20.04.2023 Views

สามหอไตร เล่มที่ 1 : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

บทนำ<br />

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ สถาปนิกซึ่งสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ<br />

จำนวนหนึ่งได้ร่วมปรึกษาหารือในการดำเนินการจัดตั้งสมาคม โดยมี<br />

วัตถุประสงค์เพื่อช่วยส่งเสริมวิชาชีพสถาปัตยกรรมให้เจริญเป็นที่รู้จักแก่<br />

คนทั่วไปและเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในระหว่างสมาชิกด้วยกัน สมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ ในยุคแรก มีสมาชิกทั้งสิ้น ๓๓ คน มีสำนักงานตั้งอยู่ที่<br />

กรมศิลปากร คณะกรรมการในยุคแรกได้ร่วมกันร่างข้อบังคับและระเบียบ<br />

การของสมาคม จัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินงานประจำของสมาคม ได้แก่<br />

ประเภทธนาการ ประเภทธุรการ กรรมการผังเมืองและผังประชาชาติ นอกจากนี้<br />

สมาคมได้ออกจดหมายเหตุสมาคม เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาชีพ<br />

สถาปัตยกรรม ตลอดจนเป็นสื่อกลางระหว่างสมาคมกับมวลสมาชิกอีกด้วย<br />

การดำเนินการทางด้านการอนุรักษ์ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้มี<br />

จุดเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิชาการ สาขา<br />

อนุรักษ์ศิลปกรรมขึ้นเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยกรรมาธิการฯ<br />

ชุดแรกนี้ มีนายพินิจ สมบัติศิริ เป็นประธาน และมีคณะกรรมาธิการฯ ซึ่ง<br />

ประกอบด้วย นายนิจ หิญชีระนันทน์ (นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ใน<br />

ขณะนั้น) นายมยูร วิเศษกุล นายวทัญญูู ณ ถลาง นายวิลาศ มณีวัต<br />

นายศิริชัย นฤมิตรเรขการ นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ผศ.แสงอรุณ รัตกสิกร<br />

นายโอภาส วัลลิภากร นายสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา และนายอุรา สุนทรศารทูล<br />

ส่วนที่ปรึกษาของกรรมาธิการวิชาการ สาขาอนุรักษ์ศิลปกรรมนั้น ได้รับ<br />

พระเกียรติจากพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยาลาภ<br />

พฤฒิยากร ทรงรับเป็นองค์ประธานคณะที่ปรึกษา นอกจากนี้คณะที่ปรึกษาฯ<br />

ยังประกอบด้วย ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ม.จ.ยาใจ จิตรพงศ์ ม.จ.สุภัทรดิศ<br />

ดิศกุล นายสัญญา ธรรมศักดิ และพระยาอนุมานราชธน นับเป็นครั้งแรกใน<br />

ประเทศไทยที่มีการทำงานอนุรักษ์ภาคประชาชน สืบเนื่องจากความห่วงใย<br />

ในสภาพบ้านเมืองที่ได้เจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงสภาพไปเป็นอันมาก<br />

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมที่ดีงาม<br />

อาคารสถานที่ที่มีความสำคัญทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมซึ่งเป็น<br />

เครื่องบ่งชี้ประวัติของบ้านเมืองได้ถูกรื้อทำลายไป ทำให้ประชาชนขาด<br />

สิ่งแวดล้อมที่จำเป็นในการสร้างสรรค์ ความนึกคิดที่ลึกซึ้ง ความ<br />

สงบ ความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม และการกินดีอยู่ดี<br />

การดำเนินงานของกรรมาธิการฯ เน้นไปที่การเผยแพร่ให้ประชาชน<br />

ภาครัฐและเยาวชนให้เกิดความเข้าใจในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่ดีของ<br />

บ้านเมืองและเกิดความคิด ความกระตือรือร้น ที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีงาม<br />

และมีคุณค่าทางศิลปกรรมหรือทางประวัติศาสตร์ให้คงอยู่ต่อไป<br />

งานชิ้นสำคัญที่เป็นรูปธรรมที่ได้ริเริ่มในช่วงนี้ คือ การบูรณะ<br />

หอพระไตรปิฎกวัดระฆัังโฆส ิตาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นนิวาสสถาน<br />

เดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟื้้าจุฬาโลกมหาราช แต่เดิมหอพระไตร<br />

แห่งนี้ตั้งอยู่กลางสระน้ำ และมีสภาพที่ทรุดโทรมอย่างมาก ทางเจ้าอาวาส<br />

ในขณะนั้น จึงได้ขอความร่วมมือจากคณะกรรมาธิการฯ ในการบูรณะให้<br />

ถูกต้องตามหลักการอนุรักษ์ จึงได้มีการขอความร่วมมือจากผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

สาขาต่างๆ ในการอนุรักษ์ โดยมี อ.เฟื้้อ หริพิทักษ์ เป็นผู้ควบคุมการ<br />

บูรณะ และใช้เวลานานกว่าจะบูรณะเสร็จทันการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ<br />

๒๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ และในช่วงระหว่างนั้น มีการเสนอความคิด<br />

เห็นและข้อเสนอโครงการต่างๆ หลายโครงการ เช่น ข้อเสนอเกี่ยวกับการ<br />

รักษาศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ และการจัดตั้งสภาอนุรักษ์ศิลปกรรม โครงการ<br />

ปรับปรุงสวนลุมพินี การอนุรักษ์แพร่งสรรพศาสตร์ โครงการบูรณะโบราณ<br />

สถานพระนครศรีอยุธยา การจัดทำบัญชีอาคารสถานที่ที่สำคัญทาง<br />

สถาปัตยกรรม โครงการสำรวจทำแผนที่ บันทึกภาพอาคารที่มีคุณค่าในด้าน<br />

สถาปัตยกรรม เพื่อเสนอให้กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียน และงานจัดทำ<br />

รังวัดศิลปสถานต่างๆ ที่อาจจะถูกรื้อไปในเร็ววัน<br />

ใน พ.ศ. ๒๕๕๑ มีแนวคิดว่า หลังจากโครงการอนุรักษ์<br />

หอพระไตรปิฎกวัดระฆัังโฆส ิตาราม ตั้งแต่ในช่วงแรกของการก่อตั้ง<br />

กรรมาธิการวิชาการสาขาอนุรักษ์ศิลปกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯ ก็ไม่ได้<br />

มีโอกาสทำงานอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมโดยตรงแบบเป็นรูปธรรมอีกเลย<br />

เมื่อนายทวีจิตร จันทรสาขา (ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ พ.ศ. ๒๕๕๑-<br />

๒๕๕๕) ได้มารับหน้าที่เป็นนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ และมีนโยบายที่<br />

ต้องการให้สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้แสดงบทบาทต่อสังคมในแบบที่สัมผัส<br />

ได้เป็นรูปธรรม จึงริเริ่มให้จัดตั้งคณะกรรมาธิิการอนุรักษ์์ศิลปสถาปัตยกรรม<br />

ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณีขึ้น ด้วยต้องการเน้นที่มรดกสถาปัตยกรรม<br />

ที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเองเป็นอันดับแรก ในการนี ้ได้มอบหมายให้<br />

ดร.วสุ โปษยะนันทน์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการชุดนี้ ซึ่งประกอบด้วย<br />

คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร นายศิริชัย หวังเจริญตระกูล นายไพรัช<br />

เล้าประเสริฐ ดร.พรธรรม ธรรมวิมล นายจมร ปรปักษ์ประลัย นายวทัญญูู<br />

เทพหัตถี นางสาวมนัชญา วาจก์วิศุทธิ นายสุรยุทธ วิริยะดำรงค์<br />

6<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!