15.08.2016 Views

lakmuang_305

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

วัดต่างๆ ให้แพร่หลายออกไปตามลำดับ<br />

ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ปรากฏว่าการ<br />

จัดการศึกษาของราษฎรนี้วัดกับรัฐบาลได้<br />

ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด การจัดการศึกษา<br />

ให้โรงเรียนอยู่ในวัด จึงเท่ากับว่าเป็นการ<br />

สนับสนุนให้เด็กสนใจพุทธศาสนาและ<br />

ทำให้ประชาชนยังคงใกล้ชิดกับวัดและ<br />

ศาสนา พระสงฆ์เองก็ได้ตระหนักถึงหน้าที่<br />

ของตนต่อการศึกษาของเยาวชนด้วย<br />

ดังนั้นการศึกษาในวัดจึงมีส่วนส่งเสริม<br />

ให้พุทธศาสนาเจริญก้าวหน้าสืบต่อไป<br />

ทางหนึ่งด้วย<br />

การศึกษาที่จัดขึ้นในรัชกาลนี้ มีทั้ง<br />

การศึกษาของเด็กชายและเด็กหญิง มีทั ้ง<br />

โรงเรียนหลวง โรงเรียนเชลยศักดิ์ หรือ<br />

โรงเรียนราษฎร์ในความหมายปัจจุบัน<br />

ผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา<br />

นอกจากรัฐบาลและวัด ได้แก่ บรรดา<br />

มิชชันนารีอเมริกันทั้งหญิงและชายซึ่งมีส่วน<br />

ทำให้การศึกษาของไทยเจริญก้าวหน้า<br />

ตามแบบตะวันตกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้<br />

โรงเรียนที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ<br />

ผลิตคนเข้ารับราชการก็ขยายตัวไปอย่าง<br />

กว้างขวางตามความต้องการของหน่วย<br />

งานต่างๆ เช่น โรงเรียนไปรษณีย์โทรเลข<br />

โรงเรียนทำแผนที่ โรงเรียนกฎหมาย<br />

โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายเรือ<br />

โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน<br />

โรงเรียนเกษตร และโรงเรียนราชแพทยาลัย<br />

(๒.๓) การส่งเสริมการศึกษา<br />

ต่อยังต่างประเทศ<br />

นอกจากพระบาท<br />

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรง<br />

ส่งพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้านาย พระบรม<br />

วงศานุวงศ์ และบุตรขุนนางที่ทรงเห็น<br />

สมควรไปศึกษาต่อยังต่างประเทศแล้ว<br />

ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วน<br />

พระองค์ตั้งเป็นทุนเล่าเรียนหลวง ส่งผู้มีสติ<br />

ปัญญาดีที่เรียนภาษาอังกฤษจบพอสอบไล่<br />

แข่งขันได้ไปศึกษาวิชาการ ณ ต่างประเทศ<br />

ปีละ ๒ คน เพื่อนำความรู้กลับมาทำ<br />

ประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองต่อไป การสอบ<br />

ชิงทุนเล่าเรียนหลวงนี้ ทรงเปิดโอกาสให้<br />

นักเรียนทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถโดย<br />

ไม่เลือกชนชั้น ได้มีสิทธิเข้าสอบชิงทุนไป<br />

ศึกษาต่อยังต่างประเทศอย่างเท่าเทียมกัน<br />

ตัวอย่างคือนายพุ่มซึ่งสอบได้ทุนเล่าเรียน<br />

หลวงไปศึกษาต่อยังประเทศรัสเซียโดยได้<br />

ไปเรียน “คู่” กับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ<br />

เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวง<br />

พิษณุโลกประชานารถ นอกจากนี้ ได้แก่<br />

นายปรีดี พนมยงค์ และ จอมพล ป. พิบูล-<br />

สงคราม การให้การศึกษาแก่ราษฎรไทยซึ่ง<br />

พ้นจากสถานภาพไพร่และทาสจึงเป็นการ<br />

“สร้างคน” ที่ทำให้คนเหล่านี้มีความรู้<br />

ความคิดกว้างขวาง มีความทันสมัยและ<br />

เป็นกำลังสำคัญในการ “สร้างชาติ” ร่วมกับ<br />

รัฐต่อไป<br />

(๓) การสร้างและส่งเสริมอาชีพ<br />

พระบาทสมเด็จพระ<br />

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเตรียมการอาชีพ<br />

ให้แก่ “พลเมือง” ที่พระองค์ปลดปล่อย<br />

พันธนาการจากการเป็นไพร่และทาส โดย<br />

นอกจากการให้การศึกษาเพื่อให้พลเมือง<br />

ส่วนหนึ่งได้มีความรู้เพื่อเข้ารับราชการ<br />

ทั้งการเป็นทหารและพลเรือนตาม<br />

กระทรวง ทบวง กรม ที่เกิดจากการปฏิรูป<br />

การบริหารราชการแผ่นดินแล้ว<br />

“พลเมือง” ที่ไม่มีโอกาสเข้ารับราชการ<br />

และเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศก็มัก<br />

ประกอบอาชีพตามบรรพบุรุษคือการเป็น<br />

ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน และบางส่วนซึ่ง<br />

เป็นคนส่วนน้อยก็ประกอบอาชีพค้าขาย<br />

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<br />

ได้ทรงส่งเสริมการประกอบอาชีพของ<br />

12 สำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!