20.04.2023 Views

สามหอไตร เล่มที่ 1 : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

คานำ<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆส ิตาราม ปฐมบทอาษ์า อาสา สถาปัตยกรรมไทย<br />

วัดระฆัังโฆส ิตารามวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิด<br />

วรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมเรียกว่า<br />

วัดบางหว้าใหญ่คู่กับวัดบางหว้าน้อยหรือวัดอมรินทราราม สมเด็จพระเจ้า<br />

ตากสินมหาราชได้ทรงบูรณปฏิิสังขรณ์พร้อมทั้งยกฐานะขึ้นเป็น<br />

พระอารามหลวงตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์<br />

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟื้้าจุฬาโลกฯ ได้ทรงบูรณปฏิิสังขรณ์ครั้งใหญ่<br />

และได้ขุดพบระฆัังลูกหนึ่งปรากฏมีีเสียงไพเราะกังวานมาก และได้<br />

พระราชทานนามใหม่หลังบูรณะเสร็จเรียบร้อยว่า “วัดระฆัังโฆส ิตาราม”<br />

ภายในวัดยังมีอาคารที่สำคัญมากได้แก่ หอพระไตรปิฎก หรือที่เรียกว่า<br />

“ตำหนักจันทน์” กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานสำคัญ<br />

ของชาติ ใน พ.ศ. ๒๔๙๒ เดิมเคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่ง<br />

ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟื้้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงรับ<br />

ราชการเป็นที่พระราชวรินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช<br />

ที่โปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัดเพื่อใช้เป็นหอพระไตรปิฎก<br />

หอพระไตรปิฎกหลังนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมลงโดยลำดับ แม้ว่าทาง<br />

วัดและกรมศิลปากรจะได้พยายามบูรณปฏิิสังขรณ์ แต่ก็ยังขาดในเรื่อง<br />

งบประมาณ อีกทั้งในการบูรณะนั้นยังต้องการผู้มีความชำนาญ ทั้งทาง<br />

สถาปัตยกรรม จิตรกรรม และอื ่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยเหตุที่ภายใน<br />

หอพระไตรปิฎกแห่งนี้ประดับด้วยจิตรกรรมฝ่าผนังที่มีความเป็นเลิศ ผลงาน<br />

ของพระอาจารย์นาค จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพื่อให้การอนุรักษ์<br />

เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

จึงได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิชาการสาขาอนุรักษ์ศิลปกรรมขึ้น เพื่อให้กลุ่ม<br />

ชนทั้งนอกและในราชการร่วมกันคอยอนุรักษ์ศิลปกรรมของชาติ ได้ร่วมมือ<br />

กับทางวัดระฆัังโฆส ิตาราม ในการบูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกขึ้นใหม่<br />

เพื่อรักษาความเป็นอาคารสำคัญทางศิลปะและประวัติศาสตร์ไว้ และเป็น<br />

แบบอย่างให้ในอีก ๔๐ ปีต่อมาที่สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้แต่งตั้งคณะ<br />

กรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ด้านสถาปัตยกรรมไทยประเพณีขึ้น<br />

และมีโครงการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมไทยอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้ง<br />

เพื่อให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์หอไตรวัดระฆัังโฆส ิตาราม<br />

อย่างครบถ้วน จึงได้ถือโอกาสนำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ<br />

อนุรักษ์ในครั้งนั้น ได้แก่ หนังสือ “ภาพเขียนในหอพระไตรปิฎกวัดระฆััง”<br />

และ หนังสือ “หอพระไตรปิฎก วัดระฆัังโฆสิิตาราม” มานำเสนอใน<br />

ภาคผนวกด้วย<br />

คณะกรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ด้านสถาปัตยกรรม<br />

ไทยประเพณี สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมป์สำนึกใน<br />

พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช<br />

และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ<br />

สยามบรมราชกุมารี (พระราชอิศริยยศ พระอิศริยยศ ในขณะนั้น) ที่ทรง<br />

ให้การสนับสนุนโครงการมาตั้งแต่เริ่มต้น ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนร่วม<br />

ในการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกวัดระฆัังโฆส ิตารามทุกท่าน นับตั้งแต่<br />

หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ประธานอนุกรรมการบูรณปฏิิสังขรณ์<br />

หอพระไตรปิฎก อาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ อาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์<br />

อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ตลอดจน<br />

หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่สนับสนุนทั้งแรงกาย แรงใจ และ<br />

งบประมาณในการดำเนินการอนุรักษ์ที่ทำให้การบูรณะหอพระไตรปิฎก<br />

วัดระฆัังโฆสิิตารามเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของโครงการอนุรักษ์ของ<br />

กรรมาธิการอนุรักษ์ศิลปกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯ ที่หอพระไตรปิฎก<br />

วัดเทพธิดารามวรวิหารและวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร เป็นต้นแบบให้<br />

พวกเรารุ่นหลังได้เจริญรอยตามเพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาติ<br />

ไว้สืบต่อไป รวมทั้งขอขอบคุณทำนุ หริพิทักษ์ และบริษัทเชลล์ (ประเทศไทย)<br />

จากัด ในการที่ได้ขอนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ หอไตรวัดระฆััง<br />

โฆส ิตารามในครั้งนั้นมาตีพิมพ์ในภาคผนวกของหนังสือ เล่มนี้อีกครั้งด้วย<br />

4<br />

หอไตรวััดระฆัังโฆัสิิตาราม<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!