20.04.2023 Views

สามหอไตร เล่มที่ 1 : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

ควัามเป็นมาของการกอตังกรรมาธิิการอนุรักษ์์ฯ ไทยประเพณี<br />

๔๐ ปี กรรมาธิิการอนุรักษ์์ฯ จากหอไตรมาสูหอไตร<br />

นับตั้งแต่เริ่มการก่อตั้งสมาคมสถาปนิกสยามฯ มา การอนุรักษ์<br />

สถาปัตยกรรมก็ได้เป็นกิจกรรมที่ทางสมาคมให้ความสำคัญมาโดยตลอด<br />

มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม เพื่อทำหน้าที่ใน<br />

การรณรงค์ส่งเสริมการอนุรักษ์งานศิลปสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าให้คงอยู่<br />

เพื่อเป็นมรดกของชาติต่อไป โดยถือเป็นประเพณีนิยมที่จะมีการพิจารณาให้<br />

รางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น เพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้ครอบครองโบราณสถานที่<br />

ดูแลรักษาและอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ในแต่ละปีเป็นประจำต่อเนื่องมา นอกจาก<br />

รางวัลสำหรับอาคารก็ยังมีรางวัลประเภทบุคคล และองค์กรที่ทำคุณประโยชน์<br />

ทางด้านการอนุรักษ์อีกด้วย แต่การลงมือปฏิิบัติอย่างเป็นรูปธรรมใน<br />

การอนุรักษ์อาคาร กลับมีเพียงครั้งเดียวในการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก<br />

วัดระฆัังโฆส ิตาราม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๓ เมื่อนายทวีจิตร จันทรสาขา<br />

มาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้มีแนวความคิดที่จะให้<br />

สมาคมได้ทำงานด้านการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยประเพณีให้มีความชัดเจน<br />

ด้วยการจัดให้มีโครงการที่สามารถเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม<br />

ที่ดีได้ เพื่อแสดงบทบาทของวิชาชีพสถาปนิกที่มีต่อสังคมได้อีกครั้ง โดยมี<br />

เป้าหมายให้สมาชิกของสมาคม และสาธารณชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้<br />

ให้มากที่สุด จึงได้ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ<br />

พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๓ เพื่อจัดตั้ง “กรรมาธิการอนุรักษ์ฯ ด้าน<br />

สถาปัตยกรรมไทยประเพณี” ขึ้น เพื่อให้ดูแลงานด้านการอนุรักษ์<br />

สถาปัตยกรรมไทยประเพณีอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้ง นำนโยบายดังกล่าวไป<br />

สู่การปฏิิบัติ โดยมอบให้ ดร.วสุ โปษยะนันทน์ สถาปนิกชำนาญการพิเศษ<br />

(ตำแหน่งในขณะนั้น) สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบ<br />

จัดตั้งคณะกรรมาธิการที่มาจากหลายหน่วยงาน หลายสถาบัน ทั้งภาครัฐ<br />

และเอกชน โดยทำหน้าที่เป็นผู้ริเริ่มในการจัดเตรียมข้อมูลเบื้องต้น ลงสำรวจ<br />

พื้นที่โดยคัดเลือกเป้าหมายการดำเนินงาน จากเกณฑ์ ๓ ประการ ได้แก่<br />

เป็นผลงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณีที่มีคุณค่า มีความจำเป็นในการบูรณะ<br />

อย่างเร่งด่วน และผู้ครอบครองดูแลอาคารมีความสมัครใจในการดำเนินงาน<br />

ในที่สุดได้ข้อสรุปเป้าหมายของโครงการ คือ หอไตรวัดเทพธิดาราม ที่อยู่ใน<br />

สภาพวิกฤตที่ต้องการการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน ถึงพร้อมตามปัจจัยข้างต้น<br />

ทั้งหมด ทั้งยังมีงานก่อสร้างและตกแต่งทางสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย<br />

รวมศาสตร์ของงานช่างครบเกือบทุกประเภท จึงนำมาสู่โครงการอนุรักษ์<br />

หอพระไตรปิฎกอีกครั้งเมื่อเวลาได้ผ่านมาถึง ๔๐ ปีนับตั้งแต่การก่อตั้ง<br />

คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ และเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกของสมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ ที่สนใจงานด้านการอนุรักษ์มาร่วมกันสำรวจรังวัดจัดทำ<br />

แบบบูรณะอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ จึงได้เกิดแนวคิด “อาษ์า อาสา<br />

สถาปัตยกรรมไทย” ขึ้น ซึ่ง “อาษา” หมายถึง ASA : The Association<br />

of Siamese Architects Under Royal Patronage หรือสมาคมสถาปนิก<br />

สยามฯ “อาสา” หมายถึงโดยการทำงานของอาสาสมัคร เพื่อการอนุรักษ์<br />

“สถาปัตยกรรมไทย” มีการรับอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งที่เป็นสมาชิก<br />

ของสมาคม และผู้ที่มีความสนใจที่จะเรียนรู้การทำงานด้านการอนุรักษ์โดย<br />

ทั่วไป มาร่วมกันเก็บข้อมูลทางสถาปัตยกรรมของโบราณสถานเพื่อนำไป<br />

จัดทำเป็นแบบบูรณะ และเป็นการศึกษาข้อมูลทางวิชาการด้านสถาปัตยกรรม<br />

ไทยไปพร้อมๆ กัน เป็นการทำงานนอกเวลางานประจำของแต่ละคน<br />

ด้วยความสมัครใจ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลของโครงการ การทำ<br />

นิทรรศการ และสื่อในรูปแบบต่างๆ<br />

54<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!