30.04.2020 Views

ASA JOURNAL VOL.2|2019

You also want an ePaper? Increase the reach of your titles

YUMPU automatically turns print PDFs into web optimized ePapers that Google loves.

วารสารสถาปัตยกรรม<br />

ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

The Architectural Journal<br />

of The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage<br />

ISSUE O2 / 2019<br />

| Green |


วารสารสถาปัตยกรรม<br />

ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์<br />

The Architectural Journal<br />

of The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage<br />

ISSN : 0857-3050<br />

คณะกรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2561-2563<br />

นายกสมาคม / President<br />

อุปนายก / Vice President<br />

อัชชพล ดุสิตนานนท์ / Ajaphol Dusitnanond<br />

เมธี รัศมีวิจิตรไพศาล / Metee Rasameevijitpisal<br />

ผศ.ดร.ธนะ จีระพิวัฒน์ / Asst.Prof.Thana Chirapiwat, Ph.D.<br />

ดร.วสุ โปษยะนันทน์ / Vasu Poshyanandana, Ph.D.<br />

ดร.พินัย สิริเกียรติกุล / Pinai Sirikiatikul, Ph.D.<br />

นายทรงพจน์ สายสืบ / Songpot Saiseub<br />

เลขาธิการ / Secretary General<br />

นายทะเบียน / Honorary Registrar<br />

เหรัญญิก / Honorary Treasurer<br />

ปฏิคม / Social Event Director<br />

ประชาสัมพันธ์ / Public Relations Director<br />

กรรมการกลาง / Executive Committee<br />

ปรีชา นวประภากุล / Preecha Navaprapakul<br />

พ.ต.ท.สักรินทร์ เขียวเซ็น / Pol.Lt.Col.Sakarin Khiewsen<br />

ภิรวดี ชูประวัติ / Pirawadee Chuprawat<br />

สมชาย เปรมประภาพงษ์ / Somchai Premprapapong<br />

ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์ / Asst.Prof.Kamon Jirapong, Ph.D.<br />

เทียนทอง กีระนันทน์ / Thienthong Kiranandana<br />

ผศ.ดร.รัฐพงษ์ อังกสิทธิ์ / Asst.Prof.Rattapong Angkasith, Ph.D.<br />

ชายแดน เสถียร / Chaydan Satian<br />

รุ่งโรจน์ อ่วมแก้ว / Rungroth Aumkaew<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิกล้านนา / Chairman of Northern Region (Lanna)<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิกอีสาน / Chairman of Northeastern Region (Esan)<br />

ประธานกรรมาธิการสถาปนิกทักษิณ / Chairman of Southern Region (Taksin)<br />

อิศรา อารีรอบ / Issara Areerob<br />

ธนาคม วิมลวัตรเวที / Tanakom Wimolvatvetee<br />

นิพนธ์ หัสดีวิจิตร / Nipon Hatsadeevijit<br />

<strong>ASA</strong> Journal Team<br />

Steering Committee<br />

Prof.Dr.Vira Inpuntung<br />

Dr.Weeraphan Shinawatra<br />

Dr.Chalay Kunawong<br />

Contributors<br />

Assistant Professor Cuttaleeya Jiraprasertkun, Ph.D.<br />

Assistant Professor Darunee Mongkolsawat, PhD.<br />

Dolathep Chetty<br />

Kanisorn Na Manee<br />

Kitti Chaowana<br />

Assistant Professor Nuanwan Tuaycharoen, Ph.D.<br />

Associate Professor Pantuda Puttipairoj, Ph.D.<br />

Assistant Professor Poon Khwansuwan, Ph.D.<br />

Assistant Professor Wanarat Konisranukul, Ph.D.<br />

Editor-in-Chief<br />

Assistant Professor Dr.Supitcha Tovivich<br />

English Translators<br />

Pornpimon Intraraksakul<br />

Tanakanya Changchaitum<br />

English Advisor<br />

David Fiske<br />

Art Director / Graphic Designer<br />

Werapon Chiemvisudhi, Ph.D. / Jr.KUSTOMIZE


บทบรรณาธิการ / Editorial<br />

วารสารอาษากลับมาอีกครั้งในรูปแบบใหม่ที่เกิดจาก<br />

ความพยายามและความตั้งใจของกองบรรณาธิการที่อยากจะเริ่ม<br />

เชื่อมโลกวิชาการเข้ากับโลกวิชาชีพ เมื่อสมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

ได้มอบหมายให้เป็น Editor-in-Chief ของวารสารอาษารูปแบบ<br />

ใหม่นี้สิ่งหนึ่งที่นึกได้ก็คือบทความประเภทการอัพเดทความเป็น<br />

ไปต่างๆ ในแวดวง หรือบทความที่มีแต่ความคิดเห็นส่วนตัวของ<br />

ผู้เขียนต่องานสถาปัตยกรรมสักชิ้น...ไม่น่าจะใช่คำตอบที่เหมาะ<br />

กับยุคสมัย เนื่องจากเป็นสิ่งที่หาอ่านได้ง่ายดายในโลกออนไลน์<br />

อีกทั้งด้วยนโยบายของสมาคมฯ เองที่ให้ความสำคัญกับการเผย<br />

แพร่องค์ความรู้เชิงวิชาการสถาปัตยกรรมไปในวงกว้าง จึงเป็น<br />

ที่มาของโครงการจัดทำวารสารอาษารูปแบบใหม่ที่มีเนื้อหาสาระ<br />

เข้มขึ้น อัดแน่นด้วยเนื้อหาวิชาการ เพื่อสถาปนิกผู้ปฏิบัติการที่<br />

อาจจะได้แรงบันดาลใจ และข้อมูลเชิงลึกต่างๆ เพื่อนำไปปรับใช้<br />

ในงานออกแบบของตนเอง บทความวิชาการในเล่มนี้เปิดรับงาน<br />

เขียนวิชาการจากทั่วประเทศ ทั้งจากสถาปนิกและนักวิชาการทุก<br />

สังกัด ผ่านกระบวนการคัดสรรอย่างเป็นขั้นตอนและมีระบบ ทั้ง<br />

การอ้างอิงทฤษฏี บทวิเคราะห์มุมมองความคิดเห็นของผู้เขียน<br />

รวมไปถึงการกลั่นกรองบทความตามหลักวิชาการ ในลักษณะ<br />

Blind Peer Review คือปกปิดรายชื่อผู้ประเมินและผู้เขียนบทความ<br />

โดยส่งมอบให้ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ เป็นผู้ตรวจสอบ<br />

โดยปกติฐานข้อมูลของบทความวิชาการนั้นมักอยู่ตาม<br />

มหาวิทยาลัย หรือช่องทางออนไลน์สำหรับสมาชิกเฉพาะกลุ่ม<br />

เท่านั้น นับเป็นโอกาสดีที่วารสารอาษารูปแบบใหม่นี้จะนำเสนอ<br />

ข้อมูลเชิงวิชาการและเชิงลึกสู ่ผู ้อ่านที่กว้างขวางขึ้น วารสารเล่ม<br />

นี้อาจจะไม่ใช่ขนมหวานสำหรับคนที่ต้องการอ่านสนุกและอ่าน<br />

ง่าย แต่อย่างน้อยแต่ละบทความมีคาแรกเตอร์ที่ “อ่านได้” และ<br />

ไม่ยากเกินความเข้าใจ ความยาวของบทความนั้นจะสั้นกว่า<br />

บทความวิชาการปกติ เนื้อหาพยายามมุ่งไปที่ประโยชน์ต่อการ<br />

ปฏิบัติวิชาชีพหรือการเรียนการสอนสถาปัตยกรรม เหมาะสำหรับ<br />

ผู้ที่ต้องการที่จะเริ่มศึกษาข้อมูลที่ลึกซึ้งในเบื้องต้น เป็นการเชื่อม<br />

โลกวิชาการกับโลกปฏิบัติการอีกทางหนึ่งแต่ละเล่มกองบรรณธิการ<br />

คัดสรรบทความ 6 เรื่องต่อเล่ม และมีกำหนดเผยแพร่ปีละ 2 เล่ม<br />

สำหรับเล่มที่หนึ่งมีTheme ร่วมกับเล่มที่สองและงานสถาปนิก’62<br />

คือ “Green” ว่าด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ค ำนึงถึงสภาพแวดล้อม<br />

และความเป็นอยู่ของธรรมชาติและผู้คน<br />

สำหรับผู้ที ่สนใจส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์สามารถ<br />

สอบถามเรื่อง Theme ของเล่มหน้าและรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติม<br />

ได้ที่ asa.journal.academic@gmail.com<br />

The return of <strong>ASA</strong> Journal comes not only with a new<br />

design but the intention to connect the country’s architectural<br />

academia to the professional world. Having agreed to take on the<br />

responsibility as the Editor-in-Chief of the reinvented edition of <strong>ASA</strong><br />

Journal, one thing that comes to my mind is that industry updates<br />

and articles featuring solely the authors’ point of view towards their<br />

architectural projects are not the only answers, at least not ones that<br />

are distinct and would resonate well with the current media landscape.<br />

These types of articles are now ubiquitously available online. So it is<br />

the Association’s intention to promote academic works in the field<br />

of architecture to reach a wider group of audience. The new <strong>ASA</strong><br />

Journal will intensify academic content for architectural practitioners<br />

- not only as a source of inspiration - but also for information towards<br />

the creation and development of their own architectural works.<br />

The academic articles featured in this issue of <strong>ASA</strong> Journal<br />

are submitted from contributors across the country by academics<br />

and architects from different organizations. A systematic selection<br />

process has been created and the articles will be diverse, from<br />

theoretical references to critical analyses of the authors’ viewpoints.<br />

A blind peer review process is also incorporated. With the authors’<br />

and assessors’ identities concealed, the selection process will be made<br />

objectively by experts of that particular field.<br />

Typically, academic journals can only be accessed through<br />

databases in universities or online systems in which the information<br />

is available to a specific group of members. It is a great opportunity<br />

for the new <strong>ASA</strong> Journal to serve as a platform where academic and<br />

in-depth information can be presented and be made accessible to a<br />

wide group of readers. It may not be for someone who is looking for<br />

an easy read, but each of the selected articles will possess a ‘readable’<br />

characteristic that is not too hard to digest. The length of the articles<br />

will be shorter than that of most academic journals with the content<br />

aiming to contribute to architectural practice and teaching. These<br />

articles will serve as a primary source of information for those who<br />

wish to pursue more elaborate study. In a way, it will connect the<br />

academic world to the actual practice of the profession. Six articles<br />

will be selected to feature in one issue of the <strong>ASA</strong> Journal, which will<br />

be released bi-annually. For the first issue, the theme “Green” corresponds<br />

with the second issue andthe Architect Expo ’19<br />

For those who are interested in having your articles and<br />

writing published, do not hesitate to inquire about the themes and<br />

details of future issues via asa.journal.academic@gmail.com<br />

ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์<br />

Editor-in-Chief


เว็บเดียวครบ จบเรื ่องบ้านและงานออกแบบ<br />

www.asa.or.th<br />

ค้นหาสถาปนิก<br />

ทั่วประเทศ<br />

ค้นหางาน<br />

ในวงการสถาปนิก<br />

ไม่พลาดทุกข่าวสาร<br />

และกิจกรรม<br />

ในแวดวงสถาปนิก<br />

ติดตามสื่อทุกช่องทางของสมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

ทั้งวารสาร <strong>ASA</strong> CREW / อาษา / จดหมายข่าว /<br />

<strong>ASA</strong> Youtube Channel / <strong>ASA</strong> แอปพลิเคชั่น / เฟซบุ๊กสมาคมฯ<br />

พร้อมสมัครสมาชิกสมาคมฯ ทางออนไลน์ได้ทันที<br />

“ถ้าคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ www.asa.or.th จะเห็นว่ามี<br />

การเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มีเมนูใหม่ๆ ซึ่งเป็นไฮไลต์ เช่น<br />

‘find an architect’ ซึ่งสถาปนิกสามารถนาผลงานของ<br />

บริษัท ทั้งผลงาน รูปภาพ แม้แต่วิดีโอมาลงบนเว็บไซต์<br />

เป็นการแนะนาบริษัท ส่วนบุคคลทั ่วไปก็สามารถเข้ามาค้นหา<br />

สถาปนิกได้ เป็นการตอบโจทย์ทั้งบริษัทสถาปนิกและ<br />

ผู้บริโภคที ่ต้องการสร้างบ้าน ขณะเดียวกันบุคคลหรือ<br />

บริษัททั ่วไปสามารถนาโฆษณามาลงได้ โดยโฆษณาดังกล่าว<br />

จะแสดงผลต่อเมื ่อผู้เข้าชมได้แสดงความสนใจในเนื ้อหา<br />

ที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์นั ้นๆ<br />

นอกจากนี้เว็บไซต์ดังกล่าวยังเป็นแหล่งรวมสื่อต่างๆ<br />

ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ เช่น จดหมายเหตุ วารสาร<br />

คลิปวิดีโอ รวมถึงเฟซบุ๊ก เพื่อให้เข้าชมง่ายขึ้นอ่านง่ายขึ้น<br />

บนทุกอุปกรณ์ และยังสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ<br />

สมาคมฯ ทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ได้อีกด้วย<br />

กลุ่มคนหลักๆ ที ่จะได้ประโยชน์จากเว็บไซต์นี้กลุ่มแรก<br />

คือ สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ สามารถนาผลงานมา<br />

ลงบนเว็บไซต์ได้ทั้งในรูปแบบของสมาชิกที ่เป็นรูปแบบ<br />

บริษัทและรูปแบบบุคคลเพื่อให้มีคนเข้าถึงได้มากขึ้นรวมถึง<br />

ประกาศหางานบนเว็บไซต์ก็ได้<br />

กลุ่มต่อมาคือ นักศึกษาหรือสถาปนิกที<br />

- 4 - ่กาลังหางาน<br />

สามารถเข้ามาหาโอกาสการทางานกับบริษัทที่เป็นสมาชิก<br />

ของสมาคมฯ และเชื่อถือได้<br />

JULY-AUG 2017 - ISSUE 05<br />

กลุ่มต่อมาคือ บุคคลทั ่วไป สามารถเข้าถึงฐานข้อมูล<br />

เพื่อค้นหาสถาปนิกตามประเภทงาน สถานที่และความถนัด<br />

รวมไปถึงติดตามข่าวสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับวงการสถาปนิก<br />

อยากขอเชิญชวนท่านสมาชิกสมาคมฯอัปโหลดผลงาน<br />

ข้อมูลบริษัทและข้อมูลส่วนตัวของท่านขึ้นบนระบบเว็บไซต์<br />

ของสมาคมฯ และรับสิทธิ ์ประกาศหางาน ส่วนบุคคลทั ่วไป<br />

ลองเข้าชม อ่านบทความที่น่าสนใจรับชมสื่อต่างๆของสมาคมฯ<br />

และลองใช้เมนูใหม่ ‘find an architect’ ดู รับรองว่า<br />

ได้ประโยชน์แน่นอนค่ะ”<br />

ศิริมาศ บิ๊กเลอร์<br />

Senior Account Director<br />

Adelphi Digital Consulting Group<br />

ผู้พัฒนาเว็บไซต์ www.asa.or.th


สารนายกสมาคมฯ / Message from the <strong>ASA</strong> President<br />

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นความสำคัญของการมีพื้นที่ให้สมาชิกสมาคมฯ สถาปนิก นิสิต-นักศึกษา<br />

สถาปัตยกรรม นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมได้มีพื้นที่ในการเผยแพร่องค์ความรู้และแนวคิดในการออกแบบรวมถึง<br />

ผลงานค้นคว้าวิจัยทางด้านสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยามฯ จึงได้มอบหมายให้ฝ่ายวิชาการจัดทำวารสารอาษา (<strong>ASA</strong> Journal)<br />

เป็นวารสารสถาปัตยกรรมของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยในเล่มจะเป็นการรวบรวมบทความผลงานทางวิชาการ<br />

บทความผลงานวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่อัดแน่นด้วยเนื้อหาวิชาการ โดยได้มอบหมายให้ ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ เป็น<br />

บรรณาธิการ ซึ่งนับเป็นปีที่ 2 ที่ได้มีการจัดทำวารสารอาษาในรูปแบบของการรวบรวมบทความวิชาการทั้งทางด้าน Design Theory<br />

History Vernacular เพื่อให้สถาปนิก นักวิชาการ รวมถึงผู้ปฏิบัติวิชาชีพทางด้านสถาปัตยกรรม และผู้ที่สนใจในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยว<br />

เนื่องได้เข้าถึง ตามนโยบายของสมาคมฯ ที่ให้ความสำคัญกับการเผยแพร่องค์ความรู้เชิงวิชาการสถาปัตยกรรมในวงกว้างทั้งยังสามารถ<br />

ใช้เป็นแรงบันดาลใจหรือปรับใช้ในการออกแบบ และใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้ นับเป็นโอกาสดีที่วารสารอาษาได้เป็นช่องทางการศึกษา<br />

เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากต ำราวิชาการทั่วไป และยังเปิดโอกาสให้สมาชิก นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมสามารถส่งบทความ<br />

เพื่อคัดเลือกและตีพิมพ์เผยแพร่องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์แก่วงวิชาการวิชาชีพสถาปนิก และนำไปสู่การพัฒนาที่กว้างขวางต่อไปใน<br />

สังคม<br />

With the recognition in the importance of having a platform where the fellow members, architects, architecture students,<br />

academics and architectural practitioners can present and propose their architectural projects, ideas and researches, the Association<br />

of Siamese Architects under Royal Patronage assigns its academic unit to oversee the making of <strong>ASA</strong> Journal, the association’s very<br />

own academic publication that brings together academic essays, research papers of interesting and diverse academic contents featured<br />

in both Thai and English language.<br />

With Dr. Supitcha Tovivich appointed as the editor, the new edition of <strong>ASA</strong> Journal has now entered its second year as we<br />

aspiringly continue to bring our readers written works that explore different aspects of architecture from theory, design, history to<br />

vernacular. The journal offers professional practitioners, academics and interested individuals an access to a growing body of<br />

knowledge in architecture and other related fields, following the association’s intention to promote architectural knowledge to reach<br />

a wider group of people. These written works also serve as sources of inspirations and references for both professional practitioners<br />

and students for <strong>ASA</strong> Journal presents itself as another source of knowledge in addition to other textbooks and academic publications.<br />

We also offer a chance for the fellow members of the association, academics and architectural professionals to submit their writings,<br />

which will be reviewed, selected and published in <strong>ASA</strong> Journal with the hope that the shared knowledge and experiences will<br />

generate greater developments for the future of architectural practice and academia, and ultimately the society we all live in.<br />

<strong>ASA</strong> Journal presents itself as another source of knowledge in addition to other textbooks and academic publications. We also<br />

offer a chance for the fellow members of the association, academics and architectural professionals to submit their writings to be<br />

considered, selected and published in <strong>ASA</strong> Journal in order for the knowledge to be shared and generate greater developments for<br />

the future of architectural practice and academia, and ultimately the society we live in.<br />

อัชชพล ดุสิตนานนท์ / Ajaphol Dusitnanond<br />

นายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจปี 2561 - 2563 / President, The Association of Siamese Architects Under Royal Patronage


สารบัญ / Contents<br />

การพัฒนาคู่มือการออกแบบอาคารเขียวภาครัฐ G-GOODs<br />

คสคัญ: อาคารเขียวภาครัฐ, อาคารเขียว, G-GOODs, ค่าก่อสร้างอาคารเขียว<br />

รองศาตราจารย์ ดร.พันธุดา พุฒิไพโรจน์<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / drpantuda@gmail.com<br />

หน้า / Page<br />

10 - 21<br />

Development for the Government Design Manuals for Green Buildings<br />

: G-GOODS<br />

Keywords: Government Green Buildings, Green Buildings, G-GOODs, Green Building Constructions Cost<br />

Associate Professor Pantuda Puttipairoj Ph.D.<br />

Faculty of Architecture, University of Silpakorn / drpantuda@gmail.com<br />

เป็น อยู่ ดี<br />

: มาตรฐานอาคาร WELL ในบริบททางสุขภาวะของคนไทย<br />

คสคัญ: มาตรฐานอาคาร WELL, การออกแบบ, สุขภาพ, ความเป็นอยู่ที่ดี, ปัจจัยเสี่ยง<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี มงคลสวัสดิ์<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / mongkolsawat_d@silpakorn.edu<br />

หน้า / Page<br />

22 - 37<br />

LIVING WELL: WELL Building Standard in the Context of Thais’ Health<br />

Keywords: WELL Building Standard, Design, Health, Well-being, Risk factor<br />

Assistant Professor Darunee Mongkolsawat, PhD.<br />

Faculty of Architecture, Silpakorn University / mongkolsawat_d@silpakorn.edu<br />

วิวภายนอกกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ<br />

คสคัญ: แสงธรรมชาติ วิวภายนอก ภาวะซึมเศร้า ผู้สูงอายุ<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นวลวรรณ ทวยเจริญ<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / nuanwan@gmail.com<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนารัตน์ กรอิสรานุกูล<br />

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ / kwanarat@gmail.com<br />

คณิศร ณะมณี<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / jomjuk-rb@hotmail.com<br />

หน้า / Page<br />

38 - 49<br />

Window Views: Effects on Depression in Elderly<br />

Keywords: Natural light, Window Views, Depression, Elderly<br />

Assistant Professor Nuanwan Tuaycharoen, Ph.D.<br />

Faculty Member, Building Innovation Department, Faculty of Architecture, Kasetsart University<br />

/ nuanwan@gmail.com<br />

Assistant Professor Wanarat Konisranukul, Ph.D.<br />

Faculty of Science and Technology, Thammasat University / kwanarat@gmail.com<br />

Kanisorn Na Manee<br />

Faculty of Architecture, Kasetsart University / jomjuk-rb@hotmail.com


เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ยั่งยืน<br />

สหรับที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยในยุคเทคโนโลยีผันผวน<br />

คสคัญ: เทคโนโลยี นวัตกรรม ที่อยู่อาศัย ความยั่งยืน เมืองและชนบท<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง / poon.kh@kmitl.ac.th<br />

Technology and Innovation<br />

for People’s Dwellings in Disruptive Technology Society<br />

Keywords: Technology, innovation, Dwelling, Sustainability, Urban, Rural<br />

Assistant Professor Poon Khwansuwan, Ph.D.<br />

Faculty of Architecture, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang / poon.kh@kmitl.ac.th<br />

หน้า / Page<br />

50 - 61<br />

Symbiosis<br />

: ความสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลระหว่างสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม<br />

คสคัญ: Symbiosis, สถาปัตยกรรมเกื้อกูลสิ่งแวดล้อม, การฟื้นฟูระบบนิเวศ, ป่าชายเลน, เขื่อนกันคลื่น<br />

ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.คัทลียา จิรประเสริฐกุล และ นายดลเทพ เจตีร์<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / archcyn@ku.ac.th and dolathep_chetty@hotmail.com<br />

หน้า / Page<br />

62 - 83<br />

Symbiosis<br />

: a Mutual Relationship Between Architecture and Environment<br />

Keywords: Symbiosis, Architecture and Environment, Environmental Reclamation, Mangrove Forest, Breakwater<br />

Assistant Professor Cuttaleeya Jiraprasertkun, Ph.D. and Dolathep Chetty<br />

Faculty of Architecture, Kasetsart University / archcyn@ku.ac.th and dolathep_chetty@hotmail.com<br />

มหาวิทยาลัยสีเขียว<br />

: ความท้าทายใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน<br />

คสคัญ: มหาวิทยาลัยสีเขียว, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, การบริหารนโยบาย, หลักเกณฑ์การประเมิน<br />

กิตติ เชาวนะ<br />

สนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ / ckitti@mail.wu.ac.th<br />

Green University<br />

: New Challenges in the Environment and Sustainable Development<br />

Keywords: Green University, Sustainable Development, Policy Management, Criteria<br />

Kitti Chaowana<br />

School of Architecture, Walailak University / ckitti@mail.wu.ac.th<br />

หน้า / Page<br />

84 - 101


การพัฒนาคู่มือการออกแบบอาคารเขียวภาครัฐ<br />

G-GOODs<br />

รองศาตราจารย์ ดร.พันธุดา พุฒิไพโรจน์<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร / drpantuda@gmail.com<br />

บทคัดย่อ<br />

การพัฒนาคู่มือการออกแบบอาคารเขียวภาครัฐ ของกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นอีกทาง<br />

เลือกหนึ่งของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการมีแนวทางในการออกแบบอาคารเขียว โดยไม่<br />

ต้องการขอการรับรองเป็นอาคารเขียวซึ่งมักมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง คู่มือการออกแบบปรับปรุงอาคาร<br />

เขียวภาครัฐสำหรับอาคารที่จะก่อสร้างใหม่(G-GOODs : NC) และสำหรับการปรับปรุงอาคารที่มีอยู่<br />

เดิม (G-GOODs : RV) ได้รับการพัฒนาข้อเกณฑ์บังคับต่างๆ บนพื้นฐานที่คำนึงถึงราคา ค่าก่อสร้าง<br />

ที่เพิ่มขึ้นและความคุ้มค่าในการลงทุน โดยมิได้เน้นการทำอาคารเขียวภาครัฐในระดับเพื่อให้ได้การ<br />

รับรองขั้นสูงสุดเช่นในภาคเอกชน ซึ่งพบว่าการทำอาคารเขียวภาครัฐเพื่อให้ผ่านเกณฑ์บังคับทั้งหมด<br />

สำหรับอาคารสร้างใหม่มีค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่า 2% และน้อยกว่า 4% สำหรับการปรับปรุง<br />

อาคารที่มีอยู่เดิม คู่มือดังกล่าวได้เผยแพร่ให้หน่วยงานที่สนใจสามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้โดยไม่มี<br />

ค่าใช้จ่าย ซึ่งนับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการขยายบทบาทภาครัฐที่มีต่อการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลง<br />

ภูมิอากาศ ด้วยการยกระดับการออกแบบอาคารภาครัฐให้เป็นอาคารเขียว<br />

ค ส คัญ : อาคารเขียวภาครัฐ, อาคารเขียว, G-GOODs, ค่าก่อสร้างอาคารเขียว<br />

บทน<br />

ปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) จัดเป็นปัญหาระดับโลก<br />

ที่ทุกประเทศต้องร่วมมือกันแก้ไข โดยประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในความตกลงปารีส (Paris Agreement)<br />

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เพื่อพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส<br />

เมื่อเทียบกับยุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมินี้ เป็นผลจากก๊าซเรือนกระจก<br />

หลายชนิด โดยมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นองค์ประกอบหลักที่มีมากกว่าก๊าซอื่นๆ จากข้อมูลในปี<br />

ค.ศ. 2017 ของ Global Carbon Atlas ประเทศไทยได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นอันดับที่ 20<br />

ของโลก ซึ่งเป็นการเลื่อนอันดับสูงขึ้นโดยตลอด แหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่ที่สุดมา<br />

จากภาคการผลิตไฟฟ้า ดังนั้น การทำอาคารเขียวซึ่งเป็นอาคารที่ให้ความสำคัญต่อการประหยัด<br />

พลังงาน จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำไปสู่การลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ<br />

ในปัจจุบันมีเจ้าของโครงการสนใจลงทุนก่อสร้างอาคารเขียวมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จาก<br />

ข้อกำหนดในการประกวดออกแบบอาคารขนาดใหญ่หลายแห่ง มักจะระบุให้อาคารต้องได้รับการ<br />

รับรองเป็นอาคารเขียวในระบบใดระบบหนึ่ง ซึ่งระบบอาคารเขียวที่มีการใช้มากที่สุดในประเทศไทย<br />

คือ ระบบ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ของประเทศสหรัฐอเมริกา<br />

รองลงมาคือ TREES (Thai’s Rating for Energy and Environmental Sustainability) ของสถาบัน<br />

อาคารเขียวไทย และมีระบบอื่นอยู่บ้าง เช่น DGNB ของประเทศเยอรมนีGREEN MARK ของประเทศ<br />

สิงคโปร์ และที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่ม คือ WELL ของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเน้นด้านสุขภาวะ<br />

การลงทุนสร้างอาคารเขียวส่วนใหญ่ยังเป็นงานในภาคเอกชนมากกว่าภาครัฐ เหตุผลหนึ่งอาจ<br />

จะเป็นเพราะเห็นว่าต้องมีงบก่อสร้างเพิ่มขึ้นและอาคารภาครัฐส่วนใหญ่จะมีงบค่าก่อสร้างต่ำกว่า แต่<br />

ผลดีของการลงทุนก่อสร้างอาคารเขียวนอกจากการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแล้ว ยัง<br />

ให้ผลดีต่อผู้ลงทุนและผู้ใช้อาคารอีกหลายประการ ทั้งด้านการประหยัดค่าสาธารณูปโภค คุณภาพ<br />

อากาศภายในอาคารที่ดีขึ้น ได้อัตราค่าเช่าหรือมูลค่าของทรัพย์สินเพิ่มขึ้น รวมทั้งสิ่งที่สำคัญคือภาพ<br />

10


ลักษณ์องค์กร อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหา การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศคงไม่อาจสำเร็จได้ตามเป้า<br />

หมาย หากขาดการดำเนินงานอย่างจริงจังจากภาครัฐร่วมด้วย ในการยกระดับการออกแบบและ<br />

ก่อสร้างอาคารภาครัฐให้เป็นอาคารเขียว<br />

การพัฒนาคู่มือการออกแบบอาคารเขียวภาครัฐ<br />

การให้ความสำคัญในการออกแบบอาคารภาครัฐให้เป็นอาคารเขียวได้เริ่มในประเทศไทยเป็น<br />

เวลานานพอสมควร โดยในปีพ.ศ. 2552 กรมควบคุมมลพิษ ได้พัฒนาคู่มือเกณฑ์และแนวทางในการ<br />

จัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคารสำนักงานราชการเขียวขึ้น โดยจัดทำคู่มือ 2 เล่ม คือ คู่มือสำหรับ<br />

กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่ และกรณีอาคารเดิม และในปี พ.ศ. 2554 ได้ปรับปรุงคู่มือทั้ง 2<br />

เล่ม อีกครั้ง โดยมีโครงสร้างเนื้อหาคล้ายกับระบบประเมินอาคารเขียวโดยทั่วไป ซึ่งมักประกอบด้วย<br />

หมวดสถานที่ตั้ง ผังบริเวณ งานภูมิสถาปัตยกรรม หมวดการใช้น้ำ หมวดพลังงาน หมวดวัสดุ หมวด<br />

สภาพแวดล้อมภายในอาคาร แต่ได้มีการเพิ่มหมวดการบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว<br />

และหมวดการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร เกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษเป็น<br />

ระบบประเมินที่มีการให้คะแนน และแบ่งอาคารเป็นระดับ ผ่าน ทองแดง (ดี) เงิน (ดีมาก) และทอง<br />

(ดีเด่น) ตามคะแนนที่ได้รับ<br />

ต่อมาในปีพ.ศ. 2562 กรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการออกแบบ<br />

อาคารภาครัฐมากที่สุดในประเทศ ได้พัฒนาคู่มือการออกแบบอาคารเขียวภาครัฐ หรือเรียกชื่อย่อว่า<br />

G-GOODs (Green Government Office Design Guidelines) โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งานที่ชัดเจน<br />

คือ สถาปนิก วิศวกร ของกรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบอาคารเขียว<br />

ภาครัฐ มิได้เพื่อให้การรับรองอาคารเขียวแก่หน่วยงานใด แต่หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที ่สนใจ<br />

สามารถดาวน์โหลดคู่มือไปใช้ได้ฟรี คู่มือที่จัดทำมี 2 เล่ม คือ คู่มือการออกแบบอาคารภาครัฐที่จะ<br />

ก่อสร้างใหม่(G-GOODs : NC) และคู่มือการออกแบบปรับปรุงอาคารภาครัฐที่มีอยู่เดิม (G-GOODs<br />

: RV) โดยขอบเขตเนื้อหาในทั้งสองเล่ม จะครอบคลุมทั้งการออกแบบ งานก่อสร้าง การใช้และบำรุง<br />

รักษาอาคาร แต่เนื้อหาหลักจะเน้นที่การออกแบบมากกว่าส่วนอื่น ลักษณะของคู่มือจะประกอบด้วย<br />

เกณฑ์บังคับและเกณฑ์เลือกทำ โดยกำหนดนิยามอาคารเขียวภาครัฐ คืออาคารที่สามารถผ่านเกณฑ์<br />

บังคับได้ทุกข้อเป็นอย่างน้อย ซึ่งในคู่มือนี้จะมีจำนวนเกณฑ์บังคับมากกว่าในระบบประเมินอาคาร<br />

เขียวทั่วไป (เกณฑ์บังคับ 32 ข้อสำหรับอาคารใหม่ และ 26 ข้อ สำหรับอาคารเดิม ส่วนเกณฑ์เลือก<br />

ทำมี 40 ข้อ สำหรับอาคารใหม่ และ 42 ข้อ สำหรับอาคารเดิม) และหากสามารถผ่านเกณฑ์เลือก<br />

ทำได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของเกณฑ์เลือกทำทั้งหมด จะถือว่าเป็นอาคารเขียวขั้นสูง<br />

ขั้นตอนการพัฒนาคู่มืออาคารเขียวภาครัฐ G-GOODs<br />

การทำความเข้าใจในความต้องการของผู้ใช้เกณฑ์ การพัฒนาคู่มือได้นำหลักการและ<br />

ข้อแนะนำของ World Green Building Council ใน Quality Assurance Guide for Green Building<br />

Rating Tool มาใช้ คือ การมีความชัดเจนว่า ผู้ที่จะใช้เกณฑ์คือใคร และต้องการเกณฑ์ที่มีลักษณะ<br />

อย่างไร ผู้ใช้เกณฑ์เปรียบเสมือนเป็นลูกค้า และในขณะเดียวกัน เกณฑ์จะต้องสามารถสร้างผลดีได้<br />

ตามวัตถุประสงค์ทั้งในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิต ดังนั้นการ<br />

พัฒนาเกณฑ์จึงเป็นการหาความพอดีหรือสมดุลระหว่างสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ความยากง่ายในการ<br />

ใช้งาน กับประโยชน์ที่จะได้จากการปฏิบัติตามเกณฑ์<br />

สำหรับในกรณีนี้ผู้ใช้เกณฑ์ต้องการเกณฑ์ที่สามารถปฏิบัติตามข้อก ำหนดได้ง่าย เป็นลักษณะ<br />

ของการทำตามข้อหรือรายการที ่กำหนด (Prescriptive) ไม่ต้องใช้การจำลองด้วยโปรแกรม<br />

คอมพิวเตอร์ขั้นสูงให้ยุ่งยาก ยกเว้นเป็นโปรแกรมที่ต้องทำอยู่แล้ว เช่น โปรแกรม BEC ที่ใช้ในการ<br />

คำนวณตามกฎหมายอนุรักษ์พลังงาน หรือ เป็นโปรแกรมฟรีเช่น CBE Thermal Comfort Tool สำหรับ<br />

การออกแบบสภาวะสบาย เป็นต้น งานบางอย่างที่ต้องหาข้อมูลมากจนอาจเป็นภาระ เช่น การคำนวณ<br />

หาราคาวัสดุที่มีส่วนผสมของวัสดุรีไซเคิล เพื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาวัสดุทั้งหมดเพื่อการทำ<br />

คะแนน จะถูกตัดออกไป แต่ใช้เพียงการกำหนดสเปควัสดุโดยใช้ฉลาก Eco-Label ต่างๆ แทน เพราะ<br />

อาคารราชการโดยทั่วไปจะต้องระบุรายการวัสดุอย่างน้อย 3 ยี่ห้อในการเทียบเท่า เป็นต้น<br />

11


การศึกษาทบทวนระบบอาคารเขียวอื่นและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาคู่มือได้<br />

มีการทบทวนระบบอาคารเขียวต่างๆ เช่น LEED, TREES, GREEN MARK, WELL กฎหมายและ<br />

มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบของไทยและต่างประเทศ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เป็นระบบประเมิน<br />

ที่จัดแบ่งอาคารเป็นระดับต่างๆ ตามคะแนนที่ได้รับเพื่อให้การรับรอง แต่มีมาตรฐานการออกแบบ<br />

อาคารเขียวฉบับหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ASHRAE Standard 189.1 : Standard for the Design of High<br />

Performance Green Buildings Except Low-Rise Residential Buildings ซึ่ง ASHRAE พัฒนา<br />

ร่วมกับ USGBC เป็นมาตรฐานทำขึ้นมิได้เพื่อใช้ในการรับรองอาคาร แต่เพื่อให้นำไปใช้เป็นกฎหมาย<br />

อาคารเขียว จึงไม่มีการให้คะแนน และข้อเกณฑ์ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการระบุให้ทำตามที่กำหนด (Prescriptive)<br />

โดยอาจจะมีการคำนวณเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงขั้นต้องจำลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่ง<br />

เป็นลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกับความต้องการของเกณฑ์G-GOODs ที่เน้นเกณฑ์ที่เป็น Prescriptive<br />

การพัฒนาร่างเกณฑ์การประเมิน การจัดโครงสร้างเนื้อหาของเกณฑ์G-GOODs จะแบ่ง<br />

กลุ่มเกณฑ์ตามประเภทผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้สถาปนิกและวิศวกรใช้คู่มือได้ง่ายด้วยตนเอง เช่น การ<br />

ออกแบบเปลือกอาคาร เกณฑ์ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ ระบบระบายอากาศ ระบบ<br />

สุขาภิบาล ระบบขนส่งทางดิ่ง เป็นต้น ต่างจากระบบอาคารเขียวอื่น เช่น LEED ซึ่งมีเนื้อหางานของ<br />

วิศวกรเครื่องกล ที่เกี่ยวกับงานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ แทรกอยู่ในหลายหมวด ทั้งหมวด<br />

การใช้น้ำ (Cooling tower) หมวดพลังงาน (ประสิทธิภาพระบบปรับอากาศ, สารทำความเย็น) หมวด<br />

สภาพแวดล้อมในอาคาร (อัตราการระบายอากาศ, เสียงรบกวนจากระบบปรับอากาศ) ซึ่งเป็นการยาก<br />

ต่อการปฏิบัติสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับเกณฑ์ทำให้จำเป็นต้องมีLEED AP (Accredited Professional)<br />

เป็นผู้ให้ข้อมูลแนะนำ<br />

การเผยแพร่และรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นการประชุมเพื่อให้ผู้ใช้งานกลุ่ม<br />

เป้าหมาย เข้าใจในเนื้อหาของเกณฑ์และรับฟังข้อคิดเห็น รวมถึงปัญหาจากกลุ่มผู้ใช้งาน<br />

ค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นสหรับอาคารเขียวภาครัฐ<br />

จากกรณีศึกษาข้างต้น พบว่าค่าก่อสร้างในการทำอาคารเขียวภาครัฐเพิ่มขึ้นเพียง 1.38%<br />

สำหรับอาคารใหม่ และประมาณ 3.71% สำหรับอาคารเดิม ส่วนการทำให้เป็นอาคารเขียวภาครัฐขั้น<br />

สูง ค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.82% สำหรับอาคารใหม่และ 6.23% สำหรับอาคารเดิม ข้อมูลดังกล่าว<br />

อาจจะไม่สามารถใช้กับอาคารอื่นได้โดยตรง แต่อย่างน้อยก็เป็นประโยชน์ เพื่อใช้เปรียบเทียบกับ<br />

อาคารที่กำลังพิจารณาได้<br />

ภาพที่ 1 : ลักษณะอาคารที่จะก่อสร้างใหม่ที่นมาศึกษาค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น<br />

12


ภาพที่ 2 : ลักษณะอาคารที่มีอยู่เดิมที่นมาศึกษาค่าปรับปรุงอาคาร<br />

ค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นของอาคารใหม่ต่ำกว่าอาคารเดิม เพราะไม่ต้องมีค่าปรับปรุงเปลือกอาคาร<br />

เนื่องจากสามารถออกแบบให้ผ่านเกณฑ์เปลือกอาคารตามกฎหมายอนุรักษ์พลังงานอยู่แล้ว ในขณะ<br />

ที่อาคารเดิมได้ออกแบบก่อนปี พ.ศ. 2552 ซึ่งยังไม่มีกฎกระทรวงด้านการอนุรักษ์พลังงานฉบับที่ใช้<br />

อยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถผ่านเกณฑ์ด้านเปลือกอาคาร ต้องปรับปรุงโดยการติดฟิล์มที่กระจก และ<br />

ทาสีสะท้อนความร้อนเซรามิคที่หลังคาดาดฟ้าเพื่อลดความร้อน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในส่วนของระบบ<br />

ปรับอากาศของอาคารสร้างใหม่เป็นเพียงแค่ค่าส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นในการเปลี่ยนสเปคของเครื่องปรับ<br />

อากาศให้มีประสิทธิภาพพลังงานสูงขึ้นตามเกณฑ์เครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต<br />

แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในปัจจุบัน ในขณะที่อาคารเดิมจะมีค่าถอดเครื่องปรับอากาศเก่า ซื้อและ<br />

ติดตั้งเครื่องใหม่ที่ได้มาตรฐานเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 จึงใช้งบประมาณมากกว่า และค่าใช้จ่ายที่<br />

เพิ่มขึ้นทั้งในอาคารใหม่และอาคารเดิม คือ ค่าปรับปรุงระบบระบายอากาศให้ได้ตามมาตรฐาน วสท.<br />

031010-60 : มาตรฐานการระบายอากาศเพื่อคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ยอมรับได้<br />

เมื่อนำราคาค่าก่อสร้างที่เพิ่ม มาเปรียบเทียบกับการศึกษาของสภาอาคารเขียวโลก (World<br />

Green Building Council, WGBC) (2013) ในรายงาน The Business Case for Green Building:<br />

A Review of the Costs and Benefits for Developer, Investors and Occupants ซึ่งได้ศึกษาอาคาร<br />

เขียวที่ออกแบบโดยใช้เกณฑ์อาคารเขียวหลายระบบ พบว่าค่าก่อสร้างอาคารเขียวที่เพิ่มขึ้นในระดับ<br />

แค่ผ่านการรับรอง ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงตั้งแต่ -0.4% ถึง 4% ซึ่งจะเห็นว่าราคาค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น<br />

ที่ได้จากกรณีศึกษาทั้งสองอาคารข้างต้น (คือ 1.38% และ 3.71%) อยู่ในช่วงดังกล่าวตรงกัน นอกจาก<br />

นี้ WGBC ยังได้ระบุว่า การทำอาคารเขียวในระดับที่สูงขึ้น เช่น BREEEAM–Very Good, LEED–Silver/Gold,<br />

Green Mark–Gold/Gold Plus จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในระดับ 0-10% ซึ่งพบว่า เป็นตัวเลข<br />

ที่สอดคล้องกับผลการศึกษาในการทำอาคารเขียวภาครัฐในระดับขั้นสูงอีกเช่นกัน (คือค่าก่อสร้างเพิ่ม<br />

ขึ้น 7.82% และ 6.23%) ส่วนการทำอาคารเขียวในระดับที่ได้รับการรับรองสูงสุด เช่น BREEAM–Excellent,<br />

LEED-Platinum, Green Mark-Platinum หรือ Zero Carbon จะมีค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นในช่วง<br />

2-12%<br />

การเพิ่มขึ้นของค่าก่อสร้างที่แตกต่างกันนี้ อาจเป็นผลจากการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุ<br />

ระหว่างแบบเดิมกับแบบใหม่ที่ทำเป็นอาคารเขียว เช่น ถ้าแบบเดิมมีการใช้ผนังกระจกเป็นจำนวน<br />

มากจะมีผลทำให้สิ้นเปลืองพลังงานในการปรับอากาศมาก ถ้าผู้ออกแบบเลือกการปรับปรุงโดยเปลี่ยน<br />

เป็นกระจกที่มีประสิทธิภาพพลังงานสูง เช่น กระจก 2 ชั้น low-e โดยไม่ลดพื้นที่กระจก ค่าก่อสร้างจะ<br />

เพิ่มขึ้นมาก แต่หากผู้ออกแบบปรับลดพื้นที่กระจกให้น้อยลงค่าก่อสร้างก็จะไม่เพิ่มมากนัก หรือค่า<br />

ก่อสร้างอาจลดลงกว่าเดิมอีกเล็กน้อยก็เป็นไปได้ ดังข้อมูลของ WGBC ที่มีกรณีราคาลดลง -0.4%<br />

เป็นต้น<br />

13


ข้อแนะนในการพัฒนาอาคารเขียวภาครัฐ<br />

วิธีการออกแบบและก่อสร้างอาคารเขียวที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการด ำเนินงานเชิงบูรณาการ<br />

(Integrative Process) คือการคิดวิเคราะห์รวมกันทั้งหมดในแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร ทั้งงาน<br />

สถาปัตยกรรม งานระบบประกอบอาคาร งานภูมิทัศน์ และงานออกแบบตกแต่งภายใน ซึ่งจะทำให้<br />

สามารถลดงบประมาณค่าก่อสร้าง และลดผลกระทบในทุกๆ ด้านได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แต่พบ<br />

ว่าบางครั้งจะไม่ได้รับงบประมาณมาพร้อมกัน เช่น ได้งบประมาณเฉพาะตัวอาคารแต่ยังไม่ได้งบ<br />

ประมาณงานภูมิทัศน์ หรือครุภัณฑ์ ดังนั้น การบูรณาการเรื่องต่างๆ ในงานออกแบบอาจมีข้อจำกัด<br />

ซึ่งภาครัฐควรให้งบประมาณในการทำอาคารเขียวสำหรับงานต่างๆ ที่ครบถ้วนในคราวเดียวกัน<br />

นอกจากนี้อาคารเขียวในบางระบบ เช่น LEED หรือ TREES จะกำหนดให้ต้องมีการทำ Commissioning<br />

ซึ่งเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของงานระบบต่างๆ โดยบุคคลที่ 3 ว่าตรงกับความ<br />

ต้องการของเจ้าของโครงการหรือไม่โดยผู้ทำ Commissioning จะต้องไม่ใช่ผู้ออกแบบ หรือ ผู้รับเหมา<br />

ซึ่งพบว่างานราชการ มักไม่มีการจัดสรรงบประมาณในการทำ Commissioning โดยตรง หากจะมีการ<br />

พัฒนาการออกแบบอาคารเขียวให้เป็นมาตรฐานในอนาคต ควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการ<br />

ทำ Commissioning และว่าจ้างโดยตรง เช่นเดียวกับการจ้าง ผู้ออกแบบ หรือผู้รับเหมาก่อสร้าง<br />

อาคาร<br />

การวางแผนพัฒนาคู่มืออย่างต่อเนื่อง เกณฑ์อาคารเขียวในระบบต่างๆ มักจะต้องปรับปรุง<br />

เวอร์ชั่นใหม่ทุก 3-5 ปีเพื่อให้มีความทันสมัย ตามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและบริบทที่เปลี่ยน<br />

ไป ดังนั้น ภาครัฐจึงควรมีการวางแผนเพื่อติดตามผลการใช้งานจากผู้ใช้ เพื่อรวบรวมข้อปัญหาต่างๆ<br />

และวางแผนจัดงบประมาณสำหรับการปรับปรุงในเวอร์ชั่นต่อไปตามหลักการ PDCA (Plan-Do-<br />

Check-Act) เพื่อให้กลไกการพัฒนาอาคารเขียวภาครัฐสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน<br />

14


บรรณานุกรม<br />

กรมควบคุมมลพิษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2552). คู่มือเกณฑ์และแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมสาหรับ<br />

อาคารสานักงานราชการเขียว กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่<br />

กรมควบคุมมลพิษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2552). คู่มือเกณฑ์และแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมสาหรับ<br />

อาคารสานักงานราชการเขียว กรณีอาคารเดิม<br />

กรมควบคุมมลพิษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). คู่มือเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวภาครัฐ (กรณีที่จะมี<br />

การก่อสร้างอาคารใหม่)<br />

กรมควบคุมมลพิษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). คู่มือเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวภาครัฐ (กรณีอาคารเดิม)<br />

กรมโยธาธิการและผังเมือง. กระทรวงมหาดไทย. (2562). คู่มือการออกแบบอาคารภาครัฐที่จะก่อสร้างใหม่ให้เป็นอาคารเขียวภาครัฐ<br />

เวอร์ชั่น 1.0. http://subsites.dpt.go.th/edocument/images/pdf/sd_work/62/G-GOODsNC.pdf<br />

กรมโยธาธิการและผังเมือง. กระทรวงมหาดไทย. (2562). คู่มือการออกแบบปรับปรุงอาคารภาครัฐที่มีอยู่เดิมให้เป็นอาคารเขียวภาครัฐ<br />

เวอร์ชั่น 1.0 http://subsites.dpt.go.th/edocument/images/pdf/sd_work/62/G-GOODsRV.pdf<br />

วิศวกรรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). มาตรฐานการระบายอากาศเพื่อคุณภาพอากาศภายในอาคารที่<br />

ยอมรับได้-มาตรฐาน วสท.031010-60. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ.<br />

ASHRAE.(2017). ANSI/ASHRA/ICC?USGBC/IES Standard 189.1: Standard for the Design of High-Performance Green<br />

Buildings Except Low-Rise Residential Buildings.<br />

Global Carbon Atlas. Available from http://www.globalcarbonatlas.org/en/CO2-emissions. Accessed date September 4,<br />

2019.<br />

World Green Building Council. (2015). Quality Assurance Guide for Green Building Rating Tools. Version 1.1. Available<br />

from https://www.worldgbc.org/sites/default/files/WorldGBC_QA_Guide_for_Green_Building_Rating_Tools.pdf.<br />

Accessed date September 1, 2019.<br />

World Green Building Council. (2013). The Business Case for Green Building: A Review of the Costs and Benefits for<br />

Developers, Investors and Occupants, pp,22-26. Available from https://www.worldgbc.org/news-media/business-case-green-building-review-costs-and-benefits-developers-investors-and-occupants<br />

Accessed date<br />

September 8, 2019.<br />

15


Development for the government design manuals for<br />

green buildings: G-GOODS<br />

Associate Professor Pantuda Puttipairoj Ph.D.<br />

Faculty of Architecture, University of Silpakorn / drpantuda@gmail.com<br />

Abstract<br />

The development for the government design manuals by the Department of Public Works and Town & Country Planning<br />

could serve an alternative green building model for the government and private sector. This will allow buildings to qualify for<br />

“Green Building” standards without having to apply for the official green building qualifications, which could incur additional<br />

costs. The 2 manuals, ‘The Green Design Guidelines for Government Buildings for New Constructions (G-GOODs : NC)’ and<br />

‘Renovations (G-GOODs : RV)’, already take into account the additional construction costs and the rate of return of investment<br />

made. However, the purpose of the two manuals was not to offer guidance for the government buildings to qualify for green<br />

building certification, unlike for private sector. For a government building to pass all standards detailed in the manuals, the additional<br />

cost incurred was less than 2% for new buildings and less than 4% for renovations. The two manuals have been published<br />

online and other Departments could access them for reference free of charge. They were a step towards an improvement on the<br />

climate change situation for the government sector.<br />

Keywords: Government Green Buildings, Green Buildings, G-GOODs, Green Building Constructions Cost<br />

Introduction<br />

Global warming and climate change have become an<br />

international problem that the world is focusing on. In 2016,<br />

Thailand took an oath in the Paris Agreement to try to help<br />

prevent the global temperature increase from exceeding 2 °C.<br />

Since the industrial revolution, the global temperature has<br />

increased as the result of several greenhouse gas emissions,<br />

with carbon dioxide as the major contributor. The 2017 data<br />

from the Global Carbon Atlas indicated that Thailand was the<br />

20th top global carbon dioxide emitter, the highest rank for<br />

the country to date, with the main source of emission coming<br />

from electricity generation. It has been concluded accordingly<br />

that having more green buildings would help lessen power<br />

consumption and serve as a key factor towards slowing down<br />

climate change.<br />

Today, more sponsors have become interested in<br />

investing in green building projects, as shown by the growing<br />

numbers of building & design contests with requirements on<br />

green building qualifications. Some of the top qualifications<br />

that buildings in Thailand qualified for include the American<br />

LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) and<br />

the local TREES (Thai’s Rating for Energy and Environmental<br />

Sustainability) standards. Other rising qualifications include<br />

the German DGNB, the Singaporean GREEN MARK, and the<br />

American WELL Building Standards, whose focus is on wellness<br />

and health.<br />

Most investments in Green Buildings are still limited<br />

to the private sector due to the additional construction costs<br />

incurred. Not only a more expensive scheme, green building<br />

standards also create added value to a building: a reaction to<br />

climate change, less power consumed, better interior air circulation.<br />

This allows proprietors to raise the price of rent and<br />

add value to the asset, as well as create a better company image.<br />

However, a solution towards climate change is still in the works<br />

and requires support from the government sectors equally.<br />

Development for the government<br />

design manuals for green buildings<br />

Thailand had been adopting green building schemes in<br />

the government sector for a few decades now. In 2009, the<br />

Pollution Control Department developed the manuals for green<br />

buildings for government construction projects. The manuals<br />

16


Understanding the goals of manual users<br />

Metrics and guidelines from the Quality Assurance<br />

Guide for Green Building Rating Tool by the World Green<br />

Building Council has been studied in the development of the<br />

manuals. Manual target users had been identified and the stanwere<br />

designed for both new construction and renovations. In<br />

2011, the manuals were revised to adopt more global guidelines<br />

for green building assessment. Their categories included location,<br />

layout, landscape, water management, power consumption,<br />

materials, interior environment, etc. The categories of<br />

green building management and prevention of impact on<br />

outdoor environments has also been added to the existing<br />

criteria. The Pollution Control Department has assigned three<br />

levels to the qualifications according to the scores: Pass, Bronze<br />

(Good), Silver (Excellent), and Gold (Distinction).<br />

The current Green Design Guidelines for Government<br />

Buildings for New Constructions or the G-GOODs : NC<br />

manual and for renovations, the G-GOODs : RV manual, had<br />

been developed by the Department of Public Works and Town<br />

& Country Planning, who was responsible for the majority of<br />

government construction, in 2019. The main target audience<br />

for the manuals were architects and engineers who worked for<br />

the Department of Public Works and Town & Country Planning,<br />

and their purpose was to serve as guidelines for government<br />

building construction. The manuals, however, did not<br />

aim to assess the building for green building certifications.<br />

The manuals were available for download online free of charge.<br />

The manuals came out in 2 versions: the G-GOODs : NC, for<br />

new constructions and the G-GOODs : RV, for renovations.<br />

The two manuals covered the scope of construction, building<br />

usage and maintenance, but the main focus was on green<br />

building design. The guidelines were divided in two standards:<br />

optional and prescriptive. To qualify for government green<br />

building acknowledgement, the construction was required to<br />

meet all prescriptive standards. The manuals contained more<br />

prescriptive standards than other regular criteria for green<br />

buildings (32 for NC and 26 for RV, while optional standards<br />

included 40 for NC and 42 for RV). Government buildings<br />

that met more than half of the optional standards would qualify<br />

as high-level green buildings.<br />

Behind the development for the<br />

government design manuals for<br />

green buildings G-GOODs<br />

dards had been defined accordingly. The manual users had been<br />

comparable to the customer. At the same time, the guidelines<br />

were designed to meet the purpose of responding to the global<br />

climate, environment and lifestyle crisis. The standards balanced<br />

the requirements of the manual users vs. the benefits from each<br />

item in the criteria e.g. the level of difficulty of usage etc.<br />

The manuals were designed for users who sought criteria<br />

that were easy to follow, especially for prescriptive items.<br />

Complex computer applications for modelling had been excluded<br />

from the assessment, and only basic programs remained, for<br />

example, BEC, which followed the energy conservation regulations,<br />

or CBE Thermal Comfort Tool, which was available for<br />

download for free. Tasks which required lengthy data gathering<br />

for the purposes of scoring, such as recycled material price<br />

calculations, were also excluded from the assessment. Instead,<br />

the metrics relied on eco-labels on the materials to benchmark,<br />

as the government building project planners were already required<br />

to declare a material comparison between 3 suppliers at<br />

least.<br />

A review of green building standards and other criteria<br />

A review of different green building standards and other<br />

criteria has been included in the development of the manuals,<br />

including the LEED, TREES, GREEN MARK and WELL standards,<br />

etc. Regulations and related metrics on the national and<br />

international levels have also been studied. This revealed that<br />

the majority of these criteria applied a scoring system to assess<br />

and qualify a green building. However, one metric was different<br />

from the rest: the ASHRAE Standard 189.1 : Standard for the<br />

Design of High Performance Green Buildings Except Low-Rise<br />

Residential Buildings, developed by ASHRAE and the USGBC.<br />

The metric aimed not to certify a building but to be the foundation<br />

of green building regulations, hence the absence of the<br />

scoring system. The majority of the assessment of the metric<br />

was based on the prescriptive standards, with few requirements<br />

for calculation, and none for computer modelling. The guidelines<br />

in the G-GOODs manuals followed the same structures.<br />

The development of the assessment<br />

The content of the G-GOODs manuals was categorised<br />

according to the executor of the work, allowing both architects<br />

and engineers a wide range of usage, e.g. the sections of building<br />

exteriors, power systems, air circulation, air conditioning, hygiene<br />

management, vertical transportation etc. This differed<br />

from other building standards, such as LEED, which took into<br />

account the mechanical engineering behind the air circulation<br />

17


and air conditioning; water management with the evaluation of the cooling tower; power system<br />

(efficiency of air conditioning, cooling agents); interior environment (rate of circulation, noise<br />

from air conditioning) etc. These might be restrictive for those who were not familiar with the<br />

standards and might require additional advice from LEED APs (Accredited Professionals).<br />

Field test of the assessment<br />

The field test was the key component behind the development of the government design<br />

manuals for green buildings G-GOODs. It lent an opportunity to put the assessment to real<br />

test, creating a better understanding in their application and highlighting their advantages.<br />

The assessment has been put to the test with the planning of two models: a new construction<br />

(Figure 1) and a renovation (Figure 2). A survey of the sites has also been conducted to ensure<br />

that the usage of the buildings were still aligned with their description and to look into their<br />

actual maintenance. Both models were extra-large office buildings. Some of the prescriptive<br />

standards that both buildings failed to pass was the rate of air circulation. The buildings were<br />

using only circulation fans, causing polluted air to leak back in. Air purifiers were required for<br />

either building to bring in more fresh air from the outside. The building plans were thus revised<br />

accordingly prior to construction, with the calculation of the additional costs and the value-for-money<br />

benefits before finalising the planning.<br />

Publication and Feedback from target audience<br />

After publication, feedbacks from the target audience was collected to gauge the applicability<br />

and usage of the manuals.<br />

Additional cost for government Green Buildings<br />

From above case study, the additional cost for a government green building was estimated<br />

at 1.38% extra for new construction and 3.71% extra for renovations. For a high-level government<br />

green building, the additional cost was estimated at 7.82% extra for new construction and<br />

6.23% extra for renovations. The figures might not be applicable to any other buildings besides<br />

government buildings, but could still serve as a benchmark for the private sector.<br />

Figure 1: Building studied for additional cost incurred for new construction<br />

18


Figure 2: Building studied for additional cost incurred for renovation<br />

Generally, the additional costs for new construction was lower than renovations, as there<br />

was no cost for the renewal of the building exterior. A new construction could just follow a design<br />

that complied with the energy conservation regulations. However, all existing buildings constructed<br />

before the current energy conservation bill passed in 2009 did not meet the standards<br />

in the exterior section.They would be required to install reflection films on glass and painted heat<br />

resistant coating on ceramics ceilings to reduce heat absorption. Additionally, renewing the<br />

overall air conditioning system into an existing building with number-5 energy conservation<br />

stamps, according to the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT), could incur additional<br />

costs. Existing buildings might also need to sustain the extra costs from the removal of<br />

the previous system, on top of the costs of the new system and the installation. Overall, the additional<br />

costs for both new construction and renovations came from the maintenance of the air<br />

circulation system, according to the Engineering Institute of Thailand Standards No. 031010-60<br />

: Interior Air Quality Standards.<br />

The figures in the G-GOODs manuals aligned with other green buildings under different<br />

international standards. As studied in the ‘Business Case for Green Building: A Review of the<br />

Costs and Benefits for Developers, Investors and Occupants’ article from the World Green Building<br />

Council (WGBC) in 2013, most Green Buildings that only qualified for the “Pass” level<br />

globally only incurred -0.4% to 4% of additional cost. For G-GOODs manuals, the figures were<br />

1.38% for NC and 3.71% for RV, falling in the same range as the average of the international<br />

standards. For high-level Green Buildings such as qualified for the BREEAM–Very Good, LEED–<br />

Silver/Gold, Green Mark–Gold/Gold Plus levels, the WGBC had estimated the additional costs<br />

to be between 0-10%. The figures of high-level government green buildings as outlined in the<br />

G-GOODs manuals were also aligned, with 7.82% for NC and 6.23% for RV. For the highest<br />

qualifications such as BREEAM–Excellent, LEED-Platinum, Green Mark-Platinum and Zero<br />

Carbon, additional cost was estimated between 2-12%.<br />

19


The costs may have been incurred from the choice between<br />

materials for green buildings and otherwise. If windowpanes<br />

were present in an existing building, for instance, the cost<br />

for air conditioning might be higher. However, replacing these<br />

with more energy-effective materials such as Low-E glass upon<br />

renovation, might incur more construction cost. Instead, swapping<br />

the windowpanes with solid materials or walling them up<br />

would require smaller budgets. According to the WGBC, the<br />

cost was estimated to reduce as much as -0.4%.<br />

Guidelines for the development of<br />

government green buildings<br />

Integrative application could be most effective on the<br />

design and construction of a green building. Comprehensive<br />

planning that took into account the building layout, architecture,<br />

working systems, landscape and interior design would incur<br />

lesser cost and prevent an overall undesired impact. However,<br />

the budget might not always allow this and disregards the integrity<br />

of landscaping and furniture etc., and at the same time<br />

limits the scope of integrative application. The government<br />

sector should consider the comprehensive plans before approving<br />

a green building construction or renovation.<br />

Additionally, certain standards such as LEED or TREES<br />

require a periodical inspection of the green building through<br />

commissioning. A third party has to be involved in the commissioning<br />

of a building to ensure that the building served the<br />

purpose of the sponsors. The third party could not be the designer<br />

nor the contractor, and the government sector might not<br />

always allocate budget for this directly. Future green building<br />

projects should start planning budgets for commissioning on<br />

top of construction and design.<br />

For long term development, the manuals should be reviewed<br />

and revised every 3-5 years to update the content, in<br />

response to the changing technology and context. The government<br />

sector should plan to follow up on the feedback from the<br />

manual users, in order to improve on the existing issues and<br />

plan the budget allocation for newer versions according to the<br />

PDCA (Plan-Do-Check-Act) tactic.<br />

20


References<br />

กรมควบคุมมลพิษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2552). คู่มือเกณฑ์และแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมสาหรับ<br />

อาคารสานักงานราชการเขียว กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่<br />

กรมควบคุมมลพิษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2552). คู่มือเกณฑ์และแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมสาหรับ<br />

อาคารสานักงานราชการเขียว กรณีอาคารเดิม<br />

กรมควบคุมมลพิษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). คู่มือเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวภาครัฐ (กรณีที่จะมี<br />

การก่อสร้างอาคารใหม่)<br />

กรมควบคุมมลพิษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). คู่มือเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวภาครัฐ (กรณีอาคาร<br />

เดิม)<br />

กรมโยธาธิการและผังเมือง. กระทรวงมหาดไทย. (2562). คู่มือการออกแบบอาคารภาครัฐที่จะก่อสร้างใหม่ให้เป็นอาคารเขียวภาครัฐ<br />

เวอร์ชั่น 1.0. http://subsites.dpt.go.th/edocument/images/pdf/sd_work/62/G-GOODsNC.pdf<br />

กรมโยธาธิการและผังเมือง. กระทรวงมหาดไทย. (2562). คู่มือการออกแบบปรับปรุงอาคารภาครัฐที่มีอยู่เดิมให้เป็นอาคารเขียวภาครัฐ<br />

เวอร์ชั่น 1.0 http://subsites.dpt.go.th/edocument/images/pdf/sd_work/62/G-GOODsRV.pdf<br />

วิศวกรรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). มาตรฐานการระบายอากาศเพื่อคุณภาพอากาศภายในอาคารที่<br />

ยอมรับได้-มาตรฐาน วสท.031010-60. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ.<br />

ASHRAE.(2017). ANSI/ASHRA/ICC?USGBC/IES Standard 189.1: Standard for the Design of High-Performance Green<br />

Buildings Except Low-Rise Residential Buildings.<br />

Global Carbon Atlas. Available from http://www.globalcarbonatlas.org/en/CO2-emissions. Accessed date September 4,2019.<br />

World Green Building Council. (2015). Quality Assurance Guide for Green Building Rating Tools. Version 1.1. Available<br />

from https://www.worldgbc.org/sites/default/files/WorldGBC_QA_Guide_for_Green_Building_Rating_Tools.pdf.<br />

Accessed date September 1, 2019.<br />

World Green Building Council. (2013). The Business Case for Green Building: A Review of the Costs and Benefits for<br />

Developers, Investors and Occupants, pp,22-26. Available from https://www.worldgbc.org/news-media/business-case-green-building-review-costs-and-benefits-developers-investors-and-occupants<br />

Accessed date September<br />

8, 2019.<br />

21


เป็น อยู่ ดี : มาตรฐานอาคาร WELL ในบริบททางสุข<br />

ภาวะของคนไทย<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี มงคลสวัสดิ์<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร<br />

22


่<br />

บทคัดย่อ<br />

‘คน’ ถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในองค์กร การออกแบบ<br />

และบริหารทรัพยากรอาคารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การ<br />

ทำให้คนมีสุขภาวะที่ดีสามารถทำงานหรือทำกิจกรรมได้อย่างเต็ม<br />

ศักยภาพ จากข้อมูลสุขภาวะของคนไทย ที่ใช้ค่า DALYs (จำนวน<br />

ปีที่สูญเสียไปเพราะการเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร)<br />

เป็นตัวชี้วัด ในปี 2017 ค่า DALYs ต่อประชากร 100,000 คน ของ<br />

ประเทศไทยสูงกว่าสิงคโปร์กว่า 2 เท่าตัว โดยมีปัจจัยเสี่ยง 3 อันดับ<br />

แรก คือ ดัชนีมวลกาย ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และการสูบบุหรี<br />

หากต้องการลดค่า DALYs ในไทยลง ควรพิจารณาให้ความสำคัญ<br />

กับมาตรฐานอาคาร WELL ในหมวดอากาศ อาหาร การเคลื่อนไหว<br />

จิตใจ และชุมชน เป็นลำดับต้นๆ รวมถึงควรมีการศึกษาเชิงบูรณา<br />

การในสาขาการออกแบบและสาธารณสุข เพื่อสร้างความเข้าใจ<br />

เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมอาคารกับสุขภาพ<br />

และความเป็นอยู่ที่ดีของคนมากยิ่งขึ้น<br />

คสคัญ : มาตรฐานอาคาร WELL, การออกแบบ, สุขภาพ, ความเป็น<br />

อยู่ที่ดี, ปัจจัยเสี่ยง<br />

มาตรฐานอาคาร WELL<br />

ปัจจุบันผู้คนให้ความสำคัญกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่<br />

ดี การออกแบบสิ่งแวดล้อม อาคาร รวมถึงการจัดการที่เกี่ยวข้อง<br />

จึงไม่ได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อสร้างความสะดวกสบายและความพึง<br />

พอใจเท่านั้น แต่จะต้องช่วยให้ผู้ใช้อาคารมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย<br />

มาตรฐานอาคาร WELL หรือ WELL Building Standard เป็นที่<br />

รู้จักในหลายประเทศ ถูกพัฒนาขึ้นโดย International Well Building<br />

Institute (IWBI) และเริ่มออกมาตรฐาน WELL v.1 เมื่อเดือน<br />

ตุลาคม ปี 2014 ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง IWBI และ US<br />

Green Building Council (USGBC) ผู้พัฒนามาตรฐานอาคาร<br />

เขียว หรือ LEED (Leadership in Energy and Environmental<br />

Design) ทำให้มาตรฐานทั้งสองมีเกณฑ์การประเมินที่มีความ<br />

สอดคล้องและส่งเสริมกันอยู่หลายข้อ โดยเฉพาะด้านสภาพ<br />

แวดล้อมภายในอาคาร กล่าวคือ มาตรฐาน LEED เน้นการใช้<br />

ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ<br />

สภาพแวดล้อมภายในอาคารที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น<br />

เองก็ส่งผลต่อการสร้างสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้อาคารด้วย<br />

แม้ WELL จัดเป็นมาตรฐาน ‘อาคาร’ แต่ก็มีตัวชี้วัดด้าน<br />

คุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคารในหลายมิติ มาตรฐาน WELL v.1<br />

ประกอบด้วยหมวดของการประเมิน (Concepts) 7 หมวด แต่ละหมวด<br />

มีเกณฑ์ย่อย (Features) รวมกันทุกหมวด 100 ข้อ โดยจำนวน<br />

เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินขึ้นอยู่กับประเภทอาคาร (Project types)<br />

เช่นเดียวกับระบบการประเมินมาตรฐาน LEED (IWBI, 2019b)<br />

23


ปัจจุบัน IWBI กำลังพัฒนามาตรฐาน WELL v.2 โดยมีโครงการนำร่อง (Pilot projects) ที่ครอบคลุม<br />

ประเภทโครงการ/พื้นที่ (Space types) อีกหลายประเภทนอกเหนือจากอาคารสำนักงานและอาคาร<br />

สถาบัน ได้แก่ ที่พักอาศัยรวม สถานศึกษา ร้านค้าย่อย ภัตตาคาร ครัวขนาดใหญ่ และชุมชน และมี<br />

การปรับปรุงหมวดการประเมินและเกณฑ์ย่อยใหม่เป็น 10 หมวด 112 เกณฑ์ (ตารางที ่ 1) (IWBI,<br />

2019c) ซึ่งเนื้อหาในแต่ละหมวดประกอบด้วยประเด็นต่างๆ โดยสังเขป ดังนี้<br />

1. อากาศ (Air) : คุณภาพอากาศ พื้นที่ปลอดควันบุหรี่ การระบายอากาศ และการจัดการ<br />

มลภาวะในอากาศ<br />

2. น้ำ (Water) : คุณภาพน้ำ การควบคุมสิ่งเจือปนในน้ำ การรณรงค์การดื่มน้ำและการล้างมือ<br />

3. อาหาร (Nourishment) : การทานผักผลไม้ การระบุส่วนผสมของอาหาร ปริมาณอาหาร ความ<br />

รู้เรื่องโภชนาการ พื้นที่ทานอาหาร การเตรียมอาหาร แหล่งอาหารและการผลิต<br />

4. แสง (Light) : ประโยชน์ของแสงธรรมชาติ การออกแบบแสงเพื่อการมองเห็นและสัมพันธ์กับ<br />

ช่วงเวลาของวัน การควบคุมแสงบาดตา และคุณภาพแสงประดิษฐ์<br />

5. การเคลื่อนไหว (Movement): การกระตุ้นการทำกิจกรรมทางกาย การยศาสตร์(Ergonomics)<br />

และการวางผัง<br />

6. สภาวะสบายทางอุณหภูมิ (Thermal comfort) : การสร้างสภาวะสบาย การควบคุมอุณหภูมิ<br />

และความชื้น<br />

7. เสียง (Sound) : การควบคุมระดับเสียง การป้องกันเสียงรบกวน และการดูดซับเสียง<br />

8. วัสดุ (Materials) : การลดปริมาณวัสดุอันตราย การจัดการขยะ การควบคุมสารเคมี และการ<br />

ลดสารระเหย VOCs<br />

9. จิตใจ (Mind) : การสร้างเสริมสุขภาพใจ การเข้าถึงธรรมชาติ การจัดการความเครียด การฟื้นฟู<br />

จิตใจ การสร้างสมาธิ และคุณภาพการนอน<br />

10. ชุมชน (Community) : การสร้างการรับรู้ด้านสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี การสำรวจผู้ใช้<br />

อาคาร การรณรงค์ด้านสุขภาพ การสนับสนุนพ่อแม่มือใหม่และครอบครัว การบริหารองค์กรอย่างเป็น<br />

ธรรม การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล การเตรียมพร้อมในภาวะฉุกเฉิน การเข้าถึงและการมีส่วนร่วมกับชุมชน<br />

หากเปรียบเทียบมาตรฐาน LEED และ WELL จะเห็นว่ามีหัวข้อการประเมินที่ใกล้เคียงกันอยู่<br />

หลายข้อ เช่น คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายใน (Indoor Environmental Quality)<br />

24


ความท้าทายอย่างหนึ่งของการนำมาตรฐานด้านอาคารระดับสากลที่เกี่ยวข้องกับคนไปใช้ใน<br />

ประเทศต่างๆ คือ ความหลากหลายของบริบท วิถีชีวิต และสิ่งที่ผู้คนให้ความสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น<br />

USGBC เองก็ได้มีการพัฒนามาตรฐาน LEED ทางเลือก หรือ Alternative Compliance Paths (ACPs)<br />

ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับประเทศหรือภูมิภาคมากขึ้น (Scot Horst, 2014) เช่น มาตรฐาน LEED<br />

2009 BD+C ACPs for East Asia ที่มีการเพิ่มเกณฑ์และคะแนนด้านคุณภาพอากาศ เนื่องจากเป็น<br />

ประเด็นที่คนในภูมิภาคนี้ให้ความสำคัญ (Regional priority credits) (Mika Kania, 2014) ใน<br />

ประเทศไทยเองก็มีการศึกษาเปรียบเทียบความสำคัญของเกณฑ์การออกแบบอาคารเขียวด้านต่างๆ<br />

จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำเสนอแนวทางการปรับเกณฑ์ให้เหมาะสมกับประเภทและผู้<br />

ใช้อาคาร (ภาวดี ธุววงศ์, อรรจน์ เศรษฐบุตร และ สฤกกา พงษ์สุวรรณ, 2560)<br />

ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคน จะต้องคำนึงถึงการ<br />

ให้น้ำหนักหรือคุณค่าของเกณฑ์แต่ละข้อที่แตกต่างกันด้วย มาตรฐาน WELL v.2 เองก็ถูกพัฒนาขึ้น<br />

มาบนแนวคิดดังกล่าว คือการพัฒนาให้เป็นมาตรฐานที่ยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ ตามบริบทของท้อง<br />

ถิ่น ภูมิภาค และวัฒนธรรม และสามารถปรับใช้กับทั่วโลกได้อย่างเท่าเทียมกัน (IWBI, 2018b)<br />

ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะ ปัจจัยเสี่ยง และเกณฑ์ WELL<br />

IWBI ได้เผยแพร่รายงาน Country Briefs 18 ฉบับ ครอบคลุมประเทศในหลายภูมิภาค (ยัง<br />

ไม่มีรายงานของประเทศไทย) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอข้อมูลด้านสุขภาวะของประชากรใน<br />

ประเทศต่างๆ และเชื่อมโยงกับเกณฑ์ WELL ที่เกี่ยวข้องกัน โดยมีสมมติฐานว่า ประชากรในแต่ละ<br />

ประเทศที่อยู่ในสภาพแวดล้อม ดิน น้ำ อากาศ และการกินอยู่ที่ไม่เหมือนกัน อาจมีปัญหาด้านสุข<br />

ภาวะที่ไม่เหมือนกัน การให้ค่าน้ำหนักและความสำคัญในการออกแบบอาคารเพื่อสุขภาวะที่ดีของ<br />

คนในประเทศนั้นๆ จึงอาจมีความแตกต่างกันตามระดับของปัญหา (IWBI, 2018a, p. 3) ยกตัวอย่าง<br />

เช่น หากปัญหาด้านสุขภาพของคนในประเทศมาจากการสูบบุหรี่เป็นหลัก เจ้าของอาคาร ผู้ออกแบบ<br />

ผู้บริหารทรัพยากรอาคาร และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ อาจพิจารณาให้น้ำหนักกับการออกแบบและการบริหาร<br />

จัดการอาคารเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวเป็นอันดับแรก หลักการดังกล่าว เป็นการมองจากผลลัพธ์<br />

ย้อนกลับไปหาสาเหตุและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาตามบริบทด้านสุขภาวะของคนในประเทศ<br />

ซึ่งสมเหตุสมผลกว่าการพิจารณาเฉพาะความยากง่ายในการทำตามเกณฑ์เพื่อให้ได้คะแนนเพียง<br />

อย่างเดียว<br />

IWBI ใช้ข้อมูลด้านสุขภาวะของประชากรในประเทศต่างๆ จากฐานข้อมูลของ Institute for<br />

Health Metrics and Evaluation (IHME, 2019) ซึ่งระบุปัจจัยเสี่ยง (Risk factor) ที่นำไปสู่สาเหตุของ<br />

การเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยมีตัวชี้วัดคือ จำนวนปีที่คนต้องสูญเสียไปเพราะ<br />

ความเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (Disability – Adjusted Life Years – DALYs) ซึ่ง<br />

คำนวณจากการนำจำนวนปีที่คนต้องใช้ชีวิตในสภาพเจ็บป่วยหรือพิการ (Years Lived with Disability<br />

– YLD) มารวมกับ จำนวนปีที่เสียไปจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (Years of Life Lost – YLL)<br />

ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อค่าดัชนี DALYs แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ปัจจัยด้านพฤติกรรม (Behavioral risk<br />

factors) ปัจจัยด้านร่างกาย (Metabolic risk factors) และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม (Environmental<br />

risk factors) ส่วนสาเหตุ(Causes) ของการเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิต แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่<br />

ประเภทที่ 1 โรคติดต่อ โรคที่ติดจากมารดา โรคที่เป็นตั้งแต่กำเนิด และโรคทางโภชนาการ ประเภทที่<br />

2 โรคไม่ติดต่อ และประเภทที่ 3 การบาดเจ็บ IWBI ให้ความสนใจปัจจัยด้านพฤติกรรมและสภาพ<br />

แวดล้อมเป็นหลัก เพราะเป็นปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ (Modifiable Risk Factors – MRFs) ส่วนปัจจัย<br />

ด้านร่างกายนั้นเปลี่ยนแปลงได้ยาก (IWBI, 2018a, pp. 5-6)<br />

จากฐานข้อมูลของ IHME ปี 2017 (IHME, 2019) กลุ่มปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อค่าดัชนี<br />

DALYs ของประชากรในประเทศไทยมากที่สุด คือ กลุ่มปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม รองลงมาเป็นกลุ่ม<br />

ปัจจัยเสี่ยงด้านร่างกาย และด้านสิ่งแวดล้อมตามลำดับ (ภาพที่ 1) เมื่อเทียบกับประเทศสิงคโปร์ซึ่ง<br />

อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน (ภาพที่ 2) พบว่าค่า DALYs ต่อประชากร 100,000 คน ของไทยสูงกว่าสิงคโปร์<br />

กว่า 2 เท่าตัว แต่อันดับของกลุ่มปัจจัยเสี่ยง 3 ด้านไม่แตกต่างกัน<br />

25


ภาพที่ 1 ค่า DALYs ต่อประชากร 100,000 คน ของประเทศไทย, ปี 2017 แบ่งตามกลุ่มปัจจัยเสี่ยง (IHME, 2019)<br />

ภาพที่ 2 ค่า DALYs ต่อประชากร 100,000 คน ของประเทศสิงคโปร์, ปี 2017 แบ่งตามกลุ่มปัจจัยเสี่ยง (IHME, 2019)<br />

ภาพที่ 3 สิงคโปร์ ประเทศที่ประชากรมีอายุขัยเฉลี่ย 83 ปี สูงที่สุดในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ (The World Bank, 2019)<br />

26


เมื่อพิจารณารายละเอียดของปัจจัยเสี่ยงของการเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิต พบว่าปัจจัยเสี่ยง<br />

สูงสุด 3 อันดับแรกของไทย (ภาพที่ 4) คือ 1. ดัชนีมวลกายสูง (High body-mass index) 2. ระดับ<br />

น้ำตาลในเลือดสูง (High fasting plasma glucose) และ 3. การสูบบุหรี่ (Smoking) เปรียบเทียบกับ<br />

สิงคโปร์ (ภาพที่ 5) ปัจจัยเสี่ยงสูงสุด 3 อันดับแรก คือ 1. ความดันโลหิตสูง (High blood pressure)<br />

2. การสูบบุหรี่ (Smoking) และ 3. ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (High fasting plasma glucose) จาก<br />

ฐานข้อมูล ประชากรไทยสูญเสียเวลาในชีวิตเพราะความเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร<br />

(DALYs) จากภาวะการมีดัชนีมวลกายสูง รวมกันเป็น 2,276 ปี ต่อ 100,000 คน ในขณะที่ประชากร<br />

สิงคโปร์ สูญเสียเวลาดังกล่าว จากภาวะการมีความดันโลหิตสูง รวมกันเป็น 1,300 ปี ต่อ 100,000<br />

คน การเปรียบเทียบนี ้ยืนยันแนวคิดที่ว่าความต้องการการส่งเสริมด้านสุขภาวะของคนมีความแตก<br />

ต่างกันไปตามบริบทของท้องถิ่น<br />

ภาพที่ 4 ค่า DALYs ต่อประชากร 100,000 คน ของประเทศไทย, ปี 2017 แบ่งตามปัจจัยเสี่ยงย่อย (IHME, 2019)<br />

ภาพที่ 5 ค่า DALYs ต่อประชากร 100,000 คน ของประเทศสิงคโปร์, ปี 2017 แบ่งตามปัจจัยเสี ่ยงย่อย (IHME, 2019)<br />

จากข้อมูลข้างต้น ผู้เขียนใช้แนวทางเดียวกับรายงาน Country Briefs ของ IWBI ในการเชื่อม<br />

โยงปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมและด้านสภาพแวดล้อม 10 อันดับแรกของประเทศไทย กับเกณฑ์WELL<br />

ที่มีความสัมพันธ์กันทางทฤษฎี (ตารางที่ 2) บนสมมติฐานของ IWBI ที่ว่า หากมีการปรับปรุงตาม<br />

27


เกณฑ์ WELL ข้อนั้นๆ ให้ดีขึ้น น่าจะลดปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กันได้ (IWBI, 2018a, pp. 11-17) โดย<br />

แบ่งประเภทความสัมพันธ์เป็น ความสัมพันธ์ทางตรง (Direct associations) เช่น การปรับปรุงเกณฑ์<br />

ในหมวดอากาศ น้ำ วัสดุ และเสียง น่าจะลดปัจจัยเสี่ยงได้ทันทีโดยที่คนไม่ต้องปรับพฤติกรรม และ<br />

ความสัมพันธ์ทางอ้อม (Indirect associations) เช่น การปรับปรุงเกณฑ์ในหมวดอาหาร การเคลื่อนไหว<br />

ชุมชน และจิตใจ ที่ต้องอาศัยการปรับพฤติกรรมร่วมด้วยจึงจะลดปัจจัยเสี่ยงได้ (IWBI, 2018a, p. 9)<br />

หากใช้ข้อมูลจากตารางที่ 2 เป็นแนวทางในการออกแบบและบริหารจัดการอาคารเพื่อสร้าง<br />

สุขภาวะที่ดีในประเทศไทย ผู้ที่เกี่ยวข้องควรต้องให้ความส ำคัญกับหมวดอากาศ อาหาร การเคลื่อนไหว<br />

จิตใจ และชุมชน เป็นลำดับต้นๆ จากปัจจัยเสี่ยง 10 อันดับแรก ‘มลภาวะฝุ่นในอากาศ’ เป็นปัจจัย<br />

เสี่ยงเพียงตัวเดียวที่น่าจะลดลงได้จากการปรับปรุงการจัดการคุณภาพอากาศโดยที่ผู้ใช้อาคารไม่ต้อง<br />

ปรับพฤติกรรม ในขณะที่การลดปัจจัยเสี่ยงที่เหลืออีก 9 ตัว ต้องอาศัยการปรับปรุงเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง<br />

ในหมวดอาหาร การเคลื่อนไหว จิตใจ และชุมชน ร่วมกับการปรับพฤติกรรมของผู้ใช้อาคารด้วย ผู้ที่<br />

เกี่ยวข้องจึงต้องมีการวางนโยบายการใช้และการให้บริการในอาคาร ตลอดจนการกำหนดโปรแกรม<br />

การออกแบบพื้นที่ เพื่อรองรับการปรับพฤติกรรมที่สอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงข้างต้น<br />

28


บูรณาการและต่อยอด<br />

แม้ว่า IWBI จะต้องการแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงกันระหว่างข้อมูลด้านสุขภาพในระดับ<br />

ประเทศ กับเกณฑ์ WELL ที่ใช้ในระดับอาคารหรือพื้นที่IWBI ก็ตระหนักว่าการเชื่อมโยงดังกล่าวย่อม<br />

มีข้อจำกัดเนื่องจากระดับของข้อมูลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ปัญหาด้านสุขภาพของคนในอาคารใด<br />

อาคารหนึ่ง อาจเหมือนหรือต่างจากปัญหาด้านสุขภาพโดยรวมของคนทั้งประเทศก็ได้(IWBI, 2018a,<br />

p. 18)<br />

ทั้งมาตรฐานอาคาร WELL v.1 และ WELL v.2 Pilot ต่างกำหนดให้มีการประเมินอาคารหลัง<br />

เข้าใช้งาน (Post-Occupancy Survey) ซึ่งเป็นข้อมูลเฉพาะของแต่ละอาคาร โดยมีวัตถุประสงค์หลัก<br />

เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านกายภาพจากผู้ใช้อาคาร หัวข้อที่ถูกรวมอยู่ในการประเมิน ได้แก่เสียง<br />

สภาวะสบายทางอุณหภูมิ การตกแต่ง แสง กลิ่น ความสะอาด และการวางผัง (IWBI, 2019b) หลาย<br />

อาคารมีการนำผลการประเมินความพึงพอใจไปใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพ แต่การนำตัวชี้วัดด้าน<br />

สุขภาพของผู้ใช้อาคารโดยตรง เช่น ดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต หรือการลาป่วย มาวิเคราะห์หาความ<br />

สัมพันธ์กับประสิทธิภาพอาคารโดยตรงยังไม่แพร่หลายนัก และอาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความเป็นส่วน<br />

ตัวของข้อมูล นอกจากนี้การวิจัยด้านสุขภาวะในประเทศไทยยังค่อนข้างจำกัดอยู่ในสาขาสาธารณสุข<br />

เป็นส่วนใหญ่ หากมีการบูรณาการวิจัยร่วมกับสาขาการออกแบบมากขึ้นก็จะช่วยเพิ่มความเข้าใจ<br />

เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมอาคารกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนมากยิ่ง<br />

ขึ้น<br />

ข้อมูล ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ระบุว่า ประเทศไทยมีการยื่นโครงการเพื่อขอรับรอง<br />

มาตรฐาน WELL ไปแล้ว 21 โครงการ (WELL v.1 10 โครงการ และ WELL v.2 Pilot 11 โครงการ)<br />

ทั้งอาคารประเภทสำนักงาน อาคารพักอาศัย และชุมชน คิดเป็นพื้นที่รวมกันประมาณ 1.05 ล้านตาราง<br />

เมตร (IWBI, 2019a) แม้โครงการทั้งหมดนี้ยังอยู่ระหว่างการประเมิน แต่เราก็คาดหวังได้ว่า<br />

ประเทศไทยจะมีอาคารที่ใส่ใจคุณภาพชีวิตของคนมากขึ้นในอนาคต และจะมีกรณีศึกษาที่ช่วยต่อย<br />

อดองค์ความรู้ด้านนี้เพิ่มขึ้นต่อไป<br />

29


เอกสารอ้างอิง<br />

IHME. (2019). GBD Compare. Retrieved from https://vizhub.healthdata.org/gbd-compare/. from University of Washington<br />

https://vizhub.healthdata.org/gbd-compare/<br />

IWBI. (2018a). WELL Country Briefs: Singapore: IWBI.<br />

IWBI. (2018b). WELL v2TM pilot, The next version of the WELL Building StandardTM. Retrieved from https://v2.wellcerti<br />

fied.com/v/en/overview<br />

IWBI. (2019a). Project Directory. Retrieved from https://www.wellcertified.com/directories/projects. from The International<br />

WELL Building Institute https://www.wellcertified.com/directories/projects<br />

IWBI. (2019b). The WELL Building Standard, v1 with Q3 2019 Addenda.<br />

IWBI. (2019c). WELL v1 to v2 Comparison. Retrieved from https://resources.wellcertified.com/tools/well-v1-to-v2-comparison/.<br />

from The International WELL Building Institute https://resources.wellcertified.com/tools/well-v1-to-v2-comparison/<br />

Mika Kania. (2014). Locally yours: Improving LEED in East Asia. Retrieved from https://www.usgbc.org/articles/locallyyours-improving-leed-east-asia<br />

Scot Horst. (2014). Alternative Compliance Paths continue to localize LEED. Retrieved from https://www.usgbc.org/arti<br />

cles/alternative-compliance-paths-continue-localize-leed<br />

The World Bank. (2019). Life expectancy at birth, total (years). Retrieved from https://data.worldbank.org/indicator/SP.<br />

DYN.LE00.IN<br />

ภาวดี ธุววงศ์, อรรจน์ เศรษฐบุตร และ สฤกกา พงษ์สุวรรณ. (2560). แนวทางการพัฒนาเกณฑ์อาคารที่พักอาศัยเพื่อสุขภาวะใน<br />

ประเทศไทย. บทความ เสนอใน การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 4 (BTAC 2017),<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.<br />

30


LIVING WELL : WELL Building Standard in the Context of Thais’<br />

Health<br />

Assistant Prof. Darunee Mongkolsawat,<br />

PhD, Faculty of Architecture, Silpakorn University<br />

Abstract<br />

Humans are the most important resources in an organisation. Efficient building design and management enables<br />

employees to achieve optimal health and function, and to fulfill their life expectancy. Following the Disability-Adjusted Life<br />

Year (the length of lived years minus illness, disability or premature death) or DALY measures, reports have found that in 2017,<br />

100,000 Thais have twice the number of DALYs as that of Singaporeans. The top 3 risk factors that affected Thais’ DALYs are<br />

poor Body Mass Index, high fasting plasma glucose and smoking. WELL Building Standard can be brought in to reduce DA-<br />

LYs in Thailand, especially by improving the category of air, nourishment, movement, mind, and community. In addition, more<br />

integrative research is needed within the architecture, health and wellness fields to raise general awareness of the relationship<br />

between built environments, health and well-being.<br />

Keywords: WELL Building Standard, Design, Health, Well-being, Risk factor<br />

Well Building Standard<br />

In recent years, people have started to pay more attention<br />

to health and well-being. As a consequence, environmental<br />

and building design, as well as facilities management, have<br />

begun to aim not only to provide pleasure and comfort, but<br />

also to improve the standard of living of a building’s occupants.<br />

In response to this, the International Well Building Institute<br />

(IWBI) developed and defined the Well Building Standard,<br />

which has since been recognised internationally. The first<br />

version was published in October 2014 after the cooperation<br />

between IWBI and the US Green Building Council (USGBC),<br />

who had previously launched the LEED (Leadership in Energy<br />

and Environmental Design) assessment. The two metrics<br />

shared some common criteria, most importantly an emphasis<br />

on indoor environmental quality. LEED focuses on efficient<br />

use of resources and environment-friendly design, and successful<br />

design could contribute directly to the well-being of<br />

building occupants.<br />

While regarded as the standard for buildings, the WELL<br />

standard employed indicators that measured different dimensions<br />

of the building occupants’ activity. The WELL standard<br />

V.1 consisted of 7 concepts of indicators, each of which were<br />

divided into smaller features, with 100 features in total across<br />

all 7 concepts. The number of concepts to be used as indicators<br />

depended on the building project type, similarly to those<br />

employed by LEED standard (IWBI, 2019b). The second version<br />

(V.2) of the WELL standard was later developed by IWBI,<br />

and this pilot project covered more functions and space types<br />

than previously defined in the first version. Added to office<br />

and institutional buildings were multifamily residences<br />

educational facilities, retail, restaurants, commercial kitchen<br />

and community space. The new assessments were divided into<br />

10 concepts, with 112 features (Table 1) (IWBI, 2019c). The<br />

10 concepts were as follows:<br />

1. Air: air quality, no-smoking space, ventilation and air<br />

pollution management<br />

2. Water: water quality, contamination control, drinking<br />

water promotion and handwashing<br />

3. Nourishment: consumption of fruit and vegetable, ingredient<br />

labels, portion sizes, nourishment awareness,<br />

dining space, food preparation, resources and productions<br />

4. Light: benefits of natural light, visibility and natural<br />

lighting in design, glare control, quality of artificial light<br />

5. Movement: motivation for physical activity, ergonomics<br />

and site planning<br />

6. Thermal comfort: physical comfort, temperature and<br />

humidity control<br />

31


7. Sound: sound restriction, noise reduction, noise absorption<br />

8. Materials: reduction of harmful materials, waste management,<br />

chemical control, VOC control<br />

9. Mind: mental health promotion, exposure to nature,<br />

stress management, mental relief, meditation, quality of<br />

sleep<br />

10. Community: health and wellness awareness, building<br />

occupant surveys, health campaigns, support for new<br />

families, organisational transparency, design for the<br />

public, emergency preparedness, integration and participation<br />

in community<br />

LEED and WELL standards shared a few common<br />

indicators, including indoor environmental quality etc.<br />

One of the challenges of applying this international<br />

building standard to various countries and places was the<br />

diversity of context, lifestyle and values. In response to this,<br />

USGBC branched out from LEED standard and developed<br />

Alternative Compliance Paths (ACPs), keyed to accommodate<br />

different localities and regions (Scot Horst, 2014). One of the<br />

examples of this was the LEED 2009 BD+C ACPs for East Asia<br />

assessment, which factored in regional priority credits for items<br />

the region gave particular importance to, such as air quality<br />

(Mika Kania, 2014). Experts in Thailand have also studied and<br />

compared different green building rating systems, and defined<br />

Thailand-specific priority items that corresponded with the<br />

local functionality of buildings and needs of building occupants<br />

(Pavadee Thuvavong, Atch Sreshthaputra, Sarigga Pongsuwan<br />

2017).<br />

This exemplified that it was necessary to weigh criteria<br />

related to human factors of a building and to take into account<br />

a different set of indicators and values. The WELL standard<br />

V.2 was developed to respond to this idea. It was designed for<br />

more flexible, adaptable and localised measures, and to be<br />

applied globally (IWBI, 2018b).<br />

32


Relationship between well-being, risk factors and WELL Standard<br />

IWBI published 18 Country Briefs covering countries in different regions (although<br />

Thailand has yet to figure among them) with the purpose of exhibiting the global data on<br />

well-being and its association with WELL concepts. The reports followed the principles that<br />

residents in countries with different environments, land, water, air and nourishment, might<br />

face different challenges on well-being. Building designs would then have to weigh in and aim<br />

for different measures depending on the specific nature of regional challenges (IWBI, 2018a,<br />

p. 3). For instance, if smoking is one of the main promoters of DALYs in a country, local<br />

building owners, architects, building resource management and related functions, should put<br />

more importance into minimising smoking. Reducing smoking, however, might not be a<br />

major concern in a different country with a lower number of smokers. This course of action<br />

should solve health challenges from root causes and prioritise areas for improvements according<br />

to the well-being context of each country. This could prove to be an efficient measure to<br />

improve well-being in a country, as opposed to simply following one set of assessments according<br />

to score-weight.<br />

The data supporting the IWBI reports came from the Institute for Health Metrics and<br />

Evaluation database (IHME, 2019), which indicated risk factors that could lead to illness,<br />

disability or premature death. These were presented in the number of DALYs, which was calculated<br />

from the number of Years a person Lived with Disability (YLD) and Years of Life Lost<br />

prematurely (YLL). Three risk factors contributed to the DALY index: behavioral, metabolic<br />

and environmental. These could follow from three causes: communicable diseases, diseases<br />

passed down from parents, neonatal diseases, nutritional diseases, non-communicable diseases<br />

and injury. However, IWBI put more importance on the behavioral and environmental<br />

factors, as these were Modifiable Risk Factors (MRFs), rather than metabolic, which were more<br />

stagnant (IWBI, 2018a, pp. 5-6).<br />

According to the 2017 IHME data (IHME, 2019), risk factors affecting Thais’ DALYs<br />

the most were behavioral, metabolic and environmental, respectively (Figure 1). Compared<br />

with Singapore (Figure 2), the number of DALYs per 100,000 head counts in Thailand was<br />

double the number, while the order of the three risk factors was relatively similar.<br />

Figure 1: DALYs per 100,000 head counts in Thailand in 2017, according to risk factors (IHME, 2019).<br />

33


Figure 2: DALYs per 100,000 head counts in Singapore in 2017, according to risk factors (IHME, 2019).<br />

Figure 3: The country of Singapore, where the average life expectancy is 83 years, highest in Southeast<br />

Asia (The World Bank, 2019)<br />

The top 3 causes of illness, disability and death in Thailand were high body-mass index,<br />

high fasting plasma glucose and smoking, respectively (Figure 4). Alternately, in Singapore,<br />

the top three were high blood pressure, smoking and high fasting plasma glucose (Figure 5).<br />

According to the data, the Thai DALYs grew significantly from poor body mass index, totaling<br />

2,276 years per 100,000 head counts, while 1,300 years per 100,000 head counts was lost per<br />

Singaporean DALYs due to high blood pressure. The different factors between DALYs in Thailand<br />

and Singapore served to emphasise the importance of customising health and wellness<br />

initiatives to fit the specifications of the region.<br />

34


Figure 4: DALYs per 100,000 head counts in Thailand in 2017, according to causes (IHME, 2019).<br />

Figure 5: DALYs per 100,000 head counts in Singapore in 2017, according to causes (IHME, 2019).<br />

The author followed similar approaches to IWBI Country Briefs reports to identify 10<br />

behavioral and environmental risk factors in Thailand that were connected to the WELL standard<br />

assessment (Table 2). According to the IWBI approach, once the WELL standard assessment<br />

is customised to fit local challenges, the number of corresponding risk factors should be<br />

minimised (IWBI, 2018a, pp. 11-17). The challenges and the risk factors were categorised<br />

under 2 types of relationship: direct associations (e.g. the improvement of air, water, materials<br />

and sound should help reduce the risk factors without the change in human behavior) and<br />

indirect associations (e.g. an improvement in nourishment, movement, community and mind<br />

would not have an impact without a change in human behavior) (IWBI, 2018a, p. 9)<br />

35


In order to implement the measures from Table 2 in building design and management<br />

to improve the well-being of Thais, responsible functions should prioritise the category of air,<br />

nourishment, movement, mind and community. From the 10 risk factors, only air pollution<br />

should be reduced with the improvement in air quality without modifying the behavior of the<br />

building occupants, while the other 9 required a change in nourishment, movement, mind and<br />

community categories, as well as a change in human behaviors. In consequence, responsible<br />

functions should then define the usage and service of the building and space to respond to the<br />

behavioral change related to these risk factors.<br />

Application and Development<br />

While IWBI puts emphasis on the relationship between data on the national health and<br />

WELL building standard, it is well aware of the limitations of the connection due to the scale<br />

of the data collected. In other words, a health problem in occupants of one building could be<br />

similar to or differ from the overall health of the entire country (IWBI, 2018a, p. 18).<br />

Both WELL standard V.1 and V.2 Pilot required Post-Occupancy Surveys in the WELL<br />

certification procedure. The surveys aimed to assess the overall occupant satisfaction, under<br />

the category of acoustics, thermal comfort, furnishings, light, odors, cleanliness and layout<br />

(IWBI, 2019b). While external data was consulted by the surveyed buildings to improve their<br />

36


services, the direct indicators of the occupants’ health including BMI, blood pressure, or sick<br />

leave data, still offered limited contribution in the improvement of the buildings and remained<br />

for the most part under data privacy. Additionally, research on health and wellness in Thailand<br />

are still restricted within their own field of study. They might offer valuable insights into the<br />

relationship between building environment, health and well-being, if applied with design and<br />

architecture.<br />

Reports on 29 July 2019 indicated that up to 21 buildings in Thailand had applied for<br />

WELL standard qualifications (10 under WELL V.1 and 11 under V.2 Pilot). This included<br />

office, residential, and communal buildings, totaling up to 1.05 million square meters (IWBI,<br />

2019a). Although all of these were still under assessment, they could serve as valuable study<br />

cases. It would be beneficial for Thailand to see more buildings with concerns for health in the<br />

future.<br />

References<br />

IHME. (2019). GBD Compare. Retrieved from https://vizhub.healthdata.org/gbd-compare/. from University of Washington<br />

https://vizhub.healthdata.org/gbd-compare/<br />

IWBI. (2018a). WELL Country Briefs: Singapore: IWBI.<br />

IWBI. (2018b). WELL v2TM pilot, The next version of the WELL Building StandardTM. Retrieved from https://v2.wellcerti<br />

fied.com/v/en/overview<br />

IWBI. (2019a). Project Directory. Retrieved from https://www.wellcertified.com/directories/projects. from The International<br />

WELL Building Institute https://www.wellcertified.com/directories/projects<br />

IWBI. (2019b). The WELL Building Standard, v1 with Q3 2019 Addenda.<br />

IWBI. (2019c). WELL v1 to v2 Comparison. Retrieved from https://resources.wellcertified.com/tools/well-v1-to-v2-comparison/.<br />

from The International WELL Building Institute https://resources.wellcertified.com/tools/well-v1-to-v2-comparison/<br />

Mika Kania. (2014). Locally yours: Improving LEED in East Asia. Retrieved from https://www.usgbc.org/articles/locallyyours-improving-leed-east-asia<br />

Scot Horst. (2014). Alternative Compliance Paths continue to localize LEED. Retrieved from https://www.usgbc.org/arti<br />

cles/alternative-compliance-paths-continue-localize-leed<br />

The World Bank. (2019). Life expectancy at birth, total (years). Retrieved from https://data.worldbank.org/indicator/SP.<br />

DYN.LE00.IN<br />

Pavadee Thuvavong, Atch Sreshthaputra, Sarigga Pongsuwan. (2017). แนวทางการพัฒนาเกณฑ์อาคารที่พักอาศัยเพื่อสุข<br />

ภาวะในประเทศไทย [Guidelines to Developing a Healthy Design Assessment Tool for Residential Buildings in<br />

Thailand]. Presented at the 4th Forum of Building Technology Alliance Conference on Energy and Environment<br />

(BTAC 2017), Faculty of Architecture, University of Khon Kaen.<br />

37


วิวภายนอกกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นวลวรรณ ทวยเจริญ<br />

อาจารย์ประจภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / nuanwan@gmail.com<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนารัตน์ กรอิสรานุกูล<br />

อาจารย์ประจภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ / kwanarat@gmail.com<br />

ชติพัทธ์ ณะมณี<br />

นิสิตระดับปริญญาโท ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / jomjuk-rb@hotmail.com<br />

บทคัดย่อ<br />

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของวิวภายนอกต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูง<br />

อายุชาวไทยในโรงพยาบาล โดยการศึกษาครั้งนี้ศึกษาอิทธิพลของการมีวิวภายนอกห้อง โดยประกอบ<br />

ด้วย การมีวิวภายนอก 2 แบบ ซึ่งได้แก่ การไม่มีหน้าต่าง/วิวภายนอกห้อง และการมีวิวภายนอกห้อง<br />

เป็นวิวธรรมชาติโดยศึกษาในห้องพักแบบเดี่ยวและห้องพักแบบรวมในโรงพยาบาล โดยทำการทดลอง<br />

ในสภาพแวดล้อมจำลองแบบ Virtual Reality (VR) การทดลองได้ทำในห้องทดลอง ณ คณะ<br />

สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และใช้เครื่องมือในการวัดภาวะซึมเศร้าซึ่งแบ่งออก<br />

เป็น 2 ชนิดได้แก่ แบบประเมินความเครียด และประเมินประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ (the<br />

State Anxiety Inventory) และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test<br />

ผลการศึกษาพบว่าสำหรับห้องพักแบบเดี่ยวในโรงพยาบาลที่มีวิวภายนอกเป็นวิวธรรมชาติ<br />

จะก่อให้เกิดความเครียดต่อผู้สูงอายุภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าห้องที่ไม่มีหน้าต่าง/วิวภายนอกห้อง และ<br />

สำหรับห้องพักแบบเดี่ยวและแบบรวมที่มีวิวภายนอกเป็นวิวธรรมชาติจะก่อให้เกิดความวิตกกังวลต่อ<br />

ผู้สูงอายุภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าห้องที่ไม่มีหน้าต่าง/วิวภายนอกห้อง<br />

ค ส คัญ : แสงธรรมชาติ วิวภายนอก ภาวะซึมเศร้า ผู้สูงอายุ<br />

บทน<br />

ปัจจุบันนี้ “โรคซึมเศร้า” หรือ “Depression” เป็นโรคทางจิตเวชในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติ<br />

ทางอารมณ์ได้เป็นปัญหาทางด้านสุขภาพที่สำคัญ โดยนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะ<br />

เป็นทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้หลายวิธีได้แก่การ<br />

รักษาโดยใช้ยา การรักษาด้วยไฟฟ้า และการรักษาทางด้ายจิตใจ (มาโนช หล่อตระกูล, 2547; มาโนช<br />

หล่อตระกูล และ ภาพันธ์ เจริญสวรรค์, 2548; วรวุฒิ เจริญศิริ, 2555)<br />

สภาพแวดล้อมของพื้นที่ต่างๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาอาการซึมเศร้าและทำให้ผู้ป่วย<br />

ซึมเศร้ามีอาการดีขึ้นโดยมีจำนวนวันนอนที่น้อยลงได้ (Beauchemin & Hays, 1996) นอกจากนี้แสง<br />

สว่างนั้นยังเป็นปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการรักษาโรคซึมเศร้าและเยียวยาโรคต่างๆ ได้<br />

(สรยุทธ วาสิกนานนท์, 2549) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลายการศึกษาในต่างประเทศพบว่าแสงธรรมชาติ<br />

สามารถช่วยในการฟื้นฟูอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้เช่นกันกับบุคคลทั่วไป นอกจากนี้การได้รับแสง<br />

ธรรมชาติจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพระบบเซอร์คาเดียนและการผลิตวิตามิน D ในระหว่างเวลากลาง<br />

วัน เนื่องจากแสงธรรมชาตินั้นมีช่วงความยาวคลื่นที่ระบบดังกล่าวต้องการ โดยเฉพาะแสงแดดช่วย<br />

ทำให้เกิดการผลิตวิตามิน D ซึ่งจะไปช่วยลดภาวะซึมเศร้าลงได้และยังช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของ<br />

กระดูกและกล้ามเนื้อของผู้สูงอายุอีกด้วย (Benedetti, et al., 2001) จะเห็นได้ว่าการมีหน้าต่างใน<br />

พื้นที่ต่างๆ ภายในอาคารนั้นจึงมีความจำเป็นต่อผู้สูงอายุทั้งในแง่ของการฟื้นฟูอาการทางด้านจิตเวช<br />

และทางด้านร่างกายเนื่องจากสามารถนำแสงธรรมชาติเข้ามาในอาคารได้<br />

สภาพแวดล้อมอาคารที่มีหน้าต่างนอกจากจะนำแสงธรรมชาติเข้ามาภายในอาคารแล้ว<br />

ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของการมีหน้าต่างคือคนที่อาศัยภายในสามารถเห็นวิวภายนอกได้วิวภายนอก<br />

มีผลต่อความรู ้สึกและยังก่อให้เกิดการรักษาผู้ป่วยได้หลายการศึกษาในต่างประเทศได้แสดงให้เห็น<br />

ว่าวิวภายนอกประเภทวิวธรรมชาติก่อให้เกิดความพึงพอใจและให้ผลต่อการรักษาที่ดีมากกว่าวิว<br />

38


ภายนอกประเภทวิวเมือง (Zube. et al., 1975; Wohlwill and Altman, 1976 และ Palmer et al.,<br />

1978) วิวธรรมชาติจะก่อให้เกิดอารมณ์ทางด้านบวก ลดความกลัว ลดความวิตกกังวลช่วยป้องกัน<br />

หรือลดความคิดเครียด และส่งผลต่อการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ (Wohlwill and Altman, 1983;<br />

Ulrich (1984) พบว่าผู้ป่วยหลังผ่าตัดนั้นเมื่อพักในห้องพักผู้ป่วยที่มีวิวภายนอกเป็นวิวต้นไม้จะมี<br />

ปริมาณยาและมีจำนวนวันนอนน้อยกว่าผู้ป่วยทีพักในห้องที่มองเห็นวิวผนังอิฐภายนอก อย่างไร<br />

ก็ตามจากการรวบรวมเอกสารพบว่ายังไม่มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลของการมีวิวภายนอกต่อ<br />

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุชาวไทย ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือเพื่อที่จะศึกษาอิทธิพล<br />

ของวิวภายนอกต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุชาวไทย ซึ่งศึกษาในอาคารประเภทโรงพยาบาล<br />

ระเบียบวิธีวิจัย<br />

การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาในห้องทดลองที่มีการควบคุมสูง โดยทำการทดลองในสภาพ<br />

แวดล้อมจำลองด้วยวิธีการแบบ Virtual Reality (VR) ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาทางด้านสภาพแวดล้อมใน<br />

หลายการศึกษาในอดีต (Hidayetoglu et al., 2012) เหตุผลในการเลือกวิธีการดังกล่าว เนื่องจาก<br />

การทดลองในสภาพแวดล้อมจริงนั้นไม่สามารถควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจจะมีผลต่อการทดลองได้<br />

การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดลองในห้องทดลองชั้น 6 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย<br />

เกษตรศาสตร์<br />

การศึกษาในส่วนนี้ได้ศึกษาอิทธิพลของการวิวภายนอกห้อง 2 รูปแบบ ซึ่งได้แก่ 1) การไม่มี<br />

หน้าต่าง/วิวภายนอกห้อง และ 2) การมีวิวภายนอกห้องเป็นวิวธรรมชาติ โดยศึกษาในห้องพักแบบ<br />

เดี่ยวและห้องพักแบบรวมในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานโดยผู้ป่วยสูงที่สุด รูปแบบของ<br />

ภาพจำลองที่ใช้ในการศึกษา มีดังนี้<br />

ไม่มีหน้าต่าง/วิว<br />

การมีวิวธรรมชาติ<br />

ภาพที่ 1 การมีวิวภายนอกห้องของห้องพักแบบเดี่ยว<br />

ไม่มีหน้าต่าง/วิว<br />

การมีวิวธรรมชาติ<br />

ภาพที่ 2 การมีวิวภายนอกห้องของห้องพักแบบรวม<br />

39


ในการศึกษาครั้งนี้มีผู้สูงอายุชาวไทยที่มีภาวะซึมเศร้าเข้าร่วมการทดลองจำนวน 180 คน โดย<br />

มีอายุ50-80 ปีโดยเป็นผู้ที่ไม่มีปัญหาความจำเสื่อมและไม่มีปัญหาทางสายตาที่มีผลต่อการประเมิน<br />

เช่น ตาบอดสี หรือต้อหิน ต้อกระจก และเบาหวานขึ้นจอตา โดยจำนวนของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมการ<br />

ทดลองสำหรับห้องพักแบบเดี่ยว 93 คน และห้องพักแบบรวม 87 คน โดยมีผู้เข้าร่วมการทดลองมีทั้ง<br />

เพศหญิงและเพศชายจำนวนเท่าๆ กัน ในการทดลองจะมีการคัดกรองผู้สูงอายุก่อนเข้าร่วมทดลอง<br />

โดยใช้แบบสอบถามและแบบคัดกรองในการประเมินภาวะซึมเศร้า โดยใช้แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า<br />

2 คำถาม (2Q) (ตั้งแต่1 คะแนนขึ้นไป) และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า Patient Health Questionnaire<br />

(PHQ - 9) (ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไป) และผู้เข้าร่วมการทดลองทำการยินยอมในการศึกษาทดลองด้วย<br />

ความสมัครใจ<br />

ในการทดลองเมื่อผู้สูงอายุเข้ามาในห้องทดลองจะต้องกรอกแบบยินยอมและข้อมูลพื้นฐาน<br />

และพักสายตาประมาณ 10 นาทีเพื่อเป็นการ หลังจากนั้นผู้สูงอายุจะมีการสวมอุปกรณ์จอป้อนภาพ<br />

แบบสวมศีรษะ ยี่ห้อ Oculus Rift DK2 รุ่น developer kit 2 เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมที่นำมาทดสอบ<br />

โดยภาพสภาพแวดล้อมในการทดสอบจะถูกจัดทำในโปรแกรม unreal engine version 4.10 (ภาพ<br />

ที่ 3) ในการประเมินในแต่ละภาพที่เห็นในอุปกรณ์จอป้อนภาพจะใช้เวลาในการประเมินไม่เกินภาพ<br />

ละ 3 วินาที ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมปัจจัยทางด้านการปรับตาต่อภาพที่อาจจะมีผลต่อภาวะซึมเศร้า<br />

ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวได้ใช้ในหลายการศึกษาในอดีตที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก (Houser et al,<br />

2004) นอกจากนี้เพื่อการควบคุมอิทธิพลของความเหนื่อยและการเรียนรู้ต่อภาพสภาพแวดล้อมที่<br />

ทดสอบ ลำดับของภาพทั้งหมดจะถูกสุ่มให้ผู้สูงอายุประเมิน ผู้สูงอายุจะใช้เวลาทั้งหมด 15 นาทีใน<br />

การทดลอง หลายการศึกษาชี้ให้เห็นว่าระยะเวลาการประเมินความรู้สึกจากภาพหรือวีดิทัศน์สั้นๆ ไม่<br />

ได้มีผลต่อความเครียดหรือความวิตกกังวล และผลการศึกษาความเครียดและความวิตกกังวลจาก<br />

การประเมินสภาพแวดล้อมในสภาพห้องทดลองที่ได้ควบคุมในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นไม่ได้แตกต่าง<br />

จากผลการศึกษาในการประเมินในสภาพแวดล้อมจริงและได้มีการศึกษาโดยวิธีดังกล่าวในหลายการ<br />

ศึกษาในอดีต (Golden et al., 2005; Diette et al., 2003; Tse et al., 2002)<br />

ในการศึกษาครั้งนี้ทำการตรวจวัดภาวะซึมเศร้าโดยวัดปัจจัย 2 ปัจจัย ซึ่งได้แก่1) ความเครียด<br />

และ 2) ความวิตกกังวล โดยปัจจัยทั้ง 2 ปัจจัยดังกล่าวจะเป็นตัวชี้วัดของอาการซึมเศร้าซึ่งหลายการ<br />

ศึกษาได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า (Yazdanpanah, et al., 2016)<br />

1) การวัดความเครียด เป็นการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้สึกเครียดต่อสภาพแวดล้อม<br />

ภายในห้องที่เกิดขึ้น โดยแบบสอบถามจะเป็นมาตรวัดความรู้สึกเครียดต่อสภาพแวดล้อม<br />

ภายในห้องในโรงพยาบาล โดยมีระดับ 5 ระดับ ดังต่อไปนี้<br />

ระดับของความรู้สึกเครียด<br />

น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด<br />

1 2 3 4 5<br />

2) การวัดความวิตกกังวล ในการวัดระดับความกังวลจะเก็บข้อมูลโดยการทดสอบโดยใช้<br />

แบบสอบถามความวิตกกังวลขณะเผชิญ (the State-Trait Anxiety Inventory) ซึ่งแบบสอบถาม<br />

ดังกล่าวมีการใช้มาในหลายการศึกษาในการทดสอบระดับความกังวล (Speilberger, 1985;<br />

Speilberger et al., 1999) ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้จะใช้ประเมินแบบสอบถามความวิตกกังวล<br />

ขณะเผชิญ (the State Anxiety Inventory)<br />

หลังจากทำการทดลองแล้ว ผลการศึกษาที่ได้จากการทดลองในครั้งนี้จะวิเคราะห์โดยใช้สถิติ<br />

Paired t-test<br />

40


ผลการศึกษา<br />

อิทธิพลการมีวิวภายนอกห้องต่อความเครียดของผู้สูงอายุภาวะซึมเศร้า<br />

ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและระดับนัยสำคัญของความเครียดจากการมีวิวภายนอก<br />

ห้องที่แตกต่างกันในห้องพักแบบเดี่ยวและห้องพักแบบรวม<br />

ปัจจัย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน p-value<br />

ห้องพักแบบเดี่ยว<br />

ไม่มีวิวภายนอก 2.936 0.507<br />

มีวิวธรรมชาติ 1.516 0.669 0.000**<br />

ห้องพักแบบรวม<br />

ไม่มีวิวภายนอก 3.207 0.809<br />

มีวิวธรรมชาติ 1.586 0.674 0.702<br />

** มีนัยสำคัญทางสถิติอย่างสูง (p


สรุปผลและอภิปรายผลการศึกษา<br />

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของวิวภายนอกต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูง<br />

อายุชาวไทยในโรงพยาบาล โดยการศึกษาครั้งนี้ศึกษาอิทธิพลของการมีวิวภายนอกห้อง โดยประกอบ<br />

ด้วย การมีวิวภายนอก 2 แบบ ซึ่งได้แก่ การไม่มีหน้าต่าง/วิวภายนอกห้อง และการมีวิวภายนอกห้อง<br />

เป็นวิวธรรมชาติ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในห้องพักแบบเดี่ยวและแบบรวมในโรงพยาบาลวิว<br />

ภายนอกที่เป็นวิวธรรมชาติก่อให้เกิดความเครียดต่อผู้สูงอายุภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าห้องพักที่ไม่มีวิว<br />

ภายนอก และยังพบอีกว่าในห้องพักแบบรวมในโรงพยาบาลนั้นวิวภายนอกห้องเป็นวิวธรรมชาติก่อ<br />

ให้เกิดความวิตกกังวลต่อผู้สูงอายุภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าห้องพักที่ไม่มีวิวภายนอกเช่นกัน โดยภาพ<br />

รวมผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของวิวธรรมชาติต่อการลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุใน<br />

สภาพแวดล้อมห้องพักแบบเดี่ยวและห้องพักแบบรวมในโรงพยาบาล<br />

ผลการศึกษาครั้งนี้สอดคล้องกับการศึกษาหลายๆ การศึกษาในต่างประเทศซึ่งแสดงถึงอิทธิพล<br />

ด้านบวกของการมองเห็นวิวธรรมชาติภายนอกอาคาร ผลการศึกษาในต่างประเทศส่วนใหญ่นั้นระบุ<br />

ว่าวิวธรรมชาตินั้นจะส่งผลกระทบทางด้านจิตใจทำให้เกิดอารมณ์บวก ลดความกลัว ลดความวิตก<br />

กังวลช่วยป้องกันหรือลดความคิดเครียด และส่งผลต่อการบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ (Wohlwill and<br />

Altman, 1983; Ulrich, 1984)<br />

นอกจากผลทางด้านอิทธิพลของวิวภายนอกต่อภาวะซึมเศร้าแล้ว หลายการศึกษาในต่าง<br />

ประเทศได้ชี้ให้เห็นอิทธิพลของปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมทางแสงธรรมชาติที่จะช่วยลดความรู้สึก<br />

ซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ Walch et al. (2005) ทำการเปรียบเทียบห้องพักผู้ป่วยหลังผ่าตัดอาคารเดียวกัน<br />

โดยพบว่า ห้องพักผู้ป่วยที่มีขนาดของแสงสว่างจากแสงธรรมชาติมากกว่านั้นจะทำให้ผู้ป่วยมี<br />

ความเครียดน้อยลง และมีการใช้ยาแก้ปวดน้อยลงร้อยละ 22 นอกจากนี้ Hughes and Neer (1981)<br />

พบว่าการใช้แสงประดิษฐ์ที่เป็นแสงคล้ายกับแสงธรรมชาติ Daylight ที่มีค่าอุณหภูมิสีของแสงที่<br />

4200K สามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้การศึกษาของ Benedetti et al. (2001) พบว่าการ<br />

ที่ผู้ป่วยโรคไบโพล่าได้รับแสงแดดตอนเช้าสามารถที่จะลดจ ำนวนวันนอนในโรงพยาบาลได้Beauchemin<br />

& Hays (1996) ยังพบอีกว่าผู้ป่วยซึมเศร้าที่นอนในห้องพักที่มีแสงธรรมธรรมชาติเข้ามามากกว่า<br />

จะมีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลน้อยกว่าผู้ป่วยที่นอนบริเวณที่มีแสงธรรมชาติน้อย<br />

ดังนั้นการศึกษานี้จึงได้เสนอแนวทางในการออกแบบห้องพักผู้ป่วยทั้งแบบเดี่ยวและแบบรวม<br />

สำหรับโรงพยาบาลเพื่อฟื้นฟูภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโดยการให้มีการเปิดหน้าต่างเพื่อนำแสง<br />

ธรรมชาติเข้ามาในปริมาณที่มากพอและควรวิวภายนอกที่เป็นวิวธรรมชาติที่มีองค์ประกอบ อาทิสวน<br />

ต้นไม้รวมไปถึงที่นั่งพักผ่อนชมสวนบริเวณใกล้หน้าต่างเพื่อเพิ่มระยะเวลาในการได้รับแสงธรรมชาติ<br />

มากขึ้น<br />

บรรณานุกรม<br />

มาโนช หล่อตระกูล. (2547). บทความทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวช: โรคซึมเศร้า. สืบค้นจาก http://www.dmh.go.th/news/view.<br />

asp?id=859, 20 กรกฎาคม 2562.<br />

มาโนช หล่อตระกูล และ ภาพันธ์ เจริญสวรรค์. (2548). การรักษาทางด้านจิตใจ: จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี (พิมพ์ครั้งที่ 2).<br />

กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์พิมพ์.<br />

วรวุฒิ เจริญศิริ. (2547). การรักษาด้วยไฟฟ้า. สืบค้นจาก http://www.bangkokhealth.com/index.php/, 20 กรกฎาคม 2562.<br />

สรยุทธ วาสิกนานนท์. (2549). การรักษาด้วยแสงในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 4(51), 381 - 395.<br />

Beauchemin, K.M. and Hays, P. (1996). Sunny Hospital Rooms Expedite Recovery from Severe and Refractory Depressions.<br />

Journal of Affective Disorders, 40, 49-51.<br />

Benedetti, F, Colombo, C., Barbini, B., Campori, E. & Smeraldi E. (2001). Morning sunlight reduces length of hospitalization<br />

in bipolar depression. Journal of Affect Disorder, 62(3), 221-3.<br />

42


Diette G. B., Lechtzin N., Haponik E., Devrotes A. & Rubin H. R. (2003). Distraction therapy with nature sights and sounds<br />

reduces pain during flexible bronchoscopy: A complementary approach to routine analgesia. Chest, 123(3),<br />

941–948.<br />

Hidayetoglu, L.M., Yildirim, K. & Akalin, A. (2012). The effects of color and light on indoor wayfinding and the evaluation of<br />

the perceived environment. Journal of Environmental Psychology, 32, 50-58.<br />

Houser, K. W., Tiller, D. K., and Hu, X. (2004). Tuning the fluorescent spectrum for the trichromatic visual response: a pilot<br />

study. Leukos. Vol. 1 (1), 7-24.<br />

Hughes, P. C., & Neer, R. M. (1981). Lighting for the elderly: A psychobiological approach to lighting. Human Factors,<br />

23(1), 65–85.<br />

Golden R. N., Gaynes B. N., Ekstrom R. D., Hamer R. M., Jacobsen F. M.,Suppes T., et al. (2005). The efficacy of light<br />

therapy in the treatment of mood disorders: A review and meta-analysis of the evidence. American Journal of<br />

Psychiatry, 162 (4), 656–662.<br />

Palmer, J. F., Weidemann, S. & Anderson, J. R. (1978). Priorities for environmental design research. Environmental Design<br />

Research, 92 - 103.<br />

Spielberger, C. D. (1985). Assessment of state and trait anxiety: Conceptual and methodological issues. Southern Psychologist,<br />

2(4), 6-16.<br />

Spielberger, C. D., Sydeman, S. J., Owen, A. E., & Marsh, B. J. (1999). Measuring anxiety and anger with the State-Trait<br />

Anxiety Inventory (STAI) and the State-Trait Anger Expression Inventory (STAXI). In M. E. Maruish (Ed.), The use<br />

of psychological testing for treatment planning and outcomes assessment (pp. 993-1021). US: Lawrence<br />

Erlbaum Associates Publishers.<br />

Tse, M.M., Ng, J.K., Chung, J.W., Wong, T.K. (2002).The effect of visual stimuli on pain threshold and tolerance. Journal<br />

of Clinical Nursing, 11(4):462-469.<br />

Ulrich, R. S. (1984). View through a window may influence recovery from surgery. Science, 224(47), 420 - 421.<br />

Walch, M.J., Bruce, S., Day, R., Williams, J.N., Choi, K., Kang, J.D. (2005). The effect of sunlight on postoperative analgesic<br />

medication use: a prospective study of patients undergoing spinal surgery. Psychosomatic Medicine, 67(1),156-163.<br />

Wohlwill, J. F & Altman, I. (1976). Human Behavior and Environment: Advances in Theory and Research (Volume 1).<br />

New York: Plenum New York.<br />

Wohlwill, J. F & Altman, I. (1983). Human Behavior and Environment. Advances in Theory and Research (Volume 2).<br />

New York: Plenum New York.<br />

Yazdanpanahi, Z., Beygi, A., Akbarzadeh, M. & Zare, N. (2016). To investigate the relationship between stress, anxiety and<br />

depression with sexual function and its domains in women of reproductive age. International Journal of Medical<br />

Research & Health Sciences, 5(10), 223-231.<br />

Zube, E. H., Pitt, D. G. & Anderson, T. W. (1975). Landscape Assessment: Values. Stroudsburg Pa: Dowden, Hutchinson & Ross.<br />

43


Window Views: Effects on Depression in Elderly<br />

Assistant Professor Nuanwan Tuaycharoen, Ph.D.<br />

Faculty Member, Building Innovation Department, Faculty of Architecture, Kasetsart University / nuanwan@gmail.com<br />

Assistant Professor Wanarat Konisranukul, Ph.D.<br />

Faculty Member, The Department of Rural Technology, Faculty of Science and Technology , Thammasat University /<br />

kwanarat@gmail.com<br />

Chatipath Na Manee<br />

Master’s Student, Building Innovation Department, Faculty of Architecture, Kasetsart University / jomjuk-rb@hotmail.com<br />

Abstract<br />

This study was carried out with the objective to examine the impacts of outside views on hospitalized Thai elderly<br />

patients with depression. The study looks into the influence of window views in hospital rooms by comparing rooms with an<br />

absence of openings/views to the effects of rooms with visual access to natural surroundings through various types of openings.<br />

The study was conducted on both single and shared hospital rooms. The test was done using Virtual Reality (VR) technology<br />

inside a laboratory at the Faculty of Architecture, Kasetsart University. Two sets of tools were utilized to determine the patients’<br />

levels of depression (stress evaluation form and the state anxiety inventory), with the collected data analyzed using the Paired<br />

t-test statistical procedure.<br />

The findings reveal that a single hospital room with access to a natural view causes less stress to elderly patients with<br />

depression comparing to rooms without any access to such views. Both the single and shared hospital rooms with access to a<br />

natural view cause less anxiety to elderly patients with depression when compared to the rooms without any window view.<br />

Keywords : natural light, window views, depression, elderly<br />

Introduction<br />

Depression, a psychiatric disorder with emotional and<br />

behavioral symptoms, has become one of the major public<br />

health problems of our time. It is affecting people with intensifying<br />

severity on a global scale, particularly within the elderly<br />

population. There are, however, several treatments that can<br />

help cure or treat depression, including medicine, electroconvulsive<br />

therapy, and cognitive behavioral therapy (Manoch<br />

Lhortrakul, 2547, Manoch Lhortrakul & Paphan Charoensawan,<br />

2548; Worawuth Charoensiri, 2555).<br />

find that, just like any group of patients, natural light has<br />

significant effects on elderly patients’ recovery from depression.<br />

Not only that, natural light helps increase the efficiency of the<br />

Circadian rhythm and the human body’s production of Vitamin<br />

D due to the wavelength of natural light that matches with<br />

the natural, internal process. The impacts of sunlight on the<br />

production of Vitamin D helps relieve depression symptoms,<br />

as well as strengthen the condition of elderly people’s bones<br />

and muscles (Benedetti, et al., 2001).<br />

The hospital room environment can serve as a significant<br />

factor contributing to the improvement of patients’ depression<br />

and clinical outcomes, which in turn may cause them<br />

to spend fewer days in the hospital ((Beauchemin & Hays,<br />

1996). In addition, natural light is a proven environmental<br />

factor that contributes positively to the treatment of depression<br />

and other illnesses (Sorayuth Wasiknanon, 2006). Several<br />

studies conducted by international academics and researchers<br />

Therefore, having openings in a hospital room that<br />

offer patients exposure to natural light is essential for the elderly<br />

patients’ mental and physical recovery<br />

A built environment designed to bring in natural light<br />

to a functional space also offers users access to outside views.<br />

Such access to outside surroundings has positive effects on<br />

patients’ mental state and the overall improvement of illness.<br />

44


A number of studies conducted by international academics<br />

find that compared to a city view, a natural view creates positive<br />

clinical outcomes for patients (Zube. et al., 1975; Wohlwill<br />

and Altman, 1976 and Palmer et al., 1978). Natural views<br />

induce positive emotional states, reduce fear and anxiety,<br />

prevent or even reduce stress, consequently resulting in a<br />

patient’s more satisfying recovery (Wohlwill and Altman, 1983;<br />

Ulrich (1984)). It is also found that post-surgery patients recover<br />

better when resting in a room with a window view where<br />

trees and nature are visually present. Not only do they require<br />

a lower amount of medicine, but their period of being hospitalized<br />

is often shortened when compared to patients recovering<br />

in a room whose outside view is a building’s brick wall.<br />

Nevertheless, the literature review conducted for this study<br />

did not find any research done recording the impact of a hospital<br />

room’s window view on Thai elderly patients with depression.<br />

The main objective of this study, therefore, is to examine<br />

the effects of a window view on Thai elderly patients with<br />

depression. The study focuses on hospital buildings and the<br />

effects of their functional spaces on elderly patients.<br />

Research Methodology<br />

This study was conducted in a strictly controlled laboratory<br />

using Virtual Reality (VR) technology, which is the<br />

method that has been utilized for several past case studies on<br />

built environment (Hidayetoglu et al., 2012). The reason behind<br />

the use of this particular methodology derives from the<br />

fact that the test conducted in the actual environement often<br />

comes with uncontrollable factors that can potentially interfere<br />

with final outcomes. For this study, the experiment was carried<br />

out in the laboratory on the 6th floor of the Faculty of Architecture<br />

of Kasetsart University.<br />

looked into the effects generated by two types of rooms:<br />

1) a room without any window/view, and 2) a room with access<br />

to a natural view. The study looked at both single occupant<br />

and shared hospital rooms, which are the areas that accomodate<br />

the highest rate of usage by elderly patients. The typologies<br />

of the simulated rooms are as follows:<br />

No window/view<br />

A window with natural view<br />

Image 1: Two different types of single hospital room with and without a view<br />

No window/view<br />

A window with natural view<br />

Image 2: Two different types of shared hospital room with and without a view<br />

45


For this study, the participants were 180 individuals<br />

diagnosed with depression, aged between 50-80 years old. The<br />

180 individuals were not patients with Alzheimer’s disease,<br />

nor did they have any vision problems such as color blindness,<br />

glaucoma, cataracts, or diabetic eye disease that could potentially<br />

affect the assessment. The participants were made up<br />

equally of female and male individuals. 93 of them participated<br />

in the study conducted in the simulated single hospital<br />

room, while the remaining 87 participants took part in the<br />

test done in the shared hospital room typology. The process<br />

included a screening system which selected participants by<br />

using a questionnaire and depression evaluation form known<br />

as the 2Q depression evaluation form, with a minimum score<br />

of 1 point, and the Patient Health Questionnaire (PHQ-9),<br />

with the minimum score of 7. The participants agreed to participate<br />

in the study with their own consent.<br />

The test began with the participants entering the room<br />

after having signed the consent form and providing the necessary<br />

basic information. The participants were asked to rest<br />

their vision for approximately 10 minutes, and later instructed<br />

to wear a VR headset (Oculus Rift DK2, developer kit 2<br />

model) to assess the simulated environment. The computer-generated<br />

environment was created using a software called<br />

Unreal Engine, Version 4.10 (Image 3). The assessment of each<br />

image projected through the VR headset took no more than<br />

3 seconds per image in order to efficiently control the factors<br />

affecting the vision adjustment, which can potentially interfere<br />

with the patients’ depression. This duration has been used in<br />

several past studies about humans’ emotional and mental state<br />

(Houser et al, 2004). In addition, to control the influences of<br />

exhaustion and perceptiveness the participants have towards<br />

the simulated environment, the sequence of the images is<br />

randomized while the participants assess their emotional reactions.<br />

The participants took a total of 15 minutes to finish<br />

the test. Several studies point out that this duration of assessment<br />

of their mental and emotional reactions towards the<br />

simulated images and short videos does not affect their stress<br />

and anxiety level, and that studies on stress and anxiety derived<br />

from the assessment of simulated and controlled environments<br />

of the specific duration is not different from study results<br />

obtained from the evaluation of actual environments. There<br />

have been several past studies carried out using this particular<br />

methodology (Golden et al., 2005; Diette et al., 2003; Tse et<br />

al., 2002).<br />

1) The measurement of the patients’ stress levels was done<br />

using a questionnaire evaluating each participant’s<br />

stress levels after experiencing the rooms’ simulated<br />

environments. The questionnaire served as a tool that<br />

measures each participant’s stress level caused by the<br />

simulated environments of different types of hospital<br />

room. The stress levels are categorized as follows:<br />

Stress Levels<br />

Least<br />

Stressful<br />

1<br />

Slightly<br />

Stressful<br />

2<br />

Very<br />

Stressful<br />

2) Anxiety MeasurementThe measurement of anxiety<br />

level was done using the State-Trait Anxiety Inventory.<br />

The questionnaire has been used by several studies to<br />

test participants’ anxiety level ((Speilberger, 1985;<br />

Speilberger et al., 1999). For this particular study, the<br />

questionnaire in use was the State Anxiety Inventory.<br />

After the test was done, the results obtained from the study<br />

were analyzed using the Paired t-test method.<br />

Results<br />

Moderately<br />

Stressful<br />

3<br />

4<br />

Most<br />

Stressful<br />

The influence of hospital window views on the stress<br />

level of elderly patients with depression<br />

Table 1. Average, standard deviation, and level of significance<br />

of stress caused by different hospital window views of single<br />

and shared hospital rooms.<br />

5<br />

46


Factor Average Standard Deviation p-value<br />

Single Room<br />

Without window views 2.936 0.507<br />

With window views 1.516 0.669 0.000**<br />

Shared Room<br />

Without window views 3.207 0.809<br />

With window views 1.586 0.674 0.702<br />

** High Statistical Significance (p


Conclusion and Discussion<br />

This study aimed to look into the effects of hospital<br />

window views on hospitalized Thai elderly patients who are<br />

diagnosed with depression. It set forth to explore the impacts<br />

of hospital window views on elderly patients with depression<br />

through the study of two different room typologies. The first<br />

type of room is one without any window/access to outside<br />

views, and the second type of room is one with access to an<br />

outside natural view. The results of the study show that a single<br />

and shared hospital room with access to a natural outside view<br />

causes less stress to patients when compared to a room without<br />

any window view. It also found that a shared hospital room<br />

with a window view that grants visual access to outside natural<br />

surroundings causes less anxiety to the elderly patients with<br />

depression when compared to a room with no window or access<br />

to outside views. Overall, the study’s results reveal the impacts<br />

of a view of nature of a single and shared hospital room on the<br />

relieving of elderly patients’ symptoms of depression.<br />

The study results also coincide with several other studies<br />

carried out by international academics on the positive effects<br />

of hospital window views. A majority of these studies reveal<br />

that access to a view of nature from inside a hospital room<br />

causes positive mental and emotional states, lessens fear and<br />

anxiety, as well as prevents and lessens stressful thoughts,<br />

consequently resulting in more satisfying clinical outcomes<br />

and improved recovery (Wohlwill and Altman, 1983; Ulrich,<br />

1984).<br />

In addition to the impacts of hospital window views on<br />

patients' depression, a number of studies done by international<br />

academics reveal the impacts of natural light on the improvement<br />

of depression symptoms in elderly patients (Walch et al.<br />

(2005)). The studies compare the conditions of post-surgery<br />

patients recovering in different hospital rooms in the same<br />

building, and find that the patients recovering in rooms with<br />

more natural light are less stressed and use 22% less painkillers.<br />

Additionally, Hughes and Neer (1981) finds that the use of<br />

artificial light that gives the similar effect to natural daylight<br />

with the light temperature at 4,200 K can also help elderly<br />

patients’ depression symptoms. The study done by Benedetti<br />

et al. (2001) discovers that bipolar patients who are exposed<br />

to morning sunlight are hospitalized for a comparatively shorter<br />

duration, while Beauchemin & Hays (1996) finds that patients<br />

recovering in hospital rooms with an abundant presence of<br />

natural light spend less days in the hospital comparing to those<br />

who stay in the room with less amount of sunlight.<br />

What this study proposes is an approach to the design<br />

of single and shared hospital rooms as a factor that can potentially<br />

improve depressive symptoms in elderly patients. The<br />

design of hospital rooms with openings or window views offer<br />

patients’ access to sufficient amount of natural light, and the<br />

outside surroundings, particularly a view of nature such as<br />

gardens, trees, or even a seating area in a green space near the<br />

window that enables patients to spend a longer period of time<br />

being exposed to natural light, collectively and consequently<br />

brings positive impacts on the patients’ mental health and<br />

recovery.<br />

References<br />

Beauchemin, K.M. and Hays, P. (1996). Sunny Hospital Rooms Expedite Recovery from Severe and Refractory Depressions.<br />

Journal of Affective Disorders, 40, 49-51.<br />

Benedetti, F, Colombo, C., Barbini, B., Campori, E. & Smeraldi E. (2001). Morning sunlight reduces length of hospitalization<br />

in bipolar depression. Journal of Affect Disorder, 62(3), 221-3.<br />

Charoensiri, W. (2004). Electroconvulsive Therapy. Retrieved from http://www.bangkokhealth.com/index.php/, 20 July 2019.<br />

Diette G. B., Lechtzin N., Haponik E., Devrotes A. & Rubin H. R. (2003). Distraction therapy with nature sights and<br />

sounds reduces pain during flexible bronchoscopy: A complementary approach to routine analgesia. Chest,<br />

123(3), 941–948.<br />

Hidayetoglu, L.M., Yildirim, K. & Akalin, A. (2012). The effects of color and light on indoor wayfinding and the evaluation<br />

of the perceived environment. Journal of Environmental Psychology, 32, 50-58.<br />

48


Houser, K. W., Tiller, D. K., and Hu, X. (2004). Tuning the fluorescent spectrum for the trichromatic visual response: a<br />

pilot study. Leukos. Vol. 1 (1), 7-24.<br />

Hughes, P. C., & Neer, R. M. (1981). Lighting for the elderly: A psychobiological approach to lighting. Human Factors,<br />

23(1), 65–85.<br />

Golden R. N., Gaynes B. N., Ekstrom R. D., Hamer R. M., Jacobsen F. M.,Suppes T., et al. (2005). The efficacy of light<br />

therapy in the treatment of mood disorders: A review and meta-analysis of the evidence. American Journal of<br />

Psychiatry, 162 (4), 656–662.<br />

Lhortakul, M. (2004). An Essay on Mental Health and Psychiatry: Depression. Retrieved from http://www.dmh.go.th/<br />

news/view.asp?id=859, 20 July 2019.<br />

Lhortakul, M. and Charoensawan, P. (2005). Mental Treatment: Psychiatry Ramathibodi (2nd Edition). Bangkok: Beyond<br />

Enterprise Publishing.<br />

Palmer, J. F., Weidemann, S. & Anderson, J. R. (1978). Priorities for environmental design research. Environmental<br />

Design Research, 92 - 103.<br />

Spielberger, C. D. (1985). Assessment of state and trait anxiety: Conceptual and methodological issues. Southern Psychologist,<br />

2(4), 6-16.<br />

Spielberger, C. D., Sydeman, S. J., Owen, A. E., & Marsh, B. J. (1999). Measuring anxiety and anger with the State-Trait<br />

Anxiety Inventory (STAI) and the State-Trait Anger Expression Inventory (STAXI). In M. E. Maruish (Ed.), The<br />

use of psychological testing for treatment planning and outcomes assessment (pp. 993-1021). US: Lawrence<br />

Erlbaum Associates Publishers.<br />

Tse, M.M., Ng, J.K., Chung, J.W., Wong, T.K. (2002).The effect of visual stimuli on pain threshold and tolerance. Journal<br />

of Clinical Nursing, 11(4):462-469.<br />

Ulrich, R. S. (1984). View through a window may influence recovery from surgery. Science, 224(47), 420 - 421.<br />

Walch, M.J., Bruce, S., Day, R., Williams, J.N., Choi, K., Kang, J.D. (2005). The effect of sunlight on postoperative analgesic<br />

medication use: a prospective study of patients undergoing spinal surgery. Psychosomatic Medicine,<br />

67(1),156-163.<br />

Wohlwill, J. F & Altman, I. (1976). Human Behavior and Environment: Advances in Theory and Research (Volume 1).<br />

New York: Plenum New York.<br />

Wohlwill, J. F & Altman, I. (1983). Human Behavior and Environment. Advances in Theory and Research (Volume 2).<br />

New York: Plenum New York.<br />

Wasignanont, S. (2006). Lighting Therarpy for Patients with Depression. Journal of the Psychiatric Association of Thailand.<br />

4(51), 381 - 395.<br />

Yazdanpanahi, Z., Beygi, A., Akbarzadeh, M. & Zare, N. (2016). To investigate the relationship between stress, anxiety<br />

and depression with sexual function and its domains in women of reproductive age. International Journal of<br />

Medical Research & Health Sciences, 5(10), 223-231.<br />

Zube, E. H., Pitt, D. G. & Anderson, T. W. (1975). Landscape Assessment: Values. Stroudsburg Pa: Dowden, Hutchinson<br />

& Ross.<br />

49


เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ยั่งยืนสหรับที่อยู่<br />

อาศัยผู้มีรายได้น้อยในยุคเทคโนโลยีผันผวน<br />

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ<br />

ภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง / poon.kh@kmitl.ac.th<br />

บทคัดย่อ<br />

บทความนี้เป็นการค้นคว้าเพื่อเสาะหา “มิติอื่น” ของความยั่งยืน (the other dimension of<br />

sustainability) ที่เหมาะสมกับบริบทของสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ของประเทศที่อยู่ใน<br />

สถานภาพที่ถูกเรียกว่า “ประเทศกำลังพัฒนา” โดยเฉพาะประเทศไทย เนื่องจากสถานการณ์ของโลก<br />

ที่ถูกกำหนดโดยประเทศและกลุ่มประเทศที่คุมสถานะทางเศรษฐกิจของโลก ได้สร้างเงื่อนไขในการ<br />

สร้างความผูกพันระหว่างประเทศดังกล่าวต้องนำเข้าความรู้และเทคโนโลยีในนามของวาทกรรมการ<br />

พัฒนาที่ยั่งยืน ทำให้เกิด “ช่องว่าง” ระหว่างนำเข้าเทคโนโลยีและการสานต่อความรู้เดิม โดยเฉพาะ<br />

ในประเด็นด้านที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย และความเชื่อมโยงระหว่างความเป็นเมืองและชนบท<br />

โดยเนื้อหาของบทความจะตรวจสอบช่องว่างดังกล่าว โดยมิได้ปฏิเสธเทคโนโลยีสมัยใหม่แต่มี<br />

วัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความ “สวมพอดี” ของเทคโนโลยีดังกล่าวกับบริบทของความจริงทางสังคม<br />

ในแง่มุมของ ความพร้อมต่อการพัฒนา เนื่องจากบริบทดังกล่าวยังคงมีโอกาสในการรับและสานต่อ<br />

เข้ากับระบบภูมิปัญญา ความรู้เดิม ทั้งนี้จากการทบทวนเอกสารจะพบว่า มีความพยายามอธิบาย<br />

การนำเข้าเทคโนโลยีกับบริบทของประเทศกำลังพัฒนาในต่างรูปแบบกัน เช่น การออกแบบ การวิจัย<br />

และนวัตกรรมที่ปรับใช้ในบริบทประเทศที่ต่างกัน โดยยังขาดมิติของ ความพร้อมของสังคม ที่สามารถ<br />

อธิบายร่วมกันได้กับปัจจัยทางกายภาพ และสามารถเสนอแนวทางสำหรับอนาคตที่เหมาะสมและ<br />

ตอบคำถาม มิติอื่นของความยั่งยืน ได้ซึ่งการผสานระหว่างการนำเข้าเทคโนโลยี ภูมิปัญญาเดิม และ<br />

ความพร้อมของสังคม จะเป็นการผสานช่องว่างที่ยังถ่างกว้างของการพัฒนาที่ยั่งยืน<br />

คสคัญ : เทคโนโลยี นวัตกรรม ที่อยู่อาศัย ความยั่งยืน เมืองและชนบท<br />

บทน : ช่องว่างที่รอการเติมเต็ม<br />

หากเราตรวจสอบสถิติในด้านที่อยู่อาศัยไม่ว่าเฉพาะในประเทศไทย หรือขยายกว้างออกไป<br />

ทั่วโลกก็ดีเราจะพบและตระหนักถึงข้อสำคัญประการหนึ่งที่ว่า ยังมีสัดส่วนของประชากรจำนวนมาก<br />

ที่มีฐานะยากจน และส่วนหนึ่งในบรรดาประชากรเหล่านั้นอาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะ<br />

สถาปัตยกรรมแบบธรรมดาสามัญที่ถูกสร้างขึ้นอย่างเรียบง่าย ซึ่งมีสัดส่วนที่มากกว่าอาคารและ<br />

สถาปัตยกรรมที่ถูกออกแบบโดยสถาปนิกและก่อสร้างโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ถึงแม้ว่าสัดส่วน<br />

ประชากรส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้อาศัยอยู่ในเขตเมือง ประกอบกับการคาดการณ์ว่าภายในปี2050 จะ<br />

มีประชากรที่อาศัยในเขตเมืองจะเพิ่มมากขึ้นอีกประมาณ 2,500 ล้านคน (United Nations, 2018)<br />

คำถามที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่าง เมือง ชนบท และประชากรนี้ เป็นคำถามที่น่าสนใจต่อคำตอบ<br />

ของความยั่งยืนในอนาคต<br />

การพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและการนำเข้าเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง มาตรฐานในการขอ<br />

อนุญาตในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนที่แผ่ขยายออกไปในพื้นที่ชนบท หรือระบบการผลิตทาง<br />

อุตสาหกรรมสำหรับวัสดุในการก่อสร้าง สิ่งเหล่านี้เป็นตัวเร่งให้เกิดช่องว่าง ที่ทำให้การมีที่อยู่อาศัย<br />

เป็นเรื่องที่ยากที่จะดำเนินการได้ด้วยตัวเองหรือกลุ่มคนเล็ก ๆ ในสังคม ทั้งในสังคมชุมชนชนบท และ<br />

ชุมชนในเขตเมืองให้มีความสมดุลกัน<br />

50


โลกที่ผันผวน<br />

นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม การพัฒนา ได้สถาปนาตัวเองไปพร้อม ๆ กับกลไกในระบบ<br />

เศรษฐกิจใหม่แบบทุนนิยม ที่ผ่านมาคำว่า พัฒนา ได้เป็นมาตรวัดในการจัดกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่ม<br />

ประเทศต่างๆในระบบโลก กลไกนี้เห็นได้อย่างชัดเจนหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ได้มีการแบ่ง<br />

กลุ่มประเทศเป็นกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Countries) กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Developing<br />

Countries) และกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา (Underdeveloped Countries) การจัดระเบียบ<br />

โลกใหม่นี้อาศัยอำนาจของวาทกรรมการพัฒนาดังกล่าว โดยมีความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจโลก<br />

อย่างใกล้ชิด จนแทบจะเรียกได้ว่า เศรษฐกิจเติบโตได้จากการพัฒนา ถึงแม้ว่า การพัฒนา ในตัวมัน<br />

เองมีทั้งในแง่มุมของการสร้างความรู้เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า ซึ่งหมายรวมทั้งด้านสังคม<br />

และคุณภาพชีวิต แต่จากพื้นหลังที่การพัฒนาได้ถูกสถาปนาตัวเองจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและ<br />

ผูกติดการพัฒนากับการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ในกระแสปัจจุบันการจำแนกพื้นที่ต่าง ๆ ในโลกได้<br />

เปลี่ยนแปลงไป ในเอกสาร Raisina Files 2018 : Debating Disruption in the World Order ที่ตั้ง<br />

คำถามกลับไปยังโลกตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาว่ายังเป็นผู้เล่นหลักในกระแส Disruption อยู่<br />

หรือไม่ ในขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนกลับกลายมาเป็นผู้เล่นหลักในระดับนานาชาติ (China as<br />

a Disruptor of the International Order) รวมถึงการเปลี่ยนผ่านของกลุ่มประเทศใน Indo-Pacific ไป<br />

สู่การสถาปนาอำนาจใหม่ทางการเมือง โดยเฉพาะอินเดีย<br />

51


ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่<br />

12 มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการยกระดับประเทศไทยให้ข้ามพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งส่งผลในภาพ<br />

รวมของการยังเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ในขณะเดียวกันในนโยบายดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะไม่ทิ้ง<br />

ใครไว้ข้างหลัง ต้องการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจน ซึ่งยึดโยงถึงสิทธิการเข้า<br />

ถึงความต้องการพื้นฐานต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านที่อยู่อาศัย ในระบบเมืองที่เน้นการพัฒนาโครงสร้าง<br />

พื้นฐานและสาธารณูปโภคจากความหนาแน่นของเมืองเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่คุ้มค่า ทำให้ที่ดินใน<br />

บริเวณใกล้แหล่งสาธารณูปโภคมีราคาถีบสูงขึ้น และทำให้ผู้มีรายได้น้อยถูกผลักออกไปห่างไกลต่อ<br />

การเข้าถึงที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่เมือง สร้างความเหลื่อมล้ำที่ไม่สามารถเข้าถึงที่ดินและที่อยู่อาศัยได้<br />

ทำให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยจำเป็นต้องมีการบุกรุกพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ว่างเปล่าที่ยังไม่มีการพัฒนา<br />

เพื่อสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวและเกิดเป็นชุมชนแออัดในที่สุด และเกิดเป็นวงจรการไล่รื้อไม่จบสิ้น (ณัฐ<br />

วุฒิ อัศวโกวิทวงศ์, 2562) ในขณะเดียวกันการพัฒนาของเมืองใหญ่ก็ดึงเอาประชากรในชนบทพา<br />

เข้าไปอยู่ในเมืองใหญ่ และอาศัยพึ่งพาในลักษณะเป็นแรงงานที่หล่อเลี้ยงเมืองใหญ่ให้คงอยู่ไปได้<br />

ที่ผ่านมามีความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย<br />

ของผู้มีรายได้น้อย Abd el Hamid (1981) ได้เคยเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้<br />

น้อยทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา กล่าวเป็นแนวทางใหญ่ๆ 2 แนวทาง ได้แก่<br />

การใช้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขปัญหาสภาพโครงสร้างของที่อยู่อาศัยในชุมชนในเขตเมืองให้เอื้อต่อการ<br />

อยู่อาศัยที่มั่นคง และแนวทางในการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพสูง<br />

อย่างรวดเร็วเพื่อรองรับที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาทางสังคมความ<br />

เป็นอยู่ในชุมชนแออัด รวมทั้งที่อยู่อาศัยในลักษณะใหม่ก็กลับก่อให้เกิดปัญหาสลัมทางตั้ง ในช่วง<br />

เวลาไม่นาน มีงานศึกษาวิจัยมากมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและประเด็นด้านที่อยู่อาศัยของผู้มีราย<br />

ได้น้อย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาแนวทางการเลือกใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่เหมาะสมกับผู้อยู่อาศัยที่<br />

มีรายได้น้อย-ปานกลาง ของการเคหะแห่งชาติ(2560) งานวิจัยในกลุ่ม Affordable Housing ของนัก<br />

วิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) หรือข้อเสนอใหม่ ๆ ในด้านรูปแบบของที่อยู่อาศัย ไม่ว่า<br />

จะเป็นบ้าน Knock Down หรือแม้แต่การใช้ 3-D Printing Technology สำหรับการก่อรูปที่อยู่อาศัย<br />

สำหรับผู้มีรายได้น้อย หากแต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าประเด็นเชิงช่องว่างที่สำคัญคือความ<br />

พยายามดังกล่าว เป็นไปในลักษณะจัดเตรียมจัดหา (Providing) แต่ยังมิได้เป็นไปในลักษณะเอื้อต่อ<br />

ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง (Enabling) ของผู้มีรายได้น้อยมากนัก<br />

52


ตามหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในยุคเทคโนโลยีผันผวน<br />

ในปัจจุบันปรากฏการณ์ Disruptive Technology ได้แผ่ขยายและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา<br />

นวัตกรรมใหม่ ๆ มากมาย โดยเฉพาะด้าน “เทคโนโลยี” เทคโนโลยีเป็นเรื่องดีหากใช้อย่างเหมาะสม<br />

เทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดไปไกล ตอบรับและขยายฐานความมั่งคั่งเฉพาะของกลุ่มคนหนึ่งในสังคม ถึง<br />

แม้ว่าเทคโนโลยีในตัวมันเองมีลักษณะในเชิงเศรษฐกิจ คือ สามารถสร้างงานและขยายโอกาสทางการ<br />

ผลิต แต่อย่างไรก็ดี หากเทคโนโลยีคือความรู้ที่ผ่านการนำเข้ามา หรือแม้กระทั่งคิดค้นได้เองแต่เป็น<br />

ความรู้ที่ขยายวงไปได้แค่คนเพียงบางกลุ่มนั้น อาจไม่ใช่เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับบริบทของ<br />

ประเทศที่กำลังพัฒนาที่กำลังแสวงหาอนาคตอันยั่งยืน และเมื่อไหร่ก็ตามที่สัดส่วนประชากรหมู่มาก<br />

ของประเทศต้องหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีที่ไม่ได้เป็นของตัวเอง หรือเป็นเทคโนโลยีที่สร้างช่องว่างต่อ<br />

การช่วยเหลือตัวเอง ความผันผวนนี้มีโอกาสที่จะง้างถ่างช่องว่างของโอกาสในการเข้าถึงการมีที่อยู่<br />

อาศัยของผู้มีรายได้น้อยให้มากขึ้น หากไม่สามารถบูรณาการเข้ากับระบบของการพึ่งพาตัวเองของผู้<br />

ด้อยโอกาส ระบบโครงสร้างของสังคมจะขับเคลื่อนไปได้อย่างไร หากคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่<br />

สามารถพึ่งพาตัวเองได้แม้กระทั่งปัจจัยพื้นฐานที่บุคคลพึงมี หากเทคโนโลยี คือ อำนาจที่แฝงฝังมา<br />

กับความรู้ เป็นวาทกรรม (discourse) รูปแบบหนึ่ง เมื่อใดก็ตามที่เราหลงใช้ และนำเข้าความรู้นั้น<br />

โดยปราศจากการคำนึงถึงความพอดี และความพร้อมของสังคมในบริบทของเราเองแล้ว เมื่อนั้นการ<br />

ครอบงำทางความรู้ (colonization of knowledge) ก็คงขยายปริมณฑลออกไปจนกลืนรากฐานของ<br />

เราไปในที่สุด (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2545)<br />

Mahatma Gandhi เป็นผู้มีแนวคิดสนับสนุนเทคโนโลยีท้องถิ่นขนาดเล็กที่เรียบง่าย ที่เอื้อต่อ<br />

การดำรงอยู่ของหมู่บ้านด้วยการพึ่งพาตนเอง Gandhi ให้คุณค่าที่มีอยู่ในตัวของเทคโนโลยีที่เรียบง่าย<br />

ที่ใช้กันในหมู่บ้าน คือ จักรเย็บผ้า (sewing machine) เป็นเครื่องมือ (หรือเครื่องจักรที่เรียบง่ายที่สุด)<br />

หรือแม้กระทั่งจักรยาน ที่เป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงอุตสาหกรรม แต่มีความส่งเสริมต่อความสัมพันธ์ระหว่าง<br />

มนุษย์และแผ่นดิน Gandhi ได้ให้แนวคิดที่ว่า เทคโนโลยี ควรจะส่งเสริมศักยภาพ ความเท่าเทียมกัน<br />

ของผู้คนในวงกว้าง มิใช่รูปแบบการผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่ให้มูลค่าต่อผลการผลิตมากกว่าคุณค่า<br />

ของแรงงานในการผลิต (มหาตมา คานธี, 2524)<br />

E. F. Schumacher (1973) เจ้าของหนังสือที่ถูกยกย่องให้เป็น 1 ใน 100 เล่มที่มีอิทธิพลต่อ<br />

สังคมหลังสงครามโลกครั้งที่2 Small is Beautiful : Economics as if People Mattered ในปาฐกถา<br />

ชื่อ Technology for a Democratic Society ก่อนหน้าที่จะเสียชีวิตเพียง 1 วัน Schumacher ได้พูดใน<br />

ที่ประชุมนานาชาติที่เมืองคอกซ์ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ว่า ไม่เฉพาะแต่ประเทศที่กำลังพัฒนาเท่านั้น<br />

หากแต่ประเทศที่เป็นอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่แล้วก็จะต้องเริ่มค้นคว้าสรรค์สร้างเทคโนโลยีที่สอดคล้อง<br />

กลมกลืนกับประชาชนและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น และพึ่งพาทรัพยากรชนิดที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้<br />

ใหม่ให้น้อยลง เขาได้ตั้งคำถามว่า ถึงเวลาแล้วมิใช่หรือ ที่เราจะต้องใช้ความพยายามอย่างจริงจังใน<br />

การสร้างเรือชูชีพ ในรูปแบบของเทคโนโลยีขนาดเล็ก ง่าย และไม่รุนแรง<br />

การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม<br />

Arne Naess ผู้บุกเบิกแนวคิดสายนิเวศวิทยาแนวลึก ในหนังสือ Ecology, Technology, and<br />

Lifestyle ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีแบบอ่อน (soft technology) ที่เติมเต็มบทบาทของเทคโนโลยีที่ทำให้<br />

ความต้องการของมนุษย์สมบูรณ์และมีความสะดวกขึ้นโดยที่ไม่กระทบต่อสภาพนิเวศและคุณค่าทาง<br />

วัฒนธรรมของมนุษย์ถึงแม้ว่าทั้งสองประเด็นจะดูเหมือนมีความขัดแย้งและไม่สามารถไปด้วยกันได้ แต่<br />

Arne Naess ก็ได้ยกตัวอย่างที่เป็นไปได้โดยอ้างอิงถึงข้อเสนอของ Johan Galtung ที่เสนอให้มีการผสม<br />

ผสานกันระหว่างเทคโนโลยีเพื่อสร้างทางเลือกที่อยู่บนความเป็นจริงและปฏิบัติได้จริงเป็นแนวทางของ<br />

เทคโนโลยีที่เหมาะสมโดยเทียบเคียงที่จะใช้ทั้ง โครงสร้างแบบ alpha (ที่มีขนาดใหญ่ รวมศูนย์ และมี<br />

ความเป็นลำดับศักย์) กับโครงสร้างแบบ beta (เล็กนั้นงาม) ในด้านที่อยู่อาศัยเขาได้เสนอว่า ในระดับ<br />

alpha ควรจะมีการสร้างธุรกิจบ้านพักอาศัยที่เหมาะสม ที่สร้างงานให้แก่ชุมชนที่จะแก้ปัญหาการเข้ามา<br />

หางานทำในเมืองใหญ่ ส่วนในระดับ beta นั้นควรมีการรื้อฟื้นรูปแบบของอาคารพื้นถิ่น ที่ก่อสร้างด้วย<br />

วัสดุท้องถิ่นและช่างฝีมือท้องถิ่น รวมไปถึงมีการรวบรวมที่ดินที่เหมาะสมสำหรับที่อยู่อาศัย (Galtung,<br />

1978 อ้างใน Naess, 1989: 98-99) ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่นวัตกรรมเพื่อสังคมได้ต่อการเกิดข้อขัดแย้ง<br />

ของการนำเข้าเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศโลก<br />

53


Paul Oliver เป็นผู้ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกในการศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ได้ให้ข้อคิด ที่สาม<br />

เพราะว่าเทคโนโลยีนั้นเกิดความขัดแย้งกับบริบทดั้งเดิมทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นคุณค่าที่<br />

ควบคุมสังคมนั้นอยู่ จึงเกิดการต่อต้านต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะพฤติกรรมที่สั่งสมมายาวนานนั้น<br />

เป็นคุณค่าทางวัฒนธรรม และเมื่อเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่นั้นเข้ามานั้นตกลงกันไม่ได้และสวม<br />

กันไม่ลงกับรูปแบบของวิถีชีวิตของผู้คน ดังนั้นต้องพึงสำนึกว่าสิ่งใหม่ที่เข้ามานั้นจะสร้างระดับความ<br />

เปลี่ยนแปลงแค่ไหน ทั้งหมดนี้การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีความจำเป็นต่อ<br />

การใช้ทรัพยากร การส่งต่อ และการทำให้มันยังคงอยู่สำหรับการใช้ประโยชน์ต่อไป เพื่อที่จะให้รูป<br />

แบบวิถีชีวิตที่อยู่กับวัฒนธรรมนั้นมีความต่อเนื่องและอยู่รอดต่อไปได้ (Oliver, 2006)<br />

กระแสขับเคลื่อนในปัจจุบันสู่แนวทางที่ยั่งยืน<br />

ก่อนเสียชีวิต E. F. Schumacher ได้ร่วมก่อตั้งองค์กรการกุศลขึ้นมาเพื่อพัฒนาและต่อยอด<br />

แนวความคิด เทคโนโลยีระดับกลาง ชื่อ Intermediate Technology Development Group ในทศวรรษ<br />

ที่ 1970 จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการต่อยอดความรู้โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาความ<br />

ยากจน ในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะเรื่องที่อยู่อาศัย ITDG ได้เข้าให้ความช่วยเหลือโครงการ<br />

ระดับรากหญ้าในหลายประเทศ นอกจากที่อยู่อาศัยแล้วยังสัมพันธ์ไปสู่เรื่องการผลิตที่ยั่งยืน และ<br />

พลังงานสะอาด จนกลายมาเป็นองค์กรระดับนานาชาติ มีสำนักงานครอบคลุมในทุกทวีป จนกระทั่ง<br />

ในปี 2005 ITDG ได้เปลี่ยนชื่อองค์กรมาเป็น Practical Action เป็นต้นมา และใช้เวลากว่า 25 ปี ผลัก<br />

ดันโครงการ Practical Action’s Shelter Programme ภายใต้หลักการ การเพิ่มทางเลือกของเทคโนโลยี<br />

ที่สามารถเข้าถึงได้เพื่อการมีที่อยู่อาศัยราคาไม่แพง รวมไปถึงการส่งเสริมช่างท้องถิ่นในกระบวนการ<br />

ดังกล่าวเพื่อกระตุ้นให้เกิดรายได้การส่งเสริมให้เกิดโอกาสในการก่อตั้งองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลาง<br />

ในการผลิตวัสดุก่อสร้างในท้องถิ่น ที่สำคัญก็คือ ขจัดนโยบายและมาตรฐานที่เป็นอุปสรรคในการมีที่<br />

อยู่อาศัยของชาวบ้าน โดยการเสนอมาตรฐานที่เป็นทางเลือกที่เหมาะสม<br />

54


นอกจากนี้ในวงการวิชาการด้านสถาปัตยกรรมและการก่อสร้างที่ยั่งยืน มิติของการพัฒนาที่<br />

ยั่งยืนในงานสถาปัตยกรรมที่ต่อยอดมาจากองค์ความรู้ที่เป็นรากฐานทางวัฒนธรรม ที่เน้นย้ำถึงความ<br />

จำเป็นของการคิดค้นนวัตกรรมว่าสามารถต่อยอดไปสู่สิ่งใหม่ได้เพื่อการถ่ายทอดในวงกว้างสู่สภาพ<br />

สังคมเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ สถาปนิก Cesar Martinell ได้กล่าวไว้ใน TEDxEsade อย่างน่ารับฟังใน<br />

หัวข้อ Disruptive Technology for Affordable Housing ว่าในการออกแบบสถาปัตยกรรมในโลกที่<br />

เทคโนโลยีผันผวนนี้เราอาจต้องการมากกว่าความเป็น Disruptor แต่เป็นผู้นำนวัตกรรมการสร้างสรรค์<br />

นั้นไปสู่การปฏิบัติต่อสังคม (Implementer) เราสามารถสร้างความเรียบง่ายให้คุณภาพชีวิตของเรา<br />

มีความยั่งยืน โดยกลยุทธ์ที่เหมาะสม (เทคโนโลยีระดับกลาง) เพื ่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมทาง<br />

สถาปัตยกรรมได้อย่างไร หากเมื่อพิจารณาตัวนวัตกรรมอย่างจริงจัง ตัวนวัตกรรมเองจะเป็นตัวขยาย<br />

ถ่างช่องว่าง ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ประพฤติเช่นนั้นเองด้วยหรือไม่ หรือหากจะกล่าวให้ชัดก็คือ<br />

นวัตกรรมจะเป็นเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมเสียเองหรือไม่สภาวะความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ และปัจจัย<br />

สำคัญ คือ 4) มิติทางสังคม การมีส่วนร่วม และความเข้มแข็งของชุมชนผ่านรูปแบบของกลุ่มองค์กรชุมชน<br />

กลุ่มออมทรัพย์ซึ่งมีส่วนสำคัญที่จะค้ำจุนอัตลักษณ์ทางสังคม แรงเกาะเกี่ยวทางสังคม การสร้างความ<br />

เข้มแข็ง และสำนึกความเป็นเจ้าของร่วมของชุมชน<br />

บทสรุป<br />

ข้อคิดเห็นที่ท้าทายต่อการต่อยอดแนวความคิดการนำเทคโนโลยีระดับกลางไปสู่เทคโนโลยีที่<br />

เหมาะสมด้านที่พักอาศัยนั้น คือ เมื่อการต่อยอดดังกล่าวเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่หากย้อนกลับไป<br />

พิจารณาในหัวข้อการถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมคือสิ่งใหม่สิ่งที่ท้าทายคือจะทำอย่างไรให้นวัตกรรม<br />

สวมได้ลงกับบริบทของสังคมวัฒนธรรม และเอื้อให้เกิดการปรับตัวยอมรับเพื่อเป็นนวัตกรรมเพื่อสังคม<br />

ในที่สุด และไม่ไปสลายความต่อเนื่องและความหลากหลายทางวัฒนธรรม นั่นเป็นสิ่งที่นวัตกรรมระบบ<br />

การก่อสร้างสำเร็จรูปทำไม่ได้ข้อเสนอของ Smets and Lindert (2016) ได้ให้ข้อสรุปที่นำไปสู่ความเป็น<br />

ไปได้อย่างยั่งยืนของที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยตามกรอบของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable<br />

Development Goals) ได้แก่ 1) ความยั่งยืนจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้หากวิธีคิดเชิงนิเวศและการใช้<br />

พลังงานไม่ถูกนำมาพิจารณา 2) เทคโนโลยีและระบบการผลิตที่เหมาะสมมีบทบาทส ำคัญต่อความมั่นคง<br />

ของที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะด้านภัยพิบัติ3) มิติทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากระบบทุนนิยมที่ส่งผลต่อ<br />

สภาวะความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ และปัจจัยสำคัญ คือ 4) มิติทางสังคม การมีส่วนร่วม และความเข้ม<br />

แข็งของชุมชนผ่านรูปแบบของกลุ่มองค์กรชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ ซึ่งมีส่วนสำคัญที่จะค้ำจุนอัตลักษณ์<br />

ทางสังคม แรงเกาะเกี่ยวทางสังคม การสร้างความเข้มแข็ง และสำนึกความเป็นเจ้าของร่วมของชุมชน<br />

หากเราต้องการจะตรวจสอบความรู้และงานสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชนตามแนวทางของเทคโนโลยี<br />

ที่เหมาะสม เราคงต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราตกอยู่ในอำนาจของเทคโนโลยีสมัยใหม่หรือกำลังนำพา<br />

55


อำนาจของการพัฒนาเข้าไปครอบงำวัฒนธรรมชุมชนหรือโครงสร้างทางสังคมของชุมชนหรือไม่หาก<br />

ตรวจสอบดูให้ดีแล้ว สลัมในเขตเมืองก็มีโครงสร้างบางอย่างที่ประคับประคองรูปแบบของชุมชน<br />

ลักษณะนั้นไว้ได้บางครั้งนวัตกรรมที่ดีก็อาจเผลอเข้าไปควบคุมแทรกแซงโครงสร้างเหล่านั้นไปอย่าง<br />

ไม่ได้ตั้งใจ ในอนาคตอาจเกิดนวัตกรรมทางสังคมที่เอื้อต่อการเกื้อกูลกันในระบบชุมชน Application<br />

ที่เชื่อมโยงชีวิตในชนบทสู่ชีวิตในเมือง การช่วยเหลือด้านความรู้วัสดุอุปกรณ์ในการจัดการด้านที่อยู่<br />

อาศัย อาชีพ และปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยให้สามารถตั้งรับ ปรับตัว และอยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม<br />

หากเราเป็นคนช่างสังเกต จะพบว่าชาวบ้านนั้นปรับตัวเก่ง เราได้เห็นวัสดุสมัยใหม่ เช่น สังกะสี<br />

กระเบื้องแผ่นเรียบ แทรกตัวอยู่ตามสถาปัตยกรรมระดับชาวบ้าน เราเห็นการยอมรับและปรับตัวเข้า<br />

กับความต้องการของปัจจุบัน หากตัดทัศนะคติของสถาปนิกออกไป เราคงต้องยอมรับและเคารพใน<br />

การดำรงอยู่ของลักษณะที่เป็นอยู่นี้ ที่ยังคงพบเห็นได้โดยทั่วไปในสังคมไทย และเรียนรู้ต่อยอดเพื่อ<br />

เสาะหาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม พอเพียง เติมเต็มมิติของความยั่งยืนให้แก่วงการ<br />

สถาปัตยกรรม เป็นสถาปัตยกรรมแห่งความเท่าเทียมกัน<br />

บรรณานุกรม<br />

การเคหะแห่งชาติ. 2560. โครงการศึกษาแนวทางการเลือกใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่เหมาะสมกับผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้น้อย-ปานกลาง.<br />

กรุงเทพฯ: การเคหะแห่งชาติ<br />

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. 2545. วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิ<br />

ภาษา.<br />

มหาตมา คานธี. 2524. คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง<br />

วิภาดา กิตติโกวิท. 2530. เทคโนโลยีสำหรับสังคมประชาธิปไตย. แปลจาก Technology for a Democratic Society : Small is<br />

Possible. เอกสาร เย็บเล่ม.<br />

อี. เอฟ. ชูเมกเกอร์. 2528. จิ๋วแต่แจ๋ว เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.<br />

Abd el Hamid, M. 1981. Low-Cost Housing: Problems in Technological Innovation and Rehabilitation Techniques. Housing,<br />

The Impact of Economy and Technology. Elsevier Inc.<br />

Naess, Arne. 1989. Ecology, community and life style: Outline of an Ecosophy. Cambridge: Cambridge University Press.<br />

Oliver, Paul. 2006. Built to Meet Needs : Cultural Issues in Vernacular Architecture. Abingdon: Routledge.<br />

Schumacher, E.F., 1973. Small is Beautiful : A Study of Economics as if People Mattered. London: Blond & Briggs.<br />

Smets, P. and Lindert, P. 2016. Sustainable housing and the urban poor. International Journal of Urban Sustainable Devel<br />

opment. Volume 8, Issue 1.<br />

United Nations. 2019. World Urbanization Prospects: The 2018 Revision. New York: Department of Economic and Social<br />

affairs.<br />

56


Technology and Innovation for People’s Dwellings in Disruptive<br />

Technology Society<br />

Assistant Professor Poon Khwansuwan, Ph.D.<br />

Faculty of Architecture, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang / poon.kh@kmitl.ac.th<br />

Abstract<br />

This essay documents a study carried out in search of the other dimension of sustainability; one that corresponds<br />

with the economic, social and cultural context of countries which are classified as ‘developing’, in particular that of Thailand.<br />

The existing global economic trends and conditions, most of which have been dictated and manipulation by a small<br />

group of powerful nations, are shaping the current sustainable development discourse in a way that obligates the import<br />

of knowledge and technological advancements by developing countries. This creates a ‘gap’ between the imported technology<br />

and existing knowledge, particularly concerning low-income housing and the connection between urbanism and<br />

ruralism. The content of this essay aims to examine such a gap, and while it in no way denies the role and contribution<br />

modern technology has in achieving sustainable development, it focuses on the importance of ‘fitting’ new technology<br />

within the current social context and reality of a society, as well as the assessment of a country’s readiness for new<br />

development. The current context does grant an opportunity for technology to be accepted and integrated as a part of<br />

existing wisdom and knowledge. The literature shows that there have been many attempts, using different approaches<br />

and methods of design, research and innovation, to incorporate technology within local contexts of developing countries.<br />

However, such attempts still lack understanding of social dimensions, or a particular society’s own preparedness and<br />

willingness to accept new technologies, which along with other physical factors, may present possibilities or appropriate<br />

tendencies for successful future development. The integration of imported technology, existing local wisdom, and society’s<br />

preparedness will help bridge the relatively wide gap existing in sustainable development discourse and practice, as well<br />

as help to answer to the questions surrounding the other dimension of sustainability<br />

Keywords: Technology, innovation, dwelling, sustainability, urban, rural<br />

Introduction: A gap waiting to be bridged<br />

The housing-related statistics, whether in Thailand or<br />

other places around the world, lead to an important finding<br />

and realization that the majority of the population is still living<br />

in poverty. A part of the population is living in rudimentary<br />

homes which are constructed using very basic construction<br />

methods and whose architectural structure is poor. The ratio<br />

of these rudimentary living spaces is higher than those that<br />

are systematically designed by architects and constructed<br />

using modern technology. Considering the majority of the<br />

world’s population lives in urban areas, with the estimation<br />

for that number to increase an additional 2.5 billion people by<br />

2050 (United Nations, 2018), the relationship between cities,<br />

rural areas and population is highly interesting and important<br />

for understanding the future of sustainability.<br />

The development of living spaces and the import of<br />

construction technology, new construction standards and<br />

housing permissions as residential areas expand into rural<br />

areas, as well as the industrial production systems being developed<br />

for the manufacture of construction materials, all<br />

contribute to a widening housing gap in which individuals or<br />

small groups of individuals have difficulty attaining homeownership,<br />

both in urban and rural contexts.<br />

The Disruptive World<br />

Since the industrial revolution, the notion of ‘development’<br />

has established itself alongside the mechanisms of the<br />

capitalist economy. In the past, the term ‘development’ has<br />

been used to measure the classification of countries in the<br />

modern world order. Such a mechanism became more obvious<br />

after the Second World War, when countries were grouped<br />

into ‘Developed Countries’, ‘Developing Countries’ and ‘Underdeveloped<br />

Countries’. This new world order relies on the<br />

57


Today, the Disruptive Technology phenomenon has expanded<br />

and spawned many new innovations. Technology is a great<br />

thing if used appropriately and wisely. However, progressive<br />

technologies correspond with and lay the groundwork for the<br />

wealth creation of only a small group of people in society.<br />

While technology in itself possesses an economic characteristic<br />

for its ability to create jobs and expand production opportunities,<br />

technology as knowledge that is imported or invented,<br />

if restricted to only certain groups of people to access,<br />

may not be considered a suitable technology for the context<br />

of a developing country that is looking to build a sustainable<br />

future. Once the majority of the population becomes reliant<br />

on technologies that aren’t inherently theirs, and technology<br />

ends up widening the gap between people and their ability to<br />

be self-dependent, there is an opportunity for such disruption<br />

to further lessen the chance of owning a home for people with<br />

low income. If technology does not integrate itself to the<br />

self-dependent system of the underprivileged, how can a society’s<br />

structural system continue to function with a majority<br />

of the population still unable to reliably achieve even fundapower<br />

of such development discourse and is closely associated<br />

with the global economic system. The economy itself grows<br />

based on these development categories, as it is dependent on<br />

the creation and exchange of knowledge (often in the direction<br />

of developed to developing or underdeveloped nations) that<br />

eventually leads to changes in society, and the eventual economic<br />

growth and increase in quality of life. However, since<br />

the term ‘development’ was established in the post-Industrial<br />

Revolution era, there has been a change in the current global<br />

order regarding the classification of the world’s countries.<br />

Raisina Files 2018 : Debating Disruption in the World Order<br />

asks back to the West, particularly the United States, whether<br />

it is still the key player in the ‘Disruption’ movement, as the<br />

People’s Republic of China has achieved the status of a ‘Disruptor<br />

of the International Order’, and other countries in the<br />

Indo-Pacific region, specifically India, have transitioned into<br />

the foundation of the new political power structure.<br />

In Thailand’s 20 Year National Strategic Plan and the<br />

Twelfth National Economic and Social Development Plan, the<br />

country set a clear goal in improving its ability to escape the<br />

middle income trap, which has a significant effect on the<br />

country’s image as a developing country. While such policies<br />

aim to achieve this goal, they also desire to do so without<br />

leaving anybody behind, setting out to reduce the gap between<br />

the rich and the poor, which involves the right to access different<br />

fundamental needs, especially housing. However, in an<br />

urban system that puts significant emphasis on the development<br />

of infrastructure and public utilities, and basing such<br />

investments on such indicators as urban population density,<br />

land prices have skyrocketed, pushing people with a low income<br />

further away from access to urban living space, and<br />

making the inequality in access to land and homeownership<br />

even greater. As a result, it forces people with low income to<br />

invade public spaces and undeveloped urban spaces, using<br />

them as their temporary dwellings, ultimately leading to the<br />

development of slum areas and an endless cycle of eviction<br />

(Nuttawut Asawakovitwong, 2019). Meanwhile, the further<br />

development of big cities attracts an influx of rural population,<br />

as they become the labor force that keeps the urbanized area<br />

of the country alive and running.<br />

In the past, there have been several attempts to incorporate<br />

technologies and innovations to help solve the housing-related<br />

problems among people with low incomes. Hamid<br />

(1981) proposes two major approaches for the dilemma in<br />

both developed and developing countries. The first approach<br />

revolves around the use of technology to help solve the structural<br />

conditions of the living spaces in urban communities to<br />

enable a more stable and secure quality of living. The other<br />

entails the utilization of construction technology to build<br />

large-scale, and high-quality living spaces within a shorter<br />

amount of time. Nevertheless, these proposed methods have<br />

not been able to solve social problems or increase people’s<br />

well-being in slum areas, and evidence shows that over a relatively<br />

short period of time, these new housing typologies end<br />

up creating vertical slums. Indeed, a vast number of studies<br />

and researches have been conducted on the role of technology<br />

in low-income housing typologies and improving housing<br />

situations in the country. In one study on the use of suitable<br />

construction technology for low- to-middle income dwellers<br />

by The National Housing Authority (2017), conducted by affordable<br />

housing researchers at The Asian Institute of Technology,<br />

they proposed ideas on living typologies ranging from<br />

knock-down homes to 3-D Printing Technology for the<br />

construction of housing for people with low income. Nonetheless,<br />

these studies discuss the essence of the solution to<br />

bridge the ‘gap’ in the aspect of ‘providing’ rather than ‘enabling’<br />

people’s ability to be more self-reliant.<br />

A search for the right technology in<br />

the time of technological disruption


mental living factors. If we accept the discourse that technology<br />

is power disguised as knowledge, whenever we mistakenly<br />

use or import such knowledge without careful consideration<br />

in moderation, or the readiness of a society to absorb it, we<br />

risk the colonization of knowledge as it expands its territory,<br />

eventually consuming all of our roots and origin (Chairat<br />

Chareonsinolarn, 2545).<br />

Mahatma Gandhi was a strong advocate of simple,<br />

local technologies that enable local communities to be self-dependent<br />

and self-sufficient. Gandhi valued the virtue of sewing<br />

machines as a tool (one of the simplest mechanisms), as<br />

well as bicycles, which despite being a product of industrial<br />

production, are still virtuous for its ability to encourage the<br />

relationship between human beings and the land they live in<br />

and walk on. Gandhi viewed that technology should encourage<br />

the potential and equality of people, instead of industrial<br />

production which values the final products rather more than<br />

the labor behind its operation (Mahatma Gandhi, 1981).<br />

E. F. Schumacher (1973), the author of Small is Beautiful<br />

: Economics as if People Mattered, a book that has been<br />

listed in the 100 most socially influential books of the Post-<br />

World War 2 era, spoke at a lecture one day before his death<br />

titled Technology for a Democratic Society. What Schumacher<br />

said at the international forum held in Cox, Switzerland,<br />

was encouragement directed not only to the developing, but<br />

also developed and fully industrialized countries, to start<br />

searching and creating new technologies that better correspond<br />

with people’s way of living and the environment, while relying<br />

less on unrecyclable or renewable resources. He questioned<br />

whether this should now be the time for people to put serious<br />

thought and effort in designing and creating a lifeboat in the<br />

form of a small, simple and non-violent technology.<br />

Transmitting technologies and innovations<br />

Arne Naess, the pioneering figure of the ‘Deep Ecology’ philosophy,<br />

wrote in his book, Ecology, Technology, and Lifestyle,<br />

about the ability of soft technology to complete the role of<br />

technology in fulfilling humans’ demands more conveniently<br />

and without impact on ecological conditions and cultural<br />

values. While the two issues seem conflicting and unfitting,<br />

Arne Naess gives a possible example by referencing what Johan<br />

Galtung had proposed about the combination of technology<br />

for the development of practical and realistic alternatives,<br />

which can be used as an approach to achieve the right technology.<br />

The comparative application utilizes both the alpha<br />

structure (big, disempowering and hierarchical) and beta<br />

structure (small is beautiful).<br />

In terms of housing, Galtung proposes that the alpha<br />

structure should include the development of businesses and<br />

standardized accommodations that can generate jobs and solve<br />

the problem regarding the influx of rural labor in big cities.<br />

The beta structure involves the revitalization of vernacular<br />

buildings constructed using local materials and know-hows<br />

of local artisans, including collection of livable lands (Galtung,<br />

1978 cited in Naess, 1989: 98-99), which can be evolved into<br />

other possible social innovations.<br />

Paul Oliver, one of the prominent figures and pioneers<br />

of vernacular architectural study, provides interesting observations<br />

on the conflicts surrounding the import of technology<br />

for the development of developed and developing (or thirdworld)<br />

countries where technology becomes conflicted with<br />

the original social and cultural contexts and values controlling<br />

society. It leads to society’s opposition to changes, for certain<br />

inherited behaviors have transformed themselves into cultural<br />

values. Once technology, which is considered a new innovation,<br />

is introduced but unable to agree or correspond with<br />

people’s way of living, it is very important to contemplate the<br />

level of change a new innovation is going to bring. Ultimately,<br />

the transmission of technology can take place only once there<br />

is a need for a resource, which means certain things are passed<br />

on and nurtured to continue to exist and contribute their<br />

benefits, allowing the culturally derived way of life to keep on<br />

surviving. (Oliver, 2006).<br />

Before his departure, E.F. Schumacher co-founded<br />

Intermediate Technology Development Group (ITDG) in the<br />

1970s. The charity organization initially aimed to develop and<br />

further the intermediate technology concept, and is now<br />

working to help solve poverty, particularly housing-related<br />

problems, sustainable production and clean energy in developing<br />

countries through the use of appropriate technologies.<br />

ITDG has grown to become an international organization<br />

until it changed its name to Practical Action in 2005. The<br />

organization spent over 25 years propelling Practical Action’s<br />

Shelter Programme, which operates to increase the number<br />

of accessible technologies to help people with low income<br />

obtain ownership of low-cost housing. The programme also<br />

59


includes the role of local builders in the process to generate<br />

jobs and income. In addition, it promotes the establishment<br />

of small to medium enterprises (SMEs) that operate as the<br />

manufacturers of local construction materials. Most importantly,<br />

the program works to eliminate the policies and standards<br />

that obstruct people’s right and ability to own a house<br />

through the proposals of alternative standards.<br />

Within the academic arena where knowledge<br />

and discussions over sustainable architecture and<br />

construction take place, a dimension of sustainable<br />

development emphasizes the importance of innovation<br />

as something that can progress into new and<br />

greater things with significant impact on social and<br />

economic conditions at a large scale. Architect Cesar<br />

Martinell made an interesting observation in his<br />

TEDxEsade talk under the topic, ‘Disruptive Technology<br />

for Affordable Housing’, that architectural<br />

design in the world of disruptive technology requires<br />

more than just disruptors, but also implementers<br />

who are able to implement creative innovations in<br />

actual practice. Martinell also talks about how<br />

through simplicity, a sustainable way of life can be<br />

attained and sustained through the use of suitable<br />

strategies (intermediate technology) to enable the<br />

creation and development of architectural innovations.<br />

This begs the question, if we were to take a<br />

closer look, would an innovation become something<br />

that ends up widening the development and housing<br />

gap? Does modern technology, too, contribute to<br />

such an act. In other words, can ‘innovation’ end up<br />

being inappropriate technologies themselves?<br />

Conclusion<br />

The opinion that challenges the development or use of<br />

intermediate technology to create appropriate housing solutions<br />

comes from the idea that development is derived from<br />

a creation of new innovations. If we were to go back and rethink<br />

about transmitted technologies and innovations, the challenge<br />

is in how to enable an innovation to find its place in a social<br />

and cultural context of a place or society, and eventually adjust<br />

and be accepted as a social innovation while not destroying<br />

cultural consistency and diversity. This is something that<br />

ready-made construction innovations cannot do.<br />

Smets and Lindert (2016) propose a conclusion<br />

that leads to a sustainable possibility for housing<br />

solutions and low income people according to<br />

the UN Sustainable Development Goals: 1) Sustainability<br />

cannot be achieved if ecological thinking and<br />

the energy usage issue are not being considered and<br />

included 2) suitable technologies and manufacturing<br />

systems have a significant role on the stability of<br />

housing, particularly in a time of crisis 3) the economic<br />

dimensions and effects from the capitalist<br />

system influences the inequality of income, and the<br />

most important factor, 4) the social dimension,<br />

participation, and strength of a community in the<br />

form of community organization. They suggest<br />

savings groups are important vehicles to support<br />

social identity, social bond, strength and people’s<br />

awareness of their sense of ownership over a community<br />

they are a part of.<br />

If we are to examine the knowledge and community<br />

architecture according to an appropriate<br />

technological approach, it is perhaps time to question<br />

whether we are under the influence of modern<br />

technology, or whether we are manipulating a community’s<br />

cultural and social structure through the<br />

power of development. Urban slums also posses<br />

some sort of structures that hold a community of<br />

such nature together. At times, a good innovation<br />

ends up unintentionally controlling and interfering<br />

with these structures. In the future, there could be<br />

a social innovation that enables co-dependency<br />

within a community system, and an application that<br />

helps link urban and rural living together, or provide<br />

the knowledge, materials, tools, housing management,<br />

occupations and other factors that can help<br />

people prepare, adjust and coexist with changes. If<br />

one is observant enough, he or she can see how<br />

adaptive people can be from the way they use modern<br />

industrial materials such as galvanized corrugated<br />

sheets and tiles in the construction of rudimentary<br />

architecture. We have also witnessed<br />

people learn to accept and adjust to changing demands.<br />

With an attitude of an architect eliminated,<br />

we may have to learn to accept and respect the existence<br />

of this ongoing condition, which can still be<br />

found in every part of the country and the society,<br />

as we continue to learn to develop and search for<br />

new and better technologies and innovations that<br />

will be good and sufficient enough to complete the<br />

dimension of sustainability for the architectural<br />

industry, and eventually create the architecture of<br />

equality.<br />

60


References<br />

Abd el Hamid, M. 1981. Low-Cost Housing: Problems in Technological Innovation and Rehabilitation Techniques. Housing,<br />

The Impact of Economy and Technology. Elsevier Inc.<br />

Charoensinolarn. C. 2002. Development Discourse: Power, Knowledge, Truth, Identity and Otherness. Bangkok: Wipasa<br />

Publishing.<br />

Gandhi. M. 1981. Gandhiji on VILLAGES. Bangkok: Komolkeemthong Foundation.<br />

Kittikovit. W, translator. 1987. Technology for a Democratic Society : Small is Possible. (Monograph).<br />

Naess, Arne. 1989. Ecology, community and life style: Outline of an Ecosophy. Cambridge: Cambridge University Press.<br />

National Housing Authority. 2017. A Study on Appropriate Use of Construction Technology for Dwellers with Low to Middle<br />

Income. Bangkok: National Housing Authority.<br />

Oliver, Paul. 2006. Built to Meet Needs : Cultural Issues in Vernacular Architecture. Abingdon: Routledge.<br />

Schumacher, E.F., 1973. Small is Beautiful : A Study of Economics as if People Mattered. London: Blond & Briggs.<br />

Smets, P. and Lindert, P. 2016. Sustainable housing and the urban poor. International Journal of Urban Sustainable Development.<br />

Volume 8, Issue 1.<br />

United Nations. 2019. World Urbanization Prospects: The 2018 Revision. New York: Department of Economic and Social affairs.<br />

61


Symbiosis: ความสัมพันธ์เชิงเกื้อกูล<br />

ระหว่างสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม<br />

ผู้ช่วยศาตราจารย์.ดร.คัทลียา จิรประเสริฐกุล<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / archcyn@ku.ac.th<br />

นายดลเทพ เจตีร์<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / dolathep_chetty@hotmail.com<br />

บทคัดย่อ<br />

สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันในธรรมชาติอย่างไร สถาปัตยกรรมก็สามารถมี<br />

ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันได้เช่นเดียวกัน บทความนี้เป็นการ<br />

ถ่ายทอดการนำปรัชญา Symbiosis architecture มาใช้กับการทำวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม เรื่อง<br />

“ความสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลระหว่างสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการฟื้นฟูระบบนิเวศ<br />

ชุมชนคลองด่าน จ.สมุทรปราการ” โดยผลของการศึกษาได้แสดงการวิพากษ์เขื่อนหินทิ้งซึ่งเป็นสิ่ง<br />

ก่อสร้างที่แปลกปลอมและขัดแย้งกับระบบธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นพลวัต ผลงาน<br />

ออกแบบนำเสนอรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่อยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมอย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน<br />

ภายใต้เงื่อนไขจำเพาะของระบบนิเวศย่อยในพื้นที่นั้นได้แก่ พื้นที่ชายทะเล พื้นที่รอยต่อชายฝั่ง และ<br />

พื้นที่ชายฝั่ง นอกจากนี้ การฟื้นฟูระบบนิเวศให้เกิดความสมดุลในระยะยาวถูกนำเสนอผ่านความ<br />

ยืดหยุ่นในการออกแบบสถาปัตยกรรมให้สามารถรองรับการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของตัวเองไป<br />

ตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป<br />

คสคัญ : Symbiosis, สถาปัตยกรรมเกื้อกูลสิ่งแวดล้อม, การฟื้นฟูระบบนิเวศ, ป่าชายเลน, เขื่อนกันคลื่น<br />

บทน<br />

Symbiosis คือลักษณะความสัมพันธ์ทางชีววิทยาที่ว่าด้วยเรื่องของปฏิสัมพันธ์ระหว่าง<br />

สิ่งมีชีวิตต่างสายพันธุ์ ซึ่งสร้างประโยชน์และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Biology Dictionary, 2562)<br />

แนวคิดนี้ถูกนำมาอธิบายสถาปัตยกรรม ที่เรียกว่า The Architecture of Symbiosis โดย Kisho<br />

Kurokawa (1988) ซึ่งอธิบายไว้ว่าสถาปัตยกรรมทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมและส่งต่อวัฒนธรรม โดย<br />

ความสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นภาวะพึ่งพิงกันของประวัติศาสตร์และปัจจุบัน ประเพณีและเทคโนโลยี<br />

ที่ทันสมัย วัฒนธรรมต่างๆ คนและธรรมชาติ ศิลปะและวิทยาศาสตร์รวมทั้งภูมิภาคและความเป็นสากล<br />

(Kurokawa, 1994)<br />

บทความนี้เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของการนำปรัชญา Symbiosis โดย Kisho Kurokawa<br />

มาใช้กับการออกแบบสถาปัตยกรรม ผ่านวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรมในระดับปริญญาตรี เรื่อง<br />

“ความสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลระหว่างสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการฟื้นฟูระบบนิเวศ<br />

ชุมชนคลองด่าน จ.สมุทรปราการ” (The symbiosis of architecture and environment through the<br />

process of ecological reclamation) (ดลเทพ, 2561)<br />

62<br />

สภาพชุมชนคลองด่าน จ.สมุทรปราการ ปี พ.ศ. 2561


วิพากษ์ความสัมพันธ์ของสิ่งก่อสร้างกับมนุษย์และบริบทแวดล้อม<br />

เรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นจากความสนใจในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน<br />

บริเวณชุมชนคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความรุนแรงของการกัดเซาะสูงที่สุดแห่ง<br />

หนึ่งของประเทศไทยจากการศึกษาเบื้องต้น เราพบว่าปัญหานี้มีมานานกว่า 60 ปีแล้ว และแม้รัฐบาล<br />

จะทำการสร้างเขื ่อนเพื่อชะลอคลื่นแต่ก็ยังไม่สามารถยับยั้งปัญหาได้ ปัจจุบันชายฝั่งทะเลบริเวณนี้<br />

ได้ถูกกัดเซาะลึกเข้าไปกว่า 1 กิโลเมตร คิดเป็นอัตราการกัดเซาะมากกว่า 10 เมตรต่อปี (กรมเจ้าท่า,<br />

2555) (ภาพที่ 1) ข้อมูลนี้ชวนให้เกิดความสงสัยถึงประสิทธิภาพของเขื่อนดังกล่าวและนำมาสู่การ<br />

วิพากษ์ความสัมพันธ์ของโครงสร้างนี้กับมนุษย์และบริบทแวดล้อม (ภาพที่ 2 บน)<br />

ภาพที่ 1 แผนที่แสดงสถานการณ์การกัดเศาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ชุมชนคลองด่าน<br />

จ.สมุทรปราการ ปี พ.ศ. 2549, 2534 และ 2559<br />

63


ภาพที่ 2 รูปตัดยาวแสดงสภาพปัจจุบันของโครงสร้างเขื่อนหินทิ้งและคันนากุ้ง<br />

การศึกษาโครงสร้างเขื่อนในพื้นที่ศึกษาทำให้ทราบว่า ภาครัฐตัดสินใจสร้างเขื่อนหินทิ้งห่อหุ้ม<br />

ไส้กรอกทรายที่มีอยู่เดิมซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน เนื่องจากเขื่อนทั้ง2 ชนิดนี้เป็นวัสดุหนักไม่เหมาะ<br />

กับสัณฐานดินเลนในบริเวณคลองด่านในที่สุดเขื่อนจะทรุดตัวและพังทลายลงมา ทำให้ต้องสูญเสีย<br />

งบประมาณจำนวนมากในการซ่อมบำรุง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและการดำรงชีวิตของ<br />

พืชและสัตว์ทะเลทั้งในระยะสั้นและยาว อันเนื่องมาจากน้ำทะเลขุ่นอีกด้วย 1 (กรมเจ้าท่า, 2555)<br />

จากความสนใจดังกล่าว วิทยานิพนธ์นี้จึงตั้งคำถามว่า “กระบวนการทางสถาปัตยกรรมใด ที่จะ<br />

สามารถช่วยลดแรงปะทะของคลื่นได้และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุดอีกทั้งยังสามารถ<br />

สร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์และฟื้นฟูระบบนิเวศไปพร้อมๆกัน” เป้าหมายนี้นำไปสู่การศึกษารูปแบบ<br />

ข้อดีและข้อเสียของ “เขื่อนกันคลื่น”<br />

เส้นทางการศึกษาโครงสร้างกันคลื่น<br />

ประเทศไทยมีการจดสิทธิบัตรโครงสร้างกันคลื่น เมื่อปีพ.ศ.2549 (ธนวัฒน์ และคณะ,2551)<br />

เราจึงค้นหาความเป็นไปได้ในการนำโครงสร้างนี้มาประยุกต์ใช้เพื่อตอบโจทย์ของวิทยานิพนธ์งานวิจัยนี้<br />

ทำให้เราเรียนรู้หลักการของโครงสร้างสามเหลี่ยมซึ่งเป็นรูปทรงที่ดีที่สุดในการรับแรงและกระจายแรงคลื่น<br />

แต่โครงสร้างเสาคอนกรีตรูปสามเหลี่ยมยังไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องของการรักษาสภาพแวดล้อม<br />

อีกทั้งยังมีข้อจำกัดต่อการใช้ประโยชน์<br />

การศึกษาเขื่อนกันคลื่นอีกหลายประเภททำให้ทราบว่า เขื่อนกันคลื่นที่เป็นโครงสร้างถาวรล้วน<br />

ส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมทั้งสิ้น ส่วนการใช้ไม้ไผ่ปักนั้น แม้จะส่งผลกระทบต่อธรรมชาติน้อย แต่มี<br />

ประสิทธิภาพในการชะลอคลื่นเพียงระดับหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นวัสดุที่ไม่คงทน เพราะไม้ไผ่มีอายุการใช้งาน<br />

เพียง 5 ปี (บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด, 2555) ถึงตรงนี้การเดินทางของวิทยานิพนธ์คล้ายกับ<br />

จะมาถึงทางตัน เพราะจะใช้โครงสร้างที่ถาวรก็ส่งผลเสียแต่จะใช้วัสดุธรรมชาติก็ไม่คงทน<br />

เรียนรู้พลวัตความสัมพันธ์ของคนกับธรรมชาติ<br />

นอกจากการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับโครงสร้างแล้ว ผู้ศึกษายังหาข้อมูลจากการพูดคุยกับ<br />

ชาวประมงทำให้เข้าใจวิถีคนเรือและระบบอาชีพที่มีความสัมพันธ์อย่างเป็นพลวัตกับสภาพธรรมชาติ<br />

ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นลงของน้ำ ระดับความเค็มของน้ำที่ส่งผลต่อจำนวนสัตว์ทะเล นอกจากนี้ ยังพบ<br />

พื้นที่สาธารณะของชุมชนที่เรียกว่า “แคร่ตากเคย” (ภาพที่ 3) ซึ่งเป็นพื ้นที ่ภายนอกที่เชื่อมต่อบ้าน<br />

แต่ละหลังเข้าด้วยกัน ใช้สำหรับตากสัตว์น้ำที่จับมาได้ก่อนส่งขาย พื้นที่นี้จึงเป็นที่มาของการสร้าง<br />

พื้นที่สาธารณะให้กับชุมชนชาวประมงในผลงานวิทยานิพนธ์ขั้นสุดท้าย<br />

ประสบการณ์จากการออกภาคสนามนำไปสู่การกำหนดจุดยืนของวิทยานิพนธ์ที่จะรักษาวิถี<br />

ชีวิตของคนท้องถิ่น และคำนึงถึงความเปราะบางของสภาพแวดล้อมผ่านแนวคิดในการออกแบบโดย<br />

การจัดการกับสิ่งเล็กๆ (Micro scale) และให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่น มากกว่าการก่อสร้าง<br />

อาคารขนาดใหญ่ซึ่งจะมีผลกระทบสูง<br />

1<br />

ข้อมูลนี้ทำให้ต้องตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรกับเขื่อนขนาดใหญ่ที่ก่อสร้างไปแล้วจากข้อเท็จจริงที่นักวิชาการ (ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้งภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ<br />

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) อธิบายว่า “สสารใดเมื่อถูกทิ้งลงไปในทะเลแล้ว จะไม่มีวันนำกลับขึ้นมาอีก” หนทางเดียวที่จะเป็นไปได้คือการปล่อยให้เขื่อนนี้ค่อยๆพังทลายไปเองในที่สุด


ภาพที่ 3 แคร่ตากเคย พื้นที่สาธารณะของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน<br />

การศึกษาโครงสร้างกันคลื่นดำเนินไปพร้อมๆกับการศึกษา<br />

บริบทแวดล้อม เราพบว่าการที่พื้นที่ชายฝั่งทะเลมีน้ำเค็มไหลผ่าน<br />

เข้าออกตลอดทั้งปี ทำให้เกิดระบบนิเวศจำเพาะที่เรียกว่า “ระบบ<br />

นิเวศป่าชายเลน” ขึ้น โดยพื ้นที่นี้ประกอบด้วยระบบนิเวศย่อย 3<br />

ส่วนที่สัมพันธ์กัน คือ พื้นที่ชายฝั่งที่อยู่ลึกเข้าไปด้านใน เป็นป่า<br />

ชายเลนที่อุดมสมบูรณ์จึงเป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำและแหล่ง<br />

อาหารแรกในวงจรชีวิต การที่พื้นที่ป่าถึงร้อยละ 60 ถูกบุกรุกและ<br />

เปลี่ยนไปเป็นนากุ้ง ซึ่งมีการใช้สารเคมีและเกิดน้ำเสีย ส่งผลต่อ<br />

การดำรงชีวิตของสัตว์หน้าดิน เช่น ปูแสมและปลาบางชนิด ซึ่งอาศัย<br />

อยู่ในพื้นที่รอยต่อชายฝั่ง ดังนั้น เมื่อตัวอ่อนของสัตว์เหล่านี้ซึ่งเป็น<br />

แหล่งอาหารให้กับสัตว์โตเต็มวัยในพื้นที่ชายทะเลมีจำนวนลดลง<br />

ก็จะส่งผลกระทบไปยังสัตว์ทะเล ได้แก่หอยแมลงภู่ปลา หมึก และ<br />

เคย ทำให้การประมงพื้นบ้านที่เกิดขึ้นในระยะชายฝั่ง 3 กิโลเมตร<br />

และประมงพาณิชย์ที่อยู่ไกลออกไปมีผลผลิตที่ลดลงต่อเนื่องเป็น<br />

ลูกโซ่ (ภาพที่ 4)<br />

ภาพที่ 4 กรอบแนวคิดในการทวิทยานิพนธ์<br />

65


การกัดเซาะชายฝั่งนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่สาเหตุที่ทำให้<br />

อัตราการกัดเซาะชายฝั่งสูงขึ้นอย่างมากคือ การสูบน้ำบาดาลและการบุกรุกป่าชายเลนเพื่อประกอบ<br />

อาชีพทำนากุ้งระบบปิดซึ่งปัจจุบันได้ล่มสลายไปเนื่องจากปัญหาโรคระบาด (วัฒนชัย, 2542) ปัจจุบัน<br />

พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นนาร้างที่มีน้ำท่วมขังและเน่าเสีย สถานการณ์ทั้งหมดนี้นำไปสู่ความจำเป็นที่<br />

จะฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับมามีความสมบูรณ์อีกครั้ง<br />

คำอธิบายของผู้เชี่ยวชาญที่ว่า“ป่าชายเลนคือแนวป้องกันคลื่น (Buffer) แบบธรรมชาติที่ดีที่สุด 2 ”<br />

นั้นได้ถูกพัฒนามาเป็นแนวคิดที่สำคัญของวิทยานิพนธ์นี้ฉะนั้น เป้าหมายปลายทางของวิทยานิพนธ์<br />

จึงไม่ได้อยู่ที่การสร้างโครงสร้างเพื่อกันคลื่นให้ได้ แต่อยู่ที่การฟื้นคืนป่าชายเลนให้กลับมาเป็นแนว<br />

ป้องกันทางธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว (ภาพที่ 5)<br />

ภาพที่ 5 ภาพรวมของพื้นที่ซึ่งมีความสัมพันธ์ของระบบนิเวศย่อย 3 ส่วน ได้แก่ พื้นที่<br />

ชายทะเล พื้นที่รอยต่อชายฝั่ง และพื้นที่ชายฝั่ง<br />

2<br />

รศ.ดร.วิพักตร์ จินตนา ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

66


ฟื้นฟูปฏิสัมพันธ์ของสรรพสิ่งด้วยปรัชญา Symbiosis<br />

ความสัมพันธ์แบบเชื่อมโยงของสรรพสิ่งที่เราได้เรียนรู้ระหว่างทางจุดประกายให้วิทยานิพนธ์นี้<br />

นำเอาปรัชญา“Symbiosis architecture” ซึ่งก็คือ การสร้างปฏิสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยระหว่างคน<br />

กับธรรมชาติโดยมีสถาปัตยกรรมเป็นตัวเชื่อม(Kurokawa, 1994) มาเป็นกรอบแนวคิดในวิทยานิพนธ์<br />

เป้าหมายปลายทางที่จะฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับมาสมบูรณ์ทำให้เรามองสถาปัตยกรรมเป็นเครื่องมือ<br />

หนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมโยงของคน สัตว์ ดิน น้ำ รวมทั้งภูมิปัญญาพื้นถิ่นและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน<br />

สถาปัตยกรรมไม่ควรเป็นสิ ่งแปลกปลอมของธรรมชาติ แต่ควรอยู่ในสภาวะที่พร้อมจะปรับเปลี่ยน<br />

และพร้อมที่จะเกิดดับได้ตามกาลเทศะที่เหมาะสม ในวิทยานิพนธ์นี้สถาปัตยกรรมจึงทำหน้าที่เชื่อม<br />

โยงกิจกรรมของคน อันได้แก่ ชาวประมงและนักท่องเที่ยว กับสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติที่กลาย<br />

มาเป็นเงื่อนไขในการออกแบบ โดยในที่นี้แบ่งออกเป็น 3 พื้นที่(ภาพที่6) ประกอบด้วยพื้นที่ชายทะเล<br />

พื้นที่รอยต่อชายฝั่ง และพื้นที่ชายฝั่ง<br />

ภาพที่ 6 รูปตัดยาวภายหลังการออกแบบแสดงความต่อเนื ่องของพื้นที่ชายทะเล<br />

พื้นที่รอยต่อชายฝั่ง และพื้นที่ชายฝั่ง<br />

พื้นที่ชายทะเล: เขื่อนกันคลื่นลอยน้ำ<br />

ความจริงที่ว่า ป่าชายเลนจะหมดไปเรื่อยๆถ้าเราไม่ช่วยชะลอแรงคลื่น และต้นกล้าของแสม<br />

และโกงกางก็จะไม่สามารถเติบโตและอยู่รอดได้ ถ้าหากคลื่นไม่ลดกำลังลงนั้น ทำให้เรากลับมาคิด<br />

ที่จะหาโครงสร้างชั่วคราวมาช่วยลดแรงปะทะจากคลื่นเราจึงติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ<br />

ด้านพฤติกรรมคลื่นในหาดเลน 3 ซึ่งได้แนะนำงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ เรื่อง Floating break water หรือ<br />

เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ<br />

งานวิจัยข้างต้นท้าทายให้เราเกิดความคิดที่จะออกแบบเขื่อนกันคลื่นลอยน้ำ ซึ่งอยู่ห่างออก<br />

ไปจากชายฝั่งทะเล 2 กิโลเมตรเพื่อเป็นโครงสร้างชะลอแรงปะทะจากคลื่นให้กับพื้นที่ชายฝั่ง โครงสร้าง<br />

ถูกออกแบบด้วยระบบ Modular 4 ที่ทำจากโครงเหล็กกัลวาไนซ์ยาว 30 เมตรมาต่อกันเป็นรูป<br />

สามเหลี่ยมด้านเท่าซึ่งเป็นรูปทรงที่รับแรงได้ดีที่สุด ภายในบรรจุทุ่นทำให้ลอยน้ำได้และสามารถปรับ<br />

เปลี่ยนการใช้งานได้ตามความเหมาะสม โครงสร้างนี้ไม่มีฐานราก มีเพียงโซ่ที่ปักหมุดกับพื้นทะเล<br />

เท่านั้น ทำให้สามารถรื้อถอนได้ในภายหลัง เมื่อป่าเติบโตขึ้นจนสามารถทำหน้าที่ป้องกันคลื่นได้แล้ว<br />

โครงสร้างนี้ก็จะหมดบทบาทไป (ภาพที่ 7)<br />

ผลงานออกแบบเป็นการผสมผสานงานวิศวกรรมเข้ากับการออกแบบสถาปัตยกรรม โดย<br />

การนำรูปแบบอวนโป๊ะของชาวประมงในอดีตมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบรูปทรงของเขื่อนกันคลื่น<br />

(Mariner Thai, 2555) ดังนั้น โครงสร้างนี้จึงทำหน้าที่เป็นทั้งเขื่อนกันคลื่นโป๊ะดักจับปลาในทะเล กระชัง<br />

เลี้ยงปลา รวมทั้งเป็นที่พักชั่วคราวให้ชาวประมงในระหว่างหาปลา (ภาพที่ 8)<br />

3<br />

ผศ.ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

4<br />

ต่อยอดจากผลงานของ Richard B. Fuller. (1979)<br />

67


ภาพที่ 7 โครงสร้างเขื่อนกันคลื่นลอยน้ำซึ่งทหน้าที่เป็นอวนโป๊ะดักจับปลาทะเล<br />

ภาพที่ 8 รูปตัดแสดงเขื่อนกันคลื่นลอยน้ำ เรือนพักของชาวประมง และกระชังเลี้ยงปลา<br />

68


พื้นที่รอยต่อชายฝั่ง : แนวดักตะกอนและเรือนอนุบาลหอยลาย<br />

แรงคลื่นที่ถูกชะลอลงไปบางส่วนแล้วยังไม่เพียงพอต่อการเติบโตของกล้าไม้ชายเลน ดังนั้น<br />

ผู้ออกแบบจึงเลือกใช้วิถีของชาวบ้าน คือ ใช้ไม้ไผ่ปักเป็นกลุ่มรูปสามเหลี่ยม เรียงเป็นแนวยาวขนาน<br />

กับชายฝั่งเป็นช่วงๆ เพื่อดูดซับแรงคลื่นและดักตะกอนเลน (โกสิทธิ์, 2546; ณิฏฐารัตน์, 2554) โดย<br />

ทำการปักแนวไม้ไผ่ทีละชั้น ควบคู่กับการสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติชายฝั่งทะเลทั้ง 3 ชั้น เราพบว่า<br />

ซากไม้ไผ่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและหาอาหารให้กับหอยกะพงซึ่งเป็นสัตว์น้ำสำคัญในห่วงโซ่อาหารที่<br />

หายไปจากพื้นที่<br />

ความเข้าใจเรื่องวงจรชีวิตของสัตว์ในห่วงโซ่อาหารต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่เป็นที่มาของการเสนอ<br />

แนวคิดในการสร้างธนาคารตัวอ่อนของหอยลายขึ้น โดยการเพาะเลี้ยงสัตว์ในสภาพน้ำขึ้นลงตาม<br />

ธรรมชาติ และนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เป็นการสร้างสมดุลให้ระบบนิเวศในระยะยาว โครงสร้าง<br />

ของธนาคารหอยลายถูกออกแบบให้ลดการรบกวนระบบนิเวศ โดยการใช้โครงสร้างช่วงกว้างน้ำหนัก<br />

เบาร่วมกับเคเบิ้ลเพื่อลดจำนวนและขนาดของเสาและตอม่อ นอกจากนี้แนวเสาเอียงทำหน้าที่เสมือน<br />

รากโกงกางที่ต้องพยุงตัวเองบนสัณฐานที่มีความอ่อนตัวในบริเวณนี้ การใช้ระบบเสา Micro pile ซึ่ง<br />

เป็นเสาไร้เข็ม ทำมุม 30 องศาจากเส้นตั้งฉากกับพื้นดิน ทำให้สามารถยึดเกาะกับดินเลนและรับแรง<br />

กระทำจากคลื่นด้านข้างได้ (ภาพที่ 9)<br />

ภาพที่ 9 รูปตัดแสดงอาคารธนาคารหอยลายและหอชมวิว<br />

พื้นที่ชายฝั่ง : เส้นทางศึกษาธรรมชาติ หอดูสัตว์ และเรือนอนุบาลปูแสม<br />

การปลูกป่าในบริเวณนี้ทั้ง 2 วิธีคือ Reforestation ซึ่งเป็นการปลูกป่าในพื้นที่เดิมที่เสื่อมโทรม<br />

และ Afforestation หรือการปลูกป่าขึ้นใหม่ในพื้นที่ที่ไม่เคยมีป่ามาก่อน จะทำไปพร้อมๆกับการทลาย<br />

คันนากุ้งออกไปทีละช่วงจากด้านนอกเข้าสู่ด้านใน เพื่อสร้างการหมุนเวียนของน้ำในพื้นที่ชายฝั่ง 5<br />

นอกจากนี้ ความรู้เรื่องระดับน้ำซึ่งสัมพันธ์กับชนิดของพืชและสัตว์ในพื้นที่ป่าชายเลน ได้ถูกนำมาใช้<br />

กับการออกแบบเส้นทางศึกษาธรรมชาติซึ่งพาดผ่านพื้นที่ที่มีระดับความลึกของผิวดินและการเข้าถึง<br />

ของน้ำทะเลที่หลากหลาย เช่นเดียวกับการออกแบบหอดูสัตว์ในระดับความสูงต่างๆ ทำให้นักท่อง<br />

เที่ยวได้สัมผัสความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่นี้รูปทรงของธนาคารตัวอ่อนปูแสมถูกออกแบบ<br />

ให้เป็นเครื่องมือกระตุ้นการหมุนเวียนของน้ำในบริเวณชายฝั่งที่ลึกเข้าไปด้านในซึ่งมีน้ำค่อนข้างนิ่ง 6<br />

โดยโครงสร้างกำแพงที่ยื่นยาวจากตัวอาคารจะช่วยรับและกระจายแรงน้ำ (ภาพที่ 10)<br />

ธนาคารตัวอ่อนทั้งสองชนิดนี้(หอยลายและปูแสม) มีการจัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในตามระบบ<br />

การเลี้ยงตัวอ่อนซึ่งมี 3 ระยะ โดยกระชังเลี้ยงจะแช่อยู่ในน้ำทะเลที่ขึ้นลงตามธรรมชาติได้ (ธรรมนูญ<br />

และคณะ, 2552) ส่วนพื้นที่ภายนอกซึ่งเชื่อมต่อระหว่างอาคารถูกใช้เป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชน<br />

ทั้งนี้ เมื่อทำการปล่อยตัวอ่อนกลับสู่ธรรมชาติจนมีจำนวนเพียงพอแล้ว สถาปัตยกรรมก็สามารถ<br />

ปรับเปลี่ยนบทบาทไปรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและกิจกรรมสาธารณะของชุมชนได้โดย<br />

เมื่อป่าค่อยๆเติบโตขึ้นในระยะเวลา 20-25ปีวัสดุมุงที่ทำจากธรรมชาติก็พร้อมจะย่อยสลายกลายเป็น<br />

ปุ๋ยให้กับดิน และสถาปัตยกรรมก็จะกลายไปเป็นบ้านของสัตว์และเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติในที่สุด<br />

(ภาพที่ 11)<br />

69<br />

5<br />

ความรู้จากการพูดคุยกับ รศ.ดร.วิพักตร์ จินตนา ภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์<br />

6<br />

ความรู้จากการพูดคุยกับหัวหน้าสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ภาพที่ 10 รูปตัดแสดงอาคารธนาคารปูแสม<br />

70<br />

ภาพที่ 11 ทัศนียภาพแสดงพื้นที่โครงการในระยะแรกเริ่ม (บน) และภายหลังการปลูกป่าในปีที่ 20-25


พื้นที่ชายฝั่ง : เส้นทางศึกษาธรรมชาติ หอดูสัตว์ และเรือนอนุบาลปูแสม<br />

บทความนี้ได้แสดงให้เห็นว่า สถาปัตยกรรมมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการเกื้อกูลสภาพ<br />

แวดล้อม ซึ่งในที่นี้คือ คน สัตว์ และป่าโดยหัวใจของการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติในระยะยาวนั้น<br />

อยู่ที่การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนและธรรมชาติให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันอย่างสมดุล ดังนั้น<br />

สถาปนิกจึงจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจถ่องแท้ถึงระบบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมนั้น<br />

อย่างเป็นพลวัต เพราะสิ่งก่อสร้างใดๆที่เมื่อสร้างขึ้นมาแล้ว ไม่สามารถตอบสนองต่อระบบชีวิตและ<br />

ระบบธรรมชาติของถิ่นที่นั้นๆ ย่อมจะเป็นส่วนเกินและก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อวัฏจักรของระบบ<br />

นิเวศนั้นในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทที่เปราะบาง สถาปัตยกรรมควรให้ความเคารพและตอบ<br />

สนองต่อเงื่อนไขของธรรมชาติโดยการคำนึงถึงขนาด วัสดุ โครงสร้าง และวิธีการก่อสร้างที่ละเอียดอ่อน<br />

และเหมาะกับบริบท<br />

เมื่อ ธรรมชาติของ ธรรมชาติคือการเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และสถาปัตยกรรม<br />

ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งของธรรมชาติแวดล้อม สถาปัตยกรรมจึงไม่ควรหยุดนิ่ง ตรงกันข้าม<br />

สถาปัตยกรรมต้องสามารถปรับเปลี่ยนเรียนรู้ตัวเองไปตามยุคสมัย ปรับตัวให้สัมพันธ์กับบริบท<br />

แวดล้อมที่ไม่อยู่นิ่งได้เช่นกัน นอกจากนี้ เรายังได้ข้อคิดว่า สถาปัตยกรรมไม่จำเป็นที ่จะต้องอยู่ยั้ง<br />

ยืนยง หากวันใดสถาปัตยกรรมนั้นหมดบทบาทหน้าที่เดิมลง มันก็ควรจะสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็น<br />

อย่างอื่น ถูกรื้อถอน หรือแม้แต่ย่อยสลายไปได้ในที่สุด นั่นหมายความว่า การออกแบบสถาปัตยกรรม<br />

จำเป็นจะต้องมองเห็นและรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย<br />

บทสะท้อนความสัมพันธ์ของการวิจัยและการออกแบบ<br />

วิทยานิพนธ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัย ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการออกแบบ<br />

ด้วยแนวคิดการ “เกื้อกูล” สถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม กลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนให้ผลงาน<br />

ออกแบบมีความละเอียดอ่อน ลงลึก และมีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง คือ กระบวนการ<br />

วิจัยเพื่อออกแบบซึ่งเป็นแกนหลักให้กับการทำวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ตลอดระยะเวลา 1 ปีการศึกษา การ<br />

ตั้งต้นจากการวิพากษ์ปัญหาและขับเคลื่อนด้วยคำถาม ช่วยกำหนดทิศทางและเป้าหมายของการ<br />

ศึกษาที่ชัดเจนตั้งแต่แรกเริ่ม ในขณะที่การสำรวจและสัมภาษณ์ชาวบ้านในระหว่างการออกภาคสนาม<br />

นำไปสู่ความเข้าใจบริบทแวดล้อมที่มีความถ่องแท้และเป็นปัจจุบัน นอกจากนี้การค้นคว้าเชิงลึกและ<br />

การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ยังช่วยผลักดันให้การพัฒนาผลงานสามารถลงลึกในเชิงเทคนิค<br />

และเป็นไปได้จริงบนฐานทางวิชาการ ทั้งนี้ทั้งนั้น กระบวนการวิจัยดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การ<br />

ศึกษาสัมฤทธิผล ด้วยเหตุนี้ ผลงานนี้จึงได้รับคัดเลือกให้เป็นวิทยานิพนธ์ดีเด่นแห่งปี สาขา<br />

สถาปัตยกรรมหลัก ประจำปีพ.ศ. 2561 (Thesis of the year in Architecture 2018) จากสภาคณบดี<br />

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย และรางวัล Best of the Show และ Best of Architectural<br />

Design จากเวที Degree Shows 2018 (ภาพที่ 12)<br />

ภาพที่ 12 การนเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ในการประกวด Degree Shows 2018<br />

71


เอกสารอ้างอิง<br />

Biology Dictionary. (2562). Symbiosis. แหล่งที่มา : https://biologydictionary.net/symbiosis (วันที่สืบค้น : ตุลาคม 2562).<br />

Kisho Kurokawa. (1988). The Architecture of Symbiosis. New York, USA: Rizzoli Intl Pubns.<br />

Kisho Kurokawa. (1994). The philosophy of symbiosis. Great Britain: Academy Editions.<br />

Mariner Thai. (2555). โป๊ะ (Bamboo strake trap). แหล่งที่มา : http://marinerthai.blogspot.com/2012/01/bamboo-strake-trap.html<br />

(วันที่สืบค้น : สิงหาคม 2560).<br />

Richard B. Fuller. (1979). Floating breakwater US patent 4136994. Washington, D.C.: United States Patent and Trademark Office.<br />

กรมเจ้าท่า. (2555). งานสํารวจออกแบบเพื่อเสริมระดับและปรับปรุงประสิทธิภาพเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทยตอนบน<br />

(คลองด่าน), กรุงเทพฯ: กรมเจ้าท่า.<br />

โกสิทธิ์นิลรัตน์. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของราษฎรในโครงการกําแพงไม้ไผ่เพื่อป้องกันการกร่อนของดินชายฝั่งทะเลในพื้นที่<br />

ป่าชายเลนบ้านสีล้งตําบลคลองด่าน อําเภอบางบ่อจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:<br />

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.<br />

ธนวัฒน์จารุพงษ์สกุล และคณะ. (2551). “ขุนสมุทรจีน 49A2” ต้นแบบการแก้ไขปัญหาน้ ำทะเลกัดเซาะหาดโคลน. พิมพ์ครั้งที่2, กรุงเทพฯ:<br />

สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.<br />

ธรรมนูญ วุ่นซิ่งซี่,ฐิติทิพย์ด้วงเงิน,วุฒิชัย ทองล้ำ. (2552). การเลี้ยงปูแสม (SesarmamederiH.Milne Edward,1854) ในคอกบริเวณชายฝั่ง<br />

ที่ความหนาแน่นต่างกัน. กรุงเทพฯ: กรมประมง.<br />

ณิฏฐารัตน์ปภาวสิทธิ์. (2554). การติดตามและประเมินผลการฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเล โดยการ ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น กรณีศึกษา จังหวัด<br />

สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สมุทรปราการและฉะเชิงเทรา. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : สํานักการจัดการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและ<br />

พื้นที่ชายฝั่งทะเล, กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.<br />

ดลเทพ เจตีร์. (2561). ความสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลระหว่างสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการฟื้นฟูระบบนิเวศ ชุมชนคลองด่าน<br />

จ.สมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.<br />

บริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด และ บริษัท วิสุทธิคอนซัลแตนท์ จำกัด. (2555). โครงการศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพ<br />

ประสิทธิผล และผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทย.กรุงเทพฯ: กรม<br />

ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.<br />

วัฒนชัย พงษ์นาค. (2542). ผลกระทบและปัญหาความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรที่ดินของชาติกรณีการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาด ํา ในเขตพื้นน้ ำจืด.<br />

วารสารเส้นทางสีเขียว. ฉบับที่4 เดือน มิถุนายน-กันยายน 2542. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.<br />

72


Symbiosis: a Mutual Relationship Between Architecture<br />

and Environment<br />

Assistant Professor Cuttaleeya Jiraprasertkun, Ph.D.<br />

Faculty of Architecture, Kasetsart University / archcyn@ku.ac.th<br />

Dolathep Chetty<br />

Faculty of Architecture, Kasetsart University / dolathep_chetty@hotmail.com<br />

Abstract<br />

Similar to how living things associate with each other, architecture can also interact with and derive mutual<br />

benefits from the environment. This paper explicates the implementation of the philosophy “Symbiosis in architecture” to<br />

the architectural thesis titled “The symbiosis of architecture and environment through the process of ecological reclamation”.<br />

The results discuss the existing rock-fill dam as being alienated and contradictory to the dynamic relationship of<br />

natural systems; hence the design proposes architecture that has a mutual relationship with its specific microenvironment,<br />

consisting of the sea, the seashore, and the inland area. Besides, the long-term stability of ecological reclamation is<br />

expressed through the flexibility of architecture that enables its changing role according to a transforming environment.<br />

Keywords: Symbiosis, architecture and environment, environmental reclamation, mangrove forest, breakwater<br />

Introduction<br />

In biology, a symbiosis is an evolved interaction or close<br />

living relationship between organisms from different species,<br />

usually with benefits to one or both of the individuals involved<br />

(Biology Dictionary, 2019). This concept is used in architecture,<br />

so called, “The Architecture of Symbiosis”, by Kisho Kurokawa<br />

(1988), who described that architecture acts as a linkage and<br />

transfer of culture. It contains mutual relationships of history<br />

and the present, tradition and the latest technology, man and<br />

nature, different cultures, art and science, and also regionalism<br />

and universalism (Kurokawa, 1994).<br />

This paper explicates the implementation of the<br />

“philosophy of symbiosis”, by Kisho Kurokawa to architectural<br />

design through the thesis titled “The symbiosis of architecture<br />

and environment through the process of ecological reclamation”<br />

(Chetty, 2018).<br />

A Critic on the Relationships between<br />

Construction, Humans and Contexts<br />

The whole story started from an interest in the problem<br />

of coastal erosion on the northern Gulf of Thailand. The Khlong<br />

Dan community in Samut Prakarn province is an area<br />

confronting one of the most severe effects of coastal erosion<br />

in Thailand. The study shows that this problem has been occurring<br />

for more than 60 years. Although the government has<br />

constructed a breakwater to reduce the intensity of waves, the<br />

problem still exists. Until now, the seashore has been eroded<br />

by more than 1 kilometer, which is equal to more than 10<br />

meters erosion per year (Harbor Department, 2012) (Figure<br />

1). This data raises the curiosity of breakwater efficiency,<br />

leading to a critical look at relationships between this structure,<br />

humans and its environment (Figure 2).<br />

73


Figure 1<br />

Figure 2


The structural study of breakwaters in Khlong Dan<br />

reveals that the government decided to build the rock-filled dam<br />

on top of an existing sand sausage – an example of unsustainable<br />

problem solving because these two types of dams contain heavy<br />

materials which are not suitable for the soft clay in the area.<br />

In the future, the dam will subside and finally collapse; thus,<br />

the government will have to spend a large amount of money<br />

for maintenance. Moreover, the subsidence which causes ocean<br />

turbidity will also affect marine ecology, and thereby the habitat<br />

of marine plants and animals in both the short and long term 1<br />

(Harbor Department, 2012).<br />

Consequently, due to these problems, the thesis raises<br />

a question, “what architectural process could help reduce the<br />

intensity of waves and have the least environmental impact,<br />

while also giving benefits to humans and reclaiming the ecology.”<br />

These objectives lead to the following study of breakwater<br />

categories, including their pros and cons.<br />

The Studying Journey of Breakwater<br />

Thailand has a patent on breakwaters registered in 2006<br />

(Thanawat et al., 2008). We’ve therefore explored the possibility<br />

to use this structure to answer the thesis question. This<br />

research enables us to understand the principal of a triangular<br />

structure, which is the best form to absorb and transfer the<br />

intensity of a wave. The triangular concrete column, however,<br />

does not meet our objective of environmental protection, and<br />

has a limitation on supplementary uses.<br />

The study of various types of breakwaters yields the<br />

comprehension that any permanent structure would nevertheless<br />

have environmental impacts. Bamboo fencing, though having<br />

less environmental impact, can only reduce certain degrees of<br />

wave intensity. Besides, it is not a durable material, lasting only<br />

5 years (Panya Consultant, 2012). At this point, the journey<br />

of the thesis has almost come to a dead end – permanent<br />

structures have environmental disadvantages while natural<br />

materials do not last long enough.<br />

Learning the Dynamic Relationship<br />

between Man and Nature<br />

Apart from the literature reviews on structure, the<br />

thesis explored more through conversations with fishermen<br />

– enabling us to understand people’s ways of living and working<br />

which have dynamic relationships with natural conditions,<br />

such as high and low tide, the salinity of seawater affecting<br />

numbers of marine animals, etc. Besides, we also found a<br />

community public space called “sun dried krill litter” (figure 3),<br />

which is an outdoor terrace connecting all houses together. It<br />

is used for sun drying marine animals before selling. This space<br />

became the inspiration for this thesis to create community<br />

public spaces in the final design.<br />

Figure 3<br />

1<br />

This information urged us to make the decision with the existing huge dam. It is confirmed by the expert (Asst.Prof. Sompratana Ritphring, PhD, Water Resources Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart<br />

University) that “anything dumped into the ocean will no longer be taken it back. Hence, the only possible solution is to wait for the dam to be collapsed by itself.<br />

75


Experiences from the field have shaped the direction<br />

of the thesis to conserve local people’s ways of living, concern<br />

with the sensitivity of the environment resulting in the<br />

conceptual thinking to deal with the micro scale, and signify<br />

the locality rather than large-scale construction, which has<br />

extreme impacts.<br />

The studying of breakwaters was conducted in parallel<br />

with the contextual analysis. It was found that the flow of<br />

saltwater in and out of the inland area throughout the year has<br />

created a specific ecology, a so called “mangrove ecosystem”.<br />

This area is composed of 3 connected micro-environments.<br />

The inland area, full of rich mangrove forests, is an aquaculture<br />

and considered the first food resource in the life cycle. The fact<br />

that 60 percent of mangrove forests have been invaded and<br />

turned to chemical and polluted shrimp farms has affected the<br />

habitation of benthic animals, such as meder’s mangrove crabs<br />

and some species of fish living on the seashore. Hence, the<br />

decreasing number of these young animals has an impact to<br />

the food chain of other adult animals, such as mussels, fish,<br />

squid, and krill in the sea. This chain of problems has caused<br />

reduced fishery production for both local and commercial<br />

fishing within 3 kilometers of the seashore (Figure 4).<br />

Coastal erosion is a natural phenomenon that has been<br />

occurring for thousands of years. The reasons for an increasing<br />

rate of erosion comes from underground water consumption<br />

and forest invasion for shrimp farms, which are now collapsing<br />

due to infection problems (Watthanachai, 1999). Nowadays,<br />

these abandoned shrimp farms are flooded and polluted,<br />

yielding a necessity for ecological reclamation.<br />

The expert’s saying that, “Mangrove forests are the best<br />

natural breakwater 2 ”, has been used as the main idea to develop<br />

this thesis. The goal of the thesis is not to build a structure that<br />

could resist wave energy, but rather it is about reclaiming<br />

mangrove forests which will become a natural buffer in the<br />

long run (Figure 5).<br />

Figure 4<br />

2<br />

Assoc.Prof.Vipak Jintana, Department of Forest Management, Faculty of Forestry, Kasetsart Unversity<br />

76


Figure 5<br />

Reclaiming the Relationship of Things<br />

with the “Philosophy of Symbiosis”<br />

The relationship of things that we have learnt along the<br />

way inspires this thesis to adopt the “Philosophy of Symbiosis”,<br />

which is the establishment of mutual relationships between<br />

man and nature, while architecture becomes a conjunction<br />

(Kurokawa, 1994) as a framework. With the ultimate goal to<br />

reclaim the richness of ecology, this thesis considers architecture<br />

as a tool to build relationships between man, animal, soil, and<br />

water, including local wisdom and technology. Architecture<br />

should not be alienating to nature, rather it should be adaptable<br />

and impermanent (meaning life and death in appropriate<br />

context and time). In this thesis, architecture acts as a linkage<br />

of fishermen’s and tourists’ activities, together with natural<br />

environments which become the factors for design, comprising<br />

of the sea, seashore, and inland areas.<br />

77


Figure 6<br />

The Sea: Floating Breakwater<br />

If the wave force is not reduced, mangrove forests will<br />

continue to be destroyed and the saplings of Aegiceras Cornicalatum<br />

and Mangrove cannot grow and survive. These facts<br />

create a task to find a temporary structure that could decrease<br />

wave energy. An expert on the behavior of waves on the clay<br />

beach 3 subsequently introduced her own ongoing research on<br />

floating breakwaters. This research challenged us to design a<br />

set of floating breakwaters, which are located 2 kilometers<br />

away from the shoreline, to reduce the intensity of waves for<br />

the seashore. The structure is designed with a modular system 4 ,<br />

made from 30-meter long galvanized steel forming an equilateral<br />

triangle, which is the best shape to absorb the energy.<br />

The buoyant fillings inside the structure make it float, while<br />

its form can be adjusted according to the preferred use. The<br />

structure has no foundation – there are only chains sticking<br />

to the ground, thus, it can be dissembled in the future. When<br />

the forest grows and becomes natural buffer, these structures<br />

are then no longer needed (Figure 7).<br />

The final design is an integration of engineering and<br />

architectural design – the local fishing net has been adopted<br />

and applied with the shape and form of a floating breakwater<br />

(Mariner Thai, 2012). Hence, this structure acts as a floating<br />

breakwater, fish trap, and fish cage, as well as a temporary<br />

shelter for fisherman during fishing (Figure 8).<br />

Figure 7<br />

3<br />

Asst.Prof.Sompratana Ritphring, PhD, Water Resources Engineering, Faculty of Engineering, Kasetsart University<br />

4<br />

Further developed from the work of Richard B. Fuller. (1979).


The Seashore: Sediment Trapping Line<br />

and Clam Nursery<br />

Figure 8<br />

The reduced intensity of waves are still not enough for<br />

the growing of vegetation, hence the designer adopted the<br />

triangle shaped bamboo fence, a local wisdom, to help absorb<br />

wave energy and trap sediment (Kosit, 2003; Nitharat, 2011).<br />

The bamboo fence is placed layer by layer, corresponding with<br />

the construction of a natural walkway, in all three rows. It was<br />

found that these old bamboo poles provide habitat and food<br />

resources for the Horse Mussels, an animal which were once<br />

plentiful in this area.<br />

The understanding of animal life cycles in the food<br />

chain contributes to the idea to construct a baby clam bank.<br />

The idea to build a nursery of baby clams in natural condition<br />

of seawater tidal pools and return them back to the sea helps<br />

balance the marine ecology in the long term.<br />

The structure of the baby clam bank is designed to<br />

reduce environmental impact. The long-span and light-weight<br />

structure, together with the cable system, are used to diminish<br />

the numbers and size of footage. Additionally, the sloped<br />

columns behave like the roots of a mangrove tree, lifting the<br />

structure in the soft soil condition. The use of a micro pile,<br />

which has no footage, with 30 degrees slope in the vertical axis<br />

from the ground, helps seize the clay and brace side pressure<br />

from the wave (Figure 9).<br />

Figure 9<br />

79


The Inland Area: Natural Trail, Animal<br />

Observation Tower, Mangrove Crab<br />

Nursery<br />

The forestation for this area consists of 2 methods –<br />

Reforestation refers to planting trees on land that was previously<br />

forest, whereas afforestation refers to planting trees on patches<br />

of land which were not previously covered in forest. These two<br />

methods will be conducted while the dike of shrimp farms is<br />

demolished layer by layer, from outside-in, to generate water<br />

flow in the inland area 5 .<br />

Moreover, the knowledge of water levels corresponding<br />

with plant and animal species in the mangrove forest is used<br />

to design the natural trail over various terrains with different<br />

sea levels. Similarly, the animal observation tower has viewpoints<br />

at different levels, enabling tourists to experience biodiversity<br />

in this area. The form of the mangrove crab bank is purposely<br />

designed to stimulate water flow in the inland area where<br />

water is pretty still 6 . The long wall extending from the main<br />

building would help in reflecting water movement (Figure 10).<br />

Figure 10<br />

The space organization of both clam and crab banks<br />

serves the three phases of nursery. The floating baskets are<br />

placed in seawater, which corresponds with ocean tides (Thammanoon<br />

et al., 2009). The outdoor space connecting buildings<br />

together can be used as a community public space. When<br />

plenty of baby animals are released to nature, the architecture<br />

can change its role to serve eco-tourism and community public<br />

purposes. After the forests are grown up in the next 20-25<br />

years, natural roof coverings can be decomposed and become<br />

fertilizer. Later on, the architecture can become a house for<br />

animals, and finally be a part of nature (Figure 11).<br />

5<br />

Knowledge from the conversation with Assoc.Prof.Vipak Jintana, Department of Forest Management, Faculty of Forestry, Kasetsart Unversity<br />

6<br />

Knowledge from the conversation with the head of Siracha Fishery Research Station, Faculty of Fisheries, Kasetsart University.<br />

80


Lesson Learnt from Creating a Mutual<br />

Relationship between Architecture and<br />

Environment<br />

Figure 11<br />

This article explicates that architecture has an important<br />

role to mutually support the environment, meaning man,<br />

animal and forest. The key to conserving and restoring nature<br />

in the long term is to build a relationship between man and<br />

environment with balancing mutual benefits. Hence, it is<br />

important for architects to deeply understand the ecosystem<br />

within its dynamic environment. In the end, any constructed<br />

building that cannot respond to natural systems of place will<br />

have negative effects to the ecosystem. Especially in sensitive<br />

areas, architecture should respect and respond to the criteria<br />

of nature – Size, material, structure, and thorough methods<br />

of construction must be considered to suit the contexts.<br />

Since the nature of nature is its growth and transformation<br />

through time, and architecture is a part of the environment,<br />

architecture should therefore not stand still. Rather,<br />

architecture should be able to adjust itself according to the era<br />

and dynamic contexts. Furthermore, we have learnt that architecture<br />

does not have to last forever. If it no longer has any<br />

role, it should be changed, removed, or eventually decomposed.<br />

This means that it is important for architectural design to<br />

foresee and enable any changes that could possibly happen in<br />

the future.<br />

81


The Reflection of Research and Design<br />

Interrelation<br />

This thesis reflects the significance of research, which<br />

has an important role to the design concept of “mutuality”<br />

between architecture and environment. The key mechanism<br />

driving the quality of design to reach the detailed, in-depth,<br />

and practical level is the research process which runs through<br />

the thesis over one year of study. The starting off of critically<br />

analyzing problems, followed by questioning, helps frame clear<br />

direction and objectives since the beginning. While the survey<br />

and interviews with local people during the fieldwork lead to<br />

the realistic and updated comprehension of contexts. Additionally,<br />

the in-depth studies, together with consultations with<br />

experts, are also crucial factors yielding the technical and<br />

practical design solutions on an academic basis. All in all, such<br />

research processes are an essential part for the success of this<br />

work. Consequently, this thesis has been awarded Thesis of<br />

the year in Architecture 2018 by the Architect Council of<br />

Thailand, as well as Best of the Show and Best of Architectural<br />

Design from Degree Shows 2018 (Figure 12).<br />

Figure 12<br />

82


References<br />

Biology Dictionary. (2019). Symbiosis. Source : https://biologydictionary.net/symbiosis (Retrieved : October 2019).<br />

Kisho Kurokawa. (1988). The Architecture of Symbiosis. New York, USA: Rizzoli Intl Pubns.<br />

Kisho Kurokawa. (1994). The philosophy of symbiosis. Great Britain: Academy Editions.<br />

Mariner Thai. (2012). Bamboo strake trap. Source : http://marinerthai.blogspot.com/2012/01/bamboo-strake-trap.html (Re<br />

trieved : August 2017).<br />

Richard B. Fuller. (1979). Floating breakwater US patent 4136994. Washington, D.C.: United States Patent and Trademark<br />

Office.<br />

Harbor Department. (2012). The survey design for land-leveling and developing the effectiveness of dam to protect coastal<br />

erosion on the North Gulf of Thailand (Khlong Dan), Bangkok: Harbor Department.<br />

Kosit Nilrat. (2003). Factor affecting local participation in the bamboo fence project for protecting coastal erosion in the mangrove<br />

forest, Ban Si Long, Khlong Dan, Bang Bor, Samut Prakarn, Dissertation in Master of science. Bangkok: Kasetsart University.<br />

Thanawat Jarupongsakul et al. (2008). “Khun Samut Jeen 49A2” The prototype for solving the coastal erosion of clay beach,<br />

2nd edition, Bangkok: Thailand Research Fund.<br />

Thammanoon Woonsingsi, Thititip Duangngern, Wutthichai Thonglam. (2009). Sesarma mederi farming in a coop near the<br />

different density of seashore, Bangkok: Department of Fisheries.<br />

Nitharat Paphawasit. (2011). The follow-up and evaluation of coastal ecological reclamation with bamboo poles: the case of<br />

Samut Songkram, Samut Sakhon, Samut Prakarn, and Chacheongsao. 1st edition. Bangkok: Department of Marine and<br />

Coastal Resources, Ministry of Natural Resources and Environment.<br />

Dolathep Chetty. (2018). The symbiosis of architecture and environment through the process of ecological reclamation. Bach<br />

elor thesis in Architecture. Bangkok: Kasetsart University.<br />

Panya Consultant Co.,Ltd. And Visuti Consultant Co.,Ltd. (2012). The study, survey and analysis of efficiency, effectiveness<br />

and social and environmental impacts of the prevention of coastal erosion for Thailand. Bangkok: Department of Marine<br />

and Coastal Resources.<br />

Watthanachai Pongnak (1999). The impact and conflicting problem in land use resources: the case of Black tiger shrimp farm<br />

in fresh water. Greenline Journal. Vol.4 June-September 1999. Bangkok: Department of Environmental Quality.<br />

83


มหาวิทยาลัยสีเขียว: ความท้าทายใหม่ด้านสิ่งแวดล้อม<br />

และการพัฒนาอย่างยั่งยืน<br />

กิตติ เชาวนะ<br />

สนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ / ckitti@mail.wu.ac.th<br />

84


บทคัดย่อ<br />

แนวคิดเรื่องมหาวิทยาลัยสีเขียวได้รับการตอบรับในวง<br />

กว้างทั ้งในระดับสากลและในระบบการศึกษาของไทย หนึ่งใน<br />

เกณฑ์การประเมินที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดเห็นได้จากจำนวน<br />

มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการประเมินที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างก้าว<br />

กระโดดคือการประเมินตามหลักเกณฑ์มหาวิทยาลัยสีเขียว UI<br />

GreenMetric ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (Universitas<br />

Indonesia: UI) และมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ใช้หลักเกณฑ์<br />

และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลกเพื่อบริหารจัดการ<br />

มหาวิทยาลัยทั้งในระดับนโยบายและการพัฒนากายภาพเพื่อตอบ<br />

ตัวชี้วัดด้านต่างๆ ตามเกณฑ์ดังกล่าว ถึงแม้แนวคิดเรื่อง<br />

มหาวิทยาลัยสีเขียวได้ถูกนำมาใช้มาในระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังพบ<br />

ว่าในการนำไปใช้ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมนั้นยังคงมีความ<br />

คลุมเครือในหลายประเด็น บทความนี้จึงได้รวบรวมหลักการ หลัก<br />

เกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา ผลที่เกิดขึ้นจริงในบริบทต่างๆ มา<br />

ถอดบทเรียนและอภิปรายเพื่อสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายในการนำ<br />

ไปปฏิบัติเพื่อให้มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญด้านการสร้าง<br />

องค์ความรู้และการสร้างบุคลากรเพื่อพัฒนาสังคมสามารถสร้าง<br />

การเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป<br />

ค ส คัญ : มหาวิทยาลัยสีเขียว, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, การบริหาร<br />

นโยบาย, หลักเกณฑ์การประเมิน<br />

บทน<br />

แนวคิดเรื่องมหาวิทยาลัยสีเขียว เป็นหนึ่งในสิ่งที่พัฒนา<br />

จากแนวคิดเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)<br />

อันเกิดจากปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร สังคม<br />

วัฒนธรรม และเศรษฐกิจในแต่ละบริบททั่วโลก มหาวิทยาลัยเป็น<br />

ส่วนสำคัญที่สามารถขับเคลื่อนสังคม สร้างองค์ความรู้และพัฒนา<br />

บุคลากรออกสู่สังคม จากพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยทั้งการ<br />

เรียนการสอน การวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์<br />

จากงานวิจัย รวมทั้งการให้บริการวิชาการต่อชุมชนและสังคม โดย<br />

หนึ่งในเกณฑ์การประเมินที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือการ<br />

ประเมินตามหลักเกณฑ์มหาวิทยาลัยสีเขียว UI GreenMetric ซึ่ง<br />

จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (Universitas Indonesia: UI) (ภาพ<br />

ที่ 1) โดยมีการเริ่มประเมินและจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกขึ้นในปี<br />

ค.ศ.2010 ขึ้นเป็นปีแรก และมีจำนวนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการ<br />

ประเมินเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดโดยต่อเนื่อง (ภาพที่ 2)<br />

85


ภาพที่ 1: แสดงเครื่องหมายมาตรฐานมหาวิทยาลัยสีเขียว UI Green Metric World University Rankings<br />

ภาพที่ 2: แสดงจนวนมหาวิทยาลัยในโลกและมหาวิทยาลัยของไทยที่เข้าร่วมประเมินมหาวิทยาลัยสีเขียวตามมาตรฐาน<br />

ทไมต้องมหาวิทยาลัยสีเขียว<br />

UI Green Metric World University Rankings ตั้งแต่ปี ค.ศ.2010-2018<br />

เหตุผลสำคัญในการดำเนินการด้านมหาวิทยาลัยสีเขียวเกิดจากประเด็นปัญหาวิกฤติร่วมกัน<br />

เกี ่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางพลังงาน ความเสื่อมโทรมของสภาพ<br />

แวดล้อม ความมั่นคงทางอาหารและน้ำ รวมถึงประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมหาวิทยาลัยน่าจะเป็น<br />

หนึ่งในองค์กรที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังราย<br />

ละเอียดตามตารางที่ 1<br />

86


1. ประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อม 2. ประโยชน์ต่อสถาบันการศึกษา<br />

- มีสภาพแวดล้อมที่ดี<br />

- มีการจัดการทรัพยากรที่ดีลดปริมาณขยะและ<br />

ของเสีย<br />

- มีเวทีแลกเปลี ่ยนเรื่องการบริหารจัดการ<br />

มหาวิทยาลัยของภาคส่วนต่างๆ<br />

- กระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อ<br />

สร้างความเปลี่ยนแปลง<br />

- ลดค่าใช้จ่ายในสถาบันการศึกษา<br />

3. ประโยชน์ต่อนักศึกษาและการเรียนรู้ 4. ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม<br />

- ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา(Learning<br />

Outcomes)<br />

- การพัฒนาทักษะการวิจัย<br />

- การพัฒนาทักษะในการทำงานด้านต่างๆ<br />

- สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาการเรียนกับประเด็น<br />

ใหม่ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม<br />

- เป็นตัวอย่างที่ดีให้ชุมชนและสังคมได้เรียนรู้<br />

- สร้างการเชื่อมโยงกับชุมชนและสังคมรอบข้าง<br />

- ลดปริมาณขยะและของเสียต่อชุมชนโดยรอบ<br />

- ลดปัญหาเรื่องการจราจรและการขนส่ง<br />

ตารางที่ 1: ประโยชน์ที่คาดหวังจากมหาวิทยาลัยสีเขียว (ที่มา: An Taisce, 2016)<br />

มหาวิทยาลัยสีเขียวตามมาตรฐาน UI Green Metric<br />

การออกแบบเกณฑ์ (Criteria) ที่ใช้ประกอบการประเมินมหาวิทยาลัยสีเขียวตามมาตรฐาน<br />

UI Green Metric พัฒนามาจากระบบการประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม<br />

ร่วมกับการศึกษาการจัดอันดับด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยมีการจัดสัมมนาและประชุม<br />

เชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดที่เหมาะสม และดำเนินการโดยคณะทำงานสหวิชาชีพทั้งทางด้าน<br />

วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบชุมชนเมือง<br />

แพทยศาสตร์สาธารณสุข สถิติเคมีภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษา สรุปเป็นเกณฑ์ในการประเมิน<br />

และจัดลำดับคะแนน 6 หมวด (ตารางที่ 2)<br />

ข้อ หมวด ร้อยละ<br />

ของคะแนน(%)<br />

1 สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน (Setting and Infrastructure) 15<br />

2 พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Energy and Climate Change) 21<br />

3 ของเสีย (Waste) 18<br />

4 น้ำ (Water) 10<br />

5 การขนส่ง (Transportation) 18<br />

6 การศึกษา (Education) 18<br />

รวมทั้งหมด 100<br />

ตารางที่ 2: หมวดต่างๆ ที่ใช้ในการจัดอันดับและการให้ค่าน้ำหนัก (ที่มา: UI GreenMetric, 2018)<br />

โดยมีรายละเอียดสาระสำคัญในแต่ละหมวดหมู่ ดังนี้<br />

1. สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน (SI)<br />

เป็นเกณฑ์ที่ประเมินจากข้อมูลด้านสถานที่และโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับ<br />

พื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่ป่า พื้นที่ปลูกต้นไม้ พื้นที่ดูดซับน้ำประเภทต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้<br />

มหาวิทยาลัยจัดให้มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น มีการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาพลังงานที่<br />

ยั่งยืน ทั้งนี้มีการจำแนกตามบริบทที่ต่างกัน ทั้งในเรื่องสภาพภูมิอากาศ สภาพความเป็นเมือง<br />

และชนบท และจำนวนบุคลากร นักศึกษา รวมทั้งการสนับสนุนงบประมาณของมหาวิทยาลัย<br />

เพื่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนประกอบการพิจารณาด้วย<br />

87


2. พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (EC)<br />

เป็นเกณฑ์การประเมินที่ถูกให้ค่าน้ำหนักมากที่สุด มุ่งเน้นความตระหนักในการใช้อุปกรณ์<br />

ประหยัดพลังงาน นโยบายการใช้พลังงานทดแทน โครงการและกิจกรรมสนับสนุน องค์ประกอบ<br />

ของอาคารสีเขียว การใช้แสงและระบายอากาศธรรมชาตินโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือน<br />

กระจกและคาร์บอนฟุตพริ้นท์<br />

3. ของเสีย (WS)<br />

เป็นเกณฑ์ที่ประเมินด้านการจัดการของเสียและการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ทั้งของเสีย<br />

อินทรีย์ อนินทรีย์ และการบำบัดน้ำเสีย<br />

4. น้ำ (WR)<br />

เป็นเกณฑ์ประเมินเพื่อกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยลดการใช้น้ำ เพิ่มโครงการอนุรักษ์น้ำ การนำน้ำ<br />

เสียกลับมาใช้ใหม่ การใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ และการใช้น้ำที่มีการปรับคุณภาพแล้ว เป็นต้น<br />

5. การขนส่ง (TR)<br />

เป็นเกณฑ์ประเมินเพื่อส่งเสริมให้มีระบบขนส่งสาธารณะในมหาวิทยาลัย จำกัดการใช้ยาน<br />

ยนต์ ส่งเสริมการใช้จักรยานและนโยบายการเดินเท้าในวิทยาเขต<br />

6. การศึกษา (ED)<br />

เป็นเกณฑ์ประเมินที่สำคัญอีกหมวดเพื่อเพิ่มการตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การประหยัด<br />

พลังงาน ซึ่งมีผลต่อบุคลากร นักศึกษา ทั้งสัดส่วนรายวิชาเกี่ยวกับความยั่งยืน ทุนวิจัยและผล<br />

งานวิจัยด้านความยั่งยืน กิจกรรมด้านความยั่งยืน องค์กรนักศึกษา และเว็บไซต์เกี่ยวกับความ<br />

ยั่งยืน<br />

มหาวิทยาลัยไทยกับแนวคิดมหาวิทยาลัยสีเขียว<br />

ความสนใจมาตรฐานด้านมหาวิทยาลัยสีเขียวของไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกับสากล เห็นได้<br />

ชัดจากการเพิ่มขึ ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมรับการประเมิน มีการศึกษาที่พบ<br />

ว่าการจัดอันดับมีผลต่อภาพลักษณ์ที่ทำให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสนับสนุนให้ดำเนินการเพื่อให้มีการ<br />

จัดอันดับที่สูงขึ้น โดยการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการใช้พื้นที่และข้อจำกัดของการสัญจรด้วยการเดิน<br />

เท้าและจักรยานเพื่อปรับปรุงผังแม่บท (Master Plan) ของมหาวิทยาลัย (ภาวิณี เอี่ยมตระกูล และ<br />

จิรวรรณ คล้ายลี, 2561; พัฑรา สืบศิริ และคณะ, 2560) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงผลการดำเนินงานที่เห็น<br />

อย่างเป็นรูปธรรมจากการจัดอันดับโลก พบว่าหลายมหาวิทยาลัยมีการดำเนินการตามเกณฑ์<br />

มาตรฐานมหาวิทยาลัยสีเขียวได้เป็นอย่างดี<br />

ภาพที่ 3: ตัวอย่างการดเนินการตามมาตรฐานมหาวิทยาลัยสีเขียวในทุกมิติ (ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562)<br />

88


ภาพที่ 4: มหาวิทยาลัยสีเขียว (ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562)<br />

มาตรฐานมหาวิทยาลัยสีเขียวของไทยในเวทีโลก<br />

จากการจัดลำดับมหาวิทยาลัยสีเขียวในปี2018 ซึ่งมีมหาวิทยาลัยทั่วโลกเข้าร่วมการจัดอันดับ<br />

719 มหาวิทยาลัย มีมหาวิทยาลัยของไทยเข้าร่วมการจัดอันดับ 32 มหาวิทยาลัย พบว่ามหาวิทยาลัย<br />

มหิดลและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับคะแนนประเมินสูงสุด 6,850 คะแนน (ร้อยละ 68.50) อยู่<br />

ในอันดับที่ 90 และ 91 ของโลก (ตารางที่ 3 และ 4)<br />

ตารางที่ 3: แสดงอันดับการประเมินมหาวิทยาลัยสีเขียวโลกตามมาตรฐาน UI Green Metric World<br />

University Rankings ปีค.ศ.2018 ใน 10 ลำดับแรกของโลกและ 10 ลำดับแรกของมหาวิทยาลัยไทย<br />

(ที่มา: UI GreenMetric, 2018)<br />

Ranking<br />

University<br />

Country<br />

Total Score<br />

Setting &<br />

Infrastructure<br />

Energy &<br />

Climate<br />

Waste<br />

Water<br />

Transportation<br />

Education &<br />

Research<br />

01 Wageningen University & Research Netherland 9125 1250 1725 1800 1000 1550 1800<br />

02 University of Nottingham UK 8600 1175 1675 1575 1000 1450 1725<br />

03 University of California Davis USA 8575 1400 1375 1725 1000 1500 1575<br />

04 University of Oxford UK 8525 1150 1625 1650 850 1600 1650<br />

05 Nottingham Trent University UK 8450 1225 1675 1800 550 1400 1800<br />

06 Umwelt-Campus Birkenfeld Germany 8350 1350 1700 1500 800 1275 1725<br />

07 University of Groningen Netherland 8350 1100 1550 1575 1000 1550 1575<br />

08 Bangor University UK 8325 1250 1500 1650 425 1700 1800<br />

09 University College Cork Ireland 8250 1150 1475 1725 600 1650 1650<br />

89


Ranking<br />

University<br />

Country<br />

Total Score<br />

Setting &<br />

Infrastructure<br />

Energy &<br />

Climate<br />

Waste<br />

Water<br />

Education &<br />

Research<br />

10 University of Connecticut USA 8150 1200 1350 1800 700 1450 1650<br />

90 Mahidol University Thailand 6850 1050 1175 1275 800 1225 1325<br />

91 Kasetsart University Thailand 6850 1025 1125 1200 800 1300 1400<br />

96 Chulalongkorn University Thailand 6750 800 1350 1425 425 1350 1400<br />

135 Dhurakij Pundit University Thailand 6125 975 1200 1125 500 1000 1325<br />

139 King Mongkut’s University of Thailand 6075 800 1200 1275 700 1125 975<br />

0 Technology North Bangkok<br />

142 Naresuan University Thailand 6075 1125 775 1200 750 1000 1225<br />

163 Siam University Thailand 5850 825 975 1275 650 1000 1125<br />

170 King Mongkut’s University of Thailand 5775 900 1075 900 575 1000 1325<br />

0 Technology Thonburi<br />

182 Mahasarakham University Thailand 5675 925 1000 750 450 1350 1200<br />

207 Mae Fah Luang University<br />

ตารางที่4: แสดงร้อยละของคะแนนที่ได้รับการประเมินมหาวิทยาลัยสีเขียวตามมาตรฐาน UI Green<br />

Metric World University Rankings ปี ค.ศ.2018 (ที่มา: UI GreenMetric, 2018)<br />

Ranking<br />

University<br />

Country<br />

Total Score<br />

Setting &<br />

Infrastructure<br />

Energy &<br />

Climate<br />

Waste<br />

Water<br />

Transportation<br />

Transportation<br />

Education &<br />

Research<br />

1 Wageningen University & Research Netherland 91.25 83.33 82.14 100.00 100.00 86.11 100.00<br />

2 University of Nottingham UK 86.00 78.33 79.76 87.50 100.00 80.56 95.83<br />

3 University of California Davis USA 85.75 93.33 65.48 95.83 100.00 83.33 87.50<br />

4 University of Oxford UK 85.25 76.67 77.38 91.67 85.00 88.89 91.67<br />

5 Nottingham Trent University UK 84.50 81.67 79.76 100.00 55.00 77.78 100.00<br />

6 Umwelt-Campus Birkenfeld Germany 83.50 90.00 80.95 83.33 80.00 70.83 95.83<br />

7 University of Groningen Netherland 83.50 73.33 73.81 87.50 100.00 86.11 87.50<br />

8 Bangor University UK 83.25 83.33 71.43 91.67 42.50 94.44 100.00<br />

9 University College Cork Ireland 82.50 76.67 70.24 95.83 60.00 91.67 91.67<br />

10 University of Connecticut USA 81.50 80.00 64.29 100.00 70.00 80.56 91.67<br />

90


Ranking<br />

University<br />

Country<br />

Total Score<br />

Setting &<br />

Infrastructure<br />

Energy &<br />

Climate<br />

Waste<br />

Water<br />

Transportation<br />

90 Mahidol University Thailand 68.50 70.00 55.95 70.83 80.00 68.06 73.61<br />

Education &<br />

Research<br />

91 Kasetsart University Thailand 68.50 68.33 53.57 66.67 80.00 72.22 77.78<br />

96 Chulalongkorn University Thailand 67.50 53.33 64.29 79.17 42.50 75.00 77.78<br />

135 Dhurakij Pundit University Thailand 61.25 65.00 57.14 62.50 50.00 55.56 73.61<br />

139 King Mongkut’s University of Thailand 60.75 53.33 57.14 70.83 70.00 62.50 54.17<br />

0 Technology North Bangkok<br />

142 Naresuan University Thailand 60.75 75.00 36.90 66.67 75.00 55.56 68.06<br />

163 Siam University Thailand 58.50 55.00 46.43 70.83 65.00 55.56 62.50<br />

170 King Mongkut’s University of Thailand 57.75 60.00 51.19 50.00 57.50 55.56 73.61<br />

0 Technology Thonburi<br />

182 Mahasarakham University Thailand 56.75 61.67 47.62 41.67 45.00 75.00 66.67<br />

207 Mae Fah Luang University Thailand 55.50 61.67 53.57 50.00 70.00 58.33 47.22<br />

เมื่อพิจารณาภาพรวมของคะแนนในหมวดต่างๆ ของมหาวิทยาลัยใน 10 อันดับแรกของโลก<br />

กับ 10 อันดับแรกของไทย พบว่าคะแนนเฉลี่ยรวมต่างกันประมาณร้อยละ 30 โดยมีสัดส่วนคะแนน<br />

ในหมวดต่างๆ ที่น่าสนใจคือ<br />

- มหาวิทยาลัยที่มีการจัดอันดับดีทั้งของโลกและของไทยใน 10 อันดับแรกมีสัดส่วนคะแนน<br />

เฉลี่ยในหมวดการศึกษา (ED) ค่อนข้างสูงกว่าหมวดอื่นๆ<br />

- มหาวิทยาลัย 10 อันดับแรกของโลกมีสัดส่วนคะแนนโดดเด่นในหมวด การศึกษา (เฉลี่ยร้อย<br />

ละ 94.17) ขยะ (ร้อยละ 93.33) การคมนาคมขนส่ง (ร้อยละ 84.03) และโครงสร้างพื้นฐาน<br />

(ร้อยละ 81.67) ตามลำดับ<br />

- มหาวิทยาลัย 10 อันดับแรกของไทยมีสัดส่วนคะแนนโดดเด่นในหมวด การศึกษา (เฉลี่ยร้อย<br />

ละ 67.50) น้ำ (ร้อยละ 63.50) และการคมนาคมขนส่ง (ร้อยละ 63.33) ตามลำดับ และเป็น<br />

3 หมวดหลักที่ทำให้การจัดอันดับสูงขึ้นอย่างชัดเจนกว่าหมวดอื่นๆ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยได้<br />

คะแนนไม่ต่างกันมากนัก<br />

- หมวดที ่มหาวิทยาลัยไทยได้รับการประเมินต่ำสุด คือหมวดพลังงาน โดย 10 อันดับแรกมี<br />

สัดส่วนคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 52.33 และสัดส่วนคะแนนเฉลี่ยทุกมหาวิทยาลัยของไทยเป็นร้อย<br />

ละ 42.82<br />

91


ภาพที่ 5: การรณรงค์เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี (ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2562)<br />

ความท้าทายของมหาวิทยาลัยสีเขียวและข้อเสนอเชิงนโยบาย<br />

ถึงแม้จะพบว่ามหาวิทยาลัยในเมืองไทยและทั่วโลกมีแนวโน้มในการชูนโยบายมหาวิทยาลัย<br />

สีเขียวเพื่อยกระดับการจัดอันดับอย่างแพร่หลาย แต่มีการศึกษาที่พบว่ามหาวิทยาลัยมุ่งเน้นเรื่อง<br />

คะแนนและการจัดอันดับ เพื่อการประชาสัมพันธ์มากกว่ารายละเอียดเพื่อนำไปปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์<br />

ที่แก้ปัญหาได้จริงและการสื่อสารให้นักศึกษาเข้าใจในทิศทางเดียวกัน (Dagiliute et al., 2018) และ<br />

มีการศึกษาเรื่องอุปสรรคในการพัฒนาตามแนวทางมหาวิทยาลัยสีเขียวในบริบทต่างๆ ทั่วโลกพบ<br />

อุปสรรคที่สำคัญหลายประเด็น (Avila et al., 2017) เช่น ขาดการเอาใจใส่อย่างจริงจังในการบริหาร<br />

งาน การสนับสนุนงบประมาณการเงิน การสื่อสารในกลุ่มย่อย การประสานงานกับท้องถิ่นและหน่วย<br />

งานภายนอก รวมถึงการขาดกลไกติดตามผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงมีข้อค้นพบจากการศึกษาใน<br />

บริบทไทย (อภิรมย์ อาทิตย์ตั้ง และคณะ, 2559) ที่ได้ดำเนินการพัฒนาการเรียนการสอนด้านสังคม<br />

และสิ่งแวดล้อม และได้ระดับผลการประเมินหมวดการศึกษาสูง แต่กลับพบว่าคะแนนเฉลี่ยในหมวด<br />

พลังงานยังคงต่ำมาก แสดงให้เห็นว่ายังไม่สามารถทำให้เกิดการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่าง<br />

เป็นรูปธรรมได้จริง จำเป็นต้องเน้นการศึกษาและการปลูกฝังจิตสำนึก ทัศนคติ และการปรับเปลี่ยน<br />

พฤติกรรมของนักศึกษาและบุคลากร ควบคู่ไปกับการกำหนดนโยบายและการรณรงค์ส่งเสริมอย่าง<br />

จริงจังโดยการมีส่วนร่วมของนักศึกษา รวมทั้งการเพิ่มเติมเนื้อหาวิชาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น<br />

เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งมีข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อ<br />

พัฒนามหาวิทยาลัยตามแนวคิดมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม (ฐิติกรณ์ ยาวิไชย และคณะ,<br />

2560) ให้ผู้บริหารสถาบันการศึกษาซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง<br />

และมีบทบาทในการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ และบุคลากรสายวิชาการสายสนับสนุนร่วมวางแผน<br />

ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง รวมถึงการผลักดันงานด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วย<br />

งาน ภาคีเครือข่าย และชุมชนที่อยู่โดยรอบมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการร่วมมือสนับสนุน<br />

การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม<br />

92


เอกสารอ้างอิง<br />

ฐิติกรณ์ ยาวิไชย และคณะ. (2560). “กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว”. วารสารการ<br />

บริหารปกครอง ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560.<br />

พัฑรา สืบศิริ และคณะ. (2560). “โครงการจัดสภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยสีเขียว”. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์<br />

และเทคโนโลยี. ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560.<br />

ภาวิณี เอี่ยมตระกูล และ จิรวรรณ คล้ายลี. (2561) “แนวทางการพัฒนาความปลอดภัยทางถนนของชุมชนมหาวิทยาลัยและพื้นที่โดย<br />

รอบอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต”. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง ปีที่ 15<br />

ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561.<br />

อภิรมย์ อาทิตย์ตั้ง และคณะ. (2559). “การศึกษาความคิดเห็นนักศึกษาเรื่อง Green Living at KMUTT ผ่านการจัดการเรียนการสอน<br />

วิชามนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดาเนินชีวิต”. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม -<br />

ธันวาคม 2559.<br />

An Taisce. (2016). “The Green-Campus Programme, Smarter Sustainable Campus Communities: A Guide for Campuses<br />

Embarking on the Green-Campus Programme”.<br />

[online], available: Green-Campus Office, An Taisce, Environmental Education Unit<br />

http://www.greencampusireland.org/wp-content/uploads/2016/12/Green-Campus-Guidebook-2016-2017.pdf<br />

Avila, L.V., Leal Filho, W., Brandli, L., Macgregor, C.J., Molthan-Hill, P., Pinag, G.O., Moreira, R.M., (2017). “Barriers to<br />

innovation and sustainability at universities around the world”. Journal of Cleaner Production. 164, 1268-1278.<br />

Dagiliute, R., Liobikiene, G., & Minelgaite, A. (2018). “Sustainability at university: Students’ perceptions from<br />

Green and Non-Green university”. Journal of Cleaner Production. 181, 473-482.<br />

Mahidol University. (2019). “Mahidol Sustainable University”.<br />

[online], available: https://mahidol.ac.th/sustainable/<br />

UI GreenMetric. (2018). “UI GreenMetric World University Rankings 2018”.<br />

[online], available: http://greenmetric.ui.ac.id<br />

93


Green University: New challenges in the environment and<br />

sustainable development<br />

Kitti Chaowana<br />

School of Architecture, Walailak University / ckitti@mail.wu.ac.th<br />

Abstract<br />

The concept of Green University has received full acceptance, both internationally and in the Thai context. One of the<br />

most widely accepted assessment criterias can be seen in the number of universities participating in the rapid increase in assessments,<br />

according to the UI GreenMetric World University Ranking, organised by the Universitas Indonesia (UI). Universities<br />

in Thailand also use the criteria and ranking of the green universities to manage the university at the policy level, and<br />

physical development responds to various indicators according to the requirements. Although the green university concept<br />

has been used for a while, a problem is still found in applying it to see concrete results. There are still many ambiguities. This<br />

article has compiled the principles, relevant criteria, and study results to take lessons and discuss the creation of policy proposals<br />

for universities, the essential institutions for knowledge creation and personnel development for social development,<br />

and to make changes in the future.<br />

Keywords : Green University, Sustainable Development, Policy Management, Criteria<br />

Introduction<br />

‘Green University’ is one of the concepts developed from ‘Sustainable Development’ principles, which arose from environmental,<br />

resource, social, cultural, and economic issues all over the globe. The university is an essential component that<br />

can drive society, create knowledge, and develop talents for social development through its mission, including its courses,<br />

creation of innovative research and benefits, as well as educational services to the community. One of the widely accepted assessment<br />

criteria for Green University is the UI GreenMetric World University Ranking, organised by the Universitas Indonesia<br />

(image 1). The first world university assessment and rankings took place in 2010, and the number of universities participating<br />

in the assessment has been continuously and rapidly increased (image 2).<br />

94<br />

Image 1: UI Green Metric World University Rankings


Image 2: UI Green Metric Participants in 2010-2018<br />

Why Green University?<br />

The important reason for implementing Green University is the universal issue on<br />

climate change, energy security, environmental degradation , food and water security, as<br />

well as sustainable development. The university can be an important institution that helps drive<br />

concrete solutions on these issues. More details are provided in table 1.<br />

1. Benefits to environment 2. Benefits to university<br />

- Having a healthy environment<br />

- Having effective resource management,<br />

reducing trash and waste<br />

- Having a forum for various sections to<br />

exchange on operating universities<br />

- Driving innovation to create change<br />

- Reducing costs within the universities<br />

3. Benefits to students 4. Benefits to community and society<br />

- Improving student learning outcomes<br />

- Developing research skills<br />

- Developing various working skills<br />

- Able to apply learning to the current environmental<br />

issues<br />

- Being a good example for community and<br />

society to learn<br />

- Connecting with nearby community and<br />

society<br />

- Reducing trash and waste in the surrounding<br />

community<br />

- Minimizing traffic and transportation problems<br />

Table 1: Expected benefits from Green-Campus (Source: An Taisce, 2016)<br />

95


UI Green Metric University<br />

The criteria design for assessing UI Green Metric University<br />

is developed from the assessment system on environmental,<br />

economic, and social sustainability, along with the study<br />

on educational rankings from other universities. Seminars and<br />

workshops have been organised by multidisciplinary teams in<br />

environmental science, engineering, architecture and urban<br />

design, medicine, public health, statistics, chemistry, linguistics,<br />

and cultural studies, in order to develop the appropriate indicators.<br />

There are 6 categories of indicators used in assessment<br />

and ranking, as summarised in table 2.<br />

Item Category Percentage<br />

(%)<br />

1 Setting and Infrastructure 15<br />

2 Energy and Climate Change 21<br />

3 Waste 18<br />

4 Water 10<br />

5 Transportation 18<br />

6 Education 18<br />

Total 100<br />

Table 2: Categories used in the ranking and their weighting (Source: UI GreenMetric, 2018)<br />

The main criteria for each category are summarized as<br />

followings:<br />

1. Setting and Infrastructure (SI)<br />

SI is assessed by data on university setting and infrastructure,<br />

which are related to open space areas, areas<br />

covered in forest, areas covered in planted vegetation,<br />

and areas for water absorption. The purpose of this<br />

indicator is to drive the universities to create more green<br />

spaces and approaches to protect the environment and<br />

develop sustainable energy. It is classified in various<br />

contexts, including climate, urban or rural areas, numbers<br />

of staff and students, as well as the university<br />

budget for supporting sustainable environment development.<br />

2. Energy and Climate Change (EC)<br />

EC takes the highest weight in assessment. It emphasises<br />

the awareness on energy efficient appliances usage,<br />

policy on renewable energy, projects and activities that<br />

support green building implementation, the use of<br />

natural light and ventilation, and policy on reducing<br />

greenhouse gas emissions and carbon footprint.<br />

3. Waste (WS)<br />

WS assesses waste management and reuse activities,<br />

which include organic waste treatment, inorganic waste<br />

treatment, and wastewater treatment.<br />

4. Water (WR)<br />

WR stimulates the universities to reduce water usage<br />

and increase more projects on water conservation,<br />

wastewater reuse, water efficient appliances usage, and<br />

treated water usage, etc.<br />

5. Transportation (TR)<br />

TR promotes the transportation system in the university,<br />

limits car usage, and encourages cycling and<br />

walking in the campus.<br />

6. Education (ED)<br />

ED is another important indicator to increase awareness<br />

on the environment and energy-saving. It affects the<br />

staff and students on the proportion of sustainability<br />

courses, sustainability research funding, publications<br />

related to sustainability, activities related to sustainability,<br />

student committee, and sustainability website.<br />

Universities in Thailand and the Concept of<br />

Green University<br />

Thailand’s interest in Green University is going in the<br />

same direction as other countries. This can be proven by the<br />

rapid increase in numbers of participating universities. Research<br />

found that rankings have an effect on university image. As a<br />

result, boards of the university tend to support the implementation<br />

so that a university can be ranked higher, by analyzing<br />

96


the problem of area usage and limitation on walking and cycling,<br />

in order to improve the university master plan (Iamtrakul and<br />

Klaylee, 2018; Suebsiri et al., 2017). Considering the concrete<br />

implementation results from world ranking, many universities<br />

have operated according to the standard of Green University.<br />

Image 3: Example of the Green University criteria implementation (Source: Mahidol University, 2019)<br />

Image 4: Mahidol University Green Campus (Source: Mahidol University, 2019)<br />

97


Green Universities in Thailand on the Global Stage<br />

According to 2018 Green University ranking in which 719 universities from all over the<br />

world participated, 32 universities from Thailand were listed in the ranking. Mahidol University<br />

and Kasetsart University received the highest scores of 6,850 points (68.50%), ranked 90th<br />

and 91th in the world ranking (table 3 and 4), respectively.<br />

Table 3: UI GreenMetric World University Rankings 2018 (Source: UI GreenMetric,<br />

2018)<br />

Ranking<br />

University<br />

Country<br />

Total Score<br />

Setting &<br />

Infrastructure<br />

Energy &<br />

Climate<br />

Waste<br />

Water<br />

Transportation<br />

Education &<br />

Research<br />

01 Wageningen University & Research Netherland 9125 1250 1725 1800 1000 1550 1800<br />

02 University of Nottingham UK 8600 1175 1675 1575 1000 1450 1725<br />

03 University of California Davis USA 8575 1400 1375 1725 1000 1500 1575<br />

04 University of Oxford UK 8525 1150 1625 1650 850 1600 1650<br />

05 Nottingham Trent University UK 8450 1225 1675 1800 550 1400 1800<br />

06 Umwelt-Campus Birkenfeld Germany 8350 1350 1700 1500 800 1275 1725<br />

07 University of Groningen Netherland 8350 1100 1550 1575 1000 1550 1575<br />

08 Bangor University UK 8325 1250 1500 1650 425 1700 1800<br />

09 University College Cork Ireland 8250 1150 1475 1725 600 1650 1650<br />

10 University of Connecticut USA 8150 1200 1350 1800 700 1450 1650<br />

90 Mahidol University Thailand 6850 1050 1175 1275 800 1225 1325<br />

91 Kasetsart University Thailand 6850 1025 1125 1200 800 1300 1400<br />

96 Chulalongkorn University Thailand 6750 800 1350 1425 425 1350 1400<br />

135 Dhurakij Pundit University Thailand 6125 975 1200 1125 500 1000 1325<br />

139 King Mongkut’s University of Thailand 6075 800 1200 1275 700 1125 975<br />

0 Technology North Bangkok<br />

142 Naresuan University Thailand 6075 1125 775 1200 750 1000 1225<br />

163 Siam University Thailand 5850 825 975 1275 650 1000 1125<br />

170 King Mongkut’s University of Thailand 5775 900 1075 900 575 1000 1325<br />

0 Technology Thonburi<br />

182 Mahasarakham University Thailand 5675 925 1000 750 450 1350 1200<br />

207 Mae Fah Luang University<br />

98


Table 4: UI GreenMetric World University Rankings 2018 by percentage (Source: UI GreenMetric, 2018)<br />

Ranking<br />

University<br />

Country<br />

Total Score<br />

Setting &<br />

Infrastructure<br />

Energy &<br />

Climate<br />

Waste<br />

Water<br />

Transportation<br />

Education &<br />

Research<br />

1 Wageningen University & Research Netherland 91.25 83.33 82.14 100.00 100.00 86.11 100.00<br />

2 University of Nottingham UK 86.00 78.33 79.76 87.50 100.00 80.56 95.83<br />

3 University of California Davis USA 85.75 93.33 65.48 95.83 100.00 83.33 87.50<br />

4 University of Oxford UK 85.25 76.67 77.38 91.67 85.00 88.89 91.67<br />

5 Nottingham Trent University UK 84.50 81.67 79.76 100.00 55.00 77.78 100.00<br />

6 Umwelt-Campus Birkenfeld Germany 83.50 90.00 80.95 83.33 80.00 70.83 95.83<br />

7 University of Groningen Netherland 83.50 73.33 73.81 87.50 100.00 86.11 87.50<br />

8 Bangor University UK 83.25 83.33 71.43 91.67 42.50 94.44 100.00<br />

9 University College Cork Ireland 82.50 76.67 70.24 95.83 60.00 91.67 91.67<br />

10 University of Connecticut USA 81.50 80.00 64.29 100.00 70.00 80.56 91.67<br />

90 Mahidol University Thailand 68.50 70.00 55.95 70.83 80.00 68.06 73.61<br />

91 Kasetsart University Thailand 68.50 68.33 53.57 66.67 80.00 72.22 77.78<br />

96 Chulalongkorn University Thailand 67.50 53.33 64.29 79.17 42.50 75.00 77.78<br />

135 Dhurakij Pundit University Thailand 61.25 65.00 57.14 62.50 50.00 55.56 73.61<br />

139 King Mongkut’s University of Thailand 60.75 53.33 57.14 70.83 70.00 62.50 54.17<br />

0 Technology North Bangkok<br />

142 Naresuan University Thailand 60.75 75.00 36.90 66.67 75.00 55.56 68.06<br />

163 Siam University Thailand 58.50 55.00 46.43 70.83 65.00 55.56 62.50<br />

170 King Mongkut’s University of Thailand 57.75 60.00 51.19 50.00 57.50 55.56 73.61<br />

0 Technology Thonburi<br />

182 Mahasarakham University Thailand 56.75 61.67 47.62 41.67 45.00 75.00 66.67<br />

207 Mae Fah Luang University Thailand 55.50 61.67 53.57 50.00 70.00 58.33 47.22<br />

Considering the overall score by each category, top-10<br />

world universities have an approximately 30% higher average<br />

total score than the top-10 Thai universities. Interesting findings<br />

on the score proportion in each category are as followings:<br />

- Top-10 world universities and top-10 Thai universities<br />

both have higher average score in education (ED) than<br />

the other categories.<br />

- Top-10 world universities have the most outstanding<br />

score in education (average of 94.17%), waste (93.33%),<br />

transportation (84.03%), and infrastructure (81.67%),<br />

respectively.<br />

- Top-10 Thai universities have the most outstanding<br />

score in education (average of 67.50%), water (63.50%),<br />

and transportation (63.33%), respectively. These are<br />

the 3 main categories that improve the ranking more<br />

prominently than the others. Each university does not<br />

have much variance of score in these categories.<br />

- The category that Thai universities ranked lowest is<br />

energy. The average scores for the top-10 Thai universities<br />

and for all Thai universities are 52.33% and<br />

42.82%, respectively.<br />

99


Image 5: A green university campaign for a better environment (Source: Mahidol University, 2019)<br />

The Challenges of Green University and<br />

the Policy Proposal<br />

Even though universities in Thailand and around the world<br />

tend to encourage the Green University policy more widely,<br />

with many attempting to improve their rankings, the study<br />

found that those universities are more focused on scores and<br />

rankings to promote themselves, rather than to apply the idea<br />

and create practical solutions or to communicate to their students<br />

for mutual understanding (Dagiliute et al., 2018). A study<br />

also reveals several obstacles for developing Green University<br />

policy in various global contexts (Avila et al., 2017); for example,<br />

lack of commitment to manage, lack of financial support,<br />

lack of small group communication, lack of coordination between<br />

local and external organizations, as well as lack of concrete<br />

monitoring mechanism. In addition, there is a study in<br />

Thai context (Artittang et al., 2016) showing that although the<br />

curriculum on society and environment has been developed,<br />

and the ranking in the education category is high, the average<br />

score in energy category remains low. This implies that the<br />

Green University policy still cannot be practically and concretely<br />

implemented. Educating, building awareness and attitude,<br />

and changing behavior of staff and students are still required,<br />

as well as adding more courses on the environment, so<br />

that universities can take the lead in changing the society and<br />

environment. The policy proposal must also be raised to develop<br />

universities according to Green University policy in a<br />

concrete way (Yawichai et al., 2017). The board of the university,<br />

which holds an important role for driving change, must<br />

act as the leader of transformation and ensure readiness in<br />

various aspects. The academic support staff should also participate<br />

in planning and driving the policy to create change, as<br />

well as driving environment-related work with other institutions,<br />

associates, networks, and communities surrounding the<br />

university to concretely strengthen the collaboration and<br />

support for Green University.<br />

100


References<br />

ฐิติกรณ์ยาวิไชย และคณะ. (2560). “กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาตามแนวคิดการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว”. วารสารการบริหาร<br />

ปกครอง ปีที่6 ฉบับที่2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2560.<br />

พัฑรา สืบศิริและคณะ. (2560). “โครงการจัดสภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยสีเขียว”. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และ<br />

เทคโนโลยี. ปีที่12 ฉบับที่1 มกราคม-มิถุนายน 2560.<br />

ภาวิณี เอี่ยมตระกูล และ จิรวรรณ คล้ายลี. (2561) “แนวทางการพัฒนาความปลอดภัยทางถนนของชุมชนมหาวิทยาลัยและพื้นที่โดยรอบ<br />

อย่างยั่งยืน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต”. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง ปีที่15 ฉบับที่<br />

1 มกราคม-มิถุนายน 2561.<br />

อภิรมย์ อาทิตย์ตั้ง และคณะ. (2559). “การศึกษาความคิดเห็นนักศึกษาเรื่อง Green Living at KMUTT ผ่านการจัดการเรียนการสอนวิชา<br />

มนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดาเนินชีวิต”. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ปีที่42 ฉบับที่2 กรกฎาคม - ธันวาคม<br />

2559.<br />

An Taisce. (2016). “The Green-Campus Programme, Smarter Sustainable Campus Communities: A Guide for Campuses<br />

Embarking on the Green-Campus Programme”.<br />

[online], available: Green-Campus Office, An Taisce, Environmental Education Unit<br />

http://www.greencampusireland.org/wp-content/uploads/2016/12/Green-Campus-Guidebook-2016-2017.pdf<br />

Avila, L.V., Leal Filho, W., Brandli, L., Macgregor, C.J., Molthan-Hill, P., Pinag, G.O., Moreira, R.M., (2017). “Barriers to inno<br />

vation and sustainability at universities around the world”. Journal of Cleaner Production. 164, 1268-1278.<br />

Dagiliute, R., Liobikiene, G., & Minelgaite, A. (2018). “Sustainability at university: Students’ perceptions from Green and Non-<br />

Green university”. Journal of Cleaner Production. 181, 473-482.<br />

Mahidol University. (2019). “Mahidol Sustainable University”.<br />

[online], available: https://mahidol.ac.th/sustainable/<br />

UI GreenMetric. (2018). “UI GreenMetric World University Rankings 2018”.<br />

[online], available: http://greenmetric.ui.ac.id<br />

101


เปิดรับพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ใน<br />

วารสารอาษา (<strong>ASA</strong> Journal) ฉบับประจปี พ.ศ.2563<br />

ที่มาและความสคัญ<br />

สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมสังคม และเพื่อเป็นการ<br />

ผลักดันให้ผลงานทางวิชาการและนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรมเป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในและนอกประเทศ ในการนี้สมาคมสถาปนิกสยามฯ<br />

ได้จัดทำ “วารสารอาษา (<strong>ASA</strong> Journal)” เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานและนวัตกรรมทาง<br />

สถาปัตยกรรมอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ และความคิดริเริ่ม<br />

สร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่เกี ่ยวเนื่องกับสาขาสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง โดยเนื้อหาความรู้ที่เผยแพร่สู่<br />

สาธารณชนมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการ และนักปฏิบัติวิชาชีพสาขาสถาปัตยกรรม รวมถึง<br />

สาขาวิชาชีพอื่นๆ และประชาชนทั่วไปที่สนใจได้รับรู้ความก้าวหน้าและสาระทางวิชาการทางสถาปัตยกรรม เพื่อสามารถนำไปพัฒนา<br />

หรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้เข้ากับการปฏิบัติวิชาชีพและดำเนินชีวิต ทั้งส่วนบุคคลและส่วนชุมชนโดยรวมต่อไป อันจะเป็นการเสริมความ<br />

เข้มแข็งแก่วงวิชาการ และวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ต่อไป สมาคมสถาปนิกสยามฯ ขอเชิญผู้ที่สนใจร่วมส่งบทความเพื่อตีพิมพ์<br />

เผยแพร่ใน “วารสารอาษา (<strong>ASA</strong> Journal)”<br />

หลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอาษา<br />

๐ วารสารอาษา (<strong>ASA</strong> Journal) รับพิจารณาบทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์บทความวิจารณ์หนังสือ-บทความ<br />

บทความแปล บทความสรุปผลงานการสร้างสรรค์ และบทความสรุปผลการบริการวิชาการรับใช้สังคม ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์<br />

แขนงต่างๆ ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ตามหมวดหมู่ดังต่อไปนี้ คือ<br />

- ทฤษฎีทางสถาปัตยกรรม และการออกแบบสถาปัตยกรรม<br />

- ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย<br />

- สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม<br />

- เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางสถาปัตยกรรม<br />

- การบริหารจัดการ และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม<br />

- การออกแบบชุมชนเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และการผังเมือง<br />

- การพัฒนาที่อยู่อาศัย<br />

- การเรียนการสอนทางสถาปัตยกรรม<br />

๐ ต้นฉบับบทความ ความยาวเฉพาะข้อความ (ไม่รวมรูป) ไม่เกิน 2,500 คำ พร้อมบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อม<br />

คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในรูปแบบของไฟล์ MS-Word<br />

๐ ในกรณีที่บทความมีรูปภาพประกอบ ให้แทรกรูปลงในเนื้อหาบทความตรงตําแหน่งที่ต้องการอธิบาย พร้อมใส่คําอธิบายว่า<br />

ภาพที่ หมายเลขรูปภาพ: เนื้อหาที่ต้องการอธิบาย<br />

ตัวอย่าง ภาพที่ 1: แสดงแผนผังพื้นที่ใช้สอยภายใน


๐ การเตรียมไฟล์รูปภาพประกอบ ต้องบันทึกไฟล์รูปภาพในแฟ้ม (Folder) ตั้งชื่อภาพประกอบ และตั้งชื่อไฟล์รูปภาพโดยใช้ชื่อ<br />

ภาษาอังกฤษของผู้เขียน_หมายเลขรูปที่สัมพันกับเนื้อหา ทั้งนี้ไฟล์รูปภาพต้องมีความละเอียดไม่น้อยกว่า 300 dpi ในรูปแบบของล์<br />

นามสกุลใด ก็ได้ดังต่อไปนี้ .JPG .PSD .PNG .TIF .BMP<br />

ตัวอย่าง Isarachai_01<br />

๐ รูปภาพ แผนภูมิ แผนผัง แบบสถาปัตยกรรม แผนที่ แผนภาพ ที่นำมาใช้ประกอบบทความต้องไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์<br />

๐ บทความที่เป็นงานแปลหรือเรียบเรียงต้องอ้างอิงที่มาโดยละเอียด และต้องได้รับอนุญาตจากต้นฉบับ<br />

การประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ<br />

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ ์ในการคัดเลือกดำเนินการส่งบทความเพื่อรับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที ่มีความ<br />

เชี่ยวชาญจำนวน 2 ท่าน และหากผลประเมินไม่เป็นเอกฉันท์จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิท่านที่ 3 ร่วมพิจารณา ทั้งนี้ การประเมินบทความ<br />

จะดำเนินการในลักษณะ Double Blind โดยกองบรรณาธิการจะดำเนินการส่งผลการประเมินกลับไปให้ทางผู้เขียนผ่านช่องทางอีเมล<br />

ภายใน 10 วันหลังจากได้รับผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิครบถ้วนหลังจากที่ได้รับการแจ้งผลจากกองบรรณาธิการขอให้ผู้เขียนด ำเนินการ<br />

ปรับแก้ไขบทความตามคำแนะนำของผู้ประเมิน และส่งไฟล์ที ่แก้ไขกลับมายังกองบรรณาธิการทางอีเมล asa.journal.academic@<br />

gmail.com ภายในระยะเวลา 15 วัน<br />

ค่าตอบแทนผู้ตีพิมพ์บทความ<br />

บทความภาษาไทย<br />

บทความ 2 ภาษา(ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)<br />

เป็นเงิน 4,000 บาท<br />

เป็นเงิน 7,000 บาท<br />

ส่งบทความ (Full Paper)<br />

หรือติดต่อสอบถามได้ที่ asa.journal.academic@gmail.com หรือโทร 02-319-6555<br />

ที่อยู่<br />

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (วารสารอาษา)<br />

248/1 ซอยศูนย์วิจัย 4 ถนนพระรามที่ 9 แขวงบางกะปิ<br />

เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310

Hooray! Your file is uploaded and ready to be published.

Saved successfully!

Ooh no, something went wrong!