20.04.2023 Views

สามหอไตร เล่มที่ 1 : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

สารจากอุปนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมป์<br />

ประธิานกรรมาธิิการอนุรักษ์์ศิลปสถาปัตยกรรม ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี<br />

จากจุดเริ่มต้น ... “โครงการบูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกวัดระฆััง<br />

โฆสิิตารามวรมหาวิหาร” ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของการดำเนินการด้านการอนุรักษ์<br />

มรดกทางสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

ที่พิจารณาเห็นว่าได้มีการรื้อถอนโบราณสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน<br />

วัดวาอารามกันมากขึ้นจนเหลือกำลังที่ทางราชการจะดูแลรักษาให้ทั่วถึงได้<br />

แต่เพียงฝ่่ายเดียว กลายเป็นที่มาของคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม<br />

ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ในวันนี้ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ก็ได้มีการ<br />

ดำเนินการในรูปแบบต่างๆ ทั้งการรณรงค์ นำเสนอความคิดเห็น ประชาสัมพันธ์<br />

และให้รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นเพื่อเป็นการให้กำลังใจ<br />

ในทุกกระบวนการของการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมเรื่อยมา<br />

สี่สิบปีผ่านไป... จึงได้เกิดโครงการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอย่างเป็น<br />

รูปธรรมขึ้นอีกครั้ง โดยมุ่งให้เป็นการนำเสนอบทบาทของวิชาชีพสถาปนิก<br />

ต่อสังคม ตามแนวคิดที่ว่า “สถาปนิกไทย มีหน้าทีอนุรักษ์์และสืบสาน<br />

สถาปัตยกรรมไทย” ได้มีการแต่งตั้ง “คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลป<br />

สถาปัตยกรรม ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี” ขึ้นเป็นพิเศษให้ที่มีหน้าที่<br />

ดูแลงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีโดยตรง และมีเป้าหมายให้สมาชิก<br />

ของสมาคมฯ และสาธารณชนมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ของการอนุรักษ์<br />

สถาปัตยกรรมไทยให้มากที่สุด เกิดเป็นโครงการ “อาษ์า อาสา สถาปัตยกรรมไทย”<br />

และนำมีการทำงานร่วมกันใน “โครงการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกวัดเทพธิดา<br />

รามวรวิหาร” เป็นโครงการแรก เพื่อทำการบูรณะให้ถูกต้องครบถ้วนตาม<br />

ขั้นตอนของการอนุรักษ์ ให้เป็นตัวอย่างของอาคารที่มีการอนุรักษ์อย่างถูกต้อง<br />

และมุ่งหวังให้ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปนิกได้มีส่วนร่วมในการบำเพ็ญ<br />

ประโยชน์ในครั้งนี้ ผ่านกระบวนการการเรียนรู้วิธีการในการทำแบบอนุรักษ์<br />

และการคุมงานอนุรักษ์ จากการลงมือปฏิิบัติจริง ด้วยเหตุผลที่โครงการนี้<br />

มีการแสดงออกอย่างเด่นชัดของการสนับสนุนของสาธารณชนจากทุก<br />

ภาคส่วนของสังคมไทย ฝ่่ายสงฆ์์ และชุมชนโดยรอบวัด เป็นแบบอย่างของ<br />

การใช้เทคนิคช่างและวัสดุตามประเพณีดั้งเดิม สมกับคุณค่าความสำคัญของ<br />

ความเป็นพระอารามหลวง ในกระบวนการการอนุรักษ์ยังได้มีการค้นคว้า<br />

ศึกษาวิจัย และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดโครงการทำให้ทำให้ได้รับ<br />

รางวัล UNESCO Asia-Pacific Heritage Award ใน พ.ศ. ๒๕๕๔<br />

ล่าสุด ... หลังจากความสำเร็จที่ได้รับ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้<br />

เดินหน้าโครงการต่อไปที่วัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ในการจัดตั้งโครงการ<br />

อนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีอย่างต่อเนื่องซึ่งก็บังเอิญว่าเป็น<br />

อาคารหอพระไตรปิฎกอีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็นอาคารไม้ทั้งหลังที่ตั้งอยู่กลาง<br />

สระน้ำ นอกจากความงามทางสถาปัตยกรรมที่จะได้บันทึกและนำไปสู่<br />

การบูรณะ การศึกษาเทคนิคเชิงช่างและวัสดุที่แตกต่างไปจากโครงการแรก<br />

ก็เป็นสิ่งที่ได้นำมาใช้ในการพิจารณาเลือกสถานที่ในการทำโครงการนี้ นับจาก<br />

จุดเริ่มต้นก็รวมได้<strong>สามหอไตร</strong> อาคารสามหลังที่สร้างขึ้นในพุทธสถานเพื่อใช้<br />

เก็บรักษาพระไตรปิฎกสิ่งสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเป็นตัวแทนของ<br />

ผลงานสถาปัตยกรรมไทยที่ทรงคุณค่า<br />

การรวบรวมข้อมูลจัดทำเป็น หนังสือชุด “<strong>สามหอไตร</strong>” จึงถือเป็น<br />

บทสรุปของโครงการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกทั้งสามหลัง และเป็นตัวแทน<br />

ถ่ายทอดเรื่องราวของการดำเนินการอนุรักษ์ของสมาคมสถาปนิกสยาม<br />

ในพระบรมราชูปถัมภ์ นับตั้งแต่ปฐมบทที่วัดระฆัังโฆส ิตาราม มาถึงการ<br />

ฟื้้นฟืู้ขึ้นอีกครั้งที่วัดเทพธิดาราม และการสานต่อมายังวัดอัปสรสวรรค์<br />

เป็นการบอกเล่ากระบวนการอนุรักษ์ และรวบรวมวิธีการดำเนินการอนุรักษ์<br />

หอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันทั้งสามหลังเพื่อให้ได้เห็นถึงความ<br />

หลากหลายของรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยและในการอนุรักษ์โบราณสถาน<br />

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ช่วยให้เป็นการจุดประกายนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อ<br />

สานต่อแนวคิดในการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมไทยที่มีคุณค่าให้คงสืบต่อไป<br />

ดร.วส ุ โปษ์ยะนันทน์<br />

อุุปนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๓<br />

ประธานกรรมาธิการอน ุรักษ์์ศิลปสถาปัตยกรรม<br />

ด้้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณีี พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๗<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย<br />

3

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!