการพบซากดึกดำบรรพ์ของยุค Upper Carboniferous มาก่อน ซากดึกดำบรรพ์ที่พบมีอายุมากสุดคือ Lower Permian (Late Asselian / EarlySakmarian) ดังนั้น อายุของกลุ่มหินแก่งกระจานจึงเริ่มต้นที่ Lower Permianบทที่ 44.5 หมวดหินแหลมไม้ไผ่ชื่อและการเทียบเคียงกับหน่วยหินอื่น: หมวดหินแหลมไม้ไผ่ (Laem Mai Phai Formation) ตั้งโดย Hills(1989) มีตำแหน่งหินแบบฉบับอยู่ที่แหลมไม้ไผ่ จังหวัดภูเก็ต (รูปที่ 4.3) เทียบเคียงได้กับหมวดหินเขาวังกระดาด และหมวดหินสปิลเวย์ ของเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ และธนิศร์ วงศ์วานิช (2536) และกรมทรัพยากรธรณี (2544), Lower Formation ของ Mitchell<strong>et</strong> <strong>al</strong>. (1970) หมวดหินห้วยพุน้อย (Huai Phu NoiFormation) ของ Piyasin (1975b), Khlong Kaphonformation ของ Burton (1986)ลักษณะหินและลำดับชั้นหิน: ในส่วนล่างเป็นการสลับกันของหินทรายกับหินโคลน (Thinbedded sandstone and mudstone) อัตราส่วนของหินทรายต่อหินโคลนประมาณ 2:1 ถึง 1:1 หินทราย สีเทาเขียว เนื้อละเอียดปานกลาง เป็นชั้นบาง ส่วนใหญ่หนาน้อยกว่า 10 ซม. แต่บางชั้นอาจหนา 20 ซม. และมักมี Burrows ทั่วไปทั้งพวกมีแนวรูวางตัวในแนวราบ (horizont<strong>al</strong>) และเฉียงกับแนวราบ (รูปที่ 4.4) ส่วนใหญ่ความหนาของชั้นหินของหินทรายจะน้อยลง (บางขึ้น)ในส่วนบน หินโคลน มีสีเทา เป็นชั้นบาง บางช่วงแสดงlamination เช่นที่แหลมไม้ไผ่ ในส่วนบนของหมวดหินชั้นหินเปลี่ยนไปเป็นหินโคลน (laminated mudstone)มีการเรียงตัวอย่างดีแบบ lamination (รูปที่ 4.5) ชั้นหินแสดงลักษณะของ Bouma sequence ที่พบมี sharpbased and par<strong>al</strong>lel bed, graded bed เปลี่ยนขึ้นไปเป็น ripple lamination และ par<strong>al</strong>lel lamination ที่เกิดภายใต้อิทธิพลของกระแสน้ำขุ่นข้น (turbidity current)เป็นหลัก โดยพบลักษณะเช่นนี้เกิดซ้ำหลายครั้ง บางช่วงอาจมี slumped bed เกิดร่วม (รูปที่ 4.6) ชั้นหินบางช่วงเป็นหินโคลนชั้นหนา (massive mudstone)แท่งลำดับชั้นหินของหมวดหินแหลมไม้ไผ่ จากชายหาดบ้านแหลมไม้ไผ่ไปอ่าวปลื้มสุข จังหวัดภูเก็ต ได้แสดงไว้ในรูปที่ 4.7Revised Lithostratigraphy of the Kaeng Krachan Group

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!