15.08.2016 Views

lakmuang_305

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

เล็กยาวอัตโนมัติแบบ เอเค-๔๗ (AK-47)<br />

และจรวดต่อสู้รถถังแบบ อาร์พีจี-๗ (RPG-<br />

7) ซึ่งถือเป็นอาวุธมาตรฐานที่ทุกฝ่ายใช้ใน<br />

พื้นที่ทางตอนเหนือของซีเรีย ทั้งทหารฝ่าย<br />

รัฐบาลซีเรีย, นักรบกลุ่มไอเอส, นักรบของ<br />

“กองกำลังซีเรียประชาธิปไตย” (SDF :<br />

Syrian Democratic Forces) ที่มีพวก<br />

เคิร์ดเป็นกองกำลังหลัก และนักรบ<br />

ของกองทัพปลดปล่อยซีเรียหรือ “เอฟเอส<br />

เอ” (FSA : Free Syria Army) ทำให้<br />

สามารถหากระสุนได้ง่าย ปรนนิบัติซ่อม<br />

บำรุงได้สะดวก แตกต่างจากนักรบไอเอส<br />

บางกลุ่มจากโลกตะวันตกที่ใช้อาวุธ<br />

ประจำกายแบบ เอ็ม-๔ (M-4) ซึ่งแทบจะ<br />

ไม่มีนักรบของกองกำลังใดเลยที่ใช้อาวุธ<br />

ชนิดนี้ในพื้นที่ซีเรียทางตอนเหนือ จึงอาจ<br />

เกิดปัญหาเกี่ยวกับกระสุนและการส่งกำลัง<br />

บำรุงอื่นๆ ในภายหลัง<br />

ส่วนการแต่งกายนั้น นักรบ “เค<br />

เอ็น” จะแต่งกายด้วยชุดพรางที่แตกต่าง<br />

กันเหมือนนักรบกองโจร ไม่มีเครื่องแบบ<br />

หรือชุดยูนิฟอร์มที่เฉพาะเจาะจงเหมือน<br />

หน่วยไอเอสอื่นๆ โดยช่วงแรกของปี ๕๗<br />

นักรบ “เคเอ็น” จากมาเลเซียบางคน<br />

ยังคงใช้ชุดพรางของกองทัพมาเลเซีย แต่<br />

จากคลิปวิดีโอล่าสุดในปี ๕๙ นักรบ<br />

“เคเอ็น” ส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้ชุดพราง<br />

ดิจิทัลที่หลากหลาย ทั้งจากสหรัฐฯ<br />

เยอรมนี และจอร์แดน รวมทั้งมีอุปกรณ์<br />

ประกอบเครื่องแบบ เช่น สายโยงบ่า เสื้อ<br />

ใส่ซองกระสุน เป้สนาม เข็มขัดกระสุน<br />

ถุงมือ แว่นตา รองเท้าบูต และวิทยุสื่อสาร<br />

ครบถ้วน อันเป็นการแสดงออกถึงการ<br />

เตรียมการและความพร้อมของหน่วยใน<br />

การเข้าสู่สนามรบได้เป็นอย่างดี เอกลักษณ์<br />

สำคัญของกลุ่ม “เคเอ็น” ก็คล้ายกับกลุ่ม<br />

“ไอเอส” ทั่วไปคือ การไม่สวมหมวกเหล็ก<br />

ทุกชนิด นอกจากสวมผ้าคลุมศีรษะเท่านั้น<br />

ที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ กลุ่ม “เค<br />

เอ็น” จะเลือกภารกิจที่มีความท้าทายใน<br />

สนามรบมากกว่างานธุรการและงานส่ง<br />

กำลังบำรุงทั่วไป เช่น พวกเขาเลือกที่จะ<br />

ทำการรบในแนวหน้า เป็นพลซุ่มยิง หรือ<br />

แม้กระทั่งเป็นมือระเบิดพลีชีพก็ตาม สิ่ง<br />

เหล่านี้ทำให้ “เคเอ็น” ได้รับการยอมรับ<br />

จากกลุ่มไอเอสในระดับหนึ่งเลยทีเดียว<br />

ดังจะเห็นได้จากการโพสต์ข้อความทาง<br />

สื่อออนไลน์แสดงความชื่นชมเหล่านักรบ<br />

“เคเอ็น” ในนาม “มูจาฮิดีน มาเลเซีย”<br />

และ “มูจาฮิดีน อินโดนีเซีย” อย่างต่อเนื่อง<br />

ในเรื่องของจำนวนตัวเลขของ<br />

กำลังพลกลุ่ม “เคเอ็น” นั้นมีจำนวนที่<br />

ไม่แน่นอน โดยสำนักงานต่อต้านการ<br />

ก่อการร้ายแห่งชาติของอินโดนีเซีย<br />

(National Counterterrorism Agency)<br />

คาดว่ามีชาวอินโดนีเซียมากกว่า ๕๐๐ คน<br />

หรืออาจจะถึง ๗๐๐ คน เข้าร่วมกลุ่ม แต่<br />

ตัวเลขดังกล่าวของทางการอินโดนีเซียนั้น<br />

เป็นการคาดการณ์ที่รวมชาวอินโดนีเซียซึ่ง<br />

เดินทางไปโดยจุดประสงค์อื่น เช่น การเดิน<br />

ทางเพื่อไปเป็นอาสาสมัครในการปฏิบัติ<br />

งานด้านมนุษยธรรมเพื่อช่วยเหลือชาว<br />

ซีเรียที ่ได้รับบาดเจ็บจากการทิ้งระเบิด<br />

และการโจมตีของรัฐบาลซีเรีย รัสเซีย และ<br />

ฝ่ายพันธมิตรตะวันตก ซึ่งไม่ถือว่าเป็น<br />

นักรบของกลุ่มไอเอส จึงไม่สามารถนับรวม<br />

บุคคลเหล่านี้เข้าในจำนวนนักรบได้ อีกทั้ง<br />

ตัวเลขก็ยังคงสับสน เพราะนักรบ “เคเอ็น”<br />

บางคนได้ลักลอบเดินทางกลับมายัง<br />

ประเทศของตนแล้ว ดังนั้นคาดว่าตัวเลข<br />

ของนักรบจากอินโดนีเซียที่แท้จริง น่าจะมี<br />

อยู่ประมาณ ๒๐๐ ถึง ๓๐๐ คนเท่านั้น โดย<br />

ตัวเลขที่ระบุจำนวนชัดเจนอยู่ที่ ๒๐๒ คน<br />

ในจำนวนนี้มีสตรีซึ่งเดินทางร่วมกับสามี<br />

เข้าสู่พื้นที่อีกด้วย กลุ่มสตรีเหล่านี ้ได้รับ<br />

หน้าที่พิเศษในกลุ่ม “เคเอ็น” เช่น เป็นครู<br />

หรือมีหน้าที่รับผิดชอบในการโฆษณา<br />

ชวนเชื่อผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อ<br />

โน้มน้าวให้บุคคลอื่นๆ เข้าร่วมกับพวกตน<br />

ปัจจุบันผู้ที่ดำเนินการโฆษณาชวนเชื่อทาง<br />

เครือข่ายออนไลน์ของกลุ่ม “เคเอ็น” เป็น<br />

สตรีชาวอินโดนีเซีย ซึ่งสามีของเธอได้เสีย<br />

ชีวิตจากการสู้รบเมื่อเดือน เม.ย.๕๘<br />

กล่าวกันว่าจุดเริ่มต้นของ “กาติ<br />

บะห์ นูซันตารา” เกิดในกลางปี ๕๖ ที่เมือง<br />

“อัล ชาดาดี” (al Shadadi) จังหวัด “ฮา<br />

ซาก้า” (Hasaka) ประเทศซีเรีย (ปัจจุบัน<br />

ถูกยึดครองโดยกลุ่ม “เคิร์ด” (Kurds) โดย<br />

นายรูไซดัน อับดุล ฮาดี (Rusydan Abdul<br />

Hadi) นักศึกษาชาวอินโดนีเซียกับเพื่อน<br />

รวม ๔ คน ซึ ่งศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย<br />

อิสลามนานาชาติ (the International<br />

Islamic University) ในกรุงอิสลามาบัด<br />

ประเทศปากีสถาน ได้เข้าร่วมกลุ่มต่อต้าน<br />

ติดอาวุธในซีเรียที่มีชื่อว่า “อัจนัด อัล-ฌาม”<br />

(Ajnad al-Sham) ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้ต่อมา<br />

ได้เข้าร่วมกับกลุ่ม “ไอเอส” เขาเป็นบุคคล<br />

แรกๆ ที่นำแนวคิดการสร้างรัฐอิสลาม<br />

บริสุทธิ์มาเผยแพร่ในอินโดนีเซีย โดยผ่าน<br />

มาทางนายอาบู บัคการ์ บาร์เซียร์<br />

22<br />

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!