20.04.2023 Views

สามหอไตร เล่มที่ 1 : หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม

Create successful ePaper yourself

Turn your PDF publications into a flip-book with our unique Google optimized e-Paper software.

ทางเข้าหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีความเชื่อกันว่าเจ้าฟื้้าฉิมทรงงานด้วยพระองค์เอง<br />

“เจ้าฟื้้าฉิมแกะสลักบานประตูเป็นฝ่ีพระหัตถ์ จากรูปถ่ายจะเห็นว่าทำ<br />

ขึ้นใหม่ เพราะบานดั้งเดิมเก็บไว้ข้างใน เนื่องจากซ่อมไม่ได้แล้ว แล้วเอา<br />

บานที่ทำใหม่ไว้ด้านนอก”<br />

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ทางด้านอาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ และอาจารย์<br />

สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ก็ได้เริ่มดำเนินการเพื่ออนุรักษ์หอพระไตรปิฎกแห่งนี้เช่นกัน<br />

และในที่สุดทั้งสองกลุ่มก็ได้มาร่วมกันทำงาน และจัดตั้งขึ้นเป็นคณะ<br />

อนุกรรมการเพื่อทำการบูรณปฏิิสังขรณ์หอพระไตรปิฎกขึ้นโดยเฉพาะ<br />

ในการนี้มีหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ เป็นประธานการดำเนินการ และให้<br />

คำปรึกษาเรื่องการอนุรักษ์ส่วนที่เป็นงานสถาปัตยกรรม หม่อมเจ้ายาใจทรง<br />

เป็นนักอนุรักษ์สมัยใหม่ที่ใช้วิธีการอนุรักษ์รูปแบบใหม่ผสมผสานกับ<br />

การอนุรักษ์ของเก่า ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างงานสถาปัตยกรรม<br />

ดั้งเดิมและสิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นใหม่ โดยหม่อมเจ้ายาใจทรงตัดสินให้ย้ายหอไตร<br />

ออกไปจากสระเดิมมาตั้งอยู่ที่ใหม่ อีกทั้งโปรดให้ประกอบเรือนขึ้นใหม่บนดิน<br />

ตัดเสาออก และเปลี่ยนเป็นเสาคอนกรีตเปลือยและท่านยาใจได้มอบหมายให้<br />

ดร.สุเมธ เป็นผู้ออกแบบเสาใหม่ ซึ่งดร.สุเมธ ได้เล่าว่าเกิดความผิดพลาดขึ้น<br />

ในการออกแบบ เนื่องจากดร.สุเมธไม่ได้ออกแบบให้เสามีลักษณะ “สอบเข้า”<br />

ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของเรือนไทย ที่ต้อง “สอบเข้า” ทั้งเสาและตัวเรือน<br />

ทำให้เมื่อยกเรือนขึ้นมาบนเสา เสาและผนังของตัวเรือนจึงผิดศูนย์ ซึ่งถ้า<br />

ไม่ใช่สถาปนิกหรือวิศวกรจะไม่สังเกตเห็นข้อผิดพลาดนี้<br />

“ตอนยกเรือนมาตั้ง เกือบตกเพราะไม่ได้ศูนย์กัน ความที่ไม่มี<br />

ประสบการณ์ เรือนไทยเนี่ยเสาจะสอบเข้า ผมทำมาตรงๆ นี่คือสถาปัตยกรรม<br />

ไทยพวกผนังก็สอบเข้า ความที่ไม่รู้พอเอามาตั้งเกือบตก เสามันไม่ได้ศูนย์<br />

ส่วนเสาก็เป็นคอนกรีตเปลือยตามคอนเซปต์ของท่านยาใจ”<br />

นอกจากนี้ ดร.สุเมธในฐานะที่ “เด็ก” ที่สุดในช่วงนั้น ก็รับหน้าที่<br />

ในการประสานงานหลายๆ อย่างดร.สุเมธ จึงถือว่าเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญ<br />

ในการช่วยหางบประมาณ โดยเฉพาะ “เงินก้นถุง” ที่ได้รับพระราชทานจาก<br />

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) ซึ่งเกิดขึ้นจากที่ ดร.สุเมธ<br />

ได้เล่าเรื่องหอพระไตรปิฎกให้หม่อมเจ้าหญิงลุอิสา (Luisa) ท่านแม่ของ<br />

หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล ซึ่งเป็นเพื่อนนักเรียนที่อังกฤษของดร.สุเมธฟื้ัง<br />

ท่านหญิงจึงได้นำความไปกราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙)<br />

พระองค์ได้พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “เงินก้นถุง” ให้ เพื่อนำไป<br />

อนุรักษ์หอพระไตรปิฎกหลังนี้ไว้ หลังจากนั้นดร.สุเมธ ก็ได้มีโอกาสไปเฝ้้า<br />

หม่อมเจ้าปิยะรังสิต รังสิต และหม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ รังสิต เพื่อขอ<br />

สนับสนุนงบประมาณในการอนุรักษ์ ซึ่งได้รับความกรุณาเช่นกัน หลังจาก<br />

นั้นเงินบริจาคเพื่อดำเนินการบูรณปฏิิสังขรณ์ก็มีมาเรื่อยๆ จนทำให้การ<br />

ดำเนินงานเป็นไปได้ด้วยดี<br />

ส่วนงานจิตรกรรมที่ถือเป็นหัวใจของหอพระไตรปิฎกแห่งนี้ ก็ได้<br />

อาจารย์เฟื้้อ หริพิทักษ์ เป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการดำเนินงานอนุรักษ์จนทำให้<br />

ความงดงามทรงคุณค่าของภาพจิตรกรรมฝ่ีมือพระอาจารย์นาค ปรากฏิสู่<br />

สายตาทุกคนจวบจนทุกวันนี้<br />

“หอไตรแต่เดิมเป็นกุฏิิ ก่อนจะถูกใช้เป็นที่เก็บหีบศพ แล้วก็ใช้เป็น<br />

เรือนครัว ซึ่งไม่ทราบว่าอันไหนมาก่อนมาหลัง บริเวณผนังก็ถูกขี้เขม่าจับจน<br />

ดูไม่ออกว่าเป็นจิตรกรรมฝ่าผนังชั้นเยี่ยม อาจารย์เฟื้้อใช้สำลีชุบน้ำค่อยๆ<br />

ล้างออกจนเห็นความงดงามแต่เดิม”<br />

หลังจากนั้นประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๓ หรือในช่วงก่อนที่กรุงรัตนโกสินทร์<br />

จะครบ ๒๐๐ ปี ดร.สุเมธ ก็ได้พบอาจารย์เฟื้้ออีกครั้งโดยบังเอิญที่<br />

หอศิลป์เจ้าฟื้้า ทำให้ทราบว่าอาจารย์เฟื้้อยังคงทำการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก<br />

อยู่และยังไม่สำเร็จ<br />

“ผมมีหน้าที่วิ่งเต้นอะไรต่ออะไรก็ลืมไป เจออาจารย์เฟื้้ออีกทีหลายปี<br />

ต่อมาที่หอศิลป์ อาจารย์เฟื้้อบอกว่าคุณสุเมธคุณทิ้งผมไปเลยนะ ผมก็ลืมไป<br />

เลยตอนนั้นนะ ผมใจทรุดเลยตอนนั้น อาจารย์เฟื้้อพูดว่าอีกปี สองปี<br />

พระนครจะครบสองร้อยปี อยากให้งานอนุรักษ์หอไตรนี้สำเร็จบริบูรณ์ จะช่วย<br />

ผมได้ไหม”<br />

ในช่วงนั้นเอง ดร.สุเมธ เล่าว่าเป็นความบังเอิญที่แสนมหัศจรรย์<br />

หม่อมราชวงศ์สฤษดิคุณ กิติยากร เพื่อนมหาวิทยาลัยที่อังกฤษ ซึ่งขณะนั้น<br />

ดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่บริษัทเชลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้โทรศัพท์มา<br />

ขอคำปรึกษาจากดร.สุเมธ เรื่องโครงการที่จะทำเนื่องในโอกาสฉลอง<br />

พระนคร ๒๐๐ ปี และในที่สุดบริษัทเชลล์ก็เข้ามาสนับสนุนงบประมาณใน<br />

การอนุรักษ์หอพระไตรปิฎก วัดระฆััง จนเสร็จสมบูรณ์ทันฉลองพระนคร<br />

ครบ ๒๐๐ ปี เป็นความมหัศจรรย์ที่ทำให้เกิดความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่่าย<br />

จนทำให้ในที่สุด “หอพระไตรปิฎกวัดระฆัังโฆัสิตาราม” ก็เสร็จสมบูรณ์<br />

ด้วยดี เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าแก่ลูกหลานจวบจนปัจจุบัน<br />

<strong>หอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม</strong><br />

51<br />

ปฐมบทอาษา อาสา สถาปัตยกรรมไทย

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!