20.04.2023 Views

สามหอไตร เล่มที่ 1 : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

การอนุรักษ์์งานสถาปัตยกรรมทีเริมจากคุณคาของจิตรกรรม<br />

(ผานบทสัมภาษณ ์ครูเทพศิริ สุขโสภา)<br />

อาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา<br />

“หอไตรหลังนี้ อาจารย์เฟื้้อท่านไปเห็นนานแล้ว” ครูเทพหรือ<br />

อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา ลูกศิษย์ของอาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ เริ่มเล่าเรื่องราว<br />

ของอาจารย์เฟื้้อ และหอไตรวัดระฆััง ผ่านความทรงจำ<br />

ครูเทพเล่าว่าอาจารย์เฟื้้อได้อ่านหนังสือที ่เขียนโต้ตอบระหว่าง<br />

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับสมเด็จเจ้าฟื้้ากรมพระยานริศรา<br />

นุวัดติวงศ์ และพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๒ ของสมเด็จกรมพระยาดำรง<br />

ราชานุภาพ ซึ่งมีการกล่าวถึงผลงานฝ่ีมือของพระอาจารย์นาคที่อยู่หอ<br />

พระไตรปิฎก วัดระฆัังโฆัสิตาราม ทำให้เกิดความสนใจในอาคารหลังนี้ ในช่วง<br />

เวลานั้น หอพระไตรปิฎกตั้งอยู่กลางสระน้ำ ข้างเมรุวัดระฆััง มีสภาพชำรุด<br />

ทรุดโทรม และใช้เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์์ รวมทั้งเป็นที่เก็บเครื่องไม้ใช้สอย<br />

แม้กระทั่งใช้เป็นที่เก็บศพ ทั้งยังมีการสร้างอาคารอื่นๆ รายรอบในระยะประชิด<br />

ทำให้บริเวณหอพระไตรปิฎกขาดความสง่างาม<br />

ในส่วนของภาพจิตรกรรมฝ่าผนังนั้น ครูเทพเล่าว่าครั้งแรกที่อาจารย์<br />

เฟื้้อเห็นนั้น ภาพจิตรกรรมอยู่ในสภาพลบเลือน ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่า<br />

เป็นฝ่้อมือของพระอาจารย์นาคจริงหรือไม่ จนกระทั่งด้วยความบังเอิญใน<br />

วันหนึ่ง ทำให้อาจารย์เฟื้้อได้เห็นความงดงามของภาพเขียนฝ่ีมือชั้นครู<br />

“มีครั้งหนึ่ง อาจารย์เฟื้้อก็ยืนบนโรง แล้วมือก็ถูผนัง ไม้มันดำเพราะ<br />

ตากลมตากแดด พอยืนเอามือถูๆ สีมันก็หลุดออกมา มีรูปเขียนที่อาจารย์<br />

สงสัยมาตลอดว่ามันน่าจะเป็นจิตรกรรมฝีีมือพระอาจารย์นาค พอรู้สึกว่า<br />

น่าจะเป็นอันนี้ วินาทีนั้นคือร้องไห้เลย”<br />

หลังจากอาจารย์เฟื้้อพบว่าที่ฝ่ากระดานทั้งสองมีงานจิตรกรรมอยู่<br />

ท่านก็ได้ย้ายของออก และใช้น้ายาเช็ดทำความสะอาด อาจารย์เฟื้้อพยายาม<br />

อย่างยิ่งที่จะทำการอนุรักษ์อาคารสำคัญหลังนี้ แม้กระทั่งส่งเรื่องไปที่<br />

มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่คนที่เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์อาคาร<br />

อันทรงคุณค่าหลังนี้ก็ยังมีไม่มากนัก<br />

“อาจารย์เฟื้้อพยายามจะทำเรื่องนี้ แต่ก็ไม่มีใครเห็นความสำคัญ<br />

อย่างที่ว่า หลวงพ่อก็ไม่เห็น ชาวบ้านก็ไม่เห็น ทุกคนไม่เห็น มันก็น่าเศร้า<br />

แกเทียวไปเทียวมาไม่รู้จะทำไง”<br />

หลังจากนั้น อาจารย์เฟื้้อเดินทางมาศึกษาค้นคว้าที่หอพระไตรปิฎก<br />

อยู่เป็นระยะ วันหนึ่งท่านได้พบว่ามีช่างไม้กำลังจะรื้ออาคารเพื่อเปลี่ยนเสา<br />

ที่ผุพังออก เนื่องจากเกรงว่าอาคารอาจจะพังลงมา อาจารย์เฟื้้อจึงเดินทาง<br />

ไปพบอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ให้มาช่วยเจรจากับทางวัดเพื่อที่จะขอ<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

35<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!