20.04.2023 Views

สามหอไตร เล่มที่ 1 : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

นาวัาอากาศตรีทวีีจิตร จันทรสาขา<br />

(นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

ประจำปี ๒๕๕๑-๒๕๕๕)<br />

“เพราะเห็นว่าวัดเทพธิดารามเป็นพระอารมหลวง ก่อสร้างมาตั้งแต่<br />

สมัยรัชกาลที่ ๓ ตัวหอไตรก็มีความเก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ เช่นกัน<br />

แต่ก็ผ่านการพัฒนามาเป็นลำดับ ในส่วนของความน่าสนใจมองว่าด้วย<br />

ขนาดของหอไตรที่มีขนาดเหมาะสม คือ ไม่ใหญ่หรือไม่เล็กจนเกินไป เป็น<br />

เหตุทำให้ทางสมาคมสถาปนิกสยามฯ ตัดสินใจทำโครงการบูรณะหอไตร<br />

วัดเทพธิดาราม ซึ่งอันนี้น่าจะเป็นโครงการนำร่อง สามารถจะนำไปเสนอ<br />

ต่อสาธารณะเพื่อที่จะบูรณะอาคารสถาปัตยกรรมไทยให้ถูกต้องตามหลัก<br />

วิชาการ และทางวิชาชีพที่เราจะพัฒนาต่อไป”<br />

“ผมโชคดีมากนะครับที่สองปีกว่าที่ทำโครงการนี้มา ได้เห็นตั้งแต่<br />

สภาพเริ่มต้นที่หอไตรตอนอยู่ในสภาพทรุดโทรม และเราก็พัฒนาให้ดีขึ้น<br />

เรื่อยๆ จนถึงสภาพปัจจุบันที่บูรณะแล้วเสร็จ ผมเชื่อว่าทีมงานทั้งหมด<br />

ภาคภูมิใจ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระราชูปถัมภ์เองก็ภาคภูมิใจ และ<br />

เราก็เชื่อว่าสถาปนิกเราก็ภาคภูมิใจในการนี้”<br />

ดร.วัสุ โปษ์ยะนันทน์<br />

(ประธานกรรมาธิการอนุรักษ์ ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณี)<br />

“ขั้นตอนการดำเนินงานที่หอไตรวัดเทพธิดาราม เริ่มจากการประกาศ<br />

รับอาสาสมัคร เริ่มต้นการทำงานด้วยการเก็บรายละเอียดงานสถาปัตยกรรม<br />

และงานจิตรกรรมต่างๆ เพื่อที่จะเอาแบบมาจัดทำเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่<br />

จะนำไปทำแบบบูรณะต่อไป ซึ่งงานมีส่วนประกอบเบื้องต้น คือ แบบของ<br />

อาคารที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเก็บข้อมูลความเสื่อมสภาพและการต่อเติม<br />

โดยที่การบันทึกในลักษณะนี้ทำให้เราเห็นว่าอาคารก่อนมีการอนุรักษ์<br />

เดิมน่าจะมีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร จากนั้นจึงค่อยนำเอาข้อมูลตรงนั้น<br />

มาวิเคราะห์เพื่อทำการออกแบบในการบูรณะต่อไป นอกจากนี้ได้มี<br />

การประสานงานไปยังคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรให้มาช่วย<br />

เก็บข้อมูลทางโบราณคดี มีการจัดทำรายงานทางด้านโบราณคดี นำข้อมูล<br />

มาผสมผสานกับแบบที่ได้มาจากการทำงานของอาสาสมัคร เมื่อแบบ<br />

เสร็จสมบูรณ์แล้วคณะทำงานที่มีประสบการณ์ทางด้านต่างๆ จะเข้ามา<br />

ช่วยกันตัดสินว่าเราจะอนุรักษ์หอไตรในแบบใด ในส่วนของหลังคาทำยังไง<br />

ผนังและหน้าต่างทำยังไง ซึ่งจากการร่วมไม้ร่วมมือของหลายๆ ส่วนที่มา<br />

ร่วมกันทำงาน นำมาซึ่งแบบที่จะใช้ในการบูรณะไปนำเสนอขออนุมัติ<br />

จากกรมศิลปากร ซึ่งแบบที่ได้นี้จะนำไปสู่การนำไปบูรณะตัวหอไตรเป็นการ<br />

นำไปสู่การอนุรักษ์อย่างเป็นรูปธรรม ตามเจตนารมณ์ของสมาคม<br />

สถาปนิกสยามฯ ได้”<br />

62<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!