20.04.2023 Views

สามหอไตร เล่มที่ 1 : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

<strong>สามหอไตร</strong> <strong>เล่มที่</strong>ี่๑<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


<strong>สามหอไตร</strong> <strong>เล่มที่</strong>ี่๑<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์


สารจากนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

ภารกิจทางด้านการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมถือเป็นอีกบทบาท<br />

หนึ่งที่สำคัญของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่มีการ<br />

ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยถูกกำหนดให้เป็นพันธกิจใน<br />

ด้านงานอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมเพื่อมุ่งส่งเสริมการอนุรักษ์งาน<br />

สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์<br />

สถาปัตยกรรมในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานสถาปัตยกรรมไทย<br />

ประเพณี อันเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ทางด้านการอนุรักษ์ของสมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ ที่มีมาตั้งแต่ก่อตั้งสมาคม<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีการแต่งตั้งคณะ<br />

กรรมาธิการซึ่งประกอบด้วยบุคลากร ทั้งข้าราชการและเอกชนที่มีความรู้<br />

ความเชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์งานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม เรียกว่า<br />

กรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือ<br />

กับองค์กรเครือข่ายการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ในด้านงานอนุรักษ์ศิลป<br />

สถาปัตยกรรม ทั้งที่เป็นงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี สถาปัตยกรรม<br />

พื้นถิ่น และสถาปัตยกรรมแบบสากล อีกทั้งยังส่งเสริมกิจกรรมในการบริหาร<br />

จัดการข้อมูลมรดกสถาปัตยกรรมและการอนุรักษ์ ทั้งในเรื่องรางวัลอนุรักษ์<br />

ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นที่ริเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ มาจนถึงเรื่องราว<br />

ต่างๆ ตามกระแสแนวความคิดของการอนุรักษ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม<br />

ยุคสมัย ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ด้านการอนุรักษ์ชุมชน<br />

หรือสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น ที่มีการจัดพิมพ์เอกสารวิชาการเผยแพร่<br />

มาเป็นระยะๆ<br />

เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมไทย<br />

ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณีขึ้น<br />

เป็นการเฉพาะ จากการดำเนินการที่ผ่านมาโดยทั่วไปที่ได้เน้นที่การเผยแพร่<br />

ให้สาธารณะมีความเข้าใจในความสำคัญของศิลปสถาปัตยกรรม เพื่อให้เกิด<br />

ความรัก หวงแหน และช่วยกันรักษาให้คงอยู่ต่อไป มาสู่การดำเนินการ<br />

อนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยอย่างเป็นรูปธรรม หลังจากที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

ได้เคยริเริ่มดำเนินการไว้ตั้งแต่ช่วงเริ่มก่อตั้งสมาคมฯ ในโครงการ<br />

บูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎก วััดระฆัังโฆสิิตารามวัรมหาวิิหาร<br />

ด้วยการทำงานแบบอาสาสมัครในโครงการอนุรักษ์์หอพระไตรปิฎก<br />

วััดเทพธิิดารามวัรวิิหาร ต่อด้วยงานล่าสุดที่ โครงการอนุรักษ์์หอพระไตรปิฎก<br />

วััดอัปสรสวัรรค์วัรวิิหาร<br />

ผลสำเร็จจากการดำเนินการโครงการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมไทย<br />

ประเพณี ซึ่งบังเอิญเป็นหอพระไตรปิฎกทั้ง ๓ หลัง ตั้งแต่อดีตมาจนถึง<br />

ในปัจจุบันนี้ ได้นำไปสู่การจัดทำหนังสือชุด “<strong>สามหอไตร</strong>” ชุดนี้ขึ้น เพื่อ<br />

บอกเล่าเรื่องราว บทบาทของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในด้านการอนุรักษ์<br />

สถาปัตยกรรม ตลอดจนที่มาและกระบวนการของการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก<br />

และความภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์<br />

ทางสถาปัตยกรรมของชาติไทย<br />

นายชนะ สัมพลัง<br />

นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

2<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


สารจากอุปนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมป์<br />

ประธิานกรรมาธิิการอนุรักษ์์ศิลปสถาปัตยกรรม ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี<br />

จากจุดเริ่มต้น ... “โครงการบูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกวัดระฆััง<br />

โฆสิิตารามวรมหาวิหาร” ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของการดำเนินการด้านการอนุรักษ์<br />

มรดกทางสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

ที่พิจารณาเห็นว่าได้มีการรื้อถอนโบราณสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน<br />

วัดวาอารามกันมากขึ้นจนเหลือกำลังที่ทางราชการจะดูแลรักษาให้ทั่วถึงได้<br />

แต่เพียงฝ่่ายเดียว กลายเป็นที่มาของคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม<br />

ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในวันนี้ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ก็ได้มีการ<br />

ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ ทั้งการรณรงค์ นำเสนอความคิดเห็น ประชาสัมพันธ์<br />

และให้รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นเพื่อเป็นการให้กำลังใจ<br />

ในทุกกระบวนการของการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมเรื่อยมา<br />

สี่สิบปีผ่านไป... จึงได้เกิดโครงการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอย่างเป็น<br />

รูปธรรมขึ้นอีกครั้ง โดยมุ่งให้เป็นการนำเสนอบทบาทของวิชาชีพสถาปนิก<br />

ต่อสังคม ตามแนวคิดที่ว่า “สถาปนิกไทย มีหน้าทีอนุรักษ์์และสืบสาน<br />

สถาปัตยกรรมไทย” ได้มีการแต่งตั้ง “คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลป<br />

สถาปัตยกรรม ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี” ขึ้นเป็นพิเศษให้ที่มีหน้าที่<br />

ดูแลงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีโดยตรง และมีเป้าหมายให้สมาชิก<br />

ของสมาคมฯ และสาธารณชนมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ของการอนุรักษ์<br />

สถาปัตยกรรมไทยให้มากที่สุด เกิดเป็นโครงการ “อาษ์า อาสา สถาปัตยกรรมไทย”<br />

และนำมีการทำงานร่วมกันใน “โครงการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกวัดเทพธิดา<br />

รามวรวิหาร” เป็นโครงการแรก เพื่อทำการบูรณะให้ถูกต้องครบถ้วนตาม<br />

ขั้นตอนของการอนุรักษ์ ให้เป็นตัวอย่างของอาคารที่มีการอนุรักษ์อย่างถูกต้อง<br />

และมุ่งหวังให้ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปนิกได้มีส่วนร่วมในการบำเพ็ญ<br />

ประโยชน์ในครั้งนี้ ผ่านกระบวนการการเรียนรู้วิธีการในการทำแบบอนุรักษ์<br />

และการคุมงานอนุรักษ์ จากการลงมือปฏิิบัติจริง ด้วยเหตุผลที่โครงการนี้<br />

มีการแสดงออกอย่างเด่นชัดของการสนับสนุนของสาธารณชนจากทุก<br />

ภาคส่วนของสังคมไทย ฝ่่ายสงฆ์์ และชุมชนโดยรอบวัด เป็นแบบอย่างของ<br />

การใช้เทคนิคช่างและวัสดุตามประเพณีดั้งเดิม สมกับคุณค่าความสำคัญของ<br />

ความเป็นพระอารามหลวง ในกระบวนการการอนุรักษ์ยังได้มีการค้นคว้า<br />

ศึกษาวิจัย และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดโครงการทำให้ทำให้ได้รับ<br />

รางวัล UNESCO Asia-Pacific Heritage Award ใน พ.ศ. ๒๕๕๔<br />

ล่าสุด ... หลังจากความสำเร็จที่ได้รับ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้<br />

เดินหน้าโครงการต่อไปที่วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ในการจัดตั้งโครงการ<br />

อนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีอย่างต่อเนื่องซึ่งก็บังเอิญว่าเป็น<br />

อาคารหอพระไตรปิฎกอีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็นอาคารไม้ทั้งหลังที่ตั้งอยู่กลาง<br />

สระน้ำ นอกจากความงามทางสถาปัตยกรรมที่จะได้บันทึกและนำไปสู่<br />

การบูรณะ การศึกษาเทคนิคเชิงช่างและวัสดุที่แตกต่างไปจากโครงการแรก<br />

ก็เป็นสิ่งที่ได้นำมาใช้ในการพิจารณาเลือกสถานที่ในการทำโครงการนี้ นับจาก<br />

จุดเริ่มต้นก็รวมได้<strong>สามหอไตร</strong> อาคารสามหลังที่สร้างขึ้นในพุทธสถานเพื่อใช้<br />

เก็บรักษาพระไตรปิฎกสิ่งสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเป็นตัวแทนของ<br />

ผลงานสถาปัตยกรรมไทยที่ทรงคุณค่า<br />

การรวบรวมข้อมูลจัดทำเป็น หนังสือชุด “<strong>สามหอไตร</strong>” จึงถือเป็น<br />

บทสรุปของโครงการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกทั้งสามหลัง และเป็นตัวแทน<br />

ถ่ายทอดเรื่องราวของการดำเนินการอนุรักษ์ของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ นับตั้งแต่ปฐมบทที่วัดระฆัังโฆส ิตาราม มาถึงการ<br />

ฟื้้นฟืู้ขึ้นอีกครั้งที่วัดเทพธิดาราม และการสานต่อมายังวัดอัปสรสวรรค์<br />

เป็นการบอกเล่ากระบวนการอนุรักษ์ และรวบรวมวิธีการดำเนินการอนุรักษ์<br />

หอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันทั้งสามหลังเพื่อให้ได้เห็นถึงความ<br />

หลากหลายของรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยและในการอนุรักษ์โบราณสถาน<br />

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ช่วยให้เป็นการจุดประกายนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อ<br />

สานต่อแนวคิดในการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมไทยที่มีคุณค่าให้คงสืบต่อไป<br />

ดร.วส ุ โปษ์ยะนันทน์<br />

อุุปนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๓<br />

ประธานกรรมาธิการอน ุรักษ์์ศิลปสถาปัตยกรรม<br />

ด้้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณีี พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๗<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย<br />

3


คานำ<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆส ิตาราม ปฐมบทอาษ์า อาสา สถาปัตยกรรมไทย<br />

วัดระฆัังโฆส ิตารามวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิด<br />

วรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมเรียกว่า<br />

วัดบางหว้าใหญ่คู่กับวัดบางหว้าน้อยหรือวัดอมรินทราราม สมเด็จพระเจ้า<br />

ตากสินมหาราชได้ทรงบูรณปฏิิสังขรณ์พร้อมทั้งยกฐานะขึ้นเป็น<br />

พระอารามหลวงตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟื้้าจุฬาโลกฯ ได้ทรงบูรณปฏิิสังขรณ์ครั้งใหญ่<br />

และได้ขุดพบระฆัังลูกหนึ่งปรากฏมีีเสียงไพเราะกังวานมาก และได้<br />

พระราชทานนามใหม่หลังบูรณะเสร็จเรียบร้อยว่า “วัดระฆัังโฆส ิตาราม”<br />

ภายในวัดยังมีอาคารที่สำคัญมากได้แก่ หอพระไตรปิฎก หรือที่เรียกว่า<br />

“ตำหนักจันทน์” กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานสำคัญ<br />

ของชาติ ใน พ.ศ. ๒๔๙๒ เดิมเคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่ง<br />

ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟื้้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงรับ<br />

ราชการเป็นที่พระราชวรินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

ที่โปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัดเพื่อใช้เป็นหอพระไตรปิฎก<br />

หอพระไตรปิฎกหลังนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมลงโดยลำดับ แม้ว่าทาง<br />

วัดและกรมศิลปากรจะได้พยายามบูรณปฏิิสังขรณ์ แต่ก็ยังขาดในเรื่อง<br />

งบประมาณ อีกทั้งในการบูรณะนั้นยังต้องการผู้มีความชำนาญ ทั้งทาง<br />

สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และอื ่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยเหตุที่ภายใน<br />

หอพระไตรปิฎกแห่งนี้ประดับด้วยจิตรกรรมฝ่าผนังที่มีความเป็นเลิศ ผลงาน<br />

ของพระอาจารย์นาค จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพื่อให้การอนุรักษ์<br />

เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

จึงได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิชาการสาขาอนุรักษ์ศิลปกรรมขึ้น เพื่อให้กลุ่ม<br />

ชนทั้งนอกและในราชการร่วมกันคอยอนุรักษ์ศิลปกรรมของชาติ ได้ร่วมมือ<br />

กับทางวัดระฆัังโฆส ิตาราม ในการบูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกขึ้นใหม่<br />

เพื่อรักษาความเป็นอาคารสำคัญทางศิลปะและประวัติศาสตร์ไว้ และเป็น<br />

แบบอย่างให้ในอีก ๔๐ ปีต่อมาที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้แต่งตั้งคณะ<br />

กรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณีขึ้น<br />

และมีโครงการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมไทยอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้ง<br />

เพื่อให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์หอไตรวัดระฆัังโฆส ิตาราม<br />

อย่างครบถ้วน จึงได้ถือโอกาสนำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ<br />

อนุรักษ์ในครั้งนั้น ได้แก่ หนังสือ “ภาพเขียนในหอพระไตรปิฎกวัดระฆััง”<br />

และ หนังสือ “หอพระไตรปิฎก วัดระฆัังโฆสิิตาราม” มานำเสนอใน<br />

ภาคผนวกด้วย<br />

คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ด้านสถาปัตยกรรม<br />

ไทยประเพณี สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมป์สำนึกใน<br />

พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช<br />

และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี (พระราชอิศริยยศ พระอิศริยยศ ในขณะนั้น) ที่ทรง<br />

ให้การสนับสนุนโครงการมาตั้งแต่เริ่มต้น ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนร่วม<br />

ในการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกวัดระฆัังโฆส ิตารามทุกท่าน นับตั้งแต่<br />

หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ประธานอนุกรรมการบูรณปฏิิสังขรณ์<br />

หอพระไตรปิฎก อาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ อาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์<br />

อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ตลอดจน<br />

หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่สนับสนุนทั้งแรงกาย แรงใจ และ<br />

งบประมาณในการดำเนินการอนุรักษ์ที่ทำให้การบูรณะหอพระไตรปิฎก<br />

วัดระฆัังโฆสิิตารามเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของโครงการอนุรักษ์ของ<br />

กรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่หอพระไตรปิฎก<br />

วัดเทพธิดารามวรวิหารและวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร เป็นต้นแบบให้<br />

พวกเรารุ่นหลังได้เจริญรอยตามเพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ<br />

ไว้สืบต่อไป รวมทั้งขอขอบคุณทำนุ หริพิทักษ์ และบริษัทเชลล์ (ประเทศไทย)<br />

จากัด ในการที่ได้ขอนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ หอไตรวัดระฆััง<br />

โฆส ิตารามในครั้งนั้นมาตีพิมพ์ในภาคผนวกของหนังสือ เล่มนี้อีกครั้งด้วย<br />

4<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


สารบัญ<br />

๖<br />

บทนำ<br />

๘<br />

บทท่ ๑ จุุดเร่มต้นท่หอไตรวััดระฆััง<br />

๕๒<br />

บทท่ ๒ ก่อตังกรรมาธิิการสถาปัตยกรรมไทยประเพณีี<br />

๕๘<br />

บทท่ ๓ จุากหอไตรวััดระฆัังส่หอไตรวััดเทพธิิดา...<br />

จุากหอไตรวััดเทพธิิดาส่หอไตรวััดอัปสรสวัรรค์์<br />

๗๕<br />

๗๖<br />

๑๓๐<br />

บรรณานุกรม<br />

ภาคผนวก ๑ “ภาพเขีียนในหอพระไตรปิิฎกวัดระฆััง”<br />

ภาคผนวก ๒ “หอพระไตรปิิฎก วัดระฆัังโฆัสิิตาราม”


บทนำ<br />

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ สถาปนิกซึ่งสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ<br />

จำนวนหนึ่งได้ร่วมปรึกษาหารือในการดำเนินการจัดตั้งสมาคม โดยมี<br />

วัตถุประสงค์เพื่อช่วยส่งเสริมวิชาชีพสถาปัตยกรรมให้เจริญเป็นที่รู้จักแก่<br />

คนทั่วไปและเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในระหว่างสมาชิกด้วยกัน สมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ ในยุคแรก มีสมาชิกทั้งสิ้น ๓๓ คน มีสำนักงานตั้งอยู่ที่<br />

กรมศิลปากร คณะกรรมการในยุคแรกได้ร่วมกันร่างข้อบังคับและระเบียบ<br />

การของสมาคม จัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินงานประจำของสมาคม ได้แก่<br />

ประเภทธนาการ ประเภทธุรการ กรรมการผังเมืองและผังประชาชาติ นอกจากนี้<br />

สมาคมได้ออกจดหมายเหตุสมาคม เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาชีพ<br />

สถาปัตยกรรม ตลอดจนเป็นสื่อกลางระหว่างสมาคมกับมวลสมาชิกอีกด้วย<br />

การดำเนินการทางด้านการอนุรักษ์ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้มี<br />

จุดเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิชาการ สาขา<br />

อนุรักษ์ศิลปกรรมขึ้นเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยกรรมาธิการฯ<br />

ชุดแรกนี้ มีนายพินิจ สมบัติศิริ เป็นประธาน และมีคณะกรรมาธิการฯ ซึ่ง<br />

ประกอบด้วย นายนิจ หิญชีระนันทน์ (นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ใน<br />

ขณะนั้น) นายมยูร วิเศษกุล นายวทัญญูู ณ ถลาง นายวิลาศ มณีวัต<br />

นายศิริชัย นฤมิตรเรขการ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผศ.แสงอรุณ รัตกสิกร<br />

นายโอภาส วัลลิภากร นายสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา และนายอุรา สุนทรศารทูล<br />

ส่วนที่ปรึกษาของกรรมาธิการวิชาการ สาขาอนุรักษ์ศิลปกรรมนั้น ได้รับ<br />

พระเกียรติจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยาลาภ<br />

พฤฒิยากร ทรงรับเป็นองค์ประธานคณะที่ปรึกษา นอกจากนี้คณะที่ปรึกษาฯ<br />

ยังประกอบด้วย ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ม.จ.ยาใจ จิตรพงศ์ ม.จ.สุภัทรดิศ<br />

ดิศกุล นายสัญญา ธรรมศักดิ และพระยาอนุมานราชธน นับเป็นครั้งแรกใน<br />

ประเทศไทยที่มีการทำงานอนุรักษ์ภาคประชาชน สืบเนื่องจากความห่วงใย<br />

ในสภาพบ้านเมืองที่ได้เจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงสภาพไปเป็นอันมาก<br />

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมที่ดีงาม<br />

อาคารสถานที่ที่มีความสำคัญทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมซึ่งเป็น<br />

เครื่องบ่งชี้ประวัติของบ้านเมืองได้ถูกรื้อทำลายไป ทำให้ประชาชนขาด<br />

สิ่งแวดล้อมที่จำเป็นในการสร้างสรรค์ ความนึกคิดที่ลึกซึ้ง ความ<br />

สงบ ความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม และการกินดีอยู่ดี<br />

การดำเนินงานของกรรมาธิการฯ เน้นไปที่การเผยแพร่ให้ประชาชน<br />

ภาครัฐและเยาวชนให้เกิดความเข้าใจในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่ดีของ<br />

บ้านเมืองและเกิดความคิด ความกระตือรือร้น ที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีงาม<br />

และมีคุณค่าทางศิลปกรรมหรือทางประวัติศาสตร์ให้คงอยู่ต่อไป<br />

งานชิ้นสำคัญที่เป็นรูปธรรมที่ได้ริเริ่มในช่วงนี้ คือ การบูรณะ<br />

หอพระไตรปิฎกวัดระฆัังโฆส ิตาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นนิวาสสถาน<br />

เดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟื้้าจุฬาโลกมหาราช แต่เดิมหอพระไตร<br />

แห่งนี้ตั้งอยู่กลางสระน้ำ และมีสภาพที่ทรุดโทรมอย่างมาก ทางเจ้าอาวาส<br />

ในขณะนั้น จึงได้ขอความร่วมมือจากคณะกรรมาธิการฯ ในการบูรณะให้<br />

ถูกต้องตามหลักการอนุรักษ์ จึงได้มีการขอความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

สาขาต่างๆ ในการอนุรักษ์ โดยมี อ.เฟื้้อ หริพิทักษ์ เป็นผู้ควบคุมการ<br />

บูรณะ และใช้เวลานานกว่าจะบูรณะเสร็จทันการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ<br />

๒๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ และในช่วงระหว่างนั้น มีการเสนอความคิด<br />

เห็นและข้อเสนอโครงการต่างๆ หลายโครงการ เช่น ข้อเสนอเกี่ยวกับการ<br />

รักษาศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ และการจัดตั้งสภาอนุรักษ์ศิลปกรรม โครงการ<br />

ปรับปรุงสวนลุมพินี การอนุรักษ์แพร่งสรรพศาสตร์ โครงการบูรณะโบราณ<br />

สถานพระนครศรีอยุธยา การจัดทำบัญชีอาคารสถานที่ที่สำคัญทาง<br />

สถาปัตยกรรม โครงการสำรวจทำแผนที่ บันทึกภาพอาคารที่มีคุณค่าในด้าน<br />

สถาปัตยกรรม เพื่อเสนอให้กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียน และงานจัดทำ<br />

รังวัดศิลปสถานต่างๆ ที่อาจจะถูกรื้อไปในเร็ววัน<br />

ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ มีแนวคิดว่า หลังจากโครงการอนุรักษ์<br />

หอพระไตรปิฎกวัดระฆัังโฆส ิตาราม ตั้งแต่ในช่วงแรกของการก่อตั้ง<br />

กรรมาธิการวิชาการสาขาอนุรักษ์ศิลปกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯ ก็ไม่ได้<br />

มีโอกาสทำงานอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมโดยตรงแบบเป็นรูปธรรมอีกเลย<br />

เมื่อนายทวีจิตร จันทรสาขา (ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ พ.ศ. ๒๕๕๑-<br />

๒๕๕๕) ได้มารับหน้าที่เป็นนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ และมีนโยบายที่<br />

ต้องการให้สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้แสดงบทบาทต่อสังคมในแบบที่สัมผัส<br />

ได้เป็นรูปธรรม จึงริเริ่มให้จัดตั้งคณะกรรมาธิิการอนุรักษ์์ศิลปสถาปัตยกรรม<br />

ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณีขึ้น ด้วยต้องการเน้นที่มรดกสถาปัตยกรรม<br />

ที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเองเป็นอันดับแรก ในการนี ้ได้มอบหมายให้<br />

ดร.วสุ โปษยะนันทน์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการชุดนี้ ซึ่งประกอบด้วย<br />

คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นายศิริชัย หวังเจริญตระกูล นายไพรัช<br />

เล้าประเสริฐ ดร.พรธรรม ธรรมวิมล นายจมร ปรปักษ์ประลัย นายวทัญญูู<br />

เทพหัตถี นางสาวมนัชญา วาจก์วิศุทธิ นายสุรยุทธ วิริยะดำรงค์<br />

6<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


นางสาวหัทยา สิริพัฒนกุล นายภาณุวัตร เลือดไทย นายจาริต เดชะคุปต์<br />

และนายพีระพัฒน์ สำราญ นอกจากนี้ได้ร่วมกันคิดและจัดกิจกรรม “อาษา<br />

อาสา สถาปัตยกรรมไทย” ขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกของสมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ นิสิต นักศึกษาที่มีความสนใจเรียนรู้งานด้านการอนุรักษ์<br />

อาสาเข้ามาทำงานร่วมกันตั้งแต่จุดเริ่มต้น เช่น การสำรวจเก็บข้อมูลสภาพ<br />

ก่อนการอนุรักษ์ของมรดกสถาปัตยกรรม นำมาจัดทำเป็นรูปแบบบูรณะ<br />

โดยการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งจากการหารือกันก็ได้สรุปที่หอพระไตรปิฎก<br />

วัดเทพธิดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นการกลับมาทำงานกับ<br />

หอพระไตรอีกครั้งโดยบังเอิญ<br />

งานนี้ทำให้เราได้เรียนรู้สถาปัตยกรรมของหอไตรอย่างใกล้ชิด จนได้<br />

แบบและประมาณการสำหรับการดำเนินการบูรณะ จึงตั้งเป็นกองผ้าป่าอาษา<br />

อนุรักษ์สามัคคี เพื่อการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกวัดเทพธิดารามขึ้น มาสมทบ<br />

กับงบประมาณที่ทางวัดมีอยู่บางส่วน และเงินอุดหนุนจากกรมศิลปากร<br />

หลังจากนั้นแบบบูรณะจึงได้นำมาสู่การปฏิิบัติจริง โดยมีอาสาสมัครได้มา<br />

ร่วมกันจัด ในการนี้ได้ศาสตราจารย์เกียรติคุณ หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิศรี<br />

นาวาอากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น ศาสตราจารย์ประสงค์ เอี่ยมอนันต์<br />

รองศาสรตาจารย์สมคิด จิระทัศนกุล และนายทวีจิตร จันทรสาขา มาเป็นที่<br />

ปรึกษาในการทำการสำรวจระหว่างการดำเนินการ ศึกษาขั้นตอน รายละเอียด<br />

ต่างๆ ของการทำงาน มีการบันทึกเก็บข้อมูลโดยละเอียดในทุกขั้นตอน<br />

ประกอบกับความร่วมมือที่ได้รับจากบริษัทผู้ดำเนินการบูรณะด้วย<br />

ความตั้งใจให้เป็นการทำงานด้วยหลักการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม งานนี้<br />

จึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานบูรณะมรดกสถาปัตยกรรมไทยที่ได้<br />

มาตรฐาน พร้อมด้วยการมีส่วนร่วมของฝ่่ายต่างๆ ที่ช่วยสนับสนุน ทำให้<br />

โครงการนี้ได้รับรางวัลระดับ Award of Merit ของรางวัล UNESCO Asia–<br />

Pacif ififific Heritage Award ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจ<br />

ของคณะทำงาน และสมาคมสถาปนิกสยามฯ อย่างที่สุด<br />

ภายหลังความสำเร็จของโครงการแรก กิจกรรม อาษา อาสา<br />

สถาปัตยกรรมไทย ยังได้มาดำเนินการต่อที่วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร<br />

กรุงเทพมหานคร โดยเป็นโครงการหออนุรักษ์พระไตรปิฎกอีกครั้ง นอกจาก<br />

การเก็บข้อมูลเพื่อการทำแบบบูรณะดังเช่นในโครงการแรก ยังได้บูรณาการ<br />

กับเครือข่ายต่างๆ ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ เช่นการเข้ามาร่วมเก็บ<br />

ข้อมูลสถาปัตยกรรมแบบ VERNADOC โดยกลุ่มอาสาสมัคร VERNADOC<br />

การจัดงานวันศิลปะที ่ร่วมกับกลุ่ม Sketchers โดยเปิดโอกาสให้เยาวชน<br />

ในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการวาดภาพหอไตรร่วมกับพี่ๆ นักวาดเพื่อเป็น<br />

การรับรู้คุณค่าของมรดกสถาปัตยกรรมชิ้นเอกที่อยู่ใกล้ตัวอีกด้วย งานบูรณะ<br />

หอพระไตรปิฎกวัดอัปสรสวรรค์นี้จะดำเนินการแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๕๗<br />

ในวาระครบรอบ ๘๐ ปีของสมาคมสถาปนิกสยามฯ พอดียังความภาคภูมิใจ<br />

แก่คณะทำงานและสมาคมสถาปนิกสยามฯ อีกครั้ง<br />

กรรมาธิการอนุรักษ์ฯ ทุกยุคสมัยได้เสียสละแรงกายแรงใจทำงานกัน<br />

อย่างหนักต่อเนื่องมาจากรุ่นสู่รุ่นตลอดกึ่งศตวรรษ ด้วยเห็นประโยชน์สาธารณะ<br />

ในการรักษาคุณค่าของมรดกสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมเมืองซึ่งคนอื่นๆ<br />

ในสังคมอาจมองไม่เห็น แม้การทำงานจำต้องมีความขัดแย้งเกิดขึ้นโดยเฉพาะ<br />

กับทางภาครัฐเเละภาคเอกชน หลายคนอาจมองว่าเราต้องไปต่อสู้ มีแพ้มีชนะ<br />

แต่ในทางกลับกันหากมองว่าในฐานะที่เราเป็นสถาปนิกที่มีองค์ความรู้ใน<br />

เรื่องคุณค่าของสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพ มีองค์ความรู้ใน<br />

การบริหารจัดการ และมีการนำเสนอทางออกที่เป็นรูปธรรม การเข้าไปมี<br />

ส่วนร่วมในการนำเสนอคุณค่าเหล่านั้นให้สังคมได้ตระหนักรู้และสร้าง<br />

กระบวนการในการทำให้เกิดการเห็นคุณค่าร่วมกันในทุกภาคส่วน และท้าย<br />

ที่สุดเกิดการตัดสินใจร่วมกันในการรักษาคุณค่าเหล่านั้นให้คงอยู่ เเละหาก<br />

เราได้ทำหน้าที่ของเราได้อย่างดีที่สุดแล้ว แม้มรดกสถาปัตยกรรมหรือสิ่งที่<br />

เราต้องการปกป้องมันจะต้องถูกรื้อทำลายไป ก็ไม่ได้หมายความว่าเราล้มเหลว<br />

หรือเราแพ้ เพียงแต่เราไม่สามารถทำให้คนส่วนใหญ่เห็นคุณค่าร่วมกับเราได้<br />

สถาปนิกนักอนุรักษ์จึงไม่ใช่นักต่อสู้ แต่เราเป็นนักบริหารจัดการองค์ความรู้<br />

ที่จะต้องถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องคุณค่าของมรดกสถาปัตยกรรมและ<br />

สิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์สู่คนในวงกว้างให้มากที่สุด เพื่อให้เขาเหล่านั้นเห็นคุณค่า<br />

และต่อสู้ปกป้องมรดกของพวกเขาเอง ความสำเร็จในการอนุรักษ์ไม่ได้ขึ้นอยู่<br />

กับคนใดคนหนึ่งหากแต่เป็นเรื่องของทุกคน ในการทำงานของเรา เราไม่<br />

เคยแพ้ เราไม่เคยล้มเหลว ถ้าเราได้เริ่มทำแล้วและยังต้องทำหน้าที่นี้ต่อไป<br />

ให้ตอบสนองกับวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ คือ<br />

“มุงบำเพ็ญประโยชน์ในการสร้างสรรค์ควัามเจริญงดงามทาง<br />

สถาปัตยกรรมและสิงแวัดล้อม และรักษ์าอารยธิรรมของชาติ ในฐานะ<br />

องค์กรวิิชาชีพอิสระทางสถาปัตยกรรม”<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย<br />

7


๑<br />

จุุดเริ่มต้นที่<br />

หอไตรวััดระฆััง


10<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย<br />

ภาพถ่ายเก่าวััดระฆัังโฆัสิตาราม


วััดระฆัังโฆสิิตารามวัรมหาวิิหาร<br />

วัดระฆัังโฆัสิตาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร<br />

เดิมเรียกว่า วัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี<br />

คู่กับวัดบางหว้าน้อย คือ วัดอมรินทราราม พุทธศักราช ๒๓๑๒ หลังจากที่<br />

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พร้อมกับตั้ง<br />

พระนครหลวงขึ้นใหม่เรียกว่า กรุงธนบุรี ได้ทรงบูรณปฏิิสังขรณ์<br />

วัดบางหว้าใหญ่พร้อมทั้งยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง ทรงโปรดให้<br />

อัญเชิญพระไตรปิฎกมาจากนครศรีธรรมราช และทรงอาราธนาพระเถระ<br />

ผู้ใหญ่ โดยมีสมเด็จพระสังฆัราช (สี) ทรงเป็นประธานมาชำระพระไตรปิฎกที่<br />

วัดบางหว้าใหญ่นี้ ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธ<br />

ยอดฟื้้าจุฬาโลกฯ ได้ทรงบูรณปฏิิสังขรณ์ครั้งใหญ่ และได้ขุดพบระฆััง<br />

ลูกหนึ่งปรากฏม ีเสียงไพเราะกังวานมาก จึงโปรดให้นำเก็บไว้ที่วัด<br />

พระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นพระองค์จึงโปรดให้สร้างหอระฆัังขึ้น พร้อม<br />

ระฆัังอีก ๕ ลูกเป็นการทดแทน และได้พระราชทานนามใหม่หลังบูรณะ<br />

เสร็จเรียบร้อยว่า “วัดระฆัังโฆัสิตาราม”<br />

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง<br />

เปลี่ยนชื่อวัดมาหลายวัด และได้ทรงเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดราชคัณฑิยาราม”<br />

(คัณฑิ แปลว่าระฆััง) แต่ชื่อนี้ไม่ได้รับความนิยมมากนัก ผู้คนทั่วไปยังคงเรียก<br />

“วัดระฆััง” ตามเดิมถึงทุกวันนี้<br />

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) พระมหาเถระรูปสำคัญผู้ซึ่ง<br />

เคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆัังโฆัสิตารามวรมหาวิหารในสมัย<br />

รัชกาลที่ ๔ จนถึงสมัยตอนต้นของรัชกาลที่ ๕ เป็นพระเกจิเถราจารย์<br />

เป็นที่เคารพนับถือด้านคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง<br />

วัตถุมงคล แต่เหนืออีกสิ่งอื่นใดสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ทรง<br />

ดำรงตนเป็นผู้สมถะ มักน้อยสันโดษ ไม่ปรารถนาลาภยศ การแสดงออก<br />

ของท่านตามบันทึกหลักฐานในสมัยหลังมักบันทึกถึงความเป็นพระเถระ<br />

ผู้มีเมตตา ดำรงศีลาจารวัตรเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของคนทั่วไป ในด้าน<br />

ความรอบรู้พระปริยัติธรรม ปรากฏิไว้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)<br />

มีชื่อทั้งเป็นผู้เรียนก็เรียนเก่งกว่าใคร เป็นครูก็สอนได้ดีเยี่ยม และมีลูกศิษย์<br />

ลูกหามากมาย ทั้งเป็นผู้แตกฉานในพระไตรปิฎก<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

11<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวััดระฆัังโฆัสิตาราม<br />

พระอุโบสถ<br />

ภายในวัดระฆัังโฆส ิตารามมีถาวรวัตถุที่สำคัญ ดังนี้ คือ<br />

สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เพื่อทดแทนพระอุโบสถหลังเก่าที่สร้างใน<br />

สมัยรัชกาลที่ ๑ หลังคาลด ๓ ชั้น มีช่อฟื้้า ใบระกา หางหงส์ และคันทวย<br />

สลักเสลาอย่างสวยงาม บานประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ามี<br />

เครื่องหมายรูประฆััง ด้านในเขียนภาพทวารบาลยืนแท่นระบายสีงดงาม<br />

บริเวณฝ่าผนังภายในพระอุโบสถประดับด้วยภาพจิตรกรรมที่ได้รับการ<br />

ยกย่องว่าฝ่ีมืองดงาม มีชีวิตชีวาอ่อนช้อย และแสงสีเหมาะสมกับเรื่องราว<br />

เขียนโดย พระวรรณวาดวิจิตร (ทอง จารุวิจิตร) จิตรกรเอกในสมัยรัชกาล<br />

ที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ที่มีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถในรัชกาลนั้น<br />

พระวัิหาร<br />

เป็นพระอุโบสถหลังเดิมของวัดบางหว้าใหญ่ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสิน<br />

มหาราช<br />

หอระฆัังจตุรมุข<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟื้้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างขึ้น<br />

พร้อมระฆัังที่พระราชทานแทนระฆัังที่ทรงขอนำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตน<br />

ศาสดาราม<br />

พระปรางค์<br />

รัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วม<br />

กุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ (สมเด็จเจ้าฟื้้าหญิง กรมพระยาเทพ<br />

สุดาวดี พระนามเดิม สา) ตั้งอยู่หน้าพระวิหาร ได้รับการยกย่องจากสมเด็จ<br />

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟื้้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่าเป็นพระปรางค์ที่<br />

ทำถูกแบบที่สุดในประเทศไทย พระปรางค์องค์นี้จัดเป็นพระปรางค์แบบ<br />

สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้น ที่มีทรวดทรงงดงามมาก จนยึดถือเป็น<br />

แบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมา<br />

ตำหนักแดง<br />

เป็นเรือนไม้สักฝ่าปะกน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขทรงยกถวาย<br />

วัดระฆัังโฆส ิตารามเพื่อปลูกเป็นกุฏิิสงฆ์์ ปัจจุบันอยู่ภายในบริเวณคณะ ๒<br />

เชื่อกันว่าเป็นตำหนักสำหรับทรงกรรมฐานของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี<br />

(พระเจ้าตากสิน) สันนิษฐานจากพระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งได้ตรัสกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ<br />

กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อเสด็จมาทอดพระเนตรกุฏิินี้ว่า เป็นตำหนัก<br />

แรกของพระเจ้ากรุงธนบุรี หลักฐานที่นำมาอ้างอิงคือฝ่าประจันที่ใช้กั้นห้อง<br />

ภายในตำหนักเดิม เขียนรูปอสุภต่างๆ ชนิด และมีภาพพระภิกษุเจริญ<br />

กรรมฐาน ซึ่งสอดคล้องกับพระอุปนิสัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

แต่ปัจจุบันภาพเหล่านี้ลบเลือนหายไปหมดสิ้นแล้ว<br />

พระวัิหารสมเด็จพระสังฆัราช (สี)<br />

ตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ หลังคามุงกระเบื้องเคลือบประดับคันทวย<br />

ตามเสาอย่างสวยงาม หน้าบันทั้งสองด้านจำหลักรูปฉัตร ๓ ชั้น อันเป็น<br />

เครื่องหมายพระยศของสมเด็จพระสังฆัราช วิหารหลังนี้เดิมหลังคาเป็นทรง<br />

ปันหยา เรียกว่า ศาลาเปลื้องเครื่อง ต่อมา พระราชธรรมภาณี (ละมูล) อดีต<br />

เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐ ได้เปลี่ยนเป็นหลังคาทรงไทย มีช่อฟื้้า ใบระกา หางหงส์<br />

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระสังฆัราช (สี)<br />

ซึ่งเดิมบรรจุอยู่ในรูปพระศรีอริยเมตไตรย ประดิษฐานในซุ้มพระปรางค์ของ<br />

วัดระฆัังโฆส ิตาราม ต่อมาได้ย้ายมาไว้ที่พระวิหารที่ปฏิิสังขรณ์ขึ้นใหม่เพื่อ<br />

ยกย่องพระเกียรติของพระองค์<br />

12<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวัดระฆััง 13<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ภาพลายเส้นหอไตรวัดระฆัังโฆส ิตาราม ที่มา : กรมศิลปากร โดย จมร ปรปักษ์ประลัย<br />

14<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


แผนผังแสดงที่ตั้งปัจจุบันของหอไตรวัดระฆััง<br />

หอพระไตรปิฎก<br />

หอไตรวัดระฆััง หรือในอีกชื่อเรียกว่า “ตำหนัก<br />

จันทน์” กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน<br />

สำคัญของชาติ ใน พ.ศ. ๒๔๙๒ เดิมเคยเป็น<br />

พระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธยอดฟื้้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงรับราชการ<br />

เป็นที่พระราชวรินทร์เจ้ากรมพระตำรวจนอกฝ่่ายขวา<br />

ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงรื้อไป<br />

ถวายวัดบางหว้าใหญ่ ในคราวเสด็จเป็นแม่ทัพไปตี<br />

เมืองโคราช<br />

เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ มีการสังคายนา<br />

พระไตรปิฎกตามธรรมเนียมกษัตริย์ขึ้นที่วัดมหาธาตุ<br />

ยุวราชรังสฤษฎิราชวรมหาวิหาร จึงโปรดให้ปฏิิสังขรณ์<br />

เรือนแฝ่ดกลุ่มนี้เพื่อใช้เป็นหอพระไตรปิฎก โดยขุดพื้นที่<br />

บริเวณที่พบระฆัังออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม ก่ออิฐกั้นเป็น<br />

สระแล้วรื้อพระตำหนักจากที่เดิมมาปลูกลงในสระ โดย<br />

เปลี่ยนหลังคามุงจากเป็นมุงกระเบื้อง เปลี่ยนฝ่าสำหรวด<br />

กั้นกะแซงเป็นฝ่าปะกนไม้สัก ทรงสร้างตู้พระไตรปิฎก<br />

ขนาดใหญ่ บานเขียนลายรดน้า ประดิษฐานในห้องด้าน<br />

เหนือและด้านใต้ห้องละ ๑ ตู้ ทั้งนี้อยู่ในความควบคุม<br />

ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้ง<br />

ดำรงพระยศเป็นเจ้าฟื้้ากรมหลวงอิศรสุนทร เป็นผู้ทรง<br />

อำนวยการสร้าง เมื่อดำเนินการเสด็จโปรดให้มีการ<br />

สมโภชและปลูกต้นจันทน์ไว้ ๘ ต้น อันเป็นเหตุให้เรียก<br />

หอไตรนี้ว่า “ตำหนักจันทน์”<br />

ปัจจุบัน ทางวัดได้ย้ายหอไตรหลังนี้เข้ามาปลูกใหม่<br />

ภายในบริเวณกำแพงแก้ว อยู่ด้านหลังพระอุโบสถทาง<br />

ทิศใต้ และบูรณะซ่อมแซมภาพเขียนที่ชำรุดเสียหาย<br />

ให้คงไว้ดังเดิม<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

15<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ลักษ์ณะทางสถาปัตยกรรม<br />

หอไตรหลังนี้ มีลักษณะเป็นตำหนัก ๓ หลังแฝ่ด การประกอบตัว<br />

เรือนเป็นไปในลักษณะสำเร็จรูปแบบเรือนไทยโบราณมีลักษณะพิเศษ คือ<br />

การต่อเสาบากประกบกัน โดยใช้สลักเหล็กแทนเดือยไม้ พื้นปูกระดาน<br />

ขนาดใหญ่ หย่องหน้าต่างเป็นลูกมะหวดที่มีลักษณะกลึงสวยงาม หลังคา<br />

มุงด้วยกระเบื้อง ไม่มีช่อฟื้้า ใบระกา หางหงส์ มีระเบียงด้านหน้า ชายคามี<br />

กระจังรูปเทพนมเรียงรายเป็นระยะ หอพระไตรปิฎกหลังนี้มีคุณค่าในทาง<br />

สถาปัตยกรรมอย่างยิ่ง ทำให้เราทราบวิธีการก่อสร้างและปลูกเรือนในสมัย<br />

รัชกาลที่ ๑ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรง<br />

บันทึกเรื่องแบบอย่างการก่อสร้างไว้ว่า “…เรื่องฝ่ีมือช่างโบราณนั้นตามที่<br />

หม่อมฉันสังเกต เข้าใจว่าในสมัยครั้งกรุงธนบุรี ช่างไทยเห็นจะเหลือน้อย<br />

เต็มที ฝ่ีมือของที่ทำครั้งกรุงธนบุรีอยู่หยาบมาก ฝ่ีมือช่างกลับมาดีขึ้นเมื่อ<br />

รัชกาลที่ ๑ เห็นจะเป็นช่างที่หัดขึ้นใหม่และจัดกวดขันการฝึึกหัดมาก เพราะ<br />

ต้องสร้างของต่างๆ ตั้งแต่เรื่องราชูปโภคราชมณเฑียรสถาน ราชยาน<br />

ตลอดจนวัดวาอาราม จึงเกิดช่างฝีีมือดีมีขึ้นมาก แต่พึงสังเกตได้อย่างหนึ่งว่า<br />

ของที่สร้างในรัชกาลที ่ ๑ ทำตามแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยาทั้งนั้น ถึง<br />

รัชกาลที่ ๒ จึงคิดแผลงไปต่างๆ …”<br />

เมื่อเข้ามาภายในหอไตรแล้วจะเป็นหอกลาง ขวามือคือหอนั่ง ซ้ายมือ<br />

คือหอนอน หอนั่งกั้นด้วยราวลูกกรงเตี้ยบนพื้นหอยกสูงกว่าหอกลางเล็กน้อย<br />

ตรงกลางตั้งเสาหัวเม็ดทรงมัณฑ์แบบเก่า ๑ คู่ เป็นช่องทางสำหรับขึ้น<br />

ราวลูกกรงทาสีแดงชาด หัวเม็ดปิดทอง หอกลางกับหอนั่งมองดูโล่งตลอดถึงกัน<br />

ทำให้มองเห็นหน้าต่างโดยรอบ สำหรับหอนอน ฝ่าของหอนอนเป็นฝ่าปะกน<br />

ด้านในเรียบ พื้นหอนอนยกสูงกว่าหอกลางเท่ากับหอนั่ง ที่หอนั่งกับหอนอน<br />

มีตู้พระธรรมเขียนลายรดน้ำขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ซึ่งตู้พระธรรมและหอไตรนั้น<br />

ได้ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกัน<br />

งานแกะสลักไม้ที่มาประกอบกันขึ้นเป็นหอพระไตรปิฎกนั้น มีอยู่ทั้ง<br />

ภายนอกตลอดไปถึงภายใน ด้านหน้าต่อกับบันไดทางขึ้น ที่ทางขึ้นชานชาลา<br />

มีบานประตูไม้แกะสลักเป็นลายกนก มีนาคพันอยู่ที่โคนประดับกระจกสีตาม<br />

ช่องไฟื้ เหนือบานประตูขึ้นไปเป็นแผ่นไม้หนารูปทรงคล้ายหน้าบัน แกะลาย<br />

อย่างบานประตู เข้าชุดกัน สวยงามพิสดาร ลงรักปิดทองทั้งประตูและซุ้ม<br />

คันทวยรับชายคานั้น สลักเป็นคันทวยทรงนาคปิดทองประดับกระจกสี<br />

เช่นเดียวกับกรอบหน้าต่างและลูกกรงหน้าต่าง เมื่อเข้าไปถึงชานชาลาแล้ว<br />

จะเห็นประตูเข้าตัวเรือน เป็นประตูไม้แกะสลักลวดลายกนกวิจิตรพิสดาร<br />

เป็นรูปนกวายุภักษ์จับที่โคนต้นกนกคล้ายกันทั้งสองบาน<br />

บานหน้าต่างบริเวณหอนั่งมีการเขียนทั้งสองด้าน ด้านนอกเขียน<br />

ลายรดน้าเป็นรูปเทวดา ด้านในเป็นรูปเทวดาเขียนสอดสี ส่วนบริเวณหอนอน<br />

บานประตูเขียนลายรดน้ำก้านขด บานประตูด้านในเขียนภาพระบายสีเป็น<br />

ภาพต้นไม้ใหญ่สองต้นด้วยฝีีแปรงเฉียบขาด ใต้ต้นไม้มีพระภิกษุกำลังเจริญ<br />

อสุภกรรมฐาน ในขณะที่ประตูหอกลางเป็นภาพเขียนระบายสี รูปยักษ์สองตน<br />

มีการเขียนที่ใหญ่จนเต็มบานประตูยืนเท้ากระบอง รูปร่างหน้าตาท่าทาง<br />

ถมึงทึงน่าเกรงขาม ผิดกับรูปยักษ์อื่นๆ ที่เคยเห็น ตนหนึ่งผิวกายขาวคือ<br />

สหัสเดชะ ตนหนึ่งผิวกายเขียวคล้ำคือวิรุฬจำบัง<br />

ตู้พระธรรมสำหรับเก็บพระไตรปิฎกอยู่ในหอนอนและหอนั่งมี<br />

ขนาดใหญ่โตจนไม่สามารถนำออกจากประตูได้ทั้ง ๒ ใบ ใบที่ตั้งอยู่ใน<br />

หอนอนนั้นเขียนลายรดน้าเป็นภาพเทวดาขนาดใหญ่ยืนบนแท่นมีอสูรและ<br />

กระบี่เขียนเต็มขนาดใหญ่ของตู้สี่ด้านเป็นผู้แบกมีความงามวิจิตรพิสดารยิ่งนัก<br />

ดูแล้วก็เปรียบเหมือนเป็นประธานของหอนอน ส่วนที่หอนั่งก็มีตู้พระธรรม<br />

ขนาดเท่ากันกับที่หอนอนเป็นแต่ผูกลายกนกเต็มตู้ทั้งใบ<br />

16<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวัดระฆัังมีรูปแบบเรือนไทยโบราณที่มีลักษณะเป็นตำหนัก ๓ หลังแฝ่ด<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

17<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ทัศนียภาพด้านหน้าอาคารหอไตรวัดระฆัังในปัจจุบัน<br />

18<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


คันทวยไม้แกะสลักโดยรอบอาคาร<br />

ซุ้มประตูหอไตรวัดระฆัังเป็นงานไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจก<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

19<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


งานฝีีมือช่างไม้แกะสลักของส่วนคันทวย หน้าต่าง และบานประตู<br />

20<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ซุ้มประตูไม้แกะสลักที่ทำขึ้นใหม่เพื่อทดแทนของเดิมที่ชำรุด<br />

ซุ้มประตูไม้แกะสลักของเดิม ถอดเก็บรักษาไว้ในอาคารหอพระไตรปิฎก<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

21<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


22<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย<br />

ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายภายในหอไตรวััดระฆััง


ภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟื้้าจุฬาโลกมหาราชภายในหอไตรวัดระฆััง<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

23<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ภายในหอไตรวัดระฆััง<br />

24<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ตู้พระธรรมสำหรับเก็บพระไตรปิฎกตั้งอยู่บริเวณหอนั่งของหอไตรวัดระฆััง<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

25<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


บานหน้าต่างของหอไตร<br />

วัดระฆัังประดับด้วยลายรดน้ำ<br />

26<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ภายในหอไตรวััดระฆััง 27<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ภาพจิตรกรรมฝ่าผนังภายใน<br />

ส่วนหอนอน หอไตรวัดระฆััง<br />

28<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ภาพจิตรกรรมภายในหอพระไตรปิฎก<br />

รูปภาพจิตรกรรมที่มีเขียนไว้ในหอพระไตรปิฎกนี้ มีปรากฏิอยู่เกือบ<br />

ทุกส่วนของหอไตร บริเวณหอกลางเขียนเรื่องรามเกียรติ เป็นงานเขียน<br />

ฝีีมือพระอาจารย์นาค ตอนศึกกุมภกัณฑ์ ภาพที่เขียนไว้ที่ด้านประตูทางเข้า<br />

เหนือประตูเป็นรูปสุครีพกำลังถอนต้นรังด้วยเรี่ยวแรงแข็งขัน ต่อไปขวามือ<br />

เป็นภาพกุมภกัณฑ์เข้ารบรับขับเคี่ยวกับสุครีพ จนสุครีพเสียท่าเพราะหมด<br />

กำลังถูกกุมภกัณฑ์จับหนีบรักแร้พาตัวไปได้ ล่างลงมาเป็นภาพของกำแหง<br />

หนุมานเหาะลงมาช่วยสุครีพ เข้ารบกับกุมภกัณฑ์รุกรบตบตีด้วยต้นไม้จน<br />

กุมภกัณฑ์พ่ายหนีไปและช่วยสุครีพไว้ได้ ด้านตรงกันข้ามเป็นตอนศึก<br />

อินทรชิตรบกับพระลักษมณ์ อินทรชิตแปลงกายเป็นพระอินทร์ทรง<br />

ช้างเอราวัณพรั่งพร้อมด้วยยักษ์แปลงเป็นเทพเทวัญประดับธงริ้วไสวสะบัด<br />

ชายเรืองรองเหมือนกองทัพเต็มอัตราอิสริยยศอันเกรียงไกรของพระอินทร์<br />

ประจันหน้ากับกองทัพของพระลักษมณ์ อนุชาของพระรามกำลังประทับเงื้อง่า<br />

พระแสงศรอยู่บนราชรถเทียมม้ามีฉัตร พัดโบก จามรกางกั้นมีพญาหนุมาน<br />

ชามพูวราช สุครีพ และวานรเป็นพลพรรค<br />

จิตรกรรมฝ่าผนังภายในหอนั่งเขียนเรื่องชุมนุมเทวดา มีการเขียน<br />

เหนือหน้าต่างขึ้นไปเป็นภาพเทพชุมนุมเขียนสอดสีทั้งสามด้าน เริ่มจากขวา<br />

มาซ้าย เทวดาชั้นจตุมหาราชิกา ยักษ์ ครุฑ นาค คนธรรพ์ เทพ อินทร์ พรหม<br />

เป็นที่สุด คล้ายกันกับเทพชุมนุมที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ แต่ที่นี่มีแถวเดียว<br />

พื้นฝ่าระหว่างช่องหน้าต่าง เขียนภาพต้นไม้ ป่า เขา นก และสัตว์ต่างๆ<br />

จิตรกรรมฝ่าผนังภายในหอนอนด้านซ้ายมือครึ่งหนึ่งเขียนเรื่อง<br />

ไตรภูมิ เป็นวิมานเทวดาบนยอดเขาสัตตบริภัณฑ์ที่ล้อมเขาพระสุเมรุ<br />

บรรยากาศเป็นป่าหิมพานต์ที่อยู่ของเทวดา ของอสูร ตามภูมิ ตามชั้นต่างๆ<br />

ภาพสิงห์สาราสัตว์ เช่น ช้าง ม้า วัว นาค นกยูง กินรี กินร จับกลุ่มเริงระบำ<br />

ส่วนอีกครึ่งเขียนแทรกไว้ด้วยเรื่องพระเวสสันดรกับนางมัทรีและสองกุมาร<br />

ประทับที่ใต้ต้นไม้ที่ออกดอกแดงสล้าง เหนือขึ้นไปเขียนเป็นรูปเหล่าฤษี<br />

นักสิทธิวิทยาธรกำลังเหาะล่องลอยตามกันไปไหว้พระจุฬามณีเจดีย์ ฝ่าผนัง<br />

ด้านขวามือทั้งฝ่าเขียนนิทานธรรมบท เรื่องราวของท้าวสักกเทวราชผู้เป็นใหญ่<br />

ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรื่องที่เขียนเป็นประธานฝ่าผนังนี้คือตอนมฆัมานพ<br />

สร้างศาลาเป็นทาน มฆัมานพมีภริยาสี่คน คือ นางสุธรรมา นางสุจิตรา<br />

นางสุนันทา และนางสุชาดา ภริยาสามคนแรกร่วมทำบุญสร้างกุศลด้วย<br />

ช่วยสร้างศาลา ช่อฟื้้า สระน้ำ สวนดอกไม้ เพื่อให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ<br />

ส่วนภริยาอีกคนคือนางสุชาดาไม่มีจิตร่วมกุศล คิดว่าสามีทำกุศลเราก็ได้รับ<br />

ผลเหมือนกัน จึงสาละวนอยู่กับการแต่งตัว ด้วยผลบุญกุศลที่ช่วยกันสร้าง<br />

มฆัมานพได้เกิดเป็นท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์เป็นใหญ่ในดาวดึงส์<br />

ภริยาทั้งสามก็ไปเกิดเป็นมเหสีพระอินทร์ ส่วนนางสุชาดาไปเกิดในภพต่างๆ<br />

เป็นนกกระยาง เป็นธิดาช่างปั นหม้อ และเป็นธิดาอสูรเวปจิตติ ฯลฯ มฆัมานพ<br />

แม้จะเป็นใหญ่ในสวรรค์แล้วก็ไม่วายเป็นทุกข์เป็นห่วงนางสุชาดาภริยา<br />

ผู้หลงผิด ต้องร้อนใจติดตามลงมาช่วยนางอยู่หลายชาติเพราะอำนาจแห่ง<br />

กิเลสตัณหา<br />

ตู้พระธรรมประดับลายรดน้ำใช้เก็บพระไตรปิฎก<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

29<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


รายละเอียดภาพจิตรกรรมฝ่าผนังภายในหอไตรวัดระฆััง<br />

30<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

31<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


จิตรกรรมฝ่าผนังในหอนอนด้านขวาเขียนเต็มผนัง ตอนมฆัมานพสร้างศาลา มีภริยาช่วยสร้างศาลา สระน้ำ สวนดอกไม้<br />

เพื่อให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ เหนือขึ้นไปเป็นรูปนักสิทธิวิทยาธรกำลังเหาะตามกันไปไหว้พระจุฬามณีเจดีย์<br />

32<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

33<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


34<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


การอนุรักษ์์งานสถาปัตยกรรมทีเริมจากคุณคาของจิตรกรรม<br />

(ผานบทสัมภาษณ ์ครูเทพศิริ สุขโสภา)<br />

อาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา<br />

“หอไตรหลังนี้ อาจารย์เฟื้้อท่านไปเห็นนานแล้ว” ครูเทพหรือ<br />

อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา ลูกศิษย์ของอาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ เริ่มเล่าเรื่องราว<br />

ของอาจารย์เฟื้้อ และหอไตรวัดระฆััง ผ่านความทรงจำ<br />

ครูเทพเล่าว่าอาจารย์เฟื้้อได้อ่านหนังสือที ่เขียนโต้ตอบระหว่าง<br />

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับสมเด็จเจ้าฟื้้ากรมพระยานริศรา<br />

นุวัดติวงศ์ และพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๒ ของสมเด็จกรมพระยาดำรง<br />

ราชานุภาพ ซึ่งมีการกล่าวถึงผลงานฝ่ีมือของพระอาจารย์นาคที่อยู่หอ<br />

พระไตรปิฎก วัดระฆัังโฆัสิตาราม ทำให้เกิดความสนใจในอาคารหลังนี้ ในช่วง<br />

เวลานั้น หอพระไตรปิฎกตั้งอยู่กลางสระน้ำ ข้างเมรุวัดระฆััง มีสภาพชำรุด<br />

ทรุดโทรม และใช้เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์์ รวมทั้งเป็นที่เก็บเครื่องไม้ใช้สอย<br />

แม้กระทั่งใช้เป็นที่เก็บศพ ทั้งยังมีการสร้างอาคารอื่นๆ รายรอบในระยะประชิด<br />

ทำให้บริเวณหอพระไตรปิฎกขาดความสง่างาม<br />

ในส่วนของภาพจิตรกรรมฝ่าผนังนั้น ครูเทพเล่าว่าครั้งแรกที่อาจารย์<br />

เฟื้้อเห็นนั้น ภาพจิตรกรรมอยู่ในสภาพลบเลือน ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่า<br />

เป็นฝ่้อมือของพระอาจารย์นาคจริงหรือไม่ จนกระทั่งด้วยความบังเอิญใน<br />

วันหนึ่ง ทำให้อาจารย์เฟื้้อได้เห็นความงดงามของภาพเขียนฝ่ีมือชั้นครู<br />

“มีครั้งหนึ่ง อาจารย์เฟื้้อก็ยืนบนโรง แล้วมือก็ถูผนัง ไม้มันดำเพราะ<br />

ตากลมตากแดด พอยืนเอามือถูๆ สีมันก็หลุดออกมา มีรูปเขียนที่อาจารย์<br />

สงสัยมาตลอดว่ามันน่าจะเป็นจิตรกรรมฝีีมือพระอาจารย์นาค พอรู้สึกว่า<br />

น่าจะเป็นอันนี้ วินาทีนั้นคือร้องไห้เลย”<br />

หลังจากอาจารย์เฟื้้อพบว่าที่ฝ่ากระดานทั้งสองมีงานจิตรกรรมอยู่<br />

ท่านก็ได้ย้ายของออก และใช้น้ายาเช็ดทำความสะอาด อาจารย์เฟื้้อพยายาม<br />

อย่างยิ่งที่จะทำการอนุรักษ์อาคารสำคัญหลังนี้ แม้กระทั่งส่งเรื่องไปที่<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่คนที่เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์อาคาร<br />

อันทรงคุณค่าหลังนี้ก็ยังมีไม่มากนัก<br />

“อาจารย์เฟื้้อพยายามจะทำเรื่องนี้ แต่ก็ไม่มีใครเห็นความสำคัญ<br />

อย่างที่ว่า หลวงพ่อก็ไม่เห็น ชาวบ้านก็ไม่เห็น ทุกคนไม่เห็น มันก็น่าเศร้า<br />

แกเทียวไปเทียวมาไม่รู้จะทำไง”<br />

หลังจากนั้น อาจารย์เฟื้้อเดินทางมาศึกษาค้นคว้าที่หอพระไตรปิฎก<br />

อยู่เป็นระยะ วันหนึ่งท่านได้พบว่ามีช่างไม้กำลังจะรื้ออาคารเพื่อเปลี่ยนเสา<br />

ที่ผุพังออก เนื่องจากเกรงว่าอาคารอาจจะพังลงมา อาจารย์เฟื้้อจึงเดินทาง<br />

ไปพบอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ให้มาช่วยเจรจากับทางวัดเพื่อที่จะขอ<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

35<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ทำการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก รวมทั้งได้เชิญหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ มาเป็น<br />

ประธานอนุกรรมการในการบูรณปฏิิสังขรณ์ครั้งนี้ และมีสมาคมสถาปนิก<br />

สยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้สนับสนุน<br />

และนี่คือที ่มาของการเริ่มต้นอนุรักษ์อาคารหอพระไตรปิฎกของ<br />

สมาคมสถาปนิกสยามฯ และเป็นต้นแบบของการทำงานด้านการอนุรักษ์ที่<br />

ยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง นอกจากเรื่องราวความเป็นมาของการเกิดโครงการ<br />

บูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกวัดระฆัังโฆสิิตาราม ครูเทพได้เล่าถึงเรื่องราว<br />

ระหว่างการดำเนินการอนุรักษ์ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ท่านได้มีส่วนร่วมกับ<br />

อาจารย์เฟื้้อในการทำงาน รวมทั้งเรื่องราวที่ท่านได้มีโอกาสพบเห็นจากการ<br />

ทำงานของอาจารย์เฟื้้อ และเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือการดำเนินการ<br />

อนุรักษ์ “จิตรกรรม” ที่ฝ่ากระดานหอพระไตรปิฎก<br />

เรื่องราวหนึ่งที่ได้รับการถ่ายทอดผ่านความทรงจำของครูเทพ คือ<br />

เหตุการณ์ที่ระหว่างการดำเนินการ เกิดฝ่นตกในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูฝ่น ซึ่งขณะนั้น<br />

ตัวหอไตรได้เริ่มทำการบูรณะแล้ว มีการยกผนังหอไตรมาตั้ง โดยที่ยังไม่มี<br />

หลังคา เหตุการณ์นี้มีผู้มาแจ้งครูเทพโดยตรงก่อนที่ครูเทพจะไปเรียนให้<br />

อาจารย์เฟื้้ออีกที่<br />

“เวลางานจิตรกรรมโดนฝ่น ภาพที่มันแตกมันก็เหมือนเกล็ดปลาคือ<br />

มันก็งอ ถ้าคุณลูบก็ร่วง แล้วเราก็ไม่รู้มันร่วงเท่าไหร่แล้ว มันก็ยังมีติดอยู่นะ<br />

แต่มันมีความด่างมากด่างน้อย ซึ่งเราก็ไม่ใช่คนที่รู้ละเอียดขนาดนั้น คนที่รู้<br />

ที่สุดคืออาจารย์เฟื้้อ เราเลยนั่งเรือข้ามฟื้ากไปตามอาจารย์เฟื้้อ ใครจะคิดว่า<br />

ฝ่นจะตก เพราะช่วงนั้นไม่ใช่ฤดูฝ่น อาจารย์เฟื้้อท่านก็ตกใจ เพราะนี่คือ<br />

สมบัติแผ่นดินชิ้นสำคัญ ท่านรู้ว่าของแบบนี้สำคัญขนาดไหน แล้วนี่คือภาพ<br />

จิตรกรรมชิ้นเยี่ยมที่ยังไม่มีใครรู้ ที่สำคัญคือมีสาส์นสมเด็จเขียนถึงอีกด้วย”<br />

ครูเทพเล่าถึงเหตุการณ์หลังจากแจ้งให้อาจารย์เฟื้้อทราบ อาจารย์เฟื้้อ<br />

ก็รีบนำเรื่องไปแจ้งให้หม่อมเจ้ายาใจทราบ หลังจากนั้นท่านก็ข้ามกลับไปที่<br />

วัดระฆัังเพื่อรีบไปดูภาพจิตรกรรมชิ้นสำคัญ<br />

“พอขึ้นฝ่ั่งวัดระฆััง คนแก่เดินเร็ว ผมเดินตามไปเนี่ย ท่านก็เดินเลยที่<br />

ที่เราย้ายมาตั้ง เราก็คิดว่ามันเลยไปแล้วนะ ท่านก็เลยไปที่กุฏิิพระ ย่อตัวลง<br />

ทรุดลงนั่งกับพื้นเลย ต่อมาถึงทราบว่าฝ่าไม้กระดานที่ยกไปตั้งเป็นฝ่ีมือของ<br />

ลูกศิษย์ ส่วนงานจิตรกรรมฝ่ีมืออาจารย์นาคยังไม่ได้เอาออกไป เท่ากับตาย<br />

แล้วเกิดใหม่เลย เป็นโชคดีที่ภาพจิตรกรรมฝ่ีมืออาจารย์นาคนั้นยังไม่ได้ถูก<br />

นำไปตั้ง ทำให้ภาพไม่ได้รับความเสียหาย แต่ปัญหาขั้นต่อไปของการดำเนินการ<br />

คือจะมีการป้องการภาพจิตรกรรมเหล่านี้จากฝ่นด้วยวิธีใด เนื่องจาก<br />

อย่างไรก็ต้องนำเอาฝ่ากระดานที่มีภาพจิตรกรรมของอาจารย์นาคไป<br />

ประกอบกับส่วนอื่นของหอไตร ครูเทพเล่าถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่าง<br />

ชาญฉลาดของอาจารย์เฟื้้อ ที่แก้ปัญหาด้วยการนำพลาสติกมาคลุมตัว<br />

อาคารไว้ โดยมีครูเทพเป็นลูกมือของท่าน”<br />

“ปัญหาที่หนักกว่า คือจะแจ้งใคร จะทำยังไง แก้ปัญหายังไง ช่างใน<br />

เวลานั้นก็ไม่มีในขณะที่่ฟ้้ามันมืดเมฆัมาอีกแล้ว ท่านก็โทรศัพท์ให้คนไปซื้อ<br />

พลาสติกยาวๆ เป็นม้วนๆ แล้วให้ผมปีนขึ้นโบสถ์เอาผ้าซ้อนกันพลาสติก<br />

คลุมเลย คลุมซ้อนๆ ทั้งหลัง มันอย่างกับนิยายเลยนะ ปาฏิิหาริย์เลย ถ้าวัน<br />

นั้นผมไม่ปีนขึ้นไปฉิบหายกันหลายเท่าเลย พลาสติกผ้าคลุมซ้ำกันหลายๆ ซ้อน<br />

ตึงไม่ให้ลมมันเข้า”<br />

อาจารย์เฟื้้อในความทรงจำของครูเทพ คืออีกหนึ่งคนที่ทุ่มเทกับการ<br />

บูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกหลังนี้เป็นอย่างมาก ในบางวันอาจารย์เฟื้้อ<br />

ถึงกับถอดหน้าต่างหอไตรออกมาทำการศึกษาเพื่อให้การอนุรักษ์สมบูรณ์<br />

ที่สุด หลังจากนั้นอาจารย์เฟื้้อยังคงทำการอนุรักษ์จิตรกรรมฝ่าผนัง ต่อมา<br />

อีกหลายปีท่านศึกษาค้นคว้าจนทราบถึงลักษณะเดิมของงานจิตรกรรมนั้น<br />

และหากเพียงแต่ล้างทำความสะอาด ก็จะมีสภาพเหมือนเดิม คือเข้ามาแล้ว<br />

ไม่มีอะไรที่น่าสนใจ และในที่สุดก็อาจต้องทิ้งไปเพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า<br />

ท่านจึงเริ่มใช้วิธีการอนุรักษ์โดยการพิจารณาว่าสิ่งใดที่มีคุณค่าสำคัญเป็น<br />

งานของช่างฝีีมือชั้นครู ก็ทำการรักษารูปแบบเดิมไว้ โดยไม่มีการแก้ไข ส่วนที่มี<br />

คุณค่าชั้นรองลงมา และทราบถึงลักษณะเดิม ค่อยทำการปรับปรุงแก้ไข<br />

เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าของงาน<br />

“เส้นแบบที่ท่านคัดลอก ท่านทำละเอียด โดยท่านจะสอนเสมอว่า<br />

เมื่อจะลอก เราต้องถอยใจเป็นคนที่วาด”<br />

วิธีการหลักๆ ของอาจารย์เฟื้้อคือการลอกงานใส่แผ่น แล้วนำมา<br />

คัดลอกลายเส้น จดสี แล้วกระบวนการเป็นอย่างไร ชุดนั้นยังมีอยู่ไหม<br />

เนื่องจากอาจารย์เฟื้้อมีแนวคิดว่าการแก้ไขต่อเติมผลงานของช่างฝีีมือ<br />

ชั้นครูนั้นเท่ากับลบหลู่และทำลายงานศิลปะ หากอยากจะสร้างสรรค์<br />

ศิลปกรรมใหม่ก็ควรจะแยกออกมาทำต่างหาก ไม่ควรไปก้าวล้ำของโบราณที่<br />

ครูเก่าๆ สร้างสรรค์ไว้<br />

เรื่องราวที่ได้รับการบอกเล่าผ่านความทรงจำของครูเทพ ถูกศิษย์<br />

ผู้เป็นเสมือนลูกอีกหนึ่งคนของอาจารย์เฟื้้อ ทำให้เห็นถึงภาพของความมุ่งมั่น<br />

ทุ่มเท ของผู้ช่วยศาสตราจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ ที่เสียสละ อุทิศทั้งกายใจ<br />

สติปัญญา ในการที่จะอนุรักษ์มรดกอันเป็นสมบัติล้าค่าของชาติชิ้นนี้ให้คง<br />

อยู่สืบต่อไป<br />

36<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ตู้พระธรรมในหอพระไตรปิฎกประดับลวดลายรดน้ำสวยงามวิจิตร<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

37<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ความงดงามของงานศิลปกรรมประดับบานประตูและบานหน้าต่างของหอไตรวัดระฆััง<br />

38<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


บทบาทของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในการบูรณปฏิิสังขรณ์<br />

อาจารย์วทัญญูู ณ ถลาง<br />

นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๒๓<br />

อาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์<br />

นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๒๕<br />

หอพระไตรปิฎกหลังนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมลงโดยลำดับ เริ่มแต่เสา<br />

ตอม่อขาด หลังคารั่ว กระเบื้องกระจังหล่นหาย ตัวไม้ผุ ฝ่าบางกร่อนจนถึง<br />

แตกร้าวและทะลุ จิตรกรรมฝ่าผนังลบเลือน สระตื้นเขินและสกปรก ความ<br />

เสื่อมโทรมดังกล่าวนี้เนื่องมาจากขาดการเอาใจใส่ดูแล นอกจากนี้ต่อมา<br />

ยังมีการสร้างกุฏิิและอาคารอื่นๆ บริเวณเดียวกับบริเวณหอไตร ทำให้<br />

หอพระไตรปิฎกขาดความสง่างาม ทั้งยังเคยใช้เป็นคลังศพ แม้ว่าทางวัด<br />

และกรมศิลปากรจะได้พยายามบูรณปฏิิสังขรณ์ โดยที่ทางวัดเคยอนุญาต<br />

ให้กรมศิลปากรย้ายไปปลูกขึ้นใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่ก็ยังหา<br />

งบประมาณไม่ได้ อีกทั้งในการบูรณะนั้นยังต้องการผู้มีความชำนาญ<br />

ทั้งทางสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และอื่นๆ เพื่อบูรณปฏิิสังขรณ์ให้ถูกต้อง<br />

ตามหลักการอนุรักษ์ คณะกรรมาธิการวิชาการสาขาอนุรักษ์ศิลปกรรม<br />

ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ซึ่งได้ทาบทามทางวัดให้มีลิขิตมายังสมาคมฯ<br />

ด้วยเหตุนี้ พระราชธรรมภาณี ผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสจึงมี<br />

ลิขิตลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ มายังสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระราชูปถัมภ์ ซึ่งในขณะนั้น อาจารย์วทัญญูู ณ ถลาง เป็นนายกสมาคมฯ<br />

โดยที่ท่านเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ด้วย<br />

ขอให้คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปกรรมให้ความร่วมมือกับทางวัดในการ<br />

บูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎก คณะกรรมาธิการฯ รับสนองคำขอของวัด<br />

และเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ หลายท่านมาร่วมกันตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ<br />

บูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๑<br />

โดยทูลเชิญศาสตราจารย์หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ทรงเป็นประธาน<br />

โดยโครงการนี้ได้มีความต่อเนื่องมาจนถึงสมัยที่อาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์<br />

กรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปกรรมอีกท่านได้มารับช่วงในตำแหน่งนายกสมาคม<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

39<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


สำหรับคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปกรรมได้นำความกราบบังคม<br />

ทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) ถึงโครงการบูรณปฏิิสังขรณ์<br />

ศิลปสถานอาคารไม้หลังนี้ พระองค์ทรงพระมหากรุณา “ชมเชย” การกระทำ<br />

ทั้งนี้ว่า “เป็นความดำริชอบ” และพระราชทานเงินก้นถุงมาให้เป็นประเดิม<br />

สำหรับการบูรณปฏิิสังขรณ์<br />

โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาและลงมติว่าสถานที่ใหม่ซึ่ง<br />

เหมาะสมที่สุดสำหรับชลอหอพระไตรปิฎกไปประกอบขึ้นใหม่ ได้แก่ บริเวณ<br />

ลานพระอุโบสถในเขตพุทธาวาสทางด้านตะวันตก ซึ่งมีกำแพงรั้วโดยรอบ<br />

สะดวกแก่การดูแลรักษา อนึ่ง หอพระไตรปิฎกที่บูรณะขึ้นใหม่นี้มิได้มุ่งหมาย<br />

ที่จะใช้เป็นหอพระไตรปิฎก คงบูรณะไว้เป็นอาคารสำคัญทางศิลปะและ<br />

ประวัติศาสตร์เท่านั้น<br />

การบูรณะหอพระไตรปิฎก วัดระฆัังฯ เริ่มขึ้นเมื่อ ๑ เมษายน ๒๕๑๓<br />

โดยมีอาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์เป็นกำลังสำคัญในการบูรณปฏิิสังขรณ์<br />

โดยขั้นตอนการบูรณะเริ่มตั้งแต่การลอกลายจิตรกรรมฝ่าผนังเก็บไว้แล้ว<br />

ทำการบูรณะ และฟื้้นฟืู้จนเห็นเป็นลวดลายชัดเจนสวยงามเช่นปัจจุบัน<br />

บริเวณที่มีการแกะสลักไม้อาจารย์เฟื้้อก็ได้แกะสลักเป็นลายขมวดตาม<br />

ต้นฉบับแล้วลงรักปิดทองจนสมบูรณ์ กระทั่งวันที่ ๑๕ กันยายน<br />

พ.ศ. ๒๕๑๔ การบูรณะก็แล้วเสร็จลง รวมเป็นเวลา ๑ ปี กับ ๔ เดือนครึ่ง<br />

การบูรณะหอพระไตรปิฎกแห่งนี้ นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้<br />

อาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ ได้รับรางวัลแม็กไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ<br />

พ.ศ. ๒๕๒๖<br />

การบูรณะครั้งที่ ๒ บริษัทเชลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้นำเงิน<br />

ทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี (พระยศ<br />

ขณะนั้น) เพื่อเป็นทุนสำหรับการบูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎก จำนวน<br />

สองล้านบาท เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ อาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์<br />

40<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ภาพถ่ายเก่าหอไตรวัดระฆััง<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

41<br />

ปฐมบท อาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


42<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (พระยศขณะนั้น)<br />

ขณะเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรหอพระไตรปิฎกกับพระราชธรรมภาณี รักษาการเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายาน พ.ศ. ๒๕๑๔<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

43<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระยศขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์<br />

มาบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองหอพระไตรปิฎก ณ วันเสาร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๙ ปีจอ รัตนโกสินทร์ศก ๒๐๑ ตรงกับวันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕<br />

44<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

45<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอพระไตรปิฎกเมื่อบูรณะเสร็จเรียบร้อยในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี<br />

46<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


อาจารย์นิจกับหอไตรวััดระฆััง<br />

จุดเริ่มต้น . . .<br />

“สุลักษณ์แนะนำให้ผมอ่านหนังสือเรื่องสาส์นสมเด็จ” นี่คือจุดเริ่มต้น<br />

ของอาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์ กับหอไตรวัดระฆััง อาจารย์นิจเล่าว่าจากการ<br />

อ่านหนังสือสาสน์สมเด็จทำให้รู้ความสำคัญของหอไตรวัดระฆัังว่าหอไตร<br />

แห่งนี้คือเรือนที่รัชกาลที่ ๑ นำมาถวายวัด แต่เนื่องจากคนไม่ทราบถึง<br />

ความสำคัญของเรือนหลังนี้ จึงมีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้เป็นกุฏิิ ครัว<br />

หรือแม้กระทั่งที่เก็บศพ เมื่อเห็นถึงความสำคัญ แรงบันดาลใจในการอนุรักษ์<br />

เรือนหลังนี้ก็เกิดขึ้น โดยมีผู้ริเริ่มคือ อาจารย์ ส. ศิวลักษณ์ อาจารย์นิจ และอีก<br />

บุคคลหนึ่งที่อาจารย์นิจเชิญมาทำงานร่วมกันคือ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา<br />

ความเป็นมาของการอนุรักษ์หอไตร<br />

การอนุรักษ์หอไตรวัดระฆััง เกิดจาก “คนที่มองทะลุเห็นความสำคัญ<br />

ของหอไตร” อาจารย์นิจกล่าวไว้ในเบื้องต้น เมื่อเราสอบถามถึงความเป็นมา<br />

ของการริเริ่มอนุรักษ์หอไตรแห่งนี้ อาจกล่าวได้ว่าโครงการอนุรักษ์หอไตร<br />

วัดระฆััง เกิดจากการที่มีกลุ่มคนที ่มองเห็นความสำคัญของหอไตรวัดระฆััง<br />

เนื่องจากในขณะนั้น หอไตรอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม มีค นำชิ้นส่วนของหอไตร<br />

ไปทาฟื้้น หรือขโมยชิ้นส่วนที่สวยงามไป<br />

การดำเนินการโครงการนี้ “ต้องใช้บารมี” จึงได้มีการเชิญบุคคลสำคัญ<br />

หลายๆ ท่านมาเป็นคณะทำงานเริ่มจากการทูลเชิญ หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์<br />

มาเป็นประธาน เชิญอาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ และ Mr. Kenedy มาเป็นที่<br />

ปรึกษาทางด้านศิลปะ ท่านผู้หญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คุณฤทัย<br />

ใจจงรัก มาช่วยทำ drawing และหม่อมราชวงศ์รสลิน คัคณางค์ ได้ประทาน<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ ๑ ไว้ในหอไตร อาจกล่าวได้ว่าการทำงาน<br />

ในครั้งนั้นได้รับความร่วมมือและเต็มไปด้วยบุคคลที่มีคุณค่าสมกับคุณค่า<br />

ของหอไตรแห่งนี้<br />

เรื่องเล่าจากการอนุรักษ์หอไตรวัดระฆััง<br />

เรื่องเล่าจากการอนุรักษ์หอไตรวัดระฆัังของอาจารย์นิจมีมากมาย<br />

ทั้งเรื่องเล่าที่เป็นประสบการณ์ตรงของอาจารย์เอง และเรื่องเล่าจากคนอื่นๆ<br />

ที่เกี่ยวข้อง<br />

เรื่องแรกที่อาจารย์นิจได้เล่าให้เราฟื้ังคือ พระมหากรุณาธิคุณของ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) ที่มีกระแสพระราชดำรัส “ชมเชย”<br />

การกระทำครั้งนี้ว่า “เป็นการดำริชอบ” ทั้งยังพระราชทานพร รวมทั้ง<br />

พระราชทานเงินก้นถุงสำหรับการบูรณะหอไตรวัดระฆัังอีกด้วย<br />

เรื่องต่อมาคือ ข้อสังเกตที่น่าสนใจจากผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ เช่น<br />

อาจารย์นิจเล่าถึงข้อสังเกตที่อาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้สันนิษฐานไว้ว่า<br />

เดิมหอไตรอาจจะมีเพียงแค่ ๒ หลัง แต่มีการต่อเติมหลังคาตรงกลาง และ<br />

ข้อสังเกตที่ ดร.สุเมธได้ตั้งไว้ว่าตอนตั้งเสาอาจไม่ได้นึกถึงความมั่นคงเลย<br />

ตั้งเฉยๆ แต่ไม่ได้เป็นอันตรายสามารถปรับได้<br />

และเรื่องสุดท้ายคือ เกร็ดในการอนุรักษ์ที่ได้รับความร่วมมืออย่าง<br />

บังเอิญในหลายๆ ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ได้ช่างทำกระเบื้องเทพนม<br />

แบบโบราณจากชลบุรี เรื่องประตูที่มีปัญหาเรื่องการเสื่อมสภาพจากสภาพ<br />

อากาศจึงคิดกันว่า จะทำบานใหม่และเก็บบานเก่าไว้ดู และได้สล่าจากลำพูน<br />

มาแกะสลักไม้ ซึ่งทำออกมาได้เหมือนของดั้งเดิม และเรื่องการอนุรักษ์<br />

ลายรดน้ำที่หน้าต่าง ซึ่งอาจารย์เฟื้้อเป็นผู้สังเกตเห็น แต่ในขณะนั้นราคา<br />

ทองสูง แต่ก็ด้วยความบังเอิญที่ ดร.สุเมธ รู้จักกับเจ้าหน้าที่ที่บริษัทเชลล์<br />

จึงได้รับสนับสนุนงบประมาณในโอกาสที่บริษัทครบ ๒๐๐ ปี นำไปซื้อทอง<br />

มาเพื่อบูรณะหอไตร ความร่วมมือที่เกิดขึ้นอย่างบังเอิญเหล่านี้ อาจารย์นิจ<br />

กล่าวว่าเป็นความบังเอิญที่เสมือนมีสายใยมาเชื่อมต่อกัน ทำให้การอนุรักษ์<br />

หอไตร วัดระฆััง สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี<br />

เรื่องอื่นๆ<br />

ช่วงท้ายของโครงการได้มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างหม่อมเจ้า<br />

ยาใจกับอาจารย์เฟื้้อ เนื่องจากอาจารย์เฟื้้อท่านได้เคยไปดูที่วังสวนผักกาดแล้ว<br />

เห็นว่าเรือนโบราณต้องมีที่ชานพักด้านหน้า แต่หอไตรวัดระฆัังไม่เคยปรากฏิ<br />

มาก่อน แต่ก็น่าจะทำ สุดท้ายอาจารย์เฟื้้อท่านจึงลาออก และเซ็นเช็คไว้<br />

จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ให้มูลนิธิคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

47<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ต้นแบบของการอนุรักษ์์ทีมาจากควัามร่่วมมือของหลายฝ่าย<br />

(ผานบทสัมภาษณ ์ อาจารย์สุลักษณ ์ ศิวร ักษ์์)<br />

หากจะถามถึงฟื้ันเฟื้้องสำคัญในการบูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎก<br />

วัดระฆัังโฆัสิตาราม นอกจากอาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์แล้ว บุคคลสำคัญอีก<br />

ท่านหนึ่งผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการบูรณะหอพระไตรปิฎกในครั้งนั้น<br />

ก็คือ “อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์”<br />

“สมเด็จกรมพระยานริศฯ ท่านเขียนว่าหอไตรนี้วิเศษอย่างไร แต่ทีนี้<br />

ก็ทางวัดก็ไม่ได้เหลียวแล มีสระที่ขุดรอบหอไตร น้าเหม็นเน่าหมดเลย<br />

หอไตรก็ผุพัง”<br />

อาจารย์สุลักษณ์เริ่มเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการบูรณปฏิิสังขรณ์<br />

หอพระไตรปิฎกว่า เกิดจากพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟื้้ากรมพระยานริศรา<br />

นุวัดติวงศ์ที่กล่าวถึงความงดงามและคุณค่าของหอพระไตรปิฎกแห่งนี้<br />

ซึ่งในช่วงเวลานั้น ถูกปล่อยให้ผุพังไปตามกาลเวลา อาจารย์เฟื้้อจึงได้มาขอให้<br />

ท่านช่วยประสานงานกับทางวัดเพื่อดำเนินการบูรณะ เพราะหอพระไตรปิฎก<br />

แห่งนี้เป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญ และนี่คือจุดเริ่มต้นตัวอย่างงานด้าน<br />

การอนุรักษ์ที่เป็นแบบอย่างที่ดีมาจนถึงปัจจุบัน<br />

“ก่อนจะถึงจุดนี้ ผมจะเล่าให้ฟื้ัง ตอนนั้นอาจารย์เฟื้้อมาหาผม<br />

ผมทำปริทรรศน์เสวนา มีเด็กรุ่นใหม่ประชุมกันที่วัดบวรนิเวศ บริเวณโบสถ์<br />

ร้างวัดรังสีสุทธาวาส ซึ่งภายหลังเป็นส่วนหนึ่งของวัดบวรนิเวศวิหาร<br />

อาจารย์เฟื้้อมาหาผมที่นั่น ผมก็ชวนเด็กทั้งหมดข้ามไปวัดระฆััง แต่ก่อนยัง<br />

ไม่มีสะพานปิ่นเกล้า ข้ามเรือไป ไปถึงผมก็ชวนเด็กๆ อธิษฐานกัน เด็กจะ<br />

เชื่อไม่เชื่อก็แล้วแต่นะ ว่าถ้ามีบุญบารมีเทวดาอารักษ์ ขอให้บูรณปฏิิสังขรณ์<br />

หอไตรให้สำเร็จ ก็เริ่มจากจุดนี้”<br />

จากคำบอกเล่าของอาจารย์สุลักษณ์ ที่ตั้งเดิมของหอพระไตรปิฏิก<br />

เดิมอยู่กลางน้ำ และทางวัดสร้างเมรุอยู่ข้างๆ หอไตร ทำให้มีการนำโลงศพ<br />

มาไว้ที่หอพระไตรปิฎกแห่งนี้ หอพระไตรปิฎกในขณะนั้นจึงอยู่ในสภาพ<br />

ทรุดโทรมและสกปรก หลังจากที่อาจารย์เฟื้้อมาขอความช่วยเหลือจาก<br />

อาจารย์สุลักษณ์ ท่านจึงได้เข้าพบเจ้าคุณละมุน (รองเจ้าอาวาสในขณะนั้น) เพื่อ<br />

ขออนุญาตทำการบูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎก พร้อมทั้งได้กราบทูลเชิญ<br />

หม่อมเจ้ายาใจ โอรสสมเด็จเจ้าฟื้้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งขณะนั้น<br />

ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะมัณฑณศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มาเป็นประธาน<br />

คณะกรรมการในการอนุรักษ์<br />

“ผมก็ข้ามเรือจากวัดระฆัังมา ตอนนั้นท่านยาใจท่านเป็นคณบดี<br />

คณะมัณฑณศิลป์ ผมก็เรียนท่านว่า ฝ่่าบาท ช่วยหน่อยเถอะ ขอกราบเชิญ<br />

เป็นประธานบูรณะหอไตร ท่านก็ตอบตกลง ท่านเสด็จมาทางวัดก็ต้อนรับดี”<br />

เรื่องราวที่ถ่ายทอดผ่านความทรงจำของบุคคลผู้มีส่วนสำคัญในการ<br />

บูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกอย่างอาจารย์สุลักษณ์ ทำให้เห็นภาพที่<br />

ชัดเจนอย่างหนึ่งว่าการดำเนินการบูรณะหอพระไตรปิฎกในครั้งนั้น เกิดจาก<br />

ความร่วมมือกันของหลายฝ่่าย เช่น การสนับสนุนงบประมาณในการบูรณะ<br />

จากหม่อมหลวงเนื่องพรที่ทำการหล่อพระสมเด็จพุทธาจารย์ และนำเงินที่<br />

ได้มาช่วยในการบูรณปฏิิสังขรณ์ หรืองบประมาณจากบริษัทเชลล์<br />

(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีหม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร ดำรงตำแหน่ง<br />

ผู้จัดการใหญ่ในขณะนั้น รวมทั้งการร่วมมือทำงานของผู้เชี่ยวชาญในด้าน<br />

ต่างๆ เช่น อาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ อาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์ อาจารย์<br />

สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา สมาคมสถาปนิกสยามฯ สยามสมาคม มูลนิธิ<br />

เสถียรโกเศศ นาคะประทีป ที่ต่างล้วนประสานงานกันเป็นอย่างดีและ<br />

48<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ที่สำคัญที่สุด คือ พระกรุณาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙)<br />

ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “เงินก้นถุง” มาให้ในการดำเนินการ<br />

ครั้งนี้ ประดุจกำลังใจสำคัญให้คณะทำงานต่างมุ่งมั่นในการอนุรักษ์จนทำให้<br />

การบูรณะในครั้งนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี<br />

ความสำคัญของหอพระไตรปิฎกแห่งนี้ที่อาจารย์สุลักษณ์เห็นว่า<br />

คือ “ความพิเศษ” คือภาพจิตรกรรมฝ่าผนังภายในอาคารหอไตร ซึ่งเป็น<br />

ฝีีมือพระอาจารย์นาค และสำหรับอาจารย์สุลักษณ์ อาจารย์เฟื้้อก็เป็น<br />

ดังหัวใจของการบูรณปฏิิสังขรณ์ในครั้งนั้น เพราะอาจารย์เฟื้้อคือแม่งานหลัก<br />

ในการอนุรักษ์ครั้งนี้นี่เอง<br />

“เพราะที่สำคัญ หอไตรมันพิเศษไม่มีที่ไหนหรอก หอไตรไม้ที่่ฝาผนัง<br />

เขียนรูป วิเศษที่สุดเลย อาจารย์เฟื้้อท่านเห็นฝีีมือพระอาจารย์นาค ซึ่ง<br />

ก่อนหน้านี้มองไม่เห็น แต่อาจารย์เฟื้้อท่านไปเจาะจนเห็นหมด รวมทั้งประตู<br />

ทางขึ้น ท่านเชื่อว่าเป็นฝีีมือสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก่อนเข้าทำประตู<br />

วัดสุทัศน์ ท่านบอกว่านี่สำคัญต้องเก็บรักษาไว้ ตากแดดตากฝ่นไม่ได้ ก็ต้อง<br />

ทำใหม่ อาจารย์เฟื้้อท่านเก่งนะ ท่านไปหาช่างที่ลำพูน ท่านบอกช่างคนนี้<br />

ทำได้เหมือนเก่าเลย ส่วนของเดิมก็เก็บไว้ในหอพระไตรปิฎก”<br />

หอไตรวัดระฆััง จึงนับเป็นต้นแบบที่ดีในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม<br />

แบบไทยประเพณี เป็นการดำเนินการที่รักษาทั้งของเก่า และประยุกต์เอา<br />

ความรู้ใหม่เข้ามาช่วยให้การดำเนินการบูรณะเป็นไปในแนวทางที่ดี และ<br />

ท้ายที่สุด อาจารย์สุลักษณ์ได้ให้แนวคิดถึงการดำเนินการอนุรักษ์ที่ควรจะเป็น<br />

ในปัจจุบันว่า สิ่งสำคัญคือ “ความเข้าใจถึงคุณค่าของสิ่งที่เราจะอนุรักษ์<br />

และยอมรับความจริงว่าบางอย่างนั้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับบริบท<br />

ในปัจจุบัน”<br />

“ประการแรกการอนุรักษ์ต้องเข้าใจว่าของเก่าเขาเป็นอย่างไร เราต้อง<br />

เห็นความงามของของเก่า อย่างหอไตรนี้ สมเด็จกรมพระยานริศฯ ท่านมี<br />

ส่วนสำคัญมากเลย ท่านเขียนไว้เลยว่าสถาปัตยกรรมงามอย่างไร กระเบื้อง<br />

เป็นยังไง อะไรต่ออะไรต่างๆ ท่านบอกไม่มีที่ไหนเหมือน เราได้ข้อเขียนท่าน<br />

เป็นแนวหลัก อาจารย์เฟื้้อก็เป็นผู้ที ่เชี่ยวชาญมากเลย อุทิศชีวิตทั้งหมด<br />

คัดลอกภาพหอไตร ซึ่งไม่มีใครทำได้ คุณจะทำชุ่ยๆ ก็ไม่ได้ ต้องเป็นคนที่รู้<br />

เรื่องจริงๆ เข้าถึงความเป็นเลิศจริงๆ ถึงทำได้”<br />

“อีกประการหนึ่งนอกจากความพยายามที ่จะรักษาสิ่งเดิมไว้ให้ได้<br />

มากที่สุดก็คือ การที่เราต้องยอมรับความจริงถึงการเปลี่ยนแปลงบางประการ<br />

อย่างที่ตั้งดั้งเดิมนั้น จริงๆ เราก็ไม่อยากย้าย แต่ไม่มีทางเลือกอื่นซึ่งใน<br />

ช่วงนั้น จะให้เราขุดสระให้เหมือนสภาพเดิมเราก็ทำไม่ได้แล้ว ก็เลยต้องย้าย<br />

ที่ตั้งและไม่มีสระเหมือนของเดิม รวมถึงบางอย่าง เช่น ไม้ซึ่งเก่าและ<br />

ทรุดโทรมแล้วก็ต้องเปลี่ยนเท่าที่ทำได้ เราต้องยอมรับความจริงว่าบางอย่าง<br />

มันต้องเปลี่ยนเพื่อที่จะรักษาคุณค่าไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หอไตร<br />

แต่ก่อนมันต้องอยู่กลางสระ กันไฟื้ไหม้ กันปลวกขึ้น แต่ตอนนี้การใช้งานก็<br />

ไม่ใช่หอไตรแล้ว หนังสือพระธรรมต่างๆ ก็เอาไว้ที่อื่นแล้ว การบูรณปฏิิสังขรณ์<br />

จึงเพื่อเป็นการรักษาไว้ในฐานะศิลปสถาน ในฐานะสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า<br />

เท่านั้นเอง”<br />

เรื่องเล่าผ่านห้วงความทรงจำของอาจารย์สุลักษณ์ และแนวความคิด<br />

ดีๆ ที่สอดแทรกในเรื่องราวต่างๆ ทำให้เห็นถึงความพยายามในการ<br />

จะอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมของคนรุ่นพ่อแม่ ที่พยายามจะรักษามรดก<br />

อันทรงคุณค่าไว้ให้แก่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน ทำให้เราได้ชื่นชมความสวยงาม<br />

ของมรดกทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการอนุรักษ์ด้วยหัวใจของผู้ที่รู้ค่าของ<br />

สิ่งเหล่านี้อย่างแท้จริง<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

49<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


การอนุรักษ์์งานสถาปัตยกรรมทีมาจากการตระหนักในคุณคาทางประวััติศาสตร์<br />

(ผานบทสัมภาษณ ์ ดร.สุเมธิ ชุมสาย ณ อยุธิยา)<br />

ที่ไม่ใช่สถาปนิกเข้ามาร่วมกัน มีการประชุมกันที่บ้านของคุณพินิจ สมบัติศิริ<br />

คุณพินิจให้สถานที่และรับตำแหน่งประธาน ผมเป็นเลขา คือตัววิ่งประสานงาน<br />

ต่างๆ”<br />

แม้อาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ จะถือว่าเป็นต้นเรื่องในการเริ่มดำเนินการ<br />

อนุรักษ์หอพระไตรปิฎกแห่งนี้ แต่ในขณะเดียวกัน อาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์<br />

ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีส่วนในการเริ่มต้นการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกแห่งนี้ อาจ<br />

กล่าวได้ว่าเป็นที่ต่างฝ่่ายต่างเห็นคุณค่าความสำคัญโดยไม่ทราบกันมาก่อน<br />

และในท้ายที่สุดก็ได้ร่วมกันทำการบูรณปฏิิสังขรณ์จนหอพระไตรปิฎก<br />

วัดระฆัังกลับมาสวยสง่าดังเดิมอีกครั้ง ดร.สุเมธถ่ายทอดเรื่องราวจุดเริ่มต้น<br />

การบูรณะผ่านมุมมองในฐานะบุคคลที่ใกล้ชิดอาจารย์นิจว่า อาจารย์นิจคือผู้ที่<br />

“จุดเริ่มต้นคือสมัยรับราชการที่สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ทำให้ท่านได้รู้จักกับหอไตรวัดระฆััง โดยการพานั่งเรือข้ามฟื้ากไปฝั่่งธนบุรี<br />

กองผังเมืองรวม หัวหน้ากองคือคุณนิจ ผมเป็นผู้ช่วย ผมเพิ่งกลับมาจาก เพื่อไปดูวัดระฆััง พร้อมชี้ให้ดูเรือนไม้สภาพทรุดโทรมหลังหนึ่งที่ตั้งอยู่กลาง<br />

ยุโรปได้ไม่นาน กลับมารับราชการที่สำนักผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ด้วย สระน้ำ<br />

ความที่จากบ้านเมืองไปนานก็ไม่รู้อะไร คุณนิจหัวหน้าก็จูงมือผมไปกิน “มีวันหนึ่งคุณนิจพาข้ามไปฝ่ั่งธนฯ พาไปวัดระฆัังไปขึ้นที่ท่าวัดระฆััง<br />

ก๋วยเตียวรอบกระทรวงมหาดไทย คุณนิจเป็นนักประวัติศาสตร์และนักคิดที่ ไปดูหอไตร ซึ่งอยู่ในสระน้าเน่า เสาผุ ผมแปลกใจว่าอยู่ได้ไงเพราะผุ เสาบางต้น<br />

ลึกมาก เขาชี้ให้ดูถนนแห่งแรกของกรุงเทพคือเจริญกรุงและบำรุงเมือง ขาดไปเลย หอไตรตั้งอยู่ แต่โทรม เดินเข้าไปเห็นจิตรกรรมฝ่าผนังที่แปลกกว่า<br />

ตอนแรกๆ ก็พาไปดูรอบๆ แถวกระทรวงมหาดไทยที่เป็นย่านโบราณ...” ที่อื่นแต่ก็มัวหมอง”<br />

ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา เริ่มเล่าจุดเริ่มต้นของการเข้ามามี นอกจากนี้อาจารย์นิจยังได้เล่าให้ ดร.สุเมธทราบถึงประวัติของ<br />

ส่วนร่วมในการทำงานอนุรักษ์ โดยบุคคลสำคัญที่มีส่วนในการจุดประกาย เรือนไม้หลังนี้ ที่อ่านพบในหนังสือสาส์นสมเด็จและเอกสารอื่นๆ ว่า แต่เดิม<br />

การทำงานด้านการอนุรักษ์ของ ดร.สุเมธ คือ อาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์ เรือนหลังนี้เป็นบ้านของพระราชวรินทร์ ซึ่งรับราชการในพระบาทสมเด็จ<br />

หัวหน้ากองผังเมืองรวม ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาในขณะนั้น ในช่วงเวลานั้นเอง พระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อพระราชวรินทร์ได้เลื่อนตำแหน่ง จึงได้ถวายเรือนที่<br />

กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณสถานต่างๆ กำลังค่อยๆ ก่อตัวขึ้น ทำให้ อาศัยอยู่ข้างวัดให้กับวัดระฆััง เมื่อถวายให้วัดก็ได้กลายเป็นกุฏิิอยู่ที่วัด ต่อมา<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ในขณะนั้นได้ตั้งคณะกรรมาธิการ พระราชวรินทร์หรือพระยาจักรี ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จ<br />

ขึ้นคณะหนึ่ง คือ “คณะกรรมาธิการสาขาอนุรักษ์ศิลปกรรม” และโครงการ พระพุทธยอดฟื้้าจุฬาโลกฯ ก็ทรงคิดถึงเรือนเก่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟื้้าฉิม<br />

บูรณปฏิิสังขรณ์หอไตรวัดระฆัังก็เป็นหนึ่งในโครงการที่คณะกรรมาธิการ พระราชโอรสไปดูว่ายังอยู่หรือไม่ เมื่อทรงทราบว่าเรือนยังอยู่จึงโปรดเกล้าฯ<br />

ชุดนี้ได้ริเริ่มทำเกี่ยวกับการอนุรักษ์<br />

ให้เจ้าฟื้้าฉิมดัดแปลงเป็นหอพระไตรปิฎกในสระน้ำ มุงหลังคาใหม่ด้วยกระเบื้อง<br />

“ช่วงนั้นกำลังมีกระแสการอนุรักษ์ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ก็มีการ และอาราธนาพระอาจารย์นาคมาเขียนภาพจิตรกรรมฝ่าผนัง และอีกสิ่งสำคัญ<br />

จัดตั้งกรรมาธิการสาขาอนุรักษ์ศิลปกรรม โดยกรรมาธิการชุดนี้มีทั้งกรรมาธิการอย่างหนึ่งของหอพระไตรปิฎกแห่งนี้คือ ภาพสลักบานประตูนอกชาน<br />

50<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ทางเข้าหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีความเชื่อกันว่าเจ้าฟื้้าฉิมทรงงานด้วยพระองค์เอง<br />

“เจ้าฟื้้าฉิมแกะสลักบานประตูเป็นฝ่ีพระหัตถ์ จากรูปถ่ายจะเห็นว่าทำ<br />

ขึ้นใหม่ เพราะบานดั้งเดิมเก็บไว้ข้างใน เนื่องจากซ่อมไม่ได้แล้ว แล้วเอา<br />

บานที่ทำใหม่ไว้ด้านนอก”<br />

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ทางด้านอาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ และอาจารย์<br />

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ก็ได้เริ่มดำเนินการเพื่ออนุรักษ์หอพระไตรปิฎกแห่งนี้เช่นกัน<br />

และในที่สุดทั้งสองกลุ่มก็ได้มาร่วมกันทำงาน และจัดตั้งขึ้นเป็นคณะ<br />

อนุกรรมการเพื่อทำการบูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกขึ้นโดยเฉพาะ<br />

ในการนี้มีหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ เป็นประธานการดำเนินการ และให้<br />

คำปรึกษาเรื่องการอนุรักษ์ส่วนที่เป็นงานสถาปัตยกรรม หม่อมเจ้ายาใจทรง<br />

เป็นนักอนุรักษ์สมัยใหม่ที่ใช้วิธีการอนุรักษ์รูปแบบใหม่ผสมผสานกับ<br />

การอนุรักษ์ของเก่า ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างงานสถาปัตยกรรม<br />

ดั้งเดิมและสิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นใหม่ โดยหม่อมเจ้ายาใจทรงตัดสินให้ย้ายหอไตร<br />

ออกไปจากสระเดิมมาตั้งอยู่ที่ใหม่ อีกทั้งโปรดให้ประกอบเรือนขึ้นใหม่บนดิน<br />

ตัดเสาออก และเปลี่ยนเป็นเสาคอนกรีตเปลือยและท่านยาใจได้มอบหมายให้<br />

ดร.สุเมธ เป็นผู้ออกแบบเสาใหม่ ซึ่งดร.สุเมธ ได้เล่าว่าเกิดความผิดพลาดขึ้น<br />

ในการออกแบบ เนื่องจากดร.สุเมธไม่ได้ออกแบบให้เสามีลักษณะ “สอบเข้า”<br />

ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเรือนไทย ที่ต้อง “สอบเข้า” ทั้งเสาและตัวเรือน<br />

ทำให้เมื่อยกเรือนขึ้นมาบนเสา เสาและผนังของตัวเรือนจึงผิดศูนย์ ซึ่งถ้า<br />

ไม่ใช่สถาปนิกหรือวิศวกรจะไม่สังเกตเห็นข้อผิดพลาดนี้<br />

“ตอนยกเรือนมาตั้ง เกือบตกเพราะไม่ได้ศูนย์กัน ความที่ไม่มี<br />

ประสบการณ์ เรือนไทยเนี่ยเสาจะสอบเข้า ผมทำมาตรงๆ นี่คือสถาปัตยกรรม<br />

ไทยพวกผนังก็สอบเข้า ความที่ไม่รู้พอเอามาตั้งเกือบตก เสามันไม่ได้ศูนย์<br />

ส่วนเสาก็เป็นคอนกรีตเปลือยตามคอนเซปต์ของท่านยาใจ”<br />

นอกจากนี้ ดร.สุเมธในฐานะที่ “เด็ก” ที่สุดในช่วงนั้น ก็รับหน้าที่<br />

ในการประสานงานหลายๆ อย่างดร.สุเมธ จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญ<br />

ในการช่วยหางบประมาณ โดยเฉพาะ “เงินก้นถุง” ที่ได้รับพระราชทานจาก<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) ซึ่งเกิดขึ้นจากที่ ดร.สุเมธ<br />

ได้เล่าเรื่องหอพระไตรปิฎกให้หม่อมเจ้าหญิงลุอิสา (Luisa) ท่านแม่ของ<br />

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล ซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนที่อังกฤษของดร.สุเมธฟื้ัง<br />

ท่านหญิงจึงได้นำความไปกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙)<br />

พระองค์ได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “เงินก้นถุง” ให้ เพื่อนำไป<br />

อนุรักษ์หอพระไตรปิฎกหลังนี้ไว้ หลังจากนั้นดร.สุเมธ ก็ได้มีโอกาสไปเฝ้้า<br />

หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต และหม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ รังสิต เพื่อขอ<br />

สนับสนุนงบประมาณในการอนุรักษ์ ซึ่งได้รับความกรุณาเช่นกัน หลังจาก<br />

นั้นเงินบริจาคเพื่อดำเนินการบูรณปฏิิสังขรณ์ก็มีมาเรื่อยๆ จนทำให้การ<br />

ดำเนินงานเป็นไปได้ด้วยดี<br />

ส่วนงานจิตรกรรมที่ถือเป็นหัวใจของหอพระไตรปิฎกแห่งนี้ ก็ได้<br />

อาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ เป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการดำเนินงานอนุรักษ์จนทำให้<br />

ความงดงามทรงคุณค่าของภาพจิตรกรรมฝ่ีมือพระอาจารย์นาค ปรากฏิสู่<br />

สายตาทุกคนจวบจนทุกวันนี้<br />

“หอไตรแต่เดิมเป็นกุฏิิ ก่อนจะถูกใช้เป็นที่เก็บหีบศพ แล้วก็ใช้เป็น<br />

เรือนครัว ซึ่งไม่ทราบว่าอันไหนมาก่อนมาหลัง บริเวณผนังก็ถูกขี้เขม่าจับจน<br />

ดูไม่ออกว่าเป็นจิตรกรรมฝ่าผนังชั้นเยี่ยม อาจารย์เฟื้้อใช้สำลีชุบน้ำค่อยๆ<br />

ล้างออกจนเห็นความงดงามแต่เดิม”<br />

หลังจากนั้นประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือในช่วงก่อนที่กรุงรัตนโกสินทร์<br />

จะครบ ๒๐๐ ปี ดร.สุเมธ ก็ได้พบอาจารย์เฟื้้ออีกครั้งโดยบังเอิญที่<br />

หอศิลป์เจ้าฟื้้า ทำให้ทราบว่าอาจารย์เฟื้้อยังคงทำการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก<br />

อยู่และยังไม่สำเร็จ<br />

“ผมมีหน้าที่วิ่งเต้นอะไรต่ออะไรก็ลืมไป เจออาจารย์เฟื้้ออีกทีหลายปี<br />

ต่อมาที่หอศิลป์ อาจารย์เฟื้้อบอกว่าคุณสุเมธคุณทิ้งผมไปเลยนะ ผมก็ลืมไป<br />

เลยตอนนั้นนะ ผมใจทรุดเลยตอนนั้น อาจารย์เฟื้้อพูดว่าอีกปี สองปี<br />

พระนครจะครบสองร้อยปี อยากให้งานอนุรักษ์หอไตรนี้สำเร็จบริบูรณ์ จะช่วย<br />

ผมได้ไหม”<br />

ในช่วงนั้นเอง ดร.สุเมธ เล่าว่าเป็นความบังเอิญที่แสนมหัศจรรย์<br />

หม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร เพื่อนมหาวิทยาลัยที่อังกฤษ ซึ่งขณะนั้น<br />

ดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่บริษัทเชลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้โทรศัพท์มา<br />

ขอคำปรึกษาจากดร.สุเมธ เรื่องโครงการที่จะทำเนื่องในโอกาสฉลอง<br />

พระนคร ๒๐๐ ปี และในที่สุดบริษัทเชลล์ก็เข้ามาสนับสนุนงบประมาณใน<br />

การอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก วัดระฆััง จนเสร็จสมบูรณ์ทันฉลองพระนคร<br />

ครบ ๒๐๐ ปี เป็นความมหัศจรรย์ที่ทำให้เกิดความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่่าย<br />

จนทำให้ในที่สุด “หอพระไตรปิฎกวัดระฆัังโฆัสิตาราม” ก็เสร็จสมบูรณ์<br />

ด้วยดี เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าแก่ลูกหลานจวบจนปัจจุบัน<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

51<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


๒<br />

ก่อตั้งกรรมาธิ่การ<br />

สถาปัตยกรรมไทยประเพณี่


ควัามเป็นมาของการกอตังกรรมาธิิการอนุรักษ์์ฯ ไทยประเพณี<br />

๔๐ ปี กรรมาธิิการอนุรักษ์์ฯ จากหอไตรมาสูหอไตร<br />

นับตั้งแต่เริ่มการก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยามฯ มา การอนุรักษ์<br />

สถาปัตยกรรมก็ได้เป็นกิจกรรมที่ทางสมาคมให้ความสำคัญมาโดยตลอด<br />

มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม เพื่อทำหน้าที่ใน<br />

การรณรงค์ส่งเสริมการอนุรักษ์งานศิลปสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าให้คงอยู่<br />

เพื่อเป็นมรดกของชาติต่อไป โดยถือเป็นประเพณีนิยมที่จะมีการพิจารณาให้<br />

รางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้ครอบครองโบราณสถานที่<br />

ดูแลรักษาและอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ในแต่ละปีเป็นประจำต่อเนื่องมา นอกจาก<br />

รางวัลสำหรับอาคารก็ยังมีรางวัลประเภทบุคคล และองค์กรที่ทำคุณประโยชน์<br />

ทางด้านการอนุรักษ์อีกด้วย แต่การลงมือปฏิิบัติอย่างเป็นรูปธรรมใน<br />

การอนุรักษ์อาคาร กลับมีเพียงครั้งเดียวในการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก<br />

วัดระฆัังโฆส ิตาราม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๓ เมื่อนายทวีจิตร จันทรสาขา<br />

มาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้มีแนวความคิดที่จะให้<br />

สมาคมได้ทำงานด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยประเพณีให้มีความชัดเจน<br />

ด้วยการจัดให้มีโครงการที่สามารถเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม<br />

ที่ดีได้ เพื่อแสดงบทบาทของวิชาชีพสถาปนิกที่มีต่อสังคมได้อีกครั้ง โดยมี<br />

เป้าหมายให้สมาชิกของสมาคม และสาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้<br />

ให้มากที่สุด จึงได้ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ<br />

พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๓ เพื่อจัดตั้ง “กรรมาธิการอนุรักษ์ฯ ด้าน<br />

สถาปัตยกรรมไทยประเพณี” ขึ้น เพื่อให้ดูแลงานด้านการอนุรักษ์<br />

สถาปัตยกรรมไทยประเพณีอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้ง นำนโยบายดังกล่าวไป<br />

สู่การปฏิิบัติ โดยมอบให้ ดร.วสุ โปษยะนันทน์ สถาปนิกชำนาญการพิเศษ<br />

(ตำแหน่งในขณะนั้น) สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบ<br />

จัดตั้งคณะกรรมาธิการที่มาจากหลายหน่วยงาน หลายสถาบัน ทั้งภาครัฐ<br />

และเอกชน โดยทำหน้าที่เป็นผู้ริเริ่มในการจัดเตรียมข้อมูลเบื้องต้น ลงสำรวจ<br />

พื้นที่โดยคัดเลือกเป้าหมายการดำเนินงาน จากเกณฑ์ ๓ ประการ ได้แก่<br />

เป็นผลงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่มีคุณค่า มีความจำเป็นในการบูรณะ<br />

อย่างเร่งด่วน และผู้ครอบครองดูแลอาคารมีความสมัครใจในการดำเนินงาน<br />

ในที่สุดได้ข้อสรุปเป้าหมายของโครงการ คือ หอไตรวัดเทพธิดาราม ที่อยู่ใน<br />

สภาพวิกฤตที่ต้องการการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน ถึงพร้อมตามปัจจัยข้างต้น<br />

ทั้งหมด ทั้งยังมีงานก่อสร้างและตกแต่งทางสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย<br />

รวมศาสตร์ของงานช่างครบเกือบทุกประเภท จึงนำมาสู่โครงการอนุรักษ์<br />

หอพระไตรปิฎกอีกครั้งเมื่อเวลาได้ผ่านมาถึง ๔๐ ปีนับตั้งแต่การก่อตั้ง<br />

คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ และเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกของสมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ ที่สนใจงานด้านการอนุรักษ์มาร่วมกันสำรวจรังวัดจัดทำ<br />

แบบบูรณะอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงได้เกิดแนวคิด “อาษ์า อาสา<br />

สถาปัตยกรรมไทย” ขึ้น ซึ่ง “อาษา” หมายถึง ASA : The Association<br />

of Siamese Architects Under Royal Patronage หรือสมาคมสถาปนิก<br />

สยามฯ “อาสา” หมายถึงโดยการทำงานของอาสาสมัคร เพื่อการอนุรักษ์<br />

“สถาปัตยกรรมไทย” มีการรับอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งที่เป็นสมาชิก<br />

ของสมาคม และผู้ที่มีความสนใจที่จะเรียนรู้การทำงานด้านการอนุรักษ์โดย<br />

ทั่วไป มาร่วมกันเก็บข้อมูลทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถานเพื่อนำไป<br />

จัดทำเป็นแบบบูรณะ และเป็นการศึกษาข้อมูลทางวิชาการด้านสถาปัตยกรรม<br />

ไทยไปพร้อมๆ กัน เป็นการทำงานนอกเวลางานประจำของแต่ละคน<br />

ด้วยความสมัครใจ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลของโครงการ การทำ<br />

นิทรรศการ และสื่อในรูปแบบต่างๆ<br />

54<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


การทำงานของคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ ไทยประเพณี และอาสาสมัครในโครงการอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

55<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


(บน) การประชุมหารือวางแผนการทำงานของคณะกรรมาธิการและตัวแทนของวัดเทพธิดาราม<br />

(ล่าง) การเผยแพร่ข้อมูลของการดำเนินการโครงการในงานสถาปนิก<br />

56<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


เล่ม ๑ หอไตรวัดระฆัังโฆส ิตาราม ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย<br />

เล่ม ๒ หอไตรวัดเทพธิดาราม การฟื้้นฟืู้งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย<br />

จากการดำเนินการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมไทย<br />

ประเพณีอย่างเป็นรูปธรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ นับตั้งแต่อันดับแรก โครงการบูรณ<br />

ปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกวัดระฆัังโฆส ิตารามวรมหาวิหาร<br />

มาจนเมื่อมีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ ศิลป<br />

สถาปัตยกรรม ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี และมี<br />

โครงการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีขึ้นอีก<br />

ทำให้มีการอนุรักษ์อาคารหอไตรอีก ๒ หลัง คือ โครงการ<br />

อนุรักษ์หอพระไตรปิฎกวัดเทพธิดารามวรวิหาร และ<br />

โครงการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร<br />

ตามลำดับ รวมเป็นการดำเนินงานอนุรักษ์อาคารหอไตร<br />

สามหลัง ที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ลักษณะการก่อสร้าง<br />

การใช้วัสดุ และการตกแต่ง ตลอดจนวิธีการอนุรักษ์ที่<br />

แตกต่างกัน ข้อมูล องค์ความรู้ ตลอดจนประสบการณ์ที่ได้<br />

บันทึกไว้ ตลอดระยะเวลาของการทำงานน่าจะได้เป็น<br />

แบบอย่างของการดำเนินงานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่ครบถ้วน<br />

ตามหลักวิชาการ ที่สามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งใน<br />

การศึกษาและปฏิิบัติการ เพื่อมรดกสถาปัตยกรรมอื่นๆ<br />

ต่อไปได้ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์จึงได้<br />

ทำการรวบรวม และเรียบเรียงข้อมูลนำมาจัดพิมพ์เผยแพร่<br />

เพื่อประโยชน์ดังกล่าว โดยทำเป็นหนังสือชุด ๓ เล่ม เรียกว่า<br />

หนังสือชุด “<strong>สามหอไตร</strong>”<br />

เล่ม ๓ หอไตรวัดอัปสรสวรรค์ การสานต่องานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

57<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


๓<br />

จุากหอไตรวััดระฆััง<br />

สู่หอไตรวััดเทพธิ่ดา<br />

...<br />

จุากหอไตรวััดเทพธิ่ดา<br />

สู่หอไตรวััดอัปสรสวัรรค์์


โครงการอนุรักษ์์หอพระไตรปิฎกวััดเทพธิิดาราม หอไตรอีกครัง<br />

วัดเทพธิดารามวรวิหารเป็นวัดหลวงที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์<br />

และเป็นวัดสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยทรง<br />

สถาปนาวัดใน พ.ศ. ๒๓๗๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแก่<br />

พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิลาส พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ (กรมหมื่น<br />

อัปสรสุดาเทพ) วัดเทพธิดารามได้รับการบูรณปฏิิสังขรณ์เรื่อยมาตั้งแต่ใน<br />

สมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึงในปัจจุบัน ในวัดเทพธิดารามนี้มีหอพระไตรปิฎก<br />

อยู่ด้วยกันทั้งหมด ๒ หลัง ได้แก่ หอพระไตรปิฎก กุฏิิคณะ ๘ ซึ่งได้ทำการ<br />

บูรณะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหอพระไตรปิฎก กุฏิิคณะ ๕ ซึ่งเป็นหลังที่เป็น<br />

เป้าหมายของการบูรณะในครั้งนี้ เพื่อให้งานสถาปัตยกรรมอันมีคุณค่าคงอยู่<br />

คู่กับแผ่นดินไทยสืบต่อไป สืบทอดเจตนารมณ์มาตั้งแต่โครงการอนุรักษ์<br />

หอพระไตรปิฎกวัดระฆัังโฆส ิตาราม ซึ่งเป็นโครงการแรกของสมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ<br />

การมีส่วนร่วมของสาธารณะถือเป็นวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่ง<br />

ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ เริ่มต้นจากโจทย์ที่กำหนดโดยนายทวีจิตร<br />

จันทรสาขา นายกสมาคมใน พ.ศ. ๒๕๕๑ และข้อเท็จจริงตามหลักวิชาการ<br />

ของการอนุรักษ์ที่ถือเป็นงานสหวิชาการไม่ได้จำกัดอยู่ในด้านสถาปัตยกรรม<br />

เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันต่างๆ ให้เกียรติ<br />

มาเป็นที่ปรึกษา ได้แก่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิศรี<br />

จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ<br />

อดีตอธิบดีกรมศิลปากร รองศาสตราจารย์ประสงค์ เอี่ยมอนันต์ และ<br />

รองศาสตราจารย์สมคิด จิระทัศนกุล จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในคณะทำงาน<br />

ยังประกอบด้วย สถาปนิกและภูมิสถาปนิกจากกรมศิลปากร จากมหาวิทยาลัย<br />

จากภาคเอกชน และวิชาชีพอื่นๆ ได้แก่ อาจารย์จากคณะโบราณคดี<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิศวกร ช่างสำรวจภาคเอกชน นักวิทยาศาสตร์<br />

นักอนุรักษ์ศิลปกรรมจากกรมศิลปากร และที่สำคัญคือ อาสาสมัครจาก<br />

โครงการที่เราเรียกว่า “อาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย” เป็นสมาชิกของ<br />

สมาคม และผู้ที่มีความสนใจที่จะเรียนรู้การทำงานด้านการอนุรักษ์ มาร่วมกัน<br />

ทำงาน นับรวมผู้ที่มีส่วนร่วมที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้ถึงกว่า ๗๕ ชีวิต<br />

หลังจากที่ได้นำข้อมูลจากการสำรวจในภาคสนามมาจัดทำแบบบูรณะ<br />

เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้มีการนำเสนอผลการทำงานทั้งหมดของคณะทำงาน<br />

และอาสาสมัคร ข้อมูลคุณค่าความสำคัญทางสถาปัตยกรรม และรูปแบบที่<br />

จะใช้ในการอนุรักษ์ในงานสถาปนิก ๕๒ พร้อมกับการจัดเป็น “ผ้าป่า<br />

อาษาสามัคคี” เพื่อการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกวัดเทพธิดารามขึ้น เป็นการ<br />

เปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้ร่วมในการสำรวจทำแบบได้มีส่วนร่วมในลักษณะ<br />

การทำบุญร่วมกันในการทำนุบำรุงสถาปัตยกรรมที่สื่อความหมายทาง<br />

ศาสนาด้วย จากการประเดิมทุนด้วยเงินผ้าป่า รวมกับปัจจัยที่ทางวัดมีอยู่<br />

บ้างแล้ว เรายังได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากกรมศิลปากร จนสามารถ<br />

ดำเนินการอนุรักษ์ตามแบบได้จนเสร็จสมบูรณ์ ระหว่างการทำงานยังได้มี<br />

กิจกรรมนำชมคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ของวัด พร้อมด้วย<br />

การทำงานของอาสาสมัคร ตลอดจนการดำเนินการบูรณะ<br />

60<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


การอนุรักษ์หอไตรวัดเทพธิดารามเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์สำคัญคือการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

61<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


นาวัาอากาศตรีทวีีจิตร จันทรสาขา<br />

(นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

ประจำปี ๒๕๕๑-๒๕๕๕)<br />

“เพราะเห็นว่าวัดเทพธิดารามเป็นพระอารมหลวง ก่อสร้างมาตั้งแต่<br />

สมัยรัชกาลที่ ๓ ตัวหอไตรก็มีความเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ เช่นกัน<br />

แต่ก็ผ่านการพัฒนามาเป็นลำดับ ในส่วนของความน่าสนใจมองว่าด้วย<br />

ขนาดของหอไตรที่มีขนาดเหมาะสม คือ ไม่ใหญ่หรือไม่เล็กจนเกินไป เป็น<br />

เหตุทำให้ทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ ตัดสินใจทำโครงการบูรณะหอไตร<br />

วัดเทพธิดาราม ซึ่งอันนี้น่าจะเป็นโครงการนำร่อง สามารถจะนำไปเสนอ<br />

ต่อสาธารณะเพื่อที่จะบูรณะอาคารสถาปัตยกรรมไทยให้ถูกต้องตามหลัก<br />

วิชาการ และทางวิชาชีพที่เราจะพัฒนาต่อไป”<br />

“ผมโชคดีมากนะครับที่สองปีกว่าที่ทำโครงการนี้มา ได้เห็นตั้งแต่<br />

สภาพเริ่มต้นที่หอไตรตอนอยู่ในสภาพทรุดโทรม และเราก็พัฒนาให้ดีขึ้น<br />

เรื่อยๆ จนถึงสภาพปัจจุบันที่บูรณะแล้วเสร็จ ผมเชื่อว่าทีมงานทั้งหมด<br />

ภาคภูมิใจ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระราชูปถัมภ์เองก็ภาคภูมิใจ และ<br />

เราก็เชื่อว่าสถาปนิกเราก็ภาคภูมิใจในการนี้”<br />

ดร.วัสุ โปษ์ยะนันทน์<br />

(ประธานกรรมาธิการอนุรักษ์ ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี)<br />

“ขั้นตอนการดำเนินงานที่หอไตรวัดเทพธิดาราม เริ่มจากการประกาศ<br />

รับอาสาสมัคร เริ่มต้นการทำงานด้วยการเก็บรายละเอียดงานสถาปัตยกรรม<br />

และงานจิตรกรรมต่างๆ เพื่อที่จะเอาแบบมาจัดทำเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่<br />

จะนำไปทำแบบบูรณะต่อไป ซึ่งงานมีส่วนประกอบเบื้องต้น คือ แบบของ<br />

อาคารที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเก็บข้อมูลความเสื่อมสภาพและการต่อเติม<br />

โดยที่การบันทึกในลักษณะนี้ทำให้เราเห็นว่าอาคารก่อนมีการอนุรักษ์<br />

เดิมน่าจะมีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร จากนั้นจึงค่อยนำเอาข้อมูลตรงนั้น<br />

มาวิเคราะห์เพื่อทำการออกแบบในการบูรณะต่อไป นอกจากนี้ได้มี<br />

การประสานงานไปยังคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรให้มาช่วย<br />

เก็บข้อมูลทางโบราณคดี มีการจัดทำรายงานทางด้านโบราณคดี นำข้อมูล<br />

มาผสมผสานกับแบบที่ได้มาจากการทำงานของอาสาสมัคร เมื่อแบบ<br />

เสร็จสมบูรณ์แล้วคณะทำงานที่มีประสบการณ์ทางด้านต่างๆ จะเข้ามา<br />

ช่วยกันตัดสินว่าเราจะอนุรักษ์หอไตรในแบบใด ในส่วนของหลังคาทำยังไง<br />

ผนังและหน้าต่างทำยังไง ซึ่งจากการร่วมไม้ร่วมมือของหลายๆ ส่วนที่มา<br />

ร่วมกันทำงาน นำมาซึ่งแบบที่จะใช้ในการบูรณะไปนำเสนอขออนุมัติ<br />

จากกรมศิลปากร ซึ่งแบบที่ได้นี้จะนำไปสู่การนำไปบูรณะตัวหอไตรเป็นการ<br />

นำไปสู่การอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม ตามเจตนารมณ์ของสมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ ได้”<br />

62<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

63<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


64<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวัดเทพธิดารามหลังการอนุรักษ์เสร็จสมบูรณ์<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

65<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


66<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

67<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


68<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


พิธีรับมอบรางวัล Award of Merit จากองค์การ UNESCO ณ วัดเทพธิดารามวรวิหาร<br />

ควัามสำเร็จที่ได้รับจากโครงการ :<br />

รางวััลอาคารอนุรักษ์์ศิลปสถาปัตยกรรมและรางวััล Cultural Heritage Conservation<br />

ระดับ Award of Merit จากองค์การ UNESCO<br />

ผลการตัดสินรางวัล UNESCO Asia-Pacif ic Heritage Awards<br />

สำหรับโครงการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมประจำปี ๒๕๕๔ ได้ประกาศ<br />

ให้โครงการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกวัดเทพธิดารามวรวิหาร ของสมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ ได้รับรางวัล Award of Merit (รางวัลระดับดี)<br />

ด้วยเหตุผลที่โครงการนี้ถือเป็นการแสดงออกอย่างเด่นชัดของการสนับสนุน<br />

ของภาคสาธารณะ และการร่วมแรงร่วมใจกันจากสังคมในทุกภาคส่วน<br />

ทั้งภาครัฐ วัด และชุมชนท้องถิ ่น นำมาซึ่งการฟื้้นฟืู้บูรณะอย่างสมบูรณ์<br />

แบบจากสภาพเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก ในขณะที่การอนุรักษ์ได้ใช้วัสดุ<br />

และเทคนิคช่างแบบดั้งเดิม ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่ดี สมค่าแห่งความเป็น<br />

พระอารามหลวงที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีวิธีการทำงานบูรณะที่<br />

น่าชื่นชม แสดงถึงการศึกษาวิจัย การค้นคว้าข้อมูลเพื่อการออกแบบในด้าน<br />

ต่างๆ อย่างพิถีพิถัน และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาดำเนินงาน<br />

ของโครงการ<br />

ถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่ความ<br />

ตั้งใจในการแสดงบทบาทหน้าที่ของสถาปนิกที่มีต่อสังคม เป็นตัวอย่างการ<br />

อนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่ดี ที่มีความถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม<br />

ได้บรรลุผลเป็นที่ยอมรับ โดยที่ไม่ต้องเป็นโครงการที่ใหญ่โตด้วยขนาดหรือ<br />

งบประมาณ แต่ด้วยความตั้งใจและความร่วมมือจากทุกฝ่่าย การรักษา<br />

คุณภาพทางวิชาการ การออกแบบสื่อความหมายจากองค์ความรู้ทาง<br />

วิชาชีพในการรักษาคุณค่าของมรดกสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในระดับชาติไว้<br />

ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในครั้งนี้<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

69<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


โครงการอนุรักษ์์หอพระไตรปิฎกวััดอัปสรสวัรรค์ หอไตรกลางนา<br />

หลังจากความสำเร็จที่ได้รับจากโครงการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก<br />

วัดเทพธิดารามวรวิหาร สมาคมสถาปนิกสยามฯ ยังได้เดินหน้าโครงการ<br />

ต่อไป ที่วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ในโครงการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก<br />

เช่นเดียวกัน แต่จะมีความแตกต่างไปจากเดิมเนื่องจากเป็นอาคารที่มีการ<br />

ก่อสร้างด้วยไม้ มีการประดับผนังภายนอกด้วยกระจกทั้งหมด และมีรูปทรง<br />

ที่เป็นผลงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีชิ้นเอกของกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ยัง<br />

คงอยู่ในที่ตั้งดั้งเดิมกลางสระน้ำ ทั้งนี้ทางกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ ด้าน<br />

สถาปัตยกรรมไทยประเพณีได้นำแนวทางในการทำงานอย่างที่ได้รับ<br />

การชมเชยมาใช้ในโครงการใหม่นี้อย่างต่อเนื่องต่อไป เป็นโครงการอนุรักษ์<br />

หอไตรกลางน้ำในวัดที่อยู่ริมน้ำ ด้วยสภาพของหอพระไตรปิฎกที่อยู่ใน<br />

ความทรุดโทรมมากเช่นกัน สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้จัดตั้งโครงการ<br />

อนุรักษ์หอพระไตรปิฎก วัดอัปสรสวรรค์วรวิหารต่อเนื่องจากโครงการ<br />

อนุรักษ์หอพระไตรปิฎก วัดเทพธิดารามวรวิหาร เพื่อทำนุบำรุงงาน<br />

สถาปัตยกรรมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมทั้งปรับภูมิทัศน์โดยรอบให้<br />

อยู่ในสภาพที่เหมาะสมสวยงาม โดยได้รับความร่วมมือและการสนับสนุน<br />

จากหลายภาคส่วน และยังเปิดโอกาสให้สมาชิกของสมาคม รวมถึงนักเรียน<br />

นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆ ระหว่างนั้น<br />

ดังเช่นที่ได้ดำเนินการมาในโครงการแรก ได้มีการเข้ามาเก็บข้อมูลสภาพ<br />

ก่อนการอนุรักษ์โดยอาสาสมัครจากสถาบันการศึกษาที่มีการสอนด้าน<br />

สถาปัตยกรรมของอาคารหอไตรวัดอัปสรสวรรค์ ที่นอกจากการเก็บ<br />

ข้อมูลของตัวหอไตรเอง ยังได้ถือโอกาสบันทึกข้อมูลของอาคารอีก ๒ หลัง<br />

ที่อยู่ในวัดอัปสรสวรรค์ด้วย ได้แก่ อาคารศาลาการเปรียญและอาคาร<br />

โรงเรียนพระปริยัติ และยังมีกิจกรรมการมีส่วนร่วมด้านศิลปะ ร่วมกับ<br />

โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ กลุ่ม VERNADOC และกลุ่ม Bangkok<br />

Sketchers มาร่วมกันถ่ายทอดงานสถาปัตยกรรมของหอพระไตรปิฎก<br />

ออกมาเป็นผลงานทางศิลปะในรูปแบบที่หลากหลาย<br />

หอพระไตรปิฎกวัดอัปสรสวรรค์ก่อนการอนุรักษ์<br />

70<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


(บน) สภาพของหอไตรซึ่งตั้งอยู่กลางสระน้ำตั้งแต่ช่วงต้นของโครงการอนุรักษ์<br />

(ล่าง) การมีส่วนร่วมของนักเรียนจากโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ในกิจกรรมด้านศิลปะของโครงการ<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

71<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


กิจกรรมการมีส่วนร่วมทางศิลปะที่จัดขึ้นเพื่อการตระหนักรู้ถึงคุณค่าทางศิลปะและสถาปัตยกรรมของอาคารตั้งแต่ในช่วงก่อนการอนุรักษ์<br />

72<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดอัปสรสวัรรค์เมือการบูรณะแล้วัเสร็จ 73<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


74<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


บรรณานุกรม<br />

กรมศิลปากร. วัดหลวงสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: เอ.พี กราฟื้ิกดีไซน์ และการพิมพ์, ๒๕๔๐.<br />

นิวัติ กองเพียร. หอพระไตรปิฎก วัดระฆัังโฆัสิตาราม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, ๒๕๒๖.<br />

. ๑๐๐ ปีชาตกาล เฟื้้อ หริพิทักษ์. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ ปริ้นติ้ง, ๒๕๕๓.<br />

เฟื้้อ หริพิทักษ์. ภาพเขียนในหอพระไตรปิฎกวัดระฆััง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด,<br />

๒๕๑๓.<br />

วิชิต สุวรรณปรีชา. โบราณสถาน <strong>เล่มที่</strong> ๔. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต, ๒๕๓๑<br />

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. นำชมศิลปกรรมตามวัด. กรุงเทพฯ: พี พริ้นติ้งกรุป, ๒๕๓๙<br />

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. ๔๐ปี อาษาอนุรักษ์ ๒๕๑๑-๒๕๕๑ อาษา ๑,<br />

๒ (มิถุนายน ๒๕๕๑): ๒๖-๒๗.<br />

อนันต์ วิริยะพินิจ. เฟื้้อ หริพิทักษ์ จิตรกรเอกของไทย. กรุงเทพฯ: ส่องศยาม, ๒๕๕๓.<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

75<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ภาคผนวัก ๑<br />

หนังสือ “ภาพเขียนในหอพระไตรปิฎกวััดระฆััง”<br />

โดย เฟื้อ หริพิทักษ์์<br />

พ.ศ. ๒๕๑๓


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

77<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


78<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

79<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


80<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

81<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


82<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

83<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


84<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

85<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


86<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

87<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


88<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

89<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


90<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

91<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


92<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

93<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


94<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

95<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


96<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

97<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


98<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

99<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


100<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

101<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


102<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

103<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


104<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

105<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


106<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

107<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


108<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

109<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


110<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

111<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


112<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

113<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


114<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

115<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


116<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

117<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


118<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

119<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


120<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

121<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


122<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

123<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


124<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

125<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


126<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

127<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


128<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

129<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ภาคผนวัก ๒<br />

“หอพระไตรปิฎก วััดระฆัังโฆส ิตาราม”<br />

จัดพิมพ์โดย บริษััทเชลล์ในประเทศไทย<br />

เนืองในวัโรกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี<br />

เสด็จพระราชดำเนินมาบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองหอพระไตรปิฎก วััดระฆัังโฆส ิตาราม<br />

วัันเสาร์ที ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๕


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

131<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


132<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

133<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


134<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

135<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


136<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

137<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


138<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

139<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


140<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

141<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


142<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

143<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


144<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

145<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


146<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

147<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


148<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

149<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


150<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

151<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


152<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

153<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


154<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

155<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


156<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

157<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


158<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

159<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


160<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

161<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


162<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

163<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


164<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

165<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


166<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

167<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


168<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

169<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


170<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

171<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


172<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

173<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


174<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

175<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


176<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

177<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


178<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

179<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


180<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

181<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


182<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

183<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


184<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

185<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


186<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

187<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


188<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

189<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


190<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

191<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


192<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

193<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


194<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

195<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


196<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

197<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


198<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

199<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


200<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


รายชือกรรมาธิิการอนุรักษ์์ศิลปสถาปัตยกรรม ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี<br />

พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๕<br />

ที่ปรึกษ์า<br />

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ ์ศรี<br />

นาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น<br />

ศาสตราจารย์ประสงค์ เอี่ยมอนันต์<br />

รองศาสตราจารย์ สมคิด จิระทัศนกุล<br />

นายทวีจิตร<br />

จันทรสาขา<br />

กรรมาธิิการ<br />

ดร.วสุ<br />

โปษยะนันทน์<br />

นายจมร<br />

ปรปักษ์ประลัย<br />

นายวทัญญูู<br />

เทพหัตถี<br />

นางสาวมนัชญา วาจก์วิศุทธิ์<br />

นายสุรยุทธ<br />

วิริยะดำรงค์<br />

นางสาวหัทยา<br />

สิริพัฒนกุล<br />

นายภาณุวัตร<br />

เลือดไทย<br />

นายจาริต<br />

เดชะคุปต์<br />

นายพีระพัฒน์<br />

สำราญ<br />

พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙<br />

ที่ปรึกษ์า<br />

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ ์ศรี<br />

พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น<br />

รองศาสตราจารย์เสนอ นิลเดช<br />

รองศาสตราจารย์ ดร.ประสงค์ เอี่ยมอนันต์<br />

รองศาสตราจารย์สมคิด จิระทัศนะกุล<br />

นายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี<br />

นายทวีจิตร<br />

จันทรสาขา<br />

กรรมาธิิการ<br />

ดร.วสุ<br />

โปษยะนันทน์<br />

นายชวลิต ตั้งมิตรเจริญ<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุดจิต สนั่นไหว<br />

นายชยุตม์<br />

เกษร<br />

นายจมร<br />

ปรปักษ์ประลัย<br />

นายวทัญญูู<br />

เทพหัตถี<br />

นายชวลิต ตั้งมิตรเจริญ<br />

นายสุรยุทธ<br />

วิริยะดำรงค์<br />

นายจักรพันธ์<br />

วัชระเรืองชัย<br />

นายภาณุวัตร<br />

เลือดไทย<br />

นางสาวจิตตินาถ<br />

ดีทรัพย์<br />

นายธิป<br />

ศรีสกุลไชยรัก<br />

นายปูรณ์<br />

ขวัญสุวรรณ<br />

นางสาวปิยนุช<br />

สุวรรณคีรี<br />

นายอาทิตย์ ลิ่มมั่น<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงศกร ยิ้มสวัสดิ์<br />

นางวรางคณา นิ่มเจริญ<br />

นางสาวมนัชญา วาจก์วิสุทธิ์<br />

นายสัญชัย ลุงรุ่ง<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

201<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย


ชือหนังสือ <strong>สามหอไตร</strong> <strong>เล่มที่</strong> ๑ :<br />

หอไตรวัดระฆัังโฆสิิตาราม ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย<br />

ISBN (e-book) ๙๗๘-๖๑๖-๗๓๘๔-๔๔-๓<br />

เจ้าของ<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

บรรณาธิิการ / ผู้เขียน ดร.วสุ โปษยะนันทน์<br />

กองบรรณาธิิการ ณัฐวดี สัตนันท์<br />

เนตรชนก นาคขำ<br />

วราภรณ์ ไทยานันท์<br />

ภัทรพร เสาวรส<br />

นารา ผุดมาก<br />

ถายภาพ วีระพล สิงห์น้อย<br />

ชานนท์ กาญจนวสุนธรา<br />

สุรยุทธ วิริยะดำรงค์<br />

หจก.ฐานอนุรักษ์<br />

ศิลปกรรม วีระพล สิงห์น้อย<br />

กล้วยไม้ วนพานิช<br />

วรมันต์ โสภณปฏิิมา<br />

พิสูจน์อักษ์ร นารา ผุดมาก<br />

ประสานงาน ลีนวัตร ธีระพงษ์รามกุล<br />

ดำเนินการผลิต บริษัทบานาน่า สตูดิโอ จำกัด


หนังสือชุด<strong>สามหอไตร</strong> <strong>เล่มที่</strong> ๑ : <strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong> ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!