20.04.2023 Views

สามหอไตร เล่มที่ 1 : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

แผนผังแสดงที่ตั้งปัจจุบันของหอไตรวัดระฆััง<br />

หอพระไตรปิฎก<br />

หอไตรวัดระฆััง หรือในอีกชื่อเรียกว่า “ตำหนัก<br />

จันทน์” กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน<br />

สำคัญของชาติ ใน พ.ศ. ๒๔๙๒ เดิมเคยเป็น<br />

พระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จ<br />

พระพุทธยอดฟื้้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงรับราชการ<br />

เป็นที่พระราชวรินทร์เจ้ากรมพระตำรวจนอกฝ่่ายขวา<br />

ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงรื้อไป<br />

ถวายวัดบางหว้าใหญ่ ในคราวเสด็จเป็นแม่ทัพไปตี<br />

เมืองโคราช<br />

เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ มีการสังคายนา<br />

พระไตรปิฎกตามธรรมเนียมกษัตริย์ขึ้นที่วัดมหาธาตุ<br />

ยุวราชรังสฤษฎิราชวรมหาวิหาร จึงโปรดให้ปฏิิสังขรณ์<br />

เรือนแฝ่ดกลุ่มนี้เพื่อใช้เป็นหอพระไตรปิฎก โดยขุดพื้นที่<br />

บริเวณที่พบระฆัังออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม ก่ออิฐกั้นเป็น<br />

สระแล้วรื้อพระตำหนักจากที่เดิมมาปลูกลงในสระ โดย<br />

เปลี่ยนหลังคามุงจากเป็นมุงกระเบื้อง เปลี่ยนฝ่าสำหรวด<br />

กั้นกะแซงเป็นฝ่าปะกนไม้สัก ทรงสร้างตู้พระไตรปิฎก<br />

ขนาดใหญ่ บานเขียนลายรดน้า ประดิษฐานในห้องด้าน<br />

เหนือและด้านใต้ห้องละ ๑ ตู้ ทั้งนี้อยู่ในความควบคุม<br />

ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้ง<br />

ดำรงพระยศเป็นเจ้าฟื้้ากรมหลวงอิศรสุนทร เป็นผู้ทรง<br />

อำนวยการสร้าง เมื่อดำเนินการเสด็จโปรดให้มีการ<br />

สมโภชและปลูกต้นจันทน์ไว้ ๘ ต้น อันเป็นเหตุให้เรียก<br />

หอไตรนี้ว่า “ตำหนักจันทน์”<br />

ปัจจุบัน ทางวัดได้ย้ายหอไตรหลังนี้เข้ามาปลูกใหม่<br />

ภายในบริเวณกำแพงแก้ว อยู่ด้านหลังพระอุโบสถทาง<br />

ทิศใต้ และบูรณะซ่อมแซมภาพเขียนที่ชำรุดเสียหาย<br />

ให้คงไว้ดังเดิม<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

15<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!