20.04.2023 Views

สามหอไตร เล่มที่ 1 : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

อาจารย์นิจกับหอไตรวััดระฆััง<br />

จุดเริ่มต้น . . .<br />

“สุลักษณ์แนะนำให้ผมอ่านหนังสือเรื่องสาส์นสมเด็จ” นี่คือจุดเริ่มต้น<br />

ของอาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์ กับหอไตรวัดระฆััง อาจารย์นิจเล่าว่าจากการ<br />

อ่านหนังสือสาสน์สมเด็จทำให้รู้ความสำคัญของหอไตรวัดระฆัังว่าหอไตร<br />

แห่งนี้คือเรือนที่รัชกาลที่ ๑ นำมาถวายวัด แต่เนื่องจากคนไม่ทราบถึง<br />

ความสำคัญของเรือนหลังนี้ จึงมีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้เป็นกุฏิิ ครัว<br />

หรือแม้กระทั่งที่เก็บศพ เมื่อเห็นถึงความสำคัญ แรงบันดาลใจในการอนุรักษ์<br />

เรือนหลังนี้ก็เกิดขึ้น โดยมีผู้ริเริ่มคือ อาจารย์ ส. ศิวลักษณ์ อาจารย์นิจ และอีก<br />

บุคคลหนึ่งที่อาจารย์นิจเชิญมาทำงานร่วมกันคือ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา<br />

ความเป็นมาของการอนุรักษ์หอไตร<br />

การอนุรักษ์หอไตรวัดระฆััง เกิดจาก “คนที่มองทะลุเห็นความสำคัญ<br />

ของหอไตร” อาจารย์นิจกล่าวไว้ในเบื้องต้น เมื่อเราสอบถามถึงความเป็นมา<br />

ของการริเริ่มอนุรักษ์หอไตรแห่งนี้ อาจกล่าวได้ว่าโครงการอนุรักษ์หอไตร<br />

วัดระฆััง เกิดจากการที่มีกลุ่มคนที ่มองเห็นความสำคัญของหอไตรวัดระฆััง<br />

เนื่องจากในขณะนั้น หอไตรอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม มีค นำชิ้นส่วนของหอไตร<br />

ไปทาฟื้้น หรือขโมยชิ้นส่วนที่สวยงามไป<br />

การดำเนินการโครงการนี้ “ต้องใช้บารมี” จึงได้มีการเชิญบุคคลสำคัญ<br />

หลายๆ ท่านมาเป็นคณะทำงานเริ่มจากการทูลเชิญ หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์<br />

มาเป็นประธาน เชิญอาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ และ Mr. Kenedy มาเป็นที่<br />

ปรึกษาทางด้านศิลปะ ท่านผู้หญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คุณฤทัย<br />

ใจจงรัก มาช่วยทำ drawing และหม่อมราชวงศ์รสลิน คัคณางค์ ได้ประทาน<br />

พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ ๑ ไว้ในหอไตร อาจกล่าวได้ว่าการทำงาน<br />

ในครั้งนั้นได้รับความร่วมมือและเต็มไปด้วยบุคคลที่มีคุณค่าสมกับคุณค่า<br />

ของหอไตรแห่งนี้<br />

เรื่องเล่าจากการอนุรักษ์หอไตรวัดระฆััง<br />

เรื่องเล่าจากการอนุรักษ์หอไตรวัดระฆัังของอาจารย์นิจมีมากมาย<br />

ทั้งเรื่องเล่าที่เป็นประสบการณ์ตรงของอาจารย์เอง และเรื่องเล่าจากคนอื่นๆ<br />

ที่เกี่ยวข้อง<br />

เรื่องแรกที่อาจารย์นิจได้เล่าให้เราฟื้ังคือ พระมหากรุณาธิคุณของ<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) ที่มีกระแสพระราชดำรัส “ชมเชย”<br />

การกระทำครั้งนี้ว่า “เป็นการดำริชอบ” ทั้งยังพระราชทานพร รวมทั้ง<br />

พระราชทานเงินก้นถุงสำหรับการบูรณะหอไตรวัดระฆัังอีกด้วย<br />

เรื่องต่อมาคือ ข้อสังเกตที่น่าสนใจจากผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ เช่น<br />

อาจารย์นิจเล่าถึงข้อสังเกตที่อาจารย์ภิญโญ สุวรรณคีรี ได้สันนิษฐานไว้ว่า<br />

เดิมหอไตรอาจจะมีเพียงแค่ ๒ หลัง แต่มีการต่อเติมหลังคาตรงกลาง และ<br />

ข้อสังเกตที่ ดร.สุเมธได้ตั้งไว้ว่าตอนตั้งเสาอาจไม่ได้นึกถึงความมั่นคงเลย<br />

ตั้งเฉยๆ แต่ไม่ได้เป็นอันตรายสามารถปรับได้<br />

และเรื่องสุดท้ายคือ เกร็ดในการอนุรักษ์ที่ได้รับความร่วมมืออย่าง<br />

บังเอิญในหลายๆ ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ได้ช่างทำกระเบื้องเทพนม<br />

แบบโบราณจากชลบุรี เรื่องประตูที่มีปัญหาเรื่องการเสื่อมสภาพจากสภาพ<br />

อากาศจึงคิดกันว่า จะทำบานใหม่และเก็บบานเก่าไว้ดู และได้สล่าจากลำพูน<br />

มาแกะสลักไม้ ซึ่งทำออกมาได้เหมือนของดั้งเดิม และเรื่องการอนุรักษ์<br />

ลายรดน้ำที่หน้าต่าง ซึ่งอาจารย์เฟื้้อเป็นผู้สังเกตเห็น แต่ในขณะนั้นราคา<br />

ทองสูง แต่ก็ด้วยความบังเอิญที่ ดร.สุเมธ รู้จักกับเจ้าหน้าที่ที่บริษัทเชลล์<br />

จึงได้รับสนับสนุนงบประมาณในโอกาสที่บริษัทครบ ๒๐๐ ปี นำไปซื้อทอง<br />

มาเพื่อบูรณะหอไตร ความร่วมมือที่เกิดขึ้นอย่างบังเอิญเหล่านี้ อาจารย์นิจ<br />

กล่าวว่าเป็นความบังเอิญที่เสมือนมีสายใยมาเชื่อมต่อกัน ทำให้การอนุรักษ์<br />

หอไตร วัดระฆััง สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี<br />

เรื่องอื่นๆ<br />

ช่วงท้ายของโครงการได้มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างหม่อมเจ้า<br />

ยาใจกับอาจารย์เฟื้้อ เนื่องจากอาจารย์เฟื้้อท่านได้เคยไปดูที่วังสวนผักกาดแล้ว<br />

เห็นว่าเรือนโบราณต้องมีที่ชานพักด้านหน้า แต่หอไตรวัดระฆัังไม่เคยปรากฏิ<br />

มาก่อน แต่ก็น่าจะทำ สุดท้ายอาจารย์เฟื้้อท่านจึงลาออก และเซ็นเช็คไว้<br />

จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ให้มูลนิธิคณะกรรมาธิการอนุรักษ์ฯ<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

47<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!